บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
หัวข้อ 1. ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ 1. ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ 2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 3. คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี 4. กระบวนการทำงานระบบสารสนเทศ 5. ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ 1. ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information Systems ) หมายถึง ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งแหล่งภายใน และภายนอกหน่วยงาน แล้วนำมาประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใช้ช่วยในการปฏิบัติงาน การจัดการและการบริหารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอยู่ในรูปแบบตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข รูปภาพและเสียง ซึ่งข้อมูลนี้ถือว่าเป็นวัตถุดิบของสารสนเทศ สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลที่ได้รับจากการนำข้อมูลมาแปรสภาพหรือรวบรวมให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย และนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เกรดเฉลี่ยของนักเรียน ยอดขายประจำเดือน และสถิติการขาดงาน ขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ
2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1. Hardware หมายถึง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล ที่สามารถจับต้องได้ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข 2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์
2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 3. Peopleware หมายถึง กลุ่มผู้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 4. Data หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสานกัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 5. Procedure หมายถึง ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศ
3. คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี 3. คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี มีความเที่ยงตรง ถูกต้อง เชื่อถือได้ (Accuracy) ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันที มีความสมบูรณ์(Completeness) สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน (Relevance) ตรวจสอบได้ (Verifiability)
4. กระบวนการทำงานระบบสารสนเทศ 4. กระบวนการทำงานระบบสารสนเทศ
4. กระบวนการทำงานระบบสารสนเทศ (ต่อ) 4. กระบวนการทำงานระบบสารสนเทศ (ต่อ) 1. การนำข้อมูลเข้า (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เช่น บันทึกรายการขายรายวัน บันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน และจำนวนนักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2. การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวณ หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดรูปแบบและการเปรียบเทียบตัวอย่างการประมวลผล เช่น การคำนวณรายได้ของผู้ปกครองการนับจำนวนวันหยุดราชการบนปฏิทินและการหาค่าเฉลี่ยความสูงของนักเรียนทั้งห้องเรียน 3. การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ 4. การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผลหรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลก็ต้องจัดเก็บเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บ คือ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
5. ประเภทของระบบสารสนเทศ 5. ประเภทของระบบสารสนเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารและระดับของการจัดการ
5. ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 5. ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 1. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการธุรกรรม (Transaction Processing Systems - TPS) บางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลข้อมูล (DP : Data Processing Systems) ระบบประมวลผลที่เกิดจากการทำธุรกรรม เป็นระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในแต่ละวัน เช่น ระบบการจองตั๋ว การสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ การฝากหรือถอนเงินจากธนาคาร การสำรองห้องพัก เป็นสารสนเทศที่ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้เนื่องจากเป็นสารสนเทศที่เป็นรายการจำนวนมาก 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System -MIS) เป็นระบบสารสนเทศที่อำนวยความสะดวกในการจัดการโดยจะสร้างรายงานที่มีลักษณะต่างๆ ตาม กฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดและต้องใช้งานไม่ยาก และยังสามารถใช้ในการค้นหาและจัดทำรายงานพิเศษบางอย่างได้ทันที เช่น รายงานตามระยะเวลาที่กำหนด รายงานสรุป รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น รายงานตามความต้องการ
5. ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 5. ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) 3. ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems -DSS) ประกอบด้วยคน กรรมวิธี เทคนิคและเครื่องมือต่างๆ รวมถึงข้อมูลที่ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือ สามารถตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ เช่น การคิดโปรโมชั่นของสินค้า 4.ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems–EIS) ระบบเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ หรือสามารถกล่าวได้ว่าระบบ EIS คือส่วนหนึ่งของระบบ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูงสุด ส่วนมากจะนำเสนอในรูปแบบรายงาน ตาราง กราฟ เพื่อสรุปสารสนเทศให้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
ตอบคำถามท้ายบทที่ 1 ระบบสารสนเทศ คืออะไร ระบบสารสนเทศ คืออะไร นักเรียน จัดเป็นองค์ประกอบใดของระบบสารสนเทศ เครื่องคอมพิวเตอร์ จัดเป็นองค์ประกอบใดของระบบสารสนเทศ ยกตัวอย่างสรสนเทศที่ดีมา 1 ข้อ ระบบสารสนเทศชนิดใดที่ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้