บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต
หัวข้อ 1. อินเตอร์เน็ต คืออะไร 2.ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต 3. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต 4. บริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต 5. เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web – WWW) 6. สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ต 7.พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
1. อินเตอร์เน็ต คืออะไร อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย (Sub Net)หลายเครือข่ายทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน มีการรับส่งสารสนเทศเป็นมาตรฐานเดียวกัน คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับส่งสารสนเทศได้ในรูปแบบต่าง ๆ คือ ข้อมูล (data) ข้อความ (text) เสียง (voice) และภาพลักษณ์หรือรูปภาพ (image) การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ใช้โพรโทคอล TCP/IP
2. ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้ เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย ในปี ค.ศ. 1983 ได้มีการนำ TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1986 มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain name System) เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่าย และใช้ ISP (Internet Service Provider) ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม
3. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต 3. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต มีประโยชน์ดังนี้ คือ ด้านการศึกษา คลังข้อมูลขนาดใหญ่ / สมัครเรียน ด้านการรับส่งข้อมูลข่าวสาร e-mail (Electronics mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ web board กระดานข่าว (www.pantip.com) chat สนทนาออนไลน์ web blog เว็บสำเร็จรูป เช่น Twitter, Facebook ด้านธุรกิจการค้า e-commerce ธุรกรรมออนไลน์ ด้านบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ภาพ ด้านซอฟท์แวร์ www.download.com, www.thaiware.com
4. บริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต ให้บริการดังนี้ บริการด้านการสื่อสาร เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสนทนาแบบออนไลน์ กระดาษข่าว บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ด้วย search Engine
5. เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web – WWW) 5.1 เว็บไซต์ (web site) เว็บไซต์ (web site) หรือ เว็บเซอร์ฟเวอร์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหลงเก็บเว็บเพจ 5.2 โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (web browser) เป็นโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในการเข้าสู่ www และเปิดดูเว็บเพจที่เก็บอยู่ในเว็บไซต์ใดๆ โดยเว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ IE , Chrome, FireFox
6. สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ต โฮมเพจ (home page) คือ หน้าแรกของเว็บเพจทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจะพบเมื่อมีการเข้าไปยังเว็บไซต์ใดๆ และมักจะเป็นหน้าที่เชื่อมต่อ (Link) ไปยังหน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์ เว็บไซต์ (web site) คือ แหล่งที่ตั้งข้อมูลขององค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลใดๆ เว็บเพจ (web page) หมายถึง หน้าใดๆ ก็ได้ในเว็บไซต์ เป็นการเรียกไม่เฉพาะเจาะจง
6. สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ต (ต่อ) หมายเลขประจำตัวเครื่อง (IP Address) ในการกำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นจะนำไประบุไว้ในส่วนของ IP เมื่อต้องการส่งข้อมูลเราก็จะเรียกตัวเลขระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้นี้ว่า IP Address ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดด้วยกัน โดยแต่ละชุดจะมีรหัสที่ไม่ซ้ำกันและจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 192.150.251.31 หรือ 158.108.2.71 เป็นต้น
6. สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ต (ต่อ) ระบบชื่อของเครื่อง ชื่ออินเทอร์เน็ต (DNS: Domain Name System) คือ ชื่อที่ใช้อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เนื่องจาก IP Address นั้นจำยาก ดังนั้นเราจึงนำ DNS มาใช้แปลงตัวเลข IP Address ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจให้กลายมาเป็นชื่อที่เราอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น google.co.th เป็นต้น
โดนเมนเนม 2 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน โดนเมนเนม 2 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.google.com * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย * .edu คือ สถาบันการศึกษา * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล * .mil คือ องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ * .co commercial คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ * .ac academic คือ สถาบันการศึกษา * .go government คือ องค์กรของรัฐบาล * .net network คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย * .or organization คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร * .th คือ ประเทศไทย * .cn คือ ประเทศจีน * .uk คือ ประเทศอังกฤษ * .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น * .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกาศ และบังคับใช้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... จำคุก 6 เดือน 2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ ... จำคุกไม่เกิน 1 ปี 3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา เช่น ขโมยข้อมูลบัตรเครดิต ... จำคุกไม่เกิน 2 ปี 4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว แล้วเราไปดักจับข้อมูล ของเขา ... จำคุกไม่เกิน 3 ปี
ที่มา http://it.nkc.kku.ac.th/ict_law.aspx 5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมเมมัน จนทำให้ระบบเสียหาย ... จำคุกไม่เกิน 5 ปี 6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง .......จำคุกไม่เกิน 5 ปี 7. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า ......จำคุกสิบปีขึ้น 8. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรือ e-mail จากเราเลย แต่ก็ส่งให้เขาซ้ำ ๆ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท 9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... จำคุกไม่เกิน 1 ปี 10.โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน,, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... จำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่มา http://it.nkc.kku.ac.th/ict_law.aspx
บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็คือ 1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน 10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท