การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ด้วย Why Why Analysis C โดย อาจารย์วิสาข์ เจ่าสกุล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร. 081- 9735113 visaka592@gmail.com
เราสามาระเรียก Tool ตัวนี้ว่ามันเป็นปรัชญา ซึ่งชาวญี่ปุ่นทำเป็นนิสัยติดตัวในการต้นเหตุของปัญหา ซึ่งก็เป็นเรื่องง่ายมากๆเลยนะครับ โดยการถามไปยัง "ผล" ว่าเหตุใดจึงเกิด "ผล" เช่นนี้ ซึ่งเราก็จะหา "เหตุ" มาตอบแบบกว้างๆ โดยยังไม่ถึงรากแก้วของปัญหาซักเท่าไร โดยการถาม Why 5 ครั้ง ก็พอจะทำให้เจอรากแก้วของปัญหาแล้วหละครับ และมันก็คือ 95% ของปัญหาที่เจอกันตามโรงงานทั่วไป ที่ปรึกษา อาจารย์ผม ท่านกล่าวไว้ว่า "คนที่เก่งคือ คนที่แก้ปัญหาได้ดี ได้ไว ได้คมกว่า"
การวิเคราะห์ Why Why Analysis จะเป็นการวิเคราะห์ หาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา โดยหากเราสามารถค้นพบสาเหตุรากเหง้าและกำจัดได้แล้ว ปัญหาเดิมจะไม่เกิดซ้ำ หากปัญหาเดิมเกิดซ้ำ แสดงว่าการวิเคราะห์ของเรานั้นมาผิดทาง หรือ อาจมีบางสาเหตุตกหล่นไป อาจจะต้องมาทำการวิเคราะห์ใหม่ เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงมาก หากผู้วิเคราะห์ มีความเข้าใจ และมีความชำนาญในงานที่ตนทำอยู่ รวมถึงความรู้ด้านวิศวกรรม ที่ Toyota 5-Why Analysis ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์ปัญหา จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า ส่วนใหญ่การใช้หลักการ Why Why Analysis นั้น เป็นไปเพียงเพื่อ นำเสนอต่อลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาจากลูกค้า เท่านั้น แต่ปัญหาเดิมยังคงเกิดซ้ำอยู่เรื่อยๆ อาศัยเพียงการตรวจสอบที่ถี่ขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเปล่าตามมา การวิเคราะห์ Why Why Analysis นั้นเป็นเพียงเครื่องมือ ในการวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้าเท่านั้น การจะทำให้ปัญหานั้น หมดไป จึงจำเป็นจะต้อง ประยุกต์หลักการอื่นๆเข้ามาช่วย เช่น เทคนิค Poka-Yoke, Triz, 7QC Tools เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ที่เรากำลังวิเคราะห์กันอยู่
ตัวอย่างง่ายๆ ของ Why Why Analysis ปัญหาเครื่องจักรถึงเสีย ทำไม เครื่องจักรเสีย ตอบ เพราะโซ่สายพานวิ่งๆหยุดๆ ทำไม โซ่สายพานจึงวิ่งๆหยุดๆ ตอบ ฟันของเกียร์ สึกหรอ ทำไม ฟันจึงสึกหรอ ตอบ เนื่องจากเกิดแรงต้านมากทำให้เกียร์ออกแรงมาก ทำไม เกียร์มอเตอร์ออกแรงมาก ตอบ พนักงานตั้งให้ลูกยางบีบอัดกันแน่นมากเกินไป ทำไม พนักงานตั้งให้ลูกยางบีบอัดกันแน่นมากเกินไป ตอบ ลูกยางเสื่อมสภาพ และ ไม่ได้เปลี่ยน เห็นไหมครับ ปัญหาอยู่ที่ลูกยาง หากคุณไม่มีทักษะการแก้ปัญหา คุณก็อาจจะเปลี่ยนโซ่และสเตอร์ที่สึกหรอ หากถามว่า เปลี่ยนแล้ว ปัญหาเดิมๆ จะกลับมาอีกไหม แน่นอนครับ อีกไม่นาน มันต้องเป็นอีกแน่ๆ เพราะรากแก้วของปัญหา ไม่ได้ถูกการแก้ไข
Key สำคัญในการใช้ Tool นอกจากจะเข้าใจแล้ว หัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหา สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมคือ "การเข้าไปแก้ปัญหาที่หน้างาน" หากคุณยังเป็น วิศวกรนั่งโต๊ะ ผู้จัดการนั่งโต๊ะ หรือแม้แต่ ใครมีหัวหน้าประเภทนี้ ก็ถือเป็นกรรมของคุณครับ เพราะคุณจะต้องมาเสียเวลากับการนั่งเทียนหารากแก้ว การนำความรู้เดิมๆที่ตัวเองมีประสบการณ์มา (สัญญา) มาบล็อกความคิดผู้อื่น การแก้ปัญหาที่คม ที่ไว ที่หน้างาน จะทำให้ข้อสัณนิฐานหลายๆข้อ ได้ประจักขึ้น โดยมีหลักการที่เรียกว่า 5G ดังนี้ โดยญี่ปุ่นเป็นคนคิดอีกแล้ว GENBA : พื้นที่จริง GENBUTSU : ของจริง GENJITSU : สถานการณ์จริงในการปฏิบัติงาน GENRI : หลักการทางทฤษฎี GENSOKU : ระเบียบ กฎเกณฑ์
จุดประสงค์ การวิเคราะห์ >>>Why Why Analysis <<< 1.เพื่อให้พนักงานมีความชำนาญและสามารถคิดหรือวิเคราะห์ในเชิงทฤษฏี 2.เพื่อให้ความสามารถสอนในเชิงทฤษฏี 3.เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจโครงสร้างการทำงานของเครื่องจักร 4. ทำให้พนักงานทราบการวิเคราะห์ต้นตอของความผิดปกติ 5. เพื่อให้เกิดแนวคิดที่จะหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ
หลักสูตรฝึกอบรม why-why analysis เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถค้นหาต้นตอของปัญหาไปพร้อมๆ กับแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อควรระวังในการวิเคราะห์ Why Why Analysis
ค่านิยม 12 ประการ คสช. หนึ่ง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หนึ่ง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สอง ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้ สาม กตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ สี่ มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา ห้า รักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ หก ไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา เจ็ด เรียนรู้ อธิปไตย ของประชา แปด รักษา วินัย กฎหมายไทย เก้า ปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส สิบ ไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้ สิบเอ็ด ต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ สิบสอง ไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม
สิ้นสุดการนำเสนอ