งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
อาจารย์พิมลอร ตันหัน คณาจารย์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

2 วัตถุประสงค์การเรียน
นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายและประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือได้ นักศึกษาสามารถอธิบายการแบ่งหมวดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันได้ นักศึกษาบอกความหมายของเลขเรียกหนังสือได้

3 ความหมายของการจัดหมู่หนังสือ
หมายถึง การจัดหนังสือให้เป็นระบบโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ มีการกำหนดสัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นนี้เป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันและ/หรือมีลักษณะการประพันธ์วิธีเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เหมือนกันวางอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจะมีสัญลักษณ์ใกล้เคียงกัน วางอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ไกลกัน

4 ตัวอย่างการจัดหมู่หนังสือในห้องสมุด
ภาพจาก:

5 ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือ
ทำให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดมีสัญลักษณ์ และตำแหน่งการจัดวางที่แน่นอนช่วยผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือได้โดยง่าย ทำให้หนังสือที่เนื้อหาเดียวกัน และ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกัน รวมกันอยู่ในที่เดียวกัน ผู้ใช้ห้องสมุดจึงสามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้โดยง่าย และช่วยให้ได้หนังสือเล่มอื่นที่เกี่ยวข้องกันในห้องสมุดด้วย ทำให้หนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันอยู่ไม่ไกลกัน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวโยงต่อเนื่องกันได้โดยสะดวก ช่วยในการจัดเก็บหนังสือในห้องสมุด ช่วยให้ห้องสมุดทราบจำนวนหนังสือในแต่ละสาขาวิชา

6 ระบบการจัดหมู่หนังสือ
การจัดหมู่หนังสือในปัจจุบันมีหลายระบบขึ้นอยู่กับจำนวนหนังสือในห้องสมุด สาขาวิชาของหนังสือ และประเภทของห้องสมุด การจัดหมู่หนังสือที่นิยมใช้ในสากลและในประเทศไทย ได้แก่ ระบบการหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification – DDC / DC ) ระบบการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification - LC) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Library of Medicine - NLM)

7 ระบบการหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้
Dewey Decimal Classification – DDC / DC เป็นระบบที่นิยมใช้แพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็ก หรือห้องสมุดขนาดกลางที่มีหนังสือทั่วๆไป หลายประเภท หลายสาขาวิชา เช่น ห้องสมุดโรงเรียน หรือห้องสมุดประชาชน คิดโดยบรรณารักษ์ชาวอเมริกัน ชื่อ Melvil Dewey แบ่งสรรพวิชาการในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ โดยใช้เลขอารบิคสามตัวเป็นสัญลักษณ์ แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็น 10 หมวดย่อย เรียกว่าการแบ่งครั้งที่สอง แต่ละหมวดย่อยจะแบ่งครั้งที่สามโดยใช้ตัวเลขหลักหน่วยเป็นสัญลักษณ์ หากเนื้อหาของหนังสือมีความเฉพาะยิ่งขึ้นจะใช้วิธีการเขียนจุดทศนิยม ตั้งแต่ 1 ตำแหน่งขึ้นไป

8 ระบบการหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้
การแบ่งสรรพวิชาในโลกเป็น 10 หมวด ภาพจาก:

9 การแบ่งหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้
แบ่ง 10 หมวดใหญ่ 000 ความรู้ทั่วไป 100 ปรัชญา 200 ศาสนา 300 สังคมศาสตร์ 400 ภาษาศาสตร์ 500 วิทยาศาสตร์ 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 700 ศิลปะ 800 วรรณคดี 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การแบ่งครั้งที่สอง การแบ่งครั้งที่สาม เนื้อหาเฉพาะจะแบ่งโดยใช้เลขหลังจุดทศนิยม

10 ระบบการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
Library of Congress Classification – LC พัฒนาและปรับปรุงมาจากการจัดเก็บหนังสือของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน LC เป็นระบบที่นิยมใช้ในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย “สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง” ใช้ระบบ LC ในการจัดหมู่หนังสือ แบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 20 หมวดใหญ่ ใช้อักษรโรมัน A-Z (ยกเว้น I,O,W,X และ Y) เป็นสัญลักษณ์ รวมกับตัวเลข อารบิค

11 การแบ่งหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
หมวด Q R และ T เป็นหมวดวิชาที่เกี่ยวที่นักศึกษารังสีเทคนิค ภาพจาก:

12 ระบบการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
ในแต่ละหมวดจะแบ่งย่อยมากน้อยต่างกัน โดยใช้สัญลักษณ์ในการแบ่งครั้งที่สองเป็นตัวอักษรตัวที่สองต่อจากอักษรตัวแรก ตัวอย่างเช่น หมวด R Medicine RA Public Aspects of medicine RB Pathology RB1-214 Pathology RB1-17 General works RB24-33 Pathological anatomy and histology RB Clinical pathology. Laboratory technique ต่อจากการแบ่งครั้งที่สอง แต่ละหมวดจะจำแนกเรื่อง (Subject) ของหนังสือโดยใช้ตัวเลขอารบิค ตั้งแต่ กับทศนิยมไม่จำกัดตำแหน่งเป็นสัญลักษณ์ การแบ่งครั้งที่สอง

13 ระบบการจัดหมู่หนังสือระบบห้องแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ เรียกย่อๆ ว่า NLM ใช้สัญลักษณ์การแบ่งหมวดหมู่เป็นตัวอักษรโรมัน และตัวเลขอารบิค โดยใช้หลักเกณฑ์คล้ายกับระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ห้องสมุดในประเทศไทยที่ใช้ระบบ NLN เช่น หอสมุดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น

14 ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดที่ไม่กำหนดเลขหมู่
ใช้สัญลักษณ์ น หรือ นว หรือ FIC ใช้สัญลักษณ์ รส หรือ SC หนังสือนวนิยาย รวมเรื่องสั้น วารสาร/นิตยสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล จุลสาร สื่อโสตทัศนวัสดุ จัดวางขึ้นชั้นวารสารโดยเรียงวารสาร ตามลำดับอักษรของชื่อวารสาร/นิยตสาร และจัดนำเล่มแสดงบนชั้นเฉพาะฉบับล่าสุด จัดเก็บแยกตามชื่อของหน่วยงาน จัดเก็บในแฟ้มเอกสาร หรือตู้เอกสารแยกตามหัวเรื่อง จัดเก็บแยกตามประเภทของสื่อและติดป้ายระบุเลขทะเบียน หรือเลขหมู่ หรือสัญลักษณ์พิเศษตามแต่ละห้องสมุดกำหนด

15 เลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นให้กับหนังสือทุกเล่มในห้องสมุดประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เลขหมู่หนังสือ : เป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือนั้นๆ โดยแตกต่างกันตามระบบหมวดหมู่ เลขผู้แต่ง : เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข ตัวอักษรได้มาจากอักษรตัวแรกของชื่อที่ใช้ลงรายการ ส่วนตัวเลขนำมาจากบัญชีรายการชื่อผู้แต่งในหลักเกณฑ์ทางบรรณารักษศาสตร์ อักษรชื่อเรื่อง : เป็นสัญลักษณ์ได้มาจากอักษรตัวแรกของชื่อหนังสือ

16 ผลการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุด
เลขหมู่หนังสือ

17 การเรียงหนังสือบนชั้นหนังสือในห้องสมุด
ห้องสมุดจัดเรียงหนังสือจากซ้ายไปขวาและจากบนลงล่าง แบ่งตู้หนังสือเป็นล็อคๆ โดยห้องสมุดจะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวาและจากบนลงล่าง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้โดยง่าย วิธีการจัดเรียงห้องสมุดพิจารณาจัดลำดับเลขหมู่หนังสือก่อน จากนั้นจัดเรียงตามเลขหมู่เรียงจากเลขน้อยไปเลขมาก หากเลขหมู่ซ้ำกันให้พิจารณาเรียงตามอักษรผู้แต่ง เลขประจำผู้แต่ง อักษรชื่อเรื่อง ตามลำดับ

18 ภาพจาก: http://www. slideshare
ภาพจาก:

19 ระบบการหมวดหมู่หอสมุดแพทย์อเมริกัน
หอสมุดแพทย์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา  (National Library of Medicine, NLM)  เป็นหน่วยงานหนึ่งของ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institutes of Health, NIH) เป็นห้องสมุดด้านการแพทย์ใหญ่ที่สุดในโลก ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บและให้บริการข้อมูลด้านการแพทย์ทั่วโลก NLM ได้ให้บริการสารสนเทศด้านสุขภาพทั่วโลก  ช่วยให้เกิดการสนับสนุนการค้นพบทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ งานวิจัยด้านคลินิก การศึกษา วิธีการดูแลรักษาสุขภาพ เกิดการตอบสนองด้านสาธารณสุข และการแนะนำให้ประชาชนปรับปรุงรักษาสุขภาพด้วยตนเอง ในศตวรรษที่ 21 นี้ NLM  ได้นำนวัตกรรมสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวก ขยายฐานการเข้าถึงสารสนเทศด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพแก่สาธารณชน

20 ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (NLM= National Library of Medicine Classification System) หนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานหรือ ปรีคลินิก ใช้อักษร QS-QZ แทนหมวดหมู่หนังสือ ดังนี้ QS กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy) QT สรีรวิทยา (Physiology) QU ชีวเคมี (Biochemistry) QV เภสัชวิทยา (Pharmacology) QW จุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกัน (Microbiology and immunology) QX ปรสิตวิทยา (Parasitology) QY พยาธิวิทยาคลินิค (Clinical Pathology) QZ พยาธิวิทยา (Pathology)

21 หนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องใช้อักษร W; WA-WZ แทนหมวดหมู่หนังสือ ดังนี้ W อาชีพแพทย์ (Medical profession) WA สาธารณสุขศาสตร์ (Public health) WB อายุรศาสตร์ (Practice of medicine) WC โรคติดเชื้อต่าง ๆ (Infection diseases) WD โรคขาดสารอาหาร (Deficiency Diseases) WD 200 โรคเกี่ยวกับการเผาผลาญในร่างกาย (Metabolic diseases) WD 300 โรคเกิดจากภูมิแพ้ (Diseases of allergy) WD 400 สัตว์เป็นพิษ (Animal Poisoning) WD 500 พืชเป็นพิษ (Plant Poisoning)

22 WE ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก (Musculoskeletal System) WF ระบบหายใจ (Respiratory System) WG ระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด (Cardiovascular system) WH ระบบทางเดินของเลือดและน้ำเหลือง (Hemic and Lymphatic system) WI ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ (Gastroenteric system) WJ ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ (Urogenital system) WK ระบบต่อมไร้ท่อหรือต่อมเอ็นโดไครน์ (Endocrine system) WL ระบบประสาท (Nervous system) WM จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) WN รังสีวิทยา (Radiology)

23 WO ศัลยศาสตร์ (Surgery) WP นรีเวชวิทยา (Gynecology) WQ สูติศาสตร์ (Obstetrics) WR วิทยาโรคผิวหนัง (Dermatology) WS กุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics) WT เวชศาสตร์ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (Geriatrics, Chronic diseases) WU ทันตแพทย์ศาสตร์ศัลยกรรมช่องปาก (Dentistry oral surge

24 WV วิทยาโสต นาสิก และลาริงซ์ (Otorhinolaryngology) WW จักษุวิทยา (Ophthalmology) WX กิจกรรมในโรงพยาบาล (Hospitals and other health Facilities) WY การพยาบาล (Nursing) WZ ประวัติการแพทย์ (History of medicine)

25

26

27

28 Assignment จงเขียน Mind Map “ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ”
ส่ง เป็น ไฟล์ Word ส่งมาทาง ส่งมาพร้อมกับงาน reference นะคะ


ดาวน์โหลด ppt ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google