Standard and Regulation in Environmental Law

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
Advertisements

บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ (ปรับปรุง )
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
Chapter I Introduction to Law and Environment
พงษ์เดช วานิชกิตติกูล
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ระบบเศรษฐกิจ.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้กฎหมาย
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
เวลา น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ชั้น 9
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
อำนาจอธิปไตย 1.
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
อำนาจ การปกครอง และการระงับข้อพิพาท
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
ประวัติศาสตร์กฎหมาย Legal History
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายสำหรับการท่องเที่ยวและการโรงแรม
นโยบายของรัฐด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ.
Supply Chain Management
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
Chapter I Introduction to Law and Environment
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
“อนาคตการสื่อสารไทย โฉมหน้าใหม่ กสทช. ในร่างรัฐธรรมนูญ”
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

213712 Standard and Regulation in Environmental Law นัทมน คงเจริญ – คณะนิติศาสตร์ Facebook: Nuthamon Kongcharoen

Outline เนื้อหา 3 ครั้ง ครั้งที่ หัวข้อ 1 การจัดการสิ่งแวดล้อม ความหมายและขอบเขต แนะนำกลไกของกฎหมาย – ระบบกฎหมาย 2 พัฒนาการของการจัดการสิ่งแวดล้อม และ หลักการที่สำคัญในกฎหมายสิ่งแวดล้อม 3 กรณีศึกษาคดีสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ และ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม มาตรการในการบังคับใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของสากลและของประเทศไทย การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เชิงนโยบาย 213712: Introduction

Resources เอกสารประกอบการเรียน E-document for Students – power point, บทความ Website: www.law.cmu.ac.th 213712: Introduction

Reading หนังสือ ตำราหลัก – อำนาจ วงศ์บัณฑิต, กฎหมายสิ่งแวดล้อม (วิญญูชน, 2557) กอบกุล รายะนาคร, กฎหมายกับสิ่งแวดล้อม (วิญญูชน, 2550) อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (วิญญูชน, 2554) มาตรการทางกฎหมายในการจัดการความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม (นิติธรรม, 2542) จุมพต สายสุนทร, กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (วิญญูชน, 2550) 213712: Introduction

การมองระบบการผลิตทั้งหมดในสังคม Story of stuff http://www.youtube.com/watch?v=9GorqroigqM คำถาม – ดูแล้ว เห็นอะไรบ้าง และคิดว่าจะนำมาปรับใช้กับการกำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างไร 213712: Introduction

มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา เมื่อเราตื่นเช้ามา เปิดหน้าต่าง แล้วสูดหายใจลึกๆ – เราพบอะไร? อากาศ น้ำ แสง เสียง กลิ่น มลพิษทางแสง Clean food > ทำไมต้องกินด้วย? ทุกวันนี้เรากินอย่างไร? เพื่อสุขภาพ? นอกจากกินแล้ว เราใช้ชีวิตอย่างไร? Dirty Electricity > คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า วิถีชีวิตในโลกสมัยใหม่ การใช้ชีวิตของเรา ต้องใช้พลังงานเท่าไร? พลังงานมาจากไหน? ระบบการผลิตในสังคมปัจจุบัน ยาอันตราย prescription drugs > ระบบการจัดการน้ำ และที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ปัจจัยต่อการมีชีวิต สู่ปัจจัยต่อการใช้ชีวิต 213712: Introduction

ความหมายของสิ่งแวดล้อม 23/02/2019 ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมใน 2 แนวทาง ได้แก่ สิ่งรอบตัวเรา - อากาศ น้ำ แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน รวมไปถึงสุขภาพ และการใช้ชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ – สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ภูมิสภาพทางกายภาพ และสัตว์ พืช – ระบบนิเวศ กรณีกฎหมายสิ่งแวดล้อมอยู่ในขอบเขตของการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อม – “สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี” อาจแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ การจัดการทรัพยากร การจัดการมลพิษ 213712: Introduction

ข้อพิจารณา การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพแก่คนในการใช้ชีวิตอยู่ เราต้องแลกกับอะไร เพื่อให้ได้ความสะดวกสบายนี้ !!! 213712: Introduction

ข้อพิจารณา Dirty Electricity https://www.youtube.com/watch?v=6CVLa_tRslY https://www.youtube.com/watch?v=xdtIPb3Veuw http://www.greenwavefilters.com/dirty-electricity/ 213712: Introduction

มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา 23/02/2019 มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา เมื่อเราตื่นเช้ามา เปิดหน้าต่าง แล้วสูดหายใจลึกๆ – เราพบอะไร? อากาศ น้ำ แสง เสียง กลิ่น มลพิษทางแสง Clean food > ทำไมต้องกินด้วย? ทุกวันนี้เรากินอย่างไร? เพื่อสุขภาพ? นอกจากกินแล้ว เราใช้ชีวิตอย่างไร? Dirty Electricity > คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า วิถีชีวิตในโลกสมัยใหม่ การใช้ชีวิตของเรา ต้องใช้พลังงานเท่าไร? พลังงานมาจากไหน? ระบบการผลิตในสังคมปัจจุบัน ยาอันตราย prescription drugs > ระบบการจัดการน้ำ และที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต 213712: Introduction

มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา 23/02/2019 มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา ปัจจัยต่อการมีชีวิต from basic needs to live สู่ปัจจัยต่อการใช้ชีวิต to life style คนเราสามารถใช้เทคโนโลยี เอาชนะธรรมชาติได้ จริงหรือ? ไม่มีน้ำ ฝนแล้ง เราทำอย่างไร? ทำฝนเทียม! สกัดน้ำจืดจากน้ำทะเล! 213712: Introduction

What have we got from “the Story of Stuff”? 23/02/2019 ระบบการผลิตในสังคม – สิ่งของต่างๆ มาจากไหน และไปไหนต่อ ในสังคม มีวงจรของสิ่งของต่างๆ อยู่ 5 ประการ 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ 2 การผลิต 3 การจำหน่าย กระจายสินค้า 4 การบริโภค 5 การกำจัดของเสีย 213712: Introduction

What have we got from “the Story of Stuff”? 23/02/2019 ทั้งหมดนี้เรียกว่า Material Economy > linear system – in a finite world! ระบบการผลิตที่เป็นเส้นตรง (เชิงเดี่ยว) บนโลกที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด เราใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลื้อง เมื่อวัตถุดิบ/ทรัพยากรธรรมชาติในแหล่งหนึ่งหมดไป ก็ย้ายฐานการผลิตไปที่แห่งใหม่ ในภาพของระบบการผลิต มีผู้คน ระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองอยู่ในระบบทางสังคมที่ซับซ้อน ที่ระบบรัฐบาลต้องจัดการให้เป็นธรรม แต่ในความจริงรัฐบาลรับใช้ใคร? 213712: Introduction

1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ 23/02/2019 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรและกระจายการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างไร ใครคือเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และในระบบของสังคมมีการเข้าไปใช้ประโยชน์ในทรัพยากรนั้นๆอย่างไร เจ้าของพื้นที่ ดั้งเดิม เช่น ชนเผ่าพื้นเมือง ที่มีระบบการยังชีพแบบพอเพียง ไม่ถูกนับรวมอยู่ในระบบทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่เน้นการผลิต การบริโภค ดังนั้นเมื่อไม่มีการบริโภค ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย ในระบบพาณิชยนิยม จึงไม่มีความหมายในระบบเศรษฐกิจ จึงถูกเอาเปรียบ และละเลย โดยระบบเศรษฐกิจ และการจัดการทรัพยากร 213712: Introduction

1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ 23/02/2019 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ เมื่อเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมถูกแย่งทรัพยากรไป จึงต้องเข้าเมืองไปทำงาน เป็นลูกจ้าง ที่ขาดอำนาจต่อรอง และถูกเอาเปรียบ ในระบบการผลิต ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ความหลากหลายทางชีวภาพหมดไป Renewable resource! ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พีชและสัตว์ สามารถสร้างขึ้นได้ใหม่ แต่ในภาวะหนึ่งเท่านั้น Inbreeding ภาวะการผสมพันธุ์ของสัตว์ที่ต้องผสมข้ามสายเลือด ไม่เช่นนั้นสายพันธุ์จะอ่อนแอลง Extinction of wildlife ศักยภาพของการสืบพันธุ์ของพืชและสัตว์ จะอยู่ในระดับที่ไม่อาจดำรงสายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติอีกต่อไป - กฎของดาร์วิน 213712: Introduction

2 การผลิต การผลิตที่ต้องลดต้นทุน และคุ้มทุน 23/02/2019 2 การผลิต การผลิตที่ต้องลดต้นทุน และคุ้มทุน กดขี่ค่าแรง ลดสวัสดิการ ใช้แรงงานถูก ทรัพยากรราคาถูก กฎหมายอ่อน-ดึงดูดการ “พัฒนา” การลดต้นทุน อย่างหนึ่งคือการผลักภาระต้นทุนสู่ภายนอก externalized cost! เช่น ทิ้งน้ำเสียโดยไม่ต้องบำบัด ใครจ่ายต้นทุนที่แท้จริง? สังคม คนที่ไม่มีอำนาจต่อรอง ถ้าคนมีทางเลือก หรือมีอำนาจต่อรองก็ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบแบบนี้ ระบบการผลิต ล้วนแต่ผลาญทรัพยากร ก่อมลพิษในกระบวนการผลิต และสร้างขยะ/ของเสีย การผลักภาระการจัดการมลพิษไปที่อื่น – ท้ายสุดก็วนกลับมาถึงตัวเอง มลพิษไร้พรมแดน 213712: Introduction

3 การจำหน่าย กระจายสินค้า 23/02/2019 3 การจำหน่าย กระจายสินค้า การกระจายสินค้า การกระตุ้นการจับจ่าย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการผลิดสินค้า ต้องกระตุ้นการบริโภค ทำอย่างไรให้คนซื้อมากขึ้น – ทำให้สินค้าราคาถูก การโฆษณา ทำให้คนซื้อของ การขายสินค้าราคาถูกได้ คือไม่ใช่การขายสินค้าตามต้นทุนการผลิดอย่างแท้จริง ผลักภาระให้แก่คนในระบบการผลิต โดยการกดขี่ค่าแรง เอาทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศโลกที่สาม เอาเปรียบคนงาน เช่นกรณี Walmart 213712: Introduction

23/02/2019 4 การบริโภค เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลก นโยบายของรัฐในการกระตุ้นการบริโภค เพื่อส่งเสริมการผลิต การผลิตที่ตกต่ำ คนตกงาน ทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ ในการกระตุ้นการผลิต ใครได้ประโยชน์ที่แท้จริง? การกระตุ้นการบริโภคโดยตั้งใจ – วางแผน/นโยบาย การผลิตสินค้า ให้เสียในอัตราที่ผู้บริโภคยังไว้วางใจซื้อสินค้านั้นอยู่ Designed for the dump การตลาดที่ทำให้เกิดแฟชั่น ทำให้คนต้องซื้อของเพื่อความทันสมัย กระตุ้นความอยากบริโภค ทั้งที่ไม่จำเป็น Perceived obsolescence 213712: Introduction

5 การกำจัดของเสีย การผลิตและการบริโภค ล้วนแต่ก่อขยะ 23/02/2019 5 การกำจัดของเสีย การผลิตและการบริโภค ล้วนแต่ก่อขยะ การกำจัดขยะโดยการฝังกลบ หรือเผา ล้วนแต่ก่อมลพิษ โดยเฉพาะขยะพิษ ขยะอีเลคโทรนิค วิธีการลดขยะ reduce reuse recycle ` การรีไซเคิลมีข้อจำกัด วัฒนธรรมการจัดการกับขยะ 213712: Introduction

วิธีคิดแบบใหม่ การผลิตแบบเชิงซ้อน ระบบนิเวศและคนไม่อาจแยกจากการผลิต 23/02/2019 วิธีคิดแบบใหม่ การผลิตแบบเชิงซ้อน ระบบนิเวศและคนไม่อาจแยกจากการผลิต การนำความคิดแบบวัฎจักรมาใช้ การทำแบบปัจเจก การผลักดันเชิงระบบ 213712: Introduction

ประเภทของกลุ่มต่างๆที่จัดการสิ่งแวดล้อม 23/02/2019 Anthropo-centric Anthropology – มานุษยวิทยา มนุษย์คือศูนย์กลาง จากนิยามของการอนุรักษ์ – การใช้อย่างฉลาด the wise use เพื่อให้เรามีทรัพยากรไว้ใช้อย่างไม่รู้จบ และจะได้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข Eco-centric Ecology – นิเวศวิทยา มองว่าคนเป็นตัวการของการทำลายโลก ดังนั้นหากหยุดกิจกรรมที่ผลาญโลกได้ โลกจะฟื้นตัว ระบบนิเวศจะสามารถจัดการให้คืนสู่สภาพที่สมดุล ดังนั้นคนต้องออกไป – คนอยู่กับป่าได้หรือไม่? Chapter I In213712: Introductiontroduction

ประเภทของกลุ่มต่างๆที่จัดการสิ่งแวดล้อม 23/02/2019 Techno-centric Technology พวกที่เชื่อว่าวิทยาการสามารถจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ระบบการบำบัดน้ำเสีย ใช้กังหัน ตีน้ำเพิ่มออกซิเจน เติมสารอีเอ็มลงในคลอง เพื่อให้จุลลินทรีย์ บำบัดน้ำเสีย (โดยไม่ต้องปรับแก้ชุมชนริมคลอง) เพิ่มแหล่งพลังงาน (โดยไม่ต้องทบทวนการใช้พลังงานอย่างประหยัด) สร้างเขื่อน (โดยมีระบบไฮโดรลิค ยกเรือขนสินค้าขึ้น/ล่องลำน้ำได้ มีกระไดปลาโจน) https://www.youtube.com/watch?v=b8cCsUBYSkw https://www.youtube.com/watch?v=pAUqodcXyWQ ทั้งสามแนวคิดนี้ หากกระทำแบบสุดขั้ว ย่อมเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี ต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม 213712: Introduction

213712: Introduction

Introduction to Legal Mechanism กฎหมาย คืออะไร? กฎหมายที่ตราขึ้นโดยผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ – รัฐสภา (รวมถึงกฎหมายท้องถิ่น เช่น สภาท้องถิ่น เช่น เทศบาล) Source of Law ที่มาของกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย (Rule of law) กฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป การใช้กฎหมายขึ้นอยู่กับระบบกฎหมายในสังคมนั้นๆ แต่ละประเทศมีระบบกฎหมายไม่เหมือนกัน ทำให้การใช้กฎหมายจากที่มาต่างๆ มีลำดับความสำคัญต่างกัน 213712: Introduction

ระบบกฎหมาย ระบบกฎหมาย แบ่งได้คร่าวๆ เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร Civil Law System/ Code Law System ระบบกฎหมายจารีตประเพณี Common Law System/ Customary Law/ Case Law System 213712: Introduction

ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร Civil Law System/ Code Law System เป็นระบบกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (ส่วนมากแล้ว เป็นการผ่านกระบวนการตรากฎหมายจากสภา – นิติบัญญัติ) การจะใช้จารีตประเพณี ต่อเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เท่านั้น (ซึ่งในปัจจุบัน มีกฎหมายตราขึ้นมากมาย การใช้จารีตประเพณีจึงเหลืออยู่น้อยมาก) กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงถือเป็นหลักทั่วไปในการใช้บังคับกฎหมายในเรื่องต่างๆ 213712: Introduction

ระบบกฎหมายจารีตประเพณี Common Law System/ Customary Law/ Case Law System ที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายจารีตประเพณี Customary Law คือกฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยผู้ปฎิบัติยึดถือกฎเกณฑ์นั้น ว่าเป็นกฎหมายของชุมชน – the commons สามัญชน มีหลักการของสังคมที่เชื่อว่าอะไรคือความเป็นธรรม (Equity) ก็กำหนดบรรทัดฐานไว้ มีผู้พิพากษาตัดสินคดี โดยการนำเอาหลักการที่สังคมยึดถือมาวางเป็นบรรทัดฐาน ซึ่งแนวทางการตัดสินนี้จะถือเป็นหลักการของกฎหมายที่ศาลที่ตัดสินคดีในภายหลัง ที่มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ต้องผูกพันให้ตัดสินตามคดีก่อน (Precedent Principle) จึงเรียกว่า Case Law System 213712: Introduction

ระบบกฎหมาย 213712: Introduction

ระบบสกุลกฎหมาย Romano-Germanic Legal Family เป็นต้นกำเนิดจากโรมัน และแพร่หลายในภาคพื้นยุโรป เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี สวิสฯ ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร Anglo-Saxon Legal Family เป็นต้นกำเนิดอยู่ในอังกฤษ และแพร่ขยายไปยังกลุ่มประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ Islamic / Religious Legal Family เป็นการใช้กฎหมายที่มีพื้นฐานมาจากหลักทางศาสนา และในกลุ่มประเทศมุสลิม มีกฎหมายสูงสุดคือคัมภีร์กุรอ่าน และมีคณะผู้พิพากษาคือผู้สอนศาสนาในระดับสูง เรียกว่า Sharia Court ศาลของศาสนาอิสลาม Traditional Legal Family เป็นระบบสังคมที่ยังยึดถือแนวทางปฏิบัติอย่างดั้งเดิมอยู่ เช่น ชุมชนในแอฟริกา 213712: Introduction

ระบบศาล กับเครื่องมือทางกฎหมาย กฎหมายก็เปรียบเหมือนเครื่องมือที่จะจัดการเรื่องราวข้อขัดแย้งในสังคม เป็นอาวุธอย่างหนึ่ง เราเลือกใช้อาวุธต่างๆ กัน เช่น มีด ก็มีหลายประเภท กฎหมายก็มีหลายประเภท ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีเกณฑ์หลากหลาย หากพิจารณาจากมาตรการบังคับใช้กฎหมาย อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท กฎหมายอาญา – ใช้มาตรการทางอาญา (จำคุก ปรับ กักขัง ริบทรัพย์สิน ประหารชีวิต) กฎหมายแพ่ง – ใช้มาตรการทางแพ่ง คือเรียกค่าเสียหาย กฎหมายปกครอง – ใช้มาตรการทางปกครอง เช่น การกำหนดให้อนุญาต การให้สัมปทาน รวมถึงการเพิกถอน 213712: Introduction

หลักกฎหมายอาญา เป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของสังคม เช่น การทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากมีโทษต่อเนื้อตัวร่างกาย และเสรีภาพของบุคคล ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด – วิธีพิจารณาคดีอาญา โทษทางอาญาต้องไม่มีผลย้อนหลัง และต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด และมีการกำหนดโทษไว้ ณ เวลาที่กระทำความผิดด้วย กฎหมายในการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายในการคุ้มครองสวัสดิภาพของสังคม มีการกำหนดโทษในทางอาญาไว้ 213712: Introduction

กฎหมายแพ่ง ส่วนใหญ่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ทางกฎหมายของบุคคลในสังคม อยู่บนพื้นฐานของเจตนาของบุคคลต่างๆนั้น ที่ต้องการเข้ามาทำนิติกรรมต่อกัน เช่น สัญญา ซื้อขาย เมื่อบุคคลกระทำการที่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ต้องรับผิด ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ความเสียหายต่อชีวิต สุขภาพอนามัย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง บุคคลทุกคนเท่าเทียมกัน จึงต้องอาศัยอำนาจของศาลในการตัดสินคดี และหน่วยงานของรัฐในการบังคับคดี เรียกว่ากระบวนการพิจารณาคดีแพ่ง ให้กระทำการ, งดเว้นกระทำการ, หรือส่งมอบทรัพย์สิน ปัจจุบัน มีการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้วย 213712: Introduction

กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งมีฝ่ายปกครอง เข้ามากระทำการทางปกครอง (เช่น การให้บริการสาธารณะ) เป็นการใช้อำนาจรัฐในการจัดการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงมีอำนาจมหาชน ที่จะดำเนินการ เช่น การอนุญาตให้ดำเนินการต่างๆ เช่น การจดทะเบียน, การให้สัมปทาน รวมถึงการเพิกถอนด้วย การดำเนินการของรัฐ/ ฝ่ายปกครองนี้ บางครั้งกระทบต่อสิทธิของประชาชน จึงต้องมีหลักการว่า การกระทำทางปกครอง ต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายเสมอ (คือต้องมีกฎหมายรองรับ ว่าให้อำนาจดำเนินการได้) หน่วยงานรัฐทั้งหมด (รวมทั้งหน่วยงานที่จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม) อยู่ภายใต้กฎหมายปกครอง กระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดให้เป็นเงื่อนไขก่อนดำเนินโครงการของรัฐ 213712: Introduction

ระบบศาล กับเครื่องมือทางกฎหมาย กฎหมายแต่ละประเภท ขึ้นศาลต่างกันไป ศาลในประเทศไทยมี 4 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ – ตัดสินคดีที่ กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ (เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิของประชาชน) ศาลยุติธรรม – ตัดสินคดี แพ่งและคดีอาญา เป็นหลักทั่วไป ศาลปกครอง – ตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปกครอง ที่ใช้อำนาจในการให้บริการ การออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง หรือการที่ฝ่ายปกครองละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลทหาร – ไว้ตัดสินผู้ที่ใช้อำนาจทางทหาร 213712: Introduction

Anatomy of Law บททั่วไป – ชื่อกฎหมาย เวลาในการประกาศใช้ บทนิยาม และผู้รักษาการตามกฎหมาย (เพื่อออกกฎหมายลำดับรองลงไป – ข้อสังเกต ปกติจะเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ แต่หากผู้รักษาการตามกฎหมายเป็น นายกรัฐมนตรี แสดงว่ากฎหมายนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆกระทรวง) ส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ – ส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดว่ากฎหมายนั้นต้องการจะทำอะไร เช่น การกำหนดว่ามีคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการบางอย่าง – ที่มาของคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ของกรรมการนั้น รวมถึงการกำหนดว่าห้ามทำ/ให้ทำอะไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น ส่วนที่เป็นสภาพบังคับ – การกำหนดโทษทางอาญา/แพ่ง/มาตรการทางปกครอง เพื่อให้การละเมิดกฎหมายนั้นมีผลทางกฎหมาย บทเฉพาะกาล – เป็นการกำหนดระยะเปลี่ยนผ่านของกฎหมายว่าจำเป็นต้องสร้างอำนาจเฉพาะกิจ เช่นให้องค์กรเดิมยังมีหน้าที่อยู่ การกำหนดให้มีการออกกฎหมายลำดับรองในการกำหนดขั้นตอนรายละเอียดต่างๆ หรือการกำหนดให้มีบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ในการกำหนดชนิดประเภทสิ่งต่างๆที่กฎหมายคุ้มครอง/ควบคุม (กฎหมายบางฉบับอาจไม่มีระยะเปลี่ยนผ่านก็ได้) กฎหมายในรูปแบบของพระราชบัญญัติ มักจะประกอบด้วยโครงสร้างเช่นนี้ 213712: Introduction

Techniques of Environmental Law 1 Direct or "Command and Control" 2 Self-Regulation 3 Provision of Environmental Information & Education 4 Judicial Review & Citizen Suit 5 Environmental Protection through Property Rights 213712: Introduction

1 Direct or "Command and Control" รัฐเป็นผู้ดูแล หรือ อำนวยการ ในการรักษา เช่น การรักษาความสะอาด การกำจัดของเสีย การออกระเบียบในการควบคุม และมีสภาพบังคับ เช่น พรบ.อุทยานแห่งชาติ ห้ามกระทำการที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต พรบ.โรงงานอุตสาหกรรม ในการควบคุมมาตรฐานการปล่อยของเสียจากโรงงาน พรบ.อาหาร, พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค การมีฉลาก และควบคุมส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 213712: Introduction

2 Self-Regulation การกำหนดกฎเกณฑ์ ในสภาพแวดล้อมในชุมชน เช่น การรักษาแม่น้ำ ลำคลอง การกำหนดกติกาขึ้นมาใช้ในชุมชน – ตามแนวคิดของสัญญา (ข้อตกลงร่วมกัน – แนวคิด ถ้าไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ประชาชนย่อมมีอำนาจกระทำการได้) Self-Regulation (การกำหนดกติกาที่ใช้ในชุมชน) & Self-Monitoring (การตรวจสอบดูแล) ปัญหาคือ เมื่อระเบียบของชุมชน ขัดต่อกฎหมายในระดับที่สูงขึ้นไป ทำอย่างไร? ตัวอย่างกติกาในการจัดการป่าชุมชน หลักการใช้บังคับกฎหมาย ระดับกฎหมายสูง-ต่ำกว่า สิทธิชุมชน พหุนิยมทางกฎหมาย legal pluralism ISO กับการกำหนดมาตรฐานการผลิต – เพื่ออะไร? 213712: Introduction

การจัดการทรัพยกรของชุมชน Elinor Ostrom – Governing the Commons ระดับสากล ตัวบทบัญญัติ กฎหมายระหว่างประเทศ การบังคับใช้ เช่น การร้องเรียน การบอยคอต การค้า อย่างไม่เป็นทางการ - การเจรจาต่อรอง ระดับชาติ รัฐธรรมนูญ พรบ.ป่าไม้/อุทยาน การจับ ปรับ ย้ายออกจากพื้นที่ อย่างไม่เป็นทางการ – มติครม. การร่วมมือระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ระดับชุมชน กติกาป่าชุมชน การไล่ออกจากพื้นที่ อย่างไม่เป็นทางการ – การซุบซิบนินทา การไม่คบหาสมาคม 213712: Introduction

3 Provision of Environmental Information & Education การประกาศกฎเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อม การให้ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ สุขภาวะ สิ่งแวดล้อม อาหาร/ของใช้ต่างๆ เช่นคลื่นจากโทรศัทพ์มือถือ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค การอบรม รณรงค์และเผยแพร่การแยกขยะ การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ต้องการข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และต่อตัวคน 213712: Introduction

4 Judicial Review & Citizen Suit ระวังเรื่องนิติวิธี ของระบบกฎหมาย – การใช้กฎหมายในระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร (ที่คำพิพากษาเป็นเพียงการตีความ และการบังคับใช้กฎหมายขององค์กรตุลาการ) กับระบบกฎหมายแบบ Common Law/ Case Law (ที่คำพิพากษาของศาลถือว่าเป็นที่มาหลักของกฎหมาย) การฟ้องคดี เพื่อสร้างบรรทัดฐาน ในการใช้กฎหมาย ข้อสังเกตสำคัญ – ในระบบกฎหมายไทย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร 213712: Introduction

การจัดประเภทของศาลเป็น 3 ศาล (ไม่รวมศาลทหาร) 1 ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชน (รวมถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อม การฟ้องหน่วยงานของรัฐ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม) 2 ศาลปกครอง เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการดูแล รักษา ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการตามหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนด 3 ศาลยุติธรรม ในการดำเนินคดีอาญา สำหรับผู้ละเมิดกฎหมายที่จัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสำหรับการเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง รวมถึงการงดเว้นกระทำการที่ละเมิดสิทธิในสิ่งแวดล้อม 213712: Introduction

5 Environmental Protection through Property Rights การใช้สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สิน มองได้ทั้งสองทาง เจ้าของกรรมสิทธิ์ มีอำนาจจะกระทำอย่างใดๆก็ได้ในทรัพย์สินของตนเอง (ตราบเท่าที่ไม่กระทบสิทธิของผู้อื่น) ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อจำกัดกรรมสิทธิ์ – เรื่องเดือดร้อนรำคาญ Nuisance Zoning ผังเมือง Individual rights & collective rights 213712: Introduction

พัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม คราวหน้าเรื่อง พัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม The End ☃ 213712: Introduction