ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Development Communication Theory
Advertisements

Patiphak Namahoot Dip. Thai Board of Family Medicine Director of Chumsaeng Hospital.
การจัดบริการที่เป็น มิตรและสอดคล้อง กับความต้องการ และบริบทของ วัยรุ่น.
เรื่อง หลักการและแนวทางทั่วไป การขออนุมัติโอน เปลี่ยนแปลง ปรับเพิ่ม – ลดงบประมาณ และ รายการ วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2559 คณะวิทยาศาสตร์
กลุ่มงานบริหารงานบุคคล กลุ่มอำนวยการ สถาบันพระบรมราชชนก.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
Training การฝึกอบรม.
(P7S10P1G2) การประชุมถ่ายทอดนโยบายและตัวชี้วัดด้านสาธารณสุข
รายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
บทบาท Peer กับการคือสู่สุขภาวะ
การบริการงานอาชีวเวช ภายนอกโรงพยาบาล
การจัดการองค์ความรู้
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
แพทย์หญิง ฐนิตา สมตน เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team (MCATT)
การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ
ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
แผนงาน ที่ 3 การป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
Risk Management System
การส่งเสริมสุขจิต วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
บทบาทพยาบาลในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ความท้าทายในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ
การจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานสูงวัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุคนธา ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องเพื่อพิจารณา
Cluster วัยทำงาน Cluster วัยผู้สูงอายุ
ภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน และการจัดการ
เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
ความสำคัญของการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง และการนำไปใช้ประโยชน์
การใช้ Big Data และ Artificial Intelligence (AI) ในงานสร้างสุขภาพ
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
(Smart Strategy Praboromarajchanok Institute: SSPI)
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล กองการพยาบาลสาธารณสุข
วัฒนธรรมองค์กร กรมอนามัย
บทที่ 1 ภาพรวมของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
การตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย
๑. หลักการบริหารงานทั่วไปและการบริหารทางการพยาบาล
กรอบแนวคิดในการพัฒนา มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย
Database ฐานข้อมูล.
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม (Social & Culture Change)
ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
NUR4238 ประเด็นและการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
คลินิกไร้พุงคุณภาพ (DPAC Quality)
การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้มีรายได้น้อย
มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลการดำเนินงานวัณโรค ปีงบประมาณ 2561
การขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์
รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพคน งานและองค์กร
สาขาการพัฒนาเครือข่าย สุขภาพอำเภอและบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 2
UHC : Universal Health Coverage: Achieving Social Protection for All
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา ๒๕๖๒
NKP Nursing Care Model : Integrated of Care from Entry to COC
TIM2303 การขายและการตลาด ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
Public Health Nursing/Community Health Nursing
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ( SRM )
โครงการฟันเทียมพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การประชุมเชิงปฏิบัติการ.
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
มนุษยสัมพันธ์ ในการทำงาน
เกษตรอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
สรุปผลการตรวจสอบ รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2554มี ความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดทุกประการ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 1 15/1/61 1.4 แนวคิดและหลักการของจิตเวชชุมชน ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ NUR 2225 การพยาบาลสุขภาพจิต Mental Health Nursing

วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ภายหลังจบบทเรียน นักศึกษาสามารถ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ภายหลังจบบทเรียน นักศึกษาสามารถ อธิบายแนวคิดและหลักการของจิตเวชชุมชนได้ อธิบายหลักการของจิตเวชชุมชนได้ เขียนโครงการจิตเวชชุมชนได้

จิตเวชชุมชน ( ค.ศ 1882 – 1914 ) ที่ว่า การเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากแรงผลักดันในระดับจิตใต้สำนึกตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์เสนอ ( ค.ศ 1917 – 1945 ) มีความเห็นว่าเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกายร่วมด้วย จึงเน้นที่การดูแลทางด้านร่างกายเกี่ยวกับอาหาร น้ำ ความสะอาดต่างๆ ส่วนการดูแลด้านจิตใจ จะมุ่งให้ความเมตตาและอดทนต่อผู้ป่วย ระยะหลังสงครามโลกครั้งที่2 ( ค.ศ 1946 – 1962 ) มีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยทางจิต มีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บทบาทของพยาบาล จึงเน้นที่การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย และผู้ป่วยกับบุคคลอื่นๆในสังคม

จิตเวชชุมชน ล่าสุด ในช่วงเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ( ค.ศ 1963 – ปัจจุบัน ) วงการจิตเวชมีความเห็นว่า การเจ็บป่วยทางจิต มีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การเจ็บป่วยทางจิตมีความสัมพันธ์กับระบบสังคมโดยรวม ตามแนวคิดทฤษฎีระบบทั่วไป (general system theory) ร่วมกับแนวคิดทางด้านสังคม (social model)  บทบาทพยาบาลจากโรงพยาบาลเข้าสู่ชุมชน ผลกระทบจากระบบสังคมต่อสุขภาพจิตของบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน

ความหมายของจิตเวชชุมชน จิตเวชชุมชน (Community psychiatry) = การรักษาโรคจิตเวชในชุมชน สุขภาพจิตชุมชน (Community mental health) = การป้องกันโรคจิตเวชในชุมชน ความหมาย = การดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชนทางด้านสุขภาพจิตที่ครอบคลุมถึง การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาทางจิต การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตของผู้ป่วยในชุมชน

วัตถุประสงค์ของการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน ส่งเสริมให้มีการค้นหาปัญหาทางสุขภาพจิต และจิตเวชด้วยตัวผู้ป่วยเอง หรือโดยครอบครัวของผู้ป่วย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเป็นตัวเอง และฟื้นฟูสภาพจิตใจ ภายในครอบครัวและชุมชน ให้การดูแลเฉพาะเรื่อง ตามความต้องการของผู้ป่วย หรือครอบครัวในสภาพแวดล้อมและสังคมของเขา

วัตถุประสงค์ของการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้มีความรู้ในการดูแลตนเอง และจัดการกับอาการทางจิต การรักษาและอาการทางจิตที่อาจกลับเป็นอีก เพื่อให้พฤติกรรมที่ผู้ป่วยได้รับการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้นจากโรงพยาบาลได้นำไปใช้ที่บ้านและชุมชนของเขา เพื่อประเมินผลความก้าวหน้าของผู้ป่วย และครอบครัวภายใต้แผนการรักษาของทีมการรักษา

บริการที่จะให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน จะต้องอธิบายและพูดคุยกับผู้ป่วยและครอบครัว และอาจจะต้องรวมบริการต่างๆ ดังนี้ แพทย์ประเมินอาการทางจิตเวช และจัดแผนการรักษาที่บ้าน จัดทีมจิตเวชไปดูแล พยาบาลจิตเวชไปเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินครอบครัว ให้ความรู้แก่ครอบครัว ประคับประคองครอบครัวรวมทั้งให้คำปรึกษา

บริการที่จะให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน จัดผู้ช่วยเหลือทางสุขภาพจิต และผู้จัดการให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย (Case management )เช่น 3.1 ผู้ป่วยที่อยู่คนเดียว ระบบครอบครัวไม่ดี ต้องจัดคนดูแลช่วยเหลือ หรือครอบครัวในสภาพแวดล้อมและสังคมของเขา 3.2 การช่วยเหลือในภาวะวิกฤต การดูแลเฉพาะบุคคล การป้องกันการฆ่าตัวตาย 3.3 การกลับเข้าสู่ชุมชนของผู้ป่วย ช่วยเรื่องการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน การซื้อของใช้ กิจกรรมในบ้านและในชุมชน

บริการที่จะให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน 4. การเยี่ยมบ้านของนักสังคมสงเคราะห์ จะช่วยให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้ 4.1 ประเมินชุมชนและปัญหาด้านเศรษฐกิจของผู้ป่วย 4.2 วางแผนระยะยาวเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง 4.3 วางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย 4.4 ช่วยเหลือแนะแนวทางและให้คำปรึกษา

บริการที่จะให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน 5. นักฟื้นฟูบำบัด เช่น นักอาชีวบำบัด นักกายภาพบำบัด ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ทางด้านการฟื้นฟูบำบัดทางการแพทย์ และการดูแลทางด้านจิตเวช 6. บริการด้านการดูแลอื่นๆที่บ้าน เช่น การตรวจทางห้องทดลอง การจัดส่งยา การขนส่ง เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

บทบาทของพยาบาลจิตเวชชุมชนในประเทศไทย บทบาทการปฏิบัติการพยาบาล บทบาทการให้คำปรึกษา บทบาทการบริหารจัดการ บทบาทการศึกษาและวิจัย

บทบาทการปฏิบัติการพยาบาล (Clinical Role) เป็นบทบาทของผู้ให้การดูแลช่วยเหลือโดยตรงแก่ผู้ป่วยจิตเวช ครอบครัว และชุมชนของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตทั้ง 3 ระยะ ตามแนวคิดแบบองค์รวม ใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือปฏิบัติ มีบทบาทดังนี้ การจัดการกับภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย การช่วยเหลือดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพึ่งตนเอง การส่งต่อเพื่อการบำบัดรักษา

บทบาทการปฏิบัติการพยาบาล (Clinical Role) การจัดการกับภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย เป็นการบำบัดรักษาและดูแลผู้ป่วยที่บ้านด้วยการชักนำให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการ การช่วยเหลือดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพึ่งตนเอง เป็นการจัดกิจกรรมต่างๆให้ผู้ป่วยจิตเวชได้มีความรู้ ความข้าใจ ความเป็นจริงเกี่ยวกับตนเองและสังคม มีความรู้สึกในคุณค่าของตนเองและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ การส่งต่อเพื่อการบำบัดรักษา เป็นการตัดสินใจดำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ครอบครัว และ ชุมชน

1.บทบาทการปฏิบัติการพยาบาล การประเมินภาวะสุขภาพ เป็นการประเมินความต้องการจำเป็นด้านร่างกาย จิตใจและสังคม(Biopsychosocial needs) รวมถึงสมรรถนะของผู้ป่วยในการดำเนินชีวิตอยู่ในชุมชน ข้อมูลที่ควรรวบรวม มีดังนี้ - ปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องในช่วงเวลานั้นๆ ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช ได้แก่ อาการ การรักษา การใช้ยา แหล่งใช้บริการ ประวัติสุขภาพอื่นๆ เช่น การเจ็บป่วย การรักษา การใช้ยา การใช้สารเสพติด อดีตและปัจจุบัน ประวัติครอบครัว รวมถึงสุขภาพและความผิดปกติทางจิต

2. การดูแลช่วยเหลือเพื่อการบำบัดรักษา ประวัติด้านจิตสังคม ได้แก่ พัฒนาการทางจิต พฤติกรรมที่โรงเรียน การคบหาสมาคมและดำเนินชีวิต ความสำเร็จหรือยุ่งยากในงานอาชีพ ทักษะสัมพันธภาพระหว่างบุคคล รายได้และแหล่งที่มาของรายได้ ที่พักอาศัย ครอบครัวและการสนับสนุน การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ความสามารถในการดูแลตนเอง การนับถือศาสนา ความเชื่อ การปฏิบัติทางจิตวิญญาณ ประวัติทางกฎหมาย การตรวจสภาพจิต จุดเข้มแข็ง จุดอ่อน จุดบกพร่อง ความเชื่อทางวัฒนธรรม 2. การดูแลช่วยเหลือเพื่อการบำบัดรักษา พยาบาลจิตเวชชุมชนเน้นการเจรจามากกว่าการกำหนดกิจกรรมให้ผู้ป่วยปฏิบัติ

2.บทบาทการให้คำปรึกษา พยาบาลจิตเวชชุมชน ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และ ประชาชนทั่วไป เป็นที่ปรึกษาและ/หรือ ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน แนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน เป็นบทบาทของการสื่อสารแบบสองทาง ที่ใส่ใจความคิด ความรู้สึก และความคาดหวังของผู้อื่น

3.บทบาทการบริหารจัดการ บริหารจัดการหรือดำเนินการภายใต้นโยบายและแผนการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตในฐานะสมาชิกของทีมจิตเวชชุมชน เป็นผู้ร่วมวางแผน กำหนดนโยบายการดำเนินงาน และประเมินผลงานบริการจิตเวชชุมชน รวมทั้งประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรและองค์กรระดับต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน **การประสานงานและทำงานเป็นทีม**

4.บทบาทการศึกษาและวิจัย เป็นผู้ศึกษาวิจัย ผู้ช่วยวิจัย ผู้ร่วมมือในงานวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาการพยาบาลจิตเวชชุมชน

4.บทบาทการศึกษาและวิจัย ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์. (2557).ได้ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนจังหวัดชัยภูมิผลการศึกษา ประชากรจำนวนทั้งสิ้น 166 คน เพศหญิง 90 คนคิดเป็นร้อยละ 54.21 เพศชาย76 คนคิดเป็นร้อยละ 45.79 มีผู้ป่วยจิตเวชอยู่ตามหมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ 1,5,16,19 แบ่งเป็นผู้ป่วยจิตเภท คิดเป็นร้อยละ 80.00 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 20.00 ผลพบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยใน ชุมชน มี 2 1. บุคลากรหรือสหวิชาชีพ ดูแลรักษาให้รับยาและส่งต่อเมื่อมีอาการกำเริบ มีการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยเพื่อลด ความคลาดเคลื่อนทางยา ตลอดจนรู้อาการสำคัญที่จะต้องเฝ้าระวังในผู้ป่วยที่ใช้ยาจิตเวช และมีแนวทางจัดการเบื้องต้นและด้าน การส่งต่อควรมีการรับและส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชโดยการสื่อสารปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยรวมทั้งส่งต่อข้อมูลที่จำเป็น ให้แก่ รพท./รพศ. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ ทำให้มีการส่งต่ออย่างเป็นระบบ มีข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน 2. มีทีมงานให้การดูแลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จัดโครงการ ให้ความรู้ , ละคร 6 ฉากและการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย มีผู้ป่วยจิตเวชเข้าร่วมโครงการ 10 ครอบครัว ผลการดำเนินงานในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วย 9 คน มีการทำหน้าที่ทั่วไป และสมรรถภาพทางจิตดีขึ้น สามารถทำงานได้ มีรายได้เป็นของตนเอง แต่มีผู้ป่วย 1 คน ดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำมีอาการทางจิตต้องส่งรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชฯ ส่วนภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ความ พึงพอใจ โครงการเรื่องโรคทางจิตเวชมากที่สุด และรองมาคือความรู้สารเสพติด

1. ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นที่รังเกียจของชุมชน ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ.(2549)X ได้ทำวิจัยเรื่องเพศวิปริต กับชีวิตที่คืนมาใหม่ กรณีศึกษาผลการใช้เทคนิคภาพยนตร์สั้นอิงวิถีชุมชนในการล้างบาปและนำผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนได้สำเร็จ วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นที่รังเกียจของชุมชน 2. ศึกษาวิถีชุมชนที่เป็นปัจจัยช่วยในการล้างบาปให้กับผู้ป่วย 3. ศึกษา และทดลองการใช้เทคนิคภาพยนตร์สั้นเพื่อใช้ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารและทำความเข้าใจกับชุมชน 4. ติดตามผลสำเร็จของการใช้ภาพยนตร์สั้นในการล้างบาปและนำผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน เพื่อพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ในอนาคต

วิธีการศึกษา กรณีศึกษา แบบไปข้างหน้าไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ญาติและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนประชุมอภิปราย สร้างภาพยนตร์สั้นทดลองและประเมินผล ผลการศึกษา ผู้ป่วยชายอายุ 33 ปี ภูมิลำเนา จ. ร้อยเอ็ด ถูกประชาชนในชุมชนขับไล่และนำมาส่งโรงพยาบาลจิตเวชจากเหตุที่ร่วมเพศกับสุนัข ก้าวร้าวทุบทำลายพระพุทธรูปในวัด ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง ตอบสนองต่อการรักษาดี รู้สึกผิดและละอายกับการกระทำของตนขณะเจ็บป่วย แต่ชุมชนปฏิเสธไม่ยินยอมให้ผู้ป่วยกลับชุมชนจากทัศนคติว่าสิ่งที่ผู้ป่วยทำผิดบาปและน่ารังเกียจ

สหวิชาชีพจึงทำการศึกษาโดยลงเยี่ยมสำรวจและหาข้อมูลเกี่ยวกับกัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนร่วมกับชุมชน พบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้ชุมชนรังเกียจคือ 1. ประวัติการใช้สารเสพติด 2. พฤติกรรมในอดีต 3. กลัวอันตรายจากผู้ป่วย 4. ไม่รู้วิธีแก้ไขถ้าผู้ป่วยมีอาการ

และพบวิถีชุมชนที่เป็นปัจจัยช่วยในการแก้ไขปัญหาคือ 1. ความรักเมตตาที่มีต่อผู้ป่วยก่อนป่วย 2. พ่อแม่ของผู้ป่วยเป็นที่รักของชุมชนแม้จะเสียชีวิตไปแล้ว 3. อยากให้ผู้ป่วยขอขมาเพื่อล้างบาปที่ทำมา จึงเป็นที่มาของนวัตกรรมภาพยนตร์สั้นที่บูรณาการการให้ความรู้เรื่องโรคจิต อาการ การดูแลและการฟื้นฟูเน้นว่าชุมชนเป็นหลักในการช่วยให้หายป่วยและฉายภาพยนตร์ทุกครั้งที่ลงเยี่ยมชุมชนในระยะเวลา 5 เดือน โดยนำเสนอภาพของผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาและ การแสดงความเสียใจต่อความเสียหายที่เกิดจากตนและอยากขอขมากับชุมชน ภายหลังการใช้ภาพยนตร์สั้นอิงวิถีชุมชนเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ชุมชนอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านและรับการขอขมาจากผู้ป่วย ปัจจุบันผู้ป่วยอาศัยในชุมชนมีญาติดูแล อาการทางจิตสงบและช่วยทำงานในวัดได้

สรุปผลการศึกษา การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภทที่ชุมชนรังเกียจต้องอาศัยชุมชนเป็นหลัก การอิงวิถีชุมชนในการวางแผนงานและการใช้นวัตกรรมภาพยนตร์สั้นช่วยส่งเสริมการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพได้รับความร่วมมือและชุมชน รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

สรุปผลการศึกษา การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภทที่ชุมชนรังเกียจต้องอาศัยชุมชนเป็นหลัก การอิงวิถีชุมชนในการวางแผนงานและการใช้นวัตกรรมภาพยนตร์สั้นช่วยส่งเสริมการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพได้รับความร่วมมือและชุมชน รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

กรณีศึกษาการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเภทไร้บ้าน.docx

การพัฒนาบริการสุขภาพจิตชุมชนในระยะต่อไป พัฒนาสัดส่วนบริการสุขภาพจิตให้เหมาะสมกับระบบบริการสาธารณสุข และความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตในชุมชนที่ยังจำกัดในประเทศ ได้แก่ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาล บริการบ้านกึ่งวิถี การเยี่ยมบ้าน และการให้บริการฉุกเฉินในชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนในท้องถิ่น การดำเนินการพัฒนามาตรฐานการบริการสุขภาพจิตในทุกระดับของบริการ การจัดหายาจิตเวชที่พอเพียง อย่างน้อยที่สุดควรหาได้ในรพ.ชุมชน

การพัฒนาบริการสุขภาพจิตชุมชนในระยะต่อไป 5. เครือข่ายในชุมชน ควรได้รับการสนับสนุนให้สนใจงานสุขภาพจิตมากขึ้น ลดอคติและการแบ่งแยกกีดกันผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว 6. บริการสุขภาพจิตชุมชนควรร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น เพื่อให้เกิดบริการสุขภาพจิตในชุมชนที่ยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของชุมชน

11.6 การเขียนโครงการงานจิตเวชชุมชน กรณีตัวอย่างงานสุขภาพจิตชุมชนของประเทศ ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยจิตเวชยุ่งยากซับซ้อนในชุมชน โครงการสุขภาพจิตโรงเรียน โครงการสุขภาพใจภาคประชาชน งานวิกฤตสุขภาพจิตหลังภัยพิบัติสึนามิ รายงานสุขภาพจิตชุมชน2551th.pdf

3.การเขียนโครงการงานจิตเวชชุมชน ข้อกำหนดการทำโครงการบริการสุขภาพจิตชุมชน นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำงาน กลุ่มละ 11 คน เขียนโครงการบริการสุขภาพจิตชุมชน กลุ่มละ 1 โครงการ โดยพิจารณาให้สัมพันธ์กับการป้องกันปัญหาและส่งเสริมสุขภาพจิตที่สำคัญในชุมชน ส่งภายในวันที่ 29 มกราคม 2558 เลือก1 เรื่องนำเสนอ วันที่ 29 เมษายน 2558

การเขียนโครงการประกอบด้วย ชื่อโครงการ ชื่อผู้รับผิดชอบ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย การดำเนินโครงการ วัน เวลา สถานที่ งบประมาณ ประโยชนที่คาดว่าจะได้รับ การประเมินผล 12. สรุปผลการดำเนินโครงการ 13.ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

“ผู้ป่วยหญิงวัย 29 ปี มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต ด้วยอาการซึมเศร้า พยายามฆ่าตัวตาย จากการสูญเสียสามีกะทันหัน และต้องรับภาระเลี้ยงดูส่งบุตรเรียนหนังสือ 3 คน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ 7 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน” จากสถานการณ์ ในฐานะบทบาทของพยาบาลจิตเวชชุมชน จงประเมินภาวะสุขภาพและวางแผนการช่วยเหลือผู้ป่วยรายนี้ในชุมชนและจัดทำโครงการ