การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แสดงให้คุณ SLIDEPLAYER.IN.TH
Advertisements

E-Ruejang
ภาพรวม ระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ของประเทศญี่ปุ่น
Power Director 4 ครั้งที่ 1/2548 วันพุธที่ 7 กันยายน 2548
สายสัญญาณที่ต่อกับเครื่อง LCD Projector
การสร้างเมทาดาต้า อาจารย์เอกภพ อินทรภู่ อาจารย์ธนากร อุยพานิชย์
ธรรมาภิบาล และ การปฏิรูปราชการ
Output คือ การแสดงผลลัพท์ หรือ สารสนเทศ ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล แบ่งเป็น –Soft Copy ผลลัพท์ชั่วคราว –Hard Copy ผลลัพท์ถาวร Screen Output, Printed Output,
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) Input หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลโดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่ เครื่อง.
การทำตัวอักษรขึ้นต้นด้วย ตัวใหญ่ นางสาว ลลิตา เจริญผล
การใช้ โปรแกรม PowerPoint. เปิดโปรแกรม Power Point คลิกที่ปุ่ม Start > เลือก Programs > Microsoft Office > Microsoft Office Power Point.
Power Point ประกอบการบรรยาย แก่ “ประธานกรรมการและเลขานุการ กรรมการสถานศึกษา ตามโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรรมการสถานศึกษา” วันที่ 19 ธันวาคม.
235015, Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2-5) สัปดาห์ที่ 1 แนะนำรายวิชาปัญญาประดิษฐ์
Computer Programming การเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ สัปดาห์ที่ 1 แนะนำรายวิชาการเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น.
กระบวนการแสวงหาความรู้
นำเสนอ “นวัตกรรมดีเด่น” และ
Report การแข่งขัน.
สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
สื่อประสมทางการศึกษา
โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 23202)
บทที่ 3 การนำเสนอสื่อมัลติมีเดีย
ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์, Power System Design, EE&CPE, NU
การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
สื่อประเภทเครื่องฉาย
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
Power Point ประกอบการจัดการเรียนรู้
Computer Programming การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
พื้นฐานการออกแบบระบบไฟฟ้า
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA ในเชิงการเกษตร
กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพ
การใช้งานอุปกรณ์การเรียนการสอน
การประเมินผลงานวิชาการ และการขอรับเงิน พ.ต.ก.
เกม Happy Wheels จัดทำโดย
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิต
1 Pattern formation during mixing and segregation of flowing granular materials. รูปแบบการก่อตัวของการผสมและการแยกกันของวัสดุเม็ด ผู้จัดทำ Guy Metcalfe.
ปรัชญา วิสัยทัศน์ ปณิธาน พันธกิจ
แนวทางการสร้าง Innovation Ecosystem ในมหาวิทยาลัย
รายงานความก้าวหน้า การประชุมครั้งที่ 7/2555
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศทางการตลาด
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม
กฎหมายอาญา(Crime Law)
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์นี้...
แนวบรรยาย เรื่อง หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
รายงานการประเมินตนเอง
กลุ่มควบคุมโรงฆ่าสัตว์ภายในประเทศ
การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร
โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structures and Algorithms)
การฝึกปฏิบัติตรวจประเมินองค์กรด้วยตนเอง ตามแนวทาง SEPA สำหรับปี 2554
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การถอดบทเรียน แนวทางการจัดทำวิจัย เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
ผู้สอนวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร(bus226)
ปุ่มใส+MC.
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง
1 จังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการ (EOC) และทีมตระหนักรู้
การคัดกรองตาบอดสี กลุ่มงานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษา
ความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังมีอัตราโทษปรับทางการปกครอง 4 ชั้นคือ
การนำเสนอแบบโปสเตอร์
แนวปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
Slide PowerPoint_สื่อประกอบการสอน
หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
GSC151 ชีวิตและสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
การแก้ไขข้อบกพร่องระบบ GMP จากการตรวจรับรองโรงงานเพื่อการส่งออก วันที่
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และ 801
การเขียนรายงานการวิจัย
ลักษณะภูมิประเทศแอฟริกกา
การใช้ภาษาไทยเบื้องต้น 3(3-0)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕) การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕) ประสาทพร สมิตะมาน ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพืช

รายละเอียดรายวิชา เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นแนวทางการบริหารจัดการรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับรายละเอียดของหลักสูตร ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ๑. ข้อมูลทั่วไป ๒. จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของวิชา ๓. ลักษณะการดำเนินการ  ๔. การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา  ๕. แผนการสอน และ การประเมินผลรายวิชา ๖. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน ๗. การประเมินและการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา  04/04/62

การจัดทำเอกสารควรที่จะต้องคำนึงถึง หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา (course description) รายงานผลการดำเนินการรายวิชา (course report) มคอ. ๕ ข้อสำคัญ “ข้อคิดเห็นจากกลุ่มผู้สอน และความเห็นของสาขาวิชา” “ข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการ หรือ ผู้ใช้บัณฑิต” “ข้อคิดเห็นจากบัณฑิต” “ข้อคิดเห็นจากนักศึกษาปัจจุบันที่ผ่านการเรียนวิชานั้น ๆ แล้ว” หลักใหญ่คือ “การพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมกับคุณวุฒิที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รู้ และนำไปปฏิบัติได้ เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต” 04/04/62

(ต้องนำข้อมูลเดิมมาเปรียบเทียบ และชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิม) จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ๒.๑ จุดมุ่งหมายของรายวิชา ระบุว่าต้องการให้ผู้เรียน เรียนอะไรบ้าง เมื่อเรียนแล้วพัฒนาทักษะอะไร ได้ผลการเรียนรู้อะไร นำความรู้/ทักษะที่พัฒนาไปใช้อะไร ๒.๒ ระบุวัตถุประสงค์ในการพัฒนารายวิชาซึ่งกำลังดำเนินการ หรือ การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่เกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน หรือการนำงานวิจัยมาใช้ในการสอน (ต้องนำข้อมูลเดิมมาเปรียบเทียบ และชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิม) 04/04/62

๒.๑ จุดมุ่งหมายของรายวิชา - เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและตระหนักถึงหลักจริยธรรมในการทำวิจัยและพัฒนา การดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานงานวิจัย ความสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองและใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากงานวิจัยของตนเองและบุคคลอื่น การพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพเพื่อการวิจัยและเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้งานวิจัยเพื่อธุรกิจ ทั้งของประเทศไทยและที่เป็นสากล ๒.๒ วัตถุประสงค์ในการพัฒนารายวิชาซึ่งกำลังดำเนินการ หรือ การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่มี เทคโนโลยีชีวภาพเป็นกระบวนการ เทคนิค และอุตสาหกรรมที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีคุณสมบัติใหม่ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าวิจัย จึงมีความจำเป็นที่นักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด กฎหมาย และจริยธรรมในการค้นคว้าวิจัย การประยุกต์ใช้งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้น

ลักษณะการดำเนินการ ๓.๑ ส่วนประกอบของรายวิชา (รวมจำนวนชั่วโมงที่เข้าเรียน) ผู้สอน: รศ. ดร. เพชรเอก ชิตะประเสริฐ ผู้สอนพิเศษ: ดร. ตุลย์ ธรรมโฆษ การฝึกปฏิบัติ/งาน ภาคสนาม/การ ฝึกงาน: ดูงานโรงงานและ แปลงที่ใช้ GMOs อื่นๆ: ทำรายงานกรณีศึกษา ๓.๒ การเรียนส่วนตัวเพิ่มเติม / ชั่วโมงเรียนที่คาดหวังสำหรับนักศึกษา - เรียนส่วนตัวเพิ่ม ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ๓.๓ การเตรียมการเพื่อจัดเวลาว่างของอาจารย์ให้นักศึกษาได้เข้ามาปรึกษาและให้คำแนะนำทางวิชาการเป็นรายบุคคล (รวมทั้งจำนวนชั่วโมงที่คณาจารย์มีเวลาว่างในแต่ละสัปดาห์) - จำนวนเวลาให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่สอน ๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 04/04/62

การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หัวข้อนนี้จะต่างไปจากการจัดทำรายละเอียดรายวิชาที่เคยทำมาก่อน เนื่องจากต้องระบุถึงทักษะที่ต้องการพัฒนา วิธีการสอน วิธีการใช้เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ตามทักษะทั้ง ๕ ด้าน ๑. คุณธรรม จริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 04/04/62

๔.๑ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ๔.๑ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (๑) คำอธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะพัฒนา การนำยีนเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม การทำ recombinant DNA การปลดปล่อยจุลินทรีย์ หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก หรือการนำเข้า ส่งออก ผลิตภัณฑ์สืบเนื่องจากการใช้พืช จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ จำนวนมาก เริ่มจาก กฎหมายลิขสิทธิ์ของเทคโนโลยี กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ CBD กฎหมายระหว่างประเทศ ฯ ความรับผิดชอบ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ ที่ต้องเน้นเป็นพิเศษเนื่องจากมีผลต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม จริยธรรมที่ควรตระหนัก ในการทำวิจัยและพัฒนา และการใช้ประโยชน์งานวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 04/04/62

(๒) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้นั้นๆ ๑. การบรรยายประกอบสื่อ (๒) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้นั้นๆ ๑. การบรรยายประกอบสื่อ การจำลองเหตุการณ์ในสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม จนถึงการปล่อยสู่ธรรมชาติ หรือการใช้ GMOs ที่อาจเป็นรูปแบบ role play หรือ การแบ่งกลุ่มอภิปราย ๓. มอบหมายให้จัดทำโครงงานเป็นกลุ่มและมีการนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ( ๓) วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ๑. ผลจากคะแนนการประเมินโครงงานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม ๒. การแสดงความเห็นในชั้นต่อกรณีศึกษาที่นำมาเป็นตัวอย่าง ๓. การสอบเพื่อวัดความรู้ 04/04/62

แผนการสอนและการประเมินผล ให้ระบุหัวข้อที่สอน ซึ่งต้องพิจารณาลำดับของหัวข้อให้เหมาะกับการพัฒนาการเรียนรู้และให้เสริมความเข้าใจของผู้เรียน จำนวนชั่วโมงการสอน วิธีการสอน กิจกรรมประกอบ สื่อที่ใช้ ให้ชัดเจน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ ให้ระบุวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละทักษะ ช่วงเวลาที่จะประเมิน และสัดส่วนของการประเมิน 04/04/62

แผนการสอนและการประเมินผล ให้ระบุหัวข้อที่สอน ซึ่งต้องพิจารณาลำดับของหัวข้อให้เหมาะกับการพัฒนาการเรียนรู้และให้เสริมความเข้าใจของผู้เรียน จำนวนชั่วโมงการสอน วิธีการสอน กิจกรรมประกอบ สื่อที่ใช้ ให้ชัดเจน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ ให้ระบุวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละทักษะ ช่วงเวลาที่จะประเมิน และสัดส่วนของการประเมิน 04/04/62

วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ หัวข้อที่สอน เวลาที่ใช้ (ชม.) กลยุทธ์การสอน วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ๗. การทดสอบภาคสนามของพืชดัดแปลงพันธุกรรม : ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทดสองภาคสนาม มาตรฐานการจัดรูปแบบของแปลงทดลอง การประเมินความเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อควรระวังอื่น ๆ ๔ การบรรยายประกอบสื่อทั้งที่เป็น power point slides, Film strips มอบหมายงานให้ค้นคว้าและทำรายงานประกอบ การนำเสนองานกลุ่ม การทัศน์ศึกษาที่หน่วยงานที่มีการทดลองภาคสนาม การสอบข้อเขียนที่เป็นข้อสอบผสมทั้งปรนัยและอัตนัย ผลการเสนองานกลุ่ม การซักถามและการตอบคำถาม รายงานการค้นคว้า การแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในการเสนองาน และการอภิปราย 04/04/62

ทรัพยากรประกอบการเรียนและการประเมินผล ระบุ ตำราและเอกสารหลัก เอกสารและข้อมูลสำคัญ (หนังสือ วารสาร สื่อชนิดต่าง ๆ กฎหมาย ระเบียบ ฯ ทีผู้เรียนต้องศึกษาเพิ่มเติม เอกสารข้อมูลแนะนำ เป็นเอกสารอ่านประกอบเพื่อเสริมทักษะต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร รายงาน สื่อ ฯ รวมทั้งแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ 04/04/62

การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา การประเมินโดยนักศึกษา : วิธีการในการประเมิน กลยุทธ์การประเมินการสอน ให้ระบุทุกวิธีที่ใช้ : การสอบ การสังเกต การนำเสนองาน ฯ ซึ่งจะเป็นการประเมินร่วมกันหลายฝ่าย ผู้สอน ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ 04/04/62

การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การปรับปรุงการสอน ให้ระบุวิธีการในการปรับปรุง กลไกในการปรับปรุง มีการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมหารือเพื่อการปรับปรุง การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน พิจารณาจากข้อสอบ รายงาน ความเห็นจากบุคคลอื่น ฯ การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงรายวิชา ระบุวิธีการนำข้อมูลจากการประเมิน การทวนสอบมาใช้เพื่อการปรับปรุงรายวิชา 04/04/62

การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา มคอ. ๕

รายงานผลรายวิชาเป็นรายงานที่ต้องทำหลังจากเสร็จสิ้นการประเมินการสอนแต่ละรายวิชาแล้ว โดยต้องนำข้อมูลจาก ๑. ข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา มาใช้เป็นหลักในการจัดทำรายงาน ๒. ใช้ข้อมูลจากส่วนของการประเมินผลการเรียนรู้ตลอดภาคการศึกษาได้ปฏิบัติจริง รวมทั้งการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้จัดในระหว่างภาคการศึกษามาประกอบ

๓. ข้อมูลจากการประเมินผลการสอน/อาจารย์ โดยนักศึกษา ๔. ผลการทวนสอบจากคณาจารย์อื่นภายในภาควิชา ๕. ผลการประเมินหรือความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอื่นที่อาจเป็นบุคคลภายนอก

องค์ประกอบของรายงาน มี ๖ องค์ประกอบหลัก หมวดที่ ๑ ลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไปของรายวิชา หมวดที่ ๒ การจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ ๓ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ ๔ อุปสรรค ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ หมวดที่ ๕ การประเมินรายวิชา หมวดที่ ๖ แผนการปรับปรุง

รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา ตัวอย่างรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสันติคีรี วิทยาลัย/คณะ/ ภาควิชา คณะพรรณพฤกษชาติ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หมวดที่ ๑ ลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไปของรายวิชา 1. รหัสและชื่อรายวิชา 367412 จริยธรรม กฎหมายและระเบียบข้อบังคับด้านชีวภาพ (Bioethics, Law and Regulations) 2. รายวิชาที่ต้องเรียนก่อนรายวิชานี้ (ถ้ามี) ไม่มี 3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและกลุ่มเรียน (section) (ให้รายงานเป็นรายกลุ่ม) รศ. ดร. เพชรเอก ชิตะประเสริฐ ตอนที่ 1 4. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษาที่เปิดสอนรายวิชา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 5. สถานที่เรียน (ให้ระบุสถานที่ในกรณีที่ไม่เปิดสอนในที่ตั้งหลักของสถาบันหรือเปิดสอนหลายวิทยาเขต) คณะพรรณพฤกษชาติ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หมวดที่ ๒ การจัดการเรียนการสอนของรายวิชา (นำข้อมูลจาก ข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา มาใช้โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจากการปฏิบัติจริง) 1. แผนการสอน หัวข้อ จำนวนชั่วโมงตามแผนการสอน จำนวนชั่วโมงที่ได้สอนจริง ระบุสาเหตุที่การสอนจริงต่างจากแผนการสอนหากมีความแตกต่างเกิน 25% 1. นโยบาย แนวโน้มของการวิจัย พัฒนาและธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ 2 - 2. จริยธรรมในการทำวิจัยด้านชีวภาพและธุรกิจ 3 ย้ายชั่วโมงไปเพิ่มในข้อ 10 3. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety regulations) 4 5 เพิ่มชั่วโมงเนื่องจากพื้นฐานนักศึกษายังขาดบางบริบท

2. การสอนที่ไม่ครอบคลุมตามแผน ให้ระบุหัวข้อและผลกระทบที่สำคัญของหัวข้อที่สอนไม่ครอบคลุมตามแผนว่ามีผลต่อการเรียนรู้ของรายวิชานี้อย่างไร โดยให้ระบุวิธีแก้ไขที่ได้ดำเนินการไปแล้วและที่ต้องดำเนินการต่อไป หัวข้อที่ทำการสอนไม่ครอบคลุมทั้งหมดหรือไม่ได้สอน (ถ้ามี) ผลต่อผลการเรียนรู้ของรายวิชานี้ วิธีแก้ไข 1. จริยธรรมในการทำวิจัยด้านชีวภาพและธุรกิจ (ลด 1 ชั่วโมง) การเพิ่ม/ลดชั่วโมงในแต่ละหัวข้อไม่มีผลต่อเนื้อหา เนื่องจากเป็นการสอนของผู้สอนคนเดียวกัน สามารถที่จะย้ายบางหัวข้อมาเพิ่มให้เหมาะสมกับหัวข้อที่เพิ่มขึ้น โดยให้เนื้อเนื้อความต่อเนื่องกันดีขึ้น รวมทั้งง่ายต่อการเข้าใจของนักศึกษา ได้ประชุมหารือกับอาจารย์ผู้สอนทั้งหมดแล้ว มีความเห็นว่า การปรับชั่วโมงทำให้เนื้อหากระชับมากขึ้น รวมทั้งได้เพิ่มเนื้อหาในบางบริบทให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ผลจากการประเมินผลการเรียนรู้ นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อน 2. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดในด้านการใช้ประโยชน์จากพืช

3. ประสิทธิผลของกลยุทธ์การเรียนการสอนที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ตามที่ระบุตามรายละเอียดของรายวิชา มาตรฐาน ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนที่ระบุในรายละเอียดรายวิชา ประสิทธิผล อุปสรรคของการใช้กลยุทธ์ (ถ้ามี) พร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไข มี ไม่มี คุณธรรม จริยธรรม ใช้กรณีศึกษา เช่น การปล่อยน้ำเสียของโรงงานกระดาษบริเวณแม่น้ำพอง เป็นตัวอย่างให้นักศึกษานำมาวิเคราะห์และมี Role play ให้เป็นเจ้าของกิจการ ประชาชนที่อยู่โดยรอบโรงงาน ประชาชนบริเวณอื่น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นายอำเภอ โดยกำหนดให้แต่ละบทบาทต้องหาคำอธิบายในการดำเนินงานของตนเอง / ใช้เวลาในการนำเสนอค่อนข้างนาน ได้แก้ไขให้เป็นงานแสดงงเสริมนอกเวลา ซึ่งได้รับความสนใจ และมีผลการตอบสนองจากนักศึกษาในชั้นเรียนที่ดี นอกจากนี้ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีอื่นที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ทำให้เกิดการวิพากษ์ในแต่ละบทบาทในวงกว้าง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งหมด เข้าใจคุณธรรม และ จริยธรรมในวิชาชีพ

ความรู้ 1. การบรรยายประกอบสื่อเป็นหลัก 2. การมอบหมายให้ค้นหัวข้อบางเรื่องในเชิงลึก แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3. การนำชมสถานประกอบการ / 1. นักศึกษาจากต่างคณะที่มาเรียน ต้องใช้เวลาในการเพิ่มความรู้พื้นฐานให้บางบริบท เพื่อให้ทันกับนักศึกษาของสาขา ทางแก้ไข ให้เวลาเพิ่มกับนักศึกษากลุ่มที่ตามไม่ทัน โดยการจัดชั้นเรียนพิเศษเพิ่มจากชั่วโมงเรียนปกติ ทักษะทางปัญญา การยกตัวอย่างและให้วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ในการใช้ยีน นักศึกษายังขาดประสบการณ์ในการค้นหา patent materials ทางแก้ไข แสดงวิธีการค้นหา patent จาก อเมริกา และมอบงาน

4. ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การปรับปรุงกลยุทธ์การสอน ซึ่งมีผลต่อการประเมินตามตารางในหัวข้อ 3 หมวดที่ 2 (ให้ยกตัวอย่างวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาในระหว่างเรียน เพื่อให้มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ดีขึ้น) การใช้ Role play เป็นตัวอย่างที่ดีในการเรียนเฉพาะเรื่อง นักศึกษาสนใจและเข้าใจบทสมมุติที่ได้รับ แสดงให้สมบทบาท เช่น เจ้าของกิจการที่ขาดความรับผิดชอบ เกษตรกรเลี้ยงปลากระชัง นักสิ่งแวดล้อม สำหรับปัญหา คือใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่ในภาพรวมจะคุ้มกับเลาที่ใช้อย่างมาก การบรรยายประกอบสื่อ หากมีการใช้ video clip จะช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เพราะช่วยให้เห็นภาพเหตุการณ์จริงที่ต้องพบในการทำงานเมื่อจบการศึกษา การนำชมสถานประกอบการ ช่วยในการฝึกการสื่อสารกับผู้อื่น เพราะต้องไปหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และ ผู้ปฏิบัติงานอื่นในสถานประกอบการ รวมทั้งประชาคมที่อยู่รอบ ๆ สถานประกอบการทำให้เกิดทักษะหลายด้าน การฝึกเขียนรายงานเชิงวิเคราะห์ ปัญหาของนักศึกษา ไม่คุ้นกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสังคมศาสตร์ การใช้ภาษาที่ต้องรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางกฎหมายได้ ข้อเสนอแนะหากเป็นไปได้น่าที่จะเพิ่มเป็นรายวิชาอีก 1 รายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดทักษะในการเขียนเชิงวิเคราะห์ให้มากขึ้น

หมวดที่ ๓ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ ๓ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา ระบุจำนวนนักศึกษาที่เรียน และที่สอบผ่าน นักศึกษาที่ลงทะเบียน ๑๒๖ คน สอบผ่าน ๑๑๕ คน การกระจายตัวของลำดับคะแนน ดูในตารางประกอบ การคลาดเคลื่อนของคะแนน พร้อมทั้งระบุสาเหตุ การกระจายตัวของคะแนนเป็นไปตามปกติ การทวนสอบจากคณาจารย์ในภาควิชา

การกระจายตัวของลำดับคะแนน ลำดับขั้น จำนวน A 5 B+ 12 B 18 C+ 24 C 36 D+ 13 D 7 F 3 V 8 รวม 126 การให้ลำดับขั้นใช้วิธีตาม T-score ไม่พบความผิดปกติของการให้ลำดับขั้น และการกระจายตัวของคะแนน

หมวดที่ ๔ อุปสรรค ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ ๔.๑ ประเด็นด้านทรัพยากรประกอบการเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวก (1) อุปสรรคในการใช้แหล่งทรัพยากรประกอบ การเรียน (ถ้ามี) การไปดูงานนอกสถานที่ เนื่องจากเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่พอควร การใช้รถบัสที่จะนำนักศึกษาไปดูงานต้องใช้ถึง 2 คัน ทำให้งบประมาณไม่เพียงพอ 1. ผลกระทบ (ระบุผลกระทบจากอุปสรรค) สามารถจัดได้เพียง 1 ครั้ง จากแผนที่กำหนด 2 ครั้ง ที่จะได้ดูสถานประกอบการที่มีลักษณะแตกต่างกัน

๔.๒ ประเด็นด้านการบริหารและองค์กร (1) อุปสรรคด้านการบริหาร (ถ้ามี) การจัดสรรงบประมาณในแบบต่อรายวิชาโดยไม่ได้คำนึงถึงจำนวนนักศึกษามากนัก 1. ผลกระทบต่อผลการเรียนรู้ของรายวิชา (ระบุผลกระทบจากอุปสรรค) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุปสรรคด้านองค์กร (ถ้ามี) ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมเสริมรายวิชา โดยคิดว่าการบรรยายเป็นหลักในการเรียนการสอน 2. ผลกระทบต่อการเรียนรู้ของรายวิชา นักศึกษาขาดโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ทำให้ต้องใช้จินตนาการว่า ลักษณะของงาน หรือ ปัญหาควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะเรียนรู้ได้ไม่ดีเท่าการสัมผัสโดยตรง

หมวดที่ ๕ การประเมินรายวิชา 1. ผลการประเมินรายวิชาโดยนิสิต/นักศึกษา (แนบเอกสาร) 1.1 ข้อวิพากษ์ที่สำคัญจากผลการประเมินโดยนิสิต/นักศึกษา ควรที่จะเสริมการเรียนรู้โดยการไปดูงานให้มากขึ้น การใช้ Role Play สนุก และได้ความรู้โดยไม่รู้ตัว ไม่น่าเบื่อเหมือนเรียนบรรยายอย่างเดียว อาจารย์ให้งานมาก โดยเฉพาะการเขียนรายงาน ทำให้ส่งงานไม่ทัน 1.2 ความเห็นของอาจารย์ผู้สอนต่อผลการประเมินตามข้อ 1.1 ได้นำเสนอในที่ประชุมภาควิชาในการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการจัดกิจกรรมด้วย รวมทั้งอาจต้องเก็บเงินจากนักศึกษาเพิ่มเพื่อจัดกิจกรรมเฉพาะเรื่อง จะใช้วิธีการสอนแบบนี้ต่อไป เมื่อมีผลดีกับนักศึกษา ได้ทำความเข้าใจกับนักศึกษาถึงความจำเป็น และผลดีต่อนักศึกษาแล้ว

2. ผลการประเมินรายวิชาโดยวิธีอื่น ได้ส่งผลการวิเคราะห์สถานประกอบการให้กับผู้จัดการเพื่อขอความเห็น รายงานที่นักศึกษาร่วมกันจัดทำได้รับการตอบรับที่ดี โดยสถานประกอบการได้นำไปหารือในกลุ่ม และบางส่วนได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะ 2.1 ข้อวิพากษ์ที่สำคัญจากผลการประเมินโดยวิธีอื่น จากความเห็นที่ได้รับกลับ พบว่าข้อมูลในรายงานยังไม่ครอบคลุมครบถ้วน โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการเอง ที่ควรแก้ไขโดยการเพิ่มข้อมูลในส่วนของระบบการป้องกันความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับความเห็นต่อนักศึกษา พบว่าเป็นบวก 2.2 ความเห็นของอาจารย์ผู้สอนต่อผลการประเมินตามข้อ 2.1 1. การขาดข้อมูลในรายงาน เนื่องจากระดับความลับของข้อมูลที่นักศึกษาไม่สามารถเข้าถึง จึงไม่ได้เป็นจุดด้อยของรายงานแต่อย่างใด 2. ควรเพิ่มทักษะการเขียนข้อมูลเชิงวิเคราะห์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยอาจเพิ่มเป็นรายวิชา หรือ เป็นการจัดกิจกรรมทางวิชาการพิเศษให้กับนักศึกษา

หมวดที่ ๖ แผนการปรับปรุง 1. ความก้าวหน้าของการปรับปรุงการเรียนการสอนตามที่เสนอในรายงาน/รายวิชาที่ผ่านมา เสนอการปรับปรุงของภาคเรียน/ปีการศึกษาที่ผ่านมา ในภาคการศึกษานี้ ได้มีการปรับจำนวนชั่วโมงให้เหมาะกับเนื้อหารายวิชามากขึ้น ทำให้ลำดับของเนื้อหาดีกว่าเดิม ได้เพิ่มกิจกรรมเสริมความรู้พื้นฐานให้กับนักศึกษาต่างภาควิชา และนักศึกษาของภาควิชาที่สนใจ ผลการดำเนินการ (ระบุกิจกรรมตามแผนที่ได้ดำเนินการว่าส่งผลอย่างไร และถ้าไม่ได้ดำเนินการหรือไม่เสร็จสมบูรณ์ ให้ระบุเหตุผลประกอบ) 1. นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้นกว่าเดิม สามารถตามทันบทเรียนได้ง่ายขึ้น 2. ช่วยให้สามารถเรียนทันกลุ่มอื่นได้ และมีความสนุกกับบทเรียน

2. การดำเนินการอื่น ๆ ในการปรับปรุงรายวิชา ระบุการปรับปรุงโดยย่อ เช่น ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนสำหรับภาคเรียนนี้ การใช้อุปกรณ์การสอนแบบใหม่ เป็นต้น 1. เพิ่มเวลากับการเรียนแบบ Role Play 2. การใช้ video clips มาประกอบการสอน แทนการใช้ power point

3. แผนการปรับปรุงรายวิชาสำหรับภาคเรียน/ปีการศึกษาต่อไป กิจกรรมที่ต้องการ การจัดดูงานนอกสถานที่จาก 1 ครั้ง เป็น 2 หรือ 3 ครั้ง วันสิ้นสุดกิจกรรม สัปดาห์ที่ 7 9 และ 12 หลังการเปิดเรียน ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยสอน

4. ข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา เสนอต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 1. จากผลการเรียนของนักศึกษาและผลการประเมินของนักศึกษา ภาควิชาควรที่จะจัดสรรงบประมาณเพื่อการเรียนเหมาะสม แทนการกำหนดงบประมาณรายวิชา เพราะแต่ละรายวิชาจะมีกิจกรรมเพื่อเสริมการเรียนรู้แตกต่างกัน 2. ควรหางบประมาณเพื่อจัดหา LCD มาทดแทนของเดิมที่หลอดเสื่อมสภาพ จนไม่น่าที่จะนำมาใช้งาน 3. วิธีการสอนที่เพิ่มกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน / การแสดงออกมีผลที่ชัดเจนต่อการพัฒนาทักษะตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ ควรที่จะพิจารณาให้เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชา

ฝากให้คิด “การทำรายงานผลรายวิชาจะไม่เป็นภาระงานที่ยาก หากจะรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จหลังจากที่มีการประเมินลำดับขั้น และได้รับข้อมูลประกอบการทำรายงานครบถ้วนแล้ว”