การวิจัยเบื้องต้น แนะนำผู้สอน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

การจัดทำแผนปฏิทินการจัดการความรู้ และแผนในการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้ E:\ประกันคุณภาพ\ppt\ดูงาน\12-PPT_เสนอ_ครุศาสตร์_จุฬา_19_11_50.ppt.
การเขียนโครงร่างวิจัย
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานขาย
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
ความรู้พื้นฐานทางสถิติ
เทคนิคการตรวจสอบภายใน
ความหมายของโครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้ที่จะศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
หลักสูตรการอบรมวิทยากรตัวคูณ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ภาคกลางตอนบน ( วันที่สอง ) ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2558.
การขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะโดยใช้รางวัล สูงสุดระดับชาติ ตามหลักเกณฑ์ ว 13 / 2556 ดร. ชูชาติ ทรัพย์มาก ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคลและนิติ การ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ชุมชนปลอดภัย.
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
โดย ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย การจัดประเภทของการวิจัย
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนการสอน
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
การขอโครงการวิจัย.
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
Kerlinger (๑๙๘๘) กล่าวว่า การวิจัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสวงหาความรู้ ความจริง ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการวิจัย (Research Process)
หลัก MAX MIN CON การออกแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
หน่วยที่ 4 การสร้างเครื่องมือ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวิจัยเบื้องต้น แนะนำผู้สอน ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย กศ.บ. คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ กศ.ม. จิตวิทยาพัฒนาการ กศ.ด. วิจัยและประเมินผลการศึกษา

เทคนิคการฟังบรรยายเพื่อการเรียนรู้ ตาดู หูฟัง สมองคิดตาม มือจดบันทึก ปากถาม/แสดงความคิดเห็น

ลักษณะของเซลล์สมองของมนุษย์

การเชื่อมโยงของเซลล์สมอง ในเด็กแรกเกิด การเชื่อมโยงของเซลล์สมอง ในเด็ก 2 เดือน การเชื่อมโยงของเซลล์สมองในเด็ก 2 ขวบ

เซลส์สมองที่ยังไม่ได้รับการเสริมสร้างพัฒนา เซลส์สมองที่ได้รับการเสริมสร้างพัฒนา

ความเชื่อเกี่ยวกับความจริง และการค้นหาความจริง ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (ครั้งที่ 1)

What is research ? Re = again (ซ้ำอีกครั้ง) Search = ค้นหา

“การวิจัย” เกี่ยวข้องกับ 3 สิ่งที่สำคัญ ความจริง ที่นักวิจัยต้องการค้นหา วิธีการที่ใช้ในการค้นหา ต้องเป็นระบบ ความจริงหรือข้อค้นพบ ต้องเชื่อถือได้

การวิจัยคืออะไร แสวงหา ความรู้ความจริง ด้วย วิธีการที่เป็นระบบ ความจริงส่วนบุคคล (Private facts) ความรู้ความจริง ความจริงสาธารณะ (Public facts) ด้วย วิธีการที่เป็นระบบ ความเชื่อถือได้

ตอบได้หลายแง่มุม ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือสำนึกคิดของนักปรัชญา ความจริงคืออะไร ตอบได้หลายแง่มุม ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือสำนึกคิดของนักปรัชญา ดังนั้น จึงขอสรุปว่า “ความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริง”

ค้นพบความจริงได้อย่างไร วิธีการค้นพบความจริง แบ่งเป็น 2 วิธีการ (กลุ่ม) กลุ่มแรก : การจะค้นพบความจริงทำได้โดยการให้เหตุผล ครุ่นคิด (คิดอย่างมีเหตุผลจะทำให้ได้ความจริง) โดยอาศัยหลักการนิรนัย (Deductive) เป็นเครื่องมือ ความจริงที่ได้มาจากภายในมิใช่ภายนอกหรือจากประสบการณ์ ที่ผ่านเข้ามา ความจริงเป็นสิ่งนิรันดรไม่แปรเปลี่ยน หากใช้เหตุผลคิด อย่างรอบคอบก็จะพบความจริงดังกล่าว ดังนั้นกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า กลุ่มเหตุผลนิยม (Rationalism)

กลุ่มที่สอง : การจะค้นพบความจริงต้องอาศัยประสบการณ์ทั้งสิ้น วิธีการ ค้นหาจะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ากับประสบการณ์เดิม โดยอาศัยหลักการอุปนัย (Inductive) เป็นเครื่องมือสรุปข้อค้นพบ ดังนั้นกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า กลุ่มประจักษ์นิยม (Empiricalism)

วิจัยกับการค้นพบความจริง ด้วยพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับความจริงและวิธีการค้นพบความจริงที่กล่าวมาแล้ว นำไปสู่การเกิด ระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีวิทยาการวิจัย (Research Methodology) ที่แตกต่างกัน 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรก : Rational Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงตรรกะ หรือ เชิงเหตุผล) กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์)

กลุ่มแรก : Rational Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงตรรกะ หรือ เชิงเหตุผล) การดำเนินการวิจัยมุ่งหาความจริงที่มีลักษณะเป็นการคิดและใช้ เหตุผล สรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยอาศัยการนิรนัย ความถูกต้อง หรือความรู้ความจริงที่ได้รับจะพิจารณาจากการลงสรุปอย่างสมเหตุ สมผลเป็นสำคัญ โดยไม่สนใจว่าจะสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นใน ธรรมชาติหรือไม่ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต คณิตศาสตร์ เป็นต้น

กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์) การดำเนินการวิจัยมุ่งหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสาท สัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ความจริงที่มุ่งค้นหาจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเป็น ปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่สามารถจับต้องได้ ความถูกต้องและน่าเชื่อถือเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถใน การทดสอบพิสูจน์ด้วยประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ประกอบกัน ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด

กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology กลุ่มสำนักคิดที่ใช้ Empirical Research Methodology ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสำนักย่อย เนื่องจากพื้นฐานความเชื่อในการมองปรากฏการณ์ในธรรมชาติแตกต่างกัน ได้แก่ 1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) 2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism)

1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) มุ่งค้นหาความจริงของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัส จับต้อง วัดค่าได้อย่างเป็นวัตถุวิสัยหรือมีความเป็นปรนัย และมีความเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้น เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่ายๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงที่ค้นพบนี้ ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้น ตามความต้องการ

2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์โดยอาศัยประสบการณ์และประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นพื้นฐาน (เช่นเดียวกับกลุ่มแรก) แต่กลุ่มนี้มีความเชื่อ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม (ของมนุษย์) แตกต่างกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติอื่นๆ โดยเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือมีความเป็นพลวัตสูงมาก นอกจากนั้น ยังขึ้นอยู่กับความเชื่อ การให้คุณค่า ความหมาย และวัฒนธรรมของกลุ่มคนในสังคมนั้น ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริงจึงไม่ สามารถกระทำได้โดยการแจงนับ วัดค่าออกมาเป็นตัวเลข หากแต่ จะต้องเข้าใจถึงความหมาย ระบบคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนเสียก่อน

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) 1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) 2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology)

สังเกต ปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ แล้วกำหนด ปัญหา ตั้ง สมมติฐาน เก็บรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูล สรุปผล การค้นพบความจริง ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ อนุมาน/นิรนัย อุปมาน/อุปนัย

เพื่อควบคุม (Control) เป้าหมายของการวิจัย เพื่อควบคุม (Control) (การทำให้เกิดหรือไม่เกิดปรากฏการณ์ใดๆ ตามที่ต้องการ) เพื่อทำนาย (Prediction) (การบอกเล่าในลักษณะ ถ้า.........แล้ว) เพื่ออธิบาย (Explanation) (การบอกเล่าในเชิงสาเหตุและผลของปรากฏการณ์ หรือความสัมพันธ์ :why) เพื่อบรรยายหรือพรรณนา (Description) (การบอกเล่าตอบคำถาม who what where when how)

ขั้นตอนการทำวิจัยทั่วไป 6. สร้าง/เลือกเครื่องมือรวบรวมข้อมูล 1. ตระหนักถึงปัญหา 9. สรุปผลและเขียนรายงานวิจัย 2. กำหนดขอบเขตของปัญหา 8. การจัดกระทำข้อมูล 3. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 7. ดำเนินการรวบรวมข้อมูล 4. กำหนดสมมติฐาน 6. สร้าง/เลือกเครื่องมือรวบรวมข้อมูล 5. เขียนโครงการวิจัย

การจัดประเภทของการวิจัย ตัวอย่าง การจัดประเภทของการวิจัย

(Quantitative research) 1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) แบ่งตามลักษณะข้อมูลและวิธีการได้มา 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มุ่งค้นหาความจริงของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัส จับต้องวัดค่าได้อย่างเป็นวัตถุวิสัยหรือมีความเป็นปรนัย (ได้ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข) และมีความเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้น เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่ายๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงที่ค้นพบนี้ ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้น ตามความต้องการ

2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์โดยอาศัยประสบการณ์และประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นพื้นฐาน (เช่นเดียวกันกับการวิจัยเชิงปริมาณ) แต่มีความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม (ของมนุษย์) แตกต่างกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติอื่นๆ โดยเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือมีความเป็นพลวัตสูงมาก นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความเชื่อ การให้คุณค่า ความหมาย และวัฒนธรรมของกลุ่มคนในสังคมนั้น ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคม อย่างแท้จริงจึงไม่สามารถกระทำได้โดยการแจงนับ วัดค่าออกมาเป็นตัวเลข หากแต่จะต้องเข้าใจถึงความหมาย ระบบคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนเสียก่อน

2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) 1. การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) แบ่งตามประโยชน์การใช้ผลการวิจัย 3. การวิจัยปฏิบัติการ (Action research)

2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) 1. การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความรู้เป็นหลัก 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ และนำความรู้ที่ได้มารับใช้สนองตอบ ประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ 3. การวิจัยปฏิบัติการ (Action research) มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม/องค์การ

Gay (1992) จำแนกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ 4 ชนิดใหญ่ ต้องการข้อสรุปเชิงสาเหตุหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ จะมีการจัดกระทำหรือไม่ จะศึกษา-ทำนายความสัมพันธ์หรือไม่ ใช่ ใช่ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์/ การวิจัยเชิงทำนาย ไม่ใช่ ไม่ใช่ การวิจัยแบบย้อนรอย (ย้อนหาสาเหตุ) (Expose-facto research) การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)

ตัวแปรต้น (ตัวแปรจัดกระทำ) การวิจัยเชิงทดลอง เป้าหมาย เพื่อศึกษาผลการจัดกระทำของผู้ทดลอง โดยพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้ได้มากที่สุด ตัวแปรตาม (ผล) ตัวแปรต้น (ตัวแปรจัดกระทำ) ตัวแปรแทรกซ้อน ควบคุมไว้

การวิจัยแบบย้อนรอย (Expose facto research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาจากผลไปหาเหตุ ซึ่งทั้งผลและเหตุเกิดขึ้น มาก่อนแล้ว วิธีการศึกษาจะเริ่มจากกำหนดผลหรือตัวแปรตาม ก่อนแล้วค่อยค้นหาสาเหตุ ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระที่ทำให้เกิดผล ตัวแปรตามนั้น เช่น การศึกษาอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ที่มีต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็ก

(Expose-facto research ) มีสาเหตุตรง/สาเหตุอ้อม Y X4 X2 การวิจัยแบบย้อนรอย (Expose-facto research ) มีสาเหตุตรง/สาเหตุอ้อม X5

การวิจัยเชิงทำนาย X1 X2 Y X3 X4

อื่นๆ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ผสมผสาน

สำรวจข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ออกแบบและสร้างนวัตกรรม ทดลองใช้นวัตกรรม กระบวนการ วิจัยและพัฒนา มุ่งสร้างและตรวจสอบ คุณภาพนวัตกรรม สำรวจข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ออกแบบและสร้างนวัตกรรม ทดลองใช้นวัตกรรม ประเมินและปรับปรุงนวัตกรรม

กระบวนการ วิจัยปฏิบัติการ สังเกต ติดตาม ประเมิน O สะท้อนผล ปรับปรุง R กระบวนการ วิจัยปฏิบัติการ เป้าหมาย ปฏิบัติตามแผน A วางแผนปฏิบัติการ P วิเคราะห์ หาสาเหตุแท้จริง ปัญหา เลือกแนวทาง/วิธีการ หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ไข (มีความยืดหยุ่นได้)

จรรยาบรรณนักวิจัย โดย สภาวิจัยแห่งชาติ www.research.cmru.ac.th/Site/files/banner/appendix10.pd

นักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดาเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับใน แต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสมแสดงถึง คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละ สาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพ นั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของ สาขาวิชาชีพของตน

จรรยาบรรณของนักวิจัย (สภาวิจัยแห่งชาติ) จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติ ของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดาเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกัน มาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและ เกียรติภูมิของนักวิจัย

ข้อ 1 นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการ และการจัดการ นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองไม่นาผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นามาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหา ทุนวิจัย และมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย

ข้อ 2 นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทาวิจัย ตามข้อตกลงที่ทาไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุน การวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด ข้อ 3 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทาวิจัย ข้อ 4 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

ข้อ 5 นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย ข้อ 6 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติ ในทุกขั้นตอนของการทาวิจัย ข้อ 7. นักวิจัยพึงนาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ ข้อ 8 นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น ข้อ 9 นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ