ระบบนิเวศ (ECOSYSTEM)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
การถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)
ภาวะ โลก ร้อน.  ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็น ปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ
แมลงกับสิ่งแวดล้อม 1.สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมแมลง
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม :
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
แนวคิดทางการบริหารการพัฒนา Development Administration
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
ดิน สมบัติ ของดิน ลักษณะ ของดิน ประโยชน์ ของดิน ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด สถานการณ์ปัญหาที่ 2.
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต Homeostasis
Asst. Prof. Surattana Settacharnwit
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (ECOSYSTEM)
ระดับความเสี่ยง (QQR)
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อผู้สูงอายุ
สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทรัพยากรสัตว์ป่า.
แผ่นดินไหว.
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคต้น ปีการศึกษา 2561
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
ตัวชี้วัดที่ 5 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดน้ำ
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
ระบบย่อยอาหาร.
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
ศาสนาเชน Jainism.
นโยบายของรัฐด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคต้น ปีการศึกษา 2562
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ระบบนิเวศ (ECOSYSTEM) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (food chain) มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร

ระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่มา : (http://wps.aw.com/bc_campbell_ essentials _2/ 0,7641,708230-,00.html)

องค์ประกอบของระบบนิเวศ องค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic) และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic)

องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่ 1. ผู้ผลิต (producer or autotrophic) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ จากสารอนินทรีย์ส่วนมากจะเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์

องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่ 2. ผู้บริโภค (consumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ (heterotroph) ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เนื่องจากสัตว์เหล่านี้มีขนาดใหญ่จึงเรียกว่า แมโครคอนซูมเมอร์ (macroconsumer)

ผู้บริโภค (consumer) แบ่งได้ 4 พวก คือ 1. ผู้บริโภคพืช (Herbivoe) สิ่งมีชีวิตที่กินแต่พืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย ช้าง ม้า ยีราฬ ฯลฯ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้าย 2. ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) สิ่งมีชีวิตที่กินแต่เนื้อสัตว์ เป็นผู้ล่าในระบบนิเวศ มีลักษณะดุร้าย ตัวใหญ่ เช่น สัตว์ สิงโต ถ้าตัวเล็กจะหากินเป็นฝูง หมาใน ปลาปิรันยา

ผู้บริโภค (consumer) 3. ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น คน เป็ด ไก่ สุนัข แมว ฯลฯ 4. ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ (Scavenger) สิ่งมีชีวิตที่กินซากเป็นอาหาร เช่น แร้ง ไส้เดือน มด ปลวก ฯลฯ

องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่ 3. ผู้ย่อยสลายซาก (decomposer, saprotroph, osmotroph หรือ microconsumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา (fungi) และแอกทีโนมัยซีท (actinomycete) ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กในรูปของสารอาหาร (nutrients) เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปใช้ได้ใหม่อีก ที่มา : (http://wps.aw.com/bc_campbell_ essentials _2/ 0,7641,708230-,00.html)

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่ 1. สารอนินทรีย์ (inorganic substances) ประกอบด้วยแร่ธาตุและสารอนินทรีย์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในเซลล์สิ่งมีชีวิต เช่น คาร์บอน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำเป็นต้น สารเหล่านี้มีการหมุนเวียนใช้ในระบบนิเวศ เรียกว่า วัฏจักรของสารเคมีธรณีชีวะ (biogeochemical cycle)

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่ 2. สารอินทรีย์ (organic compound) ได้แก่สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิต เช่นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยทับถมกันในดิน (humus) เป็นต้น

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่ 3. สภาพภูมิอากาศ (climate regime) ได้แก่ปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น อากาศ และพื้นผิวที่อยู่อาศัย (substrate) ซึ่งรวมเรียกว่า ปัจจัยจำกัด (limiting factors)

คำศัพท์ที่พบในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กันโดยตรงหรือโดยทางอ้อม

คำศัพท์ที่พบในระบบนิเวศ โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำ สิ่งแวดล้อม (Environment)หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

ประเภทของระบบนิเวศ หากใช้เกณฑ์แหล่งที่อยู่ในการแบ่งประเภทของระบบนิเวศ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. ระบบนิเวศบนบก (terrestrial ecosystem) หมายถึงระบบนิเวศที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศอาศัยอยู่บนพื้นดิน เช่นระบบนิเวศบนขอนไม้ ระบบนิเวศในทุ่งหญ้า ระบบนิเวศในป่า เป็นต้น

ระบบนิเวศบนบก (terrestrial ecosystem)

ระบบนิเวศบนบก (terrestrial ecosystem)

ประเภทของระบบนิเวศ 2. ระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem) หมายถึงระบบนิเวศที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตภายในระบบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น ระบบนิเวศในสระน้ำ ระบบนิเวศในทะเล ระบบนิเวศในตู้ปลา เป็นต้น

ระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem)

ระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem)

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ระดับการกินอาหาร และห่วงโซ่อาหาร (trophic level and food web) ลำดับการถ่ายทอดอาหารจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับเรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (food chain) พืช ตั๊กแตน กบ งู นกฮูก

พืช ตั๊กแตน กบ งู นกฮูก พืช เป็นผู้ผลิต (producer ) พืช ตั๊กแตน กบ งู นกฮูก พืช เป็นผู้ผลิต (producer ) ตั๊กแตน เป็นผู้บริโภคพืชเป็นอาหาร ((Herbivoe) หรือผู้บริโภคอันดับที่ 1 (primary consumers) กบ เป็นผู้บริโภคสัตว์เป็นอาหาร (Carnivore) หรือผู้บริโภคอันดับที่ 2 (secondary consumers) งู เป็นผู้บริโภคสัตว์เป็นอาหาร (Carnivore)หรือผู้บริโภคอันดับที่ 3 (tertiary consumers) นกฮูก เป็นผู้บริโภคสัตว์เป็นอาหาร (Carnivore) หรือผู้บริโภคอันดับที่ 4 (quaternary consumers)

ห่วงโซ่อาหาร(food chain)

สายใยอาหาร (Food web)

สายใยอาหาร (food web) เป็นการถ่ายทอดพลังงานโดยการกินต่อกันเป็นทอดๆของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ โดยไม่ลำดับการกินอย่างห่วงโซ่อมหาร แต่จะมีความซับซ้อนมากกว่า เช่น สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจะกินสิ่งมีชีวิตหลายชนิดเป็นอาหาร เช่น งูกินทั้ง กบ หนู และ นก เป็นต้น

สายใยอาหารนี้ประกอบด้วยห่วงโซ่อาหารกี่ห่วงโซ่

สายใยอาหาร (Food Web)

การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงานในโซ่อาหาร การถ่ายทอดพลังงานในโซ่อาหารอาจแสดงในในลักษณะของสามเหลี่ยมพีรามิดของสิ่งมีชีวิต (ecological pyramid) แบ่ง ได้ 3 ประเภทตามหน่วยที่ใช้วัดปริมาณของลำดับขั้นในการกิน

สิ่งมีชีวิต (pyramid of number)

2. พีรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต (pyramid of mass) โดยพิรามิดนี้แสดงปริมาณของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของการกินโดยใช้มวลรวมของน้ำหนักแห้ง (dry weight) ของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่ pyramid of mass

3. พีรามิดพลังงาน (pyramid of energy) เป็นปิรามิดแสดงปริมาณพลังงานของแต่ละลำดับชั้นของการกินซึ่งจะมีค่าลดลงตามลำดับขั้นของการโภค pyramid of energy ที่มาของภาพ : http://www.gang_diary.th.gs/web-g/a-tiam/page6.html

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ในระบบนิเวศกลุ่มสิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าพิจารณาจากการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราสามารถแบ่งความสัมพันธ์ระห่างสิ่งมีชีวิตออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1. สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันโดยต่างฝ่ายต่างให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (+/+) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่เดียวกันนั้นได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง สองฝ่าย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.1 ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน(protocooperation) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ได้รับประโยชน์ร่วมกันโดยที่สิ่งมีชีวิตทั้งสองไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเสมอไป สามารถแยกกันอยู่ได้ เช่น แมลงกับดอกไม้

ภาพบน แมลงอาศัยน้ำหวานจากดอกไม้และช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้ ภาพล่างภาวะพึ่งพาระหว่างนกเอี้ยงหงอน กับควาย นกเอี้ยงอาศัยการกินอาหารจากปรสิตภายนอก(ectoparasite) บนหลังควาย ส่วนควายได้รับการกำจัดปรสิตออกไป

ที่มา : (http://www.seawater.no/fauna/ Nesledyr/ eremitt.htm) ภาพบน ภาวะพึ่งพา ระหว่างต้นอะเคเซียซึ่งให้ที่อยู่และน้ำหวานที่ปลายใบ กับ มด คอยป้องกันศัตรู แมลง และเชื้อราที่อยู่ใกล้ๆกับต้นอะเคเซีย ภาพล่าง ปูเสฉวน Eupagurus prideauxi ให้ดอกไม้ทะเลยึดเกาะและพาเคลื่อนที่ ส่วนดอกไม้ทะเล Adamsia palliate ช่วยพรางตาต่อศัตรูและช่วยล่อเหยื่อเนื่องจากมีเข็มพิษ ที่มา : (http://www.seawater.no/fauna/ Nesledyr/ eremitt.htm)

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันโดยต่างฝ่ายต่างให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (+/+) 1.2 ภาวะพึ่งพากัน (mutualism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ต้องอยู่ร่วมกันตลอดชีวิต ถ้าแยกจากกันจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น รากับสาหร่าย ที่เรียกว่า ไลเคน (Lichen) โพรโทซัวในลำไส้ปลวก

ไลเคนบนเปลือกไม้ เป็นการอยู่ร่วมกันของ รา กับ สาหร่าย โดยรา ให้ที่อยู่อาศัยและ ความชื้น ส่วน สาหร่าย ช่วยสังเคราะห์อาหาร ที่มา : (http://www.milkmag.org/images/Burckhardt,% 20Lichen%20Tree%202.jpg)

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่กันโดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ (+/0) เรียกว่า ภาวะเกื้อกูลหรืออิงอาศัย ( commensalism) เช่น ปลาฉลามกับเหาฉลาม พลูด่างบนต้นไม้ใหญ่

กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่ (ซ้าย) และพลูด่างกับต้นไม้(ขวา) ปลาฉลามวาฬกับเหาฉลาม

ภาวะล่าเหยื่อ (predation) สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในลักษณะฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์(+/-) แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 3.1 ภาวะล่าเหยื่อ (predation) สิ่งมีชีวิตที่ได้ประโยชน์เรียกว่า ผู้ล่า สิ่งมีชีวิตที่เสียประโยชน์เรียกว่า เหยื่อ เช่น เสือล่ากวาง งูล่ากบ

ภาวะล่าเหยื่อ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ของสังคมในทุ่งหญ้าซาวันนา (Savanna) ในประเทศเคนยา ที่มา : (http://wps.aw.com/bc_campbell_ essentials _2/ 0,7641,708230-,00.html)

ภาวะล่าเหยื่อ การรวมตัวกัน( mobbing) นกกาสองตัวกำลังร่วมกันขับไล่เหยี่ยวซึ่งมักจะมากินไข่และทำลายลูกอ่อนของนกกา ที่มา : (http://wps.aw.com/bc_campbell_ essentials _2/ 0,7641,708230-,00.html)

ภาวปรสิต (parasitism) 3.2 ภาวปรสิต (parasitism)เป็นภาวะที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปอาศัยกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยผู้ถูกอาศัย เรียกว่า host เป็นผู้เสียประโยชน์ ส่วนผู้อาศัย เรียกว่า ปรสิต(parasite) เป็นผู้ได้ประโยชน์ เช่น กาฝากกับต้นมะม่วง หาบนศีรษะคน เห็บบนตัวสุนัข

ภาวปรสิต (parasitism) ภาพกาฝากบนต้นมะม่วง กาฟากเป็นปรสิต มะม่วงเป็น host ที่มา: http://www.wattano.ac.th/wattano51/Web_saunpluak/Pic_Fol001250%20up%202550/028

ภาวปรสิต (parasitism) ภาพบน พยาธิตัวตืด (Taenia pisiformis) สามารถทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ ภาพล่าง ส่วนหัวและตะขอของพยาธิตัวตืดใช้ยึดเกาะลำไส้เพื่อดูดอาหารจากผนังลำไส้ของโฮสต์ ที่มา: (http://cal.vet.upenn.edu/dxendopar/parasitepages/ cestodes/t_pisiformis.html)

ภาวปรสิต (parasitism) เหาบนศีรษะคน เหาเป็นปรสิต ศีรษะเป็น host ที่มา: http://www.thepetcenter.com/gen/itchtick_AmericanDogTick_2.jpg

วัฏจักรของสสาร (matter cycling) วัฏจักรของสสาร เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง สสาร และพลังงานจากธรรมชาติสู่สิ่งมีชีวิตแล้วถ่ายทอดพลังงานในรูปแบบของการกินต่อกันเป็นทอดๆ ผลสุดท้ายวัฏจักรจะสลายใน ขั้นตอนท้ายสุดโดยผู้ย่อยสลายกลับคืนสู่ธรรมชาติ วัฏจักรของสสารที่มีความสำคัญต่อสมดุลของระบบนิเวศ ได้แก่ วัฏจักรของน้ำ วัฏจักรของไนโตรเจน วัฏจักรของคาร์บอนและ วัฏจักรของฟอสฟอรัส

1. วัฏจักรของน้ำ ปัจจัยที่ช่วยให้เกิดวัฏจักรของน้ำ คือ 1. วัฏจักรของน้ำ ปัจจัยที่ช่วยให้เกิดวัฏจักรของน้ำ คือ 1. ความร้อนจากดวงอาทิตย์ 2. กระแสลม 3. มนุษย์และสัตว์ 4. พืช

การหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ วัฏจักรของน้ำ

2. การหมุนเวียนก๊าซไนโตรเจนในระบบนิเวศ(Nitrogen Cycle)

2. การหมุนเวียนก๊าซไนโตรเจนในระบบนิเวศ(Nitrogen Cycle)

3. การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศ

3. การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศ ที่มา : Ray Burkett, 2006

3. การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศ

การหมุนเวียนฟอสฟอรัสในระบบนิเวศ

การหมุนเวียนฟอสฟอรัสในระบบนิเวศ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรในระบบนิเวศ ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช หรือสิ่งอื่นที่รวมอยู่ในแหล่งที่อยู่หรือสถานที่เดียวกัน ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เช่นจำนวนประชากรมดแดงในรังบนต้นมะม่วงหน้าโรงเรียนเมื่อเดือนธันวาคม 2554 มีอยู่ 5500 ตัว ประชากรมนุษย์ (human population) หมายถึง กลุ่มของคนที่รวมอยู่ในที่เดียวกัน และระยะเวลาเดียวกัน แต่โดยทั่วไปแล้วเมื่อกล่าวถึงประชากรมนุษย์มักจะใช้คำว่า ประชากร เช่น ชายหญิงในกรุงเทพมหานคร ปี2554 มี 12 ล้านคน

ขนาดของประชากรสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขนาดดังนี้ 1. ประชากรที่มีขนาดคงที่ แสดงว่า อัตราการเกิด +อัตราการย้ายเข้า = อัตราการตาย +อัตราการย้ายออก 2. ประชากรที่มีขนาดเพิ่มขึ้น แสดงว่า อัตราการเกิด + อัตราการย้ายเข้า > อัตราการตาย +อัตราการย้ายออก 3. ประชากรที่มีขนาดลดลง แสดงว่า อัตราการเกิด + อัตราการย้ายเข้า < อัตราการตาย +อัตราการย้ายออก

ความหนาแน่นของประชากร ความหนาแน่นของประชากร คืออัตราส่วนระหว่างจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตกับพื้นที่ ความหนาแน่นประชากร = จำนวนประชากรทั้งหมด พื้นที่

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อม 2. กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ 3. จำนวนผู้ล่า 4. ทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด 5. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆในระบบนิเวศ 6. ศัตรูทางธรรมชาติและเชื้อโรค หรือโรคระบาด

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resource) หมายถึง สิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท 1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น 2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่

สิ่งแวดล้อม(Environment) สิ่งแวดล้อม แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท ได้แก่       1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment)       2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment)

สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น  สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น  สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Make Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนากันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภทคือ 1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ 2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Social Environment)

สาเหตุปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดังนี้ การเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด รวมทั้งการสงวนเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นสามารถให้ผลได้อย่างยาวนาน

การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีผลดีต่อคุณภาพชีวิต นั่นคือจะต้องดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีผลดีต่อคุณภาพชีวิต นั่นคือ จะต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษที่จะมีต่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและปลอดภัย

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินการต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด การสงวนรักษา เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั่นสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ได้ใช้ตลอดไปอย่างไม่ขาดแคลน หรือมีปัญหา

การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนา หมายถึง การทำให้สิ่งต่างๆอยู่ในสภาพดีขึ้นกว่าเดิมและเจริญก้าวหน้าขึ้น การอนุรักษ์ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด การใช้ประโยชน์นั้นจะต้องเกิดผลดีต่อส่วนรวมมากที่สุด รู้จักใช้ประโยชน์ให้ได้เป็นเวลายายนานที่สุด ให้มีการสูญเสียทรัพยากรอย่างเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด รวมทั้งต้องกระจายการใช้ประโยชน์แก่ประชากรของประเทศอย่างทั่วถึงด้วย

การพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable development)