พืชเครื่องดื่ม (Beverage crops) โดย อาจารย์วิทยา แก้วศรี KAAG 211- Science and Technology in Economic Crop Production
21/11/61 วัตถุประสงค์ นักศึกษาสามารถจำแนกกลุ่มของพืชเครื่องดื่ม พร้อมทั้งยกตัวอย่างพืชที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มในเชิงอุตสาหกรรมได้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจ (กญวก 211)
พืชเครื่องดื่ม มีแอลกอฮอล์ ไม่มีแอลกอฮอล์ กระตุ้น (stimulate) สงบระงับ (sedative)
ตัวอย่างพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าว ข้าวโพด อ้อย ตาลโตนด องุ่น ฯลฯ
ตัวอย่างพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ข้าวบาร์เลย์ ชื่อสามัญ : Barley ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hordeum vulgare L. วงศ์ : Poaceae ถิ่นกำเนิด : แถบซีเรียและอิรัก
ตัวอย่างพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ข้าว ชื่อสามัญ : Rice ชื่อพฤกษศาสตร์ : Oryza sativa L. วงศ์ : Poaceae ถิ่นกำเนิด : Gondwanaland
ตัวอย่างพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ข้าวโพด ชื่อสามัญ : Maize, Corn ชื่อพฤกษศาสตร์ : Zea mays L. วงศ์ : Poaceae ถิ่นกำเนิด : แถบอเมริกากลางหรืออเมริกาใต้
ตัวอย่างพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ องุ่น ชื่อสามัญ : Grape ชื่อพฤกษศาสตร์: Vitis vinifera L. วงศ์ : Vitaceae ถิ่นกำเนิด : แถบอัฟกานิสถาน • มีกว่า 100 พันธุ์ แต่มี 9 พันธุ์ทำไวน์ได้ดีมาก ไวท์ที่ได้มีแอลกอฮอล์ 9-14%
ตัวอย่างพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตาลโตนด ชื่อสามัญ : Palmyra palm, Toddy palm, Wine palm ชื่อพฤกษศาสตร์: Borassus flabellifer L. วงศ์ : Palmae ถิ่นกำเนิด: ทวีปแอฟริกาตะวันออก, ชายฝั่งทางตะวันออกของอินเดีย
ตัวอย่างพืชที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา โกโก้ เก๊กฮวย กระเจี๊ยบแดง ฝาง ขิง โคล่า ฯลฯ
สารสำคัญในพืชเครื่องดื่มบางชนิด Pholyphenols คือสารเคมีมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพคือ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดระดับของ cholesterol และ triglyceride ในเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านแบคทีเรีย ไวรัส ป้องกันฟันผุ ฯลฯ theobromine เป็นสารกลุ่มเดียวกับ สารพวก caffeine (ซึ่งมีในจำพวกกาแฟ โกโก้) สาร theobromine นี้เมื่ออยู่ในร่างกายมันจะมีฤทธิ์หลายอย่าง แต่ที่เห็นเด่นๆชัด คือ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งสารที่เรียกกันว่า adrenaline ซึ่งสารตัวนี้จะมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ถ้ากินมากๆ อาจถึงขั้นเป็นพิษได้จะทำให้เกิด อาการ อาเจียน ท้องเสีย หายใจถี่ ฉี่บ่อย กระวนกระวาย และในที่สุดก็ถึงตายได้ caffeine เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ ชา ผลโคล่า คาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาตและสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ คาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้
การกระตุ้นเกิดจากสารสำคัญในพืชที่มีฤทธิ์กระตุ้น Caffeine Theobromine polyphenols 1-1.5 - กาแฟแห้งไม่คั่ว 2.5-4.5 25.0 ใบชาแห้ง 0.6 1.7 3.6 ผงโกโก้ 0.8 2.4 5.2 โกโก้สด 2 โคล่าสด 3-3.5 Guarana แห้ง
ชา
ชา ชื่อพฤกษศาสตร์ : Camellia sinensis วงศ์ : Theaceae ชื่อสามัญ : Tea และ Chinese Tea ชื่อไทย : ใบเมี่ยง, เต๊, ฉ่า และ เต๊ฉ่า แหล่งกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี ไทย ญี่ปุ่น ศรีลังกา รัสเซีย อินโดนีเซีย และ เปรู ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ใบ ซึ่งมีสารประกอบ Cafeine 4%
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก มีรากแก้วหยั่งลึกลงในดิน 15-90 ซม. มีรากฝอยกระจายตัวในบริเวณ 20 ซม. ใบ ใบเดี่ยวยาว 3-30 ซม. เรียงสลับ ปลายใบแหลม แผ่นใบหนาและเหนียว ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ดอก สมบูรณ์เพศ สีขาว หรือขาวอมชมพู ออกตามซอกใบ ก้านดอกสั้น มี 5-7 กลีบ และกลีบเลี้ยง 5-7 กลีบ จำนวน 2-4 ดอกต่อช่อ มีกลิ่นหอม ผล แบบ capsule แบ่งเป็น 3 ช่อง มีเปลือกหนาสีน้ำตาลอมเขียว ผลแก่เต็มที่แห้งและแตก เมล็ด รูปร่างกลม ด้านหนึ่งแบน สีน้ำตาลอ่อน เปลือกเมล็ดบาง
พันธุ์ชา ชาที่ปลูกเป็นการค้าทั่วโลก แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มพันธุ์ ได้แก่ ชาอัสสัม ชาจีน ชาเขมร พันธุ์ลูกผสม
ตลาดชา ใบชาสดสามารถนำมาจำหน่ายได้ 4 แหล่ง คือ พ่อค้ารับซื้อถึงไร่ โรงงานแปรรูปผลผลิตชา โรงงานทำเมี่ยง สหกรณ์การเกษตร
การแบ่งเกรดตามคุณภาพใบชา ยอดชาเกรด 1: ใบชาสดคุณภาพดี เก็บ 2 ใบกับ1 ยอด ยอดชาเกรด 2: ใบชาสดคุณภาพปานกลาง เก็บ 3 ใบ ยอดชาเกรด 3: ใบชาสดคุณภาพต่ำ ส่วนใหญ่เป็นใบแก่
การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวผลผลิตชานิยมใช้มือ โดยเฉพาะยอดสดที่ยังไม่คลี่ (1 ยอด 2 ใบ) เวลาที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยว ควรเป็นช่วง 10.00-14.00 น.
การแปรรูป ผึ่งในร่มเพื่อลดความชื้น คั่วด้วยความร้อน เพื่อหยุดปฏิกิริยาทางเคมีในใบชา ทำให้ใบชาอ่อนนุ่ม นวดให้ใบชาฉีกขาด เพื่อให้สารในใบชาละลายปนกับความร้อนได้ง่าย อบให้แห้ง คัดแยกและบรรจุหีบห่อ ใบชาจีนนิยมแยกก้าน ยอด และใบแก่ แล้วอบอีกครั้ง ส่วนชาฝรั่งจะคัดร่อน บด แยกก้าน แล้วจึงแยกเกรดก่อนบรรจุห่อต่อไป
การแปรรูปชาเฉพาะชนิด ชาเขียวญี่ปุ่น และชาจีน นำใบชาสดมาผ่านขบวนการคั่ว นวด ทำให้แห้งทันที และคัดโดยผลิตภัณฑ์ยังเป็นใบอยู่ เมี่ยงหรือชาหมักดอง นำใบอ่อนหรือแก่มามัดเป็นกำแล้วนึ่งด้วยไอน้ำ หมักจนใบชาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองยุ่ย ใช้เวลา 1-2 เดือน จึงนำมาบริโภค ชาฝรั่ง ใช้เฉพาะยอดชาพันธุ์อัสสัม นำมาผึ่ง นวด หมัก อบแห้ง แล้วจึงคัดบรรจุ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะเป็นผงสีดำ หรือน้ำตาลอมดำ ชำสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นผงหรือเกร็ดละลายน้ำได้ สามารถชงกับน้ำร้อนได้ทันที โดยไม่ต้องใช้เครื่องกรอง
กาแฟ (Coffee)
กาแฟ (coffee) วงศ์ Rubiaceae แหล่งกำเนิด ทวีปแอฟริกาตะวันออก (เอธิโอเปีย) แพร่ไปยังอาหรับยุโรป และทั่วโลก ชื่อวิทยาศาสตร์ กาแฟอาราบิก้า Coffea arabica L. กาแฟโรบัสต้า C. canephora Pierre ex Froehner วงศ์ Rubiaceae (กาแฟทั้งสองชนิดมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ กาแฟอาราบิก้าสามารถผสมตัวเองได้ ขณะที่โรบัสต้าต้องผสมข้ามต้น ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์ทั่วไปคล้ายคลึงกัน) ส่วนที่ใช้ เมล็ด สารประกอบที่สำคัญ alkaloid ชื่อ caffeine
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก มีรากแก้วหยั่งลึกลงในดิน 45 ซม. มีรากแขนงยาวได้ 2-3 ม. ประมาณ 4-8 ราก ลำต้น มีข้อที่แตกเป็นกิ่งแขนง ใบ ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม โคนและปลายเรียว ขอบใบเป็นคลื่น ก้านใบอวบสั้น
ดอก ดอกเดี่ยวสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-20 ดอก ที่ซอกใบที่ออกตามข้อของกิ่งแขนง ผล รูปรี ก้านผลสั้น เมื่อดิบมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นเหลือง ส้ม แดง และดำ ตามลำดับ ผลกาแฟมี 3 ส่วน ได้แก่ เปลือก เนื้อผล และกะลาที่ห่อหุ้มเมล็ด เมล็ด รูปรี มี 2 เมล็ด/ ผล ประกบติดกัน
พันธุ์ กาแฟอาราบิก้า เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น กาแฟอาราบิก้า เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น พันธุ์อาราบิก้าหรือทิปิก้า มีลักษณะลำต้นสูงโปร่ง ยอดสีแดง ใบเล็กและแคบ ผลสุกสีแดง เมล็ดโต รสชาติดีแต่ให้ผลผลิตต่ำ และอ่อนแอต่อโรคราสนิม พันธุ์คาติมอร์ มีลักษณะทรงต้นดี เตี้ย ผลดก และต้านทานโรคราสนิม รสชาติดีและให้ผลผลิตสูง นิยมปลูกลูกผสมพันธุ์นี้ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ
กาแฟโรบัสต้า เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในภาคใต้ของประเทศไทย เช่น กาแฟโรบัสต้า เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในภาคใต้ของประเทศไทย เช่น พันธุ์คานีฟอรา (canephora) มีลักษณะทรงพุ่มตั้งตรง ใบใหญ่ ผลโตแต่สุกช้า ต้านทานโรคราสนิม พันธุ์แกนดา (nganda) ต้นเตี้ย พุ่มกว้าง ใบเล็กยาว ผลเล็ก ไม่ต้านโรคราสนิมแต่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
ภาพ แสดงเนื้อที่เพาะปลูกกาแฟในประเทศไทย
ยุทธศาสตร์กาแฟ 1. สาระสำคัญของโครงการ 1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และสร้างเสถียรภาพราคากาแฟ 1.2 เป้าหมาย ลดต้นทุนการผลิตกาแฟให้เท่าหรือให้เหลือมากกว่าต้นทุนการผลิตกาแฟของเวียดนามไม่เกินร้อยละ 10 ของต้นทุนการผลิตของเวียดนาม และเพิ่มผลผลิตต่อไร่กาแฟที่ปลูกเป็นพืชเดี่ยวจาก 200 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2552 เป็น 300 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2556 และปลูกร่วมกับพืชอื่น จาก 143 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2552 เป็น 180 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2556 รวมทั้งเพิ่มจำนวนแปลงกาแฟที่ได้รับการรับรอง GAP ไม่น้อยกว่า 50 % ดำเนินการในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ระนอง แม่ฮ่องสอน น่าน เชียงราย และเชียงใหม่ 1.3 ระยะเวลาดำเนินการ ปีงบประมาณ 2552 - 2556 1.4 หน่วยงานรับผิดชอบ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ 1.5 งบประมาณ ปี 2554 จำนวน 10,979,500 บาท
ผลการติดตาม ปี 2554 หน่วยงานได้รับจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการ คือ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร จากแผนงานเดิม 5 หน่วยงาน ผลการดำเนินโครงการ มีดังนี้ 2.1 กรมวิชาการเกษตร ปรับปรุงสวนกาแฟเสื่อมโทรม โดยส่งเสริมการใช้พันธุ์กาแฟสายพันธุ์ดี สามารถผลิตต้นกาแฟสายพันธุ์ดีได้ 50,000 ต้น ร้อยละ 7.19 ของเป้าหมาย ผลิตเมล็ดกาแฟพันธุ์ดีจำนวน 541 กิโลกรัม ร้อยละ 90.17 ของเป้าหมาย ตรวจรับรองแปลงมาตรฐาน 425 แปลง ร้อยละ 26.78 ของเป้าหมาย และมีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้ว 4,236,517 บาท ร้อยละ 45.96 2.2 กรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการปรับปรุงสวนกาแฟเสื่อมโทรม และผลผลิตให้ได้มาตรฐานแล้ว 50 และ 25 ราย ตามลำดับ 2.3 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานผลความก้าวหน้า 2 ครั้ง ร้อยละ 50.00 ของเป้าหมาย 2.4 กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปี 2554
ตลาด เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้ 3 แหล่ง คือ พ่อค้ารับซื้อจากไร่โดยตรงซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย พ่อค้าท้องถิ่นรายย่อย เป็นผู้รวบรวมผลผลิตและนำไปขายต่อให้พ่อค้ารายใหญ่ พ่อค้าท้องถิ่นรายใหญ่ รับซื้อจากเกษตรกรและพ่อค้ารายย่อย แล้วจำหน่ายให้กับพ่อค้าส่งออกโรงงานแปรรูปในกรุงเทพฯ หรือบางส่วนจำหน่ายกับโรงงานกาแฟคั่วท้องถิ่น ตัวแทนผู้ส่งออก รับซื้อเฉพาะผลิตผลกาแฟที่มีคุณภาพจากเกษตรกร
กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟหรือหน่วยงานรัฐหรือโครงการ โครงการผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า ทางภาคใต้ โครงการผู้ปลูกกาแฟอาราบิกา ทางภาคเหนือ
โรงงานกาแฟคั่วบดในท้องถิ่น รับซื้อผลิตผลกาแฟจากเกษตรกรและพ่อค้าท้องถิ่นรายย่อย เพื่อแปรรูปต่อไป
วิถีตลาดกาแฟ เกษตรกร พ่อค้าท้องถิ่นรายย่อย พ่อค้าท้องถิ่นรายใหญ่ โรงงานกาแฟคั่วบด ในท้องถิ่น โรงงานแปรรูป ในกรุงเทพฯ พ่อค้าส่งออก ผู้บริโภคในประเทศ ส่งออกต่างประเทศ ตัวแทนผู้ส่งออก กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้า หน่วยงานหรือโครงการ
การทำร่มเงา การทำร่มเงาให้กับกาแฟถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดสภาพปลูกกาแฟให้มีความใกล้เคียงกับสภาพธรรมชาติ ช่วยลดอุณหภูมิ และความเข้มแสงที่สูงเกินไปได้ ซึ่งปกตินิยมปลูกต้นไม้บังร่มระหว่างแถวกาแฟ
ไม้บังร่มชั่วคราว ควรเป็นไม้โตเร็ว ที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร พืชที่นิยมปลูกเช่น แคฝรั่ง ขี้เหล็กอเมริกัน ทองหลางน้ำ กระถิน เป็นต้น ไม้บังร่มถาวร ควรเลือกต้นไม้ใหญ่ที่มีใบโปร่ง ทรงพุ่มแผ่กว้าง ให้ร่มเงาในระดับสูง กิ่งไม่แตกในระดับต่ำกว่า 10 เมตร เช่น สะตอ เหรียง ถั่วหูช้าง เป็นต้น
การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟควรยึดหลักการเก็บเกี่ยวผลที่สุก มีสีแดงทั้งผลหรือออกน้ำตาล โดยเก็บเกี่ยว 4 ครั้ง เก็บครั้งแรกเมื่อมีผลสุกมากกว่า ร้อยละ 50 ครั้งที่ 2 3 และ 4 หลักการเก็บเกี่ยวครั้งก่อน 2-3 สัปดาห์
วิธีการเก็บเกี่ยว เลือกได้ 3 วิธี เก็บทีละผลหรือทั้งช่อ วิธีนี้จะสามารถควบคุมคุณภาพได้ดีที่สุด แต่สิ้นเปลืองแรงงานมาก เก็บโดยรูดผลทั้งกิ่ง จะได้ผลกาแฟคละ มีผลที่มีหลายอายุ นิยมใช้วิธีนี้กรณีที่ต้องจ้างแรงงานและต้องเก็บเกี่ยวในเวลาอันสั้น เก็บโดยเขย่าให้ผลสุกร่วง โดยปูผ้าหรือพลาสติกรับโคนต้น นิยมใช้ในพื้นที่ราบ และค่าจ้างแรงงานสูง
การแปรรูป วิธีแห้ง โดยนำผลกาแฟมาตากแดดประมาณ 15-30 วัน ให้ความชื้นเมล็ดเหลือประมาณ 13% นำไปกะเทาะเมล็ดแล้วจึงบรรจุลงในกระสอบป่านที่สะอาดใหม่และไม่มีกลิ่น วิธีเปียก โดยนำผลกาแฟไปแช่น้ำ แล้วปอกเปลือกด้วยเครื่อง กำจัดเมือกด้วยการหมักนาน 2-3 วัน หรือแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ นาน 1 ชั่วโมง ล้างน้ำให้สะอาด นำไปตากแดด 7-10 วัน ให้แห้งสนิทเหลือความชื้นประมาณ 13%
ขั้นตอนการผลิตกาแฟ แช่น้ำเพื่อเอาเปลือกและเนื้อผลออก เก็บเมล็ดและทำให้แห้ง คั่ว ซึ่งเป็นเทคนิคส่วนบุคคล ถ้าคั่วมากจะทำให้ สาร caffein สลายตัวมากแต่ทำให้กลิ่นหอมขึ้น สามารถสกัดเอาสาร caffein ไปใช้โดยตรง
โกโก้ (Cacao, Cocoa) Theobroma cocao L. วงศ์ Sterculiaceae Theobromine = food of the gods วงศ์ Sterculiaceae ถิ่นกำเนิด Maxico (เผ่ามายา) ส่วนที่ใช้ เมล็ดและไขมันที่สกัดจากเมล็ด สารประกอบที่สำคัญ alkaloid ชื่อ Theobrormine
ภาพแสดงพื้นที่ปลูกโกโก้
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโกโก้ สเปนเป็นชาติแรกที่ปลูกโกโก้ที่นำมาจากอเมริกาใต้ เรียกว่า Foresteros ส่วนในอเมริกากลางเรียก Criotios ผลโกโก้มีขนที่ติดมากับเมล็ด สามารถก่อให้เกิดความระคายเคือง อาจทำให้แพ้ได้
การแปรรูป กะเทาะเมล็ดออกจากผล หมักเมล็ด กะเทาะเปลือกเมล็ด คั่ว บีบน้ำมัน (70%) ออก ซึ่งน้ำมันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ นำเมล็ดไปใช้ประโยชน์ในขั้นตอนต่อไป
Chocolate เกิดจากอะไร? Nibs = ส่วนของใบเลี้ยง (cotyledons) ที่ได้หลังจากคั่วเมล็ด และเอา ส่วนของ seed coat ออกแล้ว นำ nibs มาบดให้ระเอียดในขั้นตอนนี้ความร้อนจากการบดทำให้มีการหลอมละลายของไขมัน เกิดเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้ม เรียกว่า “ Chocolate liquor”
พืชเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอร์ชนิดอื่นๆ
โคลา ชื่อสามัญ : Cola ชื่อวิทยาศาสตร Cola nitida วงศ. Sterculiaceae ถิ่นกำเนิด : แอฟริกาตะวันตก
โคลา ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : เมล็ด โดยเมล็ดโคล่ามีรสขมเล็กน้อย มีปริมาณคาเฟอีนอยู่พอสมควร และนิยมนำมาเคี้ยวในหลายวัฒนธรรมแถบแอฟริกาตะวันตก และมักนำไปใช้ในพิธีกรรม หรือเอาไว้รับแขก
โคลา โคล่านั้นเดิมมีการใช้เพื่อผลิตเครื่องดื่มโคล่า แต่ปัจจุบันนี้การผลิตน้ำดื่มโคล่าในเชิงอุตสาหกรรมนิยมใช้สารแต่งกลิ่นและรสเทียม ยกเว้น Red Cola ของ A.G. Barr plc, Harboe Original Taste Cola, Blue Sky Organic Cola และ "Cricket Cola" อย่างหลังนี้ผลิตจากเมล็ดโคล่าและชาเขียว ภายนอกทวีปแอฟริกานั้น มีการปลูกโคล่าบางสปีชีส์เพื่อใช้เมล็ด เช่น ในอินโดนีเชีย บราซิล จาไมก้า และท้องถิ่นอื่นๆ ในเขตร้อนชื้น
ฝาง ชื่อพฤกษศาสตร์ : Caesalpinia sappan L. วงศ์ : Leg.-Caesalpinoideae ชื่อสามัญ : Brazil wood, sappan wood, sappan etc. ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ เนื้อไม้
เก็กฮวย ชื่อพฤกษศาสตร์ : Chrysanthemum indicum L. วงศ์ : Compositae ชื่อสามัญ : Ye ju hua ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ กลีบดอก ดอกเก็กฮวยจะเก็บเมื่อดอกบาน นำมาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำ น้ำเก็กฮวยที่ได้จะมีสีเหลืองอ่อน สีเหลืองดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นสารจำพวกคาโรทีนอยด์ (caratenoids) จากนั้นเติมน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลกรวดเพื่อปรุงแต่งรสหวานน้ำเก็กฮวยใช้เป็น เครื่องดื่ม ทั้งร้อนและเย็น มีประโยชน์ช่วยดับพิษร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ สงบประสาท และมีรายงานว่าดอกเก็กฮวยยังใช้เป็นยาแก้ปวดท้องและยาระบายได้อีกด้วย
กระเจี๊ยบ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L. วงศ์ : Malvaceae ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle ส่วนที่ใช้ประโยชน์ กลีบเลี้ยง สรรพคุณ การขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับเสมหะ