บทที่ 11 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
11.1 บทนำ มนุษย์เราได้มีการคิดค้นและพัฒนาวิธีการสื่อสารข้อมูลในรูปต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับตั่งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบของการสื่อสารข้อมูลจะแตกต่างกันไป แยกตามกลุ่มผู้ใช้และระยะเวลา แต่ลักษณะพื้นฐานของกานสื่อสารที่เหมือนกัน คือ 1. ต้องมีอุปกรณ์สำหรับการส่งข่าวสาร 2. วิธีการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถส่งผ่านอุปกรณ์ไปได้
11.2 ความหมายของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั่งแต่ 2 อุปกรณ์ขึ้นไป โดยวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
11.3 องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบการสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง 2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลข้อมูลข่าวสารที่ผู้จัดส่งมาให้ 3. สื่อกลาง (Medium) เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อการการสื่อสารนี้อาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายเคเบิล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่าง ๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ
11.3 องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล 4. ข่าวสาร (Message) เป็นสัญญาณที่ส่งผ่านไปยังสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ คือ 1. เสียง (Voice) อาจเป็นเสียงคนหรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์ต่าง ๆ สัญญาณเสียงเป็นสัญญาณที่กระจัดกระจายมีรูปแบบไม่แน่นอน ดังนั้นการส่งสัญญาณเสียงจึงต้องส่งด้วยความเร็วต่ำ 2. ข้อมูล (Data) ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์จึงมีรูปแบบที่แน่นอน การส่งสัญญาณข้อมูลจึงสามารถส่งด้วยความเร็วสูง
11.3 องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล 3. ข้อความ (Text) ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของอักขระหรือเอกสารมีรูปแบบไม่แน่นอนการส่งสัญญาณข้อความจงส่งด้วยความเร็วปานกลาง 4. รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบกราฟิกต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพวีดีโอ ใช้ปริมาณเนื้อที่มาก การส่งสัญญาณรูปภาพต้องส่งด้วยความเร็วสูง 5. โพรโตคอล (Protocol) หมายถึง กฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจและพูดคุยกันได้
11.3 องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ผู้ส่ง ผู้รับ สื่อกลาง โพรโตคอล
11.4 ประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล 11.4.1 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล 1. ข่าวสาร ระบบการสื่อสารที่ดี ข้อมูลข่าวสารจะต้องสามารถเข้าใจได้ดีระหว่างผู้รับและผู้ส่ง เช่น คนไทยพูดคุยกันด้วยภาษาไทย สามารถเข้าใจได้ดีกว่าภาษาอื่น 2. คุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละองค์ประกอบของระบบสื่อสาร มีผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสารนั้น เช่น การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง โดยใช้สายใยแก้วนำแสง มีประสิทธิภาพการสื่อสารข้อมูลดีกว่าการใช้สายคู่ตีเกลียว
11.4 ประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล 3. การรบกวนการสื่อสารข้อมูล ขณะที่ข่าวสารส่งไปในสื่อกลางจะเกิดสัญญาณรบกวนเรียกว่า Noise ซึ่งมีผลทำให้สัญญาณข่าวสารนั้นเกิดความผิดพลาด 11.4.2 กฎเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล 1. การถ่ายโอน หมายถึง การนำข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับปลายทางได้อย่างถูกต้อง 2. ความเที่ยงตรง หมายถึง ข่าวสารที่ผู้รับปลายได้รับมาจะต้องเป็นข่าวสารชุดเดียวกับข่าวสารที่ส่ง คือ มีครบถ้วน สมบูรณ์ และสามารถนำไปใช้ได้ 3. เวลา หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการถ่านโอนข่าวสารจากผู้ส่งไปถึงผู้รับ
11.5 การพัฒนาของการสื่อสารข้อมูล ประวัติของสื่อสารข้อมูลเริ่มตั้งแต่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ยุคแรกมีการประมวลผลแบบ Batch คือ มีการประมวลผลที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ (Host) เพียงที่เดียว ข้อมูลจากหน่วยต่าง ๆ จะถูกส่งเข้ามาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลโดยตรงโดยคน รถไฟ รถยนต์ เป็นต้น ปี ค.ศ. 1960 เริ่มมีการติดต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบโทรศัพท์ ซึ่งข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ จะถูกส่งมาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบโทรศัพท์ แล้วทำการประมวลผลแบบ Batch ที่คอมพิวเตอร์ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็ส่งกลับไปยังที่เดิมโดยระบบโทรศัพท์ เรียกการประมวลผลแบบนี้ว่า Online Batch
11.5 การพัฒนาของการสื่อสารข้อมูล ปี ค.ศ. 1970 เริ่มมีการใช้ระบบ Real time คือ มีการส่งข้อมูลแต่ละรายการไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล เมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งกลับไปยังที่เดิมในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งระบบ Real Time ในช่วงนี้มีการใช้ฐานข้อมูลในลักษณะฐานข้อมูลรวม (Centralized Database) โดยที่ฐานข้อมูลรวมที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เพียงที่เดียว เมื่อผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถเรียกใช้ได้จากศูนย์คอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. 1975 เริ่มมีการใช้ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database) โดยเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วยงานแหล่งกำเนิดข้อมูลและมีการส่งข้อมูลที่จำเป็นระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ แต่ยังคงทำการประมวลผลที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เท่านั้น
11.5 การพัฒนาของการสื่อสารข้อมูล ปี ค.ศ. 1980 เริ่มมีการใช้ระบบประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Database) ซึ่งแหล่งกำเนิดข้อมูลแต่ละแห่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกับหน่วยเก็บข้อมูล จึงทำให้สามารถประมวลผลและส่งข้อมูลที่จำเป็นไปยังหน่วยงานต่างๆ ได้ การทำงานลักษณะนี้เรียกว่า “เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)”
11.6 ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1. การสื่อสารข้อมูลเพื่อการบริหารและการจัดการ 2. การสื่อสารข้อมูลเพื่อการบริหาร 3. การสื่อสารข้อมูลในด้านธุรกิจการเงิน 4. การสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร
11.7 สัญญาณ (Signal) สัญญาณ (Signal) หมายถึง ข้อมูลที่ถูกนำมาทำการเข้ารหัส (Encoding) ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถส่งผ่านไปในสื่อกลางได้ ตัวอย่าง ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ซึ่งไม่สามารถนำรูปภาพนั้นส่งผ่านสื่อกลางให้ไปถึงผู้รับได้ แต่สามารถทำได้โดยการนำรูปภาพนั้นมาจัดเก็บในรูปของข้อมูลดิจิตอลโดยวิธีการสแกนหรือถ่ายภาพดิจิตอลแล้วนำข้อมูลนั้นมาทำการเข้ารหัส ให้อยู่ในรูปสัญญาณที่เหมาะสม แล้วทำการส่งผ่านสื่อกลางไป สัญญาณที่ใช้ในการส่งผ่านสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. สัญญาณอนาล็อก 2. สัญญาณดิจิตอล
11.7 สัญญาณ (Signal) 1. สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่นต่อเนื่อง (Continuous Signal) ซึ่งสัญญาณอนาล็อกที่ถูกส่งไปในระยะทางไกลสัญญาณจะอ่อนตัวลง จึงต้องใช้อุปกรณ์ Amplifier เพื่อเพิ่มกำลังสัญญาณ ให้สามารถส่งไปในระยะทางไกลได้
11.7 สัญญาณ (Signal) 2. สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete/Discontinuous Signal) อยู่ในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปดลื่นสี่เหลี่ยม (Square Wave) สามารถแทนค่าเลขฐานสอง “0” และ “1” ได้ การส่งสัญญาณดิจิตอลในระยะไกล สัญญาณจะอ่อนตัวลงต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณเรียกว่า Repeater ทำหน้าที่ Regenerate สัญญาณให้คงรูปเดิม เพื่อให้สามารถส่งไปในระยะทางไกลได้
11.8 ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง เส้นทางเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยที่ช่องทางการสื่อสารจะทำการเคลื่อนย้ายพลังงานจากจุดหนึ่ง ซึ่งช่องทางการสื่อสารสามารถเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งไปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่าง เช่นการสนทนาทางโทรศัพท์ เครื่องโทรศัพท์จะทำการเปลี่ยนพลังงานเสียงไปเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วทำการส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์และเครื่องโทรศัพท์ปลายทางก็จะทำการเปลี่ยนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลับมาเป็นพลังงานเสียง
11.8 ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ช่องทางการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ช่องทางอนาล็อก เป็นการรับส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณต่อเนื่อง เช่น สัญญาณวิทยุ สัญญาณโทรทัศน์ 2. ช่องทางดิจิตอล เป็นการรับส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่อง เช่น สัญญาณข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่องทางบรอดแบนด์ (Broadband) หมายถึง ช่องทางอนาล็อกที่สามารถส่งผ่านสัญญาณอนาล็อกได้หลาย ๆ สัญญาณในเวลาเดียวกัน ช่องทางเบสแบนด์ (Baseband) หมายถึง ช่องทางดิจิตอลที่ใช้สำหรับส่งผ่านสัญญาณดิจิตอล
11.9 ทิศทางของการส่งข้อมูล การส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. การส่งข้อมูลแบบทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (Simplex) มีลักษณะดังนี้ - มีช่องสัญญาณเพียงช่องเดียว - ด้านหนึ่งเป็นผู้ส่งและอีกด้านเป็นผู้รับ - สามารถส่งข้อมูลได้ในทิศทางเดียวเท่านั้น - ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบนี้ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุต่าง ๆ การแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ การจราจรระบบทางเดียว
11.9 ทิศทางของการส่งข้อมูล 2. การส่งข้อมูลแบบทางใดทางหนึ่งหรือฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Haft Duplex) การส่งข้อมูลแบบทางใดทางหนึ่ง มีลักษณะดังนี้ - มีช่องสัญญาณเพียงช่องเดียว - สามารถส่งข้อมูลสวนทางกัน แต่ต้องสลับเวลากันส่งจะทำการส่งในเวลาเดียวกันไม่ได้ - ผู้รับจะต้องใช้เวลาในการตีความเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลส่งหมดแล้ว เวลาที่ใช้นี้เรียกว่า Reaction Time - ผู้รับจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนสถานะจากผู้รับเป็นผู้ส่ง เวลาที่ใช้นี้เรียกว่า Line Turnaround Time
11.9 ทิศทางของการส่งข้อมูล 2. การส่งข้อมูลแบบทางใดทางหนึ่งหรือฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Haft Duplex) - ช่วงเวลาทั้งหมดที่ผู้รับใช้เพื่อตีความว่าข้อมูลส่งหมดแล้ว และทำการเปลี่ยนสถานะจากผู้รับเป็นผู้ส่ง เรียกว่า System Turnaround Time ซึ่งมี่ค่าเท่ากับ Reaction Time + Line Turnaround Time - ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบนี้ เช่น วิทยุสื่อสาร
11.9 ทิศทางของการส่งข้อมูล 3. การส่งข้อมูลแบบสองทางหรือฟูลดูเพล็กซ์ (Full Duplex) การส่งข้อมูลแบบทางสองทาง มีลักษณะดังนี้ - มีช่องสัญญาณ2 ช่อง ดังนั้น จึงสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ กันทั้งสองทาง - ผู้รับจะต้องใช้เวลาในการตีความเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลจากผู้ส่งหมดแล้ว เวลาที่ใช้นี้เรียกว่า Reaction Time - ผู้รับจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนสถานะจากผู้รับเป็นผู้ส่ง เวลาที่ใช้นี้เรียกว่า Line Turnaround Time - ช่วงเวลาทั้งหมดที่ผู้รับใช้เพื่อตีความว่าข้อมูลส่งหมดแล้ว และทำการส่งข้อมูลกลับไป เรียกว่า System Turnaround Time ซึ่งมี่ค่าเท่ากับ Reaction Time
11.9 ทิศทางของการส่งข้อมูล 3. การส่งข้อมูลแบบสองทางหรือฟูลดูเพล็กซ์ (Full Duplex) - ดังนั้น System Turnaround Time ของการส่งข้อมูลแบบ Full Duplex จึงมีค่าน้อยกว่า System Turnaround Time ของการส่งข้อมูลแบบทางใดทางหนึ่ง - ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบนี้ เช่น ระบบโทรศัพท์
11.10 มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล ในระบบการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์ของผู้ส่งและอุปกรณ์ของผู้รับ จะต้องใช้วิธีการส่งข้อมูล (Transmission) การเชื่อมต่อ (Interface) การเข้ารหัส (Encoding) และวิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูล (Error Detection) ในรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกที่ผู้ใช้อุปกรณ์การสื่อสาร สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะสื่อสารกันได้หรือไม่ ดังนั้น จึงได้มีมาตรฐานสากลสำหรับการสื่อสารข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
11.10 มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล 1. มาตรฐานโดยนิตินัยหรือมาตรฐานแบบเดอ ยึอเร (De Jure Standard) แบบเดอ ยึอเร เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลตอบแทน ซึ่งมาตรฐานต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการที่ผ่านการประชุมเห็นชอบ มีการวางแผนการไว้ล่วงหน้าเป็นการกำหนดเพื่อคนส่วนใหญ่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบเปิด 2. มาตรฐานโดยพฤตินัยหรือมาตรฐานแบบเดอ ฟัคโต (De Facto Standard) แบบเดอ ฟัคโต เป็นมาตรฐานที่ไม่มีคณะกรรมการ แต่เกิดจากผู้มีความนิยมในผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มพีซี ได้เป็นมาตรฐานของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เกิดจากโครงการ ARPRANET ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบปิด
11.11 องค์กรมาตรฐาน องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล มีดังนี้ คือ 1. สถาบันแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANCI) เป็นองค์กรอิสระไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่ได้รับเงินอุดหนุนจากสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองให้ตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ปัจจุบันที่กำลังได้รับความสนใจ คือ ด้านการสื่อสารข้อมูล เช่น การเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายไอเอสดีเอ็น (ISDN) และสถาปัตยกรรมเครือข่ายใยแก้วนำแสง (SONET) ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ของสถาบันนี้คือ
11.11 องค์กรมาตรฐาน 1. กำหนดมาตรฐานหรือกำหนดลักษณะของระบบการผลิตสัญญาณและรับสัญญาณในระบบหารสื่อสารทั่วไป 2. กำหนดคุณภาพและคุณลักษณะของข้อมูลที่ส่งออกไป 3. ให้บริการเกี่ยวกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคณะกรรมการของสถาบันนี้ทำการค้นคว้าด้านการสื่อสารข้อมูลและคณะกรรมการด้านคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูล มาตรฐานของสถาบันแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ รหัสแทนข้อมูลแบบแอสกี (ASCII)
11.11 องค์กรมาตรฐาน องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล มีดังนี้ คือ 1. สถาบันแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANCI) เป็นองค์กรอิสระไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่ได้รับเงินอุดหนุนจากสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองให้ตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ปัจจุบันที่กำลังได้รับความสนใจ คือ ด้านการสื่อสารข้อมูล เช่น การเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายไอเอสดีเอ็น (ISDN) และสถาปัตยกรรมเครือข่ายใยแก้วนำแสง (SONET) ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ของสถาบันนี้คือ
11.11 องค์กรมาตรฐาน - กำหนดมาตรฐานหรือกำหนดลักษณะของระบบการผลิตสัญญาณและรับสัญญาณในระบบสื่อสารทั่วไป - กำหนดคุณภาพและลักษณะของข้อมูลที่ส่งออกไป - ให้บริการเกี่ยวกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคณะกรรมการของสถาบันนี้ทำการค้นคว้าด้านการสื่อสารข้อมูล คือคณะกรรมการด้านคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูล มาตรฐานของสถาบันแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ รหัสแทนข้อมูลแบบ แอสกี (ASCII)
11.11 องค์กรมาตรฐาน 2. องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Standard Organization: ISO) องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ได้กำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสามาชิกจากประเทศต่าง ๆ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สินค้าและบริการมีมาตรฐานเดียวกันที่ใช้ได้ทั่วโลก เพื่อทำให้ผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น วิธีการกำหนดมาตรฐาน จะทำในลักษณะที่เป็นแบบจำลอง (Model) เช่น ISO 9002 หมายถึง มาตรฐานการทำงานบริการ ISO 14000 หมายถึง มาตรฐานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
11.11 องค์กรมาตรฐาน การกำหนดมาตรฐาน ด้านการสื่อสารข้อมูลและมาตรฐานทางกายภาพของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีคณะกรรมการ 2 ชุด คือ 1. ISO/TC97/SC6 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานด้านการสื่อสารข้อมูล 2. ISO/TC97/SC16 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย โดยกำหนดมาตรฐานระบบเปิด (Open System Interconnection: OSI) หรือเรียกว่า OSI Model
11.11 องค์กรมาตรฐาน 3. สหภาพความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยโทรคมนาคม (International Telecommunication Union: ITU) องค์กรที่กำหนดมาตรฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรศัพท์ โทรเลข และอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ซึ่งเดิมองค์กรนี้ เรียกว่า CCITT โดยก่อตั้งประมาณปี ค.ศ. 1970 และหลังจากวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1993 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ITU
11.11 องค์กรมาตรฐาน 4. สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineer: IEEE) เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานการสื่อสาร โดยมีจุดมุ่งหมายในการกำหนดทฤษฎีและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาใช้กับงานซอฟต์แวร์ในระดับชั้นกายภาพ (Physical Layer) และระดับชั้นเชื่อมต่อ(Data Link Layer) มาตรฐานที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น มาตรฐานเกี่ยวกับเครือข่ายท้องถิ่น
11.11 องค์กรมาตรฐาน 5. สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า (Electronics Institute Association: EIA) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจคล้ายกับองค์กร ANSI โดยมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานสำหรับวงจรไฟฟ้า เช่น - กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อหรืออินเตอร์เฟซ - กำหนดรายละเอียดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร ขนาดแรงดันไฟฟ้า ตัวอย่างมาตรฐานที่ทางสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่กำหนดขึ้น เช่น EIA232 หรือ RS232 ที่เป็นการสื่อสารแบบอนุกรมระหว่างอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์กับโมเด็ม