งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการพัสดุคงคลัง Inventory Management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการพัสดุคงคลัง Inventory Management"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการพัสดุคงคลัง Inventory Management

2 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
มีความเข้าใจถึงหน้าที่ และประเภทของพัสดุคงคลัง สามารถแบ่งแยกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพัสดุคงคลังได้ สามารถหาพัสดุคงคลังเฉลี่ยได้ เข้าใจถึงตัวแบบต่าง ๆ ของพัสดุคงคลัง สามารถเข้าใจปัญหา และใช้วิธีเชิงปริมาณในการแก้ปัญหาพัสดุคงคลัง

3 เนื้อหา บทนำ ประเภทและหน้าที่ของพัสดุคงคลัง
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพัสดุคงคลัง พัสดุคงคลังถัวเฉลี่ย กรณีอัตราการใช้สม่ำเสมอ กรณีอัตราการใช้ไม่สม่ำเสมอ

4 เนื้อหา (ต่อ) ตัวแบบพัสดุคงคลัง แบบจำลองปริมาณการสั่งประหยัดสุด
กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้หรือการสั่งผลิตและจำหน่ายไปพร้อมกัน กรณีมีพัสดุคงคลังสำรอง กรณีที่ยอมให้พัสดุคงคลังขาดมือ กรณีได้รับส่วนลดราคา

5 บทนำ การจัดการพัสดุคงคลังเฉพาะวิธีการเชิงปริมาณสำหรับให้ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจเท่านั้น โดยจะตอบคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับพัสดุคงคลัง คือ ควรสั่งซื้อปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม เมื่อใดจึงจะสั่งซื้อ ตัวแบบพื้นฐาน การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อหรือการสั่งผลิตที่ประหยัดที่สุด การหาจุดสั่งซื้อใหม่ การสั่งซื้อกรณีได้รับส่วนลด การกำหนดระดับพัสดุคงคลังสำรอง และ การกำหนดระดับพัสดุคงคลังกรณียอมให้เกิดพัสดุขาดมือ

6 บทนำ ซึ่งจะไม่ครอบคลุมถึงระบบต่าง ๆ ที่ใช้จัดการพัสดุคงคลัง เช่น
การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP : material requirements planning) การวางแผนทรัพยากรการผลิต (MRP II : manufacturing resource planning) ระบบทันเวลาพอดี ( JIT : just-in-time)

7 ประเภทและหน้าที่ของพัสดุคงคลัง
วัตถุดิบ และชิ้นส่วนเพื่อการผลิต เช่น เหล็กแผ่น ยางรถยนต์ หม้อน้ำ แบตเตอรี่ สินค้าระหว่างผลิต คือ รถยนต์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในสายการผลิตของโรงงาน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป คือ รถยนต์สำเร็จรูปรอการจำหน่ายให้ลูกค้า ชิ้นส่วนของเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อะไหล่ของเครื่องจักรในโรงงาน ประแจไขควง ปืนลม วัสดุสิ้นเปลือง เช่น กระดาษ น้ำมันหล่อลื่น ลวดเชื่อม ดอกสว่าน

8 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพัสดุคงคลัง
มูลค่าของพัสดุคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลัง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (ordering cost) หรือค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อผลิต (set up cost) ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง (holding cost) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายเมื่อพัสดุคงคลังขาดมือ (shortage cost)

9 พัสดุคงคลังถัวเฉลี่ย
กรณีอัตราการใช้สม่ำเสมอ สินค้าเฉลี่ยของบริษัทเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ซื้อพอดี หรือเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ ดังนี้ พื้นที่ใต้กราฟ = ½  ฐาน  สูง = ½  1  Q = Q/2  พัสดุคงคลังเฉลี่ยต่อปี = Q/2 หน่วย ปริมาณ Q เวลา (ปี) 1

10 พัสดุคงคลังถัวเฉลี่ย
กรณีที่อัตราการใช้สินค้าไม่สม่ำเสมอ Q เวลา (ปี) 1 สินค้าเฉลี่ย

11 ตัวแบบพัสดุคงคลัง D = ปริมาณความต้องการพัสดุคงคลังต่อปี (demand)
Q = ปริมาณการสั่งพัสดุคงคลังต่อครั้ง (quantity) Co = ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อครั้ง ซึ่ง ส่วนมากจะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต (ordering cost) Ch = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง (holding cost) คิดเป็น บาท/ หน่วย/เวลา หรือร้อยละของมูลค่าพัสดุคงคลังเฉลี่ย Cb = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังขาดมือ (backorder cost) คิดเป็น บาท/หน่วย/เวลา หรือร้อยละของมูลค่าพัสดุคงคลังขาด มือเฉลี่ย

12 ตัวแบบพัสดุคงคลัง (ต่อ)
R = จุดสั่งซื้อเพิ่ม (reorder point) L = ระยะเวลาสั่งซื้อหรือสั่งผลิต (lead time) C = ต้นทุนของพัสดุคงคลังต่อหน่วย (cost) N = จำนวนครั้งที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตต่อปี (number of order) T = ระยะเวลาในการใช้พัสดุคงคลังจนหมด หรือรอบเวลา ในสั่งซื้อหรือผลิตแต่ละครั้ง

13 ตัวแบบพัสดุคงคลัง (ต่อ)
TIC = ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มของพัสดุคงคลังทั้งหมดต่อปี TC = ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของพัสดุคงคลังต่อปี TCo = ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อปี TCh = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังต่อปี TCb = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังขาดมือต่อปี

14 แบบจำลองปริมาณการสั่งประหยัดสุด (Economic Order Quantity Model : EOQ)
กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้ หรือการสั่งผลิตและจำหน่ายไปพร้อมกัน กรณีที่ยอมให้เกิดพัสดุคงคลังขาดมือ กรณีที่มีพัสดุคงคลังสำรอง กรณีได้รับส่วนลดราคา

15 กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่
สมมติฐานที่สำคัญ อัตราการใช้พัสดุคงคลังสม่ำเสมอ ทราบ หรือสามารถประมาณความต้องการพัสดุต่อปี ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง และค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลัง คงที่ พัสดุคงคลังจะได้รับเต็มจำนวนพร้อมกัน โดยไม่ก่อให้เกิดกรณีขาดแคลน TC = CD + TCo + TCh + TCb

16 กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่
ต้นทุนของพัสดุคงคลังรวม = ต้นทุนของพัสดุคงคลังต่อหน่วย  ปริมาณความต้องการพัสดุคงคลังต่อปี = C  D ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อปี = ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อครั้ง  จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ TCo = Co  N = Co  D/Q ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังต่อปี = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังต่อหน่วย  พัสดุคงคลังเฉลี่ย TCh = Ch  Q/2

17 TCh = TCo Ch  Q/2 = Co D/Q Q.Q/2 = Co D/ Ch Q2 = ( 2 Co D)/Ch 
TIC Co  EOQ Q

18 ตัวอย่าง ถ้าต้องการสั่งซื้อสินค้า A ซึ่งมีความต้องการปีละ 2,400 หน่วย โดยมีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อครั้งละ 200 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า เท่ากับ 1.50 บาทต่อหน่วยต่อปี ให้หา ถ้าอัตราความต้องการคงที่ ควรสั่งครั้งละเท่าใดจึงจะประหยัดที่สุด (EOQ) ถ้าสั่งซื้อตามข้อ 1. จะสั่งปีละกี่ครั้ง ถ้าสั่งซื้อตามข้อ 1. จะใช้ได้นานเท่าใด จุดสั่งซื้อเพิ่มเท่ากับเท่าใด ถ้าระยะเวลาในการสั่งซื้อเท่ากับ 45 วัน จากโจทย์จะได้ D = 2,400 หน่วย/ปี Co = 200 บาท/ครั้ง Ch = 1.50 บาท/หน่วย/ปี L = 45 วัน

19 จากโจทย์จะได้ D = 2,400 หน่วย/ปี
Co = 200 บาท/ครั้ง Ch = 1.50 บาท/หน่วย/ปี L = 45 วัน ดังนั้น ข้อ 1. จากสูตร = = 800 หน่วย ต้องสั่งซื้อสินค้า A ครั้งละ 800 หน่วย จึงจะประหยัดที่สุด

20 ข้อ 2. จาก จำนวนครั้งที่สั่งซื้อต่อปี =
ข้อ 2. จาก จำนวนครั้งที่สั่งซื้อต่อปี = N = = = 3 ครั้งต่อปี ข้อ 3. จาก ระยะเวลาในการใช้ EOQ = = ปี = 4 เดือน = วัน =

21 ข้อ 4. จาก ระยะเวลาในการใช้ EOQ = วัน และ L = 45 วัน ดังนั้น จุดสั่งซื้อใหม่สามมารถหาได้จาก มีระยะเวลาในการใช้ วัน ใช้สินค้าจำนวน หน่วย มีระยะเวลาในการใช้ วัน ใช้สินค้าจำนวน = หน่วย  จุดสั่งซื้อใหม่ = หน่วย

22 กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้หรือการสั่งผลิต และจำหน่ายไปพร้อมกัน
สมมติฐานที่สำคัญ พัสดุคงคลังจะไม่เข้ามาพร้อมกันทั้งหมด แต่จะทยอยเข้ามาด้วยอัตราคงที่จนครบตามจำนวนที่สั่ง อัตราการใช้พัสดุคงคลังสม่ำเสมอ ทราบ หรือสามารถประมาณความต้องการพัสดุต่อปี ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง และค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลัง คงที่ ไม่ก่อให้เกิดกรณีขาดแคลน

23 กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้หรือการสั่งผลิต และจำหน่ายไปพร้อมกัน
กำหนดให้ Q = ปริมาณพัสดุคงคลังที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิต I = ปริมาณพัสดุคงคลังที่สูงที่สุด A = อัตราการมา หรืออัตราการผลิตของพัสดุคงคลัง T = ระยะเวลาในการใช้พัสดุคงคลังจนหมด หรือรอบเวลาในสั่งซื้อหรือผลิตแต่ละครั้ง TA = ช่วงเวลาในการมาหรือการผลิตของพัสดุคงคลัง EOQ = TCh = Ch 

24 ตัวอย่าง โรงงานแห่งหนึ่งประมาณการความต้องการตลาดของสินค้า X ในปีหน้า คือ 1,000 หน่วย ซึ่งนำมาคิดเป็นค่าเฉลี่ยของความต้องการต่อวันได้เท่ากับ 4 หน่วย และโรงงานมีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า X ได้วันละ 8 หน่วย ให้หาปริมาณการสั่งผลิตที่ประหยัดที่สุดของโรงงานนี้ และปริมาณพัสดุคงคลังสูงสุด ถ้ากำหนดให้ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อการผลิตครั้งละ 10 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า X เท่ากับ 0.50 บาท/หน่วย/ปี

25 จากโจทย์ D = 1,000 หน่วย/ปี = 4 หน่วย/วัน
A = 8 หน่วย/วัน Co = 10 บาท/ครั้ง Ch = 0.50 บาท/หน่วย/ปี EOQ = EOQ = = หน่วย  หน่วย I = (A - D) = (8 - 4)  = หน่ วย

26 กรณีที่มีพัสดุคงคลังสำรอง
การที่ธุรกิจกำหนดให้มีพัสดุคงคลังสำรอง (safety stock:SS) TC = CD + Co  + Ch  ( + SS)

27 จากตัวอย่างเดิม ถ้ากำหนดให้พัสดุคงคลังสำรองมีไว้ให้เพียงพอขาย 2 วัน ให้หา ระดับพัสดุคงคลังสำรอง และค่าใช้จ่ายรวมในกรณีที่มีพัสดุคงคลังสำรอง อัตราการใช้พัสดุคงคลังต่อวัน = 48 ลูก ดังนั้นระดับของคงคลังสำรอง = 48  2 = 96 ลูก TC = CD + Co  + Ch  ( + SS) = (14  12,000) + (11  25) + (0.24  14  ( )) = 168, ,128.96 = 169, บาท

28 กรณีได้รับส่วนลดราคา
คำนวณหา EOQ โดยใช้ราคาสินค้าต่อหน่วยต่ำที่สุด พิจารณาจำนวน EOQ ที่คำนวณได้ ว่าสามารถซื้อสินค้า ณ ระดับราคาดังกล่าวตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าซื้อได้ ปริมาณที่คำนวณได้จะเป็นปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และไม่ต้องทำการคำนวณต่อ แต่ถ้าระดับสินค้าในข้อ 1. ซื้อไม่ได้ ให้คำนวณหาค่าใช้จ่ายรวม โดยให้ใช้ปริมาณการสั่งซื้อน้อยที่สุด ณ ระดับราคาตามข้อ 1. จะซื้อได้ คำนวณหา EOQ โดยใช้ระดับราคาที่สูงกว่าเดิม โดยที่ ถ้าค่า EOQ เป็นไปได้ ให้คำนวณหาค่าใช้จ่ายรวม ณ ระดับ EOQ แล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับค่าใช้จ่ายรวมในข้อ 2. ค่าใดต่ำสุดแสดงว่าปริมาณสินค้าดังกล่าวเป็นปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ถ้าค่า EOQ เป็นไปไม่ได้ ให้ทำการคำนวณซ้ำในข้อ 2. และข้อ 3.1 จนกระทั่งได้ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด

29 ปริมาณการสั่งซื้อ (รีม)
ตัวอย่าง บริษัทแห่งหนึ่งมีความต้องการกระดาษสำหรับเครื่องโรเนียวเอกสารสัปดาห์ละ 10 รีม ราคาของกระดาษโรเนียวจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณที่สั่งซื้อดังนี้ ปริมาณการสั่งซื้อ (รีม) ราคาต่อรีม (บาท) 0 – 99 100 – 249 250 – 499 500 ขึ้นไป 40.00 39.60 39.00 38.00

30 D = 10 รีมต่อสัปดาห์=10  52= 520 รีมต่อปี Co = 100 บาทต่อครั้ง
Ch = 18% ต่อปี ของต้นทุนค่ากระดาษโรเนียว บริษัทประมาณการค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อกระดาษโรเนียวครั้งละ 100 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษากระดาษโรเนียวคิดเป็น 18% ต่อปี ของต้นทุนกระดาษโรเนียว ให้หาปริมาณการสั่งซื้อกระดาษโรเนียวที่ประหยัดที่สุด จากโจทย์

31 ขั้นที่ 1 คำนวณหา EOQ ที่ระดับราคา 38 บาทต่อรีม
= = รีม ไม่สามารถซื้อได้ที่ราคา 38 บาท/รีม ขั้นที่ 2 หาค่าใช้จ่ายรวมเนื่องจากไม่มีพัสดุสำรอง และพัสดุขาดมือ ประกอบกับพัสดุเข้ามางวดเดียวจึงใช้สมการ TC = CD + Co  + Ch  = (38  520)   38  = 19, ,710 = 21,574 บาท/ปี

32 ขั้นที่ 3 คำนวณหา EOQ ที่ระดับราคา 39 บาทต่อรีม
= = รีม ไม่สามารถซื้อได้ที่ราคา 39 บาท/รีม ขั้นที่ 4 หาค่าใช้จ่ายรวม TC = CD + Co  + Ch   39  = (39  520)  = 20, = 21, บาท/ปี

33 ขั้นที่ 5 คำนวณหา EOQ ที่ระดับราคา 39.60 บาทต่อรีม
= = รีม สามารถซื้อได้ที่ราคา บาท/รีม ประมาณ รีม ขั้นที่ 6 หาค่าใช้จ่ายรวม TC = CD + Co  + Ch  = (39.60  520)    = 20, = 21, บาท/ปี ควรสั่งกระดาษโรเนียวครั้งละ 250 รีม รีมละ 39 บาท เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด คือ 21, บาท

34 คำถาม


ดาวน์โหลด ppt การจัดการพัสดุคงคลัง Inventory Management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google