บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

เรื่อง แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
เฉลยใบงานที่ 1 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซอฟแวร์ SOFTWARE น า ง ส า ว ฐ ิ ติ ม า น า ม ว ง ศ์ เ ล ข ที่ 4 3 ชั้ น ม. 4 / 7.
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
หน่วยที่ 3 ภาษาคำสั่งพื้นฐานที่ใช้เขียนโปรแกรม PLC
ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และ.
S OFTWARE จัดทำโดย นางสาว กนกวรรณ สุขมิลินท์ เลขที่ 34 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3.
FIX COMMON PC PROBLEMS By Missis Jatuporn Surinseng Missis Chamaiporn Sommit.
วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2
ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
การรักษาความปลอดภัยข้อมูลขั้นพื้นฐาน
งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ( หน่วยเทคโนโลยี บริการ ) โครงการอบรมพัฒนาบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ และ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ( หน่วยเทคโนโลยี
จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนบอกองค์ประกอบของระบบ คอมพิวเตอร์ได้ สาระการเรียนรู้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุลากร คอมพิวเตอร์ ข้อมูล.
บทที่ 2 โครงสร้างและหน้าที่ การทำงาน ของระบบคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ Software รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ที่คอยสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน.
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
งานวิชา เทคโนโลยี สารสนเทศ 4/3 เรื่อง INPUT และ OUTPUT จัดทำโดย นาย ชาญชัย ศรีน้อย เลขที่ 3 นาย ณัฐดนัย จันทมาศ เลขที่ 4 นาย อุดมศักดิ์ เกื้อนะ เลขที่
Input Output อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เสนอ อ. อภิเดช จิตมุ่ง โดย นางสาว ผกาวดี ช่วงชุณส่อง เลขที่ 43 นางสาว ธนาภรณ์ คำเรือง เลขที่ 39 นางสาว ณัฐวรรณ ห่วงกลาง.
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ การเชื่อมต่อเมาส์และ คีย์บอร์ด การเชื่อมต่อจอภาพ 1 2 ช่องเสียบหัวต่อ สายไฟ เข้ากับตัวเครื่อง และสายจอภาพ จอภ าพ คีย์บอ.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. เนื้อหาหลัก คอมพิวเตอร์คืออะไร คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ ประเภทของเครื่อง คอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของระบบ คอมพิวเตอร์
Project Management by Gantt Chart & PERT Diagram
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
Material requirements planning (MRP) systems
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
stack #2 ผู้สอน อาจารย์ ยืนยง กันทะเนตร
บทที่ 1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
IP-Addressing and Subneting
IP-Addressing and Subneting
บทสรุป ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
การประยุกต์ Logic Gates ภาค 2
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
Basic Input Output System
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
บทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
SMS News Distribute Service
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
บรรยายครั้งที่ 8 - กราฟฟิกวิศวกรรม 1
โครงสร้างคอมพิวเตอร์ (Computer Organization)
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
บทที่ 15 การติดตั้งระบบและการทบทวนระบบงาน.
เมนูหลัก ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2.ซอฟต์แวร์ (Software) 2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 3. บุคลากร (Peopleware) 4. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม) และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.ซอฟต์แวร์ (Software) ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรู้จักกันเป็นอย่างดีคือ ระบบปฏิบัติการหรือ OS (Operating System) เช่น Windows และ Linux เป็นต้น

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์โดยรวม ตรวจสอบเมื่อมีการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ช่วยให้การทำงานที่เกี่ยวข้องราบรื่น ไม่ติดขัด ตรวจสอบและรายงานความผิดพลาดเกี่ยวกับระบบ กำหนดสิทธิการใช้งาน และหน้าที่ต่างๆเกี่ยวกับการจัดการไฟล์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟต์แวร์ที่สามารถติดตั้งภายหลังจากที่ติดตั้งระบบปฎิบัติการ ปกติมุ่งใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น งานด้านบัญชี งานด้านเอกสารหรืองานควบคุมสินค้าคงเหลือ อาจมีบริษัทผู้ผลิตทำขึ้นมาเพื่อจำหน่ายโดยตรง มีทั้งที่ให้ใช้ฟรี ซื้อทำเอง หรือจ้างเขียนโดยเฉพาะ

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ software ในประเทศไทย เขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ Software Park (www.swpark.or.th) แหล่งสนับสนุนการพัฒนาซอฟแวร์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (SIPA-Software Industry Promotion Agency) www.sipa.or.th ส่งเสริมให้คนไทยพัฒนาซอฟแวร์ไว้ใช้เอง พัฒนาเพื่อการส่งออก นำรายได้เข้าประเทศ

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3. บุคลากร (Peopleware) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์พอจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 3.1 ผู้ใช้งานทั่วไป 3.2 ผู้เชี่ยวชาญ 3.3 ผู้บริหาร

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.1 บุคลากร – กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User/End User) เป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุด ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมาก อาจเข้ารับการอบรมบ้างเล็กน้อยหรือศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงานก็สามารถใช้งานได้ บุคลากรกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุดในหน่วยงาน ลักษณะงานมักเกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น งานธุรการสำนักงาน งานป้อนข้อมูล งานบริการลูกค้าสัมพันธ์ (call center) เป็นต้น

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.2 บุคลากร - กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 3.2.1 ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Operator/Computer Technician) 3.2.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 3.2.3 นักเขียนโปรแกรม (Programmer) 3.2.4 วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Enginering) 3.2.5 ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.2.1 ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Operator/Computer Technician) มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.2.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) มีหน้าที่วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด ออกแบบกระบวนการทำงานของระบบโปรแกรมต่างๆ ลักษณะการทำงานคล้ายกับสถาปนิกออกแบบบ้าน

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ การทำงานของสถาปนิก การทำงานของนักวิเคราะห์ระบบ

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.2.3 นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ชำนาญเรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่ตนเองถนัด มีหน้าที่และตำแหน่งเรียกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ปฏิบัติ เช่น web programmer application programmer system programmer

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.2.4 วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Enginering) ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของ ซอฟท์แวร์ และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้ พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเกมส์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบการทำงานของวิศวกรซอฟต์แวร์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.2.5 ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator) มีหน้าที่ดูแลและบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เกี่ยวข้องกับงานด้านเครือข่ายโดยเฉพาะ เช่น การติดตั้งระบบเครือข่ายการควบคุมสิทธิของผู้ที่จะใช้งาน การป้องกันการบุกรุกเครือข่าย เป็นต้น มีความชำนาญเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี และมีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3.3 บุคลากร - กลุ่มผู้บริหาร ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (CIO – Chief Information Officer) หัวหน้างานด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Center Manager/Information Technology Manager)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (CIO – Chief Information Officer) ตำแหน่งสูงสุดทางด้านการบริหารงานคอมพิวเตอร์ในองค์กร ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง นโยบาย และแผนงานทางคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ หัวหน้างานด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Center Manager/Information Technology Manager) มีหน้าที่ดูแลและกำกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงานและทิศทางที่ได้วางไว้โดย CIO จัดเตรียมการบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา คำแนะนำกับผู้ใช้งาน รวมถึงสร้างกฎระเบียบ มาตรฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 4. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องตั้งแต่การนำข้อมูลเข้า (data) จนกลายเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ต่อได้หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ (information) ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และข้อมูลในรูปแบบอื่นๆเช่น ภาพ เสียง เป็นต้น ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สถานะแบบดิจิตอล มีเพียง 2 สถานะคือ เปิด (1) และ ปิด (0) เหมือนกับหลักการทำงานของไฟฟ้า อาศัยการประมวลผลโดยใช้ ระบบเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สถานะแบบดิจิตอล

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สถานะแบบดิจิตอล ตัวเลข 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารี ดิจิต(binary digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต (bit) นั่นเอง เมื่อบิตหลายตัวรวมกันจำนวนหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับรหัสการจัดเก็บ) เช่น 8 บิต เราจะเรียกหน่วยจัดเก็บข้อมูลนี้ใหม่ว่าเป็น ไบต์ (byte) ซึ่งสามารถใช้แทน ตัวอักษร ตัวเลข อักขระพิเศษที่เราต้องการป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่องแต่ละตัวได้

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สถานะแบบดิจิตอล กลุ่มตัวเลขฐานสองต่างๆที่นำเอามาใช้นี้ จะมีองค์กรกำหนดมาตรฐานให้ใช้บนระบบคอมพิวเตอร์อยู่หลายมาตรฐาน ที่รู้จักดีและเป็นนิยมแพร่หลายคือมาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า รหัสแอสกี (ASCII : American Standard Code for Information Interchange)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สถานะแบบดิจิตอล

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สถานะแบบดิจิตอล

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดความจุข้อมูล เช่น 1 KB =1024 byte ซึ่งค่าโดยประมาณคือ 1,000 byte

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดความจุข้อมูล

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดความจุข้อมูล ขนาดความจุฮาร์ดดิสก์ของผู้ขาย = 40 GB = 40 000 000 000 bytes เมื่อทำการ Format (ซึ่งใช้หน่วยวัดข้อมูลต่างกัน) จะได้ค่าใหม่ดังนี้ แปลงหน่วยเป็น KiB = 40 000 000 000 / 1024 = 39 062 500 KiB แปลงหน่วยเป็น MiB = 39 062 500 / 1024 = 38 146.97265625 MiB แปลงหน่วยเป็น GiB = 38 146.97265625 / 1024 = 37.252902984619140625 GiB หรือประมาณ 37 GiB ซึ่งในคอมพิวเตอร์เราจะเห็นความจุฮาร์ดดิสก์ประมาณ 37 GiB

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วย ดังนี้ 1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 3. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 4. หน่วยรับและแสดงผลข้อมูล (Input/Output Unit) 5. ทางเดินของระบบ (System Bus)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1.1 หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกๆหน่วยในซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง เริ่มตั้งแต่การแปลคำสั่งที่ป้อนเข้าไป โดยการไปดึงคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำมาแล้วแปลความหมายของคำสั่ง จากนั้นส่งความหมายที่ได้ไปให้หน่วยคำนวณและตรรกะเพื่อคำนวณและตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ใด

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ(ALU : Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (arithmetic) เช่น การคูณ ลบ บวก หาร เปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ (logical) ว่าจริงหรือเท็จ อาศัยตัวปฏิบัติการเปรียบเทียบพื้นฐาน 3 ค่า คือ มากกว่า น้อยกว่าและ เท่ากับ

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1.3 รีจิสเตอร์ (Register) คือพื้นที่สำหรับเก็บพักข้อมูลชุดคำสั่ง ผลลัพธ์ และข้อมูลที่เกิดขึ้นขณะที่ซีพียูประมวลผลเพียงชั่วคราว รีจิสเตอร์ไม่ถือว่าเป็นหน่วยความจำ รับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง และทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุมเช่นเดียวกับหน่วยอื่นๆ

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง ช่วง I-Time (Instruction Time) หรือ เวลาคำสั่งงาน อยู่ในขั้นตอนที่ 1 และ 2 (Fetch และ Decode) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดึงเอาคำสั่งและแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ช่วง E-Time (Execution Time) หรือ เวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งตลอดจนผลลัพธ์ที่ได้จากการ ประมวลผลของซีพียูเพียงชั่วคราวเช่นเดียวกัน ปกติจะมีตำแหน่งของการเก็บข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันที่เรียกว่า “แอดเดรส” (address)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) คือหน่วยความจำที่อยู่ภายในตัวเครื่องและติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง โดยจะเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งในระหว่างการประมวลผล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 2.1 รอม (ROM : Read Only Memory) 2.2 แรม (RAM : Random Access Memory)

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.1 รอม (ROM : Read Only Memory) หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ ข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลหรือคำสั่งจะไม่หายไป เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า nonvolatile memory มีหลายชนิดเช่น PROM, EPROM, EEPROM เป็นต้น

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 2.2 แรม (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงาน สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า volatile memory มีหลายชนิดเช่น SDRAM, DDR SDRAM, RDRAM

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 3. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) ใช้สำหรับเก็บและบันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อเรียกข้อมูลนั้นใช้ในภายหลังได้ (เก็บไว้ใช้ได้ในอนาคต) มีหลายชนิดมาก เช่น ฮาร์ดดิสก์ Flash Drive CD ฯลฯ

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 4. หน่วยรับและแสดงผลข้อมูล (Input/Output Unit) 4.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีหน่วยรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่ระบบ แปลงข้อมูลผ่านอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ เป็นต้น ส่งต่อข้อมูลที่ป้อนเข้าให้กับส่วนของหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อทำหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมา หากขาดส่วนรับข้อมูลและคำสั่ง มนุษย์จะไม่สามารถติดต่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 4.2 หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) แสดงผลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (เรียกว่า soft copy) เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์ หรืออยู่ในรูปแบบของ hard copy เช่น พิมพ์ออกมาเป็น กระดาษออกทางเครื่องพิมพ์ อาจอาศัยอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ลำโพง สำหรับการแสดงผลที่เป็นเสียงได้

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 5. ทางเดินระบบ (System Bus) เส้นทางผ่านของสัญญาณเพื่อให้อุปกรณ์ระหว่างหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำในระบบสามารถเชื่อมต่อกัน ทางเดินระบบกว้างหรือมีมากเท่าใด การส่งข้อมูลต่อครั้งก็ยิ่งเร็วและมากขึ้น

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ กิจกรรมท้ายบท  1. ให้นักศึกษาศึกษาองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบมีหน้าที่อย่างไร 2. ให้นักศึกษาศึกษาองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ว่ามีกี่ประเภท และบอกหน้าที่การทำงานขององค์ประกอบแต่ละประเภท 3. ให้นักศึกษาศึกษาองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านซอฟต์แวร์ว่ามีกี่ประเภท ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ มา 10 ตัวอย่าง 4. ให้นักศึกษาศึกษาการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางว่าทำหน้าที่อย่างไร และมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างรุ่นของหน่วยประมวลผลมา 1 ตัวอย่าง 5. ให้นักศึกษาศึกษาองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านบุคลากรว่าแบ่งเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภททำหน้าที่อย่างไร 6. ให้นักศึกษาศึกษาองค์ประกอบด้านข้อมูลและสารสนเทศ พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ