โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 23202)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แสดงให้คุณ SLIDEPLAYER.IN.TH
Advertisements

โครงการบริการวิชาการ (ภายใน)
การรายงานผลการอบรม : ที่หน้าของฉัน
CLIP VDO + โดย พุทธพจน์ ตรีเภรี + -. CLIP VDO+ Q : แหล่งที่อยู่
บทที่ 4 Power Point ขั้นตอนการทำสไลด์ รายละเอียดหน้าจอของ Power Point
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ
การสร้างเมทาดาต้า อาจารย์เอกภพ อินทรภู่ อาจารย์ธนากร อุยพานิชย์
Full – Paper ที่ส่งคืนให้แก้ไข ให้ ไปแก้ไขให้ถูกต้องแล้วนำกลับมาส่งใหม่ ใน วันพุธ ที่ 17 ธันวาคม 2557 สิ่งที่จะต้องนำมาส่ง มีดังนี้ 1. Full – paper ที่แก้ไขแล้วทำเล่มให้เรียบร้อย.
ซอฟต์แวร์ที่สนใจ นางสาว อุทัยวรรณ อำพันขาว PE 32 ID
ระบบประเมินผลการ ปฏิบัติงาน ผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ โครงการพัฒนากระบวนการทำงาน (Re- Process) ประเภทความร่วมมือระหว่างสำนัก.
การทำตัวอักษรขึ้นต้นด้วย ตัวใหญ่ นางสาว ลลิตา เจริญผล
ระบบการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ปี 2558 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตโดยเกษตรกร และ / หรือองค์กรเกษตรกรในพื้นที่และกิจกรรม.
การใช้ โปรแกรม PowerPoint. เปิดโปรแกรม Power Point คลิกที่ปุ่ม Start > เลือก Programs > Microsoft Office > Microsoft Office Power Point.
Power Point ประกอบการบรรยาย แก่ “ประธานกรรมการและเลขานุการ กรรมการสถานศึกษา ตามโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรรมการสถานศึกษา” วันที่ 19 ธันวาคม.
กระบวนการแสวงหาความรู้
ส่งเสริมให้คำที่ปรึกษาและบริการความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นำเสนอ “นวัตกรรมดีเด่น” และ
สรุปการดำเนินงาน ตามนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
สื่อประสมทางการศึกษา
พ.ท.หญิง ญาติมา คุณวัฒน์
Power Point ประกอบการจัดการเรียนรู้
แปลว่าความรู้(Knowledge)
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์
มารู้จักหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Family Care Team : ทีมหมอครอบครัว
ดิจิตอลเบื้องต้น อ. รวินทร์ ไชยสิทธิพร
Scientific process skills
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life
ระเบียบวาระการประชุม
ดร.จันทร์ ติยะวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
Seminar 4-6.
ณ ห้องประชุมกฤษณะ ผลอนันต์ อาคาร ๓ ชั้น ๒ สำนักงาน ป.ป.ส.
แบบฟอร์มการรายงานข้อมูลพื้นที่แปลงบำรุงป่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
Science For Elementary School Teachers I.
การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)
ดร.จันทร์ ติยะวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
EASY CLEAR รวดเร็ว ฉับไว ใส่ใจ เรื่องเงิน
ระเบียบวาระการประชุม
ประชุมชี้แจงการใช้สื่อ ชุดการจัดการเรียนรู้สื่อ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สพป.น่านเขต 2 วันที่ 16.
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศทางการตลาด
แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงาน สคร.5 เขตสุขภาพที่ 9 ปี 2558
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 33
Animal Health Science ( )
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
ประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ณ โรงแรมเอวาน่า บางนา กทม
สอนอย่างมืออาชีพ หยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยง
การถอดบทเรียน แนวทางการจัดทำวิจัย เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
กลไกลการขับเคลื่อนนโยบายความปลอดภัยทางงถนน
Slide PowerPoint_สื่อประกอบการสอน
Digital image Processing By Asst. Prof. Juthawut Chantharamalee
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School- Based Management
การคัดกรองตาบอดสี กลุ่มงานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษา
การมีส่วนร่วมของประชาชน
การนำเสนอแบบโปสเตอร์
แนวปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
Slide PowerPoint_สื่อประกอบการสอน
GSC151 ชีวิตและสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมรับการประกวดจังหวัดและชมรม TO BE NUMBER ONE จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2562.
การแก้ไขข้อบกพร่องระบบ GMP จากการตรวจรับรองโรงงานเพื่อการส่งออก วันที่
ลักษณะภูมิประเทศแอฟริกกา
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อจัด ทำงานนำเสนอ กลุ่ม 1 อุปกรณ์พื้นฐาน คอมพิวเตอร์ กลุ่ม 2 อุปกรณ์เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ กลุ่ม 3 อุปกรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อจัด ทำงานนำเสนอ กลุ่ม 1 อุปกรณ์พื้นฐาน คอมพิวเตอร์ กลุ่ม 2 อุปกรณ์เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ กลุ่ม 3 อุปกรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อจัด ทำงานนำเสนอ กลุ่ม 1 อุปกรณ์พื้นฐาน คอมพิวเตอร์ กลุ่ม 2 อุปกรณ์เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ กลุ่ม 3 อุปกรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 23202)

เกณฑ์การให้คะแนน 1. คะแนนเก็บก่อนสอบกลางภาค (รวม 40 คะแนน) การเข้าชั้นเรียน 5% ● การพบอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ 5% ส่งบทที่ 1 – บทที่ 3 10 % ● สอบกลางภาค 20% 2. คะแนนเก็บก่อนสอบปลายภาค (รวม 60 คะแนน) การเข้าชั้นเรียน 5% ● การพบอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ 5% ส่งบทที่ 4 – บทที่ 5 20 % ● การนำเสนอชิ้นงาน (ชิ้นงาน+รูปเล่ม+บอร์ด) 30 %

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากการปฏิบัติและฝึกฝนความนึกคิดอย่างมีเหตุผลและมีระบบ  เพื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมนี้จะสะสมขึ้นในตัวผู้เรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นได้อย่างกว้างขวาง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับพื้นฐาน  การสังเกต  การวัด  การจำแนกประเภท  การคำนวน  การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล  การลงความคิดเห็นจากข้อมูล การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปส  การพยากรณ์ กับสเปสและสเปสกับเวลา

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับพัฒนาการ  การตั้งสมมติฐาน  การกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ  การกําหนดและควบคุมตัวแปร  การทดลอง  การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป ทักษะการสังเกต 1. การมองเห็น 2. การได้ยิน 3. การสัมผัส 4 .การชิม 5. การได้กลิ่น

ภาพนี้มีรูปสามเหลี่ยม ทั้งหมดกี่รูป ? ภาพนี้มีรูปสามเหลี่ยม ทั้งหมดกี่รูป ? 9 ข. 12 ค. 15 ง. 17 ?..

ภาพนี้มีรูปสี่เหลี่ยมทั้งหมดกี่รูป ? ภาพนี้มีรูปสี่เหลี่ยมทั้งหมดกี่รูป ? 20 ข. 24 ค. 32 ง. 40 จ. 45 ?..

กฎกติกา - ทุกแถวในแนวนอน ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน - ทุกแถวในแนวตั้ง ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน - ทุกตารางย่อย 3 x 3 ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน Sodoku

ทักษะการวัด คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ

ทักษะการจำแนกประเภท คือ การแบ่งพวกหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ เกณฑ์ที่ใช้จำแนก ความเหมือน ความแตกต่าง ความสัมพันธ์ ตัวอย่างการจำแนก สัตว์บก สัตว์น้ำ

สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สัตว์กินหญ้า สัตว์สี่เท้า A B C ข้าวโพด   อ้อย  หญ้า ไผ่ ถั่ว  พริก    มะม่วง

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เป็นความสามารถในการสังเกตรูปร่างของวัตถุ โดยการเปรียบเทียบกับตำแหน่งของผู้สังเกตกับการมองในทิศทางต่างๆ กัน - ทิศทาง คือ การเคลื่อนที่ การผ่า การหมุน การตัดวัตถุ - สเปส เกี่ยวข้องกับ ระยะทาง ขนาด กว้าง ยาว หนา รูปร่าง ตำแหน่ง การเคลื่อนที่ สเปสกับสเปสของวัตถุ เช่น การดูภาพ 2 มิติ, ภาพ 3 มิติ สเปสกับเวลา เช่น บอกเวลาโดยดูเงาของเสาธง * บอกเงาของรูป 2 มิติที่เกิดจากการฉายไฟไปยังรูป 3 มิติ * บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ * บอกการเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ของสิ่งต่างๆ กับเวลา

= วงรี 1 = B 2 = D 3 = C 4 = A

ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพของเด็กหญิงนิสาในกระจกเงา นักเรียนคิดว่าเด็กหญิงนิสาผูกนาฬิกาข้อมือที่แขนข้างใด แขนข้างซ้าย

ทักษะการคำนวณ คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่ เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย

1. อิฐโรย 2. ย่าเจ้าชู้

ทักษะการพยากรณ์ คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และการพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่

ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนจะทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานหรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลังการทดลองหาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น และ ตัวแปรตาม มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “ถ้า.......ดังนั้น.......” เป็นการเดาคำตอบล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล ก่อนนำไปสู่การทดลอง

เปรียบเทียบการตั้งสมมติฐานกับการพยากรณ์ การทำนายผลล่วงหน้าโดยไม่มีหรือไม่ทราบความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างข้อมูล การทำนายผลล่วงหน้าโดยมีหรือทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำนาย ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน ถ้าฮอร์โมนมีผลต่อสีของปลาสวยงาม ดังนั้นปลาที่เลี้ยงด้วยการให้ฮอร์โมนจะมีสีเร็วกว่าปลาที่เลี้ยงโดยไม่ให้ฮอร์โมนที่อายุเท่ากัน ถ้าควันบุหรี่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หรือคนที่คลุกคลีกับคนที่สูบบุหรี่จะเป็นมะเร็งได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่หรือไม่คลุกคลีกับคนที่สูบบุหรี่

ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้ แบ่งออกเป็น : นิยามทั่วไปและนิยามเชิงปฏิบัติการ นิยามทั่วไป คือ ความหมายของคำโดยทั่วไปอย่างกว้างๆทุกคนเข้าใจตรงกัน วัดไม่ได้ นิยามเชิงปฏิบัติการ คือ ผู้ทดลองกำหนดความหมายและขอบเขตของคำตามที่อยู่ในสมมติฐานให้เข้าใจตรงกัน วัดได้ ตัวอย่าง “การให้คำนิยามของก๊าซออกซิเจน นิยามทั่วไป-- ออกซิเจนเป็นก๊าซที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 และมวลอะตอมเท่ากับ 16 นิยามเชิงปฏิบัติการ-- ออกซิเจนเป็นก๊าซที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อนำก้อนถ่านที่คุแดงแหย่ลงไปในก๊าซนั้นแล้วก้อนถ่านจะลุกเป็นเปลวไฟ

ถ้าพืชได้รับแสงมากขึ้น ดังนั้นพืชจะเจริญเติบโตได้สูงขึ้น ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราต้องการศึกษาซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดผล ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่างให้ แตกต่างกัน ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น ถ้าพืชได้รับแสงมากขึ้น ดังนั้นพืชจะเจริญเติบโตได้สูงขึ้น ตัวแปรต้น = ปริมาณแสง = การเจริญเติบโตของพืช = ชนิดและขนาดของพืช, ชนิดของดิน, ปริมาณน้ำ, บริเวณที่ตั้งต้นไม้ ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม

ทักษะการทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้  เป็นความสามารถในการออกแบบการทดลองให้สอดคล้องกับปัญหา และ สมมติฐาน  เป็นความสามารถในการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่เหมาะสม  เป็นความสามารถในการบันทึกผลการทดลอง / สรุปผล ประกอบด้วย การเขียนชื่อการทดลอง (ปัญหา) การตั้งจุดประสงค์ (สมมติฐาน) อุปกรณ์ที่ใช้ วิธีการทดลอง บันทึกและสรุปผล

ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป การตีความหมายข้อมูล หมายถึง การแปลความหรือบรรยายความหมายของข้อมูล ที่ได้จัดกระทำแล้ว การลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา การลงข้อสรุปจะเกี่ยวข้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ก่อนการทดลอง

ทักษะการทดลอง ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

คุณสมบัติของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ยอมรับ และเชื่อในความสำคัญของเหตุผล ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย ค้นหาสาเหตุของปัญหาและหาความสัมพันธ์ของสาเหตุ พยายามเสาะหาความรู้ใหม่ ๆ เปลี่ยนความคิดไปสู่สิ่งที่ถูกต้องและมีเหตุผลกว่าเดิม ไม่สรุปอะไรง่ายจากการทดลองเพียงครั้งเดียว ตรวจสอบความคิดโดยการปฏิบัติทดลอง เป็นผู้สังเกต ละเอียดลออ รอบคอบ ซื่อสัตย์ ไม่ลำเอียง ไม่อคติ คิด ทำ พูด อย่างมีเหตุผล ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ชอบคำถามมากกว่าคำตอบ เชื่อว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงได้

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ภายใต้การแนะนำ ปรึกษา ดูแลของอาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ การศึกษาค้นคว้าด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ จึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง และได้ฝึกแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะติดตัวผู้เรียนไปตลอด  เมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหาเกิดขึ้น ผู้เรียนจะสามารถนำความรู้ด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาได้ ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรต้น ที่มีผลต่อตัวแปรตาม โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อผลการทดลอง ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ ตัวแปรที่กำหนดขึ้นเพื่อทดสอบสมมุติฐาน เป็นตัวแปรที่ เราต้องการศึกษา ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามตัวแปรต้น (ผลของตัวแปรต้น) เป็นตัวแปรที่เราต้องเก็บค่า บันทึกผล ตัวแปรควบคุม คือ ตัวแปรที่ส่งผลต่อการทดลอง เป็นตัวแปรที่อาจทำให้ผล การทดลองคลาดเคลื่อนได้ จึงต้องควบคุมไว้

ตัวอย่างโครงงานประเภททดลอง ตัวอย่างที่ 1 โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง มะขามเปียก ตะไคร้ ฆ่าเห็บ เหา การศึกษาโดยการทดลองศึกษาผลของน้ำมะขามเปียก น้ำตะไคร้ที่มีผลต่อการฆ่าเห็บ เหา ตัวอย่างที่ 2  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง โดยการทดสอบนำพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา มาทำยาไล่ยุง

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ เพื่อเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ให้เห็นลักษณะ หรือรูปแบบสัมพันธ์ของเรื่องที่ศึกษาได้ชัดเจนขึ้น โดย ไม่ต้องคำนึงถึงตัวแปรต่าง ๆ เป็นการเก็บข้อมูลโดยการออกไปสำรวจนอกห้องปฏิบัติการและบางครั้งอาจจะนำส่วนต่าง ๆ นั้นมาศึกษาในห้องปฏิบัติการด้วยก็ได้ ตัวอย่างโครงงานประเภทสำรวจ ตัวอย่างที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลนอกห้องปฏิบัติการหรือในธรรมชาติ โดยไม่ต้องนำวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น โครงงานวิทยาศาตร์ เรื่อง    การศึกษามลพิษในสิ่งแวดล้อม   การศึกษาการเจริญเติบโต ของตัวอ่อนของสัตว์บางชนิด ตัวอย่างที่ 2 การเก็บรวบรวมวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ใน ห้องปฏิบัติการ เช่น โครงงานเรื่อง การศึกษาปริมาณของ อะฟลาทอกซินในถั่วลิสงป่นตามร้านอาหารต่าง ๆ การสำรวจหมู่เลือดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัด            

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์   เป็นโครงงานที่ประยุกต์หลักการหรือทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ในการใช้สอย อาจคิดประดิษฐ์ของใหม่ ๆ หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตัวอย่างโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ตัวอย่างที่ 1 โครงงานวิทยาศาสตร์ กังหันลม การศึกษา โดยการประดิษฐ์กังหันลมจากลูกปิงปอง นำมาทดลองศึกษา การหมุนของกังหันที่มีความยาวแขนต่างกัน ตัวอย่างที่ 2 โครงการวิทยาศาสตร์เรื่อง ตู้อบพลังงาน แสงอาทิตย์การศึกษา โดยการประดิษฐ์ตู้อบพลังงาน แสงอาทิตย์อย่างง่ายจากวัสดุในท้องถิ่น แล้วนำมาทดลอง หาประสิทธิภาพของตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฏี โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฏี  เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฏี หลักการใหม่ ตามแนวคิดของตนเอง หรือการอธิบายแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตรสมการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล ทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าวอาจใหม่ หรือขัดแย้ง หรือขยายแนวความคิด หรือขยายคำอธิบายเดิมที่มีผู้ให้ไว้ก่อนแล้วก็ได้ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง ตัวอย่างโครงงานประเภททฤษฏี ตัวอย่าง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีโลกกลมโลกแบน การศึกษาโดยการทดลองศึกษา โดยอาศัยทฤษฎีเดิมและนำเสนอแนวคิดใหม่ของตนเองโดยยกเหตุผลหรือพิสูจน์แนวความคิดของตนเองว่าน่าเชื่อถือกว่า

วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 1. สำรวจและตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะโครงงาน ☺ ☺ 2. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำจากเอกสารและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 3. วางแผนการทดลอง การใช้วัสดุอุปกรณ์และระยะเวลาในการดำเนินงาน ☺ ☺ 4. ลงมือศึกษาทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล 5. เขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 6. เสนอผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์

ตารางบันทึกความใส่ใจ  ชื่อ………………………….ชั้น …………. เลขที่ ………… จำนวนครั้งที่พบ 1 2 3 วันที่ อาจารย์ที่ปรึกษา หลัง midterm  ชื่อ………………………….ชั้น …………. เลขที่ ………… จำนวนครั้งที่พบ 1 2 3 วันที่ อาจารย์ที่ปรึกษา ก่อน midterm

ขั้นตอนการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 1. ปกนอก เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของรายงาน โครงงาน จะใช้กระดาษแข็ง ประกอบไปด้วย  ชื่อเรื่องโครงงาน  ชื่อผู้จัดทำโครงงาน  ชื่อสถานที่ศึกษา 2. ปกใน เป็นส่วนที่อยู่รองจากปกนอก รายละเอียด จะคล้ายกับปกนอก ประกอบด้วย ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

3. บทคัดย่อ เป็นส่วนที่สรุปย่อความสำคัญทั้งหมดของการทำโครงงานและผลของการทำโครงงาน ซึ่งความยาวประมาณ 150-250 คำ หรือ ประมาณ 1 หน้ากระดาษ

4. กิติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่กล่าวแสดงความขอบคุณสำหรับผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ในการทำโครงงานจนประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานได้แสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักบุญคุณ นอกจากนี้ยังสามารถยืนยันถึงความสนใจ ในการทำโครงงานได้อีกด้วย

5. สารบัญ สารบัญเป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้อ่านเห็นเค้าโครงของโครงงาน และยังช่วยในการค้นหาแต่ละหัวข้อได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แยกตามลักษณะรายละเอียดได้ดังนี้ สารบัญเรื่อง จะบอกเนื้อหาแต่ละเรื่องว่าอยู่หน้าไหน  สารบัญตาราง จะบอกว่าตารางแต่ละตารางว่าอยู่หน้าไหน สารบัญรูปภาพ จะบอกว่ารูปภาพแต่ละรูปภาพว่าอยู่หน้าไหน สารบัญแผนภูมิและกราฟ จะบอกว่าแผนภูมิและกราฟแต่ละอันว่า อยู่หน้าไหน 6. ส่วนเนื้อเรื่องของการเขียนรายงาน  บทที่ 1 บทนำ เป็นการกล่าวถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานเรื่องนี้ ทำแล้วจะได้ประโยชน์อะไร ซึ่งจะประกอบด้วยหัวข้อดังนี้  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า  สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า  นิยามศัพท์เฉพาะ  ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นบทที่แสดงถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษาอย่างละเอียด  บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน เป็นบทที่แสดงถึงการวางแผนและออกแบบการทดลองว่าจะใช้อะไรและดำเนินการอย่างไรบ้าง ซึ่งประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการศึกษาโครงงาน การเก็บรวบรวมข้อมูล  บทที่ 4 ผลการศึกษา เป็นการนำเสนอ ผลการศึกษาแต่ละขั้นตอนในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น ตาราง กราฟ และแผนภูมิ

 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง เป็นการสรุปผลการทดลองในแต่ละขั้นตอน พร้อมเสนอแนะการทำโครงงานต่อไปอีก  สรุปและอภิปรายผลการทดลอง  ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน  ข้อเสนอแนะ 7. ภาคผนวก เป็นการเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับการดำเนินงานโครงงาน หรือทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือขั้นตอนการเตรียมสารต่างๆ 8. เอกสารอ้างอิง เป็นการอ้างอิงหลักฐานเอกสารที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการศึกษาโครงงาน 9. ใบรองปกหน้า – หลัง เป็นกระดาษเปล่าขนาดเดียวกับที่ใช้พิมพ์รายงาน เพื่อป้องกันปกใน และเนื้อหาในแผ่นสุดท้ายอีกชั้นหนึ่ง 10. ปกหลัง เป็นกระดาษแข็งเช่นเดียวกับปกหน้าเพื่อเย็บเป็นรูปเล่ม  

การเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นการแสดงออกถึงผลที่ได้จากการศึกษา แสดงให้เห็นถึงความคิด ความพยายามในการทำงานของผู้ทำโครงงาน    แผงโครงงาน เป็นการจัดแสดงผลงานในรูปนิทรรศการ ประกอบด้วยแผ่นป้ายที่ทำด้วยวัสดุที่คงทนถาวร สามารถกางออกเพื่อนำเสนอผลงาน บทคัดย่อ

การนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรูปแบบการพูดหน้าชั้นเรียน  การนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรูปแบบการพูดหน้าชั้นเรียนในลักษณะมี file ภาพ หรือ clip VDO หรือ Power Point ประกอบการนำเสนอ การนำเสนอในรูปแบบแผงโครงงาน การนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรูปแบบการพูดหน้าชั้นเรียน