สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
Advertisements

Production Planning and Control
Some images courtesy of © Copyright © 1999 Houghton Mifflin Company. All rights reserved บทที่ 9 กระบวนการการ จัดการในธุรกิจเชิง.
บทที่ 9 การบริหารคุณภาพ Quality Control and Management
Enterprise Resources Planning (ERP )
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา มกราคม 2559.
อาจารย์ วิทูร ธรรมธัชอารี. เนื้อหาในการเรียน  เครื่องมือในการออกแบบและพัฒนาระบบ บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล  การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ธันวาคม 2558.
การอภิปราย หัวข้อ “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและเตรียม ความพร้อมรับมืออุบัติเหตุทางถนน” นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผอ.กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
ถาวร ชลัษเฐียร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การพัฒนากำลังแรงงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 14 ธันวาคม 2558 เสนอต่อ คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและ.
นางสาวสรัญญา ชื่นเย็น (พี่ออย) เจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ อ.ก้องภู นิมานันท์ อาจารย์ที่ปรึกษา 1.น.ส.นพรัตน์ ปฏิกรณ์ (คุ๊กกี้) นายบุรินทร์
พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย “ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงรา ชานุภาพ ” ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๕๓ ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ ๔ และเจ้าจอม.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
พื้นฐานการเพิ่ม ผลผลิต By : Nukool Thanuanram
ผลที่ได้จากการสอบสวน 1. เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น 2. ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นั้น 3. ใครจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุในครั้งนี้
การฝึกอบรมคืออะไร.
วิชา การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่ม ผลผลิต (Work Development with Quality Management.
การเขียนชื่อ “เรื่อง”
การเพิ่มผลผลิต.
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
Lab 01 : พท 260 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการท่องเที่ยว
บทที่ 3 การตลาดสำหรับธุรกิจ SME
คำขวัญกลุ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริม ใส่ใจ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม กลุ่ม RE-ACC
CAD/CAM/CAE/CNC กับอุตสาหกรรมการผลิต
ระบบการผลิต อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี.
การผลิตแบบทันเวลาพอดี(just In Time:JIT)
เทคนิคการแก้ไขปัญหาแบบ QCC (QC Circle Techniques)
Human resources management
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
.:: ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม .::
การศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลา
การจัดการการผลิตและการปฎิบัติการ
การบริหารคลังสินค้า.
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
การปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Advanced Topics on Total Quality Management
การเขียนหนังสือราชการและการโต้ตอบ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
บทที่ 11 กิจกรรมพัฒนาตนเองและทีมงานคุณภาพเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : Introduction to Information Technology in Agriculture ทพ491 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร อาจารย์อภิพงศ์
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
หลักการและแนวคิดในการเขียนโครงการ เพื่อการพัฒนานิสิต
EASY CLEAR รวดเร็ว ฉับไว ใส่ใจ เรื่องเงิน
หลักการและแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาการทำงาน
Introduction to information System
Introduction to information System
แบบฟอร์มการบริหารโดยการควบคุมคุณภาพ (QCC) ดีเด่น ปี 2561
Yeunyong Kantanet School of Information and Communication Technology
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม (Social & Culture Change)
ทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรณีการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บรรยายโดย คุณครูกิริยา ทิพมาตย์ สพม. เขต 23
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
การวางแผนระบบการผลิต
การผลิตและการจัดการการผลิต
Educational Standards and Quality Assurance
จิตสำนึกคุณภาพ.
ตอนที่ 3.2 กลยุทธ์การบริหารเจ้าหน้าที่
การเตรียมการ มาตรการชุมชน
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
พลตำรวจตรี สุรัตน์ อรุณฤกษ์ถวิล อาจารย์ (สบ
การบริหารการผลิต.
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
การควบคุม (Controlling)
Inventory Control Models
การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
ใบงาน Work Shop หน่วยงานสนับสนุน
Program Evaluation Achakorn Wongpreedee, Ph.D.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ การเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ คุณเคยคิดบางหรือไม่ ว่าคุณ สามารถทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิตได้ ในงานที่คุณทำ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

เหตุผลที่ต้องทำการเพิ่มผลผลิต 1. เพื่อใช้ทรัพยากรประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด 2. เพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งขันในตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศได้ หมายถึง การทำงานที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูง หากมีการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตแล้ว จะทำให้งานมีคุณภาพรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ 3. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นวิถีทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายสำคัญสูงสุด คือการยกระดับมาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนในทุกระดับ ดังนั้น “ การเพิ่มผลผลิต จึงเป็นตัวชี้วัดความอยู่รอดขององค์กร หน่วยงาน และประเทศชาติ ”

ประโยชน์ที่ไดรับจากการเพิ่มผลผลิต การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุก ๆ คน ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเพิ่มผลผลิตจะกลับคืนสู่ทุกคนในรูปแบบ ต่าง ๆ คือ * ได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการทำงาน * มีสภาพการทำงานในโรงงานที่ดีขึ้น สะอาด มีระเบียบ เรียบร้อย * มีความมั่นคงในการทำงาน ไม่ถูกปลดออกจากงาน * มีคุณภาพชีวิตที่ดี * มีการปรับปรุงพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ทั้งในด้านทักษะ ความสามารถ ฯลฯ

ความหมายของการเพิ่มผลผลิต คำว่า การเพิ่มผลผลิต นั้นที่จริงหมายถึง การเพิ่มอัตราผลผลิต - ผลผลิต คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ได้จากกระบวนการ ผลิต หรือบริการ - การผลิต คือ กระบวนการทำงานในการผลิต หรือบริการ - อัตราผลผลิต คือ มาตรวัดสมรรถนะ การทำงานผลิต หรือบริการ โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น ทุน ประกอบด้วย อาคาร ที่ดิน และเครื่องจักรอุปกรณ์ แรงงาน และวัสดุ

แนวคิดการเพิ่มผลผลิต (PRODUCTIVITY) 1. แนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ 2. แนวคิดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

แนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่า การเพิ่มผลผลิต คือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่า มูลค่าผลิตผลที่ได้ มูลค่าทรัพยากรที่ใช้ [OUTPUT] [INPUT] อัตราผลผลิต =

Output = ผลผลิต Output คือ ที่นำมาคำนวณหาค่าเพิ่มผลผลิตนั้น ต้องเป็นผลผลิตที่ขายได้จริงๆ ไม่นับรวมผลิตที่เป็นของเสีย หรือผลผลิตที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และผลผลิตที่เก็บไว้ในคลังสินค้า (เพราะไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้องค์การ)

แนวทางการเพิ่มผลผลิต 1. มูลค่าผลผลิตเพิ่ม และมูลค่าทรัพยากรที่ใช้เท่าเดิม Output เพิ่ม Input เท่าเดิม 2. มูลค่าผลผลิตเพิ่ม และมูลค่าทรัพยากรที่ใช้น้อยลง Output เพิ่ม Input น้อยลง

แนวทางการเพิ่มผลผลิต 3. มูลค่าผลผลิตเพิ่ม และมูลค่าทรัพยากรที่ใช้เพิ่มด้วย มูลค่าผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า อัตราการเพิ่มของมูลค่าทรัพยากรที่ใช้ Output เพิ่ม Input เพิ่ม 4. มูลค่าผลผลิตเท่าเดิม และมูลค่าทรัพยากรที่ใช้ลดลง Output เพิ่ม Input น้อยลง

แนวทางการเพิ่มผลผลิต 5. มูลค่าผลผลิตลดลงจากเดิม และมูลค่าทรัพยากรที่ใช้ ลดลงมากกว่า Output เพิ่ม Input เพิ่ม แผนก ประกอบ 2 ผลิตตู้กับข้าว เดิมใช้เวลาในการผลิต 10 นาที/ตัว ได้มีการปรับปรุงวิธีการผลิต จนเวลาในการผลิตลดลง 8 นาที/ตัวเป็นการเพิ่มผลผลิตหรือไม่ และเพิ่มผลผลิตแบบใด Output Input

อัตราผลผลิต ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประสิทธิผล (Effectiveness) ในการทำงานเป็นตัวบ่งชี้การบรรลุผลตามเป้าหมายในการทำงานนั้น ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำงานเป็นตัววัดการใช้ทรัพยากร ในการบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ว่ามีการใช้อย่างประหยัดเพียงใด สรุปได้ว่า การบรรลุเป้าหมาย หรือไม่ แสดงโดยประสิทธิผล ในขณะที่การใช้ทรัพยากร อย่างดีเพียงไร แสดงโดยประสิทธิภาพ

ประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ในการทำงาน กับอัตราผลผลิต การใช้ทรัพยากร (ประสิทธิภาพ) การบรรลุผลตามเป้าหมาย (ประสิทธิผล)

องค์การเพิ่มผลผลิตยุโรป แนวคิดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เหนือสิ่งอื่นใด การเพิ่มผลผลิต คือ….. ทัศนคติของจิตใจที่แสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ความเชื่อมั่นว่า “เราสามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และพรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้” ความพยายามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดที่จะปรับปรุงสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจให้ดีขึ้น ความเชื่อในความก้าวหน้าและความสามารถของมนุษย์ องค์การเพิ่มผลผลิตยุโรป (EPA 1958)

ประเภทการเพิ่มผลผลิต เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นงาน 2. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นเทคโนโลยี 3. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นพนักงาน 4. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นผลิตภัณฑ์ 5. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นวัสดุ

วิธีการเพิ่มผลผลิต เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นงาน การศึกษาการทำงาน เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการพัฒนา ปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีขั้นตอนอยู่แปดวิธี หรือบันไดแปดขั้น 1. เลือกงานสำคัญ เหมาะแก่การศึกษา ปัญหาคอคอด 2. บันทึกโดยตรง การใช้แผนภูมิ หรือแผนภาพ 3. ลงมือตรวจตรา วิเคราะห์วิธีการทำงานที่เป็นอยู่ โดยใช้เทคนิคตั้งคำถาม 6W 1 H

6 W 1 H วิเคราะห์แต่ละขั้นตอนว่า ทำอะไร (What) ทำที่ไหน (Where) ทำเมื่อไร (When) ใครเป็นคนทำ (Who) ทำอย่างไร (How) ทำไมต้องทำ ทำไมต้องทำที่นั้น ทำไมต้องทำอย่างนั้น (Why) มีอะไรอย่างอื่นที่ทำได้ที่อื่น เวลาอื่น คนอื่น วิธีอื่น (Which)

การศึกษาการทำงาน 4. พัฒนาวิธีใหม่ ค้นหาวิธีใหม่ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ต้องมีการบันทึก ตรวจตรา เพื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิม 5. วัดให้รู้จริง หาตัวเลขข้อมูลการประหยัดการเคลื่อนไหว และเวลาที่ได้ และนำมาปรับปรุง 6. ทุกสิ่งนิยามไว้ กำหนดวิธีการทำงาน แบบที่เสนอแนะ เพื่อใช้อ้างอิงในทางปฏิบัติ 7. ใช้งานเป็นประจำ นำวิธีการทำงานแบบใหม่ไปปฏิบัติ 8. ดำรงไว้ซึ่งวิธี คอยตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามมาตร ฐานที่ปรับปรุง

การวัดงาน การวัดงาน หรือการศึกษาการทำงาน หมายถึง มาตรฐานในการทำงานขั้นตอนต่างๆ หลักการ ของการวัดงาน คือ แบ่งการปฏิบัติออกเป็นงานย่อยที่ชัดเจน และกำหนดเวลาในการทำงานให้กับงานย่อย มีสี่วิธีในการกำหนดเวลา 1. การจับเวลาโดยตรง 2. การสุ่มงานตามหลักการสุ่มตัวอย่าง 3. การใช้ระบบการเคลื่อนไหว เวลาที่พิจารณาไว้ล่วงหน้า 4. การใช้สูตรคำนวณกำหนดเวลา

เทคนิคเพิ่มผลผลิตแบบเน้นเทคโนโลยี 1. การออกแบบโดยใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-aided design = CAD) 2. การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-aided manufacturing=CAM) 3. การผลิตแบบประสานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-integrated manufacturing=CIM) 4. ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (Flexible manufacturing system = FMS) 5. หุ่นยนต์ 6. เทคโนโลยีกลุ่ม (Grounp Technology) 7. การประหยัดพลังงาน 8. การจัดการสภาพแวดล้อม

เทคนิคเพิ่มผลผลิตแบบเน้นพนักงาน กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มควบคุมคุณภาพ 5 ส ความปลอดภัย และระบบข้อเสนอแนะ กิจกรรมกลุ่มมุ่งเน้นให้ - พนักงานทำงานกันอย่างเป็นทีม - เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหา - มีวินัย รักความเรียบร้อย - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ - ตระหนักว่าการเพิ่มผลผลิตเป็นหน้าที่ของทุกๆคน

เทคนิคเพิ่มผลผลิตแบบเน้นพนักงาน 1. กลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality control circle = QCC) เป็นการทำงานเป็นทีม โดยกลุ่มอาสาสมัคร ประมาณ 4 – 8 คน ซึ่งร่วมกันแก้ไขปัญหาการผลิต คุณภาพ สภาพแวดล้อม ในการทำงาน การซ่อมบำรุงเครื่องจักร 2. ควบคุมคุณภาพเชิงรวม (Total quality control = TQC) เพื่อให้พนักงานทุกระดับชั้นมีส่วนร่วม และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทุกขั้นตอนของกิจกรรม เช่น การสำรวจ การวิจัย และพัฒนา การออกแบบ การวางแผนการผลิต การจัดหาวัสดุ การผลิตเอง ตรวจสอบ

เทคนิคเพิ่มผลผลิตแบบเน้นผลิตภัณฑ์ 1. วิศวกรรมคุณค่า (Value engineering = VE) เป็นระบบการพัฒนาดัดแปลง แบบผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อให้ได้ประโยชน์ใช้สอย ดีขึ้น โดยที่ต้นทุนการผลิตต่ำ คุณค่า = หน้าที่ใช้งาน/ ต้นทุน 2. การใช้ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน หมายถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้ชิ้นส่วนอย่างเดียวกันเท่าที่จะทำได้ ประโยชน์ อุปกรณ์ในการผลิตทำได้ง่ายขึ้น ราคาถูก ควบคุมพัสดุคงคลัง ของชิ้นส่วนต่างๆได้สะดวกขึ้น

เทคนิคเพิ่มผลผลิตแบบเน้นวัสดุ 1. การจัดการวัสดุ คือ การวางแผน ออกแบบ และจัดระบบวัสดุ เพื่อมีใช้ในปริมาณที่ต้องการ ณ. เวลาที่กำหนด ระบบวัสดุ ครอบคลุมถึงการจัดซื้อ การจัดส่ง การเคลื่อนย้ายวัสดุภายในหน่วยงาน ระบบวัสดุที่มีประสิทธิภาพ จะบอกได้ว่าวัสดุรายการใดมีมากเกินไป และรายการใดเป็นที่ต้องการมากหรือน้อย การวิเคราะห์ ABC การแบ่งวัสดุ ออกเป็น 3 ประเภท - A เป็นรายการที่มีมูลค่าการใช้สูง จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด - B เป็นรายการที่มีมูลค่าการใช้ปานกลาง ดูแลพอสมควร - C เป็นรายการที่มีมูลค่าการใช้ต่ำ ไม่ต้องดูแลมาก

เทคนิคเพิ่มผลผลิตแบบเน้นวัสดุ 2. ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (Material requirment planning = MRP) เป็นเทคนิคการวางแผน และควบคุมวัสดุต่างๆ ระบบ MRP ทำงานโดยใช้ข้อมูล 3 ชุดคือ - แผนการผลิตหลัก ซึ่งแสดงอุปสงค์ ของสินค้าสำเร็จรูป ที่ต้องการ ตลอดระยะเวลาที่วางแผน - รายการวัสดุ แตกรายการสินค้าสำเร็จรูป ในแผนการผลิตหลักให้ เป็นส่วนประกอบย่อย - บันทึกสภาพวัสดุคงคลัง ซึ่งระบุจำนวนชิ้นส่วน ส่วนประกอบย่อย

เทคนิคเพิ่มผลผลิตแบบเน้นวัสดุ 3. ระบบทันเวลาพอดี (Just In Time = JIT) ระบบบริหารงานผลิต - การกำจัดความสูญเปล่าในด้านต่างๆ เช่นปริมาณการผลิต มากเกินต้อง การรอคอย ความซับซ้อนในกระบวนการผลิต การจัดการวัสดุ - การควบคุมกระแสวัสดุ เพื่อลดเวลานำจากจุดสั่งซื้อ จนถึงจุดที่วัสดุถึงสายการผลิต - การเปิดโปง และกำจัด ที่ต้นตอของปัญหา แทนที่จะไปจัดการที่ปลายเหตุ

การเพิ่มผลผลิตด้วนตนเอง ทัศนคติในการทำงาน การเพิ่มผลผลิตเป็นทัศนคติของจิตใจ ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงอยู่เสมอ ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ที่สำคัญพนักงานต้องมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ( มีความรักองค์กร ) ด้วย จึงจะทุ่มเทให้แก่องค์กร ทัศนคติที่ดีต่อองค์กรมักจะมาจากความเข้าใจที่ดี ( ต่อองค์กร ต่อผู้บริหาร ต่อผู้ร่วมงาน ) และการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆขององค์กร เรื่องทัศนคติในการทำงาน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และเกี่ยวพันกับสิ่งต่าง ๆ คือ ความมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การปฏิบัติตามคู่มือ การรักษาความสะดวกและเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน ฯลฯ

การเพิ่มผลผลิตด้วนตนเอง ผู้บริหารช่วยในการเพิ่มผลผลิต ได้ดังนี้ 1. ส่งเสริมการพัฒนางาน เช่น ให้การอบรม ศึกษาดูงาน เพื่อสร้างความเข้าใจ 2. ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรรม 3. ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจลูกน้องขณะที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ 4. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย และเหมาะสมมาช่วยในการทำงาน 5. เอาใจใส่และรับฟังข้อมูลต่าง ๆ 6. กระตุ้นให้มีการเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิตด้วนตนเอง หัวหน้างานช่วยในการเพิ่มผลผลิต ได้ดังนี้ 1. ให้คำปรึกษา แนะนำ และอบรมความรู้ทักษะต่าง ๆ เพื่อช่วยให้พนักงาน มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับงาน 2. ช่วยเหลือให้พนักงานจัดกิจกรรม เพิ่มผลผลิตต่าง ๆ เช่น กิจกรรรม 5 ส. กิจกรรมข้อเสนอแนะ และกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ฯลฯ 3. ให้การอบรม และจัดทำคู่มือการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกวิธีและเหมาะสม 4. มีความเข้าใจในการถ่ายทอด สื่อสาร ข้อมูล ให้พนักงาน ผู้บริหารได้ดี 5. พัฒนาตนเอง และแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ในเรื่องการทำงานอยู่เสมอ 6. ตรวจติดตามดูแล การทำงานของลูกน้องอย่างใกล้ชิด 7. ให้ขวัญกำลังใจในการทำงานกับลูกน้อง

การเพิ่มผลผลิตด้วนตนเอง พนักงานช่วยในการเพิ่มผลผลิต ได้ดังนี้ ทุกคนในหน่วยงานล้วนมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตที่ยั่งยืนด้วยกัน 1. เข้าใจเป้าหมายและนโยบายของหน่วยงาน 2. เรียนรู้งานและคิดปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ 3. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และมีทักษะในการสื่อสารที่ดี 4. มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน 5. เสียสละ แรงกาย แรงใจ เพื่อให้ได้ตามกำหนดเป้าหมาย 6. ทำงานเป็นทีม 7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน 

การเพิ่มผลผลิตด้วนตนเอง 8. รู้จักวางแผนล่วงหน้าและใช้เวลาให้คุ้มค่า 9. ช่วยกันผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง 10. ช่วยกันประหยัดและลดความสูญเสียต่าง ๆ 11. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด 12. ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน 13. ช่วยรักษาความสะอาดพื้นที่ และสถานที่ทำงาน ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ 14. อย่าหยุดงานโดยไม่จำเป็น มาสายให้น้อยลง 15. ทำงานด้วยวิธีที่เหมาะสมให้ชำนาญขึ้น 16. เอาใจใส่ดูแล ซ่อมแซม เครื่องจักร อุปกรณ์มากขึ้น

การเพิ่มผลผลิตโดยรวมของชาติที่ได้คุณธรรมและยั่งยืน เพื่อลูกค้า เพื่อพนักงาน เพื่อสังคม Q C D S M E E คุณภาพ ต้นทุน จริยธรรม การส่งมอบ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ขวัญและกำลังใจ

1. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการผลิต P ( Production Volume ปริมาณการผลิต ) Q ( Quality คุณภาพ ) C ( Cost ต้นทุนการผลิต ) D ( Delivery การส่งมอบ ) S ( Safety ความปลอดภัย ) M ( Morale ขวัญกำลังใจของพนักงาน )

3.มูลค่าของเสียจากการผลิต 4.ปริมาณของเสียจากการผลิต บาท ชิ้น ทำได้ ทำได้ เป้าหมาย เป้าหมาย มค กพ มีค เมย พค มิย …… มค กพ มีค เมย พค มิย …… 5.มูลค่าการใช้วัสดุสิ้นเปลือง บาท ทำได้ เป้าหมาย มค กพ มีค เมย พค มิย ……

ตัวอย่าง บอร์ดควบคุมการผลิต กระบวนการ ………………….. วันที่ ………………….. ผู้บันทึก …………………..

ปุ่มกด ต้องกดพร้อมกัน 2 มือ มาตรฐานการทำงาน แนวการปั๊ม แกนต้อง ตั้งฉาก วงล้อ กรอบสีเขียว วงล้อ และ แกน ต้องจัดใส่แบบล่างให้แน่น หลังประกอบเสร็จ ต้องตรวจสอบด้วย “Poka-Yoke” ปุ่มกด ต้องกดพร้อมกัน 2 มือ พนักงาน

ใบสั่งงานสำหรับแต่ละงาน ก. JOB SHOP PRODUCTION 1.) ตัวอย่างบอร์ดสั่งงาน ในโรงงาน วันที่__/__/____ หน่วยงาน : กลึง บอร์ดสั่งงาน หัวหน้างาน : Y.M. (ชื่อพนักงาน) ก ข ค ใบสั่งงานสำหรับแต่ละงาน (งานต่อไป) (งานปัจจุบัน) (งานที่เสร็จแล้ว)

การควบคุมคุณภาพ 4 ชนิดของโรงงาน ประเภท QC เครื่องมือ/วิธีการ ข้อดี/ข้อเสีย ก่อนการผลิต ลดสาเหตุ การเกิดของเสีย การเตรียมการก่อนการผลิต ให้มีสภาพพร้อมและถูกต้อง (Before Processing) รวดเร็ว ได้ผล และ ประหยัดที่สุด ระหว่างการผลิต Check / Action Self Check (During Processing) รายงานส่งผู้บริหาร ปรับปรุงโดยผู้บริหาร หรือ QCC วิธีปกติ ช้ากว่า ไม่ได้ แก้ไขปัญหาทันทีที่ เกิดขึ้น หลังการผลิต (After Processing) หลังถึงมือลูกค้า นำคำตำหนิจาก ลูกค้ามาปรับปรุง ช้าที่สุด มีความเสียหายมาก (After Delivery)

2. อัตราของเสียของทุกผลิตภัณฑ์รวมกัน การแสดงอัตราของเสียและมูลค่าของเสีย (%) อัตราของเสีย มูลค่าของเสีย บาท มูลค่าของเสีย อัตราของเสีย เป้าหมายอัตราของเสียและ มูลค่าของเสีย ม.ค มี.ค พ.ค ก.ค. ก.ย. พ.ย. ปี 2545

3. รายงานอัตราการคืนสินค้าจากลูกค้า จำนวนคำร้องเรียนจากลูกค้า มูลค่าความเสียหาย (บาท) จำนวนที่เกิดขึ้น มูลค่าความเสียหาย เป้าหมายควบคุม ม.ค มี.ค พ.ค ก.ค. ก.ย. พ.ย. ปี 2545

ตัวอย่างของเสียและความถี่ 1 2 3 4 5

ตัวอย่างชิ้นงานที่ได้คุณภาพเปรียบเทียบกับของเสีย เยื้องซ้าย มาตรฐาน เยื้องขวา

การแปรสิ่งที่เห็นเป็นการจัดการ ข้อมูล กราฟ การกระทำ ( ACTION ) สี / เส้น ผลิตภัณฑ์ A P ภาพ C D ...