ร้อยกรองและหลักเกณฑ์ทั่วไป

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สู่วันข้างหน้า ด้วยวิถีความพอเพียง
Advertisements

ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม.๔-๖/๔ แต่งร่ายสุภาพได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
ชีวิตหลัง ความตาย.
การอ่าน สุรพล บุญลือ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี ม. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทที่ 3 ประเภทของบทและรูปแบบของรายการวิทยุโทรทัศน์
วิชาโครงการ รหัส & ระดับ ปวช. และ ปวส.
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในไทย
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ใช้เพื่อคลิ๊กไปสู่ หน้าถัดไป ใช้เพื่อคลิ๊กกลับ หน้าเดิม ใช้เพื่อคลิ๊กกลับสู่ หน้าหลัก ใช้คลิ๊กเมื่อต้องการ ออกจากระบบ.
คนเป็นทรัพย์สินที่มี ค่ายิ่งของหน่วย อ้างอิง : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คน เก่ง คน ดี คน มี ความ สุข เป้าหมายการ พัฒนากำลังพล เพื่อให้ทำงานอย่าง.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การกำหนด คุณลักษณะครุภัณฑ์ นาตอนงค์ จันทร์แจ่มแจ้ง นักวิชาการพัสดุชำนาญการพิเศษ.
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
GALILEO GALILEI กาลิเลโอ กาลิเลอี
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
Scene Design and Lighting Week1-3
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ยินดีต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) และคณะ ในโอกาสตรวจเยี่ยมจังหวัดตาก วันที่ กรกฎาคม 2558.
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
การสัมมนาแนวทางการดำเนินงาน
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
โดย ครูสมจินตนา เทียมวิไล
ภาษาพาเพลิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ผู้สอน ครูอุมาพร กังแฮ
กลุ่มเกษตรกร.
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
พิธีการส่งของออกทางบกที่ด่านศุลกากร
มงคลชีวิต อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
ความหมายของเรียงความ
สร้างภูมิคุ้มกัน (แสงหิ่งห้อย)
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุกท่าน ซึ่งท่านแรก ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ.
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
โดย ครูธาริตา นพสุวรรณ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
การบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือน
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
เพลง ปลุกใจ บ้านเรารู้ได้จักเพลงประเภทนี้ในรูปแบบสากลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ ครูฝึกทหารวังหน้าชาวอังกฤษ.
ตอนที่ 4.3 กรณีศึกษา : การสร้างเสริมประสิทธิภาพ งานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนที่ กรณีศึกษา : การจัดการความรู้
นาย พิศณุ นิลกลัด.
การพัฒนาทักษะภาษาไทย ป.๑ – ป.๖
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ร้อยกรองและหลักเกณฑ์ทั่วไป การแต่งคำประพันธ์ เรื่องที่ ๑ ร้อยกรองและหลักเกณฑ์ทั่วไป

จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ร้อยกรองและหลักเกณฑ์ทั่วไป จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ร้อยกรองและหลักเกณฑ์ทั่วไป ๑ . นักเรียนบอกกำเนิดของร้อยกรองได้ถูกต้อง   ๒. นักเรียนบอกความหมายของคำว่าร้อยแก้วและร้อยกรองได้ถูกต้อง ๓. นักเรียนอธิบายความแตกต่างระหว่างร้อยแก้วกับร้อยกรองได้ ๔. นักเรียนบอกชนิดของคำประพันธ์พร้อมทั้งยกตัวอย่างได้ถูกต้อง ๕. นักเรียนบอกลักษณะบังคับที่แตกต่างของคำประพันธ์ได้

กำเนิดและที่มาของร้อยกรอง บทร้อยกรองน่าจะมีกำเนิดมาก่อนหรืออาจเกิดขึ้นพร้อมๆกันกับ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ทั้งนี้ สันนิษฐานจากบทร้องเล่น การละเล่นต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจะเรียงร้อยถ้อยคำ ออกมาในรูปคำคล้องจอง เช่น พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง เป็นต้น กลอนน่าจะเป็นบทร้อยกรองที่เกิดขึ้นก่อน เพราะแต่งง่ายไม่ต้องมีกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับทางฉันทลักษณ์มากมาย เหมือนคำประพันธ์ชนิดอื่น ๆ

ความหมายของร้อยกรอง ร้อยกรอง หมายถึง ร้อยกรอง หมายถึง   ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ; ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.

หาความแตกต่างของประโยคที่กำหนด ประโยคที่ ๑ ฉันตั้งใจเรียนอ่านเขียนทุกวัน ประโยคที่ ๒ ฉันตั้งใจเรียนหนังสือทุกวัน

ความแตกต่าง ประโยคที่ ๑ “ฉันตั้งใจเรียนอ่านเขียนทุกวัน” ถ้าสังเกตดูให้ดีจะมีคำที่ออกเสียงคล้องจองกัน คือ คำว่า เรียน กับ เขียน ทำให้ประโยคเกิดความไพเราะน่าฟังขึ้น ดังนั้น ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นอย่างไพเราะและถูกต้อง ตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เรียกว่า ร้อยกรอง

ร้อยกรอง มี ๕ ชนิด คือ ๑. โคลง ๒. ฉันท์ ๓. กาพย์ ๔. กลอน ๕. ร่าย มี ๕ ชนิด คือ ๑. โคลง ๒. ฉันท์ ๓. กาพย์ ๔. กลอน ๕. ร่าย ร้อยกรองเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำประพันธ์

ร้อยแก้ว คือ... ความเรียงที่ไม่มีลักษณะบังคับ ร้อยแก้ว คือ... ความเรียงที่ไม่มีลักษณะบังคับ ร้อยกรอง คือ... ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นตามแผนบังคับของคำประพันธ์นั้น ๆ

ผู้ที่แต่งบทร้อยกรอง หรือร้อยแก้ว เราเรียกว่าอะไร ผู้ที่แต่งบทร้อยกรอง หรือร้อยแก้ว เราเรียกว่าอะไร ก. กวี ข. กวีนิพนธ์ ค. บทกานต์ ง. บทกลอน

คำตอบคือ... ก. กวี

ร้อยแก้ว คือ ... ความเรียงที่ไม่มีแบบแผนบังคับ เช่น นิทาน จดหมายเหตุ นิยาย พงศาวดาร ความเรียง

การแต่งคำประพันธ์ เรื่องที่ ๒ คำคล้องจอง

จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. นักเรียนบอกความหมายของคำคล้องจองได้ ๒. นักเรียนบอกลักษณะคำคล้องจองได้ถูกต้อง   ๓. นักเรียนเติมคำคล้องจองที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง ๔. นักเรียนเติมคำหรือข้อความในประโยคให้สมบูรณ์ได้ ๕. นักเรียนเขียนคำคล้องจองในบทร้อยกรองได้ ๖. นักเรียนใช้คำคล้องจองแต่งบทร้อยกรองอย่างง่าย ๆ ได้

คำคล้องจอง เป็นคำที่ใช้สระเสียงเดียวกัน หรือมีตัวสะกดมาตราเดียวกัน เช่น & พราว – ดาว / เดือน – เลือน & หมูไป – ไก่มา / ตายาย – ขายผัก & มอญซ่อนผ้า – ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง / ระวังดีดี – ฉันจะตีหลังแตก อย่างนี้เป็นต้น ลักษณะการคล้องจองจะเป็นดังนี้   O O / O O O O / O O O O O O O O /

ฝึกเขียนคำคล้องจอง คำสั่ง เติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้ได้ความที่เหมาะสม ๑. ลูก ___ ___ เธอ ๒. หนัก ___ ___ สู้ ๓. ท่า ___ ___ เหลว ๔. ชั่วช่าง ___ ___ ช่างสงฆ์ ๕. กำแพงมี ___ ประ ___ มีช่อง

คำตอบคือ... ๒. เอา – เบา ๓. ดี – ที ๔. ชี – ดี ๕. หู – ตู ๑. ท่าน – หลาน ๒. เอา – เบา ๓. ดี – ที ๔. ชี – ดี ๕. หู – ตู

คำคล้องจองที่มี ๑ พยางค์ คำคล้องจองที่มี ๑ พยางค์ กลุ่มที่ ๑ ใจ – ใคร ตี – ดี เพลีย – เปีย เป็นคำที่มีสระเสียงเดียวกัน กลุ่มที่ ๒ กิน – สิน วาย – กาย พาน – จาน เป็นคำที่มีสระเสียงเดียวกัน มีตัวสะกดมาตราเดียวกัน กลุ่มที่ ๓ สิ้น – กลิ่น หลั่ง – ดั่ง ปลื้ม – ดื่ม เป็นคำที่มีสระเสียงเดียวกัน มีตัวสะกดมาตราเดียวกัน แต่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน

แยกกลุ่มคำ พลัน กลัว เสีย เหลือ เปลี่ยน แฝก โค้ง ไป คำสั่ง ให้นักเรียนนำคำที่อยู่ในกรอบมาจัดเป็น ๓ กลุ่มตามตัวอย่าง พลัน กลัว เสีย เหลือ เปลี่ยน แฝก โค้ง ไป ตัว เบือน รั้น คราว หวั่น ข้าว เตียน

คำตอบคือ... ๑. ไป ตัว กลัว เหลือ เสีย ๒. พลัน แฝก เตียน เบือน คราว ๑. ไป ตัว กลัว เหลือ เสีย ๒. พลัน แฝก เตียน เบือน คราว ๓. รั้น หวั่น ข้าว เปลี่ยน โค้ง

คำคล้องจอง ๒ พยางค์ กลุ่มที่ ๑ คำคล้องจอง ๒ พยางค์ มีดังนี้ พยางค์หลังของกลุ่มแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกของกลุ่มหลัง เช่น สมศรี – ปรีดา / พาขวัญ – จันทร์เพ็ญ / เด่นเดือน – เหมือนฝัน กลุ่มที่ ๒ คำคล้องจอง ๒ พยางค์ ที่เสียงพยางค์หลังของกลุ่มแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์หลังของกลุ่มหลัง เช่น ช่วยเหลือ – จุนเจือ (เหลือ มีเสียงคล้องจองกับคำว่า เจือ) อุดหนุน – ค้ำจุน (หนุน มีเสียงคล้องจองกับคำว่า จุน)

หาคำคล้องจอง ๒ พยางค์ ๒. แก้วตา O O (ขวัญใจ , อยู่บ้าน , ยาใจ) คำสั่ง ให้นักเรียนเลือกคำที่มีเสียงคล้องจองกับคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้ เหมาะสม ๑. นกร้อง O O (เสียงดัง , น้องช้ำ , อึกทึก) ๒. แก้วตา O O (ขวัญใจ , อยู่บ้าน , ยาใจ) ๓. ลายไทย O O (วิไล , ใจเย็น , ผ้าฝ้าย) ๔. เบิกบาน O O (สราญใจ, ตระการ, วิ่งพล่าน)

๑. น้องช้ำ ๒. ยาใจ ๓. วิไล ๔. ตระการ คำตอบคือ... ๑. น้องช้ำ ๒. ยาใจ ๓. วิไล ๔. ตระการ

คำคล้องจอง ๓ พยางค์ กลุ่มที่ ๑ คำคล้องจอง ๓ พยางค์ กลุ่มที่ ๑ เสียงพยางค์คำหลังของกลุ่มแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรก ของกลุ่มหลัง เช่น ครูใจดี มีความรู้ / นักเรียนดี มีวิชา ต่อความยาว สาวความยืด

กลุ่มที่ ๒ เสียงพยางค์หลังของกลุ่มแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์ที่ ๒ ของกลุ่มหลัง เช่น ทำตามใจ คือไทยแท้ / ความรู้ดี เป็นศรีศักดิ์ ต่อตระกูล สมบูรณ์ทรัพย์

หาคำคล้องจอง ๓ พยางค์ แดดออกจ้า O O O ก. สูงลิบลิ่ว

คำตอบคือ... ๑. ข ๒. ค ๓. ง ๔. ก ๕. จ

กลุ่มที่ ๓ เสียงพยางค์หลังของกลุ่มแรก มีเสียงคล้องจองกับ พยางค์สุดท้ายของกลุ่มหลัง เช่น พอลืมตา ปากก็อ้า / ไปทะเล ฟังคลื่นเห่ ฟังเสียงเพลง ฉันครื้นเครง / เธอหาเสียง อย่าลำเอียง

ช่วยหาคำตอบ คำสั่ง ให้หาคำคล้องจอง ๓ พยางค์ มาเติมในช่องว่างโดยเสรี แต่ต้องไม่ขัดกับความจริง มีความเป็นไปได้ ไม่เป็นคำหยาบ ๑. เห็นแมวลาย O O O ๒. ทะเลงาม O O O ๓. คนไทยดี O O O ๔. ขึ้นปีใหม่ O O O

คำตอบคือ... หายวับไป อยู่ท้ายสวน ดูคล้ายเสือ หายวับไป อยู่ท้ายสวน ดูคล้ายเสือ สีครามสวย ยามอัสดง ห้ามไว้ใจ มีน้ำใจ รักพี่น้อง เยี่ยมที่สุด ไปอวยพร ให้มีสุข เที่ยวไหนดี

คำคล้องจอง ๔ พยางค์ กลุ่มที่ ๑ เสียงพยางค์หลังกลุ่มแรก มีเสียงคล้องจองกับพยางค์แรกของกลุ่มหลัง เช่น ฉันชื่อกานดา หน้าสวยรวยทรัพย์ ในน้ำมีปลา นาต้องมีข้าว ผีเสื้อบินไป ไกลสุดสายตา

คำคล้องจอง ๔ พยางค์ กลุ่มที่ ๒ เสียงพยางค์หลังกลุ่มแรก จะเลื่อนมาสัมผัสกับพยางค์ที่สอง ของกลุ่มหลัง เช่น ฉันชื่อบุษบา แม่ว่าเพราะดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ผีเสื้อบินไป หนใดนะเออ

คำคล้องจอง ๔ พยางค์ จะคล้ายกลอนสุภาพ ทบทวน คำคล้องจอง ๔ พยางค์ จะคล้ายกลอนสุภาพ ชนิดใดเอ่ย

คำตอบคือ... กลอนสี่

ฝึกเล่นคำคล้องจองต่อ... ฝึกเล่นคำคล้องจองต่อไป ย่างเข้าพรรษา O O O O ๒. ฉันรักคุณครู O O O O ฝนตกนกร้อง O O O O ๔. ตั้งใจเล่าเรียน O O O O

คำตอบคือ... ท้องฟ้าแจ่มใส ตกกล้าปลูกข้าว ชาวนาเตรียมไถ ท้องฟ้าแจ่มใส ตกกล้าปลูกข้าว ชาวนาเตรียมไถ ดูแลสอนสั่ง อุ้มชูสอนศิษย์ ผู้มีเมตตา แหงนมองท้องฟ้า ยืนมองท้องนา นวลน้องอยู่ไหน ๔. อ่านเขียนหนังสือ พากเพียรวิชา ปรับเปลี่ยนแนวคิด

คำคล้องจอง ๔ พยางค์ ร่วมด้วยช่วยกัน ผลลัพธ์นั้นดี คำคล้องจอง ๔ พยางค์ กลุ่มที่ ๓ คำคล้องจอง ๔ พยางค์ เสียงพยางค์หลังกลุ่มแรกเลื่อนมาสัมผัสคล้องจองกับคำที่ ๓ ของกลุ่มหลัง เช่น ร่วมด้วยช่วยกัน ผลลัพธ์นั้นดี ดอกไม้สีแดง เป็นสื่อแห่งรัก

คำคล้องจอง ๔ พยางค์ กลุ่มที่ ๔ คำคล้องจอง ๔ พยางค์ ที่มีเสียงพยางค์หลังกลุ่มแรกเลื่อนมา สัมผัสคล้องจองกับคำที่ ๔ ของกลุ่มหลัง เช่น โอ้ความรักเอย สุดชื่นสุดเชย เมฆลอยคล้อยต่ำ เห็นฝนตกพรำ รู้มากยากนาน รู้น้อยรำคาญ

เติมคำคล้องจอง คำสั่ง ให้นักเรียนเติมคำคล้องจองจะสัมผัสกับคำใดในกลุ่มหลังก็ได้ให้ถูกต้องเหมาะสม ๑. ประดิษฐ์คิดค้น O O O O ๒. อย่านอนตื่นสาย O O O O ๓. หน้าแล้งอยู่ถ้ำ O O O O ๔. ประเทศเป็นบ้าน O O O O

คำตอบคือ... ๑. เครื่องยนต์รุ่นใหม่ หุ่นยนต์มนุษย์ เพื่อช่วยเหลือคน ๑. เครื่องยนต์รุ่นใหม่ หุ่นยนต์มนุษย์ เพื่อช่วยเหลือคน ๒. อย่าอายทำกิน จะกลายเป็นหมู ตลาดจะวาย ๓. อย่าทำเสียงดัง หน้าน้ำอยู่ดอน มืดค่ำจุดไต้ ๔. ทหารเป็นรั้ว โอฬารยิ่งใหญ่ ต้องการคนดี  

บทสรุป การใช้คำคล้องจอง เป็นลักษณะหนึ่งของการเขียนบทร้อยกรอง การใช้คำคล้องจอง เป็นลักษณะหนึ่งของการเขียนบทร้อยกรอง ซึ่งทำให้เกิดความไพเราะและมีความหมาย คำคล้องจองเป็นคำที่ใช้ สระตัวเดียวกัน หรือมีตัวสะกดมาตราเดียวกัน รูปแบบของ คำคล้องจองที่พบโดยทั่วไป มีปริศนาคำทาย สำนวนโวหาร และสำนวนไทย เป็นต้น

การแต่งคำประพันธ์ เรื่องที่ ๓ การแต่งกาพย์ยานี ๑๑

จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี ๑๑ จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี ๑๑ ๑. นักเรียนบอกจำนวนคำที่ใช้ในการแต่งกาพย์ยานี ๑๑ ได้ ๒. นักเรียนอธิบายแผนผังและลักษณะบังคับของกาพย์ยานี ๑๑ ได้   ๓. นักเรียนเลือกคำมาเติมในกาพย์ยานี ๑๑ ได้ถูกต้อง   ๔. นักเรียนสามารถแต่งกาพย์ยานี ๑๑ ได้อย่างน้อย ๔ บท ๕. นักเรียนอ่านทำนองเสนาะในกาพย์ยานี ๑๑ ได้ถูกต้อง ๖. นักเรียนจำบทร้อยกรองที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้

ความหมายและลักษณะของกาพย์ยานี ๑๑ ความหมายและลักษณะของกาพย์ยานี ๑๑ ความหมาย กาพย์ยานีเป็นบทร้อยกรองที่บังคับจำนวนคำ วรรค และสัมผัส เช่นเดียวกับการแต่งกลอน กาพย์ยานี ๑๑ คือ คำประพันธ์หรือบทร้อยกรองที่มีบังคับเฉพาะจำนวนคำ คือ ๑๑ คำ ดังนี้ O O / O O O เรียกว่า ๑ วรรค O O / O O O O O O / O O O เรียกว่า ๑ บาท หรือ บาทเอก นั่นเอง วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ

ทบทวน แต่งกาพย์ยานี ๑๑ จำนวน ๑ บาท จะต้องเขียนกี่วรรค วรรคละกี่คำ

๒ วรรค ประกอบด้วย วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ คำตอบคือ... ๒ วรรค ประกอบด้วย วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ

บาทโท มีจำนวน ๒ วรรค เช่นกัน คณะของกาพย์ยานี บาทโท มีจำนวน ๒ วรรค เช่นกัน O O / O O O O O O / O O O ( เรียกว่า ๑ บาท ) มีจำนวนคำ คือ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ

กาพย์ยานี ๑๑ จำนวน ๑ บทมีกี่คำ ตอบคำถาม กาพย์ยานี ๑๑ จำนวน ๑ บทมีกี่คำ

คำตอบคือ ๒๒ คำ

สัมผัส กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสบังคับ สัมผัส กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสบังคับ ๒.๑ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒ O O / O O O O O O / O O O อ่านตัวอย่างครับ เป่าขลุ่ยให้ดาวฟัง ด้วยยังหวังให้ดาวหวาน เห็นไหมครับว่า คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ (ฟัง) สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ (หวัง)

สัมผัส กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสบังคับ สัมผัส กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสบังคับ ๒.๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ดูแผนผังนะครับ และอ่านบทร้อยกรองประกอบไปด้วยครับ O O / O O O O O O / O O O O O / O O O เป่าขลุ่ยให้ดาวฟัง ด้วยยังหวังให้ดาวหวาน ปลอบดาวดวงร้าวราน   จากตัวอย่าง คำว่า หวาน ในวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำว่า ราน ในวรรคที่ ๓

ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ O O / O O O O O O / O O O O O / O O O O O O / O O O เป่าขลุ่ยให้ดาวฟัง ด้วยยังหวังให้ดาวหวาน ปลอบดาวดวงร้าวราน ให้สดใสในค่ำคืน นักเรียนสังเกตไหมครับว่า วรรคสุดท้ายของบาทโท ไม่มี สัมผัสบังคับ ผู้แต่งจึงใช้สัมผัสสระและสัมผัสอักษรเป็นการเสริม ให้กาพย์มีความไพเราะขึ้น คือ สด – ใส / ใส – ใน / ค่ำ - คืน

สัมผัส กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสบังคับ สัมผัส กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสบังคับ ๒.๓ คำสุดท้ายของบทที่ ๑ (คืน) สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป (ผืน) ดู ตัวอย่าง O O / O O O O O O / O O O O O / O O O O O O / O O X O O / O O O O O O / O O X O O / O O O O O O / O O O เป่าขลุ่ยให้ดาวฟัง ด้วยยังหวังให้ดาวหวาน ปลอบดาวดวงร้าวราน ให้สดใสในค่ำคืน ปลอบดาวดวงน้อยน้อย ที่เรียงร้อยบนแผ่นผืน แม้ฟ้ายังสะอื้น ปลุกให้ตื่นด้วยขลุ่ยครวญ (หงษ์ขาว)

บทสรุป กาพย์ หมายถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่มีการกำหนด คณะ พยางค์ และสัมผัส เช่นเดียวกับฉันท์แต่ไม่มีบังคับคำครุ – ลหุ อย่างฉันท์ กาพย์สามารถจำแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. กาพย์ยานี ๑๑ ๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ ๓. กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ๔. กาพย์ห่อโคลง ๕. กาพย์เห่เรือ ๖. กาพย์ขับไม้ กาพย์ยานี ๑๑ นิยมแต่งในการพรรณนา ดำเนินเรื่องอย่างช้า ๆ ลักษณะบังคับ มี คณะ สัมผัส

สรุปกาพย์ยานี ๑๑ ๑. คณะ ๑ บท มี ๒ บาท ๔ วรรค  วรรคที่ ๑ มี ๕ คำ  วรรคที่ ๒ มี ๖ คำ  ๑ บท มีจำนวน ๒๒ คำ ๒. สัมผัส  สัมผัสนอกหรือสัมผัสบังคับ  สัมผัสใน มี ๒ ลักษณะ คือ - สัมผัสสระ - สัมผัสอักษร