ขณะนี้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 4,000 ล้านคนทั่วโลก สำรวจโดย “We Are Social” ดิจิทัลเอเยนซี่ และ “Hootsuite” ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social Media และ Marketing Solutions
ประมาณการณ์ว่าในปี 2017 ทั่วโลกมีผู้ใช้สมาร์ทโฟน เป็นเครื่องแรกในชีวิต ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน และ 2 ใน 3 ของจำนวนประชากรโลกกว่า 7,600 ล้านคน มี โทรศัพท์มือถือ
ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากร 7 ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากร 7.593 ล้านคน (55% อาศัยอยู่ในเขตเมือง) – 4,021 ล้านคน เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต – 3,196 ล้านคน ใช้Social Media เป็นประจำ – ทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากสุดในโลก คือ ยุโรปเหนือ (94%) ตามมาด้วย ยุโรปตะวันออก (90%), อเมริกาเหนือ (88%) ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 58% – ทวีปที่มีผู้ใช้ Social Media มากสุดในโลก คือ อเมริกาเหนือ (70%) ตามด้วย ยุโรปเหนือ (66%), เอเชียตะวันออก (64%) ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ Social Media 55%
3 อันดับภูมิภาคที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Mobile Device มากสุด คือ ยุโรปตะวันออก (157%) ตามมาด้วย แอฟริกาใต้ (147%) และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (141%)
แพลตฟอร์ม Social Media ยอดนิยมทั่วโลก ยังคงเป็น “Facebook” ตามมาด้วย “YouTube” ส่วนอันดับ 3 คือ “Whatsapp” ต่อด้วย “Facebook Messenger” และ “WeChat”
5 อันดับภาษาที่นิยมสื่อสารกันบน Facebook อันดับ 1 เป็นภาษาอังกฤษ รองลงมาคือ ภาษาสเปน, ภาษาฮินดี, อินโดนีเซีย, ภาษาโปรตุกีส “ภาษาไทย” ติดอันดับ 12 ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน 52,000,000 คน
5 อันดับภาษาที่นิยมสื่อสารกันบน Facebook อันดับ 1 เป็นภาษาอังกฤษ รองลงมาคือ ภาษาสเปน, ภาษาฮินดี, อินโดนีเซีย, ภาษาโปรตุกีส ทั้งนี้ “ภาษาไทย” ติดอันดับ 12 ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน 52,000,000 คน
โปรแกรมแชทสุดฮิต อันดับ 1 “Whatsapp” อันดับ 2 “Facebook Messenger” อันดับ 3 “Viber” อันดับ 4 “WeChat” และอันดับ 5 “LINE”
ประเทศไทยมีประชากร 69.11 ล้านคน (53% อยู่ในเขตเมือง) แบ่งเป็นประชากรเพศหญิง 51.3% –เพศชาย 48.7% รายได้ต่อหัวประชากรไทย เฉลี่ย16,946 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี อัตราการรู้หนังสือของประชากรไทย คิดเป็นสัดส่วน 97% ของประชากรทั้งประเทศ มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 57 ล้านคน
มีผู้ใช้งาน Social Media 51 ล้านคน มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ สูงถึง 93 มีผู้ใช้งาน Social Media 51 ล้านคน มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ สูงถึง 93.61 ล้านเลขหมาย ในจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด มีผู้ใช้ Social Media เป็นประจำ ผ่าน Smart Device 46 ล้าน คน
“ประเทศไทย” เป็นประเทศที่ใช้เวลาต่อวันอยู่กับอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก เฉลี่ย9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และถ้าวัดเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟน “ไทย” ยังคงเป็นประเทศที่ใช้เวลาท่องเน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 56 นาที ใช้เวลาในการเล่น Social Media เฉลี่ย 3 ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน และใช้เวลาไปกับการดูทีวี (Broadcast, Streaming, Video On Demand) ไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง 3 นาทีต่อวัน
ทัศนคติในการใช้ดิจิทัลในกลุ่มคนไทย 68% เชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ ช่วยสร้างโอกาส มากกว่าเป็นความเสี่ยง 75% ให้ความสำคัญกับการป้องกันข้อมูลส่วนตัว และระบบความปลอดภัยของดิจิทัล หรือ Data Privacy 40% จะลบ Cookies ออกจาก Internet Browser ทันที เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัว
คนไทย 90% ใช้งานอินเตอร์เน็ตทุกวัน 8% เข้าอินเตอร์เน็ตอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง 2% เข้าอินเตอร์เน็ตอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน
อันดับเว็บไซต์ที่คนไทยเข้าใช้มากที่สุด สถิติจาก “Similarweb” และ “Alexa” มีผลอันดับ 1 ตรงกันคือ คนไทยเข้าใช้งาน “Google.co.th” มากที่สุด ส่วน 5 อันดับ “คำ” ที่คนไทยค้นหามากที่สุดใน Google คือ บอล / หนัง / ผลบอล / Facebook / แปล และที่ติดอันดับเป็นหนึ่งในคำค้นหาสุดฮิตของคนไทย อีกคำหนึ่ง คือ “ตรวจหวย”
พฤติกรรมดูวิดีโออนไลน์ของคนไทย พบว่า 57% ดูวิดีโอออนไลน์ทุกวัน 27% ดูวิดีโอออนไลน์ทุกสัปดาห์ 9% ดูวิดีโอออนไลน์ทุกเดือน 3% ดูวิดีโอออนไลน์น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน 3% ไม่เคยดูวิดีโอออนไลน์
96% ดูทีวีผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ 21% ดูคอนเทนต์ Online Streaming บนเครื่องรับโทรทัศน์ แสดงว่า “Smart TV” เริ่มเข้าไปอยู่ในครัวเรือนคนไทยมากขึ้น 40% ดูคอนเทนต์ Online Streaming ผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต
คนไทย 51 ล้านคนใช้ Social Media 46 ล้านคนเข้าผ่าน “Mobile Device” คิดเป็น 90% “Facebook” ยังคงเป็น Social Media ยอดนิยมอันดับ 1 อันดับ 2 คือ “YouTube” อันดับ 3 “LINE” อันดับ 4 “Facebook Messenger” อันดับ 5 “Instagram” 51 ล้านคนของผู้ที่ใช้เฟซบุ๊คในไทย 49% เป็นผู้หญิง และ 51% เป็นผู้ชาย
5 เมืองที่มีผู้ใช้ Facebook มากที่สุดในโลก อันดับ 1 กรุงเทพฯ 22,000,000 คน อันดับ 2 ธากา (บังคลาเทศ) 20,000,000 คน อันดับ 3 เบกาซิ (อินโดนีเซีย) 18,000,000 คน อันดับ 4 จาการ์ต้า (อินโดนีเซีย) 16,000,000 คน อันดับ 5 เม็กซิโก ซิตี้ 14,000,000 คน
กลุ่มผู้ใช้ “Facebook” มากที่สุดในไทย คือ คนกลุ่มอายุระหว่าง 18 – 34 ปี ซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ที่ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ตามมาด้วยกลุ่มอายุ 35 – 44 ปี เป็นผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y – Gen X
22.4% ของเพจบนเฟซบุ๊คจ่ายเงินให้กับ Facebook เพื่อเพิ่มการเข้าถึง Facebook FanPage แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันถ้าจะให้ผู้บริโภคเห็น Post ของเพจต่างๆ มากขึ้น บรรดาเพจต้องจ่ายเงิน (Paid Media) เพื่อเพิ่ม Reach ให้มาก
ประเภทคอนเทนต์ที่โพสต์บน Facebook แล้วจะได้ Engagement ดีที่สุด อันดับ 1 คือ “วิดีโอ” 9.32% รองลงมาคือ “โพสต์ลิงค์” (7.16%) ส่วนคอนเทนต์ที่จะได้ Engagement น้อยสุด คือ “รูปภาพ” 4.15%
คนไทยใชInstagram 13 ล้านคน ผู้หญิง 60% และ ผู้ชาย 40%
ประเทศไทยมีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 93.61 ล้านเลขหมาย 79% เป็น Pre-paid และ 21% เป็น Post-paid 99% ของการใช้งานโทรศัพท์มือถือคนไทย สามารถเข้าถึง 3G และ 4G
ประเทศไทยมีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 93.61 ล้านเลข หมาย 79% เป็น Pre-paid และ 21% เป็น Post- paid 99% ของการใช้งานโทรศัพท์มือถือคนไทย สามารถ เข้าถึง 3G และ 4G
5 อันดับกิจกรรมบนโทรศัพท์มือถือ 77% ส่งข้อความแชท 75% ดูวิดีโอ 66% เล่นเกม 56% Mobile Banking 64%Mobile Map ค้นหาสถานที่
8 ฟังก์ชั่นการใช้งานยอดนิยมบนสมาร์ทโฟน ตั้งนาฬิกาปลุก (42%) ตารางนัดหมายประจำวัน (25%) เช็คสภาพอากาศ (18%) ใช้แอปพลิเคชันเกี่ยวกับการออกกำลังกาย-สุขภาพ (7%) ถ่ายรูป-วิดีโอ (54%) เช็คข่าวสาร (26%) อ่าน e-books / e-magazine (19%) จดบันทึกต่างๆ เช่น รายการซื้อของ, ภารกิจในแต่ละวัน
10 อันดับแอปพลิเคชันที่มี การใช้งานสูงสุดในไทย อันดับ 1 LINE อันดับ 2 Facebook อันดับ 3 Facebook Messenger อันดับ 4 Instagram อันดับ 5 K-Mobile Banking อันดับ 6 Joox Music อันดับ 7 LAZADA อันดับ 8 Twitter อันดับ 9 WHOSCALL อันดับ 10 My AIS
10 อันดับแอปพลิเคชันที่มีผู้ ดาวน์โหลดสูงสุดในไทย อันดับ 1 Facebook Messenger อันดับ 2 Facebook อันดับ 3 LINE อันดับ 4 Joox Music อันดับ 5 Camera360 อันดับ 6 Instagram อันดับ 7 4Share อันดับ 8 LAZADA อันดับ 9 YouTube อันดับ 10 Shopee
78% ของคนไทยมีบัญชีเงินฝากธนาคาร 6% มีบัตรเครดิต 1% ทำธุรกรรม Mobile Payment 4% ชำระค่าสินค้า/จ่ายบิลผ่านออนไลน์ 6% ของผู้หญิงใช้ Internet Payment 3% ของผู้ชายใช้ Internet Payment
71% ค้นหาข้อมูลสินค้า-บริการก่อนตัดสินใจซื้อ 70% เข้าไปดูร้านค้าออนไลน์ 62% ตัดสินใจซื้อสินค้า-บริการบนออนไลน์ 52% ซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 52% ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน
คนไทย 11.92 ล้านคน ซื้อสินค้าบน E-Commerce มูลค่าการซื้อขายบนออนไลน์ 2,962 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโตเฉลี่ย 22% ต่อปี) ยอดการใช้จ่ายต่อคนต่อปี อยู่ที่ 248 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,600 บาท
การใช้ “สื่อโฆษณา” เพื่อสร้าง Brand/Product Awareness ให้ได้ผล พบว่าสื่อ 5 อันดับแรกที่ “ทรงพลัง” ในการสร้างการรับรู้ในแบรนด์และสินค้า-บริการ คือ อันดับ 1 สื่อโทรทัศน์ อันดับ 2 สื่อออนไลน์ อันดับ 3 สื่อสิ่งพิมพ์ อันดับ 4 สื่อในสโตร์ อันดับ 5 โปสเตอร์