การบริหารท่าเรือ (คอนเทนเนอร์) Port Management

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
แนวทางการบริหารงบประมาณ
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
บทที่2 การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิต
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ทิศทางการนำระบบบริหาร จัดการคลังข้อสอบ และการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงาน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สู่หน่วย ปฏิบัติ โดย วรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำหนด.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ Incident Command System: ICS
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
เอกสารเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ของกองวิจัยและพัฒนาข้าว
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
กลุ่มเกษตรกร.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการน้ำดื่ม คณะแพทยศาสตร์
บทที่ 7 การจัดเก็บวัสดุและหีบห่อ
การปฐมนิเทศและการบรรจุ
SMS News Distribute Service
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
โครงการประหยัดพลังงาน ฝ่ายการพยาบาล 2559
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
การวางแผนกำลังการผลิต
Supply Chain Management
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
บทที่ 7 การจัดเก็บวัสดุและหีบห่อ
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การบริหารท่าเรือ (คอนเทนเนอร์) Port Management

การประเมินผลการเรียนรู้ วิธีการประเมิน ** สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมิน ความสนใจและตั้งใจต่อการเรียนรู้ การเข้าเรียน ทุกสัปดาห์ ๕ เปอร์เซ็นต์ การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ส่งงานกรณีศึกษา ๒ ครั้งๆละ ๕ คะแนน สุ่มในสัปดาห์/ส่งภายในชั่วโมง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ ๘ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ การส่งรายงานที่มอบหมาย สัปดาห์ที่ ๑๓ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ การนำเสนอรายงาน สัปดาห์ที่ ๑๔ สอบวัดผล สัปดาห์ที่ ๑๖ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ รวม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

หัวข้อรายงานและการนำเสนอรายงาน แบ่งกลุ่มนักศึกษา ให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อรายงาน โดยใช้วิธีจับฉลากหัวข้อ (1) การบริหารท่าเรือกับกิจกรรมทางโลจิสติกส์ (2) ความสัมพันธ์ของการบริหารท่าเรือกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (3) การจัดเก็บสินค้าอันตรายและความปลอดภัยของท่าเรือ (4) การแข่งขันของท่าเรือกับการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่ AEC (5) การวัดประสิทธิภาพในการบริหารท่าเรือเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์

การส่งรายงาน และ การนำเสนอ ส่งเป็นรูปเล่ม ขนาดกระดาษ A4 ไม่ต่ำกว่า 20 หน้า ฟอนต์ Augsana ขนาด 14 พอยด์ ( ไม่รวมปกหน้าและปกหลัง ) รูปประกอบไม่เกิน 5 หน้า ให้ส่งหนึ่งสัปดาห์ก่อนการนำเสนอ การนำเสนอ นำเสนอด้วย Power Point ระยะเวลาไม่เกิน 35 นาที ( สมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอคนละ 5 นาที ) พร้อมทั้งส่งไฟล์ PPT ( พิจารณาตามความเหมาะสมของ Slides) ห้ามออกมาอ่านหน้าชั้น

รูปแบบของการบริหารท่าเรือ 1.การบริหารท่าเรือโดยรัฐ (Nationalized Ports ) ในระบบการบริหารท่าเรือนี้มีรัฐบาลเป็นเจ้าของดำเนินการก่อสร้างและบำรุงรักษาท่าเรือทุกท่าในประเทศ โดยมีศูนย์กลางการบริหารท่าเรืออยู่ที่เมืองและจัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลออกไปบริหารท่าเรือตามเมืองต่างๆ การปฎิบัติงานในท่าเรืออาจดำเนินการโดยหน่วยราชการหรือบริษัทเอกชน ข้อดี ประการสำคัญของการบริหารท่าเรือโดยรัฐ คือ - สามารถกำหนดนโยบายการพัฒนาท่าเรือทุกท่าในประเทศให้เป็นไปในทางเดียวกัน - ไม่ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณดำเนินการ ข้อเสีย ของการบริหารดังกล่าว คือ - อำนาจทางการเมืองจะเข้ามามีอิทธิพลในท่าเรือได้โดยง่าย - ท่าเรือที่ห่างไกลจากศูนย์กลางจะขาดความคล่องตัวในการบริการ

2.ท่าเรือที่บริหารโดยเทศบาลเมือง (Municipal Ports) เทศบาลเมืองที่ท่าเรือตั้งอยู่จะเป็นเจ้าของท่าเรือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารท่าเรือคือ สภาเทศบาลเมือง (City Council) สภาเทศบาลเมืองจะแต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งหรือสมาชิกสภาคนหนึ่งเพื่อรับผิดชอบการบริหารท่าเรือ 3.ท่าเรือที่บริหารโดยหน่วยงานอิสระ (Autonomous Port Authorities/ Trust Ports) หน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารท่าเรือจะเป็นหน่วยงานอิสระที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ ใน พระราชบัญญัติจะกำหนดสถานภาพ อำนาจภาระหน้าที่ ตลอดจนอาณาบริเวณของท่าเรือไว้อย่างชัดเจน ผู้มีอำนาจสูงสุด ในการบริหารท่าเรือ คือ คณะกรรมการบริหารท่าเรือ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ใช้บริการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ

4.ท่าเรือที่บริหารโดยเอกชน (Company Ports/ Private-owned Ports) ก. ท่าเรือเอกชนที่ให้บริการแก่บริษัทหรือกลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งบริษัทหรือกลุ่มบริษัทนั้นจะเป็น เจ้าของและดำเนินงานท่าเรือ ข. ท่าเรือเอกชนที่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป (Common User Port) วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของท่าเรือเอกชน แบบนี้ไม่แตกต่างจากท่าเรือที่บริหารโดยรัฐ เทศบาลเมือง หรือหน่วยงานอิสระจะแตกต่างตรงที่สถานภาพตามกฎหมายและ วิธีการปฏิบัติงานของท่าเรือจะมีลักษณะเช่นเดียวกับบริษัท ท่าเรือสามารถแสวงหาผลกำไร ในขณะเดียวกันต้องรับผิดชอบใน กรณีที่ขาดทุน

หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในท่าเรือ ท่าเรือเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างการขนส่งทางทะเลและการขนส่งทางบก ท่าเรือจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการขนส่งสินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ - ค่าภาระรับฝากสินค้า (Storage Charges) เป็นภาระในการรับฝากและเก็บรักษาสินค้าทุกชนิดที่อยู่ในท่าเรือเพื่อรอการตรวจเช็คและทำพิธีการศุลกากรต่างๆ ตลอดจนการรอคอยให้เจ้าของมารับสินค้า ค่าภาระสินค้าขาออก ค่าภาระสินค้าผ่านท่า (Quay dues) ค่าภาระยกขนสินค้า(Handling charges) ค่าภาระรับฝากสินค้า(Storage charges)

การพยากรณ์ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือ(Traffic forecasting) 1) ชนิดและปริมาณของสินค้าที่จะเข้ามาใช้บริการผ่านท่าเรือ 2) ลักษณะของการบรรจุหีบห่อในการขนส่งสินค้าทางเรือ 3) ประเภทและขนาดของเรือและความถี่ของการแวะเข้าเทียบท่าของเรือ ข้อมูลสถิติทั่วไปที่ควรจัดเก็บไว้เพื่อช่วยในการพยากรณ์ประกอบด้วย 1) ปริมาณสินค้าที่ขนส่งถ่ายผ่านท่าทั้งสิ้นต่อปี 2) ระยะเวลาเฉลี่ยของการอยู่ในท่าเรือ 3) ปริมาณสินค้าขนขึ้นและลงเรือโดยเฉลี่ยต่อลำ 4) จำนวนสินค้าพิเศษ 5) สัดส่วนของเรือที่มีอุปกรณ์ยกขนในตัวเอง 6) ความยาวโดยเฉลี่ยของเรือ 7) ความลึกสูงสุดของเรือที่เข้ามาเทียบท่าได้

การบริหารท่าเทียบเรือสินค้าบรรจุตู้ (Container Terminals) การบริหารท่าเรือสินค้าบรรจุตู้ 1รูปแบบการขนส่ง ผู้ส่ง-ผู้รับรายเดียว(FCL/FCL) FCL ย่อมาจาก Full Container Loaded ในระบบนี้สินค้าขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งปลายทางด้วยพาหนะหลายประเภทแต่บรรจุกล่องตั้งอยู่ในตู้เดียวตลอดเส้นทาง 2) ผู้ส่ง-ผู้รับหลายราย (LCL/LCL) LCL ย่อมาจาก Less than Container Loaded ในระบบนี้สินค้ารายเล็กๆจะถูกนำมารวมกันและบรรจุเข้าตู้สินค้า เมื่อตู้สินค้าถึงเมืองปลายทาง สินค้าก็จะถูกนำออกจากตู้และส่งมอบแกเจ้าของ สินค้าแต่ละรายต่อไป

ขนาดและประเภทของตู้สินค้า ตู้สินค้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1) General Cargo Container เป็นแบบที่พบเห็นกันมากที่สุด ใช้บรรจุสินค้าทั่วไป ภายในไม่มีเครื่องควบคุมอุณหภูมิ ตัวสินค้าอาจทำด้วยอะลูมิเนียมหรือเหล็กบางครั้งเรียกว่าตู้สินค้าแห้ง

2) Thermal Container แบ่งออกเป็นสามประเภทดังนี้ ก. Refrigerated (Reefer) Container ใช้ปัจจุสินค้าประเภทอาหาร เช่น ผลไม้ เนื้อสัตว์ ปลา ผักสดต่างๆ ตู้สินค้าประเภทนี้มีเครื่องทำความเย็นอยู่ในตู้สินค้าเรียกว่า built-in-type และมีประเภทเรียกว่า Clip on type ตู้ประเภทนี้เครื่องทำความเย็นจะอยู่ในตู้ และความเย็นจะส่งผ่านไปยังตู้โดยท่อซึ่งต่อกับช่องที่อยู่ด้านหน้า ของตู้สินค้า

ข. Insulated Container ใช้บรรจุผลไม้และผักสด ตู้สินค้าทำด้วยเครื่องฉนวนกันความร้อน และโดยปกติจะใช้น้ำแข็งแห้งในการให้ความเย็นแก่ตู้เพื่อรักษาความสดของผัก และผลไม้

ค. Ventilated Container อากาศจะผ่านเข้าออกทางช่องระบายอากาศที่อยู่ด้านท้าย หรือด้านข้างของตู้ ใช้บรรจุผักและผลไม้บางประเภทที่ต้องเก็บในที่มีอากาศถ่ายเทได้ สะดวก

3) Special Container ก. Bulk Container เป็นตู้ที่ใช้บรรจุเมล็ดพืช ปุ๋ย สารเคมี ฯลฯ ที่ขนส่งในลักษณะของสินค้าเทกอง สินค้าจะถูกบรรจุเข้าตู้โดยช่องที่อยู่บนสินค้า และนำออกจากตู้โดยปล่อยให้สินค้าไหลออกที่ช่องซึ่งอยู่ด้านล่างของประตูสินค้า

ข. Tank Container ใช้บรรจุของเหลว เช่น อาหาร สุรา เคมี ฯลฯ สินค้าบรรจุเข้าตู้สินค้าที่ช่องซึ่งอยู่บนตู้สินค้าและนำออกจากตู้ อาจจะโดยการปล่อยสินค้าออกที่ช่องซึ่งอยู่ตอนล่างของตู้ หรือสูบออกที่ช่องเดิม

ค. Open Top Container ด้านบนของตู้สินค้าสามารถเปิดออกได้ สินค้าที่บรรจุเข้าตู้ชนิดนี้มักจะเป็นตู้สินค้าที่มีลักษณะยาว เช่น ซุง หรือเครื่องจักรที่มีน้ำหนักมาก หลังจากที่บรรจุสินค้าลงตู้แล้ว ด้านบนของตู้จะปิดอย่างแน่นหนาเพื่อไม่ให้น้ำผ่านเข้าไปได้ ซึ่งโดยมากจะปิดด้วยผ้าใบ

ง. Platform Container ลักษณะเป็นแท่นใช้วางสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เช่น เครื่องจักร เหล็ก ฯลฯ จ. Platform Based/Flat Rack Container ใช้วางสินค้าที่มีลักษณะยาวและมีน้ำหนักมากเช่นกัน ตู้สินค้าประเภทนี้ไม่มีฝาด้านบนและด้านข้าง และฝาที่ปิดด้านหัวและท้ายสามารถที่จะยกออกมาได้ จึงทำให้สามารถนำสินค้าออกได้ทุกด้าน ตู้สินค้าบางตู้จะมีคานกั้นด้านท้ายของตู้เพื่อป้องกันสินค้ามิให้กระแทกกัน

ฉ. Side Open Container ด้านข้างของตู้สินค้าสามารถเปิดออกได้ เพื่อให้รถยกยกสินค้าสามารถวิ่งเข้าไปในตู้ได้ ช. Car Container ใช้กับสินค้าประเภทรถยนต์ ซึ่งสามารถวางรถยนต์ได้ 1-2 คัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของรถยนต์

ซ. Pen/Liverstock Container ใช้บรรจุสินค้าที่มีชีวิต ด้านข้างจะมีหน้าต่างเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้และด้านล่างจะมีช่องถ่ายเทสำหรับสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ ฌ. Hide Container ตู้ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อบรรจุหนังสัตว์ คือระบายกลิ่นและน้ำซึ่งออกมาจากหนังสัตว์ และมีการหมุนเวียนอากาศได้ดี

ท่าเทียบเรือสินค้าบรรจุตู้โดยปกติ จะประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกดังนี้ 1) ท่าเทียบเรือ (Wharf) สำหรับใช้เทียบเรือสินค้าบรรจุตู้ขนาดความยาวของท่าเทียบเรือจะแตกต่างกันไปตามขนาดของเรือซึ่งเข้าเทียบท่าเป็นประจำ 2) หน้าท่า (Apron) คือ พื้นที่ตอนหน้าของท่าเทียบเรือซึ่งหันหน้าออกสู่ท้องน้ำ ขนาดความกว้างของหน้าท่าโดยปกติประมาณ 20-30 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปั้นจั่นหน้าท่า และอุปกรณ์ยกขนอื่นๆ ที่ใช้บนท่าเทียบเรือ

3) ลานตู้สินค้า (Container Yard/CY) คือ บริเวณที่ใช้รับและส่งมอบตู้สินค้า บรรจุสินค้าเข้าตู้ บางครั้งรวมถึงการใช้เก็บตู้สินค้าเปล่า รถพ่วง(chassis/ trailer) ลานวางเรียงตู้สินค้า และพื้นที่หน้าท่า ขนาดของลานตู้สินค้าขึ้นอยู่กับปริมาณตู้สินค้าเข้า-ออก ขนาดของเรือที่เข้าเทียบท่า และความถี่ในการแวะเทียบท่า

4.ประตู (Gate) เป็นจุดที่รับมอบหรือส่งมอบตู้สินค้า จุดนี้เป็นจุดที่ผู้ทำการบรรทุกขนถ่ายตู้สินค้า และผู้ขนส่งส่งมอบความรับผิดชอบให้แก่ผู้รับใบตราส่ง (consignee)หรือผู้ทำการขนส่งทางบก ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตู้สินค้าไว้อย่างละเอียด เช่น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตู้สินค้า การประทับตราศุลกากร น้ำหนักของตู้สินค้า เป็นต้น 5.โรงซ่อมตู้สินค้า (Maintenance Shop) เป็นที่ที่ใช้ตรวจสภาพตู้สินค้า ซ่อมแซม ทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังการใช้ตู้ นอกจากนี้ ยังใช้ทำการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ยกขนที่ใช้ในท่าเทียบเรือด้วย 6.ลานสำหรับตู้สินค้าประเภทตู้เย็น (Electric power for refer container) เพื่อให้ตู้สินค้าประเทศตู้เย็นทำงานได้ตลอดเวลาก่อนที่จะทำการบรรทุกตู้ลงเรือ หรือหลังการขนถ่ายขึ้นจากเรือจนกระทั่งทำการส่งมอบสินค้า ในบริเวณนี้จะต้องมีปลั๊กและแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่พอเพียง

ระบบการปฏิบัติงานบรรทุกขนถ่ายตู้สินค้า 1.Trailer Storage System ในระบบนี้ ตู้สินค้าขาเข้าจะถูกยกขึ้นจากเรือและวางลงบนรถพ่วง ซึ่งจะถูกลากไปไว้ในบริเวณลานตู้สินค้าที่กำหนดไว้เพื่อรอให้รถบรรทุกมาขนย้ายตู้สินค้าออกจากท่าเรือ ในขณะเดียวกันรถพ่วงจะบรรทุกตู้สินค้าขาออกซึ่งวางเรียงอยู่บริเวณลานตู้สินค้ามาไว้บริเวณหน้าท่าเพื่อทำการบรรทุกลงเรือ

2.Fork-Lift Truck System การปฏิบัติงานขนถ่ายในระบบนี้ จะใช้รถยกขนาด 42 ตัน และ top – lift spreader ซึ่งสามารถยกตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต ซึ่งบรรจุสินค้าเต็มตู้ขึ้นไปวางซ้อนกันได้ 2-3 ตู้ แต่โดยปกติแล้วจะวางซ้อนกันเพียง 2 ตู่ สำหรับ side spreader สามารถยกตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต ที่บรรจุสินค้าเต็มตู้ และใช้ยกตู้เปล่าขนาด 40 ฟุตได้ สำหรับตู้เปล่าแล้วสามารถวางซ้อนกันได้สูงถึง 4 ตู้

3.Straddle-carrier System ปัจจุบันระบบ Straddle-carrier System เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดอุปกรณ์ยกตู้สินค้าชนิดนี้สามารถยกตู้สินค้าขึ้นไปวางซ้อนกันได้ถึง 2-3 ตู้ เทื่อปั้นจั่นหน้าท่ายกตู้ขึ้นจากเรือแล้ว Straddle-carrier จะเคลื่อนย้ายตู้ไปไว้ลานตู้สินค้าเพื่อทำการขนสินค้าออกจากตู้หรือเคลื่อนย้ายต่อไปโดยรถบรรทุก

4.Gantry-Crane / Transtainer System ระบบนี้ตู้สินค้าจะถูกเคลื่อนย้ายและวางเรียงในบริเวณเก็บเรียงตู้สินค้าโดย gantry crane ซึ่งเคลื่อนไปที่บนล้อยาง (Rubber tyred) หรือบนลางเหล็ก gantry crane ที่เคลื่อนที่ไปบนรางเหล็ก (Rail mouted)สามารถวางเรียงตู้ซ้อนกันได้สูงถึง 5 ชั้น แต่โดยปกติจะเรียงสูงแค่ 4 ชั้น ส่วนที่เคลื่อนที่บนล้อยางสามารถเรียงตู้ได้สูง 2-3 ชั้น การเคลื่อนย้ายตู้จากหน้าท่าไปยังบริเวณเก็บเรียงอาจกระทำโดยใช้รถพ่วง

การบำรุงรักษาท่าเทียบเรือ สิ่งสำคัญในการบำรุงรักษาท่าเทียบเรือ คือควรตรวจตราอย่างสม่ำเสมอและทำรายงานเพื่อจะได้มีการซ่อมบำรุงโครงสร้างอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งใช้เวลาไม่มากนัก ท่าเทียบเรือส่วนมากเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กจึงมักจะไม่ต้องมีการซ่อมบำรุงนอกจากจะเกิดชำรุดขึ้น เช่น เกิดรอบร้าวซึ่งในกรณีนี้ควรจะโบกปูนทับทันทีเพื่อป้องกันมิให้รอยร้าวขยายตัว นอกจากนี้ ควรจะป้องกันมิให้ความชื้นซึมเข้าไปตามรอยร้าวและทำให้เหล็กที่เสริมคอนกรีตเป็นสนิม สำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อท่าเทียบเรือและส่วนประกอบ เช่น กันชน บันได ทุ่นเทียบเรือ ก็ต้องมีการตรวจตราอยู่เสมอ หากมีส่วนใดชำรุดจะต้องทำการใส่ทดแทนทันที

การซ่อมบำรุงบริเวณเก็บรักษาสินค้า การป้องกันอุบัติเหตุเป็นสิ่งสำคัญในบริเวณเก็บรักษาสินค้า จะต้องมีการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานและอุปกรณ์อยู่เสมอ และต้องพยายามหาจุดที่ไม่ปลอดภัย และแก้ไขทันทีก่อนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยมากอุบัติเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานขาดความระมัดระวัง เช่น ใช้รถยกสินค้าเกินกว่าที่กำหนด หรือขับรถยกวิ่งลัดทางไม่วิ่งตามช่องที่กำหนดไว้ อีกจุดหนึ่งที่เกิดอันตรายขึ้นเสมอ คือพื้น สินค้าที่ตกจากกล่องหรือลังที่แตกอาจทำให้พื้นลื่น ดังนั้น จึงต้องมีการทำความสะอาดพื้นอยู่เสมอ ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการซ่อมบำรุงเพื่อป้องกันรักษาอุปกรณ์ยกขนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการซ่อมบำรุงบริเวณเก็บรักษาสินค้า

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบรรทุกและขนถ่ายสินค้า สิ่งแรกที่มีความสำคัญต่อความปลอกภัย คือการประสานงานและร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่บนเรือและผู้ปฏิบัติงานบนฝั่ง ในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้ามีแรงงานจากหลายหน่วยงานและอุปกรณ์หลายชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจังหวะในการใช้อุปกรณ์แต่ละตัวจะต้องพอดีกัน หากเร็วหรือช้าเกินไปจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ยังต้องมีแสงสว่างเพียงพอในการทำงาน เรื่องนี้มีความสำคัญไม่เฉพาะแต่สวัสดิภาพของผู้ทำงานเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงสินค้าด้วย บนหีบห่อของสินค้ามักจะมีสัญลักษณ์ระบุของสินค้า หรือวิธีการจัดเรียงเก็บรักษาสินค้า อุปกรณ์ที่จะใช้ในการขนตลอดจนตำแหน่งที่ถูกต้องในการวางอุปกรณ์ ดังนั้นในบริเวณที่ปฏิบัติงานจึงต้องมีแสงสว่างเพียงพอที่จะเห็นสัญลักษณ์และรายละเอียดบนหีบห่อได้อย่างชัดเจน

ความหมายของ ICD คำว่า ICD หรือ Inland Container Depot หรือ Inland Clearance Depot หมายถึงสถานที่อำนวยความสะดวกนอกท่าเรือ ที่ซึ่งสามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับทำการเปิดตู้สินค้าขาเข้า รวบรวมสินค้าออกเข้าตู้ และเก็บรักษาตู้คอนเทนเนอร์ (ทั้งตู้ที่เปิดแล้วและตู้ที่รอการบรรจุและตู้เปล่า) ICD ยังอาจเรียกได้อีกหลายชื่อ เช่น Inland Customs Depot และ Inland Container Freight Station (CFS)

หน้าที่ของICD จากคำจำกัดความข้างต้นจะเห็นได้ว่า ICD เป็นสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการรวบรวม (consolidate) และกระจาย (distribution) ตู้สินค้าที่บรรจุคอนเทนเนอร์อย่างไรก็ดี หน้าที่ของ ICD ยังเกี่ยวข้องกับการให้บริการอื่น ๆ อีก ได้แก่ - เป็นสถานที่สำหรับขนถ่ายย้ายตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างเรือกับจุดอื่นๆภายในประเทศ - เป็นสถานที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์เปล่า (Empty Container) - เป็นสถานที่เก็บรักษา chassis - บริการทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ - บริการซ่อมแซมตู้คอนเทนเนอร์ - บริการอบยาฆ่าเชื้อโรคในตู้คอนเทนเนอร์ (fumigation) - เป็นสถานที่เก็บสินค้าที่เสียหายระหว่างรอการเรียกร้องค่าเสียหาย - เป็นสถานที่เก็บสินค้า (ขาเข้า) ที่ยังไม่เป็นที่ต้องการของผู้รับสินค้า - เป็นสถานที่ที่เก็บและบรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก

ประโยชน์ของ ICD เพื่อเอื้ออำนวยให้พื้นที่ทำงานหน้าท่าในท่าเรือสามารถใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานยกขนถ่ายสินค้าได้มากที่สุด ลดความจำเป็นในการขยายพื้นที่ท่าเรือเพื่อใช้ในการเก็บและดำเนินการรวบรวม/กระจายสินค้าที่บรรจุตู้คอนเทนเนอร์ และการเก็บตู้คอนเทนเนอร์เปล่า (Empty Container) ลดความคับคั่งของการจราจรในท่าเรือ ช่วยให้การควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าเป็นไปได้อย่างสะดวก โดยที่ท่าเรือและศุลกากรไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ช่วยลดต้นทุนในการยกขนสินค้าและเก็บรักษาสินค้าเนื่องจาก แรงงานที่ว่าจ้างมาทำงานใน ICD สามารถว่าจ้างได้ในอัตราค่าแรงที่ต่ำกว่าการว่าจ้างในท่าเรือ เพราะกรรมกรในท่าเรือมีสหภาพแรงงานคุ้มครอง ค่าเช่าที่ โดยทั่วไปจะถูกกว่าค่าเช่าที่บริเวณท่าเรือ

การปฏิบัติงานใน ICD ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ CFS และ CY การปฏิบัติงานในบริเวณ CFS จะเกี่ยวข้องกับสินค้า LCL ซึ่งต้องมีการเปิดตู้บรรจุตู้นั้นจึงมีการปฏิบัติทั้งในส่วนของลานสินค้ากลางแจ้ง และคลังสินค้า (open และ Covered storage) ในส่วนของสินค้าขาเข้าจะเกี่ยวข้องกับ -การรับสินค้า LCL เข้ามายังบริเวณ CFS -เปิดตู้และเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้า -ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับสินค้า ข้อมูลหรือเอกสารที่จำเป็นต้องมีในการปฏิบัติงานใน CFS มีดังนี้ -ชื่อเรือและ voyage number -B/L number -Container number -ชื่อและที่อยู่ของผู้รับสินค้า -Marks และ number อื่น ๆ

การปฏิบัติงานใน CY การปฏิบัติงานใจ CY จะเกี่ยวข้องกับสินค้า FCL ซึ่งไม่ต้องมีการเปิดตู้และบรรจุตู้ จึงไม่จำเป็นต้องมีการปฏิบัติงานในส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดของ CFS การปฏิบัติงานในส่วนนี้จึงเพียงแต่ทำการรับตู้ FCL จากท่าเรือมาเก็บไว้ที่ลานเก็บตู้ (CY) และการรอคอยการมารับหรือนำส่งผู้รับสินค้าต่อไป และสำหรับสินค้าขาออกก็จะเกี่ยวข้องกับการนำตู้เปล่าจากลานเก็บตู้เปล่าและนำส่งไปยังโรงงานผู้ส่งสินค้าเพื่อทำการบรรจุตู้ และ Seal และนำตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าและ seal โดยศุลกากรเรียบร้อยแล้วไปยังท่าเรือเพื่อทำการขนส่งเรือต่อไป

สำหรับระบบคอนเทนเนอร์จะสามารถทำการขนถ่ายสินค้าได้ 2 ระบบ คือ FCL และ LCL การขนถ่ายสินค้าแบบคอนเทนเนอร์จึงสามารถทำได้ 4 แบบ คือ 1.FCL/FCL ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งสินค้าจะเป็นผู้บรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ด้วยตนเอง โดยรับตู้คอนเทนเนอร์จากลานคอนเทนเนอร์ (CY) ไปทำการบรรจุที่โกดังของผู้ส่งสินค้า และเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ถึงเมืองท่าปลายทางแล้วผู้รับปลายทางจะรับตู้คอนเทนเนอร์นั้น ไปทำการเปิดที่โกดังของตนเอง หรือในบางครั้งเรียกว่า แบบDoor to Door 2.FCL/LCL คือแบบการขนส่งที่ผู้ส่งสินค้าต้นทางจะทำการบรรจุสินค้าไปในตู้คอนเทนเนอร์เอง แต่เมื่อเรือไปถึงเมืองท่าปลายทาง ผู้รับสินค้าปลายทางจะรับสินค้าที่โกดังในบริเวณท่าเรือ (Import CFS) โดยบริษัทเรือจะเป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์แล้วนำสินค้าไปเก็ยไว้ในโรงพักสินค้า (import CFS)

3.LCL/FCL แบบนี้คล้ายกับแบบที่ 2 แต่สลับกัน กล่าวคือ ทางด้านต้นทางนี้ผู้ส่งสินค้าจะส่งแบบ LCL โดยบริษัทเรือจะเป็นผู้บรรจุ 4.LCL/LCL คือบริษัทเรือเป็นผู้บรรจุสินค้าเข้าในตู้คอนเทนเนอร์ที่ export CFS และเป็นผู้เปิดตู้ที่ปลายทาง import CFS ***CY คือ Container Yard เป็นลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์แบบ FCL CFS คือ Container Freight Station เป็นที่เก็บสินค้าเพื่อบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์แบบ LCL

การเคลื่อนย้ายสินค้าในระบบคอนเทนเนอร์มีประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้า คือ 1.สินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์จะได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างดี ถ้าหากจะมีความเสียหายก็เป็นเพียงเล็กน้อย ตามสถิติแล้วในการเปรียบเทียบระหว่างการขนส่งด้วยระบบคอนเทนเนอร์กับระบบดั้งเดิมปรากฏว่าการเรียกร้องค่าเสียหายน้อยกว่า 2.มีความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทาง เพราะระบบคอนเทนเนอร์สามารถทำการขนส่งสินค้าได้ชั่วโมงละ 300-400 ตัน ในขณะที่ระบบดั้งเดิมทำได้เพียง 10-30 ตันต่อชั่วโมง 3.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบรรจุหีบห่อ โดยสามารถทำการบรรจุหีบห่อให้ถูกลงได้นอกจากนี้ สินค้าบางชนิดอาจไม่ต้องมีหีบห่อบรรจุเลยก็ได้ โดยทำการแขวนไว้ในตู้สินค้าเลย เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป (Hanging garment)

4. ในการขนส่งแบบ FCL บริษัทเรือจะเรียกเก็บค่าระวางแบบเหมาตู้โดยติดค่าระวาง (Freight) เพียง 21.5 คิวบิกเมตรต่อตู้ 20 ฟุต แต่ถ้าผู้ส่งออกบรรจุสินค้าดี ๆ แล้วอาจบรรจุสินค้าได้ถึง 28 คิวบิกเมตรต่อ 1 ตู้ ตู้คอนเทนเนอร์บางชนิดอาจรับน้ำหยักได้ถึง 21 คัน แต่เก็บค่าระวางเรือ (Freight) เพียง 17.5 ตัน (ซึ่งเป็นน้ำหนักปกติของการบรรทุกสินค้าต่อหนึ่งตู้คอนเทนเนอร์) ส่วนตู้ขนาด 40 ฟุต จะมีความแตกต่างกันเฉพาะในด้านของปริมาตร (Measurement) เท่านั้น ส่วนด้านน้ำหนักจะไม่แตกต่างจากน้ำหนักรถบรรทุกของตู้ 20 ฟุตเท่าใดนัก เพราะตู้ 40 ฟุตนี้เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าหนัก ตู้ 40 ฟุตสามรถบรรทุกได้ 65 ถึง 66 คิวบิกเมตร แต่จะเก็บค่าระวางเพียงประมาณ 43 คิวบิกเมตรเท่านั้น

การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ Container Transportation

การขนส่งสินค้าระบบคอนเทนเนอร์ การขนส่งสินค้าระบบคอนเทนเนอร์ (Container Ship) หมายถึง การขนส่งทางทะเลที่พัฒนาขึ้นเนื่องจากความน่าจะเป็นของสภาพและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ข้อดีของการขนส่งระบบนี้ คือจะทำให้การยกขนหรือการเคลื่อนย้ายสินค้าจากเรือสู่ฝั่ง การเคลื่อนย้ายภายในท่าเรือหรือการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างท่าเรือกับผู้ส่งสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าจ้างแรงงาน ซึ่งในบางประเทศมีค่าจ้างแรงงานสูงมาก

การขนส่งสินค้าระบบคอนเทนเนอร์ การขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ทางทะเลจัดเป็นการขนส่งที่มีความสำคัญที่สุดและใช้มากที่สุด เมื่อเทียบกับรูปแบบการขนส่งอื่นๆ เนื่องจากมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำและสามารถขนส่งสินค้าได้คราวละมากๆ โดยรูปแบบการขนส่งทางทะเลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box)   ระบบการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์อาจถือได้ว่าเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบพิเศษ เพราะช่วยให้เกิดการขนส่งระวางสินค้าแบบต่างรูปแบบ (multi-modal) หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าปริมาณมากหรือขนาดใหญ่ (bulk) จากวิธีการขนส่งวิธีหนึ่งไปยังอีกวิธีหนึ่งได้อย่างง่ายดาย สินค้าที่จะขนส่งจะต้องมีการนำมาบรรจุตู้ (stuffing) และขนย้ายตู้ขึ้นไว้บนเรือ Container Ship ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับใช้ในการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ อย่างไรก็ตาม ท่าเรือที่จะมารองรับเรือประเภทนี้จะต้องมีการออกแบบที่เรียกว่า Terminal Design เพื่อให้มีความเหมาะสมทั้งในเชิงวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ เขื่อนกั้นคลื่น รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

องค์ประกอบของธุรกิจการขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ องค์ประกอบหลักที่สำคัญในการขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ โดยใช้ลำน้ำ เป็นเส้นทางในการขนส่ง ประกอบด้วย ตู้คอนเทนเนอร์ สถานีขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ริมน้ำ สภาพร่องน้ำของแม่น้ำ เรือลำเลียง ท่าเทียบเรือ อัตราค่าระวางเรือ

คอนเทนเนอร์ Container ใช้สำหรับบรรจุสินค้าหรือวัสดุที่ต้องการขนส่งเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการขนส่ง เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเคลื่อนย้าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ขนส่ง

คุณลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์ ตู้คอนเทนเนอร์ จะเป็นตู้ขนาดมาตรฐานอาจทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม โดยมี โครงสร้างภายนอกที่แข็งแรงสามารถวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น โดย จะมียึด หรือ Slot เพื่อให้แต่ละตู้จะมีการยึดติดกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีประตู 2 บาน ซึ่งจะมีรายละเอียด ระบุหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ (Container Number) น้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด ฯลฯ เมื่อปิด ตู้คอนเทนเนอร์ แล้วจะมีที่ล็อกตู้ ซึ่งใช้ ในการคล้องซีล (Seal) ซึ่งเดิมนั้นเป็นตะกั่ว แต่ปัจจุบันจะเป็น Plastic มีหมายเลขกำกับ สำหรับใช้ในการบ่งชี้สถานะภาพ ซึ่งได้มีการพัฒนาไปถึง Electronic Seal ซึ่งสามารถเข้าไป ตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Tracking) หาตำแหน่งของการเคลื่อนย้าย ตู้คอนเทนเนอร์ ภายใน ตู้คอนเทนเนอร์ จะมีพื้นที่สำหรับใช้ในการวางและบรรจุสินค้า

ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ 20’ Dry Container ตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด 20 ฟุต หรือ เรียกว่า 1 TEU (Twenty Equivalent Unit) เป็นตู้ที่มี Outside Dimension คือ ยาว 19.10 ฟุต และกว้าง 8.0 ฟุต สูง 8.6 ฟุต โดยมีน้ำหนักบรรจุตู้ได้ สูงสุดประมาณ 32-33.5 CUM (คิวบิกเมตร) และน้ำหนักบรรจุตู้ได้ ไม่เกิน 21.7 ตัน

ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ 40’ Dry Container ตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด 40 ฟุต หรือ เรียกว่า 1 FEU (Forty Equivalent Unit) ดังนั้นตู้คอนเทนเนอร์ขนาดความยาว 40 ฟุตจึงมีหน่วยนับย่อยเป็น 2 TEUจะมีความยาว 40 ฟุต กว้าง 8 ฟุต สูง 9.6 ฟุต (Hicute) โดยสามารถบรรจุ สินค้าได้ 76.40 – 76.88 CUM และบรรจุสินค้าน้ำหนักสูงสุดได้ 27.4 M/T ซึ่งจะเป็นน้ำหนักสำหรับสินค้าประเภท DryCargoes

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์สามารถแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้ 3 แบบ ตามประเภทหรือความเหมาะสมของสินค้าที่จะรับบรรทุก เช่น ตู้แห้ง หรือ ตู้สินค้าทั่วไป (Dry and General Cargo Container) ตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Thermal Container) ตู้พิเศษ (Special Container)

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Dry Cargoes เป็น ตู้คอนเทนเนอร์ ที่ใส่สินค้า ทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อ หรือภาชนะต้องเป็น สินค้าที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ โดยสินค้าที่เข้า ตู้คอนเทนเนอร์ แล้วจะต้องมีการจัดทำที่กั้นไม่ให้มี สินค้าเลื่อนหรือขยับ ซึ่งอาจจะใช้ถุงกระดาษที่มี การเป่าลม ที่เรียกว่า Balloon Bags มาวางอัดไว้ ในช่องว่างของสินค้ากับตัว ตู้คอนเทนเนอร์ หรือ อาจใช้ไม้มาปิดกั้นเป็นผนังหน้า ตู้คอนเทนเนอร์ ที่ เรียกว่า Wooden Partition หากใช้เป็นเชือก ไนลอนรัดหน้า ตู้คอนเทนเนอร์ ก็จะเรียกว่า Lashing

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Refrigerator Cargoes ตู้แช่แข็ง เป็นตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้าประเภทที่มี เครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ ซึ่ง ทำตามมาตรฐานต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้ อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียส โดยเครื่องทำ ความเย็นนี้อาจจะติดอยู่กับตัว ตู้คอนเทนเนอร์ หรือมีปลั๊กใช้กระแสไฟฟ้าเสียบจากนอก ตู้คอนเทนเนอร์ โดยจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิ แสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของ ตู้คอน เทนเนอร์

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า insulated container ตู้ฉนวนกันความร้อน เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ภายในบุด้วยแผ่นโฟมทุก ด้าน ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ป้องกัน ไม่ให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง โดยปกติจะใช้ น้ำแข็งแห้งในการให้ความเย็นแก่ตู้ เพื่อรักษา ความสดของผักและผลไม้ ตู้คอนเทนเนอร์ ประเภทนี้ต่างจากตู้แช่แข็งตรงที่ไม่มีเครื่องทำ ความเย็น

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Ventilated Container ตู้ระบายอากาศ เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่คล้ายกับตู้แช่แข็งมาก แต่จะใช้พัดลมดูดเอาอากาศทางช่องระบาย อากาศที่อยู่ด้านท้ายหรือด้านข้างของตู้ เพื่อ ชะลอการสุก หรือหมดอายุของสินค้าประเภท ผัก ผลไม้ให้นานขึ้น

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Bulk Container ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับ สินค้าเทกอง เป็นตู้ที่ใช้บรรจุเมล็ดพืช ปุ๋ย สารเคมี ฯลฯ ที่ขนส่งในลักษณะของสินค้าเทกอง โดยสินค้าจะถูกบรรจุเข้าตู้ทางช่องที่อยู่บนตู้สินค้า และนำออกมาจากตู้โดยปล่อยสินค้าไหลออกที่ช่องซึ่งอยู่ด้านล่างของประตูตู้สินค้า

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Tanker Container ตู้แทงเกอร์ เป็นตู้คอนเทนเนอร์โปร่ง มีโครงเหล็กแทนผนังทุกด้าน และมีตัวเหล็กกลมยาวติดตั้งอยู่กับพื้นตู้ ใช้บรรจุของเหลว เช่น น้ำมัน สารเคมี สินค้าอันตราย ฯลฯ สินค้าบรรจุเข้าตู้ทางช่องซึ่งอยู่บนตู้สินค้าและนำออกจากตู้อาจจะโดยการปล่อยให้สินค้าออกที่ช่องซึ่งอยู่ตอนล่างของตู้ หรือสูบออกที่ช่องเดิม ตู้สินค้าประเภทนี้มีน้ำหนักมาก ทำความสะอาดลำบากและยากในการขนย้าย

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Open Top Container โอเพ่นท๊อปคอนเทนเนอร์ เป็นตู้คอนเทนเนอร์ชนิดที่ด้านบนของตู้สินค้าสามารถเปิดออกได้ สินค้าที่บรรจุเข้าตู้ชนิดนี้จะเป็นสินค้าที่มีลักษณะยาว เช่น ซุง หรือเครื่องจักรที่มีน้ำหนักมาก หลังจากที่บรรจุสินค้าลงตู้แล้ว ด้านบนของตู้จะปิดอย่างแน่นหนาเพื่อไม่ให้น้ำผ่านเข้าไปได้ ซึ่งโดยมากมักจะปิดด้วยผ้าใบ ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้บางครั้งอาจเรียกว่า full tilt container

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Platform Container or Flat-rack Container แพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์หรือตู้คอนเทนเนอร์แบบแผ่น เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีแค่พื้น ขนาดกว้าง – ยาว เท่ากับตู้สินค้าทั่วไป สูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุต ไม่มีผนังรอบข้าง แต่บางแห่งมีผนังด้านหน้าและด้านข้างด้วยที่สันตู้จะมีที่สำหรับยึดตรึงสินค้า จึงเหมาะสำหรับบรรจุสินค้าที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก มีความกว้างหรือสูงผิดปกติ เช่น เครื่องจักร เหล็ก รถแทรกเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า หรือเครื่องจักรที่มีน้ำหนักเกิน 30 ตันขึ้นไป

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า แพลตฟอร์มเบส/แพลตฟอร์มแลคคอน เทนเนอร์ ใช้วางสินค้าที่มีลักษณะยาวและมีน้ำหนักมากเช่นกัน ตู้สินค้าประเภทนี้ไม่มีฝาด้านบนและด้านข้าง และฝาที่ปิดด้านหัวและท้ายสามารถที่จะยกออกได้ จึงทำให้สามารถนำสินค้าออกได้ทุกด้าน ตู้สินค้าบางตู้จะมีคานกั้นด้านท้ายของตู้เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้ากระแทกกัน

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Side open container ตู้เปิดข้าง มีลักษณะเหมือนตู้สินค้าทั่วไป ยกเว้นผนังด้านข้างของตู้สามารถถอดออกได้ หรือใช้ผ้าใบแทนผนังด้านซ้าย ใช้สำหรับบรรทุกสินค้าที่มีขนาดกว้างและยาวมาก ๆ อีกทั้งจำเป็นที่จะต้องยกเข้า-ออกจากตู้ทางด้านข้างแทนประตู

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Car container ตู้บรรทุกรถยนต์ คล้ายกับตู้แทงค์เกอร์ขนาดสั้นที่เป็นโครงเหล็กโปร่งยึดเสาภายใน อาจมีโครงเหล็กเพิ่มเติม ใช้สำหรับสินค้าประเภทรถยนต์ สามารถวางรถได้ 1-2 คัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของรถยนต์

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Pen/liverstock container ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสัตว์มีชีวิต ตู้คอนเทนเนอร์แบบนี้ใช้เฉพาะบรรจุสัตว์มีชีวิต ด้านข้างของตู้มีหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ และด้านล่างจะมีช่องสำหรับถ่ายเทสิ่งปฎิกูลจากสัตว์

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้า Hide container ตู้บรรจุหนังเค็ม เป็นสินค้าทั่วๆไป ผนังและพื้นภายในเคลือบด้วยสารพิเศษที่จะไม่ดูดซับกลิ่นและทนต่อการกัดกร่อนของน้ำเกลือ ใช้บรรจุหนังสัตว์ที่มีกลิ่นแรงมาก ตู้ประเภทนี้สามารถระบายกลิ่นและน้ำซึ่งจะออกมาจากหนังสัตว์ และมีการหมุนเวียนอากาศได้ดี

เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์

เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในการบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ โดยเฉพาะ เรือสินค้าแต่ละลำจะมีที่ยก ตู้คอนเทนเนอร์ ที่เรียกว่า Quay Cranes ประมาณ 1-4 ตัว โดย Crane แต่ละตัวจะลำเลียง ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งวางอยู่ตามความลึกของเรือ ซึ่งจะมี การเรียงกันเป็น Column โดยปัจจุบันเรือจะบรรทุกโดยเฉลี่ยประมาณ 2,700 TEU แต่เรือที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่ในชั้นที่เรียกว่า SX Class หรือที่เรียกว่า Super Post Panamaxx ซึ่งมีความยาวโดยเฉลี่ย 320x330 เมตร กินน้ำลึกประมาณ 13-14 เมตร มีความกว้างวาง ตู้คอนเทนเนอร์ ได้ 20-22 แถว ซึ่งสามารถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ ได้สูงสุดถึง 18,000 TEU ซึ่งขนาดเรือที่ใหญ่ขึ้นนี้ จะมีผลทำให้ต้นทุนโดยรวมจะลดลง เนื่องจากต้นทุนแปรผันที่เรียกว่า Variable Cost ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับแรงงาน แต่อย่างไรก็ดี จะต้องมีการบริหารการจัดการในการที่จะหาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ท่าเรือ TERMINAL PORT

ท่าเทียบเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเทียบเรือตู้สินค้าเป็นจุดเชื่อมโยงของระบบการขนส่งทางบกและทางน้ำ ดังนั้นท่าเทียบเรือตู้สินค้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งอยู่ ณ ริมน่านน้ำเพื่อให้สินค้าสามารถผ่านเข้าออกได้สะดวก และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ท่าเรือพร้อมสำหรับรวมสินค้าเข้าตู้สินค้า (grouping) และแยกสินค้า (degrouping) ออกจากตู้สินค้าโดยสะดวก ท่าเทียบเรือนั้นจะทำหน้าที่ก็ต่อเมื่อได้มี การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกท่าเรืออย่างมี ประสิทธิภาพ

ท่าเรือ TERMINAL PORT การท่าเรือแห่งประเทศไทยในฐานะเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือบรรทุกตู้สินค้าใหญ่ที่สุดของประเทศได้แบ่งหน้าที่พื้นฐานของท่าเทียบเรือระบบตู้สินค้าดังนี้ นำสินค้าเข้าตู้และนำสินค้าออกจากตู้ ดูแลรับผิดชอบสินค้าและตู้สินค้า รับมอบและส่งมอบตู้สินค้ากับผู้ตราส่งและผู้รับตราส่ง ขนถ่ายหรือบรรทุกสินค้าขึ้นหรือลงเรือ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือยกขนทั้งหลายที่ท่าเรือ

ขนาดของท่าเรือระบบตู้สินค้า ในการกำหนดแผนผังของท่าเทียบเรือระบบตู้สินค้านั้นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้ 1. สถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวกท่าเรือสามารถทำหน้าที่ยกขนเก็บรักษาและส่งมอบตู้สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ 2. ท่าเรือนั้นสามารถทำหน้าที่เป็นจุดร่วมระหว่างการขนส่งทางบกและทางทะเลหรือไม่ อย่างชอบด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ 3. พิจารณาถึงความเจริญเติบโตของปริมาณสินค้าจะใช้ท่าเรือนั้นๆ ในอนาคต ท่าเรือที่จะออกแบบสร้างขึ้นใหม่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมได้เมื่อปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบเครื่องมือในการยกขนสินค้า

ท่าเทียบเรือระบบตู้สินค้า ท่าเทียบเรือระบบตู้สินค้าควรจะมีสิ่งอำนวยสะดวกที่จำเป็น ดังนี้ 1. เขื่อนเทียบเรือที่มีความยาวและความลึกหน้าท่าดังที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น 2. ลานพักและเก็บตู้สินค้า 3. สถานีตู้สินค้า 4. หอควบคุมตู้สินค้า 5. สถานีตรวจสอบสินค้าท่าเรือ 6. โรงงานซ่อมเครื่องมือกลต่าง ๆ

ประเภทของท่าเรือ TERMINAL PORT 1) Transhipment Port เป็นท่าเรือแบบถ่ายลำ เป็นศูนย์รวมในการเก็บและกระจายตู้คอนเทนเนอร์ คือ ทำหน้าที่เป็น Consolidation Port คือเป็นท่าที่ใช้ในการรวมตู้สินค้าจากบริเวณใกล้เคียง โดยตู้สินค้าจะมีการนำมาบรรทุกเรือประเภทที่เรียกว่า Feeder Vessel เพื่อรอการขนถ่ายไปยังเรือ ที่เรียกว่า Direct Vessel หรือ Master Vessel เพื่อจะได้นำสินค้าไปส่งมอบตามจุดหมายปลายทาง ซึ่งท่าเรือประเภทนี้อาจ ได้แก่ ท่าเรือสิงคโปร์ , ท่าเรือกรัง ,ท่าเรือรอทเทอดัมส์ ฯลฯ ซึ่งท่าเรือประเภทนี้จะต้องมีการบริหารจัดการในการลดเวลาในท่าเรือที่เรียกว่า Time In port หรือ Waiting Time คือ เวลาที่เรือคอยท่าน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่ในท่าเรือ (Terminal Area) ให้สามารถจัดเรียงกองคอนเทนเนอร์ได้เป็นจำนวนมากและต้องอาศัยเทคโนโลยี รวมถึงจะต้องมีคลังน้ำมัน อู่ซ่อมเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่จะทำให้ไม่เกิดสภาพแออัดเนื่องจากท่าเรือประเภทนี้ก็จะต้องมีการแข่งขัน

ประเภทของท่าเรือ TERMINAL PORT 2) Original Destination Port หรืออาจเรียกว่า ท่าเรือต้นทาง ปลายทาง หรือท่าเรือต้นแบบ เป็นท่าเรือที่ใช้ในการรับสินค้าหรือขนถ่ายสินค้าโดยตรง โดยท่าเรือประเภทนี้ประกอบไปด้วย ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า Distribute Center และจะต้องเชื่อมต่อไปยังศูนย์สินค้า ต่อเนื่องไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งในเงื่อนไขของ Incoterms ในหลายๆเงื่อนไขก็ได้ครอบคลุมหรือการขนส่งสินค้าจนถึง Original Port เช่น ท่านิวยอร์ก , ท่าเรือ โตเกียว หรือท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย เป็นต้น ท่าเรือเหล่านี้จะเป็นท่าที่เป็นจุดหมายปลายทางของการขนส่ง เพื่อขนถ่ายสินค้าเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ Interland สำหรับ Transit Port จะเป็นท่าเรือที่ตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าจะมาวางพักเพื่อรอเปลี่ยนเรือลำใหม่ เพื่อที่จะขนส่งไป Original Port เช่น ท่าเรือ Singapore , ท่าเรือฮ่องกง

ประเภทของท่าเรือ TERMINAL PORT 3) Inland Container Depot (ICD) ลานวางตู้หรือท่าเรือในแผ่นดิน (ไม่ติดน้ำ) เป็นสถานีในการเป็นศูนย์ (HUB) ในการรับตู้สินค้าเพื่อขนส่งไปท่าเรือ (Port) หรือรับตู้สินค้าจากท่าเรือเข้ามาเก็บก่อนที่จะส่งต่อไปให้สถานที่รับมอบ สินค้า (Origin Point) ซึ่งปัจจุบันสถานะของ ICD จึงทำหน้าที่คล้ายกับท่าเรือในแผ่นดิน และมีบทบาทอย่างมากต่อกิจกรรมลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ EX. สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง  หรือ ไอซีดี ลาดกระบัง เป็นสถานีรถไฟชั้นพิเศษ ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวย ความสะดวก ให้บริการแก่ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และ บุคคลทั่วไป ในกิจกรรมทุกอย่างเกี่ยวกับสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งขาเข้า และขาออก เสมือนท่าเรือบก ตั้งอยู่ในเขตลาดกระบังกรุงเทพฯ มีเนื้อที่จำนวน 645 ไร่

วิธีการขนย้ายคอนเทนเนอร์ในท่าเรือ การขนย้ายสินค้าในท่าเรือจัดเป็นเทคโนโลยีที่ต้องการการบริหารจัดการเนื่องจากแต่ละท่าจะแข่งขันกันเป็นนาทีในการยกสินค้าขึ้นและลง ซึ่งในปัจจุบันระบบการจัดการท่าเรือที่เรียกว่า Port Automation จะทำหน้าที่ในการจัดการท่าเรือในระบบที่ใช้ Computer และหุ่นยนต์ในการขนย้ายคอนเทนเนอร์หน้าท่า มีกระบวนการดังต่อไปนี้

วิธีการขนย้ายคอนเทนเนอร์ในท่าเรือ 1) Stacking Lanes เป็นการจัดย้ายสินค้าไปวางเรียงกอง ซึ่งจะมีการวางเป็นชั้นที่เรียกว่า Stack ซึ่งโดยปกติจะมีการวางเรียงคอนเทนเนอร์ไว้ 4-5 ชั้น โดยมีความกว้างของช่องทางที่เรียกว่า Gantry Crane เป็นเครื่องมือในการขนย้าย ซึ่งปัจจุบันในหลายท่าได้นำระบบ Computer Right เข้ามากำหนด Location ในการวางตู้ โดยมีหอ Control Room ใช้ในการควบคุมการทำงาน 2) การเคลื่อนย้ายคอนเทนเนอร์ไปไว้หน้าท่า ซึ่งอาจจะใช้ตัว Gantry Crane หรืออาจอาศัยรถยกที่เรียกว่า Top ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย 3) การ Slot Stacking เป็นการยกตู้สินค้าที่วางอยู่บริเวณหน้าท่า Quay ขึ้นไปวางไว้บนเรือ โดยมี Quay Crane คือ Crane ที่อยู่หน้าท่าทำหน้าที่ในการขนย้าย

เครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนสินค้า เครื่องมือยกขนสินค้าที่จำเป็นจะต้องมีไว้ในสถานีขนส่งสินค้าริมน้ำประกอบด้วย Tyre Cranes เป็นเครื่องมือยกขนสินค้าอเนก ประสงค์ ซึ่งสามารถจะใช้ยกขนสินค้าประเภทต่างๆให้กับ เรือสินค้าหรือรถยนต์บรรทุก หรือตู้สินค้ารถไฟ รถยกสิน ค้าประเภท tyre cranes เป็นรถล้อยางมีแขนยกสินค้า ประจำที่ (fixed boom) ความยาวประมาณ 10-15 เมตร หรือเป็นแบบแขนยกสินค้าประเภทยืดหดได้ (telescopic boom) Portal Cranes เป็นเครื่องมือยกขนสินค้าแบบโครงสร้างบนฐาน 4 ขา มีข้อเหล็กสำหรับการเคลื่อนย้ายไปตามราง (track) ส่วนบนของเครนเหนือฐานโครงสร้างหมุนได้รอบตัวลักษณะโครงสร้างของ portal crane ทำให้ใช้แขนยกขน (boom) สั้นกว่า tyre crane และวงหมุน (swing radius) สั้นกว่า เครนชนิดอื่นๆข้อดีของ portal crane ก็คือมีราคาถูกกว่า tyre crane แต่ข้อจำกัดคือพื้นที่การปฏิบัติงานค่อนข้างจำกัด

เครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนสินค้า Fixed Cranes เป็นเครนแบบติดตั้งประจำที่ไม่สามารถ จะเคลื่อนย้ายไปไหนได้โครงสร้างมีลักษณะคล้าย portal crane มีราคาต่ำกว่า tyre cranes และ Portal cranes ที่มีขีดจำกัด ความสามารถในการยกขนสินค้าเท่าๆกันข้อเสียของ Fixed cranes คือจะต้องนำเรือสินค้ามาเทียบตรงที่เครนติดตั้งอยู่ Forklift truck เป็นเครื่องมือยกขนสินค้าที่มี ความคล่องตัวสูงซึ่งมีคุณลักษณะผสมระหว่างการยกขนสินค้า lifting) และการขนสินค้า (trucking) การยกสินค้าใช้อุปกรณ์ ลักษณะคล้ายซ่อม ยกสินค้าตามแนวดิ่งด้วยระบบ ไฮโดรลิกส์

เครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนสินค้า รถ trailer และรถ platform รถเครน และ รถ forklift truck ตามปกติใช้ยกขนสินค้าในแนวดิ่งและทางราบในระยะ จำกัด ในการขนส่งทางระยะยาว รถ trailer และ รถ platform จะเข้ามามีบทบาทแทน ในช่วงการขนส่ง สินค้าจากเรือไปยังลานสินค้า (yard) และคลังสินค้า (warehouse) Porteainers หรือ container cranes เป็นเครื่องมือยกตู้ container ขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่หน้าท่า เรือควบคุมระบบการทำงานด้วยไฟฟ้า ลักษณะโครงสร้าง เป็นแบบขาหยั่ง (gantry) ที่มีแขนยกตู้สินค้า ยื่นออกไป จากท่าเหนือระวางตู้สินค้าของเรือ (container deck) ตัว Porteainers สามารถเคลื่อนย้ายที่ไปตามที่ต่างๆของท่า ทำให้มีความคล่องตัวสูงในการยกตู้สินค้า

เครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนสินค้า Transtainer หรือ Tyre gantry crane ในขณะที่ portainer เป็นเครื่องมือที่ใช้ยกขนตู้สินค้า container จากเรือไป ลานวางตู้สินค้า (container yard) หรือจากลานวางตู้สินค้า (container yard) ไปเรือ tyre gantry crane (tyr) ทำหน้าที่ ยกขนตู้สินค้า container จากรถบรรทุก (truck) ไปยังที่พักสินค้า (storage) และจากที่พักสินค้า (storage) สู่รถบรรทุก (truck) Straddle carrier เป็นเครื่องมือยกขนสินค้าระยะทาง ราบในระยะทางไกลที่เกินกว่าขีดความสามารถของ forklift truck โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกขนตู้ container จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในเขตท่าเรือการ เคลื่อนที่ของ straddle carrier จะช้ากว่า forklift truck แต่เดินทางไปในทางพื้นราบได้ไกลกว่า

เครื่องมือสำหรับขนส่งสินค้าประเภทเทกอง เครื่องมือขนสินค้าประเภทเทกองอาจแบ่งชนิดตามกรรมวิธีการขนออกได้เป็น 2 แบบ 1. แบบยกเป็นครั้ง (Batch Handling Equipment) แบบต่อเนื่อง (Continous Handling Equipment) การขนส่งแบบยกขนเป็นครั้งจะใช้เครื่องมือประเภทเครนปากจับ (grab crane) ส่วนการขนประเภทต่อเนื่องจะใช้ระบบสายพาน (Conveyer) หรือระบบ Loader Grab cranes ส่วนใหญ่มันจะเป็นการดัดแปลงเครนที่ใช้ขนสินค้าทั่วไป (general cargo crane) ซึ่งอาจจะเป็นแบบติดตั้งประจำที่ ( fixed grab) หรือแบบตีนตะขาบเคลื่อนที่ (crawler crane) โดยการเอาปากจับประเภท clam shell หรือ grab มาติดแทนตะขอ (hook) ที่ใช้ยกสินค้า crawler crane ที่ได้รับการดัดแปลงส่วนใหญ่จะใช้ทำงานกับรถบรรทุก และตู้สินค้ารถไฟ ส่วน portal crane หรือ gantry crane ที่ติด clamshell หรือ grab จะใช้กับเรือสินค้า

เครื่องมือสำหรับขนส่งสินค้าประเภทเทกอง Screw loader/unloader เป็นเครื่องมือขนสินค้าประเภทต่อเนื่องใช้ขนส่งสินค้าพวกถ่านหิน เมล็ดพืช ซีเมนต์ ปุ๋ย หรือสินค้าเทกองประเภทอื่นขึ้นจากเรือหรือจากท่าลงสู่เรือ การทำงานของเครื่องมีลักษณะเป็นเกลียวสว่านหมุนอยู่ในท่อทำให้มีการฟุ้งกระจายต่ำและมีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน ข้อเสีย screw loader คือต้องการกำลังขับระบบค่อนข้างสูงและมีความเสียหายต่อเนื่องจากแรงเสียดทาน ทำให้อายุการใช้งานของท่อสินค้ามีอายุไม่มากนักจะต้องเปลี่ยนท่อตามระยะเวลา Chain bucket loader/unloader ลักษณะทำงานของเครื่องเป็นบุ้งกี๋เหล็ก (steel bucket) หลายๆอันติดตั้งอยู่บนสายพานที่หมุนรอบตัวลูกล้อด้านบนและด้านล่ง (upper and lower wheels) ตัวลูกล้อทั้งสองติดอยู่ปลายสะพาน (ladder) ทั้งสองข้าง เมื่อสายพานหมุนจะพาบุ้งกี๋ (bucket) เลื่อนไปตามสะพานทางด้านล่าง ตัวบุ้งกี๋เมื่อถึงปลายสะพานด้านล่างจะทำการตัดสินค้าแล้วลำเลียงขึ้นมาด้านบนของสะพานจนจุดปลายสะพานด้านบนก็จะเทสินค้าลงบนลานสินค้าแล้วเดินทางกลับไปทางด้านล่างของสะพานเพื่อลำเลียงสินค้าขึ้นมาใหม่หมุนเวียนตลอดไป chain bucket loader/unloader ทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่า grab crane เกือบเท่าตัว

ลานพักและเก็บตู้สินค้า ลานพักตู้สินค้าที่ขนถ่ายลงมาจากเรือและลานพักตู้สินค้าก่อนขึ้นเรือ (marshalling yard) จะต้องเป็นลานกว้าง สำหรับพักตู้สินค้าที่ขนถ่ายลงจากเรือหรือตู้สินค้าที่จะขนขึ้นเรือ ลานวางตู้สินค้านี้ ควรจะอยู่ติดกับหน้าเขื่อนเทียบเรือ ลานพักตู้สินค้าจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบสำหรับตู้สินค้าที่จะบรรทุกขึ้นเรือ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายตู้สินค้าไปข้างเรือได้อย่างรวดเร็วและปั้นจั่นหน้าท่าสามารถทำงานยกตู้สินค้าขึ้นเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องจัดพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับตู้สินค้าที่จะขนถ่ายลงมาจากเรือ เพราะถ้าลานวางตู้สินค้าอยู่ไกลออกไป การทำงานก็จะเกิดความล่าช้า จำนวนพื้นที่ลานพักสินค้าหลังเขื่อนเทียบเรือนั้น ควรจะมีพื้นที่สอดคล้องกับปริมาณตู้สินค้าที่จะพักที่ลานนั้น ตลอดจนลักษณะการปฏิบัติงานยกขนตู้สินค้า ซึ่งหมายถึง จำนวน ขนาด ชนิด ของเครื่องมือยกขนตู้สินค้าที่ใช้ รวมทั้งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องด้วย