การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน หลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการขั้นพื้นฐาน
สหกรณ์ หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ (พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 มาตรา 4)
โครงสร้างของสหกรณ์ ตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย สมาชิกรวมตัวกัน จัดตั้งสหกรณ์ขึ้น ร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ด้านเงินทุน ด้านการผลิตและการจำหน่าย เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์
ผังโครงสร้างของสหกรณ์ สมาชิก สมาชิก สมาชิก ที่ประชุมใหญ่ ผู้ตรวจสอบกิจการ คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายบริหาร เลือกตั้ง
ผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการ คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายบริหาร เลือกตั้ง ฝ่ายจัดการ จัดจ้าง ผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ เจ้าหน้าที่ตลาด เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่บัญชี
สมาชิกสหกรณ์ เป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ สมาชิกทุกคนมีสิทธิ เสมอภาคกันในการดำเนินงานของสหกรณ์ มีสิทธิเข้าร่วม ประชุมใหญ่เพื่อเสนอความเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ในเรื่องต่าง ๆ 1 คน ต่อ 1 เสียง และมีหน้าที่ปฏิบัติตาม กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติและคำสั่งของสหกรณ์ คุณสมบัติสมาชิก วิธีรับสมาชิก การขาดจากสมาชิกภาพ สิทธิหน้าที่ของสมาชิกให้เป็นไปตามข้อบังคับสหกรณ์
ที่ประชุมใหญ่ คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ซึ่งต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิก ทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 100 คน จึงถือเป็นองค์ประชุม ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณา วินิจฉัย ตัดสินใจ หรือลงมติเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการสหกรณ์ตามหลักประชาธิปไตย ถือเอามติเสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก
ผู้ตรวจสอบกิจการ ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิก หรือบุคคลภายนอก ที่เป็นผู้มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถในด้านธุรกิจ การเงิน การบัญชี การเศรษฐกิจ หรือการสหกรณ์ เพื่อเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ โดยมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานทั้งปวงของสหกรณ์ แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และที่ประชุมใหญ่
คณะกรรมการดำเนินการ ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกเป็นคณะกรรมการดำเนินการ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติและคำสั่งของสหกรณ์ รวมถึงกำกับ ดูแลและติดตามการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการเพื่อให้การดำเนินงานของสหกรณ์สามารถเอื้อประโยชน์ แก่มวลสมาชิกและบรรลุวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
ผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาแต่งตั้ง หรือจัดจ้างผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการ ให้มีหน้าที่ในการจัดการทั่วไป และรับผิดชอบบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย รวมถึงจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ตามความจำเป็น เพื่อปฏิบัติงานภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์
การกำกับและส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันการเงินอื่น ๆ
ประเภทของสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง 1. สหกรณ์การเกษตร คือ สหกรณ์ที่ผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรรวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจแบบเอนกประสงค์ สามารถสนองความต้องการพื้นฐาน แก้ไขความเดือนร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก วัตถุประสงค์ เพื่อให้สินเชื่อการเกษตร จัดหาวัสดุการเกษตร สิ่งขอจำเป็นมาจำหน่าย ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการเกษตร ให้แก่สมาชิก 2. สหกรณ์ประมง เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ชาวประมง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทางด้านวิชาการ และธุรกิจการประมวล ตลอดจนจัดหาวัสดุการประมง หรือสิ่งของที่จำเป็นมาจำหน่ายให้แก่สหกรณ์ 3. สหกรณ์นิคม คือ สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินหรือมีน้อยไม่เพียงพอสำหรับประกอบอาชีพ มีวัตถุประสงค์จัดตั้งนิคมสหกรณ์และจัดตั้งสหกรณ์ 4.สหกรณ์ร้านค้า เป็นสหกรณ์ที่มีผู้บริโภครวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายแก่สมาชิก มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้รู้จัดประหยัด ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 5.สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจสนองความต้องการของสมาชิกด้านบริการทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจด้านการบริการ จัดหาวัสดุอุปกรณ์จำเป็นมาจำหน่าย 6. สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินแบบหนึ่ง ที่สมาชิกมีอาชีพเดียวกันแหล่งงานเดียวกัน 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นสถาบันการเงินแบบหนึ่ง ต่างอาชีพมาร่วมกัน เช่นกลุ่มแม่บ้าน ชุมชนท้องถิ่น สหกรณ์ภาคการเกษตร สหกรณ์นอกภาคการเกษตร
ลักษณะการดำเนินธุรกิจ สหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจแบบเอนกประสงค์ โดยดำเนินธุรกิจหลายด้านเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สมาชิก ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลิตผล ธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้า ธุรกิจให้บริการและส่งเสริมการเกษตร
ธุรกิจสินเชื่อ สหกรณ์ให้เงินกู้ หรือสินเชื่อแก่สมาชิกตามระเบียบและ หลักเกณฑ์การให้เงินกู้ เพื่อสมาชิกนำไปประกอบอาชีพ หรือใช้จ่ายที่จำเป็น โดยแบ่งเงินกู้เป็นประเภทต่าง ๆ ซึ่งเงินกู้แต่ละประเภทมีเงื่อนไขแตกต่างกันไปตามที่ กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ นอกจากนี้ สหกรณ์ ยังสามารถให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ โดยปฏิบัติตาม ระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจาก นายทะเบียนสหกรณ์
ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย สหกรณ์จัดหา หรือจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร วัสดุอุปกรณ์การเกษตร เคมีการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคและอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกและผู้มิใช่สมาชิก ตามระเบียบของสหกรณ์ โดยจำหน่ายในราคาเหมาะสม สำหรับประเภท ชนิดและคุณภาพสินค้าเป็นไปตามความต้องการของสมาชิก
ธุรกิจรวบรวมผลิตผล สหกรณ์รวบรวม หรือรับซื้อผลิตผลและผลิตภัณฑ์การเกษตรของสมาชิก เพื่อนำไปจำหน่ายให้ได้ราคาดี รักษาผลประโยชน์ของสมาชิกและเป็นกลไกในการต่อรองราคาเจรจาทางธุรกิจ ทั้งยังให้ความเป็นธรรม ในด้านการชั่ง ตวง วัด และคัดคุณภาพผลิตผลของสมาชิกตามระเบียบของสหกรณ์
ธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้า สหกรณ์รวบรวม หรือรับซื้อผลิตผลการเกษตรจากสมาชิกเพื่อนำมาแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปและจำหน่ายให้ได้ราคาดีตามระเบียบของสหกรณ์ รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกผลิตสินค้าเพื่อนำมาจำหน่ายให้สหกรณ์
ธุรกิจให้บริการและส่งเสริมการเกษตร สหกรณ์ให้บริการแก่สมาชิกในด้านการเพาะปลูก การประมง โดยคิดค่าตอบแทนในอัตราที่สมเหตุสมผล รวมทั้งช่วยเหลือในด้านการเผยแพร่ความรู้และ ส่งเสริมการเกษตร วางแผนเพาะปลูกและบำรุงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การประกอบอาชีพของสมาชิก
โดยปฏิบัติตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับ ความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ นอกจากนี้ สหกรณ์ยังระดมเงินทุนด้วยการส่งเสริม ให้สมาชิกออมเงิน โดยบริการรับฝากเงินจากสมาชิกทั้งประเภทเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ กำหนดระยะเวลาการฝากและอัตราดอกเบี้ยเป็นไป ตามระเบียบและหลักเกณฑ์การรับฝากเงิน รวมทั้ง สหกรณ์สามารถรับฝากเงินจากสหกรณ์อื่นได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับ ความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์
กรณีสหกรณ์ภาคการเกษตร ในฐานะผู้ประกอบการขายสินค้าและบริการ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายรับ จากการขายสินค้า หรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ระบบบัญชีของสหกรณ์ ลำดับกระบวนการบันทึกและสรุปผลรายการ เพื่อจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ ระบบบัญชีสหกรณ์ใช้ หลักการบัญชีคู่ รายการเงินที่เกิดขึ้นทุกรายการจะต้องบันทึกบัญชี 2 ด้านเสมอ คือ ด้านเดบิตและด้านเครดิต ซึ่งจำนวนเงินรวมด้านเดบิตต้องเท่ากับด้านเครดิตเสมอ 21
การจัดทำบัญชีของสหกรณ์ รวบรวมเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี บันทึกรายการเงินในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น ผ่านรายการบัญชีไปสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย จัดทำงบทดลอง รายการปรับปรุงและปิดบัญชี การจัดทำงบการเงิน 22
เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี สิ่งที่ใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงตามลักษณะของรายการเงินที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงว่าเกิดรายการเงินขึ้นจริงตามจำนวนในเอกสารนั้น เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีแบ่งเป็น 2 ประเภท เอกสารภายใน เอกสารภายนอก 23
เอกสารภายใน เอกสารภายนอก เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีที่สหกรณ์จัดทำขึ้นเอง ใช้บันทึกรายการเงินที่เกิดขึ้นภายในกิจการ เอกสารภายนอก เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีที่สหกรณ์ได้รับจากผู้อื่น/บุคคลภายนอก 24
การจัดการเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี รวบรวมเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี แยกเอกสารตามประเภทบัญชี บวกรวมจำนวนเงินตามเอกสารแต่ละประเภท จัดทำใบสรุปรายการเงิน 25
สมุดบัญชี แบ่งเป็น 2 ประเภท สมุดบันทึกรายการขั้นต้น แบ่งเป็น 2 ประเภท สมุดบันทึกรายการขั้นต้น สมุดบันทึกรายการขั้นปลาย 26
สมุดบันทึกรายการขั้นต้น ใช้บันทึกรายการเงินจากเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เรียงตามลำดับก่อนหลังที่รายการเงินนั้นเกิดขึ้น ประกอบด้วย สมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดรายวันทั่วไป ฯลฯ 27
สมุดบันทึกรายการขั้นปลาย ใช้บันทึกรายการเงินจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นแยกตามประเภทบัญชีที่จำแนกไว้ เพื่อทราบผลของรายการเงินแต่ละประเภท ประกอบด้วย สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป บัญชีย่อย ทะเบียน 28
สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ใช้บันทึกการผ่านรายการเงินจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นแต่ละเล่ม ตามประเภทของรายการบัญชีที่จำแนกไว้ ไปบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง เพื่อหายอดคงเหลือของแต่ละบัญชี จึงเป็นสมุดรวมรายการเงินทุกบัญชีที่เกิดขึ้น 29
บัญชีย่อย เพื่อประโยชน์ในการจัดทำบัญชีและควบคุมตรวจสอบ สหกรณ์ต้องมีการจัดทำบัญชีย่อยขึ้นตามความจำเป็น ใช้บันทึกรายการเงินที่เกิดขึ้นแยกเป็นแต่ละราย ได้แก่ บัญชีย่อยลูกหนี้เงินให้กู้ บัญชีย่อยลูกหนี้การค้า บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินรับฝาก บัญชีย่อยเจ้าหนี้การค้า ฯลฯ 30
ทะเบียน เพื่อประโยชน์ในการจัดทำบัญชีและควบคุมตรวจสอบ สหกรณ์ต้องมีการจัดทำทะเบียนขึ้นตามความจำเป็น ใช้บันทึกรายการจากเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี โดยละเอียด ได้แก่ ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น ทะเบียนสินทรัพย์ถาวร ทะเบียนคุมสินค้า ทะเบียนสถิติธุรกิจของสมาชิก ฯลฯ 31
งบทดลอง รายงานทางการเงินที่แสดงยอดคงเหลือของทุกบัญชี ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ณ วันใดวันหนึ่ง เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกรายการบัญชี ตามหลักการบัญชีคู่ จำนวนเงินรวมของบัญชีที่มียอดคงเหลือด้านเดบิต ต้องเท่ากับ จำนวนเงินรวมของบัญชีที่มียอดคงเหลือ ด้านเครดิต 32
ประโยชน์ของงบทดลอง 1. พิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ 2. ตรวจสอบการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือมีรายการผิดปกติ 3. ช่วยให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วขึ้น 4. เพื่อคณะกรรมการดำเนินการนำไปใช้ในการวางแผนงาน ติดตามประเมินผลและแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามแผนงาน หรือเป้าหมายที่กำหนด 33
รายการปรับปรุงบัญชี สหกรณ์บันทึกบัญชี ตามเกณฑ์คงค้าง จึงต้องปรับปรุงรายการบัญชีในวันสิ้นปีบัญชีให้ถูกต้อง ได้แก่ รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ ค่าตัดจ่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ฯลฯ 34
งบการเงิน รายงานทางการเงินที่แสดง ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ สำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ฐานะการเงินของสหกรณ์ ณ วันใดวันหนึ่ง รูปแบบงบการเงินของสหกรณ์เป็นไปตามที่ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด 35
งบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน 36
งบการเงินของสหกรณ์การเกษตร นิคม ประมง ร้านค้า บริการและเครดิตยูเนี่ยน ประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน งบต้นทุนขาย/บริการ งบต้นทุนการผลิต หมายเหตุประกอบงบการเงิน 37
ประโยชน์ของงบการเงิน 1. ใช้ในการขอเครดิตจากสถาบันการเงิน 2. ใช้เพื่อจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 3. ใช้วัดประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยวิเคราะห์ทางการเงิน เพื่อทราบเงินทุนที่ใช้ดำเนินงาน การใช้เงินทุน การสะสมทุน การใช้สินทรัพย์ เป็นต้น 4. เพื่อคณะกรรมการดำเนินการนำไปใช้ในการวางแผน การควบคุมงานและแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน 5. ทำให้ได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ 38
แผนภูมิระบบบัญชีสหกรณ์ภาคการเกษตร (สหกรณ์การเกษตร นิคม ประมง) 39
สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป - ใบเสร็จรับเงิน - ใบส่งเงินฝาก - ใบรับเงินขายสินค้า - ใบเบิกเงิน - ใบรับเงินกู้ - ใบถอนเงินฝาก - ใบนำฝากธนาคาร ใบเสร็จรับเงินของ ผู้รับเงินจากสหกรณ์ - ใบรับสินค้า - ใบกำกับสินค้าจากผู้ขาย - ใบเสร็จรับเงินจากผู้ขาย - ใบเบิกเงิน - ใบกำกับสินค้า - ใบรับเงินขายสินค้า - ใบสำคัญการให้บริการ - ใบเสร็จรับเงิน - ใบโอนบัญชี สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดขายสินค้า ใบสำคัญรับ สมุดรายวันทั่วไป สมุดซื้อสินค้า ใบสำคัญจ่าย สมุดเงินสด สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป งบทดลอง ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น - ทะเบียนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ทะเบียนคุมสินค้า - ทะเบียนสถิติธุรกิจของสมาชิก - บัญชีย่อยลูกหนี้เงินให้กู้ (ตามประเภท : ระยะสั้น ปานกลาง ยาว) - บัญชีย่อยลูกหนี้การค้า - บัยชีย่อยลูกหนี้ค่าบริการ - บัญชีย่อยลูกหนี้อื่น ๆ - บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินรับฝาก (ตามประเภท : ออมทรัพย์ ประจำ) - บัญชีย่อยเจ้าหนี้การค้า งบการเงิน - งบดุล - งบกำไรขาดทุน งบต้นทุนขาย/บริการ หมายเหตุประกอบงบการเงิน
สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป - ใบเบิกเงิน - ใบรับเงินกู้ - ใบถอนเงินฝาก - ใบนำฝากธนาคาร ใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษีของ ผู้รับเงินจากสหกรณ์ - ใบรับสินค้า ใบกำกับสินค้า/ ใบกำกับภาษีจากผู้ขาย ใบเสร็จรับเงิน/ - ใบเบิกเงิน - ใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษี - ใบส่งเงินฝาก ใบกำกับสินค้า/ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน/ ใบสำคัญการให้บริการ ใบสำคัญการให้บริการ/ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน/ ใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้/ใบกำกับภาษี ใบส่งคืนสินค้า ใบโอนบัญชี ใบสำคัญรับ สมุดขายสินค้า สมุดรายวันทั่วไป สมุดซื้อสินค้า สมุดรายได้ค่าบริการ ใบสำคัญจ่าย สมุดเงินสด รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป งบทดลอง ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น - ทะเบียนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ทะเบียนคุมสินค้า - ทะเบียนสถิติธุรกิจของสมาชิก - บัญชีย่อยลูกหนี้เงินให้กู้ (ตามประเภท : ระยะสั้น ปานกลาง ยาว) - บัญชีย่อยลูกหนี้การค้า - บัยชีย่อยลูกหนี้ค่าบริการ - บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินรับฝาก (ตามประเภท : ออมทรัพย์ ประจำ) - บัญชีย่อยเจ้าหนี้การค้า งบการเงิน - งบดุล - งบกำไรขาดทุน งบต้นทุนขาย/บริการ หมายเหตุประกอบงบการเงิน VAT
แผนภูมิระบบบัญชีสหกรณ์นอกภาคการเกษตร (สหกรณ์ออมทรัพย์ เครดิตยูเนี่ยน ร้านค้า บริการ) 42
สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป - ใบสำคัญจ่ายเงิน - หนังสือค้ำประกันเงินกู้สามัญ - ใบถอนเงินฝากออมทรัพย์ - คำขอกู้เงินที่ใช้หุ้นประกัน - ใบถอนเงินฝากประจำ - หนังสือกู้เงินที่ใช้หุ้นประกัน - คำขอกู้เงินและหนังสือสัญญากู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน - คำขอกู้เงินพิเศษ - คำขอกู้เงินสามัญ - หนังสือกู้เงินพิเศษ - หนังสือกู้เงินสามัญ - ใบรับเงินกู้ - ใบเสร็จรับเงิน - ใบส่งเงินฝากออมทรัพย์ - ใบส่งเงินฝากประจำ สลิปโอน สลิปรับ สมุดเงินสด สลิปจ่าย สมุดรายวันทั่วไป สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป - ทะเบียนสมาชิก - ทะเบียนหุ้น - ทะเบียนเครื่องเขียนแบบพิมพ์ - ทะเบียนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ทะเบียนหลักประกัน - ทะเบียนหนังสือกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ทะเบียนหนังสือกู้เงินสามัญ และหนังสือค้ำประกัน - ทะเบียนหนังสือกู้เงินพิเศษ - ทะเบียนคุมยอดลูกหนี้เงินให้สมาชิกกู้ - ทะเบียนการรับเงินงวดชำระหนี้ - บัญชีย่อยลูกหนี้เงินให้กู้ (ตามประเภท : ฉุกเฉิน สามัญ พิเศษ ) - บัญชีย่อยลูกหนี้อื่น ๆ - บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินรับฝาก (ตามประเภท : ออมทรัพย์ ประจำ) - บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินกู้ - บัญชีย่อยเจ้าหนี้อื่น ๆ งบทดลอง งบการเงิน - งบดุล - งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์
สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - ใบเสร็จรับเงิน - ใบส่งเงินฝาก - ใบรับเงินขายสินค้า - ใบเบิกเงิน - ใบรับเงินกู้ - ใบถอนเงินฝาก - ใบนำฝากธนาคาร ใบเสร็จรับเงินของ ผู้รับเงินจากสหกรณ์ - ใบรับสินค้า - ใบกำกับสินค้าจากผู้ขาย - ใบเสร็จรับเงินจากผู้ขาย - ใบเบิกเงิน - ใบกำกับสินค้า - ใบรับเงินขายสินค้า - ใบสำคัญการให้บริการ - ใบเสร็จรับเงิน - ใบโอนบัญชี สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดขายสินค้า ใบสำคัญรับ สมุดรายวันทั่วไป สมุดซื้อสินค้า ใบสำคัญจ่าย สมุดเงินสด สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป รายงานฐานะการเงิน งบทดลอง ทะเบียนทุนเรือนหุ้น ทะเบียนเงินกู้ - ทะเบียนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ทะเบียนคุมสินค้า - บัญชีย่อยลูกหนี้เงินให้กู้ (ตามประเภท : ฉุกเฉิน สามัญ พิเศษ ) - บัญชีย่อยลูกหนี้การค้า - บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินรับฝาก (ตามประเภท : ออมทรัพย์ ประจำ) - บัญชีย่อยเจ้าหนี้การค้า งบการเงิน - งบดุล - งบกำไรขาดทุน งบต้นทุนขาย/บริการ หมายเหตุประกอบงบการเงิน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป สหกรณ์ร้านค้า/บริการ - ใบเสร็จรับเงิน - ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี- - ใบกับกับสินค้า/ใบกำกับภาษี - ใบสรุปยอดรายรับประจำวัน - ใบส่งเงินค่าขายสินค้าประจำวัน - ใบสั่งซื้อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีจากผู้ขาย ใบกำกับสินค้า/ใบกำกับภาษีจากผู้ขาย ใบนัดเก็บเงินจากผู้ขาย - ใบสรุปยอดรายจ่ายประจำวัน ฯลฯ - ใบเบิกเงิน - ใบสำคัญเงินสดย่อย - ใบส่งคืนสินค้า - ใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี - ใบเบิกสินค้า - ใบโอนบัญชี สมุดเงินสดย่อย สมุดรายวันทั่วไป สมุดขาย สมุดซื้อ สมุดเงินสดรับ สมุดเงินสดจ่าย รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ทะเบียนสมาชิกและหุ้น ทะเบียนเครื่องเขียนแบบพิมพ์ - ทะเบียนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ทะเบียนคุมสินค้า - ทะเบียนคุมส่งคืนสินค้า - ทะเบียนคุมเช็คจ่าย/ทะเบียนคุมเช็ครับ - ทะเบียนค่าใช้จ่ายในการซื้อและดำเนินงาน - บัญชีย่อยลูกหนี้การค้า บัญชีย่อยลูกหนี้ค่าบริการ บัญชีย่อยเจ้าหนี้การค้า - บัญชีย่อยสะสมยอดซื้อ ของสมาชิก - รายงานสินค้า/วัตถุดิบ - รายงานฐานะเงินสด คงเหลือประจำวัน งบทดลอง - งบดุล - งบกำไรขาดทุน - งบต้นทุนขาย/บริการ - หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงิน สหกรณ์ร้านค้า/บริการ
การควบคุมภายในของสหกรณ์ กระบวนการปฏิบัติงานที่บุคลากรในองค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุกระดับ เจ้าหน้าที่ทุกคน มีบทบาทร่วมกันในการพิจารณาจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าการปฏิบัติงาน จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน (Effectiveness and Efficiency of Operation) ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน (Reliability of financial reporting) การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ (Compliance with applicable laws)
องค์ประกอบของการควบคุมภายใน COSO สภาพแวดล้อมการควบคุม การประเมิน ความเสี่ยง กิจกรรม การควบคุม ข้อมูล สารสนเทศ และการสื่อสาร การติดตาม ประเมินผล
สภาพแวดล้อมการควบคุม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการควบคุม 1. ความซื่อสัตย์และจริยธรรม 2. ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน 3. การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหาร/ตรวจสอบ 4. ปรัชญาการบริหารและรูปแบบการปฏิบัติงาน 5. โครงสร้างการจัดองค์กร 6. วิธีมอบอำนาจและความรับผิดชอบ 7. นโยบายด้านทรัพยากรมนุษย์
การประเมินความเสี่ยง องค์กรจำเป็นต้องทำการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งจากปัจจัยภายใน หรือภายนอก เพื่อทราบว่า มีความเสี่ยงอย่างไร ความเสี่ยงนั้น ๆ อยู่ในขั้นตอนใดของงาน มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรมากน้อยเพียงใด
กิจกรรมการควบคุม ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ 1. กำหนดนโยบายและแผนงาน 2. การสอบทานโดยผู้บริหาร 3. การประมวลผลข้อมูล 4. การควบคุมทางกายภาพ 5. การแบ่งแยกหน้าที่ 6. ดัชนีวัดผลการดำเนินงาน 7. การจัดทำเอกสารหลักฐาน 8. การตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ
ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย ข้อมูลทางการเงินการบัญชี ได้แก่ ระบบเอกสาร ระบบบัญชี ระบบประมวลผลข้อมูล ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงาน ได้แก่ นโยบาย แผนงานและงบประมาณ กฎระเบียบต่าง ๆ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบแต่ละตำแหน่งงาน รวมถึงสารสนเทศทางธุรกิจและอื่น ๆ ที่ได้จากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอก
การติดตามประเมินผล การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร อาจทำให้ระบบการควบคุมภายใน มีประสิทธิภาพลดลง จึงต้องมีการติดตามประเมินผล เพื่อให้ผู้บริหารมีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า ระบบการควบคุมภายในยังคงมีประสิทธิภาพ
การตรวจสอบกิจการกับการควบคุมภายใน ผู้ตรวจสอบกิจการต้องศึกษาระบบการควบคุมภายใน โดยละเอียด เพื่อทราบจุดแข็ง จุดอ่อนของสหกรณ์ และใช้เป็นข้อมูลในการวางแนวการตรวจสอบเบื้องต้น ว่าจะตรวจสอบด้านใด ด้วยวิธีการอย่างไร ปริมาณการตรวจสอบเท่าใด และเวลาการตรวจสอบควรเป็นช่วงใด จึงจะเหมาะสม
การควบคุมภายในที่ดี 1. มีการจัดแบ่งส่วนงานที่เหมาะสม 2. มีการกำหนดอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบไว้ชัดเจน 3. บุคลากรมีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน 4. มีการแยกหน้าที่การปฏิบัติงาน การบันทึกบัญชี และการเก็บรักษาทรัพย์สินออกจากกัน 5. มีการอนุมัติรายการโดยผู้ได้รับมอบอำนาจ 6. มีการควบคุมดูแลรักษาทรัพย์สินที่เหมาะสม 7. มีระบบบัญชีที่ให้ข้อมูลแก่ฝ่ายบริหารอย่างเพียงพอ 8. ผู้ตรวจสอบสามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ
แหล่งข้อมูลระบบบัญชีสหกรณ์ www.cad.go.th
สวัสดี