กฎหมาย, ความเชื่อ และสถาบันทางศาสนา กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Islamophobia (โรคกลัวแขก) โรคกลัวแขกปรากฎในสังคมโลก และสังคมไทยมาระยะหนึ่ง สังคมกลัวแขก มักปรากฎออกในรูปของการของมุสลิมด้วยสายตาที่ไม่เป็นมิตร https://prachatai.com/journal/2016/08/67374 เช่น การมีผรุสวาทต่ออิสลาม การต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล การต่อต้านการ ก่อสร้างมัศยิค หรือการต่อต้านชุมชนมุสลิม เป็นต้น “ชาวน่านไม่ได้ขัดแย้งต่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม แต่การออกมาประท้วงครั้งนี้เป็นเรื่องของศรัทธาชาวพุทธที่ไม่พอใจทาง ราชการอนุญาตให้สร้างมัสยิดในบริเวณที่มีชาวพุทธอยู่ และห่างจากวัดพระธาตุแช่แห้ง เพียง 2 กม.เท่านั้น ซึ่งความ จริงแล้วควรมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนที่จะสร้าง เพราะมัสยิดดังกล่าวจะสร้างผลกระทบให้แก่ชุมชนชาวพุทธอย่าง แน่นอน”
Monk Wirathu (อู วิราทู) ได้รับการขนานนามว่าเป็น “บินลาเดนแห่ง เมียนมาร์” สนับสนุนการใช้ความรุนแรงเด็ดขาดต่อชาว มุสลิมโรฮิงญา โดยเชื่อว่าการอาศัยอยู่ของ โรฮิงญา คือ การรุกรานของอิสลาม เสนอให้ห้ามมีการแต่งงานข้ามศาสนา เว้น แต่จะมีการแปลงศาสนาตามเป็นพุทธ เท่านั้น
ที่มาที่ไปของโรคกลัวแขก แล้วชาวพุทธ/คริสต์มีความ แตกต่างกันหรือ?
ความเชื่อ และสถาบันทางความเชื่อ "ศีลธรรม" ในความหมายที่แท้จริงคือความคิดและความรู้สึกที่เกี่ยวกับคนอื่น สัตว์อื่น และสิ่งอื่น คือไม่ใช่ ความคิดที่เกี่ยวกับประโยชน์ตน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม พูดให้เข้าใจง่ายกว่านั้นคือความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับส่วนรวม ส่วน “ศาสนา” คือ สถาบันทางความเชื่อ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อจัดการศึกษาด้านความเชื่อให้มีประสิทธิภาพ ในการเข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้ มนุษย์อาจมีศีลธรรมและความเชื่อ ของเขาโดยไม่ต้องมีศาสนาก็ได้
เมื่อความรู้ ความเชื่อ รวมกันเป็นกลุ่มก้อน จนมีการจัดสถาบันขึ้นมารองรับการถ่ายทอด ความรู้นั้น เพื่อที่จะทำให้ความรู้นั้นขจรไปไกล ก็จำเป็นต้องมีการระดมทรัพยากรจาก สาธารณะ เพื่อการสร้างสาธารณะสถาน การส่งพระภิกษุไปบรรยายธรรมในต่างประเทศ การเดินทางมา เผยแพร่ศาสนาของมิชชั่นนารี การพิมพ์คัมภีร์ศาสนา การสอนหนังสือธรรมะ ฯลฯ เช่น ด้วยกระระดมเงินบริจาค การขอการสนับสนุนจากรัฐ การผูกกับกลุ่มทุน ฯลฯ
แยกแยะศีลธรรมออกจากศาสนา ความยิ่งใหญ่ของศาสนา ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์จะมีศีลธรรม หรือมีความสามารถในการ จัดการปัญหาในเชิงจิตวิญญาณของตนเองได้ ในทำนองเดียวกันความเสื่อมของศาสนา คือ ความเสื่อมของสงฆ์ ไม่ได้หมายถึงความเสื่อม ของพระธรรม จริงๆ แล้ว การดำรงอยู่ของศาสนา มิใช่ปัญหาในตัวเอง แต่หลายครั้ง การเป็นสถาบันทาง สังคมของศาสนา ทำให้ศาสนาต้องไปเกี่ยวข้องกับสังคมมากตามไป
เมื่อคำสอนกลายเป็นศาสนา และศาสนากลายเป็นสถาบันทางสังคม ก็จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคมอื่นๆ เช่น สถาบันการเมือง ทุนธุรกิจ มหาวิทยาลัย สถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปจนถึงศาสนาอื่นๆ ประสบการณ์ของยุโรปในยุคกลาง แสดงให้เห็นว่าเมื่อคำสอนกลายเป็นศาสนา และศาสนายิ่งใหญ่จน กลายเป็น “ศาสนจักร” ที่มีอำนาจครอบงำทั้งทางโลกและทางธรรมนั้นนำไปสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ
Absolute power, corrupt absolutely ในนามของศาสนจักร มีคนต้องไปรบราฆ่าฟันกันจนตาย ในนามของศาสนาจักร มีการยึดกุมอำนาจและผูกขาดความรู้ จนยุโรปติดอยู่ในยุคกลางอย่างยาวนาน ในนามของศาสนาจักร มีคนอ้างว่าทำเพื่อพระเจ้าแสวงหาประโยชน์ส่วนตน Absolute power, corrupt absolutely
เสรีนิยม (Liberalism) ผู้บุกเบิกเสรีนิยมในทางวัฒนธรรม คือ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mills) หนังสือ เรื่อง On Liberty เขาเสนอว่า การผูกขาดความรู้เป็นสิ่งที่ปิดกั้นมนุษย์ ออกจากความก้าวหน้าและความสุข ทางเดียว คือ การเปิดเสรีภาพในด้านความรู้และวิธี ปฏิบัติในชีวิต คืนความเชื่อให้กับปัจเจกบุคคล
รัฐ กับสถาบันทางความเชื่อ เมื่อศาสนาต้องสัมพันธ์กับสถาบันทางสังคม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการกำเนิดของ “กฎหมายอิสลาม” เป็นตัวอย่าง ว่าจริงอยู่ ที่ความเชื่อเป็นคนละเรื่องกับศาสนา แต่เมื่อรัฐ/สังคม เข้าไป เกี่ยวข้องกับศาสนาแล้ว รัฐสามารถเปลี่ยนความหมายของ ศาสนา และศาสนาที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องก็สามารถเปลี่ยนความ เชื่อดั้งเดิมได้เช่นกัน
Construction of Islamic Law กฎหมายอิสลามถูกสอนในวิชาชีพกฎหมายในยุคอาณานิคมของอังกฤฤษ และ จักรวรรดิ์นิยมอังกฤษมีส่วนสำคัญในการสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามที่ คับแคบในโลกปัจจุบัน และทำให้กฎหมายอิสลาม รวมไปถึงศาสนาอิสลามกลายเป็นที่หวาดระแวงของสังคมตะวันตกในที่สุด (ปัญหา คือ ในสังคมปัจจุบัน ทุกที่คือตะวันตก)
ค.ศ. 1869 สภานิติศาสตร์ศึกษาของบริเตนใหญ่ได้เริ่มสอนกฎหมายอิสลามสำหรับนักกฎหมายที่ ต้องการไปประกอบอาชีพที่อินเดีย ถึงแม้กฎหมายดังกล่าวจะถูกสอนอยู่ไม่นาน แต่ในระหว่างเวลาห้าปีนั้น ชั้นเรียนกฎหมายที่อังกฤษได้ ผลิต “ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอิสลาม” และ “ตำรากฎหมายอิสลาม” ขึ้นมา โดยสอดแทรกความเป็น อังกฤษไปด้วย ไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม Erosion of Islamic juristic methodology Narrowing its scope to a few private law; obligation, family etc. Decline its own institution ทำให้กฎหมายอิสลามถูกลดทอนลงกลายเป็นแบบประพฤติที่คับแคบ และยังไม่ สมเหตุสมผลด้วยการถูกอธิบายในโรงสร้างของระบบศาลอังกฤษ
Standish Grove Grady argued that British rule was reliant on legal officials knowing not only English law but also the legal system of the colonized. He believes the education of Islamic law will prevent unrest in the colonized. Both understanding Indian legal cultures, at the same time modernizing the legal system through establishing liberal legal education. Respect for Islamic law was similar to respect for religious building
Commanding the Text Islamic legal text called “al-Hidayah al-Marghinani” was translated into “Hedaya” (the first English text for Islamic law) by Charls Hamilton Hedaya was a part of British project to bring Indian legal cultures within the reach of its officials. Lacking of Arabic or Farsi, Hedaya was translated just to provide access to key Islamic legal text However, Hedaya became the most complete rendering English of Islamic legal text until 1994. it also was edited by Grady to use at Council of Legal Education
In translation, Hamilton removed what he regarded as purely religious obligations, fasting, pilgrimage, because these offended the mind of European enlightenment. Hedaya has two problems; its reflection of translator’s culture, and felicity of language. However, Hamilton seemed to be eager learner about Islam. He try to outlined the emergence of Islamic jurisprudence from the battle between sunni and shi’a, so his Hedaya was an introduction to Islam for European reader The problem is to be an “introduction”, he needed to craft it the way that European be able to understand it due to their experience.
The power of colonist was to choose historical events of the colonized and to endow them with Western significant Hedaya becomes a text in which Islamic jurisprudence meets colonial law Hedaya became not a guide through vast Islamic source but constituted the total world of Islamic law. From al-hiddayah al-marghinani to Hamilton’s Hedaya
Operating the Truth Grady successfully persuade the Council of Legal Education to establish the Islamic law course. “I felt it a duty to publish a new Edition, in order to bring it somewhat more within the reach of the students” Grady act like legislator of Islamic law by removing whole section of Hamilton’s translation with keenly aware of its historical important “[Hamilton’s Hedaya] was the first attempt … made to place within the reach of European intelligence a knowledge of native law”
The big change in Grady’ edition is about Siyar (public international law; use of force, the law of war, the law of treaties, and minority right) Siyar was a major issue in Hamilton edition, in Gardy it is less important Due to political contexts, In Hamilton’s time the Ottoman empire with Islamic law stills great. Concept if Siyar was important to understand the Ottoman. In Grady time, Ottoman was declined by Tanzimat movement. (the western legal culture became mainstream) Production and reproduction along the time, Grady’s Hidaya become the truth over other version which never be emerged. The English can speak Islamic law by their tone.
Orientalism ลักษณะของการกำเนิดกฎหมายอิสลามดังกล่าว ในทาง วิชาการปัจจุบันเรียกว่า “บูรพคดีนิยม” (Orientalism) ริเริ่มโดย เอ็ดเวิรด์ ซาอิด คือ ความคิดที่อธิบายว่า สื่งที่เราเชื่อว่า เป็น “ตะวันออก” ทั้งหลายนั้น (ส่วน ใหญ่เป็นด้านลบ) เช่น ป่าเถื่อน ไม่ เข้าใจเหตุผล ฯลฯ เป็นผลผลิตจาก อคติของสังคมตะวันตกที่เป็นเจ้า อาณานิคม
เมื่อศาสนาไปเกี่ยวข้องกับสถาบันอื่นทางสังคม อาจนำมาสู่การที่รัฐ/ทุน ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการ บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละเรื่อง แต่เรื่องศาสนา เป็นความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณในระดับลึก ซึ่งหลายครั้งไม่สามารถพิสูจน์ในชีวิตเดียวได้ ศาสนาจึงเป็นไม่กี่สิ่งในโลกที่สามารถบังคับบัญชาชีวิตของผู้คนให้ยอมตายและยอมฆ่าคนอื่นเพื่อมันได้ รวมไปถึงการบังคับให้มนุษย์เชื่อถืออะไรสักอย่าง โดยไม่สนใจว่าความเชื่อ นั้นๆ สามารถตอบปัญหาสำหรับชีวิตของปัจเจกบุคคลที่แตกต่างกันหรือไม่ ความสุขทางจิตวิญญาณ และความรับผิดชอบทางสังคมหลายเรื่องจึงถูกแขวนไว้กับรัฐที่ไม่แคร์
ในประเทศไทย ศาสนามีส่วนสำคัญมากต่อรัฐ เรียกได้ว่า รัฐและ ศาสนา เป็นพันธมิตรที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน ศาสนามอบความชอบธรรมทางสังคมให้รัฐ รัฐมอบอำนาจทางการเมืองให้กับศาสนาพุทธ เพื่อได้อภิสิทธ์เหนือศาสนาอื่น
พระอัครสังฆราช อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
“ศาสนา” เราเนียนว่า “ศาสนา” หมายถึงทุกศาสนา แต่เป็นเช่นนั้นจริงหรือ? “ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่ปลัดสำนายกรัฐมนตรี เป็น ประธานการประชุมเตรียมการจัดงานพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม” ศาสนจักร-อาณาจักร ไม่ได้ขาดจากกัน ประมุขทางศาสนาอื่นๆ เช่นใครบ้าง
กฎหมายที่คุ้มครองศาสนาพุทธเป็นพิเศษ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 “คณะสงฆ์ หมายความว่า บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ตามพระราชบัญญัติ นี้... คณะสงฆ์อื่น หมายความว่า บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย หรือ อนัมนิกาย” มาตรา 44 ตรี “ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือแตกแยก ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา 45 “ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาจักร เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา”
พุทธศาสนา: รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย “ความชอบธรรมของผู้ถืออำนาจนั้นพิสูจน์ด้วยการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา” “พุทธศาสนาจึงไม่ใช่ศาสนาหนึ่งที่พลเมืองทุกคนมีเสรีภาพจะเลือกนับถือไม่ต่างไปจากศาสนาอื่นๆ แต่พุทธ ศาสนามีสถานะพิเศษในรัฐไทย รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรทุกฉบับกำหนดให้องค์พระประมุขต้องเป็น พุทธมามกะ, ราชพิธี, รัฐพิธี และพิธีกรรมที่หน่วยราชการจัดขึ้นแทบทุกอย่างมักมีพิธีสงฆ์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ ด้วย...”
นัยศาสนาที่เน้นคือนัยแบบ “โลกียธรรม” คือ มุ่งปลูกฝังศีลธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ การทำบุญ การ บริจาค ฯลฯ เช่น เบญจศีล คฤหัสดิ์สี่ ศาสนาพุทธแบบไทย เน้นหน้าที่การทำให้บุคคล “มีใตเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแฟ่สงเคราะห์ซึ่งกันและกัน.. หลักธรรมของศาสนาจึงเป็นเครื่องค้ำจุนสังคมและประชาชาติให้มั่นคง เป็นระเบียบเรียบร้อย และผาสุก” แต่กลับละทิ้งนัยแบบ “โลกุตรธรรม” ที่เน้นการหลุดพ้น เช่น ไตรลักษณ์ อิทัปจยตา ฯลฯ หรือธรรมะที่นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ “ชาติไทย”
เมื่อศาสนารับใช้รัฐอย่างมงาย พระกิตติวุทโฒ ตอบคำถามว่า “การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือคอมมิวนิสต์บาปไหม?” “อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ คนไทยแม้จะ นับถือพุทธก็ควรจะทำ แต่ก็ไม่ชื่อว่าถือเป็น การฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นั้นไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ (ว่า) เราไม่ได้ฆ่าคนแต่ฆ่ามารซึ่ง เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน”
ปัญหาของศาสนานำการเมือง อู วิราทู ได้เทศนาปลุกระดมพระสงฆ์และชาวพุทธในพม่าเกลียนดชังชาวมุสลิมอย่างรุนแรง โดยใช้แนวคิดที่ เขาเรียกเองว่า “ศาสนานำหน้าการเมือง” และสร้างรัฐศาสนาพุทธขึ้น “คุณอาจมีใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความเมตตา ทว่าคุณไม่มีทางนอนหลับสนิทข้างๆ หมาบ้าได้... หาก ชาวพุทธเราอ่อนแอ ผืนแผ่นดินนี้ก็จะกลายเป็นของพวกมุสลิมในที่สุด” มีการเรียกร้องให้ห้ามการแต่งงานข้ามศาสนา เรียกร้องไม่ให้ชาวพุทธทำธุรกิจกับชาวมุสลิม ฯลฯ การแสวงหาอภิสิทธิ์จากรัฐของศาสนา หากอิงแอบกับรัฐเผด็จการแล้ว จะ พัฒนาไปสู่การเป็นลัทธิยึดมั่นศาสนาสุดขั้ว (religious fundamentalism) ที่มีแนวโน้มจะพัฒนาไปในทางรุนแรงขึ้น
ข้อคิดทิ้งท้าย “นับวันเราก็จะยิ่งเห็นทางตันของพระพุทธศาสนาแบบสถาบันในรูปแบบที่เป็นอยู่ สภาพอันไร้ชีวิตชีวาและ ความเสื่อมถอยของสถาบันสงฆ์ในปัจจุบัน น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์พุทธ ศาสนาแบบทางการด้วยแง่มุมที่ต่างออกไป จริงหรือที่พุทธศาสนาในอินเดียปลาสนาการไปโดยสิ้นเชิง เพราะภัยจากกองทัพมุสลิม? หากเป็นเช่นนั้นจริง พุทธศาสนาแบบใดที่เมื่อถูกทำลายไปแล้วไม่สามารถฟื้น กลับมาเป็นรากฐานทางจิตวิญญาณและทางสังคมของผู้คนอีกต่อไปได้? พุทธศาสนาแบบใดที่ยังคง เดินทางต่อไปงอกงามยังดินแดนใกล้เคียง อย่างลาดัก สิกขิม ภูฏาน หรือทิเบต” พุทธศาสนาแบบใดที่จะ สามารถงอกงามเป็นรากฐานทางสติปัญญาของสังคมสมัยใหม่ ส่งเสริมบรรยากาศแห่งสันติภาพ และการ อยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลาย?... พุทธศาสนาแบบใดที่ส่งเสริมการสร้างความหวาดระแวง ความเกลียดชัง หรือการกำจัดคนเห็นต่างจากตนโดยใช้ความรุนแรงอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้?”
เมื่อไม่มีสถาบันความเชื่อ เมื่อไม่มีสถาบันความเชื่อ... ความเชื่อถูกแท้ย่อมไม่มี… so Enjoy your belief
เอกสารประกอบ https://www.matichonweekly.com/column/article_57152 http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1438583449 https://www.matichonweekly.com/column/article_52348