งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Rational Drug Use (RDU)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Rational Drug Use (RDU)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Rational Drug Use (RDU)
การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

2 Rational Drug Use (RDU)
1.ข้อบ่งชี้ (indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น 2. ประสิทธิผล (efficacy) เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง 3. ความเสี่ยง (risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ 4. ค่าใช้จ่าย (cost) ใช้ยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า 5. องค์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็น (other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานวิชาการ 6. ขนาดยา (dose) ถูกขนาด 7. วิธีให้ยา (method of administration) ถูกวิธี 8. ความถี่ในการให้ยา (frequency of dose) ด้วยความถี่ในการให้ยาที่เหมาะสม 9. ระยะเวลาในการให้ยา (duration of treatment) ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม 10. ความสะดวก (patient compliance) โดยคำนึงความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วย

3 Antibiotic Smart Use (ASU) การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีเหตุผล
โรงพยาบาลคลองขลุง 27-28 เมษายน 2560

4 เนื้อหา หลักการและเหตุผล กลุ่มโรคที่เป็นเป้าหมาย
- Upper respiratory tract infection - Acute diarrhea - Clean wound

5 ทำไมต้องระวังการใช้ยาปฏิชีวนะ
จน แพ้ ดื้อยา

6 Inappropriate use of antibiotics in teaching hospitals
ที่มา: Slides บรรยายโดย ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล Country Inappropriate use (%) Type/department USA (1978) 41% All inpatients Canada (1980) 63% Pediatric surgical patients Australia (1983) 48% All departments Australia (1990) 64% Patients treated with vancomycin Thailand (1990) 91% Hogerzeil HV. Promoting rational prescribing: An international perspective. Br J Clin Pharmac. 1995;39:1-6

7 ทำไมต้องระวังการใช้ยาปฏิชีวนะ

8 ทำไมต้องระวังการใช้ยาปฏิชีวนะ

9 สถานการณ์ยาปฏิชีวนะในประเทศไทย
รายงาน ADR พบปัญหาจากการใช้ยาฆ่าเชื้อ/ยาปฏิชีวนะสูงเป็นอันดับ 1 อัตราเชื้อดื้อยาเพิ่มสูงถึงร้อยละ 25-50 ขณะที่อัตราเชื้อดื้อยาสูงขึ้น แต่การคิดค้นยาปฏิชีวนะใหม่กลับลดลง ตลาดยาปฏิชีวนะไม่คุ้มทุน เพราะไม่นานก็เกิดเชื้อดื้อยา มูลค่าการผลิตและนำเข้าของยาฆ่าเชื้อ/ยาปฏิชีวนะสูงเป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน คิดเป็น 1.6 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่ายาทั้งหมด คนไทยใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรือ ต่างจังหวัดกินยาปฏิชีวนะรักษาหวัดคิดเป็นร้อยละ และสูงถึงร้อยละ ใน กทม. โรงเรียนแพทย์พบการใช้ยาปฏิชีวนะไม่สมเหตุผลถึง 30-90% วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา คือ หยุดใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรือ จุดเริ่มต้นของโครงการ Antibiotics Smart Use

10

11 Penicillins  อาการไม่พึงประสงค์
ที่มา: Slides บรรยายโดย ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล

12

13

14 เชื้อดื้อยาที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
Methicillin-Resistant Staphylococus aureus ( MRSA ) Penicillin-Resistant Streptococus pneumoniae ( PRSP ) Vancomycin-Resistant Enterococci (VRE) Extended Spectrum Beta-lactamase producing bacteria ( ESBL ) Multidrug Resistant (MDR) Acinetobacter and Klebsiella

15 แล้ว ASU จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร
นโยบาย กำหนดนโยบายและวางแผนการดำเนินงานร่วมถึงการให้ความสนับสนุนงบประมาณและกำลังคน บุคลากรทางการแพทย์ มีความรู้และเจตคติที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วย มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม

16 เป้าหมายโครงการ Antibiotics Smart Use
เป้าหมายหลัก: ลดการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะของบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยนอกที่ป่วยด้วย 3 โรคเป้าหมาย ที่พบบ่อยซึ่งเป็นโรคที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ โรค URI (หวัด-เจ็บคอ) ท้องร่วงเฉียบพลัน แผลเลือดออก เหตุผล - บุคลากรทางการแพทย์ – เพราะเป็นผู้สั่งใช้ยาโดยตรง และเป็นแบบอย่างของการใช้ยาที่ผู้ป่วยและคนรอบข้างมักจดจำไปทำตาม ผู้ป่วยนอก – ผู้ป่วยนอกที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรง และอายุ 2 ปีขึ้นไป จึงไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ 3 โรคเป้าหมาย – เพราะเป็นโรคที่พบบ่อย หายได้เองไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

17 บุคลากรทางการแพทย์ คนไข้ และประชาชนทั่วไป

18 หยุดเรียก“ยาปฏิชีวนะ”ว่า“ยาแก้อักเสบ”
การอักเสบ การอักเสบแบบติดเชื้อ การอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ ภูมิแพ้ โรค SLE ยาสเตียรอยด์ (Steriods) ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ

19

20 Upper Respiratory infection การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

21 Upper respiratory tract infection การติดเชื้อทางเดินหายในส่วนบน
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส ไม่มีผลต่อโรคภูมิแพ้ “ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เพราะไม่ช่วยให้โรคหวัด เจ็บคออักเสบหายเร็วขึ้น” โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยและยาปฏิชีวนะมีประโยชน์ ได้แก่ - โรคต่อมทอนซิลอักเสบหรือโรคคอหอยอักเสบจากเชื้อ Group A beta hemolytic streptococcus (GABSH) - หูน้ำหนวกเฉียบพลัน - โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน

22 Acute Rhinitis (common cold)
อาการไข้ ไอ น้ำมูก สาเหตุ: การติดเชื้อ: Viral (พบบ่อย), bacteria ไม่ใช่การติดเชื้อ: ภูมิแพ้ต่อสารกระตุ้นและอื่นๆ 0.5-2% จะมีโอกาสเกิด acute bacterial sinusitis (ผู้ป่วยหวัด คน อาจจะกลายเป็น sinusitis ได้ 1 คน ) ดังนั้นการรักษาหลักคือการรักษาแบบประคับ ประคอง และอาจให้ยารักษาตามอาการ “ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ”

23 Acute Rhinitis (common cold)
สาเหตุที่ไม่ใช่การติดเชื้อ สารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ละอองเกสร, ไรฝุ่น, ไรสัตว์, อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด สาเหตุอื่นๆที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ บุหรี่, ควัน, ฝุ่น, มลภาวะ. สารซักฟอก. เครื่องสำอาง, สเปรย์ฉีดผม, อากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไป

24 Acute Rhinitis (common cold)
การดูแลรักษาผู้ป่วยเน้นการรักษาแบบประคับประคองหรือตามอาการ - ลดอาการปวดเมื่อย โดยให้ยากลุ่ม analgesic เช่น paracetamol, NSIADs - ลดน้ำมูกใช้ได้ทั้งแบบ local หรือ systemic - การใช้ topical steroid nasal spray - การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ - การให้ยาแก้แพ้ในรายที่มีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย - ยาแก้ไอ ยาปฏิชีวนะ จะพิจารณาให้กรณีเกิดโรคแทรกซ้อนเช่น acute sinusitis หรือ acute otitis media

25 Acute bacterial sinusitis
อาจมีอาการปวดบริเวณโพรงจมูก โหนกแก้ม หรือหน้าผาก ร่วมกับการ เคาะเจ็บ การรักษาให้ยาปฏิชีวนะ amoxicillin, roxithromycin (หรือerythromycin) นาน 7 วัน

26 Acute bacterial sinusitis

27 Acute Streptoccocal gr.A Pharyngitis
พบว่าเป็นสาเหตุของคออักเสบ 50% ของผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 6-17 ปี แต่พบเพียง 10% ในผู้ใหญ่ อาการ: ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เจ็บคอมาก กลืนลำบาก ตรวจร่างกาย: Pharynx: erythema, exudative, anterior cervical enlargement(tender) สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน ถึงจะไม่ได้รับการรักษา

28

29 *****รักษานาน 10 วันเพื่อป้องกัน rheumatic fever*****
ถ้าไม่สามารถเพาะเชื้อ GAS ได้ จะวินิจฉัยอย่างไร และต้องรักษานานถึง 14 วันหรือไม่ ต่อมทอนซิลอักเสบหรือคอหอยอักเสบ จากเชื้อ Group A beta hemolytic streptococcus (GABSH)  มีไข้สูงเช่น 38๐C ร่วมกับอาการเจ็บคอมาก มีจุดขาวที่ต่อมทอนซิล ลิ้นไก่บวมแดง มีฝ้าขาวที่ลิ้น อาจมีจุดเลือดออกที่เพดานปาก ไม่มีอาการของโรคหวัด (เช่น น้ำมูก ไอ จาม ที่เด่นชัด) *****รักษานาน 10 วันเพื่อป้องกัน rheumatic fever*****

30

31

32 ไข้สูง 39๐C หนองที่ต่อมทอนซิล จุดเลือดออกที่เพดานปาก ไม่มีอาการหวัด (น้ำมูก ไอ) ที่เด่นชัด

33

34

35 ยาปฏิชีวนะที่ใช้ Penicillin V 500 mg tid ac ×10 วัน
Amoxicillin 500 mg tid pc ×10-14 วัน เด็ก: mg/kg/day tid ac ×10-14 วัน หากเป็นไซนัสอักเสบให้ มก./กก./วัน วันละ 2-3 ครั้ง Roxithromycin 150 mg bid pc or 300 mg od pc ×10-14 วัน เด็ก: 100 mg bid pc ×10-14 วัน หรือใช้ Erythromycin mg/kg/day qid ac

36

37 กรณีที่อาจให้ยาปฏิชีวนะ : หูชั้นกลางอักเสบ และไซนัสอักเสบ
การมีไข้ ปวดหู โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการหลังจากการเป็นหวัด บ่งชี้ถึงการติดเชื้อในหูชั้นกลาง ซึ่งอาการต่างๆ ดีขึ้นได้ภายใน 72 ชั่วโมง ในผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่โดยไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง - ให้กิน amoxicillin นาน 5 วัน - ให้ Erythromycin (Roxithromycin) หากแพ้เพนิซิลลิน

38 ข้อควรรู้ การมีน้ำมูกหรือเสมหะข้น หรือสีเขียวเหลืองไม่ได้บ่งชี้ว่าต้องทานยาฆ่าเชื้อ อาการไข้สูงเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าต้องทานยาฆ่าเชื้อ เพราะอาจเป็นโรคอื่นได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก

39 Acute Diarrhea ท้องเสียเฉียบพลัน

40 Acute Diarrhea ท้องเสียเฉียบพลัน
โรคท้องร่วง หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือมูกปนเลือด หรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 1 ครั้ง หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่นหรือถ่ายเป็นน้ำมักหมายถึงโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งมีสาเหตุจากการกินสารพิษของแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

41 Acute Diarrhea ท้องเสียเฉียบพลัน
ในจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงประมาณ 1.4 ล้านรายที่กรมควบคุมโรคได้รับรายงานจากสถานพยาบาลต่างๆในปีพ.ศ.2550 มีผู้ป่วยเพียง 19,026 ราย (1.3%) ที่เข้าข่าย “โรคบิด” และควรกินยาปฏิชีวนะ สามารถเพาะเชื้อแบคทีเรียได้จากอุจจาระมีเพียง 5.6 % และมีเพียง 0.3% ที่เข้าข่ายต้องได้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 98 ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ แต่ความจริงพบว่ามีการให้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 85 โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก

42 Acute Diarrhea ท้องเสียเฉียบพลัน
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของ infectious diarrhea ได้แก่ Campylobacter jejuni, Escherichia coli, Salmonellaและ Shigella

43

44 Acute Diarrhea ท้องเสียเฉียบพลัน
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ท้องเสียเฉียบพลัน การให้สารน้ำอย่างพอเพียง และรักษาประคับประคอง ไม่ให้ยาปฏิชีวนะใน อาหารเป็นพิษ หรือ viral infection ให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้ ไข้ 38ºC ขึ้นไป และ อุจจาระมีเลือดปนเห็นได้ด้วยตาเปล่า(มูกเลือด) หรือตรวจพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในอุจจาระ

45 Acute Diarrhea ท้องเสียเฉียบพลัน
ยาฆ่าเชื้อที่ควรใช้คือ norfloxacin - ผู้ใหญ่ 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3-5 วัน - เด็กอนุโลมให้ใช้ norfloxacin ในขนาด15-20 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง ขณะท้องว่าง นาน3-5 วัน ในกรณีที่คาดว่าเชื้อดื้อต่อ co-trimoxazole) ปัจจุบันเชื้อ Shigella ซึ่งเป็นเป้าหมายในการรักษามีความไวต่อ norfloxacin ร้อยละ 100 และไวต่อ co-trimoxazole ประมาณร้อยละ 3-26 (ข้อมูลปี 2007) ยาปฏิชีวนะอื่นๆ เช่น co-trimoxazole และ tetracycline มีความไวต่ำต่อเชื้อเป้าหมาย50 จึงไม่ควรใช้ยกเว้นเพาะเชื้อแล้วพบว่าเชื้อไวต่อยา

46 Antibiotic in Acute Diarrhea

47 ข้อควรรู้ เป้าหมายสำคัญที่สุดในการรักษาไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ แต่เป็นการให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนที่สูญเสียไปกับอุจจาระ ยารักษาตามอาการสามารถให้ได้ เช่น imodium, lomotil เพื่อลดปริมาณการถ่ายแต่ต้องไม่ใช่กับผู้ป่วยกลุ่มถ่ายเป็นมูกเลือด การให้ activated charcoal หรือ ultracarbon สามารถให้ได้ ไม่เป็นพิษ ราคาถูกและช่วยลดความกังวลใจแก่ผู้ป่วย โดยทาน 1-2 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง

48 Lacerated wound แผลเลือดออก

49 Lacerated wound แผลเลือดออก
บาดแผลสะอาด - บาดแผลขอบเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย - บาดแผลที่ไม่มีเนื้อตาย - บาดแผลที่แม้สกปรก แต่สามารถล้างทำความสะอาดได้โดยง่าย - บาดแผลที่ไม่ได้ปนเปื้อนกับสิ่งที่มีแบคทีเรียจำนวนมาก เช่น อุจจาระ มูลสัตว์ น้ำครำ - ไม่นับรวมบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัด แผลถูกกัด บาดแผลที่ยังไม่ติดเชื้อ - เป็นมาแล้วน้อยกว่า 6 ชั่วโมง

50 Lacerated wound แผลเลือดออก
บาดแผลที่มีสิ่งปนเปื้อน - บาดแผลที่ถูกทิ่มเป็นรู ยากแก่การทำความสะอาด - บาดแผลที่มีเนื้อตายเป็นบริเวณกว้าง - บาดแผลที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่ในบาดแผล เช่น เศษดิน ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง - บาดแผลที่กับสิ่งที่มีแบคทีเรียจำนวนมาก เช่น อุจจาระ มูลสัตว์ น้ำครำ

51 Lacerated wound แผลเลือดออก
แผลที่มีความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อ - บาดแผลที่มีสิ่งปนเปื้อน - บาดแผลที่เกิดจากการบดอัด - บาดแผลที่เท้า - บาดแผลที่มีขอบไม่เรียบ หยึกหยัก - บาดแผลในผู้ป่วยเบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดตีบส่วนปลาย ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ รวมถึงผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิเช่น สเตียรอยด์

52 Lacerated wound แผลเลือดออก
เมื่อไรที่ควรจะใช้ยาปฏิชีวนะในแผลเลือดออก - เพื่อป้องกันการติดเชื้อ - แผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ - ถ้ามีการติดเชื้อแล้วมีโอกาสลุกลามอย่างรุนแรง - เพื่อรักษาการติดเชื้อ ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีลักษณะอักเสบชัดเจนหรือเป็นแผลปนเปื้อน

53 Lacerated wound แผลเลือดออก
ดังนั้นควรให้ยาปฏิชีวนะในกรณีดังต่อไปนี้ - กรณีแผลสะอาด โดยเฉพาะมาถึงโรงพยาบาลภายใน 6 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ยกเว้นกรณีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการลุกลาม สามารถให้ยาแบบป้องกัน (prophylaxis) โดยให้ยานาน 2 วัน (ตามแนวทาง ASU) - กรณีแผลที่มีสิ่งปนเปื้อน รวมถึงแผลที่ถูกสัตว์กัด - กรณีแผลที่มีความเสี่ยงที่จะมีการลุกลาม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

54 หลักการให้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อของบาดแผลฉีกขาด
การให้ยาปฏิชีวนะในกรณีนี้เป็นการให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงให้ยานานแค่ 48 ชั่วโมง เมื่อครบ 48 ชั่วโมง หากบาดแผลมีการอักเสบให้ยาต่อไปได้ ดังนั้น ควรมีการนัดตรวจติดตาม เพื่อตรวจดูบาดแผลหลังครบ 48 ชั่วโมง

55 ให้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสะอาดเมื่อ
แผลที่เท้า แผลที่มีขอบหยึกหยัก บาดแผลจากการบดอัด บาดแผลในผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง, ผู้ป่วยหลอดเลือดส่วนปลายตีบ, ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ รวมถึงผู้ป่วยที่ทานยากดภูมิต้านทานเช่น ยา steroid ยาที่ใช้คือ Dicloxacillin Dose : 250 mg qid ac × 2 วัน เด็ก : 125 mg qid ac or mg/kg/day × 2 วัน

56 บาดแผลที่มีสิ่งปนเปื้อน
บาดแผลถูกวัตถุทิ่มเป็นรูซึ่งยากต่อการทำความสะอาดได้ทั่วถึง บาดแผลซึ่งมีเนื้อตายเป็นบริเวณกว้าง บาดแผลซึ่งมีสิ่งสกปรกติดอยู่ในบาดแผล เช่น เศษดิน บาดแผลที่ปนเปื้อนกับสิ่งที่มีแบคทีเรียจำนวนมากเช่น อุจจาระ, มูลสัตว์, น้ำครำ ให้ Antibiotic= Amoxicillin/clavulonic acid หรือ cephalaxine - ผู้ใหญ่ Amoxicillin/clavulonic acid (Augmentin) : 375 mg tid pc or 625 mg bid pc × 3-5วัน - เด็ก: 156 mg tid pc × 3-5 วัน

57 กรณีแพ้ยากลุ่ม penicillin
ในแผลสะอาดสามารถเลือก clindamycin, erythromycin, co-trimoxazole ในแผลที่มีสิ่งปนเปื้อนสามารถเลือก clindamycin, roxithromycinหรือ erythromycin ร่วมกับ metronidazole กรณีสัตว์กัดเลือกใช้ clindamycin ร่วมกับ ciprofloxacin Co-trimoxazole เป็นยาทางเลือกที่สามารถใช้ได้ กรณีที่ไม่มียาอื่น หรือพบว่าติดเชื้อที่มีความไวต่อยา

58 แผลเลือดออก บาดแผลที่ ไม่ต้องให้ antibiotic
บาดแผลเปิดที่มีขอบเรียบ ล้างทำความสะอาดได้ง่าย บาดแผลที่ไม่มีเนื้อตาย บาดแผลที่ไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่ภายในเช่น เศษดิน หากมีก็สามารถล้างออกได้โดยง่าย บาดแผลที่ไม่ปนเปื้อนกับสิ่งที่มีแบคทีเรียจำนวนมากเช่น อุจจาระ, มูลสัตว์, น้ำครำ ไม่ใช่บาดแผลที่มีสิ่งปนเปื้อน บาดแผลที่ต้องให้ antibiotic เพื่อป้องกัน บาดแผลที่มีสิ่งปนเปื้อน บาดแผลจากการบดอัด เช่น โดนประตูหนีบอย่างแรง แผลที่เท้า แผลที่มีขอบหยึกหยัก บาดแผลในผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง, ผู้ป่วยหลอดเลือดส่วนปลายตีบ, ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ รวมถึงผู้ป่วยที่ทานยากดภูมิต้าน ทาน เช่น ยา steroid

59 Antibiotics Smart Use เพื่อใคร
สังคม ลูกหลาน และประเทศชาติ คนไข้ บุคลากรทางการแพทย์ – พรบ. พิจารณาคดีผู้บริโภค

60

61

62

63 แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล

64

65


ดาวน์โหลด ppt Rational Drug Use (RDU)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google