สิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนในมิติทางสังคมแก่ผู้เข้าอบรม 2. เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน 3. เพื่อสร้างความเป็นเครือข่ายสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าอบรมและวิทยากรเพื่อประสานงานต่อไป
( มาตรา 3 ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ) “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม” ( มาตรา 3 ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 )
สิทธิ อำนาจ (ประโยชน์) ที่กฎหมายรับรอง คุ้มครอง ให้แก่บุคคล ในอันที่จะเรียกร้องให้บุคคลอื่น กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง สิทธิจึงก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นด้วย เสรีภาพ สภาพการณ์ที่บุคคลมีอิสระในการที่จะกระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งตามความประสงค์ของตน (อำนาจในการกำหนดตนเอง) เสรีภาพไม่ก่อให้เกิด หน้าที่ต่อบุคคลอื่น
สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในชีวิต
สิทธิมนุษยชน : เหรียญ 2 ด้าน สิทธิมนุษยชน : เหรียญ 2 ด้าน หนึ่ง คือ สิทธิในชีวิต อีกด้านหนึ่ง คือ สิทธิในปัจจัยดำรงชีพ เมื่อมีการอ้าง สิทธิมนุษยชน จะต้องอ้างถึงทั้งสองด้านจึงจะสมบูรณ์
สิทธิมนุษยชนมี 2 ลักษณะ คือ เป็นสิทธิที่ติดตัวคนทุกคนมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถถ่ายโอนให้แก่กันได้ เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในรูปของกฎหมาย หรือได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาล
สิทธิมนุษยชน จัดแบ่งได้ 5 ประเภท สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคม สิทธิทางวัฒนธรรม
ไทยได้ลงนามเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลัก ของสหประชาชาติ 7 ฉบับ กติการะหว่างประเทศ / อนุสัญญาฯ ว่าด้วย : 1 สิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ( 2539 ) 2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (2542 ) 3. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (2535) 4. การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (2528)
กติการะหว่างประเทศ / อนุสัญญาฯ ว่าด้วย : 5. การขจัดการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติ ฯ (2546) 6. การต่อต้านการทรมานและ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีมนุษย์ (2550) 7. สิทธิของคนพิการ (2551) 8. การคุ้มครองสิทธิของแรงงานย้ายถิ่น ฯ 9. การคุ้มครองบุคคลจากการถูกบังคับให้สูญหาย
สิทธิมนุษยชน ในรัฐธรรมนูญ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข และสวัสดิการจากรัฐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน สิทธิในการชุมนุมและการสมาคม สิทธิชุมชน สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความรัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง พิจารณาพิพากษาคดีข้อพิพาทระหว่าง ประชาชน : ส่วนราชการ ส่วนราชการ : ส่วนราชการ รัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน - รับเรื่องร้องเรียน สอบสวนการปฏิบัติ หน้าที่ของหน่วยงาน /เจ้าหน้าที่รัฐ - เสนอตีความกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ - ตรวจสอบและรายงานผลการละเมิดสิทธิ เสนอนโยบาย และปรับปรุงกฎหมาย ส่งเสริมการวิจัย การศึกษาและ อบรมเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 7 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการสิทธิฯ 6 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามข้อเสนอของวุฒิสภา จากผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ ด้านการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน เป็นที่ประจักษ์
กลไกการดำเนินงาน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อนุกรรมการ เครือข่าย ภาคประชาสังคม/รัฐ/นักวิชาการ/เอกชน/ประชาชน บุคลากร/เจ้าหน้าที่ สำนักงาน คณะกรรมการสิทธิฯ แนวคิด “สามประสาน”
สถิติเรื่องร้องเรียน ตามสิทธิที่ถูกละเมิด ได้รับปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม จำนวน 838 เรื่อง สิทธิในชีวิต และร่างกาย 14.6% ความเป็นส่วนตัว 1.7% . สิทธิชุมชน 19.7% . ที่อยู่อาศัย 1.5% , กระบวนการ ยุติธรรม 22.7% ทรัพย์สิน 7.8% ผู้บริโภค 2.1% . การศึกษา 1.4% . กระบวนการปกครอง 5.4% ไม่ระบุ 6% . สาธารณสุข 2% การประกอบ อาชีพ 8.2% ได้รับปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม 4% ศาสนา 0.1% การเมือง 1.5% . การสื่อสาร 0.8%
กสม. กสม. กระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กลุ่มงาน คุ้มครอง กสม. หยิบยกประเด็นการละเมิดขึ้นเอง ถ้าเป็นเรื่อง /คดีสู่ศาล จะไม่รับไว้พิจารณา ม.22 สอบปากคำ/สรุปประเด็น กลุ่มงาน คุ้มครอง ไม่อยู่ในอำนาจ(ส่งต่อ) สรุปเสนอ กสม. หน่วยงานอื่น (สำนักคุ้มครองฯ) บันทึกข้อตกลง(MOU)ระหว่าง 1. กสม.กับสภาทนายความ 2. กสม.กับองค์กรอื่นๆ อยู่ในอำนาจหน้าที่ กรณีที่สามารถเยียวยาเบื้องต้น ดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติ รวบรวมข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีเร่งด่วนเสนอ อนุกรรมการชุดต่างๆ มอบหมาย จนท.กลุ่มงานทำหน้าที่เลขานุการ ประธาน กสม. - ไกล่เกลี่ย - ตรวจสอบ กรณีหน่วยงาน ไม่ดำเนินการ กรณีนายกรัฐมนตรีไม่ดำเนินการ จัดทำรายงานการตรวจสอบ แจ้งหน่วยงาน บุคคล ที่ทำการละเมิดสิทธิ จัดทำรายงานการพิจารณา รัฐสภา สาธารณะ นายกรัฐมนตรี หน่วยงาน บุคคล ไม่มีการละเมิด (ยุติเรื่อง) กสม. ติดตามผล (ให้แจ้งผลในกำหนด) อาจฟ้องคดีแทน ตามที่ชุมชนขอ www.nhrc.or.th จัดทำโดย : มานะ งามเนตร์ สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน / ต.ค.2547
ช่องทางการติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร B ชั้น 6-7 1377 หรือ 0 2141 8000 www.nhrc.or.th
www.nhrc.or.th
Q & A สวัสดี
อนุทินแห่งชีวิต จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน ศ.ดร.ป๋วย อี๊งภากรณ์
เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่รับประทานอาหารที่เป็น คุณประโยชน์ และได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสวัสดิภาพของ แม่และเด็ก ผมไม่ต้องการมีพี่น้องมาก อย่างที่พ่อแม่ผมมีอยู่ และแม่ต้องไม่มี ลูกถี่ พ่อกับแม่จะแต่งงานกันอย่างถูกกฎหมาย หรือธรรมเนียมประเพณีหรือไม่ ไม่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผมกับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์
ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียนจะได้มี ความรู้หากินไปได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต ถ้าผมมีสติปัญญาเรียนรู้ขั้นสูงขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวยหรือจน จะอยู่ในเมือง หรือชนบทแร้นแค้น เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ผมต้องการงานอาชีพที่มีความหมาย ทำให้ได้รับความพอใจ ว่าตนได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคม
บ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่ จะต้องมีขื่อมีแป ไม่มีการข่มขู่กดขี่ หรือประทุษร้ายกัน
ประเทศของผมควรจะมีความสัมพันธ์อันชอบธรรม และเป็นประโยชน์กับโลกภายนอก ผมจะได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความคิดและวิชาการของมนุษย์ทั้งโลก และประเทศของผมจะได้มีโอกาสรับเงินทุนจากต่างประเทศ มาใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ผมต้องการให้ชาติของผม ได้ขายผลิตผลแก่ต่างประเทศ ด้วยราคาอันเป็นธรรม
ในฐานะที่ผมเป็นชาวนาชาวไร่ ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควร สำหรับทำมาหากิน มีช่องทาง ได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน มีโอกาสรู้วิธีทำกินแบบใหม่ๆมีตลาดดี และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม ในฐานะที่ผมเป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นส่วน มีส่วนในโรงงาน บริษัท ห้างร้าน ที่ผมทำอยู่
ในฐานะที่ผมเป็นมนุษย์ ผมก็ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสืออื่น ๆ ที่ไม่แพงนัก มีวิทยุฟัง และโทรทัศน์ดู โดยจะต้องไม่มีการรบกวนจากการโฆษณามากนัก
ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรค แก่ผมอย่างฟรี กับบริการการแพทย์รักษาพยาบาลอย่างถูก อย่างดี เจ็บป่วย เมื่อใด หาหมอ หาพยาบาล ได้สะดวก
ผมจำเป็นต้องมีเวลาว่าง สำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว มีสวนสาธารณะ ที่เขียวชอุ่ม สามารถมีบทบาท และ ชมศิลปะวรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่าง ๆ เที่ยวงานวัด งานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ์ งานกุศล อะไรก็ได้พอสมควร ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจน้ำบริสุทธิ์สำหรับดื่ม
เรื่องอะไรที่ผมทำเองไม่ได้ หรือได้แต่ไม่ดี ผมก็จะขอความร่วมมือกับเพื่อนฝูงในรูปสหกรณ์ หรือสโมสร หรือ สหภาพ จะได้ช่วยซึ่งกันและกัน เรื่องที่ผมเรียกร้องข้างต้นนี้ ผมไม่เรียกร้องเปล่า ผมยินดีเสียภาษีอากรให้ส่วนรวมตามอัตภาพ
ผมต้องการโอกาส ที่มีส่วนในสังคมรอบตัวผม ต้องการมีส่วนร่วม ในการวินิจฉัยถึงโชคชะตาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของชาติ เมียผมก็ต้องการโอกาสต่าง ๆ เช่นเดียวกับผม และเราสองคนควรจะ ได้รับความรู้และวิธีการวางแผนครอบครัว เมื่อแก่ ผมและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจากการประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา
เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ คือ ตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น หรือตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำ หรืออากาศเป็นพิษ
เมื่อตายแล้ว ยังมีทรัพย์สมบัติเหลืออยู่เก็บไว้ ให้เมียผมพอใช้ในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้ เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่น ๆ บ้าง ตายแล้วเผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและ ทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป