การจัดระเบียบสังคม.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

ทฤษฎีทางอาชีพ ผศ. นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา
ครูพัทธนันท์ เปลี่ยนศรี 1 5 ข. กฎหรือข้อบังคับที่รัฐต้อง ปฏิบัติตาม ค. กฎเกณฑ์ควบคุมความ ประพฤติของบุคคล ง. กฎเกณฑ์ทางสังคม.
แนวทางการบริหารงบประมาณ
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
ความเป็นมาของการจัดการ ความรู้ในกรมชลประทาน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ หมวดที่ 3 มาตราที่ 11 ระบุว่า.
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการติดตาม ดูแลพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนตามกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้วิจัย กนกวรรณ ตั้งจิตบำรุง หลักสูตร.
สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนหญิง ในลักษณะความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปราณี ผู้วิจัย สุวาทินี
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
กรณีศึกษาของเยาวชนที่กระทำความผิดคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา : สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสระบุรี ผู้วิจัย โยธิน จารุจุฑารัตน์ หลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
การสร้างความตระหนักในโรงเรียนวิถีพุทธ
การวางแผน การศึกษาระดับ จุลภาค Micro Planning.  ความเชื่อพื้นฐานทางการวางแผน การศึกษา  การวางแผนก็เปรียบเสมือนการจัดให้มี แนวปฏิบัติว่าในระยะเวลาหนึ่งจะต้องทำ.
ประวัติ ส่วนตัว ชื่อ นางสาวสุภาวรรณ อินสวัสดิ์ อายุ ๒๘ ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๙ / ๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษา.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1 จุดเน้นและแนวทางการสร้าง ภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพ ติดในสถานศึกษา ปี 2557.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
OPAC Provisions and Scope
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ทิศทางการบริหารสำหรับผู้บริหาร มืออาชีพ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
หลักการ และ วิธีการ ของ บี.-พี.
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
MGT 228 การจัดการสมัยใหม่ บทที่ 11 การจูงใจ (MOTIVATION)
หลักธรรมาภิบาล ความหมายของธรรมาภิบาล
กลุ่มเกษตรกร.
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การขับเคลื่อน ครอบครัวแกนนำคุณธรรม
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
สอนโดย : อาจารย์กุสุมา ยกชู
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2400 (ปรับปรุง)
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
โดย เลขาธิการ กศน.(นายสุรพงษ์ จำจด)
ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
จริยธรรม (Ethics) คืออะไร
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การจัดระเบียบสังคม

การจัดระเบียบทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคม (Social organization) เป็นกระบวนการที่มีขอบเขตกว้างขวางมากเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมปรากฏการณ์สังคมหลายอย่าง เริ่มจากการจัดให้มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อกัน เราอาจกล่าวถึงการจัดระเบียบระหว่างสามีภรรยา การจัดระเบียบสังคมของกลุ่มอาชญากร การจัดระเบียบสังคมของหมู่บ้าน จนถึงการจัดระเบียบสังคมของสังคมไทย หรือการจัดระเบียบสังคมของโลกก็ได้ สังคมทุกประเภทจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบสังคมไม่มากก็น้อย ระเบียบสังคมเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของสังคมทั้งหลาย

ความหมายของการจัดระเบียบทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง วิธีการที่คนในสังคมกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผน ในการอยู่ร่วมกันของสมาชิก โดยสมาชิกได้ยอมรับเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และปฏิบัติสืบทอดกันมา จนเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตร่วมกัน

ความสำคัญของการจัดระเบียบสังคม มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน กล่าวคือ เมื่อเกิดมา มนุษย์ก็ได้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม แต่เนื่องจากมนุษย์ในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เพื่อป้องกันการขัดแย้งระหว่างมนุษย์ในสังคม และเพื่อควบคุมแบบแผนแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ จึงจำเป็นต้อง มีการจัดระเบียบทางสังคม หากปล่อยให้มนุษย์แต่ละคนทำตามอำเภอใจโดยปราศจากการควบคุมแล้ว สังคมก็จะเกิดความวุ่นวายและขาดระเบียบแบบแผน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมเกิดสันติสุข

สาเหตุที่จะต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม 1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย 2. ขจัดข้อขัดแย้งและป้องกันความขัดแย้งในสังคม 3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข เป็นปึกแผ่น

องค์ประกอบของการจัดระเบียบ 1. บรรทัดฐาน 2. สถานภาพ 3. บทบาท 4. การควบคุมทางสังคม

บรรทัดฐานทางสังคม (Social norms) บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ข้อบังคับ หรือ มาตรฐาน ในการปฏิบัติของคนในสังคมซึ่งสังคมยอมรับว่าสมควรจะปฏิบัติ เช่น บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบุตร บุตรต้องมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา ข้าราชการต้องบริการประชาชน พระสงฆ์ต้องรักษาศีลและเป็นที่พึ่ง ทางใจ ของประชาชน

ประเภทของบรรทัดฐาน 1. วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน (Folkways) ในทางสังคมวิทยาได้จำแนกประเภทของบรรทัดฐานออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1. วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน (Folkways) เป็นแนวทางปฏิบัติของทุกคนจนเกิดเป็นความเคยชิน จนกลายเป็นชีวิตปกติของมนุษย์เป็นการปฏิบัติด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน เพียงแต่จะได้รับการคำติฉินนินทาว่าประพฤติปฏิบัติในทางไม่ชอบไม่ควรเท่านั้น วิถีประชามีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการปรับให้เหมาะกับยุคสมัยนั้น เช่น มารยาทในการแต่งกาย มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นต้น

2. จารีตหรือกฎศีลธรรม (Mores) เป็นแบบแผนความประพฤติที่สำคัญกว่าวิถีประชา เพราะ มีความเกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา มีข้อห้ามและข้อควรกระทำ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคม เช่น ในสังคมห้ามสตรีแตะต้องจีวรของพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ

3. กฎหมาย เป็นข้อบังคับเพื่อควบคุมคนในสังคมให้เป็นระเบียบ มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้ กฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมใหญ่ เพราะ การใช้วิถีประชาหรือจารีตไม่อาจให้หลักประกันความเป็นระเบียบของสังคมได้ กฎหมาย มักมีรากฐานมาจากวิถีประชาหรือกฎศีลธรรม เพราะฉะนั้นกฎหมายที่ดี จึงควรสอดคล้องหรือต้องไม่ขัดกับวิถีประชา หรือกฎศีลธรรมดังนั้นจะเห็นได้ว่า บรรทัดฐานทางสังคมเป็นกลไกในการควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้เป็นไปตามทิศทางหรือเป้าหมายและกฎระเบียบที่สังคมวางไว้

การบังคับใช้บรรทัดฐานกระทำได้ 2 วิธี คือ 1. การให้บำเหน็จ (Reward) เช่น การยกย่องชมเชย ให้เกียรติบัตร ให้เหรียญตรา 2. การลงโทษ (Punishment) มีการกำหนดโทษทัณฑ์แก้ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดบรรทัดฐาน ซึ่งมีตั้งแต่ซุบซิบนินทา การปรับ การจองจำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดที่ได้กระทำ

สถานภาพ (Status) สถานภาพ คือ ตำแหน่งของบุคคลที่ได้มาจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มคนหรือสังคม จึงมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบาทของตำแหน่งนั้นๆ เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่อะไร และควรจะปฏิบัติอย่างไร ซึ่งบุคคลหนึ่งอาจมีได้หลายสถานภาพตามสถานการณ์ เช่น สมภพ เมื่ออยู่ในครอบครัวจะมีสถานภาพเป็น “พ่อ” แต่ในขณะทำงานอาจมีสถานภาพเป็น “ผู้ประกอบการ”

สถานภาพจำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1. สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ธรรมชาติจะเป็นตัวกำหนดโดยที่บุคคลไม่มีทางเลือก เช่น เพศ อายุ สีผิว 2. สถานภาพที่ได้มาภายหลังหรือได้มาด้วยความสามารถหรือสถานภาพสัมฤทธิ์ เป็นตำแหน่งที่ต้องดิ้นรนขวนขวาย ด้วยความรู้ ความสามารถ และสติปัญญาของตนเอง เช่นตำแหน่งหน้าที่การงาน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส

บทบาท (Role) คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ตามสถานภาพที่ได้รับ เช่น พ่อ แม่ มีบทบาทคือ เลี้ยงดูลูก นักเรียนมีบทบาทคือ ต้องเรียนหนังสือ บทบาททางสังคมเกิดจากการเรียนรู้และการถ่ายทอดระหว่างสมาชิกในสังคมในขณะที่เด็กยังเยาว์วัย จะเรียนรู้บทบาทของสถานภาพต่าง ๆ โดยการสังเกตจากบุคคลอื่นที่แวดล้อมตน

ความสำคัญของบทบาททางสังคม บทบาททางสังคม ก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การรับและการเอื้อประโยชน์ระหว่างกัน เช่น ครอบครัว ประกอบไปด้วยบิดา มารดา และบุตร แต่ละคนต่างก็มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันตามบทบาทของสถานภาพ บิดา มารดามีสิทธิลงโทษบุตร มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดู บุตรก็มีสิทธิในการรับมรดกจากบิดา มารดา มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบิดา มารดายามแก่ชรา ฯลฯ

ถ้าไม่มีการกำหนดบทบาททางสังคมรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจะขาดระเบียบและไม่มีทิศทางที่แน่นอน สมาชิกจะเกิดความสับสนเมื่อต้องติดต่อกับบุคคลอื่น สมาชิกในสังคมแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่าง การปฏิบัติตามบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะ บทบาทแต่ละบทบาทจะถูกคาดหวังให้ปฏิบัติ

ประโยชน์ของสถานภาพและบทบาท มีดังนี้คือ 1. ทำให้บุคคลรู้จักฐานะของตนเองในสังคม 2. ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มสมาชิก 3. ทำให้บุคคลมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน 4. ช่วยให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย

การควบคุมทางสังคม หมายถึงการดำเนินการทางสังคมโดยวิธีต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดการควบคุมทางสังคมจึงเป็นกลไกส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบสังคม

การควบคุมทางสังคม แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม โดยใช้วิธีให้รางวัลหรือยกย่องชมเชย เป็นผลให้สมาชิกเกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐาน 2. การลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืน บรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ - ผู้ละเมิดวิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา จะถูกตำหนิ ถูกนินทา หรือถูกต่อว่า - การฝ่าฝืนจารีต จะถูกต่อต้านด้วยการไม่คบค้าสมาคม ถูกขับไล่ออกจากชุมชนถูกประณาม หรือถูกรุมประชาทัณฑ์ - การทำผิดกฎหมาย จะได้รับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง เช่น ปรับ จำคุก