อินเทอร์เน็ต (Internet)
ความหมายของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ เครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกันทั่วโลก กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ สื่อสารกันได้ด้วยภาษามาตรฐาน เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล บนอินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นได้อย่างไร ริเริ่มโดยหน่วยงานวิจัยชั้นสูง ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ที่เรียกว่า อาร์ปาเน็ต (ARPANET) สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการติดต่อสื่อสาร ได้รับความนิยมและพัฒนาเรื่อยมา ทั้งหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน
พ.ศ.2530โดย ม.สงขลานครินทร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ต่อเชื่อมเข้ากับเครือข่าย UUNET ของบริษัทเอกชนในรัฐเวอร์จิเนีย ต่อมาจึงมีการเชื่อมต่อของมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีชื่อเครือข่ายว่า ไทยเน็ต (THAInet) NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายที่เรียกว่าไทยสาร (THAISARN) ภาคเอกชนได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP:Internet Service Provider)
โครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ขอใช้บริการ ให้บริการ
อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญอย่างไร เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางด้านความรู้ ความคิด เป็นแหล่งค้นคว้าแลกเปลี่ยนความรู้ อำนวยความสะดวก ในกิจกรรมต่าง ๆ การเผยแพร่ความรู้ โฆษณา ประชาสัมพันธ์
การบริการในอินเทอร์เน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทางไกล (Remote Login) การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP: File Transfer Protocol) กลุ่มข่าว (Usenet) การสนทนาบนเครือข่าย (Talk/Chat) การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล (Gopher/Archie) เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW : World Wide Web)
E-mail การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดย ผู้ส่งจะต้องรู้ที่อยู่ของผู้รับ (E-mail Address) โปรแกรมที่ใช้ ในการรับ-ส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ เช่น Eudora, Pine, Netscape Mail, Microsoft Explorer และอื่น ๆ
http://www.thaimail.com/
Remote Login เข้าไปใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่ห่างไกล เพื่อใช้บริการและข้อมูลของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของระบบอื่น โดยใช้โปรแกรม Telnet ผู้ใช้ต้องทราบ IP address, Login, Password
FTP การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในอินเทอร์เน็ต download => การถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องให้บริการมายังเครื่องที่ใช้บริการ upload => การถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องที่ใช้บริการไปเก็บไว้ที่ เครื่องให้บริการ โปรแกรมที่จะช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ก็เช่น Netscape, Telnet WSFTP เป็นต้น
http://www.thaiware.com/
http://download.com.com
โปรแกรม Telnet WSFTP
UseNet เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสาร แสดงความคิดเห็นใน เรื่องราวและประเด็นต่างๆ ตามความชอบและความสนใจร่วมกัน ข่าวจะจัดเป็นกลุ่มๆ ไว้ เช่น สังคม การเมือง บันเทิง
Talk/Chat เป็นการสื่อสารด้วยการส่งข้อความตอบโต้กันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งแบบเป็นกลุ่มสนทนา และแบบตัวต่อตัว ปัจจุบันพัฒนาระบบมากขึ้นสามารถโต้ตอบกันได้ด้วยเสียงพูดและเห็น ภาพคู่สนทนา เช่น ICQ, Pirch, MSN messager, Yahoo messager, Netmeeting
Netmeeting icq
Gopher/Archie บริการค้นหาข้อมูลและแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ มีเครื่องบริการที่จัดเตรียมข้อมูลที่แบ่งเป็นหมวดหมู่และ ทางเลือกให้เลือกค้นหาข้อมูล โดยไม่ต้องทราบหมายเลขไอพีของเครื่องที่ให้บริการ Archie อาร์ชี เป็นระบบการค้นหาแฟ้มข้อมูลที่พัฒนาขึ้นโดยนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายจากมหาวิทยาลัย McGill ประเทศแคนาดา อาร์ซีจะเป็นบริการสำหรับช่วยผู้ใช้ที่ทราบชื่อแฟ้มข้อมูลแต่ไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ใด เครื่องบริการอาร์ซีที่กระจายอยู่ทั่วโลกจะมีฐานข้อมูลชื่อแฟ้มต่างๆจากเครื่องที่มีบริการขนถ่ายข้อมูล ftp สาธารณะ (ใช้ user แบบ anonymous ได้) เสมือนกับเป็นบรรณารักษ์ที่มีรายชื่อของหนังสือทั้งหมดที่อยู่ในห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้จะได้รับแฟ้มข้อมูลที่ต้องการด้วยการใช้บริการ ftp ในการขนถ่ายข้อมูลตามตำแหน่งที่อาร์ชีแจ้งให้ทราบ Gopher โกเฟอร์ เป็นโปรแกรมประยุกต์แบบไคลแอนต์-เซิร์ฟเวอร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยมหาวิทยาลัย Minesota เพื่อช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลตามลำดับชั้น ฐานข้อมูลของระบบโกเฟอร์จะกระจายอยู่ทั่วโลก และมีการเชื่อมโยงกันอยู่ผ่านระบบเมนูของโกเฟอร์เอง การใช้โกเฟอร์เปรียบได้กับการเปิดเลือกรายการหนังสือในห้องสมุดที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ตามหัวข้อเรื่องซึ่งผู้ใช้สามารถค้นเรื่องที่ต้องการตามหัวข้อต่างๆ ที่แบ่งไว้ และเมื่อเลือกหัวข้อแล้ว ก็จะปรากฏหัวข้อย่อยๆ ให้สามารถเลือกลึกลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบเรื่องที่ต้องการ
WWW WWW จะเป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลนี้อยู่ในรูป Multimedia คือ มีทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวีดีโอ โดยใช้หลักการของ ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ที่สามารถเลือกเพื่อเชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆ ที่อยู่ Web site เดียวกันหรือ Web site อื่น การสืบค้นต้องรู้ที่อยู่ของเครื่องที่เก็บสารสนเทศหรือ URL
ระบบชื่อในอินเทอร์เน็ต หมายเลขไอพี (IP number) หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ต ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System: DNS) เป็นการแทนหมายเลขไอพีด้วยชื่อที่เป็นตัวอักษร รหัสยูอาร์แอล (Uniform Resource Location:URL) เป็นรหัสที่ใช้ในบริการแบบ WWW E-mail Address ที่อยู่สำหรับการรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หมายเลขไอพี (IP Number) ค่าตัวเลขในแต่ละส่วนมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 เช่น 203.148.247.211 192.168.1.1 127.0.0.1
โดเมนเนม (DNS) ชื่อที่ใช้แทนหมายเลขไอพี เพื่อสะดวกในการจดจำได้ง่าย การกำหนดโดเมนเนมจะเรียงลำดับความสำคัญของชื่อจากขวา ไปซ้าย โดยมีจุดคั่น เช่น www.msu.ac.th การตั้งและใช้โดเมนเนมจะต้องไม่ซ้ำกันเลย โดยยึดหลักผู้ใดจด ทะเบียนก่อนมีสิทธิใช้ชื่อก่อน หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลชื่อโดเมนของ InterNIC ThNIC
องค์ประกอบของโดเมนเนม ชื่อโดเมน ชื่อสับโดเมน ชื่อระบบเครือข่าย ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์
ชื่อโดเมน หมายถึง กลุ่มหลักของคอมพิวเตอร์ ชื่อย่อประเทศ : เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย Internet ที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ au = ประเทศออสเตรเลีย (Australia) sg = ประเทศสิงคโปร์ (Singapore) th = ประเทศไทย (Thailand) tw = ประเทศไต้หวัน (Taiwan) uk = ประเทศอังกฤษ (United Kingdom)
ชื่อย่อประเภทขององค์กร : เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย Internet ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา เช่น com = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน edu = Education หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย gov = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม org = Organization องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร mil = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร) net = Network หน่วยงานที่ให้บริการด้านเครือข่ายสื่อสาร
ชื่อสับโดเมน (Sub-Domain) เป็นส่วนขยายของชื่อโดเมน บอกถึงประเภทขององค์กร มีเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย Internet ที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกา เช่น co = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน ac = Academic หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย go = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม or = Organization องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร mi = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร) net = Network หน่วยงานที่ให้บริการด้านเครือข่ายสื่อสาร
ชื่อระบบเครือข่าย msu kmitl chula cmu nectec ชื่อของเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ เช่น msu kmitl chula cmu nectec
ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อที่กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ เช่น Lib1 Comp1 Comp2 Lis
ตัวอย่าง โดเมนเนม Lib1.msu.ac.th ชื่อโดเมน ชื่อสับโดเมน ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อระบบเครือข่าย ชื่อสับโดเมน ชื่อโดเมน
ตัวอย่าง โดเมนเนม www.msu.ac.th ชื่อโดเมน ชื่อสับโดเมน ชื่อระบบเครือข่าย ชื่อสับโดเมน ชื่อโดเมน
รหัสยูอาร์แอล ในบริการแบบ WWW จะใช้ รหัสสืบค้นข้อมูลที่เรียกว่า รหัสยูอาร์แอล มีส่วนประกอบ 4 ส่วนคือ ชนิดของบริการ โดเมนเนมของเครื่องที่ให้บริการ ไดเรกทอรี่ ชื่อแฟ้มข้อมูล
ชนิดของบริการ เวิลด์ไวด์เว็บ ใช้สัญลักษณ์ http โกเฟอร์ ใช้สัญลักษณ์ gopher การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ ftp ข่าว ใช้สัญลักษณ์ news
http://www.msu.ac.th/index/main.htm ชื่อแฟ้มข้อมูล ไดเรกทอรี โดเมนเนมของเครื่องให้บริการ ไดเรกทอรี ชื่อแฟ้มข้อมูล ชนิดการบริการ
ตัวอย่าง URL โกเฟอร์ gopher://veronica.scs.unr.edu/11/veronica เวิลด์ไวด์เว็บ http://www.msu.ac.th/index/main.htm โกเฟอร์ gopher://veronica.scs.unr.edu/11/veronica การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล ftp://ftp.nectec.or.th/pub/pc/modem.txt ข่าว news://comp.infosystem.www
E-mail Address เป็นที่อยู่สำหรับการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้ (User name) โดเมนเนมของเครื่องที่ให้บริการ gamgarn.s@msu.ac.th
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โทษของอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล เป็นเครือข่ายสาธารณะ ควบคุมได้ยาก เป็นช่องทางการสื่อสารที่ดี เกิดการหลอกลวง เพิ่มความสามารถทางธุรกิจ ความไม่ปลอดภัยจากการทำธุรกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูล การลักลอบเข้าไปทำลายข้อมูล เพื่อความบันเทิง ความร้ายกาจของ Virus ความสะดวกสบายในการใช้งาน