จัดทำข้อมูลวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การแพ้ยา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Acute Diarrhea.
Advertisements

รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประจำปีงบประมาณ 2550
การแพ้ยาข้ามกลุ่ม.
รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประจำปีงบประมาณ 2551
Systemic Lupus Erythmatosus
การเก็บสิ่งส่งตรวจ สำหรับตรวจวัดระดับยาและสารพิษในตัวอย่างชีววัตถุ
Pawitra Pulbutr M.Sc. in Pharm (Pharmacology)
Systemic Lupus Erythmatosus
ศ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ สังกัด : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
สรุปผลเยี่ยมดูงาน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง สมเหตุผลในโรคติดเชื้อทางเดิน
มุ่งสู่ฝันและความเป็นหนึ่ง
รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
นศ.ภ.จันทร์นภัสสร์ ชะตาคำ
Patient profile หลังผู้ป่วยฉีด telebrix ประมาณ 5 นาที เกิดผื่นขึ้นตามตัว แพทย์วินิจฉัยแพ้ระดับ mild ประเมินความสัมพันธ์ระดับ probable.
6. VASCULITIS PONGSAK MAHANUPAB,M.D. Department of Pathology
CHAPTER 1 INTRODUCTION TO JAVA WEB PROGRAMMING Wattanapong suttapak, Software Engineering, school of Information communication Technology, university of.
Diabetes mellitus By kraisorn inphiban.
Grand round.
Karoon Ramkaroon, Resident 2 nd year. Patient information  หญิงไทย คู่ อายุ 40 ปี  อาชีพ ค้าขาย  ภูมิลำเนา อ. รัษฎา จ. ตรัง  Chief complaint  แน่นหน้าอก.
Consult the expert ? Thank you การดูผลการตรวจ serology ของ hepatitis B virus ดูอย่างไรคะ ?
(blood group) หมู่เลือด B+ AB- O- A+ B- AB+ O+ A-
Thalassemia Sudawadee Ekwitayawechnukul, MD. Thalassemia Treatment Complication of thalassemia Complication of secondary hemochromatosis Iron chelation.
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
Microsoft® Office SharePoint® Server 2007 การฝึกอบรม
การแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย ข้าราชการ
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบรามการทุจริต
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
มาตรฐานที่ ๒ การให้บริการวัคซีน
Intern Kittipos Wongnisanatakul
Andrographis paniculata
การประเมินการใช้ยา ( Drug Use Evaluation,DUE )
ระบบของร่างกายที่มีกลไกการป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
การส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ในโรงพยาบาล RDU Hospital
ยาที่ใช้ในโรคข้อเสื่อม
Bc312 การพัฒนาโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome
ภก.สุทธินันท์ เอิกเกริก กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพ้ยาและ ผลของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
The Child with Renal Dysfunction
อาจารย์ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
อ. ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
ICD 10 TM for PCU ศวลี โสภา เจ้าพนักงานเวชสถิติชำนาญงาน โรงพยาบาลสตูล.
รู้เท่าทัน... พนมพร ห่วงมาก พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
งานก่อสร้างฯ / ซ่อมแซมฯ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง และสาธารณูปโภค
งานเงินสมทบ การตรวจสอบ และงานกฎหมาย
ขอเชิญร่วมฟังบรรยายพิเศษ
การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
พญ.ช่อทิพย์ วัฒนสุทธิพงศ์
กลไกการตอบสนองของร่างกายแบบไม่จำเพาะ และแบบจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม
Drug-Drug Interaction
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร
โครงการกำจัดโรคหัด.
โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนหรือของโครโมโซมโครโมโซม  ตั้งแต่แรก เกิดหรือตั้งแต่ปฏิสนธิ หรืออาจเกิดการผิดปกติได้ในภายหลัง ทำให้มีผลเกิดภาวะผิดปกติทางร่างกาย.
กลุ่มอาการแพ้ยาที่รุนแรง
การใช้ยา.
พญ. พิชญานันท์ คู่วัจนกุล กุมารแพทย์ สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็ง
Rational Drug Use (RDU)
อาการของมะเร็งเต้านม ที่กลับเป็นซ้ำ และ หรือ แพร่กระจาย
ความเป็นพิษ อันตราย และการปฐมพยาบาล
การรักษาโรคเบื้องต้น (Primary Medical Care)
จงลุกขึ้น ... ฉายแสง ภารกิจที่ท้าทาย ผู้วินิจฉัย 6: 12.
6. VASCULITIS Department of Pathology Faculty of Medicine
รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care
Blood transfusion reaction
ใบสำเนางานนำเสนอ:

จัดทำข้อมูลวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การแพ้ยา การฝึกปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมโรงพยาบาล โรงพยาบาลหัวหิน นศภ.ภัทราภรณ์ จันทรานภาภรณ์ และ นศภ.เอกพล ธนูวัฒนา

ความเป็นมาและเหตุผลในการทำโครงการ การแพ้ยา คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ อันเกิดจากการใช้ยา และเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาในขนาดปกติเพื่อป้องกัน วินิจฉัย รักษา หรือเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย โดยไม่รวมปฏิกิริยาที่เกิดจากการใช้ยาเกินขนาด โดยทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ การใช้ยาในทางที่ผิด หรือการใช้ยาโดยผิดวิธี เหตุผลที่จัดทำโครงการ เกิดได้บ่อย ทุกเพศทุกวัยทุกคน ระดับความรุนแรง น้อย-รุนแรง อันตรายถึงชีวิต ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

เปรียบเทียบความหมายของ drug allergy กับ คำนิยามของ ADR และ side effect ที่กำหนดโดย WHO ประเภท ความหมาย Drug allergy ปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ADR การตอบสนองต่อยาที่เป็นอันตรายและไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในขนาดการใช้ปกติในมนุษย์ โดยไม่รวมถึงการได้รับยาเกินขนาด หรือ การจงใจใช้ยาในทางที่ผิดจนเกิดอันตราย Side effect ผลใดๆ ที่ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นจากเภสัชภัณฑ์ (pharmaceutical product) ซึ่งเกิดขึ้นในการใช้ตามขนาดปกติในมนุษย์ และสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา

ความแตกต่างระหว่าง Adverse drug reaction (ADR) กับ Adverse drug event (ADE) ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ADE เป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาด้วยยา แต่อาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับยาก็ได้ ไม่ว่าจะเกิดจากการใช้เกินขนาด โดยจงใจหรืออุบัติเหตุ การใช้ในทางที่ผิด

ADE ADR Drug allergy S/E

ADR การแบ่งประเภทของ ADR มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.การแบ่งเป็น Type A และ Type B 2.การแบ่งตามกลไกการเกิดปฏิกิริยามี 2 แบบ คือ 2.1 Immunologic type 2.2 Non-immunologic type

เปรียบเทียบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาชนิด type A และ type B สัมพันธ์กับขนาดยา ไม่สัมพันธ์กับขนาดยา เป็นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ทำนายได้ ไม่สามารถทำนายฤทธิ์การเกิดได้ด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ส่วนใหญ่พบตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยทดลองยาในสัตว์ ไม่พบในขั้นตอนการวิจัยทดลองยาในสัตว์ พบบ่อย มีโอกาสทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้มาก แต่อาการที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรง โอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อย พบน้อย แต่อาการที่เกิดขึ้นมักรุนแรง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง รักษาโดยการลดขนาดยา รักษาโดยการหยุดยา

ตัวอย่างของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา type A และ type B Chlorpromazine Sedation Stevens-Johnson syndrome, Chloestatis jaundice Naproxen Gastrointestinal hemorrhage Agranulocytosis, Urticaria Phenytoin Ataxia Hepatitis, Lymphadenopathy, Toxin epidermal necrolysis Thiazines Hypokalemia Thrombocytopenia Warfarin Bleeding Breast necrosis

ADR การแบ่งประเภทของ ADR มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.การแบ่งเป็น Type A และ Type B 2.การแบ่งตามกลไกการเกิดปฏิกิริยามี 2 แบบ คือ 2.1 Immunologic type 2.2 Non-immunologic type

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic แบ่งออกเป็น 4 type คือ Type I (IgE-mediated) Type II (Cytotoxic) Type III (Immune complex) Type IV (cell-mediated หรือ delayed)

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type I อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type I (IgE-mediated) ในการรับยาครั้งแรก ยากระตุ้นให้สร้าง IgE ที่จำเพาะต่อยา IgE เกาะที่ผิวของ mast cell เมื่อร่างกายมี IgE จับที่ mast cell พร้อมแล้ว ร่างกายได้รับยาเดิมที่เคยกระตุ้นการสร้าง IgE ยาจะจับกับ IgE บน mast cell ทำให้มีการหลั่ง histamine และสารที่ทำให้เกิดอักเสบ อาการจะเกิดขึ้นที่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ายาไปทำปฏิกิริยากับ mast cell ที่มี IgE ตรงจุดใด Urticaria, Angioedema, Bronchospasm, Pruritus, Vomiting, Diarrhea, Anaphylaxis หลังจากรักษาเป็นนาที หรือ ชั่วโมง

Type I (IgE-mediated)

Type I (IgE-mediated)

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type I อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type I (IgE-mediated) ในการรับยาครั้งแรก ยากระตุ้นให้สร้าง IgE ที่จำเพาะต่อยา IgE เกาะที่ผิวของ mast cell เมื่อร่างกายมี IgE จับที่ mast cell พร้อมแล้ว ร่างกายได้รับยาเดิมที่เคยกระตุ้นการสร้าง IgE ยาจะจับกับ IgE บน mast cell ทำให้มีการหลั่ง histamine และสารที่ทำให้เกิดอักเสบ อาการจะเกิดขึ้นที่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ายาไปทำปฏิกิริยากับ mast cell ที่มี IgE ตรงจุดใด Urticaria, Angioedema, , Anaphylaxis, Bronchospasm, Pruritus, Vomiting, Diarrhea หลังจากรักษาเป็นนาที หรือ ชั่วโมง

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type II อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type II (Cytotoxic) ในการรับยาครั้งแรก ยากระตุ้นให้สร้าง IgG หรือ IgM ที่จำเพาะต่อยา เมื่อร่างกายมี IgG หรือ IgM ที่จำเพาะต่อยาได้เพียงพอแล้ว และได้รับยานั้นอีก ยาจะไปจับที่ เมมเบรนของเซลล์ หลังจากนั้น IgG หรือ IgM ในกระแสเลือดจะทำปฏิกิริยากับยาที่จับอยู่บนเมมเบรนของเซลล์ และทำให้เซลล์แตก Hemolytic anemia, Neutropenia, Thrombocytope-nia ไม่แน่นอน

Type II (Cytotoxic)

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type II อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type II (Cytotoxic) ในการรับยาครั้งแรก ยากระตุ้นให้สร้าง IgG หรือ IgM ที่จำเพาะต่อยา เมื่อร่างกายมี IgG หรือ IgM ที่จำเพาะต่อยาได้เพียงพอแล้ว และได้รับยานั้นอีก ยาจะไปจับที่ เมมเบรนของเซลล์ หลังจากนั้น IgG หรือ IgM ในกระแสเลือดจะทำปฏิกิริยากับยาที่จับอยู่บนเมมเบรนของเซลล์ และทำให้เซลล์แตก Hemolytic anemia, Neutropenia, Thrombocytope-nia ไม่แน่นอน

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type III อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type III (Immune complex) ในการรับยาครั้งแรก ยาจับกับโปรตีนในร่างกาย และกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง antibody เมื่อร่างกายสร้าง antibodyที่จำเพาะต่อยาได้เพียงพอแล้ว และได้รับยานั้นอีก ยาจะจับกับ antibody ได้เป็น antigen-antibody complex และไปเกาะตามเนื้อเยื่อ เมื่อมีการกระตุ้น complement จะมีการทำลายเนื้อเยื่อเหล่านี้ Serum sickness (Fever, Rash, Arthralgias, Lymphadenopathy, Urticaria, Glomerulo-nephritis, Vasculitis) 1-3 สัปดาห์ หลังการรักษา

Type III (Immune complex)

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type III อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type III (Immune complex) ในการรับยาครั้งแรก ยาจับกับโปรตีนในร่างกาย และกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง antibody เมื่อร่างกายสร้าง antibodyที่จำเพาะต่อยาได้เพียงพอแล้ว และได้รับยานั้นอีก ยาจะจับกับ antibody ได้เป็น antigen-antibody complex และไปเกาะตามเนื้อเยื่อ เมื่อมีการกระตุ้น complement จะมีการทำลายเนื้อเยื่อเหล่านี้ Serum sickness (Fever, Rash, Arthralgias, Lymphadenopathy, Urticaria), Glomerulo-nephritis, Vasculitis 1-3 สัปดาห์ หลังการรักษา

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type IV อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type IV (cell-mediated หรือ delayed) ในการรับยาครั้งแรก ยากระตุ้นให้ T-lymphocyte กลายเป็น sensitized T-lymphocytes เมื่อร่างกายมี sensitized T-lymphocytes พอแล้วในการได้รับยานี้ครั้งต่อไป major histocompatibility complex จะส่งยาให้กับ sensitized T-lymphocytes ทำให้มีการหลั่ง cytokines และสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ Allergic contact dermatitis, maculo - papular rash , fixed drug eruption , erythema nodosum , lichenoid eruption 2-7 วัน หลังจากได้ยา สัมผัสยาทางผิวหนัง

Type IV (cell-mediated หรือ delayed)

กลไกการเกิด ADR ชนิด Immunologic type IV อาการทางคลินิก เวลาที่เกิดอาการ Type IV (cell-mediated หรือ delayed) ในการรับยาครั้งแรก ยากระตุ้นให้ T-lymphocyte กลายเป็น sensitized T-lymphocytes เมื่อร่างกายมี sensitized T-lymphocytes พอแล้วในการได้รับยานี้ครั้งต่อไป major histocompatibility complex จะส่งยาให้กับ sensitized T-lymphocytes ทำให้มีการหลั่ง cytokines และสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ Allergic contact dermatitis, maculo - papular rash , fixed drug eruption , erythema nodosum , lichenoid eruption 2-7 วัน หลังจากได้ยา สัมผัสยาทางผิวหนัง

ADR การแบ่งประเภทของ ADR มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.การแบ่งเป็น Type A และ Type B 2.การแบ่งตามกลไกการเกิดปฏิกิริยามี 2 แบบ คือ 2.1 Immunologic type 2.2 Non-immunologic type

กลไกการเกิด Non-immunologic type แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1.แบบที่สามารถทำนายฤทธิ์ของการเกิดได้ (Predictable) 2.แบบที่ไม่สามารถทำนายฤทธิ์ของการเกิดได้ (Unpredictable)

ชนิด กลไกการเกิด แบบที่สามารถทำนายฤทธิ์ของการเกิดได้ (Predictable) ขึ้นอยู่กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาแต่ละชนิด แบบที่ไม่สามารถทำนายฤทธิ์ของการเกิดได้ (Unpredictable) 1. Pseudoallergic reaction อาการคล้ายกับการแพ้ยาแบบ type I แต่กลไกของการเกิดไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือ IgE เพราะเกิดจากยาไปกระตุ้นที่ mast cell ให้ปล่อย histamine โดยตรง 2. Idiosyncratic reaction เกิดจากความผิดปกติในการตอบสนองต่อยา ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของผู้ป่วย อาการที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา และไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกัน 3. Intolerance เป็นภาวะที่ร่างกายไวต่อภาวะตอบสนองฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มากกว่าคนอื่น ทำให้เมื่อได้รับยาในขนาดยาน้อยกว่าปกติ ก็เกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นได้

ตัวอย่างและกลไกการเกิด ADR ชนิด Non-immunologic type 1. Predictable Pharmacologic side effect ปากแห้ง จาก antihistamine Secondary pharmacologic side effect Thrush จากการใช้ antibiotics Drug toxicity Hepatotoxicity จาก methotrexate Drug-drug interactions Seizure จาก theophylline เมื่อใช้ร่วมกับ erythromycin Drug overdose Seizure จากการได้รับ lidocaine เกินขนาด

ตัวอย่างและกลไกการเกิด ADR ชนิด Non-immunologic type 2. Unpredictable Pseudoallergic reaction Bronchospasm จะพบมากในผู้ใหญ่ที่เป็นหอบหืด ภายหลังได้รับ NSAIDs Idiosyncratic reaction Hemolytic anemia ในผู้ป่วยที่พร่องเอนไซม์ glucose-6-phosphate dehydrogenase เมื่อได้รับยา primaquine, aspirin Intolerance Tinnitus หลังจากได้รับ aspirin ในขนาดปกติหรือต่ำกว่าปกติเพียง 1 ครั้ง

ตัวอย่างผื่นต่างๆ

Maculo-papular rash (MP rash) ลักษณะ มี 2 ลักษณะรวมอยู่ด้วยกัน แบบที่ 1 รอยแดงหรือจุดแดงขนาดเล็กรวมกันจนเป็นปื้นขนาดใหญ่ แบบที่ 2 ตุ่มนูนแดงหรือปื้นนูนแดง เมื่อเอามือลูบจะสัมผัสได้ ระยะเวลาในการเกิด -มักเกิดหลังได้รับยาประมาณ 1 สัปดาห์ อาการ - คัน (ถ้าไม่มีอาการคันจะมีโอกาสเป็นผื่นแพ้ยาได้น้อยลงมาก)

Macolu-papular rash (MP rash)

Maculo-papular rash (MP rash) การกระจายตัว - บริเวณลำตัวมันจะพบได้บ่อยและมากกว่าบริเวณอื่น ๆ - ผื่นมันจะเป็นทั้งสองข้างของร่างกายเท่า ๆ กัน - มักไม่พบผื่นชนิดนี้บริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น ในช่องปาก เยื่อบุตา อวัยวะเพศ สาเหตุ - อาหาร เช่น ไข่ ถั่ว นม ปลา อาหารทะเล ข้าวสาลี เป็นต้น - ยา เช่น antibiotic, aspirin, NSAIDs เป็นต้น - พิษจากแมลงบางชนิด เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มด เป็นต้น

Urticaria ลักษณะ -ระยะแรกปรากฏเป็นจุดแดงหรือรอยแดงๆมาก่อน จากนั้นผื่นจะขยายใหญ่ขึ้น มีขอบยกนูน ขอบของผื่นมักจะเป็นยัก ๆ - มีอาการคัน ระยะเวลาในการเกิด -ผื่นลมพิษมักเกิดขึ้นเร็วมาก ใช้เวลาไม่กี่นาทีภายหลังได้รับยาหรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ - ผื่นจะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มปรากฏจนกระทั่งหายเป็นผิวปกติไม่เกิน 24 ชั่วโมง

Urticaria

Angioedema ลักษณะ - จะเป็นผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นเฉพาะบางส่วนของร่างกาย - อาการบวมจะลึกถึงชั้นหนังแท้ และชั้นไขมัน - ตำแหน่งที่เกิดมักจะอยู่ บริเวณใบหน้า หนังตา ลิ้น อวัยวะเพศ - ไม่ค่อยพบบริเวณแขนหรือขา ผื่นมักไม่คัน ระยะเวลาในการเกิด -มักเกิดหลังได้รับภายในเวลาไม่กี่นาที แต่บางรายอาจใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือหลายวันก็ได้

Angioedema

สาเหตุของโรค - Urticaria และ Angioedema อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ - แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล, ไข่, ถั่ว, นม ฯลฯ - แพ้ยา เช่น ACE inhibitors, penicillin, aspirin และ NSAIDs - แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ เช่น แมลง, เกสรดอกไม้, ไรฝุ่น - การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส - โรคที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคข้ออักเสบ , โรคธัยรอยด์, โรค SLE - ความเครียด อาจกระตุ้นให้อาการกำเริบ - ภาวะทางกายภาพ เช่น ความเย็น, ความร้อน, การออกกำลังกาย,การกดทับ, การเสียดสี, แสงแดด อาจกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ด้วยในบางราย

Exfoliative dermatitis ลักษณะ - เป็นโรคผิวหนังที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังที่เป็นอยู่เดิมและต่อมาลุกลามจนเป็นทั่วร่างกาย เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรืออาจเนื่องมาจากโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม เช่น โรคมะเร็งต่างๆ โรคเอดส์ เป็นต้น

Exfoliative dermatitis

Exfoliative dermatitis - ในระยะแรกผิวหนังมีลักษณะแดงคล้ายกับแพ้ยาแบบ Maculopapular rash โดยเริ่มจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายก่อน ต่อมาจะค่อยๆลุกลามและลอกหลุดเป็นขุยแห้งๆ จนทั่วร่างกาย ผิวหนังจะแดงและดูเป็นมันเงา - ผิวหนังบางแห่งอาจมีการอักเสบมากและมีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม ผู้ป่วยอาจรู้สึกคันแต่ไม่มีอาการแสบร้อนหรือเจ็บผิวหนัง ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจาก Toxic epidermal necrolysis (TEN) - บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าจะมีขุยสะสมเป็นปื้นหนา เล็บมือและเล็บเท้าจะหนาและเป็นสีคล้ำขึ้น จากนั้นเล็บจะค่อยๆหลุดออก - หนังศีรษะลอกคล้ายเป็นรังแค ผมค่อยๆหลุดล่วงจนทำให้เห็นผมบางชัดเจน

Allergic contact dermatitis - โรคผื่นแพ้จากการสัมผัส Contact dermatitis การแพ้ชนิดนี้เป็นแบบ T-cell mediated reactionโดยเฉลี่ยผู้ใหญ่จะใช้สารเคมีกับร่างกายอย่างน้อย 7 ชนิดได้แก่ น้ำหอม moisturizers, ครีมกันแสง, สบู่, ครีมนวดผมหรือแชมพูสระผม - เกิดหลังจากสัมผัสเป็นระยะเวลามากกว่า 1 สัปดาห์ - ลักษณะจะเป็นผื่นแดง คัน และอาจจะมีถุงน้ำ เช่นการแพ้สายรองเท้า สายนาฬิกา

Allergic contact dermatitis

Stevens-Johnson syndrome และ Toxin epidermal necrolysis ลักษณะ - พบไม่บ่อย แต่จัดเป็นลักษณะผื่นแพ้ยาที่รุนแรง - เริ่มแรกผื่นจะคล้าย MP rash ต่อมาผื่นจะพองกลายเป็นตุ่มน้ำและหลุดลอกออกอย่างรวดเร็วกลายเป็นแผ่นใหญ่ๆ เป็นแผลตื้น ๆ มีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมๆ คล้ายกับโดนน้ำร้อนลวก - มีผลต่อเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุในปาก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ตา โดยมักเกิดขึ้นมากกว่า 2 แห่ง - ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดกับอวัยวะภายใน เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร ปอดอักเสบ เป็นต้น

พื้นที่ผิวหนังมีการหลุดลอก Stevens-Johnson syndrome และ Toxin epidermal necrolysis ข้อแตกต่าง SJS TEN พื้นที่ผิวหนังมีการหลุดลอก น้อยกว่า 10% มากกว่า 30% ยาที่มักเป็นสาเหตุสำคัญ ได้แก่ - ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Sulfa เช่น Co-trimoxazole - ยารักษาอาการเกี่ยวกับข้อและกระดูก เช่น Ibuprofen , piroxicam , Allopurinol - ยากันชักและยาจิตเวช เช่น Phenytoin , Carbamazepine

Stevens-Johnson syndrome

Toxin epidermal necrolysis

Fixed – drug eruption ลักษณะ - ผื่นมีรูปร่างกลมหรือรี ขอบชัดเจน ระยะแรกเริ่มจะมีสีแดงจัด ต่อมาตรงกลางของผื่นอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำหรือออกม่วงๆ - ถ้าผู้ป่วยมีอาการแพ้มาก บริเวณตรงกลางของผื่นอาจพองเป็นตุ่มน้ำก็ได้ มีอาการแสบๆ คันๆ บริเวณที่เป็นผื่น - หากผู้ป่วยได้รับยาเดิมที่แพ้อีกในครั้งต่อไป ก็จะต้องเกิดผื่นซ้ำตรงตำแหน่งเดิมทุกครั้ง และอาจมีผื่นในบริเวณใหม่เกิดขึ้นได้

Fixed – drug eruption ระยะเวลาในการเกิด - ผื่นจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับยาที่แพ้ประมาณ 30 นาที แต่ไม่ค่อยเกิน 24 ชั่วโมง การกระจายตัว - ผู้ป่วยมักเกิดผื่น 1-2 ผื่น บางรายอาจมีมากกว่า 10 ผื่นได้ อย่างไรก็ตามบริเวณที่เคยปรากฏผื่นก็ยังคงมีผื่นเช่นเดิม - เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจะทิ้งรอยดำคล้ำไว้ชัดเจน บางรายอยู่นานหลายเดือน รอยดำของ Fixed drug eruption มักมีรูปร่างกลมหรือรีๆ

Fixed – drug eruption

Anaphylaxis เป็นปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงที่กระทบระบบของร่างกายหลายระบบรวมทั้ง ผิวหนัง ทางเดินลมหายใจ ระบบหลอดเลือด และระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการแสดงได้ในหลายระบบ โดยอาจเกิดพร้อมกันหรือเกิดเพียงบางระบบก็ได้ อาการและอาการแสดง - ทางผิวหนัง เช่น คัน ผื่นแดง ผื่นลมพิษ และ angioedema - ทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมตีบ กล่องเสียงบวม - ทางเดินอาหาร เช่นคลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งในท้อง และท้องเสีย - ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น hypotension, ventricular tachycardia (หัวใจเต้นเร็วหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ) - ระบบประสาท เช่น หมดสติ - ระบบขับถ่าย เช่น ปัสสาวะไม่ออก

Anaphylaxis สาเหตุ - อาหาร เช่น ไข่ ถั่ว นม ปลา อาหารทะเล ข้าวสาลี เป็นต้น - ยา เช่น antibiotic, aspirin, NSAIDs, general anesthetic agent, opioide, insulin, protamine, strepkinase, blood products เป็นต้น - พิษจากแมลงบางชนิด เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มด เป็นต้น - อื่นๆ เช่น เจลาติน การมีรอบเดือน การออกกำลังกาย

วัตถุประสงค์ของโครงงาน เพื่อพัฒนาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารวิชาการ ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา โรงพยาบาลหัวหิน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เผยแพร่ข้อมูลการแพ้ยาที่มีประโยชน์ให้แก่ผู้สนใจซึ่งเป็นประชาชนทุกระดับ

วิธีดำเนินโครงการ รูปแบบของการดำเนินโครงการ ทบทวนวรรณกรรมข้อมูลการแพ้ยาและนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำลงเว็บไซต์ การนำเสนอ รูปแบบเว็บไซต์ โดยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX

Macromedia Dreamweaver MX Macromedia Dreamweaver MX คือโปรแกรมหรือเครื่องมือ ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซด์ระดับมืออาชีพ มีความสามารถในการใช้สร้าง ออกแบบ เขียนโค้ด เว็บเพ็จ บริหารจัดการเว็บไซต์ และเว็บแอพพลิเคชั่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดงาน ลดเวลาในการพัฒนาเว็บเพ็จ โดยสามารถสร้างโค้ดได้หลายภาษา เช่น HTML, PHP, ASP, JSP ฯ และสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้หลายฐานข้อมูล เช่น MySQL, PostgreSQL, MS Access, MS SQL Server ฯ โดยที่ผู้ออกแบบเว็บเพ็จ ไม่จำเป็นต้องมีความความรู้ด้านภาษาและการจัดการฐานข้อมูล หรือมีความรู้เพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างเว็บเพ็จได้อย่างรวดเร็ว

ขอบเขตของโครงงาน พื้นที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา โรงพยาบาลหัวหิน ระยะเวลาข้อมูลที่ศึกษา 25 พฤศจิกายน เนื้อหาโครงงาน ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 : บทนำ ส่วนที่ 2 : วิธีดำเนินโครงงาน ส่วนที่ 3 : ผลลัพธ์การดำเนินโครงงาน ส่วนที่ 4 : สรุปและอภิปรายผลโครงงาน ส่วนที่ 5 : ข้อเสนอแนะ

แผนกเภสัชกรรม ADR

เอกสารอ้างอิง ธิดา นิงสานนท์, จันทิมา โยธาพิทักษ์. ตรงประเด็นเรื่อง Adverse Drug Reaction. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), 2549. 200 หน้า จันทิมา โยธาพิทักษ์, ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ. ตรงประเด็นเรื่อง Adverse Drug Reaction 2: การประเมินผื่นแพ้ยา. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), 2551. 264 หน้า Achara Srisodsai. Adverse drug reaction (ADR) and Drug allergy. Pharmaceutical Sciences: Khon Kaen University [Online: http://www.slideshare.net/MedicineAndHealth/adverse-drug-reactions-and-drug-allergy-adverse-drug-reactions-and-drug-allergy]