Computer Network.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การบริหารจัดการระบบเครือข่าย (Network management system)
Advertisements

การสื่อสารข้อมูลบนเครือข่าย
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูลท้องถิ่น
Cable Twist-pair (สายคู่บิดเกลียว) Coaxial (สายโคแอกเชียล)
เนื้อหา วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์บทที่ 7 Local Area Network
การจัดทำ VPN เพื่อการใช้งาน ThaiLIS กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา
Internet, & Network โดย ศน.ไพฑูรย์ ปลอดอ่อนและ อ.ศรชัย เกษมสุข.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : Computer Networks
Data Communication and Network
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Introduction to Network
Data transfer rate(bandwidth) protocol file server web server.
INTERN ET Internet คือ อะไร ? เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่ทำการ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายล้านเครื่องกว่า 130 ประเทศทั่วโลกเข้า ด้วยกัน มีบริการต่าง.
Network Management and Design
Chapter 5 สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ Transmission Media and Multiplexing This presentation demonstrates the new capabilities of PowerPoint and.
NETWORK.
ระบบสื่อสารข้อมูลไร้สาย
บทที่ 7 Networks and Data Communications
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต. LAN Overview LANs were created to save time, money, and enable users to share information and resources more easily.
1 LAN Implementation Sanchai Yeewiyom School of Information & Communication Technology Naresuan University, Phayao Campus.
© 2006 Cisco Systems, Inc. All rights reserved.Cisco PublicITE I Chapter 6 1 CCNA Cisco Certified Network Associate.
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 3 ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ Computer Network System.
การสื่อสารข้อมูล.
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.4 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topologies)
Information Technology For Life
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่ 8 เครือข่ายการสื่อสารทางไกลระหว่างประเทศ
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Wireless Network เครือข่ายไร้สาย
บทที่ 6 โลกของเครือข่าย.
การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในสถานีตำรวจ
ความรู้พื้นฐานกล้องไอพี
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
สินค้าและบริการ.
อินเทอร์เน็ตและบริการออนไลน์
สินค้าและบริการ.
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต Internet Technology
การเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ
LAB03 : BASIC NETWORK DESIGN
การออกแบบสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชั่น
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : Introduction to Data Communication and Computer Network Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 6 : เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต (Wired LANs : Ethernet) Part1 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
บทที่ 5 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (COMPUTER NETWORK)
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ * Management Information Systems
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
สินค้าและบริการ.
ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น
การสื่อสารข้อมูลบนเครือข่าย
3.2 อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย
การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน เมษายน 2555
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นสูง
งานระบบเครือข่าย (Networking System and Internet Services )
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
ระบบปฏิบัติการ ( OS – Operating System )
บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Computer Network

ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่าย (Network System) คือ ระบบที่ประกอบด้วย กลุ่มของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมา เชื่อมต่อกันด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย เช่น Hub Switch หรือ Router เป็นต้น ทำให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ดังกล่าว

ตัวอย่างการใช้งานระบบเครือข่าย The Internet WWW Social Networking (Hi-5, Youtube, Facebook) Search Engine E-Commerce BitTorrent E-Mail Voice Mail Voice over IP Smart Phones Instant Messaging Video Conferencing Global Positioning System

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย สามารถใช้งานแฟ้มข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ ร่วมกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ ทำให้ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายสามารถแบ่งใช้ ทรัพยากร (Resource) ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ จัดเก็บข้อมูล และแสกนเนอร์ เป็นต้น ทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก สามารถใช้งานแฟ้มข้อมูลหรือซอฟแวร์ ร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ ทำให้ไม่ต้องติดตั้งซอฟแวร์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายสามารถแบ่งใช้ทรัพยากร (Resource) ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และแสกนเนอร์ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก โดยที่ทรัพยากรดังกล่าวสามารถถูกติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรของเครือข่ายจากจุดใดก็ได้ในเครือข่าย สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ทั่วโลกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การส่ง e-mail การประชุมทางไกล (Videoconferencing) การเรียนทางไกล (Distant Learning) และ การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ (File Transferring) เป็นต้น สามารถส่งข้อมูลหลากหลายชนิดผ่านระบบเครือข่าย เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ เทคโนโลยีสื่อผสม เป็นต้น สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่อยู่บนระบบเครือข่ายได้ เช่น การใช้โปรแกรม Netop ในระบบเครือข่าย ทำให้อาจารย์สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองในการควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ ส่งไฟล์ให้นักศึกษาทุกคนได้ หรือส่งภาพบนหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ของอาจารย์ไปแสดงที่หน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาได้ เป็นต้น

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ใน เครือข่ายและคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การส่ง e-mail, Instant Messaging การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นต้น สามารถส่งข้อมูลหลากหลายชนิดผ่านระบบเครือข่าย เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ เทคโนโลยีสื่อผสม เป็นต้น สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่อยู่ บนระบบเครือข่ายได้ เช่น อาจารย์ใช้โปรแกรม Netop เพื่อ ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ของนักศึกษาในเครือข่าย สามารถใช้งานแฟ้มข้อมูลหรือซอฟแวร์ ร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ ทำให้ไม่ต้องติดตั้งซอฟแวร์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายสามารถแบ่งใช้ทรัพยากร (Resource) ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และแสกนเนอร์ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก โดยที่ทรัพยากรดังกล่าวสามารถถูกติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรของเครือข่ายจากจุดใดก็ได้ในเครือข่าย สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ทั่วโลกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การส่ง e-mail การประชุมทางไกล (Videoconferencing) การเรียนทางไกล (Distant Learning) และ การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ (File Transferring) เป็นต้น สามารถส่งข้อมูลหลากหลายชนิดผ่านระบบเครือข่าย เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ เทคโนโลยีสื่อผสม เป็นต้น สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่อยู่บนระบบเครือข่ายได้ เช่น การใช้โปรแกรม Netop ในระบบเครือข่าย ทำให้อาจารย์สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองในการควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ ส่งไฟล์ให้นักศึกษาทุกคนได้ หรือส่งภาพบนหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ของอาจารย์ไปแสดงที่หน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาได้ เป็นต้น

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง เน็ตเวิร์กการ์ด หรือ Network Interface Card (NIC) สื่อนำสัญญาณ มีทั้งแบบสายสัญญาณหรือ สื่อนำสัญญาณ แบบไร้สาย อุปกรณ์เครือข่ายสำหรับการรับและส่งข้อมูล โพรโตคอล (Protocol) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System หรือ NOS)

มารู้จัก องค์ประกอบพื้นฐานของ ระบบเครือข่าย ที่สำคัญ

คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายอาจเป็นเครื่องที่ทำ หน้าที่เป็น Server หรือ เครื่องแม่ข่าย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ต่างๆ ในเครือข่าย หรือเครื่องที่ขอใช้บริการจาก Server ซึ่ง เรียกว่า Client หรือ เครื่องลูกข่าย นอกจากนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก็สามารถนำมา เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายได้ด้วย เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ จัดเก็บข้อมูล และแสกนเนอร์ เป็นต้น

2. เน็ตเวิร์กการ์ด หรือ NIC เน็ตเวิร์กการ์ด หรือ Network Interface Card (NIC) เป็น การ์ดที่ประกอบด้วยชุดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่ การทำงานหลายอย่างที่สำคัญบนเครือข่าย เน็ตเวิร์กการ์ดจะต้องเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และ ระบบเครือข่าย เน็ตเวิร์กการ์ดส่วนใหญ่มักจะถูกเรียกว่า “NIC” หรือ “แลนการ์ด” (LAN Card) มีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้

2. เน็ตเวิร์กการ์ด หรือ NIC จัดสร้างเฟรมข้อมูลที่จะส่งในเครือข่าย แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณ หรือสื่อนำสัญญาณแบบต่างๆ ได้ ตรวจสอบสายสัญญาณเพื่อดูว่ามีการใช้งานสายสัญญาณอยู่ หรือไม่ ก่อนจะส่งข้อมูลไปออกยังเครือข่าย รับและส่งข้อมูลบนเครือข่าย รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง ของเฟรมข้อมูลที่รับและส่งกันบนเครือข่าย

2. เน็ตเวิร์กการ์ด หรือ NIC

3. สื่อนำสัญญาณ สื่อนำสัญญาณข้อมูลในระบบเครือข่ายมีทั้งแบบใช้ สายสัญญาณ และแบบไร้สาย ในที่นี้ขอกล่าวถึงสายสัญญาณ สายสัญญาณ คือ สายที่ใช้ในการขนส่งสัญญาณข้อมูลผ่าน ระบบเครือข่าย สายสัญญาณที่นิยมใช้เป็นมาตรฐานในการ เชื่อมต่อระบบเครือข่ายมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)

3. สื่อนำสัญญาณ สายสัญญาณที่เป็นที่นิยมใช้การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายมาก ที่สุด คือ สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) ชนิดที่เรียกว่า สาย UTP (Unshielded Twisted-pair) ซึ่งมีลักษณะคล้าย สายโทรศัพท์ แต่มีคุณภาพดีกว่า สาย UTP ใช้หัวเชื่อมต่อ แบบ RJ-45 RJ-45 สาย UTP

4. อุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์เครือข่าย ทำหน้าที่เกี่ยวกับ 4. อุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์เครือข่าย ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การรับและส่งข้อมูล หาเส้นทางในการส่งข้อมูลทั้งภายในและต่างเครือข่าย ทวนสัญญาณเพื่อให้ส่งข้อมูลได้ในระยะที่ไกลขึ้น ใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์เครือข่ายที่เป็นที่นิยมใช้แพร่หลาย เช่น ฮับ (Hub) สวิตซ์ (Switch) และ เราเตอร์ (Router) เป็นต้น

4. อุปกรณ์เครือข่าย Hub/Switch

4. อุปกรณ์เครือข่าย ตัวอย่าง Hub/Switch

5. โพรโตคอล (Protocol) การสื่อสารในเครือข่ายใดๆ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใน เครือข่ายจะสื่อสารกันได้ต้องใช้ภาษาเดียวกัน โพรโตคอลคือชุดของกฎกติกาในรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่ใช้ ควบคุมดูแลการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย เปรียบเสมือนเป็นภาษากลางที่ คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารในเครือข่าย เช่น คอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องใช้โพรโตคอลชื่อ TCP/IP ในการสื่อสารบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

6. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System หรือ NOS) เป็นซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่ ควบคุมจัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของระบบเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ และ ฐานข้อมูล เป็นต้น จัดการด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ควบคุมการนำโปรแกรมประยุกต์มาใช้ในระบบเครือข่าย

6. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS) คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายจำเป็นต้องมี ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเครือข่าย เพื่อทำหน้าที่ทั้งจัดการภายในคอมพิวเตอร์และระบบ เครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม เช่น Windows Server 2003, Novell Network, Red Hat Linux, Unix, Windows XP เป็นต้น

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย 1. แบบ Bus 2. แบบ Ring 3. แบบ Star

1. Topology มีหลายระบบดังนี้ BUS

Ring

Star

3. สถาปัตยกรรม เครือข่าย (Architecture) มี รูปแบบหลักๆอยู่ 2แบบ คือ - เครือข่ายแบบจุดต่อจุด (Peer To Peer Network) - เครือข่ายไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)

เครือข่ายแบบจุดต่อจุด (Peer To Peer Network) หมายถึงระบบเครือข่ายที่ให้สิทธิเท่ากัน แต่ละเครื่องให้เครื่องอื่นๆ ในระบบเข้ามาใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์ของตนเองได้โดยเสมอภาค

เครือข่ายไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) (Workstation)

ข้อดีของ Peer-to-Peer ราคาถูก ติดตั้งได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีเครื่อง ขนาดใหญ่ที่เป็น Server ข้อเสีย ขยายระบบได้จำกัด ระบบ Security ไม่ดี ข้อดีของ Server-based เร็ว มีฟังก์ชันให้เลือกใช้มาก มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ใช้กับระบบขนาดใหญ่ ระบบ Security ดี ข้อเสีย ราคาสูง ติดตั้งยาก ต้องมีผู้ดูแลระบบ (System Amin)

ประเภทของเครือข่าย ระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับ เกณฑ์ที่ใช้ ในที่นี้ประเภทของเครือข่ายจะแบ่งตาม ขนาดของเครือข่าย ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือ LAN และ WAN

Local Area Network (LAN) LAN คือ เครือข่ายท้องถิ่น เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณจำกัด เช่น ภายในห้อง ภายในร้านอาหาร ภายในอาคารหนึ่ง หรืออาจจะครอบคลุมหลาย อาคารที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เช่น LAN ภายในวิทยาเขตของ มหาวิทยาลัย เป็นต้น จำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันใน LAN อาจมีตั้งแต่สองเครื่องขึ้น ไปจนถึงหลายพันเครื่อง โดยปกติ LAN เป็นการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่ห่างกันไม่มากนัก เพื่อการใช้งานร่วมกัน

Local Area Network (LAN)

Wide Area Network (WAN) Wide Area Network หรือ WAN คือ การเชื่อมต่อเครือข่าย ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่ระยะไกล เช่น เครือข่ายที่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตเมืองหรือจังหวัด ระหว่างเมือง ระหว่าง ประเทศ หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ของ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยทั่วไปเครือข่าย WAN เกิดจากเครือข่าย LAN หลาย เครือข่ายมาเชื่อมต่อกันครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง

Wide Area Network (WAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคาร ก ทุกสาขาทั่ว ประเทศที่เชื่อมต่อกัน เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท ข ที่มีสาขาในประเทศ ไทยและประเทศจีนซึ่งเชื่อมต่อสื่อสารกันได้

Internet อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จากทุกประเทศ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ในปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ที่ไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จากทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารบน อินเทอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น

Internet อินเทอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดที่เชื่อมโยง ฐานข้อมูลจากหลาย ๆ องค์กรทั่วโลกเข้าด้วยกัน จน กลายเป็นศูนย์กลางความรู้และความบันเทิง และศูนย์กลาง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วทุก มุมโลก อีกทั้งยังเป็นแหล่งทำการค้า เกิดการติดต่อซื้อขาย สินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า E-Commerce ซึ่ง เป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีแนวโน้มที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

Local Area Network (LAN) LAN แบบไร้สาย (Wireless LAN) สายสัญญาณที่เป็นที่นิยมใช้เทคโนโลยี LAN มีหลายประเภท แต่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ สาย UTP เทคโนโลยี LAN มีหลายประเภท แต่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดใน ปัจจุบันคือ เครือข่ายอีเธอร์เน็ต (Ethernet)

ระบบเครือข่าย Ethernet ระบบเครือข่าย Ethernet เป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น หรือ LAN ที่ได้รับความนิยมอย่างมากประกอบด้วยส่วนที่เป็นทั้ง ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกันเพื่อการสื่อสารข้อมูล ตัวอย่างระบบเครือข่าย Ethernet ได้แก่ LAN ที่นักศึกษาใช้ ในการเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ LAN ที่ใช้ภายในมหาวิทยาลัย หรือ LAN ที่ใช้ในบริษัทและองค์กรทั่วไป

ระบบเครือข่าย Ethernet เครือข่าย Ethernet มีอัตราเร็วในการรับและส่งข้อมูลใน รูปแบบดิจิทัลที่มีความเร็วตั้งแต่ 10 Mbps จนถึง 1,000 Mbps (1 Gbps) เน็ตเวิร์กการ์ด หรือ NIC ที่ใช้กับเครือข่าย Ethernet นิยมเรียกว่า อีเธอร์เน็ตการ์ด

Wireless LAN (WLAN) ระบบเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย หรือ Wireless LAN (WLAN) คือเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ปราศจากการใช้ สายสัญญาณในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่ายหรือในการ รับและส่งข้อมูลในเครือข่าย แต่ใช้การส่งสื่อนำสัญญาณแบบ ไร้สาย เช่น คลื่นความถี่วิทยุ หรือ คลื่นอินฟาเรด ในการรับ และส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องผ่านทางอากาศ เป็นตัวนำสัญญาณ ปัจจุบัน WLAN ได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ และมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นอย่าง ต่อเนื่องในอนาคต

เครือข่าย LAN แบบใช้สายสัญญาณ Hub/Switch

ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อน และหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มา เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสีย คือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุก เครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น

สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) เป็นอุปกรณ์ สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โท เคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วในการส่ง ข้อมูลลดลง และติดตั้งง่าย

เร้าเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะ สามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกัน ได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูล แบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์ เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะ ส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น

เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถ สูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดย ไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือ แม้กระทั่งโปรโตคอล จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และ ติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติใน การเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวม เอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่ เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย

ตัวอย่าง Wireless LAN Access Point

ข้อดีของ WLAN ความคล่องตัว (Mobility) เครือข่ายไร้สายมีความคล่องตัวใน การทำงานสูง เนื่องจากไม่ต้องติดตั้งหรือเดินสายสัญญาณ ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายจากที่ใดก็ได้ภายใน องค์กรโดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ หรือแม้แต่บริเวณที่ สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้

ข้อดีของ WLAN ความสะดวกในการติดตั้งและดูแลจัดการง่าย เนื่องจากการ ติดตั้งหรือเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องใช้ สายสัญญาณ ทำให้การติดตั้งระบบเครือข่ายทำได้ง่ายและ สะดวกขึ้น อีกทั้งการดูแลรักษาระบบก็ทำได้ง่ายขึ้น ความยืดหยุ่น (Flexibility) เทคโนโลยีไร้สายทำให้ระบบ เครือข่ายสามารถขยายครอบคลุมไปได้ถึงบริเวณที่ สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้

ข้อดีของ WLAN ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่มีการใช้สายสัญญาณ ความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) WLAN สามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบ และใช้ได้กับทั้งเครือข่าย ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สามารถขยายขนาดเครือข่ายได้โดย ไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสายสัญญาณ เหมาะสำหรับสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และ เป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

ข้อเสียของ WLAN ปัญหาหลักของ WLAN คือ ปัญหาด้านการรักษาความ ปลอดภัยของระบบเครือข่าย เนื่องจากการดักฟังข้อมูลหรือ โจรกรรมข้อมูลที่รับและส่งผ่านเครือข่ายแลนไร้สายทำได้ ค่อนข้างง่าย มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง ซึ่งหมายความว่า สามารถ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น มีสัญญาณรบกวนสูง

หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN การสื่อสารในเครือข่ายแบบ WLAN จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ พื้นฐานสำคัญ 2 อย่างคือ Access Point หรือ AP ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางใน การควบคุมการติดต่อสื่อสารรับและส่งข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายและกระจายสัญญาณ ไวร์เลสแลนการ์ด ใช้เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือ Notebook เพื่อใช้ติดต่อกับ Access Point ภายในอุปกรณ์ทั้งสองมีการทำงานทั้งภาครับและส่งสัญญาณ วิทยุและเสาอากาศเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ

หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN ในการสื่อสารจะใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) หรือ เรียกสั้นๆ ว่า คลื่นวิทยุ ในการรับและส่งสัญญาณ โดยใช้คลื่น ความถี่วิทยุในย่านตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 GHz คลื่นความถี่วิทยุมีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์ (Hertz) หรือย่อว่า Hz หมายถึง จำนวนรอบของการเปลี่ยนแปลงคลื่นต่อวินาที

อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในเครือข่าย WLAN

อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในเครือข่าย WLAN Access Point

อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในเครือข่าย WLAN Access Point หรือ AP ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางใน การควบคุมการติดต่อสื่อสารรับและส่งข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดเครือข่ายไร้สายในเครือข่ายและ กระจายสัญญาณ ลักษณะการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกับ Hub ที่ใช้กับ ระบบเครือข่ายใช้สาย Access Point จะมีพอร์ต (Port) สำหรับใช้เพื่อเชื่อมโยง เข้ากับเครือข่ายแบบใช้สายที่ใช้งานกันอยู่ได้ด้วย

อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในเครือข่าย WLAN Access Point เป็นศูนย์กลางของระบบ และเป็นอุปกรณ์ที่ถูก ใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้ทั้งหมดในระบบ ดังนั้น หากมีผู้ใช้ ในระบบมีมากขึ้น อัตราเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ที่ผู้ใช้แต่ ละคนได้รับจะลดลง

ไวร์เลสแลนการ์ด PCI Card PCMCIA

อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในเครือข่าย WLAN ไวร์เลสแลนการ์ด เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือ Notebook เพื่อใช้ติดต่อกับ Access Point หากเป็นคอมพิวเตอร์ Desktop จะใช้การ์ดแบบติดตั้งอยู่ ภายใน หรือการ์ดแบบเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB หรือ การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ PCI Card ซึ่งจะมีเสาส่ง สัญญาณ ให้มาด้วย 1 เสา ถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งผู้ใช้งานนั้น สามารถที่จะปรับองศาให้หันไปทิศทางที่ Access Point ตั้งอยู่เพื่อให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสัญญาณระหว่างกัน นั้นดีขึ้นได้

อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในเครือข่าย WLAN ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ที่เป็นแบบไม่สามารถ ใช้งานเครือข่ายไร้สายได้ ก็สามารถหาซื้อการ์ดแบบ PCMCIA CardBus Adapter มาติดตั้งได้ โดยลักษณะของ ตัวการ์ดจะมีขนาดเล็กเท่าบัตรเครดิต บางเบาและน้ำหนัก น้อย จึงสามารถติดตั้งเข้ากับสล็อตแบบ PCMCIA ของเครื่อง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้โดยง่าย PCMCIA

Centrino Mobile Technology โดยปกติการใช้เครือข่ายไร้สาย คอมพิวเตอร์จะต้องมีไวร์ เลสแลนการ์ดเสียบอยู่ แต่หากคอมพิวเตอร์ Notebook มี คุณสมบัติ Centrino Mobile Technology แสดงว่ามีไวร์เลส การ์ดที่ติดตั้งมาในตัวเครื่องเรียบร้อยแล้ว เนื่องจาก Centrino Mobile Technology เป็นเทคโนโลยีที่ผนวกเอาซีพียูรุ่น ประหยัดพลังงาน ชิปเซตใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง และไวร์ เลสแลนการ์ด เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ Notebook นี้สามารถใช้ งานเครือข่ายแลนไร้สายได้ อีกทั้งยังทำให้ Notebook มีอายุ การใช้งานของแบตเตอรี่นานยิ่งขึ้นกว่าปกติ

การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายแลนไร้สาย เครือข่ายแลนไร้สายสามารถนำไปประยุกต์งานได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การนำเครือข่ายแลนไร้สายและ PDA ไปใช้ในการสั่งอาหาร และคิดเงินในร้านอาหาร การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยคอมพิวเตอร์ Notebook และเครือข่ายแลนไร้สาย การเช็ค e-mail ดูหนัง ดูทีวี ฟังเพลง ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ไร้สาย การนำเครือข่ายแลนไร้สายและ PDA ไปใช้ในการสั่งอาหารและคิดเงินในร้านอาหาร ระบบการทำงานดั้งเดิมในร้านอาหารที่พนักงานจดบันทึกรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งลงบนกระดาษหรือคิดเงินโดยการเก็บใบสั่งอาหารของลูกค้านั้นคงจะล้าสมัยและช้าไปเสียแล้ว ปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งที่มีชื่อเสียง เช่น ร้าน MK สุกี้ ได้นำเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายและ PDA หรือ Pocket PC มาใช้ภายในร้าน เมื่อลูกค้าสั่งอาหาร พนักงานจะใช้ PDA บันทึกรายการอาหาร และส่งรายการดังกล่าวไปในครัวได้ทันทีโดยที่พนักงานไม่ต้องเดินไป พนักงานทุกคนสามารถทวนรายการอาหารของลูกค้าได้ทุกเมื่อ และในการคิดเงิน พนักงานก็ใช้ PDA ผ่านเครือข่ายแลนไร้สายติดต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของร้านเพื่อประมวลผลโดยไม่ต้องเดินไปที่เคาเตอร์คิดเงิน เครือข่ายแลนไร้สายเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงานอย่างมาก การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยคอมพิวเตอร์ Notebook และเครือข่ายแลนไร้สาย ในปัจจุบันสถานที่หลายแห่งมีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายไว้บริการลูกค้า เช่น มหาวิทยาลัย ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า และสนามบิน เป็นต้น และคนส่วนใหญ่มักจะนำคอมพิวเตอร์ Notebook ติดตัวไปยังสถานที่ต่าง ๆ หาก Notebook มีไวร์เลสแลนการ์ดก็สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย

มาตรฐานของเครือข่าย WLAN มาตรฐานของเครือข่ายแบบไร้สายสามารถแบ่งตามคลื่น ความถี่ที่ใช้ได้ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz กลุ่มที่ใช้ย่านความถี่ 5 GHz กลุ่มที่ใช้แสงอินฟาเรด

Infrared Wireless LAN เครือข่ายแลนไร้สายที่ใช้แสงอินฟาเรด (Infrared Wireless LAN) ถูกพัฒนาขึ้นในยุคแรก ๆ แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้ และ ปัจจุบันได้ตกยุคไปแล้ว แต่ยังมีการใช้งานแสงอินฟาเรดใน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ทั่วไป โดยจะเป็นการใช้งานจาก พอร์ตอินฟราเรดที่ติดตั้งมาแล้วในอุปกรณ์ PDA หรือ Notebook เพื่อติดต่อสื่อสารระยะใกล้ ๆ เท่านั้น ซึ่งพอร์ตนี้มี ความเร็วประมาณ 4 Mbps และทำงานได้ระยะไกลสุดเพียง 2 เมตรเท่านั้น

เครือข่ายแลนไร้สายที่ใช้บลูทูธ (ฺBluetooth) บลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เชื่อมต่อ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น PDA, โทรศัพท์มือถือ และ Notebook ในระยะใกล้ ๆ กัน บลูทูธ ไม่นิยมนำมาใช้ใน WLAN เนื่องจากความเร็วที่ไม่สูง มากนักคือประมาณ 1 Mbps และระยะทางการใช้งานต่ำเพียง 10 เมตร ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านเสรีที่ทุกประเทศ เปิดให้ใช้โดยอิสระ

เครือข่ายแลนไร้สายที่ใช้บลูทูธ (ฺBluetooth) ปัจจุบัน บลูทูธนิยมนำมาใช้งานในการเชื่อมต่อระหว่าง 2 อุปกรณ์ในระยะใกล้ ๆ กัน เช่น เชื่อมระหว่างหูฟังไร้สายที่ เป็นบลูทูธกับโทรศัพท์มือถือ หรือจะใช้ต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน อุปกรณ์ไร้สายอื่น เช่น ระหว่าง Notebook กับ โทรศัพท์มือถือ หรือ PDA กับ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น บลูทูธเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้สร้างเครือข่ายแลนไร้สาย ส่วนตัวได้

เครือข่ายแลนไร้สายตามมาตรฐาน 802.11 เครือข่าย WLAN ที่ใช้งานกันทั่วไปส่วนใหญ่ถูกพัฒนาขึ้นมา ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 สาเหตุที่มาตรฐานนี้ได้รับความ นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการใช้คลื่นวิทยุที่มีกำลังส่งสูง พอที่จะนำสัญญาณผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี สามารถใช้งานในที่ ร่มได้ไกลถึง 100 เมตรในที่ร่ม และสถานที่กลางแจ้งได้ไกล ถึง 400 เมตร หมายเหตุ ในการใช้งานจริงจะได้ระยะทางน้อยกว่านี้

เครือข่ายแลนไร้สายตามมาตรฐาน 802.11 และมีความเร็วในการทำงานสูงถึง 11 Mbps – 54 Mbps ซึ่ง เร็วพอที่จะนำมาใช้งานแทนระบบเครือข่ายแลนแบบใช้สาย ได้ IEEE คือ สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineering)

เครือข่ายแลนไร้สายตามมาตรฐาน 802.11 เครือข่าย WLAN ตามมาตรฐาน 802.11 ยังแบ่งออกเป็นหลาย ประเภทหรือมาตรฐานย่อย เช่น มาตรฐาน 802.11b ใช้คลื่นความถี่วิทยุ 2.4 GHz ระยะการรับส่ง ข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 120 เมตรสำหรับการใช้งานภายนอก อาคาร ส่วนภายในอาคารจะมีระยะส่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30 เมตร เท่านั้น มาตรฐาน IEEE 802.11a ใช้คลื่นความถี่วิทยุ 5 GHz และสามารถ รองรับการรับส่งข้อมูลรวดเร็วมากขึ้นถึง 54 Mbps ระยะการรับส่ง ข้อมูลเฉลี่ยประมาณครึ่งหนึ่งของ 802.11b

เครือข่ายแลนไร้สายตามมาตรฐาน 802.11 มาตรฐาน WLAN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ มาตรฐาน 802.11b หรือนิยมเรียกกันว่า Wi-Fi มาตรฐาน 802.11b ใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน 2.4 GHz ซึ่งเป็น ความถี่ย่านเสรีที่ทุกประเทศเปิดให้ใช้โดยอิสระ ความเร็วในการรับและส่งข้อมูลสูงสุดคือ 11 Mbps เครือข่ายที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายแบบ Hot Spot ส่วน ใหญ่ใช้มาตรฐานนี้

Wireless Hotspot Wireless Hotspot คือ จุดหรือบริเวณพื้นที่ที่นำเทคโนโลยี เครือข่ายแลนไร้สาย (WLAN) มาสร้างเป็นจุดให้บริการ อินเทอร์เน็ตไร้สายสาธารณะ หรือที่นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Wi-Fi Zone เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต สามารถใช้งานบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตได้แบบทุกที่ทุก เวลา และยังเป็นช่องทางเชื่อมโยงสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดย ไม่ต้องใช้สายสัญญาณ

สถานที่ให้บริการ Wireless Hotspot ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP ส่วนใหญ่มักจะสร้าง Wireless Hotspot ไว้บริการลูกค้าตามสถานที่ต่างๆ เช่น สถามบิน ร้านกาแฟ โรงแรม โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย Hot Spot ในประเทศไทยมี หลายแห่ง เช่น True Wi-Fi zone, KSC Hotspot, Shin Hotspot, Internet Thailand Wireless Zone เป็นต้น

สถานที่ให้บริการ Wireless Hotspot ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย Hot Spot ในประเทศไทยเปิด ให้บริการ Hot Spot ในบริเวณต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด ผู้ใช้งานสามารถหาข้อมูลสถานที่ให้บริการ Wireless Hotspot ได้จากเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ Hot Spot ผู้ใช้บริการ Hot Spot จะต้องเสียค่าใช้จ่ายตามเวลาที่ใช้งาน มีทั้งแบบเสียค่าบริการแบบเหมาจ่ายเป็นรายเดือน โดยไม่ จำกัดชั่วโมงการใช้งานและปริมาณการรับ-ส่งข้อมูล หรือเสีย ค่าบริการแบบรายชั่วโมง แบบ Pre Pay Package

สถานที่ให้บริการ Wireless Hotspot การใช้งาน Wireless Hotspot ผู้ใช้งานจะต้องมีคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Pocket PC ที่ติดตั้งไวร์เลสแลนการ์ด ตาม มาตรฐาน 802.11 b จากนั้นให้ตั้งค่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามคำแนะนำในคู่มือที่มากับการ์ด โดยการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายผู้ใช้งานจะต้องมี Username และ Password ที่ผู้ให้บริการกำหนดมาให้หลังจากซื้อบริการ

แอร์คาร์ด (AirCard) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wireless Hotspot อาจมีข้อจำกัดเรื่องจุดติดตั้ง ฮอตสปอตที่ยังมีไม่ครอบคลุมทุกที่ ดังนั้น มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกวิธีหนึ่งก็คือ ผ่าน ดาต้าการ์ด หรือ แอร์การ์ด เพราะแอร์การ์ดใช้เครือข่ายของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีการให้บริการพื้นที่ครอบคลุมมากกว่า

ตัวอย่างแอร์คาร์ด (AirCard) Air Card Sierra 775 Air Card Sony GC86 ที่มา: www.thaiaircard.com

แอร์คาร์ด (AirCard) แอร์คาร์ด (AirCard) คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อ เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Notebook) เข้าสู่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่าน โครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อเข้า สู่โลกอินเทอร์เน็ตไปแล้ว ยังสามารถใช้โทรศัพท์ในการโทร เข้า-ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณ คนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cell site เดียวกัน

แอร์คาร์ด (AirCard) ดังนั้น ผู้ใช้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ขอเพียงมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ แอร์คาร์ด อาจมีข้อจำกัดเรื่องของความเร็วที่ยังน้อยอยู่ หาก ใช้เทคโนโลยี GPRS ความเร็วอยู่ที่ประมาณ  53.6 Kbps หรือหากใช้เทคโนโลยี EDGE ซึ่งปัจจุบัน ดีแทค และ เอไอ เอส ได้วางโครงข่ายไว้เกือบทั่วประเทศแล้ว จะได้ความเร็ว เป็น 4 เท่า ของ GPRS

แอร์คาร์ด (AirCard) หากใช้ระบบของฮัทช์ซึ่งเป็น CDMA ให้ความเร็ว 153 Kbps แต่อาจจะมีพื้นที่ในการให้บริการไม่ครอบคลุมเท่ากับจีเอสเอ็ม ของดีแทค เอไอเอส และ ทรูมูฟ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกแอร์การ์ดมาใช้งาน คือต้องคำนึงถึงความเร็วและประสิทธิภาพของเครือข่ายของ ในผู้ให้บริการที่เราจะเลือกก่อน จากนั้นจึงพิจารณาโปรโมชั่น GPRS หรือ EDGE ของผู้ให้บริการแต่ละราย

แอร์คาร์ด (AirCard) โดยผู้ใช้สามารถเลือกแพ็กเกจที่คิดตามระยะเวลาการใช้ งาน หรือ คิดตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับแต่ ละผู้ให้บริการที่ออกโปรโมชัน แอร์การ์ด จะมีทั้งแบบที่เป็นการ์ดสำหรับเสียบช่องแอร์การ์ด (ช่อง Slot PCMCIA) ของโน้ตบุ๊ก และแบบที่เป็นพอร์ต USB สามารถเสียบได้ทั้งโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

แอร์คาร์ด (AirCard) เวลาซื้อแอร์การ์ดผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะ ซื้อตัวแอร์การ์ดอย่างเดียว โดยไปซื้อ SIM มาใส่เอง หรือ เหมาจ่าย airtime เป็นรายเดือนให้กับแอร์การ์ด ในกรณีนี้ ผู้ใช้จะได้แอร์การ์ดมาแบบพร้อมใช้ หากเลือกแอร์การ์ดของ CDMA ในอุปกรณ์นั้นก็จะมีเบอร์ โทรศัพท์ฝังอยู่ในนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนระบบได้ แต่หากเลือก ระบบของค่าย GSM แอร์การ์ดจะมีช่องสำหรับใส่และถอดซิม การ์ด ดังนั้นจึงง่ายและสะดวกในการเปลี่ยนผู้ให้บริการ

แอร์คาร์ด (AirCard) ราคาของดาต้าการ์ดและยูเอสบีโมเด็ม ของฮัทช์ มี 3 รุ่น ได้แก่ Huawei USB Modem ราคา ประมาณ 4,900 บาท ดาต้าการ์ด ราคาประมาณ 4,400 บาท และ AirPlus USB Modem ราคาประมาณ 4,400 บาท ของดีแทคมีให้เลือก 2 รุ่น คือ SN 7850i ราคาประมาณ 14,900 บาท และ Sierra AirCard ราคาประมาณ 14,900 บาท

VPN VPN ย่อมาจาก Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการ เชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Netwok) ที่กำลัง ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากองค์กรที่มีหลายสาขา หรือมี สำนักงานกระจัดกระจายอยู่ในหลายภูมิภาค และต้องการใช้ระบบ VPN ในการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานโดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แทนการต่อเชื่อมด้วยสายเช่า หรือ Leased line หรือ Frame Relay หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นการสร้างเครือข่ายส่วนตัวบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตนั่นเอง

VPN สรุปง่ายๆ คือ VPN เป็นการสร้างเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ที่มา: http://www.dld.go.th/ict/article/network/netw04.html

VPN การสร้างเครือข่ายส่วนตัวบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ VPN คือทำเสมือนกับสร้างอุโมงค์ (Tunnel) ที่เชื่อมต่อตรงระหว่าง เครื่อง Client และ Server ระหว่างสาขาขององค์กร โดย พยายามใช้เส้นทางประจำ ซึ่งต่างจากการส่งข้อมูลบน อินเทอร์เน็ตทั่วไปที่เส้นทางในการส่งข้อมูลจะเปลี่ยนไป เรื่อยๆ ตามแต่สภาพการจราจรบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน แต่ละช่วงเวลา

ข้อเสียของ VPN ประโยชน์ของ VPN คือ ลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารและเกิดความ คล่องตัวในการทำงานมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากผู้บริหารหรือ พนักงานต้องออกไปทำงานนอกบริษัทหรือตามไซต์งานต่างสาขา หรือต่างประเทศ เขาก็สามารถเชื่อมต่อเข้าใช้งานเครือข่ายของบริษัท ได้ เพื่อเช็คข่าว อ่านเมล์ ใช้งานโปรแกรม หรือเรียกดูข้อมูล เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมหากไม่ใช้ VPN เมื่อพนักงานต้องไปทำงานที่สำนักงานที่มี อยู่ในต่างประเทศ และต้องการใช้ข้อมูลภายในบริษัท อาจจะต้องใช้ การโทรทางไกลเข้ามาเชื่อมต่อกับศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งค่าใช้จ่าย ค่อนข้างสูง

ข้อเสียของ VPN เมื่อพนักงานต้องไปทำงานที่สำนักงานที่มีอยู่ในต่างประเทศ และต้องการใช้ข้อมูลภายในบริษัท อาจจะต้องใช้การโทร ทางไกลเข้ามาเชื่อมต่อกับศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งค่าใช้จ่าย ค่อนข้างสูง