การผลิตแบบทันเวลาพอดี(just In Time:JIT)
ดังนั้นจึงมีซึ้งขั้นตอนในการจัดระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี. 1 ดังนั้นจึงมีซึ้งขั้นตอนในการจัดระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี 1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเดิมของพนักงานได้ตระหนักถึงผลเสียของการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น 2. ปรับปรุงสถานที่ทำงานด้วยระบบ 5 ส 3. วางแผนและกำหนดการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากบริษัทผู้ส่งมอบภายนอก 4. จัดตั้งรายการผลิตให้มีลักษณะการผลิตแบบไหลลื่น 5. กำหนดมาตรฐานการทำงานให้ชัดเจน 6. ชี้แจงและอบรมให้พนักงานปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตแบบทันเวลาพอดี 7. พนักงานทุกคนปฏิบัติงานตามมาตรฐาน
กิจกรรม 5ส (5S)เพื่อเพิ่มผลผลิต S1 = Seri(เซริ) สะสาง S2 = Seiton(เซตง) สะดวก S3 = Seiso(เซโซ) สะอาด S4 = Seiketsu(เซเคทซึ) สุขลักษณะ S5 = Shitsuke (ชิซึเกะ) สร้างนิสัย 1. การเพิ่มผลผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยี (Technology)(ต่อ) - การเพิ่มผลผลิตด้วยการปรับปรุงอุปกรณ์ที่ใช้เงินลงทุนน้อย - การเพิ่มผลผลิตด้วยระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ 2. การเพิ่มผลผลิตโดยพัฒนาบุคลากร (Human Development) 3. การเพิ่มผลผลิตโดยการจัดการ (Management)
ประโยชน์ของการเพิ่มผลผลิต 1. ผลต่อพนักงานหรือผู้ใช้แรงงาน 2. ผลต่อผู้บริโภค 3. ผลต่อผู้ผลิต 4. ผลต่อรัฐบาล 5. ในระดับชาติ
การเปรียบเทียบระบบการผลิตทั่วไปกับการผลิตแบบทันเวลา ที่ รายการ ระบบการผลิตทั่วไป ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี 1 การวางแผนโรงงาน ผลิตครั้งละมากขึ้น ผลิตครั้งละเท่ากับจำนวนที่ต้องการ 2 ลักษณะของกระบวนการผลิต วานผังตามกระบวนการผลิตทำให้เสียเวลาในการรอคอยระหว่างกระบวนการผลิต วางผังตามการผลิตสินค้าแต่ละชนิดทำให้สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง 3 การออกแบบเครื่องจักร เน้นการใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงมีขนาดใหญ่ หนักความเร็วสูงและราคาสูง เน้นการใช้งานเฉพาะอย่าง จึงมีขนาด เล็ก เบา ความเร็วพอเหมาะกับปริมาณการผลิตและราคาถูก 4 ระยะเวลาในการทำงาน ระยะเวลาทำการผลิตนาน ระยะเวลาทำการผลิตน้อย 5 ปฏิบัติงานของพนักงาน ทักษะในการทำงานน้อย ทักษะในการทำงานสูง 6 ขนาดของพื้นที่ปฏิบัติงาน พื้นที่ขนาดใหญ่ พื้นที่ขนาดเล็กกว่า 7 การขนย้ายและลำเลียง ขนย้ายเป็นระยะทางไกล ขนย้ายในระยะทางใกล้ 8 การเตรียมเครื่องจักร ใช้เวลานาน (2-3 ชั่งโมง) ใช้เวลาน้อย 10 นาที -1 ชั่วโมง 9 คุณภาพการผลิต ปริมาณของเสียอยู่ในระดับสูง ปริมาณของเสียเป็นศูนย์ 10 การปรับปรุงงาน ล่าช้า มีประสิทธิภาพสูง
การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintemance:tpm) ปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้กระบวนการผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น เพราะต้องการอาศัยความรวดเร็วในการผลิตสินค้า เครื่องจักรจึงเข้ามามีบทบาทในการผลิต บริษัทมีเครื่องจักรจำนวนมากมาใช้ในกระบวนการผลิต เมื่อมีเครื่องจักรก็ต้องมีการดูแลไม่ให้เกิดการขัดข้องเพื่อให้พร้อมสำหรับการใช้งาน มิฉะนั้น อาจเกิดผลกระบทต่อกระบวนการผลิต อันจะนำไปสู้การเพิ่มค่าใช้จ่ายสูง มีการรองาน มีคุณภาพสินค้าไม่สม่ำเสมอ การส่งมอบไม่ตรงตามความต้องการและลูกค้าขาดความเชื่อถือ ดังนั้น การบำรุงรักษาเครื่องจักรได้อย่างถกวิธีและต่อเนื่องจึงเป็นหนทางป้องกันความไม่พร้อมของเครื่องจักรได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การบำรุงรักษาจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความใส่ใจในการที่จะบำรุงรักษาเครื่องจักรเหล่านั้น การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม มีหลักการที่ว่า ทุกคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรจะต้องดูและรักษาเครื่องจักรนั้นๆ เพื่อให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ใช้งาน พร้อมที่จะใช้งาน และสามารถผลิตงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับโครงสร้างในการดูแลรักษาเครื่องจักร การซ่อมเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง พนักงานทุกคน การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การบำรุงรักษาผลิตผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม การบำรุงรักษาทวีผล การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง การป้องกันบำรุงรักษา
การดูแลเครื่องจักรมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องดังนี้ 1. การซ่อมแซมเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown maintenance) คือ การซ่อมแซมเครื่องจักรหลังจากเครื่องจักรเสีย หรือขัดข้องเพื่อใช้ต่อไปในขณะซ่อมต้องหยุดทำการผลิตสินค้า 2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อไม่ให้เครื่องจักรเกิดขัดข้องหรือเสียหายขึ้น 3. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (orrective maintenance) คือ การแก้ไขปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดซ้ำ รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องเครื่องจักรที่สามารถใช้งานได้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ 4. การป้องกันการบำรุงรักษา (Mainternance Prevention) คือ การออกแบบเครื่องจักรอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา 5. การบำรุงรักษาทวีผล (Productive maintenance) คือ การนำการบำรุงรักษาทั้ง 4 ขั้นตอนแรก มารวมกันและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายในกระบวนการผลิตสินค้า 6. การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive maintenance : TPM) คือ การทำกิจกรรมการบำรุงรักษาทุ้ง 5 ขั้นตอน โดยให้พนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรมีส่วนร่วมการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมจะสัมฤทธิ์ผลต้องประกอบด้วย 5 ส่วน ดังต่อไปนี้ 1. TPM มีเป้าหมายเพื่อให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าสูงสุด 2. TPM ก่อให้เกิดระบบการบำรุงรักษาทวีผล ตลอดอายุการใช้ของเครื่องจักร 3. TPM เป็นกิจกรรมที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันดำเนินงาน (วิศวกรรม,ผลิต,บำรุงรักษา) 4. TPM เป็นกิจกรรมที่พนักงานทุกคน ภายในโรงงานอุตสาหกรรมต้องร่วมกันทำ 5. TPM เป็นกิจกรรมที่มีพื้นฐานมาจากการส่งเสริมการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ผ่านทางการบริหารแรงจูงใจหรือการทำงานด้วยตนเองของกลุ่มย่อยภายในโรงงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม จึงมีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิตเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าเครื่องจักรเกิดเสียหายบ่อยครั้ง ย่อมจะส่งผลต่อองค์ประกอบทั้ง 7 ประการของการเพิ่มผลผลิตดังนี้ 1. คุณภาพ (Q) สินค้ามีคุณภาพไม่สม่ำเสมอและต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด 2. ต้นทุน(C) สินค้ามีต้นทุนสูงขึ้นเนื่องจากเกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 3. การส่งมอบ (D) สินค้าไม่แล้วเสร็จ ทำให้ส่งผลล่าช้าหรืไม่เป็นไปตามเวลาที่ลูกค้า กำหนด 4. ความปลอดภัย (S) พนักงานอาจได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานในสภาพที่เครื่องจักร บกพร่อง และอาจส่งผลถึงสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ 5. ขวัญกำลังใจ (M) พนักงานเกิดความไม่มั่นใจในการใช้เครื่องจักรและรู้สึกไม่มั่นคง ในการดำเนินการผลิตส่งผลให้เกิดการผลิตออกมาผิดพลาด 6. สิ่งแวดล้อม (E) เครื่องจักรชำรุดย่อมปล่อยกลิ่นไอเสียจากที่ไม่ต้องการออกมา 7. จรรยาบรรณ (E) โรงงานอุตสาหกรรมนำสินค้าที่ไม่มีคุณภาพออกจำหน่าย
องค์ประกอบของการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมประกอบด้วย กิจกรรมหลัก 4 ประการ 2 สร้างระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยพนักงานฝ่ายผลิต 1 4 กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ฝึกอบรมทักษะการใช้งานเครื่องจักและการบำรุงรักษาที่ถูกวิธี TPM 3 สร้างระบบบำรุงรักษาตามคาบเวลาที่กำหนดโดยพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง 1. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เป็นการกำจัดความสูญเสียของเครื่องจักร เพื่อให้เครื่องจักรสามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่หยุด 2. สร้างระบบการบำรุงรักษาตามคาบเวลาที่กำหนด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยฝ่ายซ่อมบำรุงเพื่อป้องกันการเกิดความสูญเสียของเครื่องจักร 3. การฝึกอบรมทักษะการใช้เครื่องจักรและการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ถูกวิธี เป็นการจัดฝึกอบรมพนักงานภายในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการใช้งาน 4.การสร้างระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักร เป็นการเสริมสร้างระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จะต้องอาศัยความร่วมมือและการพัฒนาบุคลากรภายในบริษัททุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ระบบควบคุมคุณภาพทั่งทั้งองค์การ(TOtal Quality Control:TQC) คือ การสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า ตลอดจนการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การเพิ่มยอดขาย การเพิ่มผลผลิต และการลดเวลาการส่งมอบ ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องช่วยกันดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ระบบควบคุมคุณภาพ ความสำเร็จในการนำบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบ TQC ต้องยึดมั่นหลักการที่สำคัญของระบบ TQC ทำอย่างมีหลักการ (Scientific) อาศัยข้อมูล (Data) และเหตุผล (logic) ทำอย่างมีระบบ (Systematic) ด้วยวงจร PDCA และทำอย่างทั่วถึง (Tolal หรือ Company-wide) คือทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงานในระบบ TQC ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบประกันคุณภาพที่ดี
องค์ประกอบคุณภาพของ TQC 1.Quality คุณภาพของงานต่างๆ ที่ทำให้บริษัท ตลอดจนสินค้าและบริการต่าง ๆ ของบริษัท 2. Cost ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการผลิต การบริการและการดำเนินงาน 3. Delivery การส่งมอบ ส่งมอบสินค้าและบริการตามจำนวนที่ถูกต้องและไม่มีชำรุด 4. Safety ความปลอดภัย ความปลอดภัยในการใช้สินค้าและบริการ 5. Morale ขวัญของพนักงาน การสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานในการทำงาน