01132491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ Basic Research Methods in Business ณรงค์พงศ์ เพิ่มผล เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ 7 : 12 ก.ย. 60
หัวข้อบรรยาย ความหมายการวิจัยทั่วไป ความหมายการวิจัยทางธุรกิจ ประเภทของการวิจัย มิติต่างๆ ของการวิจัย จรรยาบรรณการวิจัย คุณค่าการวิจัยต่อธุรกิจ บทบาทการวิจัยกับการจัดการทางธุรกิจ
ความหมายการวิจัยทั่วไป “Research” การค้นคว้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายๆ ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งมั่นใจว่า ค้นพบข้อเท็จจริงที่สามารถจะคาดการณ์ ทำนายและอธิบายในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างถ้วนถี่และเชื่อถือได้ การวิจัยรากศัพท์ละติน Re + Search Research Again + Cercier อีกครั้งช้าๆ การค้นคว้า/แสวงหา
ความหมายการวิจัยทั่วไป OXFORD Advanced Learner’s Dictionary (1994 :1073) ที่เสนอว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research ที่ระบุความหมายว่า “Careful Study and Investigate” ที่หมายถึง การวิจัยเป็นการศึกษาและการสืบค้นความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความระมัดระวังอย่างละเอียดถี่ถ้วน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2546) กำหนดให้ความหมายการวิจัย 2 ประเด็นคือ “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา” “การวิจัยเป็นการสะสมและรวบรวม” การวิจัย หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยใช้อุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง หรือค้นหาหลักการสำหรับนำไปใช้ตั้งกฎ ทฤษฏี หรือแนวทางปฏิบัติ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,2547 :45)
ความหมายการวิจัยทั่วไป พจนานุกรม Webster’s New Twentieth Century Dictionary (1966) ให้คำจำกัดความ “Research” - การสอบสวน/ตรวจสอบในความรู้สายใดสายหนึ่งอย่างระมัดระวัง อดทน อย่างเป็นระบบ ระเบียบและขันแข็งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และกฎเกณฑ์ต่างๆ - การแสวงหาความจริงอย่างคร่ำเคร่งและต่อเนื่อง Williams and Stevenson (1963) ให้ความหมาย Research ว่า “การค้นหาโดยวิธีครุ่นคิด/การแสวงหาอย่างคร่ำเคร่ง เพื่อให้เกิดความแน่นอน” Plutchick (1968) ให้ความหมายในทำนองว่า การวิจัยเป็นการ สำรวจเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบ 2 อย่าง : - การพยายามอย่างเข้มแข็งที่จะค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ - การพยายามจัดระเบียบข้อเท็จจริงที่ค้นพบให้เป็นแบบแผนที่มีความหมาย
ความหมายการวิจัยทั่วไป Best and Khan (1998 : 18) คือ การวิเคราะห์และบันทึกการสังเกตภายใต้การควบคุมอย่างเป็นระบบระเบียบและเป็นปรนัยที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎี หลักการหรือการวางนัยทั่วไปโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง การใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่สำหรับการศึกษา ค้นคว้าความรู้ใหม่ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ มีการทดสอบสมมติฐานที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (Burns and Grove, 1997 : 3) Kerlinger (1986) ให้ความหมายของ “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นการไต่สวนสืบค้นปรากฏการณ์ตามต่างๆ ธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกตการณ์จริงและการวิพากษ์วิจารณ์ โดยใช้ทฤษฎีและสมมติฐานเป็นแนวทางค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์นั้น Schumacher และ Mcmillan (1993) อธิบายถึง “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงระบบในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2540) ให้ความหมาย การวิจัย ว่า ความหมายการวิจัยทั่วไป บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2540) ให้ความหมาย “การวิจัย” ว่า กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ - การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง = ผู้วิจัยต้องค้นคว้าให้ได้มาทั้งข้อเท็จและ ข้อจริง ศึกษาค้นคว้าครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมทั้งข้อสนับสนุนและข้อคัดค้าน - การศึกษาค้นคว้าต้องทำเป็นระบบระเบียบเป็นขั้นตอนมีเหตุมีผล = วิธีทางวิทยาศาสตร์ - การศึกษาค้นคว้าต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง/หลายอย่างผสมกัน สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2540) ให้ความหมาย การวิจัย ว่า กระบวนการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษาโดยที่มี…- การเก็บรวบรวมข้อมูล - การจัดระเบียบข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การตีความหมายผลการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง กระบวนการ = กิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำขึ้นโดยมีความเกี่ยวโยงต่อเนื่องกันอย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย
ความหมายการวิจัยทั่วไป ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ปี1961 ประเทศสหรัฐ ได้มีการอธิบายถึงความหมายคำว่า “ R E S E A R C H ” R = Recruitment and Relationship E = Education and Efficiency S = Science and Stimulation E = Evaluation and Environment A = Aim and Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizon
ความหมายการวิจัยทั่วไป R = Recruitment and Relationship การฝึกฝนให้คนมีความรู้ การรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน E = Education and Efficiency ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และมีสมรรถภาพสูงในการวิจัย S = Science and Stimulation การวิจัยเป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริงโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่ม การกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิจัย E = Evaluation and Environment ผู้วิจัยต้องรู้จักการประเมินคุณค่าของผลงานวิจัยประโยชน์มาก/น้อย และต้องรู้จักใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และอาจรวมถึงกำลังคนในการวิจัยอย่างเหมาะสม
ความหมายการวิจัยทั่วไป A = Aim and Attitude การวิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมาย/เป้าหมายที่แน่นอนและผู้วิจัยต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัยตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ และติดตามผลการวิจัย R = Result ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจะต้องยอมรับกันอย่างดุษฎี เพราะเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้า ศึกษาอย่างมีระบบระเบียบที่ดีและถูกต้อง C = Curiosity ผู้วิจัยต้องมีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ ความสงสัยและขวนขวายในการศึกษาวิจัยตลอดเวลา H = Horizon ผลงานการวิจัยย่อมทำให้ทราบและเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งเสมือนกับเกิดแสงสว่าง หากการวิจัยยังไม่บรรลุผลจะต้องหาทางศึกษาค้นคว้าต่อไปจนสำเร็จ
การวิจัยทางธุรกิจ ---> Business Research ความหมายการวิจัยธุรกิจ การวิจัยทางธุรกิจ ---> Business Research เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่มีระบบ ระเบียบอย่างถูกต้องตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยปราศจากการอคติ และมีประสิทธิภาพ ผลวิจัยสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในกระบวนการตัดสินใจ/การแก้ไขปัญหาการบริหารทุกลักษณะของธุรกิจ Zikmund (2000) ให้ความหมาย “การวิจัยทางธุรกิจ” ว่า การรวบรวมข้อมูล / สารสนเทศที่มีกระบวนการอย่างเป็นระบบระเบียบและมีวัตถุประสงค์ : - การรวบรวม (Gathering) - การบันทึก (Recording) - การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) ทั้งนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
ความหมายการวิจัยธุรกิจ Cooper และ Schindler (2003) อธิบายความหมายว่า เป็นระบบที่มีจุดประสงค์เกี่ยวกับการจัดเตรียมหาข้อมูล คำแนะนำเพื่อที่จะใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี (2542) ได้ให้ความหมาย “การวิจัยธุรกิจ” หมายถึง การศึกษาค้นคว้าถึงความจริงเกี่ยวกับธุรกิจด้วยวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Method) ถูกต้องตามระบบที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่ใช้วิจัยทางธุรกิจ ตั้งแต่… การวิจัยทางการจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี การผลิต ตลอดจนเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะจุดมุ่งหมายการวิจัย 1. การวิจัยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งหาคำตอบ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน 2. การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร 3. การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดยปัญหาบางปัญหาไม่สามารถทำการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้
แนวคิดพื้นฐานการวิจัย 1. กฎเหตุและผลของธรรมชาติ (Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ หรือ เมื่อกำหนดสถานการณ์ใดที่เป็นสาเหตุย่อมจะหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน 2. กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ (Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน เช่น y = f (x) หรือ y = ax+b เป็นต้น ผู้วิจัยจะนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่ว ๆ ไปได้ 3. กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ (Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า การเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน 4. กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ (Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่น ๆ (ตัวแปรแทรกซ้อน/สอดแทรก) ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ 5. กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ (Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ความรู้/ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ที่มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง
หลักในการจำแนกประเภทการวิจัย 1. ต้องมีกลุ่มครบถ้วน (mutually exhaustive) เมื่อใช้เกณฑ์นั้นแล้ว จะต้องมีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่สมาชิก แต่ละหน่วยที่ต้องการจําแนกนั้น สามารถลงหรือจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ 2. แต่ละกลุ่มที่กำหนดเพื่อจำแนกประเภทจะต้องแยกออกจากกันและ กันโดยเด็ดขาด (mutually exclusive) สมาชิกแต่ละหน่วย หรือแต่ละสิ่งที่ต้องการจําแนกประเภทเมื่อได้ลงหรือจัดลงเป็นสมาชิก ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้ว จะต้องไม่สามารถจัดเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นได้อีก 3. แต่ละกลุ่มควรจะมีความหมายที่ชัดเจนและมีจำนวนมากเพียงพอ
ประเภทการวิจัย มิติการจำแนกการวิจัย - เหตุผลของการทำวิจัย - วัตถุประสงค์ของการวิจัย - วิธีการวิจัย - สถานที่หรือทำเลของการวิจัย - วัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวิจัย - ผู้กระทำการวิจัย
การจำแนกตามเหตุผลการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามเหตุผลการวิจัย การวิจัยพื้นฐาน/การวิจัยบริสุทธิ์ (Basic Research/Pure Research) : การวิจัยแสวงหาความรู้และความเข้าใจในประเด็นเรื่องต่างๆ ให้มากขึ้น มุ่งแสวงหาความจริงเพื่อใช้ทดสอบ/สร้างทฤษฎี ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในทันที แต่เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและวิจัยต่อไป การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) : การวิจัยที่นำผลการวิจัย/ข้อค้นพบไปใช้ในทางปฏิบัติจริง โดยมุ่งหาข้อเท็จจริง/ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล/ตัวแปรในการแก้ไขปัญหาจริง
การจำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) : การวิจัยที่มุ่งพรรณนาสภาพที่เป็นอยู่และลักษณะสำคัญของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น บรรยายให้ทราบว่ามีอะไรบ้าง (what) เช่น ค้นพบอะไร มีอะไรในเรื่องนี้บ้าง เช่น การศึกษาความคิดเห็นในการใช้บริการบัตรเครดิตของสถาบันการเงินของลูกค้าประเภทข้าราชการ การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research) : การวิจัยที่มุ่งอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นสภาพที่เป็นอยู่ ปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น โดยมุ่งหาเหตุผล - ชี้ให้ทราบเหตุผลว่า ทำไม (why) และ อย่างไร (how) โดยหลักการแล้วเราสามารถพรรณนาเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องใช้เหตุผลมาอธิบาย แต่เราไม่สามารถอธิบายโดยปราศจากการพรรณนา
การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย การวิจัยแบบอาศัยการทดลอง (Experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการวางแผน โดยที่มีการกระตุ้นเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้การควบคุม ควบคุมดูแลและเฝ้าสังเกตอย่างเป็นระบบ เช่น การวิจัยทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยต่อโครงการป้องกันยาเสพติด โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง, การเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงาน แบบ A กับแบบ B การวิจัยแบบไม่อาศัยการทดลอง (Non-experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ตามสภาพเป็นจริงโดยไม่มีการจัดกิจกรรม/การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
การจำแนกตามสภาวะการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามสภาวะการวิจัย การวิจัยในสภาวะที่ควบคุมเต็มที่ (Highly controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างครบถ้วนเต็มที่ การวิจัยในสภาวะที่ควบคุมได้บ้าง (Partially controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บางประการเท่านั้น เพื่อสังเกตการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงโดยวิธีการหนึ่งวิธีการใด การวิจัยในสภาวะที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled settings) : การวิจัยที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยทำการศึกษาเก็บข้อมูลตามสภาพ ลักษณะหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น
การจำแนกตามสิ่งที่ทำการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามสิ่งที่ทำการวิจัย มนุษย์ : บุคคล กลุ่มบุคคล สัตว์ พืช และอื่นๆ : สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ต้องการศึกษา สิ่งไม่มีชีวิต : สิ่งของ/วัตถุต่างๆ การจำแนกตามผู้กระทำการวิจัย การวิจัยโดยบุคคลเดียว : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เพียงคนเดียว การวิจัยคณะบุคคล : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความหลากหลายสาขา
การจำแนกตามระดับหน่วยการวิเคราะห์ในการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามระดับหน่วยการวิเคราะห์ในการวิจัย การวิจัยระดับจุลภาค (Micro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของบุคคล หรืออาจจะเป็นพฤติกรรม ทัศนคติและความคิดเห็น การวิจัยระดับมหภาค (Macro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะรวม ๆ ระดับชุมชน สังคมหรือ ประเทศในหลายจุดเวลา การจำแนกตามคุณลักษณะของข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) : การวิจัยที่อาศัยข้อมูลตัวเลขเพื่อยืนยันพิสูจน์ความถูกต้องของ ข้อค้นพบและข้อสรุปต่าง ๆ สามารถใช้สถิติวิเคราะห์และวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การวิจัยเกี่ยวกับการกำหนดราคาสินค้าและราคาบริการตามฤดูกาล การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) : การวิจัยที่ไม่เน้นข้อมูลตัวเลขเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบและข้อสรุปต่าง ๆ เช่น การวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการของรูปแบบสินค้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในรอบสิบปีที่ผ่านมา
จรรยาบรรณการวิจัย ความแตกต่างและเหมือนกัน จริยธรรม จริยศาสตร์ และจรรยาบรรณ - จริยธรรม (morals) หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์แห่งตนและสังคม - จริยศาสตร์ (ethics) หมายถึง ความรู้ที่กล่าวถึงแนวทางการประพฤติ ที่ถูกต้อง - จรรยาบรรณ (code of conduct) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525)
จรรยาบรรณการวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2541 ให้มี "จรรยาบรรณนักวิจัย” อันเป็นหลักเกณฑ์ควรประพฤติของนักวิจัยทั่วไป ไม่ว่าสาขาวิชาการใด ๆ มีลักษณะเป็นแนวทางกว้างๆ เพื่อครอบคลุมทุกสาขาวิชาการ จำนวน 9 ประการ 1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น - นักวิจัยต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย - นักวิจัยต้องมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด - นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย - นักวิจัยต้องอุทิศเวลาทำงานวิจัย - นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการทำวิจัย
จรรยาบรรณการวิจัย 3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ความชำนาญ - นักวิจัยต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพของงานวิจัยในสาขาวิชาการนั้นๆ 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย - การใช้คนหรือสัตว์เป็นตัวอย่างทดลอง - นักวิจัยต้องดำเนินการวิจัยโดยมีจิตสำนึก - นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดแก่ตนเอง 5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย - เคารพในสิทธิของมนุษย์ที่ใช้ในการทดลอง - ไม่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางวิชาการจนเกิดความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง - นักวิจัยต้องดูแลปกป้องสิทธิประโยชน์และรักษาความลับของกลุ่ม ตัวอย่าง
จรรยาบรรณการวิจัย 6. นักวินักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัย 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ - นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยคำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการ และสังคม - นักวิจัยพึงเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น - นักวิจัยพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี - นักวิจัยพึงยอมรับฟัง แก้ไขการทำวิจัยและการเสนอผลงานวิจัยตามข้อแนะนำที่ดี 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ - นักวิจัยพึงรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการเพื่อความเจริญของสังคม - นักวิจัยพึงพัฒนาบทบาทของตนให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
คุณค่างานวิจัยต่อธุรกิจ 1 2 3 4 เกิดความรู้ใหม่ทางธุรกิจ แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กำหนดนโยบายและแผน
ลักษณะงานวิจัยที่ดี 1 2 3 4 วัตถุประสงค์ชัดเจน มิติวิจัย เวลา สถานที่ ตัวแปร ลักษณะงานวิจัยที่ดี 3 เครื่องมือมีความเชื่อมั่นสูง 4 มีความเที่ยงตรงทั้งภายใน/ภายนอก ภายใน - ผลการวิจัยที่ได้ มาจากการทดสอบ/วิเคราะห์ข้อมูลอย่างแท้จริง ภายนอก - นำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
ลักษณะงานวิจัยที่ดี 5 6 7 8 กระบวนการ ขั้นตอนเป็นที่ยอมรับ ความรู้ ความซื่อสัตย์ ลักษณะงานวิจัยที่ดี 7 วางแผนอย่างรอบคอบ 8 มีประสิทธิภาพ ประหยัด
มาตรฐานงานวิจัย : มาตรฐานที่ดี/ถูกต้องตามวิธีการ - มีจุดประสงค์จำกัดความอย่างชัดเจน - มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย - มีการออกแบบวางแผนการวิจัยอย่างถี่ถ้วน - ข้อจำกัดถูกแสดงอย่างเปิดเผย - มีมาตรฐานเกี่ยวกับหลักจริยธรรมสูง - การวิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับความต้องการของผู้ทำ - การค้นคว้าถูกแสดงอย่างไม่คลุมเครือ - บทสรุปที่พิสูจน์ว่าถูกต้อง - สะท้อนประสบการณ์ของการวิจัย
New Product Development Process Idea Generation Concept Development and Testing Marketing Strategy Screening Business Analysis Product Market Testing Commercialization 31
Research Process 32
บทบาทการวิจัยกับการจัดการทางธุรกิจ เหตุผลการทำวิจัยธุรกิจ : Research provides you with the knowledge and skills needed for the fast-paced decision-making environment ความต้องการสารสนเทศและข้อมูลการบริหาร : 1. Global and domestic competition is more vigorous 2. Organizations are increasingly practicing data mining and data warehousing Data Mining คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลจำนวนมาก (big data) เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซ่อนอยู่ โดยทำการจำแนกประเภท รูปแบบ เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และหาความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ Data Warehouse คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา Data warehouse ใช้เพื่อการวิเคราะห์ (ข้อมูลทั้งในอดีตและปัจจุบัน) Database ใช้เพื่อการประมวลผล (เฉพาะข้อมูลปัจจุบัน)
ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร การตัดสินที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (ข้อมูล) สภาพแวดล้อม PEST รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Scenario) แนวทางหรือ ทางเลือก ที่ดีที่สุด ปัญหา/โอกาส ทางการเงิน/บัญชี สภาพแวดล้อม ภายในองค์การ การเงิน/บัญชี การผลิต การบริหาร/จัดการ การตลาด ทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ แผนกลยุทธ์และดำเนินงาน ข้อมูลย้อนกลับ นำแผนสู่ภาคปฏิบัติ ประเมินผล
ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร 1. สร้างความต้องการให้กับลูกค้า/ผู้ใช้บริการแทนที่จะให้เรียกร้องก่อน ภายหลัง 2. แก้ไขปัญหาทางการบริหารและจัดการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งภายใน องค์การและภายนอกองค์การ 3. ประเมินสถานการณ์ทางการจัดการเพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจ 4. วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทหรือสถานการณ์ โดยอาศัย PEST 3C’s SWOT Five Competitive Forces Analysis Balanced Scorecard เป็นต้น แผนดำเนินการจะต้อง สอดคล้องกับแผนและนโยบายขององค์การในภาพรวม 5. การดำเนินงานขององค์การจะต้องคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด พร้อม ประเมินผลตามกรอบเวลา เช่น การประเมินทุก 1 เดือน 6. คาดการณ์ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตพร้อมจัดเตรียม แผนสำรองเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว
คุณค่าของการที่มีทักษะการวิจัย 1. เพื่อเป็นการรวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ ก่อนลงมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น 2. เพื่อสามารถใช้ในการศึกษาวิจัยและแสวงหาความรู้ระดับสูงที่มีความ ลึกซึ้งต่อไป 3. เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในการออกแบบวิจัย ขั้นตอนและกระบวน การวิจัย 4. เพื่อสามารถประเมินและแก้ปัญหาทางการบริหารในองค์กรอย่าง ถูกต้องและรวดเร็ว 5. เพื่อสร้างอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการวิจัยทางการตลาดและธุรกิจ หรือการวิจัยด้านต่าง ๆ
ข้อพึงระวังเกี่ยวกับการวิจัย - เมื่อคำแนะนำไม่สามารถประยุกต์ให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ ขั้นวิกฤตได้ - เมื่อเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการที่มีความเสี่ยงเล็กน้อย - เมื่อมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการศึกษาวิจัย - เมื่อราคาของการศึกษาวิจัยมีค่าเกินระดับของการเสี่ยงในการ ตัดสินใจ