อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ทบทวนคำครุ ลหุ คำครุ ครุ แปลว่า หนัก เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด และคำที่มีตัวสะกดทุกคำ รวมทั้งสระ อำ ใอ ไอ เอา ด้วย เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดอยู่ จะใช้สัญลักษณ์ “ ” แทนในแผนผังคำประพันธ์
ตัวอย่างคำครุ กล้ำกราย หมายถึง เขาไปปะปน ลวงเขาไปกังวล หมายถึง มีใจพะวงอยู่ เคหา หมายถึง บาน, บานเรือน, ที่อยูอาศัยไคลคลา หมายถึง เดินไป เคลื่อนไป งาว หมายถึง ดาบดามยาว จรรโลง หมายถึง ชวยใหดียิ่งขึ้น
ทบทวนคำครุ ลหุ (ต่อ) คำลหุ ลหุ แปลว่า เบา เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น รวมทั้ง ฤ ฦ ก็ บ่ เวลาอ่านจะออกเสียงสั้น ในแผนผังคำประพันธ์ จะใช้สัญลักษณ์ “ ”แทนคำลหุ
ตัวอย่างคำลหุ ทุร (ทุ-ระ) หมายถึง ยากลําบาก นร (นะ-ระ) หมายถึง คน ผิว (ผิ-วะ) หมายถึง หากว่า, แมนว่า มน (มะ-นะ) หมายถึง ใจ วร (วะ-ระ) หมายถึง ดี, ประเสริฐ ศศิ (สะ-สิ) หมายถึง ดวงจันทร์, พระจันทร์
สรุปหลักการพิจารณาคำครุ ลหุ ๑.พิจารณาตัวสะกด ถ้ามีตัวสะกดเป็นคำครุ (ปราชญ์) ๒.พิจารณาสระ ถ้าสระเสียงยาวเป็นคำครุ (ตา) ถ้าสระเสียงสั้นเป็นคำลหุ (เกะกะ) ๓.พิจารณาข้อยกเว้น ได้แก่ ๓.๑ คำที่ประสมสระ อำ ใอ ไอ เอา เป็นคำครุทั้งหมด ๓.๒ คำ ฤ ฦ ก็ บ บ่ เป็นคำลหุทั้งหมด
แบบทดสอบพิจารณาคำครุ ลหุ คำต่อไปนี้เป็นคำครุ หรือ ลหุ ๑.บวงสรวง ๖. กำไร ๒.สิริ ๗. กุกกัก ๓.พิเคราะห์ ๘. โต๊ะ ๔.ดวงใจ ๙. อาจารย์ ๕.วิริยะ ๑๐.อุตส่าห์
ความรู้เรื่องฉันท์ ฉันท์ คือลักษณะคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีความไพเราะซาบซึ้ง โดยมีการกำหนดคณะครุ ลหุและสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน การแต่งฉันท์ ต้องแต่งโดยใช้คำให้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ จะแต่งโดยใช้คำเกินกว่าที่กำหนดไม่ได้ คำใดที่กำหนดไว้ว่าต้องเป็นครุ และลหุ ก็จะต้องเป็นครุ และลหุจริงๆ จะใช้ครุ ลหุผิดที่ไม่ได้ มิฉะนั้นจะถือว่าแต่งผิดฉันทลักษณ์
กิจกรรมช่วยกันพิจารณาฉัน(ฉันท์)ด้วย เอกราชินีนาถ ปิยะราษฎร์เถลิงไท้ เอกมาตุรงค์ไทย สิริขวัญพระภูมี งามองค์ ธ ทรงศักดิ์ สิริลักษณ์มเหสี งามวัตรพระเทวี สิริกิติ์พิสิฐชน
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อินทรวิเชียรฉันท์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงาม ประดุจสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ นิยมแต่งเป็นบทเห่ชมหรือ บทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทสวดและบทพากย์โขนด้วย ตัวอย่างวรรณคดีที่แต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ เช่น สามัคคีเภทคำฉันท์ ขัตติยพันธกรณี
ลักษณะของอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ คณะ ๑ บท มี ๒ บาท ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ คล้ายกาพย์ยานี ๑๑ จึงเรียกว่า อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ลักษณะของอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (ต่อ) สัมผัสภายในบท คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ในบทแรก สมัผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์จากวรรณกรรมเรื่องต่างๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ ภูธร ธ สังเกต พิเคราะห์เหตุ ณ ธานี แห่งราชวัชชี ขณะเศิกประชิดแดน เฉยดู บ รู้สึก และมินึกจะเกรงแกลน ฤๅคิดจะตอบแทน รณทัพระงับภัย นิ่งเงียบสงบงำ บ มิทำประการใด ปรากฏประหนึ่งใน บุรว่างและร้างคน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์จากวรรณกรรมเรื่องต่างๆ (ต่อ) ขัตติยพันธกรณี ขอเดชะเบื้องบาท วรราชะปกศี- โรตม์ข้าผู้มั่นมี มะนะตั้งกตัญญู ได้รับพระราชทาน อ่านราชนิพันธ์ดู ทั้งโคลงและฉันท์ตู ข้าจึงตริดำริตาม อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปมา
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์จากวรรณกรรมเรื่องต่างๆ (ต่อ) บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธะสันดาน ตัดมูลกิเลสมาร บ่มิหม่นมิหมองมัว หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคีบ่พันพัว สุวคนธะกำจร องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร โปรดหมู่ประชากร มละโอฆะกันดาร
สวัสดีค่ะ