งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย
THH 3106 ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย

2 ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย
THH 3106 ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย คำ การสร้างคำ การประกอบศัพท์ ประโยคและการสร้างประโยค

3 ลักษณะคำภาษาไทย คำแต่ละคำสร้างขึ้นมาสำเร็จรูป พร้อมใช้ในภาษาได้ทันที
THH 3106 ลักษณะคำภาษาไทย คำแต่ละคำสร้างขึ้นมาสำเร็จรูป พร้อมใช้ในภาษาได้ทันที คำไทยไม่มีเครื่องหมายบอกว่าเป็นคำชนิดใด คำไทยไม่มีเครื่องหมายบอกหน้าที่ของคำในประโยค คำไทยไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ เพื่อบอกเพศ พจน์ กาล หรือบุรุษของแต่ละคำ

4 ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต
THH 3106 ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต คำที่เรียกว่าศัพท์และนับเป็นศัพท์อันมีมาดั้งเดิม สร้างมาจาก “ธาตุ” ต้องประกอบปัจจัยก่อนจึงจะใช้ในภาษาได้

5 ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต
THH 3106 ลักษณะคำของภาษาบาลีสันสกฤต ธาตุที่ประกอบด้วยปัจจัย จะกลายเป็นศัพท์ ซึ่งอาจเป็นนามศัพท์หรือกริยาศัพท์ ศัพท์ แม้จะมีเครื่องหมายบอกชนิดของคำ ต้องประกอบวิภัตติปัจจัยเพื่อแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างคำ เพศ พจน์ การก ศัพท์ที่แจกวิภัตติแล้วเรียกว่า “บท” ถือเป็นศัพท์สมบูรณ์ใช้ในภาษาได้

6 ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุของภาษาบาลีสันสกฤต ถือเป็นรากศัพท์
THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุของภาษาบาลีสันสกฤต ถือเป็นรากศัพท์ ธาตุแต่ละตัวจะมีความหมาย แต่ยังนำมาใช้ไม่ได้ ต้องตกแต่งโดยประกอบปัจจัยก่อน ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ (นามศัพท์ หรือ กริยาศัพท์) ศัพท์ + วิภัตติ = บท (เข้าความได้)

7 THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุแต่ละตัวมีพยางค์เดียว และพยัญชนะต้นธาตุส่วนใหญ่เป็นพยัญชนะเดี่ยว ตัวที่ตามมาถือเป็นพยัญชนะท้ายธาตุ ไม่ออกเสียง จึงใช้เครื่องหมายพินทุ (ภาษาสันสกฤตจะใช้เครื่องหมายวิรามห้ามเสียง) เช่น วิศฺ (เข้า) ลภฺ (ได้) วิทฺ (รู้) ธาตุที่มีพยัญชนะคู่เป็นพยัญชนะต้น เช่น ศฺรุ (ส. ฟัง)

8 THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) ธาตุที่ไม่มีตัวสะกด เช่น สี (นอน) สุ (ฟัง) ภู (เป็น อยู่) กฤ (ทำ) มฤ (ตาย) เมื่อลงปัจจัยจะทำให้สระของธาตุกลายเป็นพยัญชนะอัทธสระเสียก่อน คือ อี เป็น ย เช่น สี เป็น สยฺ , นี เป็น นยฺ , ชิ เป็น ชยฺ อุ เป็น ว เช่น ภู เป็น ภวฺ ฤ เป็น ร เช่น กฤ เป็น กร. มฤ (ตาย) เป็น มร.

9 ลักษณะของธาตุ (root) จากนั้นจึงจะประกอบปัจจัยท้ายธาตุ เช่น
THH 3106 ลักษณะของธาตุ (root) จากนั้นจึงจะประกอบปัจจัยท้ายธาตุ เช่น สี (นอน) ลงยุ ปัจจัยในความว่า การ ความ เครื่อง ของ ที่ การปรับปรุง ยุ ปัจจัยต้องแปลงยุ เป็น อน ก่อน สี – สยฺ + ยุ (อน) = สยน (ที่นอน, การนอน) สุ – สวฺ + ยุ (อน) = สวน (การฟัง, เครื่องฟัง, หู) กฤ – กร. + ยุ (อน) = กรณ (การกระทำ) มฤ – มรฺ + ยุ (อน) = มรณ (ความตาย)

10 THH 3106 ปัจจัย (Suffix) ปัจจัย คือ ส่วนที่ประกอบเข้าข้างท้ายธาตุ หรือศัพท์ ก็ได้ ปัจจัยประกอบท้ายธาตุ ย่อมทำให้ธาตุเป็นศัพท์ อาจเป็นนามศัพท์หรือกริยาศัพท์ ปัจจัยประกอบท้ายศัพท์ ย่อมทำให้ศัพท์นั้นมีความหมาย ต่างไปตามวิธีตัทธิต

11 ปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแบ่งเป็น 2 ชนิด
THH 3106 ปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแบ่งเป็น 2 ชนิด ปัจจัยกฤต / กิตก์ (primary suffixes) ปัจจัยตัทธิต (secondary suffixes)

12 ลักษณะของปัจจัย (Suffix)
THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแต่ละปัจจัยมีความหมายกำหนดไว้แน่นอน เช่น กฺวิ ปัจจัย แปลว่า ผู้ , ต ปัจจัย แปลว่า แล้ว ปัจจัยมีความหมายบอกชนิดของคำไว้ด้วย เช่น ถ้าประกอบ กฺวิ ปัจจัย ย่อมทำให้เป็น นามศัพท์ ถ้าประกอบ ต ปัจจัย ย่อมทำให้เป็น กริยาศัพท์

13 ลักษณะของปัจจัย (Suffix)
THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยแห่งตัทธิต ยังมีความหมายหลายประการ อาจทำให้ศัพท์นั้นแสดงว่าเป็นเหล่ากอ แสดงภาวะความเป็น แสดงความมี แสดงหมวดหมู่ แสดงขั้นต่าง ๆ ของคุณศัพท์ ฯลฯ ปัจจัยมีพยางค์เดียวเป็นส่วนใหญ่ เช่น ณ ณี ยุ ต ติ ปัจจัยสองพยางค์ เช่น ณวุ เณยฺย เณร วนฺตุ

14 ลักษณะของปัจจัย (Suffix)
THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยบางพวกต้องมีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงที่ตัวปัจจัย เช่น ลบปัจจัย เช่น - กฺวิ , -ข ลบบางส่วนของปัจจัย เช่น -ณ -ณี -เณยฺย -เณร ลบ ณ เหลือ -อะ -อี -เอยฺย -เอร , -รู ลบ ร เหลือ อู แปลงรูปปัจจัย เช่น -ยุ อน , -ณฺวุ อก , ตฺวา ย (เมื่อมีอุปสรรคประกอบหน้าธาตุ)

15 ลักษณะของปัจจัย (Suffix)
THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) เปลี่ยนแปลงที่ตัวธาตุหรือศัพท์ เช่น ลบสระ หรือพยัญชนะท้ายธาตุ เช่น -ต, -กฺวิ แทรกสระ อิ ท้ายธาตุ เช่น -ต, -ตฺวา, -ตฺวาน, -ติ เปลี่ยนแปลงสระต้นธาตุด้วยวิธีเพิ่มกำลังให้สระ คือ อะ  อา อิ  เอ ไอ อุ  โอ เอา

16 ลักษณะของปัจจัย (Suffix)
THH 3106 ลักษณะของปัจจัย (Suffix) ปัจจัยบางพวกประกอบท้ายธาตุหรือท้ายศัพท์ได้ทันที เช่น ตฺร ปัจจัย ในความว่า เครื่องใช้ เช่น มา ธาตุในความว่า นับ วัด + ตฺร เป็น มาตร (เครื่องวัด)


ดาวน์โหลด ppt ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google