กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
Advertisements

ประวัติความเป็นมา บ้านสระแก้วก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ 2419 โดย พ่อใหญ่จารย์แก้ว เป็นผู้นำพาลูกหลานจากบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
กลุ่มบริหารงานทั่วไป
กระบวนการของการอธิบาย
ประชาคมอาเซียน.
ธนาคารออมสิน.
1.1 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุพบ บริเวณใดของโลก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนับเป็นแหล่งอารยธรรม เริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดินแดนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย.
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ใช้เพื่อคลิ๊กไปสู่ หน้าถัดไป ใช้เพื่อคลิ๊กกลับ หน้าเดิม ใช้เพื่อคลิ๊กกลับสู่ หน้าหลัก ใช้คลิ๊กเมื่อต้องการ ออกจากระบบ.
พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ศาสนาคริสต์111
ประวตศาสตร์เป็ นวชาทศี่ ึกษาเกยวกบอดตี โดยศึกษาถึง พฤตกิ รรมของมนุษย์ ตามบริบทของช่วงเวลาทเกดขึนซึ่งมผล ต่อมนุษยชาตเิ มอื่ เหตุการณ์น้ันเปลยี่
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์
Scene Design and Lighting Week1-3
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
หลักการ และ วิธีการ ของ บี.-พี.
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
วิธีการกำหนดค่า Microsoft SharePoint ของคุณ เว็บไซต์ออนไลน์
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
การออกแบบลวดลาย ประวัติและความเป็นมา โดย อ.จรรจิรา โมน่า.
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
การเตรียมการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
ระเบียบวิธีการศึกษาคติชนวิทยา
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
ลักษณะภาษาบาลีสันสกฤตเทียบกับภาษาไทย
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model)
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ นางบุษบา โหระวงศ์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar.
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
เพลง ปลุกใจ บ้านเรารู้ได้จักเพลงประเภทนี้ในรูปแบบสากลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ ครูฝึกทหารวังหน้าชาวอังกฤษ.
ตอนที่ 4.3 กรณีศึกษา : การสร้างเสริมประสิทธิภาพ งานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนที่ กรณีศึกษา : การจัดการความรู้
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นวัตกรรม ขวดเก็บ Sputum culture
นาย พิศณุ นิลกลัด.
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
1. ตระหนักในคุณค่าของ คุณธรรมจริยธรรม
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
อำเภอแก่งคอย จัดทำโดย 1. เด็กชายวีระชัย บัวขำ เลขที่ 1
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี

กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี ผู้แต่ง ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ลักษณะคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ประเภทบท ละครพูดองก์เดียว เรื่อง กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี มาจากบทละคร พูดองก์เดียว เรื่อง กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๓๐

ประวัติผู้แต่ง ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นบุตรคนที่ ๖ ในบรรดาพี่น้อง ๑๓ คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) และท่าน ผู้หญิงเสงี่ยม ผลงานทางวรรณกรรมของท่านมีราว ๒๕ เรื่อง และที่เป็นรู้จักกันดี เช่น ศึกษา ภาษิต คำประพันธ์ร้อยเรื่อง คำประพันธ์บางเรื่อง ฯลฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญ มีผลงาน ดีเด่นระดับโลก โดยองค์การยูเนสโกยกย่องว่า “เป็นนักการศึกษา วัฒนธรรม วรรณกรรม และสื่อสารระดับโลก”

สาระสำคัญของเรื่อง กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปีแต่งราวปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งตรงกับรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชากรยังมีไม่มาก แต่ก็มีถนนหนทางทำให้การไปมาสะดวกสบาย มีระบบขนส่งมวลชน คือ รถราง ทั้งยังเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ มีชาวต่างชาติมาตั้งกงสุลริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความเจริญเกิดขึ้นแถบริมแม่น้ำ การคมนาคม ทางน้ำจึงมีความสะดวกมาก สำนักงานใหญ่ๆ ที่สำคัญๆ จึงตั้งอยู่ริม แม่น้ำเจ้าพระยา

สาระสำคัญของเรื่อง (ต่อ) สถานที่ต่างๆก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น - วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า วัดพระนามบัญญัติ - แถวอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในสมัยก่อนเป็นไร่ - แถวถนนเพชรบุรี ในสมัยก่อนเป็นท้องนา - โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบัน สมัยก่อนเรียกว่า “ตึกดิน” - ออฟฟิศแผนที่สุนันทาลัยในสมัยนั้น ปัจจุบันคือโรงเรียนราชินี (ปากคลองตลาด) - ในสมัยนั้นมีถนนหลายสายแล้ว เช่น ถนนสนามไชย ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุง เมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนราชดำเนิน

คุณค่าที่ได้จากเรื่อง ทำให้เห็นถึงความเจริญของกรุงเทพฯในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำให้ทราบว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญมากในยุคนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายหรือมี สัมพันธไมตรีกับชาติยุโรปมากมาย

กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี

กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี

การบอกทิศทาง หลักการบอกทิศในแผนที่จะยึดทิศเหนือเป็นหลัก ในการบอกทิศทางมักยึดสถานที่สำคัญเป็นหลักจะทำให้สังเกตได้ ง่าย

การเปลี่ยนแปลงของภาษา การเปลี่ยนแปลงของภาษา หมายถึง การที่รูปภาษามีลักษณะที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของภาษาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนกลุ่มหนึ่งจะมีความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม โดยถือเอารูปแบบภาษาของคนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นตัวอย่าง และ นำมาใช้จนเป็นที่แพร่หลายแลเผยแพร่ไปยังคนกลุ่มอื่นๆด้วย ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงของภาษาจึงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่เกิดขึ้น จากการติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์นั่นเอง การเปลี่ยนแปลงของภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และดำเนิน ไปอย่างช้าๆ คือ มีบางส่วนของภาษาที่มีลักษณะคงที่ และบางส่วนที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของภาษา ๑. คำเปลี่ยนไป ๒. เกิดคำใหม่ ๓. มีคำหลายคำใช้หมายถึงสิ่งเดียวกัน ๔. การเปลี่ยนแปลงเสียง

๑. คำเปลี่ยนไป เช่น โรงเรียนตึกดิน เปลี่ยนเป็น โรงเรียนสตรีวิทยา คือ คำที่เรียกสิ่งหนึ่งอาจเปลี่ยนจากคำหนึ่งไปเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น โรงเรียนตึกดิน เปลี่ยนเป็น โรงเรียนสตรีวิทยา วัดพระนามบัญญัติ เปลี่ยนเป็น วัดมกุฏกษัตริยาราม ศุลกะสถาน เปลี่ยนเป็น ศุลกากร

๒. เกิดคำใหม่ เมื่อเกิดสิ่งใหม่ สถานที่ใหม่ เหตุการณ์ใหม่ ก็ต้องมีคำ เรียกสิ่งใหม่จึงทำให้เกิดการสร้างคำใหม่ เช่น ชื่อถนนที่เรียกกันในปัจจุบัน ไม่ปรากฏชื่อถนนในแผนที่สมัย พ.ศ. ๒๔๓๐ เช่น ถนนพระลาน ถนนราชดำเนินใน ถนนราชดำเนิน กลาง ถนนราชดำเนินนอก เพราะสร้างภายหลัง

๓. มีคำหลายคำใช้หมายถึงสิ่งเดียวกัน ในการใช้ภาษาบางครั้งจะพบว่าชื่อสถานที่ ชื่อบุคคล องค์การ หรือกิจกรรมต่างๆ มีคำเรียก คำบรรยายหลายคำ ซึ่งจะใช้ใน สถานการณ์ต่างกัน เช่น ชื่อวัดอาจมีชื่อที่เป็นทางการกับชื่อที่เรียกกันทั่วไป หรือคำที่ใช้ใน ทางการอย่างหนึ่งแต่เมื่อเป็นภาษาพูดหรือภาษาปากก็อาจใช้อีกคำหนึ่ง เช่น วัดสระปทุม เป็นคำเรียกของชาวบ้านทั่วไป ชื่อทางการใช้ว่า วัด ปทุมวนาราม เป็นต้น

๔. การเปลี่ยนแปลงเสียง คือ เสียงในภาษาไทยที่เปลี่ยนไปจากสมัยก่อน เช่น ๑. ภาษาไทยรับเสียงควบกล้ำของภาษาอังกฤษมาใช้ ได้แก่ เสียง ดร ทร บร บล ฟร ฟล ซึ่งไม่มีที่ใช้ในภาษาไทย เพราะไทยรับมาใช้ในคำ ทับศัพท์ เช่น ดรีม (dream) = ความฝัน เทรน (train) = ฝึกหัด เบรก (brake) = เครื่องห้ามล้อ เบลม (blame) = กล่าวร้าย, นินทา เฟรม (frame) = กรอบ ฟลุ้ก (fluke) = บังเอิญ

๒. รับเอาเสียงพยัญชนะท้ายจากภาษาต่างประเทศที่ไม่มีในภาษาไทย มาใช้ ได้แก่ เสียง ฟ ล ซ ช ส แต่ดัดแปลงเสียงเป็นแม่กบ กน กด เช่น กอล์ฟ (golf) = กีฬากอล์ฟ แอ๊ปเปิ้ล (apple) = ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง ก๊าซ (gas) = น้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส (gas) = น้ำมันเชื้อเพลิง โฟกัส (focus) = จุดรวม

การเปลี่ยนแปลงของภาษา ๑. การเปลี่ยนแปลง ภายใน ๒. การเปลี่ยนแปลงภายนอก

๑. การเปลี่ยนแปลงภายใน ๑.๑ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเสียง หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง หน่วยคำ หน่วย เสียงของภาษานั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ มีอยู่ ๓ ลักษณะ คือ ๑.๑ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเสียง คือ การเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงของคำให้ต่างไปจากเดิมทั้งโดย เจตนาและไม่เจตนา ทำให้คำนั้นๆออกเสียงเพี้ยนไปด้วยหลายกรณี อาทิ การเพิ่มเสียง การสับเสียง การลดเสียงหรือการกร่อนเสียง เป็นต้น เช่น การกร่อนเสียง เช่น ฉันนี้ เป็น ฉะนี้, อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง การกลมกลืนเสียง เช่น ดิฉัน เป็น เดี๊ยน ดั๊น, ขอรับ เป็น ครับ การตัดคำ เช่น อักโขภิณี(แปลว่ามาก) เป็น อักโข หรือ เหลือโข

๑.๒ การเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ คือ หน่วยคำที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีความหมาย เปลี่ยนไปหรือมีคำอื่นๆมาใช้แทนที่ความหมายบางส่วน หรือ แทนที่ความหมายจนหมด หากมีคำอื่นมาแทนที่จนหมดคำ เหล่านั้นก็จะเลิกใช้ไปในที่สุด เช่น “แฟ้บ” < ยี่ห้อผงซักฟอกชนิดหนึ่ง < ผงซักฟอกทั่วไป “ซันไลท์” < ยี่ห้อน้ำยาล้างจานชนิดหนึ่ง < น้ำยาล้างจาน ทั่วไป “เป็ด” < ยี่ห้อน้ำยาล้างห้องน้ำชนิดหนึ่ง < น้ำยาล้างห้องน้ำ ทั่วไป

๑.๓ การเปลี่ยนแปลงทางด้านความหมาย คือ ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงไป แต่เสียงของคำยังเดิม การเปลี่ยนแปลงความหมายนี้ไม่มีการผูกผันทางเสียง เพราะเปลี่ยน เฉพาะความหมายเท่านั้น เช่น “สุดา” < ลูกสาว < ผู้หญิงทั่วไป “นาฏ” < การร่ายรำ < นางรำ

๒. การเปลี่ยนแปลงภายนอก คือ การเปลี่ยนแปลงที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นที่มี ความสัมพันธ์สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และการที่ ภาษาต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทย ทำให้ภาษาไทยมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งคำศัพท์และไวยากรณ์ มีดังนี้ ๒.๑ คำยืม คือ การนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย โดยการนำมา ปรับใช้ให้เหมาะสมกับภาษาไทย

๒.๒ การเปลี่ยนแปลงทางด้านไวยากรณ์ คือ การเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างของภาษาไทย ซึ่งจะเปลี่ยน ระบบสร้างคำเป็นส่วนใหญ่ เช่น คำที่มาจากบาลี-สันสกฤต ๒.๓ การเปลี่ยนแปลงทางด้านตัวอักษร ตัวอักษร คือ ลายเส้นขีดเขียนเป็นรูปสัญลักษณ์ใช้สื่อความหมาย แทนเสียงพูด ซึ่งคนในสังคมนั้นยอมรับและเข้าใจความหมายของ สัญลักษณ์นั้นๆตรงกัน

จบ ....