Factors Markets of Resource Markets ตลาดปัจจัยการผลิต Micro Chapter 9 Factors Markets of Resource Markets ตลาดปัจจัยการผลิต
วัตถุประสงค์ในการศึกษาตลาดปัจจัยการผลิต เพื่อหาราคาปัจจัยการผลิตที่ต่ำสุด และนำมาคำนวณเป็นต้นทุนการผลิต สำหรับผู้ผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ การหาราคาปัจจัยการผลิต หาจากอุปสงค์และอุปทานของตลาดปัจจัยการผลิต ที่ประกอบด้วยปัจจัยทั้ง 4 คือ ปัจจัยแรงงาน ปัจจัยทุน (เครื่องจักร โรงงาน และเงินทุน) ปัจจัยที่ดิน ปัจจัยผู้ประกอบการ
บทที่ 9 อธิบายเฉพาะตลาดแรงงานในเรื่อง การกำหนดราคาปัจจัยการผลิตประเภทแรงงาน ศึกษาอุปสงค์แรงงานกรณีตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ศึกษาอุปสงค์แรงงานกรณีตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ผลกระทบของราคาปัจจัยการผลิต ทั้ง 4 (ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ)ต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ การใช้กราฟแสดงการวิเคราะห์ดุลยภาพของ ตลาดแรงงาน ตลาดการเงิน (ตลาดเงินและตลาดทุน) และตลาดที่ดิน ส่วนตลาดผู้ประกอบการจะไม่วิเคราะห์
ราคาปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ประเภท ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ คือ ราคาปัจจัยการผลิตเป็นตัวกำหนดรายได้ของกลุ่มครัวเรือน ราคาปัจจัยการผลิตมีผลต่อการวัดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกปริมาณการผลิตของหน่วยผลิต มีผลต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ปัญหาผลผลิตขาดแคลน หรือ ขาดตลาด และปัญหาความยากจน ฯลฯ
ตลาดแรงงานสำหรับผู้ผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ การหาอุปสงค์ต่อปัจจัยการผลิตของผู้ผลิต อาศัย กฎการลดน้อยถอยลงของผลผลิตหน่วยสุดท้าย(The Law of Diminishing Marginal Product)ในทฤษฎีฟังก์ชั่นการผลิตบทที่ 5 มาปรับใช้กับการหาอุปสงค์ต่อปัจจัยการผลิต คือ “ผู้ผลิตจะตัดสินใจเพิ่มจำนวนผลผลิตต่อไปเรื่อยๆถ้ารายรับจากการใช้ปัจจัยการผลิตหน่วยสุดท้าย(MRP) มากกว่าต้นทุนการใช้ปัจจัยการผลิตหน่วยสุดท้าย(MRC)และจะหยุดเพิ่มปัจจัยการผลิต เมื่อรายรับจากการใช้ปัจจัยการผลิตหน่วยสุดท้ายเท่ากับต้นทุนการใช้ปัจจัยการผลิตหน่วยสุดท้ายพอดี(MRP=MRC)”
ผู้ผลิตจะหยุดเพิ่มปัจจัยการผลิตเมื่อ MRP=MRC MRP= TR ÷Qปัจจัย สรุป ผู้ผลิตจะเพิ่มปัจจัยการผลิตเมื่อ MRP> MRC ผู้ผลิตจะหยุดเพิ่มปัจจัยการผลิตเมื่อ MRP=MRC MRP= TR ÷Qปัจจัย MRC= TC ÷Qปัจจัย
กรณีศึกษาเฉพาะอุปสงค์ต่อปัจจัยแรงงาน ในตลาดผู้ผลิตแข่งขันโดยสมบูรณ์ กรณีศึกษาเฉพาะอุปสงค์ต่อปัจจัยแรงงาน ในตลาดผู้ผลิตแข่งขันโดยสมบูรณ์ ให้เปลี่ยนตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณ ดังนี้ MRP = MRPL (Marginal Revenue Product of Labor) และ MRPL จะมีความหมายเท่ากับ MPL ในการวิเคราะห์ผลผลิตระยะสั้นนั่นเอง ดังนั้นหากทราบราคาขายของสินค้าต่อหน่วย(P) หรือดีมานด์ของผู้บริโภคต่อหน่วย(P=D=AR ตลาดแข่งขันสมบูรณ์)ดังนั้น MRPL = MPL × P ตัวอย่างหน้า 153 200 = 4 × 50
การกำหนดอุปสงค์ต่อปัจจัยแรงงานหน้า 153-155 Demand for Labor = MRPL *MRPL = MRCL = W (Wage)* จุดดุลยภาพที่ผู้ผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ยินดีที่จะจ้างงานเพิ่มเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มคือ MRPL = W หรือ MRPL = MRCL ตัวอย่าง สมมติ ผู้ผลิตรายหนึ่งจ่ายค่าจ้างวันละ 150 บาท ดังนั้น MRCL = W ผู้ผลิตขายสินค้าราคาเดียวกันทุกระดับการขาย = 50บาทต่อหน่วย เมื่อผู้ผลิตจ้างงานคนแรก MPL = 7 จึงคำนวณ MRPL = MPL×P = 7×50 = 350 บาท
ตารางอุปสงค์การจ้างงานของผู้ผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ Labor TP MPL P TR MRPL MRCL Or W=150 Or W=250 - 50 1 7 350 150 250 2 13 6 650 300 3 18 5 900 *250 4 22 1,100 200 25 1,250 *150 27 1,350 100 28 1,400
สรุป จากตาราง ผู้ผลิตจะได้ดุลยภาพจากการจ้างงาน ดั้งนี้ ค่าจ้างวันละ 150 บาท ราคาขายเท่ากับ 50 บาท ต่อหน่วย *ระดับการจ้างงานดุลยภาพ = MRPL = W = 150 และผู้ผลิตจ้างแรงงานเท่ากับ 5 คน* ค่าจ้างวันละ 250 บาท และ ราคาขาย เท่ากับ 50 บาท ต่อหน่วย *ระดับการจ้างงานดุลยภาพ = MRPL = W = 250 และผู้ผลิตจ้างแรงงานเท่ากับ 3 คน* หน้า159 แสดงรูปกราฟเส้นDemand for Labor ณ ระดับราคาค่าจ้างวันละ 100 บาท 150 บาท 200 บาท และ 250 บาท ตามลำดับ และจำนวนการจ้างงาน = 6 คน 5 คน 4 คน และ 3คน ตามลำดับราคาค่าจ้าง ดังกล่าว
การสร้างเส้นของแรงงานต่อราคาค่าจ้างในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ค่าจ้าง = W A 250 B 200 C 150 D 100 D for Labor O ปริมาณคนงาน = QL 3 4 5 6
การแสดงเส้นอุปทานแรงงานวกกลับ ณ จุด Back Ward Bending Supply(หน้า 160) S for L D for L D for Labor Q O O Q L* L*