เว็บเครือข่ายสังคมและชีวิตที่สอง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
Advertisements

การคัดเลือกพื้นที่เพื่อการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุข ในชายแดนชนบท
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และ.
1. 2 วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ.
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
… FACEBOOK … ..By Peerapon Wongpanit
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
(กล้องจับที่วิทยากร)
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน สำนักงาน กศน. จังหวัดขอนแก่น.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โครงการ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ “ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
โครงงาน(Project) เรื่อง ระบบร้านเช่าหนังสือออนไลน์
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
“วิธีการใช้งาน PG Program New Version สำหรับ PGD”
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
งาน Road Map ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปี 2560
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
มาตรการปกป้องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ให้บริการออนไลน์ไทย
กลุ่มเกษตรกร.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
วิธีการกำหนดค่า Microsoft SharePoint ของคุณ เว็บไซต์ออนไลน์
เว็บเบราว์เซอร์และโปรแกรมค้นหา
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ชั้น G ปารีส ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
คณะทำงานขับเคลื่อนงานโภชนาการ (สูงดีสมส่วน)
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
แผนการตลาดสำหรับ [ชื่อผลิตภัณฑ์]
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
SMS News Distribute Service
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
อ. อิสรี ไพเราะ (อ.ต๊ะ) MB
ลำปาง นายยรรยง พลสันติกุล สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
นาย พิศณุ นิลกลัด.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เว็บเครือข่ายสังคมและชีวิตที่สอง 1. บทนำ 2. เว็บมายสเปซ 3. เว็บเฟซบุค 4. เว็บวินโดวส์ไลฟ์ 5. เว็บแฮบโบ้ 2

เว็บเครือข่ายสังคมและชีวิตที่สอง (ต่อ) 6. เว็บเฟรนด์สเทอร์ 7. เว็บไฮไฟว์ 8. เว็บทวิตเทอร์ 9. ชีวิตที่สอง 10. สรุป 3

1. บทนำ 1.1 การใช้กูเกิลหาข้อมูล 1.2 วิกิพีเดีย 1.3 สิบเว็บยอดนิยม 1.4 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก 1.5 เว็บเครือข่ายสังคม 1.6 ชีวิตที่สอง 4

1.1 การใช้กูเกิลหาข้อมูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยมีพระกระแสรับสั่งที่ห้องสมุดการเรียนรู้ สวนลุมพินี ว่า “ถ้าอยากรู้อะไรก็ไปถามพระอาจารย์กู (Google)” 5

เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2549 (จากบางกอกโพสต์) 6

การใช้กูเกิลหาข้อมูล (ต่อ) ถ้าอยากรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะถามว่า “ความหมายของอินเทอร์เน็ต (Define: Internet)” ซึ่งจะได้ 12 แหล่ง 7

การใช้กูเกิลหาข้อมูล 8

การใช้กูเกิลหาข้อมูล (ต่อ) 12 แหล่งความหมายของอินเทอร์เน็ตจาก กูเกิล อาทิ 1) มหาวิทยาลัยพรินซทัน (Princeton.edu) 2) วิกิพีเดีย (Wikipedia.org) 3) วิคชันนารี (Wiktionary.org) 9

การใช้กูเกิลหาข้อมูล (ต่อ) 4) ศูนย์ทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance, SQA.testes.com) 5) สมาคมประกันภัยอาจารย์ (Teachers Insurance and Annuity Association, tiaa-cref.org) 10

1.2 วิกิพีเดีย ตัวอย่างถ้าอยากรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะถาม “ความหมายอินเทอร์เน็ต (Define: Internet)” พบ http://en.wikipedia.org/wiki/Internet 11

ความหมายอินเทอร์เน็ต (Define: Internet) 12

วิกิพีเดีย (ต่อ) ถ้าอยากรู้เรื่องวิกิพีเดีย ก็อาจไปถามกูเกิลว่า “ความหมายวิกิพีเดีย (Define: Wikipedia)” พบ en.wikipedia.org/wiki/wikipedia 13

ความหมาย วิกิพีเดีย (Define: Wikipedia) 14

วิกิพีเดีย (ต่อ) วิกิพีเดีย คือ สารานุกรม (Encyclopedia) ที่มีให้ใช้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต คำว่า “วิกิ (Wiki)” มาจากภาษาฮาวาย แปลว่า “รวดเร็ว” หรือ “เข้าใจง่าย” วิกิพีเดียมีบทความกว่า 12 ล้านเรื่องในภาษาต่างๆ รวมทั้งในภาษาอังกฤษ 2.8 ล้านเรื่อง 15

วิกิพีเดีย (ต่อ) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน ICT Expo 2007 16

วิกิพีเดีย (ต่อ) เว็บวิกิพีเดีย เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 โดย “จิมมี่ เวลส์ (Jimmy Wales)” มาเมืองไทยเมื่องาน ICT Expo 2007 17

วิกิพีเดีย (ต่อ) มีชาวอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเข้าใช้วิกิพีเดีย ประมาณร้อยละ 8.8 หรือประมาณ 141 ล้านคนต่อวัน จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1,600 ล้านคน นับเป็นเว็บที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 7 18

1.3 สิบเว็บยอดนิยม ถ้าอยากรู้ว่า 10 อันดับ เว็บที่มีผู้ใช้มากที่สุด มีเว็บใดบ้าง ก็ไปถามพระอาจารย์กู “เว็บยอดนิยมทั่วโลกโดยอเล็กซา (Alexa Top Global Websites)” พบ www.alexa.com/topsites โดยอันดับอาจเปลี่ยนแปลงทุกวัน และสำหรับต้นเดือนพฤษภาคม 2552 มีอันดับดังต่อไปนี้ 19

อันดับที่ ชื่อ ผู้ใช้วันละ เปอร์เซ็นต์ผู้ใช้ 1. กูเกิล 461 ล้านคน 30.7 % 2. ยะฮู 398 ล้านคน 26.5 % 3. วินโดวส์ไลฟ์ 288 ล้านคน 19.2 % 4. ยูทิวป์ 269 ล้านคน 17.9 % 5. เฟซบุค 246 ล้านคน 16.4 % 6. เอ็มเอสเอ็น 247 ล้านคน 15.4 % 7. วิกิพีเดีย 141 ล้านคน 8.8 % 8. บลอกเกอร์ 130 ล้านคน 8.1 % 9. ไบดู 88 ล้านคน 5.5 % 10. มายสเปซ 82 ล้านคน 5.1 % 20

สิบเว็บยอดนิยม (ต่อ) มีคำบรรยาย 10 เว็บยอดนิยม Google.com Yahoo.com อันดับที่ ชื่อ คำอธิบาย 1. Google.com สำหรับค้นหาข้อมูลข่าวสาร รูปภาพ 2. Yahoo.com สำหรับค้นหาเช่นเดียวกับกูเกิล ความจริงเกิดก่อน แต่คนนิยมใช้กูเกิลมากกว่า 3. Live.com (Windows Live) สำหรับค้นหาข้อมูล เช่นเดียวกับกูเกิล แต่เป็นของไมโครซอฟต์ 4. Youtube.com สำหรับนำคลิปวิดีโอขึ้นแบ่งปัน กับผู้สนใจ 21

สิบเว็บยอดนิยม (ต่อ) Facebook.com msn.com (Microsoft Network) อันดับที่ ชื่อ คำอธิบาย 5. Facebook.com เว็บเครือข่ายสังคมสำหรับหาเพื่อน แบ่งปันรูปภาพ และวิดีโอ 6. msn.com (Microsoft Network) สำหรับต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access) และให้บริการเนื้อหา (Content Provider) 7. Wikipedia.org สารานุกรมบนอินเทอร์เน็ต 22

สำหรับเขียนสมุดบันทึก (Diary หรือ Blog = Web Log) สิบเว็บยอดนิยม (ต่อ) อันดับที่ ชื่อ คำอธิบาย 8. Blogger.com สำหรับเขียนสมุดบันทึก (Diary หรือ Blog = Web Log) 9. Baidu.com สำหรับค้นหาข้อมูล ภาษาจีน เพลง ภาพยนตร์ ใช้หาข้อมูล บนโทรศัพท์มือถือในเมืองจีน 10. Myspace.com เว็บเครือข่ายสังคมที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก (สมาชิก 253 ล้านคน และใช้วันละ 77 ล้านคน ใน พ.ศ. 2552) 23

1.4 จำนวนและอัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ถ้าอยากรู้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตก็อาจจะค้นกูเกิล “สถิติผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Internet User Stats)” ซึ่งจะพบเว็บสถิติอินเทอร์เน็ตโลก(www.InternetWorldStats.com) 24

สถิติผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 อันดับที่ ทวีป % ผู้ใช้ในทวีปเทียบกับผู้ใช้ ทั่วโลก % ผู้ใช้เทียบกับประชากรทวีป จำนวนผู้ใช้ในทวีปเป็นล้านคน 1. เอเชีย 41.2 17.4 657 2. ยุโรป 24.6 48.9 393 3. อเมริกาเหนือ 15.7 74.4 251 4. ละตินอเมริกา 10.9 29.9 174 5. อัฟริกา 3.4 5.6 54 6. ตะวันออกกลาง 2.9 23.3 46 7. ออสเตรเลีย และบริเวณ 1.3 60.4 21 รวมทั่วโลก 100 23.8 1,596

สิบอันดับประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด อันดับที่ ประเทศ จำนวนผู้ใช้ ล้านคน 1. จีน 298 2. สหรัฐอเมริกา 220 3. ญี่ปุ่น 94 4. อินเดีย 81 5. เยอรมนี 55 6. สหราชอาณาจักร 43 7. ฝรั่งเศส 41 8. รัสเซีย 38 9. เกาหลีใต้ 27 10. อิตาลี 28 26

ยี่สิบสองอันดับประเทศที่มีอัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เทียบกับประชากรสูงสุด อันดับที่ ชื่อประเทศ อัตราการใช้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ประชากร 1. กรีนแลนด์ 92.3 52,000 56,326 2. ไอซ์แลนด์ 90.0 273,930 304,367 3. นอร์เวย์ 86.0 3,993,400 4,644,457 4. แคนาดา 84.3 28,000,000 33,212,696 5. ฟินแลนด์ 83.0 4,353,142 5,244,749 6. เนเธอแลนด์ 82.9 13,791,800 16,645,313 7. สวีเดน 80.7 7,295,200 9,045,389

ยี่สิบสองอันดับประเทศที่มีอัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เทียบกับประชากรสูงสุด อันดับที่ ชื่อประเทศ อัตราการใช้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ประชากร 8. เดนมาร์ก 80.4 4,408,100 5,484,723 9. ฟาโรไอส์แลนด์ 77.1 37,500 48,668 10. เกาหลีใต้ 76.1 36,794,800 43,379,392 11. สวิซเซอร์แลนด์ 76.0 5,762,700 7,581,520 12. ลักเซ็มเบอร์ก 74.9 363,900 486,006 13. ญี่ปุ่น 73.8 94,600,000 127,288,419 14. สหรัฐอเมริกา 72.5 220,141,969 303,824,645 15. เบอร์มิวดา 72.1 48,000 66,536

ยี่สิบสองอันดับประเทศที่มีอัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เทียบกับประชากรสูงสุด อันดับที่ ชื่อประเทศ อัตราการใช้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ประชากร 16. แอนเดอร์ร่า 71.3 58,900 82,627 17. สหราชอาณาจักร 70.9 43,221,464 60,943,912 18. สเปน 70.5 27,552,604 40,491,051 19. ฮ่องกง 69.5 4,878,713 7,018,636 20. สิงคโปร์ 67.4 3,104,900 4,608,167 21. ไต้หวัน 66.1 15,140,000 22,920,946 22. มาเลเซีย 62.8 15,868,000 25,274,133 29

1.5 เว็บเครือข่ายสังคม ถ้าจะหา “ความหมายของเว็บเครือข่ายสังคม (Define: Social Networking Websites)” ในกูเกิล จะไม่พบ เพราะยังไม่มีใครเข้าไปเขียนไว้ ฉะนั้น จึงอาจต้องค้นหาใหม่โดยอาจจะเอาคำว่า “เว็บ (Website)” ออกเหลือเพียง “ความหมายเครือข่ายสังคม (Define: Social Network)” 30

เว็บเครือข่ายสังคม (ต่อ) ค้นกูเกิลหา “ความหมายเครือข่ายสังคม (Define: Social Network)” พบ 4 แหล่ง 31

เว็บเครือข่ายสังคม (ต่อ) จากวิกิพีเดีย (en.wikipedia.org/Wiki/Social_network) 32

จากวิกิพีเดีย (ต่อ) “เครือข่ายสังคม” คือ โครงสร้างทางสังคม ที่ประกอบด้วย จุดเชื่อมต่อ (Node) ซึ่งอาจจะเป็น บุคคล หน่วยงาน ซึ่งมีความสนใจคล้ายคลึงกัน 33

การจัดประเภทเว็บเครือข่ายสังคม ประเภทเน้นที่คน (People Focus) ประเภทเน้นที่งานอดิเรก (Hobby Focus) ประเภทพบกันในเว็บเท่านั้น (In Web Only) ประเภทพบกันต่อหน้าต่อตา (Face-to-Face) 34

1) ประเภทเน้นที่คน (People Focus) แล้วแต่ใครอยากจะคบกับใคร โดยแต่ละคนกำหนดว่าอยากคบคนแบบใด อาทิ อยากคบผู้หญิง หรือ ผู้ชาย หรือทั้งสองเพศ อยากคบนักร้อง และดารา อยากคบนักการศึกษา เป็นต้น 35

ประเภทเน้นที่คน (ต่อ) ตัวอย่างเว็บเครือข่ายสังคมที่เน้นคน มายสเปซ (www.MySpace.com) เฟซบุค (www.FaceBook.com) เบโบ (www.Bebo.com) โดยทุกคนต้องประกาศ “ประวัติและความสนใจ (Profile)” ของตน 36

2) ประเภทเน้นที่งานอดิเรก อาทิ ถ่ายภาพ (Photography) อ่านหนังสือ (Reading) เป็นต้น 37

ประเภทเน้นที่งานอดิเรก (ต่อ) ตัวอย่างเว็บเครือข่ายสังคมเน้นการถ่ายภาพ ฟลิกเกอร์ (www.Flickr.com) โกดัก แกลอรี (www.KodakGallery.com) โฟโต บัคเกต (PhotoBucket.com) เป็นต้น 38

3) ประเภทพบกันในเว็บเท่านั้น ประเภทนี้ไม่ต้องการพบหน้าแบบต่อหน้าต่อตาตัวอย่างในฟลิคเกอร์ (www.Frickr.com) คือ ดูรูปภาพและวิพากษ์วิจารณ์รูปภาพ 39

4) ประเภทพบกันแบบต่อหน้าต่อตา ประเภทนี้มักจะเป็นนักเรียนและนักศึกษา ในสถานศึกษาเดียวกัน ตัวอย่าง คือ เฟชบุค ซึ่งเริ่มจากนักศึกษาฮาร์วาร์ด (Harvard) 40

ยี่สิบอันดับเครือข่ายสังคมตามจำนวนผู้ใช้ อันดับที่ ชื่อ คำบรรยาย จำนวนผู้ลงทะเบียน (ล้านคน) 1. MySpace ทั่วไป 253 2. FaceBook 200 3. Window Live สำหรับทำบล็อก 120 4. Habbo เด็กอายุ 13-19 ปี 117 5. Friendster นิยมในเอเชียอาคเนย์ 90 6. Hi5 นิยมในเอเชีย อัฟริกา และละตินอเมริกา 80 7. Tagged มหาวิทยาลัย ในเยอรมนี 70 41

ยี่สิบอันดับเครือข่ายสังคมตามจำนวนผู้ใช้ อันดับที่ ชื่อ คำบรรยาย จำนวนผู้ลงทะเบียน (ล้านคน) 8. Flixster ภาพยนตร์ 67 9. Orkut นิยมในอินเดีย และบราซิล 63 10. Reunion ใช้ตามหาเพื่อน และญาติ 51 11. Classmates นิยมในสหรัฐที่ทำงานและทหาร 50 12. Nutlay นิยมในยุโรป-ควีเบต 42 13. Bebo ทั่วไป 40 42

ยี่สิบอันดับเครือข่ายสังคมตามจำนวนผู้ใช้ จำนวนผู้ลงทะเบียน (ล้านคน) อันดับที่ ชื่อ คำบรรยาย จำนวนผู้ลงทะเบียน (ล้านคน) 14. LinkedIm ทั่วไป 35 15. Odnoklossnike นิยมในรัสเซีย 34 16. V Kontakte 33 17. Adult FriendFindes หาคู่ 18. My Heritage สำหรับครอบครัว 30 19. Xanga บล็อก 27 20. imeem เพลง วิดีโอ ภาพ บล็อก 24 43

1.6 ชีวิตที่สอง (Second Life) ถ้าค้นกูเกิลหาความหมายของชีวิตที่สอง (Define: Second Life) จะได้ 2 แหล่ง 44

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ถ้าเลือกวิกิพีเดีย จะได้รายละเอียด 23 หน้า 45

จากวิกิพีเดีย (ต่อ) ชีวิตที่สอง หรือ “เอสแอล (SL = Second Life)” คือ “โลกเสมือนจริง (Virtual World)” ในอินเทอร์เน็ต ตั้งขึ้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2545 ให้ผู้ใช้สร้างร่างอวตาร (Avatar) เหาะเหินเดินอากาศ และปฏิบัติการต่างๆ ได้ 46

ชีวิตที่สอง 47

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ผู้สนใจเข้าเป็นผู้อยู่อาศัย (Resident) ใน “ชีวิตที่สอง” ได้ โดย เป็นผู้อยู่อาศัย และอยู่นานเท่าใดก็ได้ โดยเปิดบัญชีหนึ่งบัญชี และไม่ต้องจ่ายเงิน เป็นผู้อยู่อาศัยโดยเปิดบัญชีหลายบัญชี ซึ่งเอสแอลประกาศจะเก็บเงินแต่ยังไม่เคยเก็บ 48

ชีวิตที่สอง (ต่อ) เป็นสมาชิกขั้นสูง (Premium Member) จ่ายเดือนละ 9.95 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 350 บาท และขอรับการสนับสนุนทางเทคนิคได้ เป็นเจ้าของที่ดินเป็นแปลงหรือเป็นเจ้าของเกาะได้ โดยจ่ายเงินตามราคาที่กำหนด อาทิ เกาะละ 50,000 บาท เนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ เป็นต้น 49

ชีวิตที่สอง (ต่อ) เจ้าของบัญชีแต่ละบัญชีสร้างร่างอวตารได้ 1 ร่าง ร่างอวตาร อาจเป็น คน สัตว์ ต้นไม้ แร่ธาตุ 50

ชีวิตที่สอง (ต่อ) เจ้าของบัญชีสามารถเปลี่ยนร่างอวตารได้ แต่ขณะใดขณะหนึ่งมีได้ 1 ร่างเท่านั้น ผู้ใช้ที่มีหลายบัญชีก็มีร่างอวตารหลายร่างได้ ร่างอวตารติดต่อสื่อสารกันโดย สนทนาในเอสแอล (Local Chat) ส่งข้อความสั้นกันทั่วโลก (Global IM) 51

ชีวิตที่สอง (ต่อ) การสนทนาระหว่างร่างอวตารนั้น ผู้อื่นที่อยู่ใกล้ๆ ก็จะได้ยินด้วย การส่งข้อความสั้นจะถึงเฉพาะผู้อยู่ในรายชื่อผู้รับ โดยคนอื่นไม่ทราบ แต่ผู้รับจะมีกี่รายก็ได้ 52

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ในเอสแอลมีเงินสกุลลินเดน เรียกว่า “ลินเดนดอลลาร์ (Linden$ หรือ L$)” ผู้ใช้เอสแอล สามารถซื้อขายลินเดนดอลลาร์ได้ อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 1 US$ = 270-290 L$ ใช้ลินเดนดอลลาร์ในการซื้อ ขาย และเช่า สินค้าและบริการ 53

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ตัวอย่างสินค้าเสมือนจริง ที่ดินและอาคารเสมือนจริง พาหนะเสมือนจริง เครื่องจักรอุปกรณ์เสมือนจริง เสื้อผ้าเสมือนจริง 54

ตัวอย่างสินค้าเสมือนจริง (ต่อ) ผิวหนังและผมเสมือนจริง เพชรพลอยเสมือนจริง ดอกไม้เสมือนจริง ศิลปะเสมือนจริง 55

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ตัวอย่างบริการเสมือนจริง รับจ้างแรงงาน (Wage Labor) รับจ้างจัดการ (Management) รับจ้างให้บริการความสุขสนุกสนาน (Entertainment) รับจ้างทำของตามสั่ง (Custom Creation) 56

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ของตามสั่งที่รับจ้างทำ อาคาร (Building) ตกแต่งผิวภายนอกอาคารหรือสิ่งของ (Texturing) งานเขียน (Scripting) ภาพเคลื่อนไหว (Animating) อำนวยการด้านศิลป์ (Art Directing) สร้างตำแหน่งให้ (Position) 57

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ตัวอย่างการจ้างสร้างตำแหน่ง อยากได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อยากได้ตำแหน่งเจ้าชาย/เจ้าหญิง อยากได้ตำแหน่งอธิการบดี 58

ชีวิตที่สอง (ต่อ) มีตัวอย่างนักศึกษาที่เอแบค ทำเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายขาย ชิ้นละ 9 เหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 300 บาท ขายได้โดยเฉลี่ย เดือนละ 100,000 บาท 59

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ถึง กุมภาพันธ์ 2552 ประมาณ 64,000 คน ได้กำไรในเอสแอล 38,524 คน ได้กำไรต่ำกว่า 350 บาท 233 คน ได้กำไรกว่า 175,000 บาท 2 - 3 คน ได้กำไรปีละกว่า 35 ล้านบาท 2 บริษัท ได้กำไรบริษัทละกว่า 200 ล้านบาทต่อปี 60

ชีวิตที่สอง (ต่อ) ถ้าเทียบกับเว็บเครือข่ายสังคมอื่นๆ แล้ว เอสแอลมีผู้ลงทะเบียนใช้เพียงประมาณ 16 ล้านคนฉะนั้น ไม่ติดอันดับยี่สิบเครือข่ายสังคมยอดนิยม อาทิ มายสเปซ 253 ล้านคน เฟซบุค 200 ล้านคน ไฮไฟว์ 80 ล้านคน เป็นต้น 61

ชีวิตที่สอง (ต่อ) มีการวิเคราะห์ว่า ร้อยละ 80 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสนใจมีร่างอวตาร นั่นคือ ถ้าคิดจาก 1,600 ล้านคน ในที่สุด จะมีผู้มีร่างอวตาร 0.8 x 1,600 = 1,280 ล้านคน 62

2. เว็บมายสเปซ (www.MySpace.com) 63

มายสเปซ (ต่อ) 64

มายสเปซ (ต่อ) 2.1 ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ 2.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 2.3 มายสเปซกับการดำเนินคดี 2.4 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับมายสเปซ 65

2.1 ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ ถึงต้นปี พ.ศ. 2552 มายสเปซมีสมาชิก 253 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ในบรรดาเว็บเครือข่ายสังคมอื่นๆ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546 แล้วต่อมาถูกซื้อไปอยู่ในเครือ บริษัท “ฟอกซ์ (Fox Interactive Media)” 66

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) ประธาน คือ “ทอม แอนเดอร์สัน (Tom Anderson)” ซีอีโอ คือ “โอเวน แวน แนตตา (Owen Van Natta)” มีพนักงาน 1,600 คน 67

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) คำขวัญของมายสเปซ คือ “สถานที่สำหรับเพื่อนฝูง (A Place for Friend)” 68

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) พ.ศ. 2545 มีการเปิดตัวเว็บเครือข่ายสังคม ชื่อ “เฟรนด์สเทอร์(Friendster)” แล้วเจ้าหน้าที่บริษัท “อียูนิเวิร์ส (eUniverse)” ที่ไปใช้เฟรนด์สเทอร์เกิดติดใจ และคิดทำเว็บแข่ง 69

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) ภายใน 10 วันเจ้าหน้าที่อียูนิเวิร์ส สร้าง “มายสเปซ” ให้ใช้ได้ โดยใช้ทรัพยากรของบริษัทอียูนิเวิร์ส หัวหน้าโครงการมายสเปซ คือ “แบรด กรีนสแปน (Brad Greenspan)” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง ประธาน และซีอีโอของอียูนิเวอร์ส ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อบริษัทจากอียูนิเวิร์สเป็น “อินเทอร์มิกซ์มีเดีย (Intermix Media)” 70

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) สมาชิกในโครงการ คือ แอนเดอร์สัน (Tom Anderson) เป็นประธาน (President) ของมายสเปซ คริส เดอ วูฟ (Chris De Wolfe) เป็นซีอีโอของมายสเปซ นักพัฒนาโปรแกรมและเจ้าหน้าที่ของอียูนิเวิร์ส 71

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) พนักงานบริษัทอียูนิเวอร์สเป็นผู้เริ่มใช้มายสเปซ อียูนิเวอร์สให้รางวัลพนักงาน ที่หาสมาชิกมายสเปซได้ ต่อมาอียูนิเวิร์สขยายบริการมายสเปซ ไปยังฐานลูกค้าของอียูนิเวิร์ส 20 ล้านคน 72

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) แบรด กรีนสแปน จ้าง “โตน เหงียน (Toan Nguyen)” เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ในการพัฒนามายสเปซ 73

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) พ.ศ. 2545 ชื่อเว็บ “มายสเปซ (www.Myspace.com)” เดิมเป็นของบริษัท “ยัวร์ซี (YourZ.com)” โดยตั้งใจจะเปิดให้บริการรับฝากเว็บ (Web Hosting) แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ “ดอตคอมล่มสลาย (Dot Bomb)” 74

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) พ.ศ. 2547 เปลี่ยนจากการใช้มายสเปซ รับฝากเว็บเป็นเว็บเครือข่ายสังคม คริส เดอ วูฟ เสนอให้เก็บค่าบริการสมาชิกมายสเปซ แต่แบรด กรีนสแปน ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าเก็บค่าบริการจะทำให้มีสมาชิกน้อยลง 75

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) กรกฎาคม 2548 บริษัท “นิวส์คอร์ปอเรชัน (News Corporation)” ของ “รูเพิร์ต เมอร์ดอค (Rupert Murdock)” ซื้อมายสเปซและบริษัทแม่คืออียูนิเวิร์ส ราคา 580 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท 76

บริษัทนิวส์คอร์ปอเรชันซื้อมายสเปซ (ต่อ) ในราคา 580 ล้านเหรียญ แบ่งเป็น สำหรับมายสเปซ 327 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 11,400 ล้านบาท สำหรับอียูนิเวิร์ส 253 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 8,800 ล้านบาท 77

ประวัติวิวัฒนาการของมายสเปซ (ต่อ) ถ้าอยากรู้เรื่อง “รูเพิร์ต เมอร์ดอค (Rupert Murdoch)” อาจไปถามกูเกิลโดยค้นว่า “คำจำกัดความ: รูเพิร์ต เมอร์ดอค (Define: Rupert Murdoch)” พบเว็บ “วิกิพีเดีย (en.wikipedia.org/wiki/Rupert_Murdoch)” 78

รูเพิร์ต เมอร์ดอค 79

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) เกิดเมื่อ 11 มีนาคม 2474 ที่ออสเตรเลีย เป็นเจ้าพ่อสื่อสารมวลชนทั่วโลก บิดาชื่อ “คีธ (Keith)” เสียชีวิตเมื่ออายุ 67 ปี ซึ่งในขณะนั้นมีหนี้สินจำนวนมาก แต่มีบริษัท “นิวส์ (News Limited)” อยู่ 80

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) พ.ศ. 2496, เมอร์ดอค เริ่มงานเป็นผู้จัดการบริษัทนิวส์ เมื่ออายุ 22 ปี ขยายกิจการอย่างรวดเร็วไปยัง - นิวซีแลนด์ - สหราชอาณาจักร - สหรัฐอเมริกา - เอเชีย 81

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) พ.ศ. 2528 เมื่ออายุ 54 ปี โอนสัญชาติจากออสเตรเลียนเป็นอเมริกัน เพราะตามกฎหมายอเมริกัน ระบุว่าคนอเมริกันเท่านั้น จึงเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ในอเมริกาได้ พ.ศ. 2539 ตั้ง “ฟอกซ์นิวส์ (Fox News)” เป็นสถานีโทรทัศน์แข่งกับ “ซีเอ็นเอ็น (CNN)” 82

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) พ.ศ. 2547 ย้ายสำนักงานใหญ่นิวส์คอร์ป จากออสเตรเลียไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อให้มีการตีราคาบริษัทสูงขึ้น ตามมาตรฐานอเมริกัน 83

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) มกราคม 2548 ฟอกซ์ประกาศจะเปิด “มายสเปซสหราชอาณาจักร (UK Myspace)” และเปิดสาขาที่จีน 84

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) 8 สิงหาคม 2549 กูเกิลเซ็นสัญญาร่วมมือกับมายสเปซ มูลค่า 900 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 32,000 ล้านบาท เพื่อเปิดบริการค้นหาและโฆษณาของกูเกิล ในมายสเปซ 85

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) บริษัทเล็กๆ ลงนามร่วมมือกับมายสเปซ เพื่อให้บริการในมายสเปซ อาทิ สไลด์ดอตคอม (Slide.com) ร็อคยู (Rock You!) ยูทิวบ์ (YouTube) เป็นต้น 86

รูเพิร์ต เมอร์ดอค (ต่อ) พ.ศ. 2552 เมอร์ดอคมีทรัพย์สิน มูลค่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ประมาณ 140,000 ล้านบาท มีเงินเดือน 8,100,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 284 ล้านบาทต่อปี รวมแล้วมีรายได้ 30 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อปี 87

ถึงต้นปี พ.ศ. 2552 (ต่อ) มายสเปซให้บริการ 15 ภาษา มายสเฟปซมีสมาชิก 253 ล้านคน และกำลังถูกท้าทายโดยเฟซบุคซึ่งมีสมาชิก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 200 ล้านคน 88

2.2 บริการและการประยุกต์ใช้ สามารถสมัครสมาชิกและลงชื่อเข้าใช้ ได้ในหน้าแรกของเว็บมายสเปซ 89

หน้าแรกของมายสเปซ (www.myspace.com) 90

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) เมื่อคลิก “เข้าสู่การท่องเที่ยว (Take the Full Tour)” จะปรากฏหัวข้อให้เข้าถึงได้สี่หัวข้อ มายสเปซคืออะไร (What’s My Space?) เพื่อน (Friends) ยัวร์สเปซ (Your Space) ติดต่อ (Connect) 91

เมื่อคลิกเข้าสู่การท่องเที่ยว 92

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) 2.2.1 มายสเปซคืออะไร (What’s My Space?) 2.2.2 เพื่อน (Friends) 2.2.3 ยัวร์สเปซ (Your Space) 2.2.4 ติดต่อ (Connect) 93

2.2.1 มายสเปซคืออะไร (What’s MySpace?) ในหน้ามายสเปซคืออะไรจะมีบริการต่างๆ สามหัวข้อ 1) มายสเปซคือสถานที่สำหรับเพื่อน (MySpace Is A Place For Friend) 2) มายสเปซคือพื้นที่ของสมาชิกเอง (MySpace Is Your Space) 3) มายสเปซช่วยติดต่อสื่อสารตลอดเวลา (MySpace Keeps You Connected) 94

1) มายสเปซคือสถานที่สำหรับเพื่อน (MySpace Is A Place For Friend) มีบริการ ค้นหาเพื่อน (Search Friends) ค้นหาเพื่อนเก่า (Find Old Friends) ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ (Make New Friends) 95

2) มายสเปซคือพื้นที่ของสมาชิกเอง (MySpace is Your Space) มีบริการ แนะนำตนเอง (Express Who You Are) นำภาพและวิดีโอขึ้นมายสเปซ (Upload Pictures and Videos) ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ (Make New Friends) 96

3) มายสเปซช่วยติดต่อสื่อสารตลอดเวลา (MySpace Keeps You Connected) มีบริการ ติดตามเพื่อน (Keep Up with Your Friends) มายสเปซโมบายล์ (MySpace Mobile) แบ่งปันข้อมูลร่วมกัน (Share What You’re Up To) 97

หน้ามายสเปซคืออะไร 98

2.2.1 เพื่อน 99

เพื่อน (ต่อ) 1) หาเพื่อนโดยมายสเปซ (MySpace Search) 2) หาเพื่อนเก่า (Find Old Friends) 3) ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ (Make New Friends) 100

1) หาเพื่อนโดยมายสเปซ (MySpace Search) เป็นการหาเพื่อนหรือผู้ที่มีภูมิหลัง หรือมีความสนใจในเรื่องเดียวกันในมายสเปซ 101

2) หาเพื่อนเก่า (Find Old Friends) สามารถหาเพื่อนเก่าที่ใช้ ยะฮู (Yahoo) ฮอตเมล์ (Hotmail) จีเมล์ (Gmail) ว่าใครเป็นสมาชิกมายสเปซ เพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารกัน 102

3) ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ (Make New Friends) สามารถทำความรู้จักเพื่อนใหม่ได้จาก ผู้ที่มาจากโรงเรียนเดียวกัน ผู้ที่เป็นสมาชิกมายสเปซ เป็นต้น 103

2.2.2 ยัวร์สเปซ 104

ยัวร์สเปซ (ต่อ) 1) แสดงตนว่าเป็นใคร (Express Who You Are) 2) นำภาพและวิดีโอขึ้นประกาศ 3) เติมเสียงเพลง 4) มีชื่อเว็บส่วนตัว 105

1) แสดงตนว่าเป็นใคร (Express Who You Are) จัดทำหน้าประวัติและความสนใจของตนเอง โดยใช้ซอฟต์แวร์ง่ายๆ ของมายสเปซ 106

2) นำภาพและวิดีโอขึ้นประกาศ สามารถนำรูปภาพและวิดีโอ ขึ้นไว้ในหน้าประวัติได้อย่างสะดวกง่ายดาย 107

3) เติมเสียงเพลง ค้นหาเพลงโปรดและเพิ่มไว้ในหน้าประวัติ ได้อย่างสะดวกง่ายดาย 108

4) มีชื่อเว็บส่วนตัว สามารถมียูอาร์แอล (URL) เพื่อใช้เป็นที่อยู่เว็บของตนเองได้ 109

2.2.3 ติดต่อ 110

ติดต่อ (ต่อ) 1) ติดตามข่าวสารจากเพื่อน 2) มายสเปซผ่านโทรศัพท์มือถือ 3) แบ่งปันสิ่งใหม่ที่มีให้กับเพื่อน 111

1) ติดตามข่าวสารจากเพื่อน ตอบรับคำขอเป็นเพื่อน โดยได้รับรายการกิจกรรมล่าสุดจากเพื่อน สถานะของเพื่อน โดยได้รับรายการกิจกรรมล่าสุดจากเพื่อน ส่งประกาศ แจ้งเตือนเพื่อนทั้งหมดอีกครั้ง 112

2) มายสเปซผ่านโทรศัพท์มือถือ รับข้อความแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ ว่ามี ข้อความ คำวิจารณ์ และคำขอเป็นเพื่อน เป็นต้น 113

3) แบ่งปันสิ่งใหม่ที่มีให้กับเพื่อน อาทิ บล็อก (Blog) ข้อความสั้น (SMS) ข้อความแบบทันทีผ่านมายสเปซ (MySpace IM) ข้อความ (Messages) กระทู้ (Forums) เป็นต้น 114

2.3 มายสเปซกับการดำเนินคดี 2.3.1 เด็กหญิงวัย 13 ปีฆ่าตัวตาย เพราะถูกรังแกผ่านมายสเปซ 2.3.2 คดีเจาะระบบขโมยข้อมูลผู้ใช้มายสเปซ 2.3.3 เด็กหญิงวัย 14 ปีถูกจับกุม ในข้อหาเผยแพร่ภาพโป๊ตัวเอง 2.3.4 หนุ่มวัย 28 ปีลวงหญิงสาวไปค้าประเวณี 115

2.3.1 เด็กหญิงวัย 13 ปีฆ่าตัวตาย เพราะถูกรังแกผ่านมายสเปซ จากเว็บ “วิกิพีเดีย (en.wikipedia.org)” เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2552 116

เด็กฆ่าตัวตายเพราะถูกรังแกผ่านมายสเปซ (ต่อ) ตุลาคม 2549 “มีแกน ไมเออร์ (Megan Meier)” อายุ 13 ปี อยู่ที่รัฐมิซซูรี่ สหรัฐอเมริกาได้ฆ่าตัวตาย เพราะถูกเพื่อนที่รู้จักผ่านมายสเปซรังแก มีแกน ไมเออร์ (Megan Meier) 117

เด็กฆ่าตัวตายเพราะถูกรังแกผ่านมายสเปซ (ต่อ) เพื่อนใหม่ผ่านมายสเปซของมีแกน ใช้ชื่อในมายสเปซว่า “จอช อีแวนส์ (Josh Evans)” อ้างว่า อายุ 16 ปี จอช อีแวนส์ ตัวจริงคือ “ลอริ ดรูว์ (Lori Drew)” อายุ 49 ปี ซึ่งเป็นมารดาของเพื่อนมีแกน และต้องการแก้แค้นแทนลูกสาวของตน 118

เด็กฆ่าตัวตายเพราะถูกรังแกผ่านมายสเปซ (ต่อ) จอช อีแวนส์ ตีสนิทกับมีแกน เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัว แล้วนำข้อมูลส่วนตัวไปเผยแพร่ และนินทาว่าร้ายมีแกนผ่านมายสเปซ มีแกนอับอายและเสียใจมากจึงฆ่าตัวตาย 119

เด็กฆ่าตัวตายเพราะถูกรังแกผ่านมายสเปซ (ต่อ) ในที่สุด “ลอริ” ถูกตัดสินจำคุก ในข้อหาบุกรุกคอมพิวเตอร์ที่มีการป้องกันไว้ โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อปลอมแปลงแก้ไขข้อความสื่อสารเพื่อทำร้ายผู้อื่น นอกจากนี้ ลอริยังถูกตั้งข้อหาเพิ่มอีก4 กระทง ซึ่งมีโทษจำคุกข้อหาละไม่เกิน 5 ปี ถึงพฤษภาคม 2552 คดีนี้ยังไม่ยุติ 120

2.3.2 คดีเจาะระบบขโมยข้อมูลผู้ใช้มายสเปซ จากเว็บ “เอ็มเอสเอ็น (www.msnbc.msn.com)” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 จำเลยคือ “ชอน แฮริสัน (Shaun Harrison)” และ “ซาเวริโอ มอนเดลลี (Saverio Mondelli)” วัยรุ่นชาวนิวยอร์กถูกจับกุม เมื่อพฤษภาคม 2549 121

คดีเจาะระบบขโมยข้อมูลผู้ใช้มายสเปซ (ต่อ) โจทก์ คือ มายสเปซ จำเลยถูกจับในข้อหา เข้าถึงคอมพิวเตอร์อย่างผิดกฎหมาย ขู่กรรโชกมายสเปซ 122

คดีเจาะระบบขโมยข้อมูลผู้ใช้มายสเปซ (ต่อ) จำเลยเจาะระบบบัญชีสมาชิกมายสเปซ เพื่อนำขโมยข้อมูลส่วนตัว และอ้างว่ามีข้อมูลสมาชิกมายสเปซ ประมาณ 85,500 คน 123

คดีเจาะระบบขโมยข้อมูลผู้ใช้มายสเปซ (ต่อ) จำเลยขู่กรรโชกให้มายสเปซจ่ายเงิน 150,000 เหรียญ หรือประมาณ 5,320,000 บาท เพื่อแลกกับข้อมูลที่ตนได้มา ศาลตัดสินจำคุกจำเลยคนละ 4 ปี แต่ให้รอลงอาญาจำเลยเป็นเวลา 3 ปี 124

คดีเจาะระบบขโมยข้อมูลผู้ใช้มายสเปซ (ต่อ) ทนายของจำเลยขอเจรจาไกล่เกลี่ย (Plea Bargain) โดยโจทก์เห็นชอบด้วยว่า ให้จำกัดการเข้าถึงอีเมล์ของจำเลย ให้จำเลยทำงานบริการสังคม เป็นเวลา 160 ชั่วโมง ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่มายสเปซ 13,500 เหรียญ หรือประมาณ 472,000 บาท 125

คดีเจาะระบบขโมยข้อมูลผู้ใช้มายสเปซ (ต่อ) ศาลแจ้งให้จำเลยทราบว่า หากจำเลยละเมิดข้อตกลงดังกล่าว ในระหว่างการรอลงอาญาจะถูกจำคุกทันที ระบบคอมพิวเตอร์ของจำเลย เจ้าหน้าที่จะต้องเข้าตรวจสอบได้ตลอดเวลา จำเลยไม่สามารถเข้าใช้มายสเปซได้ 126

2.3.3 เด็กหญิงวัย 14 ปีถูกจับกุม ในข้อหาเผยแพร่ภาพโป๊ตนเอง ข่าวจากเว็บ “นิวส์ดอตคอมดอตเอยู (www.news.com.au)” เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2552 127

เด็กหญิงถูกจับกุมเพราะเผยแพร่ภาพโป๊ (ต่อ) เด็กหญิงวัย 14 ปีชาวนิวเจอร์ซี่ ถูกจับกุมในข้อหาเผยแพร่ ภาพลามกอนาจารของตนในมายสเปซ มีภาพลามกอนาจารประมาณ 30 ภาพ คดียังไม่ยุติ หากพิสูจน์ได้ว่าเด็กหญิงคนดังกล่าว มีความผิดจริงก็จะมีโทษจำคุกถึง 17 ปี 128

2.3.4 หนุ่มวัย 28 ปีลวงหญิงสาวไปค้าประเวณี ข่าวจากเว็บ “ยูพีไอ (www.UPI.com)” เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2552 “คริสโทเฟอร์ ไทย์รอน ยัง (Christopher Tyrone Young)” วัย 28 ปี ชาวฟลอริดา ใช้เว็บเครือข่ายสังคมมายสเปซ ล่อลวงหญิงสาววัย 17 ปี ไปค้าประเวณีในรัฐแคลิฟอร์เนีย 129

หนุ่มวัย 28 ปีลวงหญิงสาวไปค้าประเวณี (ต่อ) คริสโทเฟอร์ทำความรู้จักผ่านมายสเปซ โดยออกอุบายชักชวนหญิงสาวให้หนีออกจากบ้าน แล้วบอกว่าจะพาไปเที่ยวที่ลาสเวกัสด้วยกัน แต่ปรากฎว่าให้หญิงสาวไปค้าประเวณี 130

หนุ่มวัย 28 ปีลวงหญิงสาวไปค้าประเวณี (ต่อ) จากนั้นนำภาพของหญิงสาว ไปโฆษณาขายบริการทางเพศ ผ่านเว็บเคร็กส์ลิสต์ (Craigslist) ด้วย 131

หนุ่มวัย 28 ปีลวงหญิงสาวไปค้าประเวณี (ต่อ) คริสโทเฟอร์ถูกจับกุมในข้อหา ค้าประเวณีเด็ก ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เยาว์ บังคับให้ผู้เยาว์เสพสิ่งเสพติด คริสโทเฟอร์ถูกนำตัวไปขึ้นศาลในซานตาอานา (U.S. District Court in Santa Ana) 132

หนุ่มวัย 28 ปีลวงหญิงสาวไปค้าประเวณี (ต่อ) ถึงพฤษภาคม 2552 ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี หากพิสูจน์ได้ว่าคริสโทเฟอร์มีความผิดจริง จะมีโทษจำคุกขั้นต่ำ 10 ปี 133

2.4 ข่าวที่น่าสนใจกับมายสเปซ 2.4.1 มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ กว่า 90,000 ราย 2.4.2 สมาชิกมายสเปซที่เป็นวัยรุ่น มีความเสี่ยงสูงจากการเปิดเผยข้อมูล 134

2.4.1 มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดี ละเมิดทางเพศกว่า 90,000 ราย ข่าวจากเว็บ “นิวยอร์กไทม์ส (www.nytimes.com)” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552 135

มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ (ต่อ) มายสเปซประกาศว่า มีสมาชิกมายสเปซที่มีประวัติ ก่อคดีละเมิดทางเพศกว่า 90,000 ราย ซึ่งมายสเปซได้ยกเลิกการเป็นสมาชิกไปแล้ว 136

มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ (ต่อ) ในอเมริกามีผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ กว่า 700,000 คน มีผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศกับเด็ก ผ่านมายสเปซที่ถูกออกหมายจับ เกือบ 100,000 คน ในจำนวนผู้ก่อคดีนี้ แต่ละคนจะใช้ชื่อปลอมหลายชื่อในมายสเปซ 137

มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ (ต่อ) เมื่อปี พ.ศ. 2551 มายสเปซและเฟซบุค เห็นชอบที่จะให้มีการกำหนด มาตรฐานความปลอดภัย หลังจากมีการวิพากษ์วิจารณ์ ในเรื่องความปลอดภัยของสมาชิกจากนักล่าทางเพศบนเครือข่ายสังคมอย่างหนัก 138

มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ (ต่อ) ปัญหาที่พบมากที่สุดบนเครือข่ายสังคม คือ ปัญหาการรังแกกันของเด็ก (Bully) ทั้งในสังคมออนไลน์และสังคมจริงๆ ปัญหารองลงมา คือ การถูกชักจูงในเรื่องเพศ (Sexual Solicitation) 139

มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ (ต่อ) กลุ่มเป้าหมายสำคัญของนักล่าทางอินเทอร์เน็ต คือ “กลุ่มเยาวชนบนอินเทอร์เน็ต” มายสเปซระบุว่าใช้เวลาถึงสองปี ในการล่าตัวสมาชิก ที่เป็นผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ และยกเลิกการเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้น 140

มายสเปซมีประวัติผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ (ต่อ) มายสเปซระบุว่า มีสมาชิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี และมีผู้ก่อคดีละเมิดทางเพศ ที่พยายามจะเข้าไปสร้างแฟ้มประวัติ ในมายสเปซลดลงร้อยละ 36 141

2.4.2 สมาชิกมายสเปซที่เป็นวัยรุ่นมีความเสี่ยงสูงจากการเปิดเผยข้อมูล ข่าวจากเว็บ “ยะฮู (tech.yahoo.com)” เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2552 142

สมาชิกมีความเสี่ยงสูงเพราะเปิดเผยข้อมูล (ต่อ) สถาบันวิจัยเด็กซีแอตเทิล (Seattle Children’s Research Institute) สำรวจพบว่า สมาชิกมายสเปซที่เป็นวัยรุ่น กว่าร้อยละ 50 มีความเสี่ยงสูง เพราะไม่ได้ตระหนักว่าการเปิดเผยข้อมูลของตน ต่อผู้อื่นเกิดเป็นภัยร้ายตามมาภายหลัง 143

สมาชิกมีความเสี่ยงสูงเพราะเปิดเผยข้อมูล (ต่อ) การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป อาจทำให้ผู้ไม่หวังดีทราบจุดอ่อนของสมาชิก แล้วใช้ข้อมูลเหล่านั้นไปชักนำสมาชิก ให้มีพฤติกรรมไปในทางที่ผิด ความเสี่ยงต่างๆ อาทิ การถูกชักจูงเรื่องเพศ การถูกชักจูงให้ใช้ยาเสพติด เป็นต้น 144

สมาชิกมีความเสี่ยงสูงเพราะเปิดเผยข้อมูล (ต่อ) สำรวจสมาชิกมายสเปซที่เป็นวัยรุ่น ที่มีอายุ 18 ปี 500 คน พบว่า ร้อยละ 54 มีความเสี่ยงสูง จากการให้ข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ในการสมัครสมาชิกมายสเปซ 145

สำรวจสมาชิกมายสเปซ (ต่อ) ร้อยละ 41 เปิดเผยประวัติ การกระทำความผิดของตน ร้อยละ 24 แสดงออกเรื่องเพศ ร้อยละ 14 ใช้ความรุนแรง 146

3. เว็บเฟซบุค (www.FaceBook.com) 147

เฟซบุค (ต่อ) 3.1 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค 3.1 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค 3.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 3.3 ข้อมูลด้านการเงิน 3.4 การใช้เฟซบุคโดยตำรวจและทหาร 3.5 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเฟซบุค 148

3.1 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค 3.1.1 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2547 3.1.2 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2548 3.1.3 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2549 3.1.4 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2550 3.1.5 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2551 3.1.6 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2552 149

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค (ต่อ) จากเว็บ “วิกิพีเดีย (en.wikipedia.org/wiki/FaceBook)” เฟซบุคเป็นเว็บเครือข่ายสังคม ของบริษัทเฟซบุค (FaceBook Inc.) และให้เข้าใช้ฟรี 150

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค (ต่อ) เดิมเฟซบุคมีชื่อว่า “เฟซแมช (www.Facemash.com)” เปิดตัวเมื่อ 28 ตุลาคม 2546 โดย “มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg)” ซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยใช้เวลาสร้างเว็บ ประมาณ 1 สัปดาห์ 151

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค (ต่อ) วัตถุประสงค์ในการสร้างเว็บเฟซแมช เพื่อใช้เป็นช่องทางบอกความในในแก่หญิงผู้เป็นที่รัก ต่อมาซัคเคอร์เบิร์กก็ได้เจาะข้อมูล ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อนำรูปภาพ และประวัตินักศึกษาไปไว้บนเว็บเฟซแมช หลังจากนั้นก็มีการส่งต่อข้อมูลนักศึกษา ไปยังแม่ข่ายในวิทยาเขตอื่นๆ 152

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค (ต่อ) อาจกล่าวได้ว่าการกระทำของซัคเคอร์เบิร์ก เป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และทางมหาวิทยาลัยก็ไม่เห็นด้วย กับการกระทำของซัคเคอร์เบิร์ก ทางผู้บริหารจึงสั่งให้ปิดเว็บเฟซแมช 2-3 วันหลังจากมีการส่งต่อข้อมูลนักศึกษา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล 153

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค (ต่อ) ซัคเคอร์เบิร์กถูกตั้งข้อกล่าวหา คือ เจาะระบบความปลอดภัย ละเมิดลิขสิทธิ์ และละเมิดความเป็นส่วนตัว ซึ่งมีโทษถึงให้ออกจากมหาวิทยาลัย แต่ซัคเคอร์เบิร์กปิดเว็บทันทีจึงไม่ถูกให้ออก 154

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค (ต่อ) เฟซบุคเริ่มให้บริการที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แล้วขยายไปยังสถาบันการศึกษาอื่นๆ อาทิ มหาวิทยาลัยในเขตบอสตัน (Boston Area) วิทยาลัยไอวีลีก (Ivy League) และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เป็นต้น แล้วขยายต่อไปยังกลุ่มนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาและกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป 155

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค (ต่อ) ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 มีผู้ใช้เฟซบุคทั่วโลกกว่า 200 ล้านคน 156

3.1.1 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2547 3.1.1 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2547 กุมภาพันธ์ เปิดตัวเฟซบุคโดย ซัคเคอร์เบิร์ก และคณะ คือ ดัสติน มอสโควิตซ์ (Dustin Moskovitz) คริส ฮิวจ์ส (Chris Hughes) เอดัวร์โด ซาเวริน (Eduado Saverin) ร่วมกันสร้างเว็บ “เดอะเฟซบุค (TheFaceBook.com)” ขึ้นโดยให้สมาชิกได้พูดคุย และติดต่อสื่อสารกันในมหาวิทยาลัยเท่านั้น 157

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2547 (ต่อ) มีนาคม เฟซบุคขยายบริการ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดไปยัง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยเยล 158

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2547 (ต่อ) มิถุนายน เฟซบุคย้ายฐานการดำเนินงาน ไปอยู่ที่พาโล อัลโต (Palo Alto) รัฐแคลิฟอเนียร์ สหรัฐอเมริกา กันยายน พัฒนาความสามารถ ในการประยุกต์ใช้แบบกลุ่ม คือ ให้มีพื้นที่สำหรับสมาชิกเพื่อบันทึกข้อมูลส่วนตัว ธันวาคม เฟซบุคมีสมาชิกเกือบหนึ่งล้านคน 159

3.1.2 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2548 3.1.2 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2548 พฤษภาคม แอคเซลพาร์ตเนอร์ส (Accel Partners) ลงทุนในเฟซบุค 12.7 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 444 ล้านบาท และเฟซบุคได้สนับสนุนด้านเครือข่าย ของวิทยาลัยต่างๆ กว่า 800 เครือข่าย 160

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2548(ต่อ) สิงหาคม เฟซบุคเปลี่ยนชื่อจาก “เดอะเฟซบุคดอตคอม (TheFaceBook.com)” เป็น “เฟซบุคดอตคอม (FaceBook.com)” กันยายน เฟซบุคขยายเครือข่าย ไปยังโรงเรียนมัธยม ตุลาคม เฟซบุคมีบริการลงรูปภาพบนเว็บ และขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนนานาชาติ 161

3.1.3 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2549 3.1.3 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2549 เมษายน เกรย์ลอค (Greylock Partners) และเมอริเทคแคพิทัล (Merritech Capital Partners) ร่วมลงทุนในเฟซบุค และการเปิดตัวบริการเฟซบุคบนมือถือ รวมกันแล้วมีมูลค่า 27.5 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 960 ล้านบาท 162

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2549 (ต่อ) พฤษภาคม เฟซบุคขยายเครือข่าย ไปยังบริษัทห้างร้านต่างๆ สิงหาคม เฟซบุคเปิดตัวบริการ “บันทึกข้อความ (Notes Application)” และร่วมมือกับไมโครซอฟต์ ด้านโฆษณาบนเว็บ 163

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2549 (ต่อ) กันยายน เฟซบุคเปิดตัวบริการ “นิวส์ฟีด (News Feed)” และ “มินิฟีด (Mini Feed)” พฤศจิกายน เฟซบุคเปิดตัวบริการ แบ่งปันข้อมูลระหว่างสมาชิก ธันวาคม มีสมาชิกเฟซบุคกว่า 12 ล้านคน 164

3.1.4 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2550 3.1.4 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2550 กุมภาพันธ์ เฟซบุคเปิดตัวบริการ “ของขวัญเสมือนจริง (Virtual Gift)” มีนาคม มีสมาชิกเฟซบุคที่เป็นชาวแคนาเดียน กว่า 2 ล้านคน และชาวอังกฤษกว่า 1 ล้านคน เมษายน มีสมาชิกเฟซบุค 20 ล้านคน และเฟซบุคพัฒนาการออกแบบหน้าเว็บ และปรับปรุงช่องทางการเข้าถึงหน้าเว็บ 165

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2550 (ต่อ) พฤษภาคม เฟซบุคเปิดตัวบริการ “มาร์เก็ตเพลซ (Marketplace)” และมีนักพัฒนาโปรแกรม 65 คน และมีการประยุกต์ใช้ 85 แบบ กรกฎาคม เฟซบุคซื้อกิจการของ “พาราคีย์ส (Parakeys)” 166

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2550 (ต่อ) ตุลาคม มีสมาชิกเฟซบุคกว่า 50 ล้านคน มีบริการเฟซบุคบนโทรศัพท์มือถือ และร่วมมือกับไมโครซอฟต์ขยายตลาดการโฆษณา ไปสู่นานาชาติซึ่งไมโครซอฟต์ได้รับส่วนแบ่ง มูลค่า 240 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 8,400 ล้านบาท พฤศจิกายน เฟซบุคเปิดตัวโฆษณาของเฟซบุค หรือ “เฟซบุคแอดส์ (Facebook Ads)” 167

3.1.5 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2551 3.1.5 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2551 มกราคม เฟซบุคร่วมรายการ โต้วาทีของผู้สมัครประธานาธิบดี “เพรสซิเดนท์เชียลดีเบต (Presidential Debates)” กุมภาพันธ์ เปิดตัวเฟซบุคฉบับ ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส 168

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2551 (ต่อ) มีนาคม เปิดตัวเฟซบุคฉบับภาษาเยอรมัน และเฟซบุคพัฒนาการปกป้องความเป็นส่วนตัว โดยให้สมาชิกสามารถกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของตนได้ 169

ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2551 (ต่อ) เมษายน เฟซบุคเปิดตัว “เฟซบุคแชต (Facebook Chat)” และเปิดตัวการประยุกต์ใช้ตัวแปลภาษาได้ 21 ภาษา สิงหาคม มีสมาชิกเฟซบุคกว่า 100 ล้านคน 170

3.1.6 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2552 3.1.6 ประวัติวิวัฒนาการของเฟซบุค พ.ศ. 2552 มกราคม มีสมาชิกเฟซบุคกว่า 150 ล้านคน กุมภาพันธ์ มีสมาชิกเฟซบุคกว่า 175 ล้านคน เมษายน มีสมาชิกเฟซบุคเพิ่มขึ้นกว่า 200 ล้านคน 171

3.2 บริการและการประยุกต์ใช้ เฟซบุคมีรูปแบบการให้บริการคล้ายคลึง กับเว็บเครือข่ายสังคมอื่นๆ คือ ใช้เป็นสื่อกลางการติดต่อระหว่างสมาชิก ที่เชื่อมต่อถึงกันได้ตลอดเวลาจากทั่วทุกมุมโลก มีพื้นที่หรืออาจเรียกว่าบล็อกให้สมาชิก เขียนบันทึกข้อมูลส่วนตัวได้ 172

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ในเฟซบุคเรียกพื้นที่ที่ใช้ในการเขียนข้อมูลนี้ว่า “กำแพง (The Wall)” ซึ่งในระยะแรก จำกัดให้ใช้เป็นตัวอักษรเท่านั้น เฟซบุคมีเครือข่ายมากมายให้สมาชิก ได้สร้างปฏิสัมพันธ์กันได้ อาทิ เครือข่ายในเมือง เครือข่ายที่ทำงาน เครือข่ายโรงเรียน และเครือข่ายภูมิภาค เป็นต้น ทำให้สามารถติดต่อสื่อสาร กับสมาชิกภายในเครือข่ายเดียวกันได้สะดวกขึ้น 173

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) การประยุกต์ใช้ที่นิยมอย่างมากในกลุ่มสมาชิกเฟซบุค คือ การประยุกต์ด้านภาพถ่าย (Photos Application) เพราะเฟซบุคได้พัฒนา จากแต่เดิมที่ให้นำรูปภาพขึ้นได้ 60 ภาพต่อหนึ่งอัลบั้ม ไปเป็นแบบไม่จำกัด สมาชิกสามารถจำกัดกลุ่มผู้เข้าชม หรือกำหนดการเข้าถึงอัลบั้มรูปภาพของตนได้ 174

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) มีแถบป้ายรูปภาพเชิญชวนให้เพื่อนๆ เข้าไปชมรูปภาพผ่านแถบป้ายนั้น 22 สิงหาคม 2549 เปิดตัว “บล็อก (Blog)” ให้บริการแถบป้ายรูปภาพและรูปภาพอื่นๆ ซึ่งสมาชิกสามารถนำเข้าบล็อก จากแหล่งให้บริการบล็อกรายอื่นได้ 175

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) 7 เมษายน 2551 เปิดตัวบริการส่งข้อความแบบทันที ให้สมาชิกสามารถสนทนากับเพื่อนที่ติดตั้งโปรแกรมการส่งข้อความแบบทันทีเช่นกัน 8 กุมภาพันธ์ 2550 เปิดตัว “กิฟต์ส (Gifts)” เป็นบริการส่งของขวัญเสมือนจริงให้กับเพื่อน โดยสามารถเขียนข้อความของตนแนบไปด้วย ในราคา 1 เหรียญ หรือประมาณ 35 บาทต่อครั้ง 176

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) 14 พฤษภาคม 2550 เปิดตัว “มาร์เก็ตเพลซ (Marketplace)” ให้สมาชิกลงโฆษณาย่อยได้ฟรี (Classified Ads) 20 กรกฎาคม 2551 เปิดตัว “เฟซบุคเบต้า (FaceBook Beta)” ซึ่งเป็นตัวประสานระบบต่างๆ ที่ใช้ในเครือข่าย เพื่อจะเปลี่ยนโฉมเฟซบุคใหม่ ซึ่งต่อมาก็มีการเริ่มเปลี่ยนเป็นเฟซบุครุ่นใหม่ เมื่อ กันยายน 2551 177

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) 11 ธันวาคม 2551 เฟซบุคประกาศว่า กำลังทดสอบกระบวนการลงชื่อเข้าใช้ใหม่ 24 พฤษภาคม 2550 เฟซบุคระบุว่า จะมีการกำหนดขอบเขตการทำงาน สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในการสร้างการประยุกต์ใช้ใหม่ๆ ของเฟซบุค 178

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) มีเฟซบุคมาร์กอัพ (FaceBook Mark Up Language) เพื่อใช้ในการประยุกต์ใช้ในด้านการพัฒนาความรู้สึกและภาพที่เหมือนจริง (Look and Feel) มีการเขียนโปรแกรมเกมหมากรุก และเกมสแคบเบิลให้สมาชิกเล่นกันกับเพื่อน 179

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) เมื่อสิงหาคม 2550 เปิดตัวเว็บเฟซบุคไอโฟน เป็นบริการแบบให้ใช้ฟรีสำหรับไอโฟนและไอพอดทัชและถึงเดือนกรกฎาคม 2551 มีผู้ใช้กว่า 1.5 ล้านคน 180

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) สมาชิกสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ในการเข้าถึงแฟ้มข้อมูลส่วนตัวของตนได้ว่า ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือพูดคุยกันแบบส่วนตัวหรือให้ผู้อื่นร่วมด้วย เฟซบุคให้บริการฟรีโดยมีรายได้จากค่าโฆษณา โดยมีไมโครซอฟต์เป็นผู้ผูกขาดด้านการโฆษณา แบบแบนเนอร์ 181

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) เฟซบุคกับมายสเปซถูกนำไปเปรียบเทียบกันเสมอโดยสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างสองเว็บนี้ก็คือ เฟซบุคให้สมาชิกตกแต่งแฟ้มข้อมูลได้ โดยให้ใช้ข้อความ (Plain Text) เท่านั้น 182

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) พ.ศ. 2550 เฟซบุค พัฒนาบริการ โดยให้สมาชิกสามารถนำแฟ้มข้อมูลต่างๆ (Attachment) ขึ้นบนบล็อกได้ เฟซบุคเตรียมพื้นที่ไว้ให้ในแฟ้มข้อมูล เพื่อให้เพื่อนของเจ้าของแฟ้มข้อมูลนั้น ได้เขียนข้อความถึงได้ 183

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) มีระบบส่งข้อมูลถึงเจ้าของแฟ้มข้อมูล เมื่อมีเพื่อนๆ เข้าไปเขียนข้อความไว้ มีการแจ้งสถานะหรือกิจกรรมของเจ้าของบล็อก ให้เพื่อนทราบ 184

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) 6 กันยายน 2549 เฟซบุคเปิดตัว “นิวส์ฟีด (News Feed)” ซึ่งจะปรากฏบนหน้าแรกบนบล็อก ของสมาชิกเฟซบุค โดยจะมีรายละเอียดต่างๆ อาทิ มีการเปลี่ยนรูปแบบของแฟ้มประวัติ มีประกาศกิจกรรมต่างๆ มีการแจ้งเตือนวันเกิดของเพื่อนๆ ให้ทราบ มีข้อความที่สนทนากัน 185

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) นิวส์ฟีดสร้างความไม่พึงพอใจ ให้กับสมาชิกเฟซบุค เนื่องจากบางกลุ่มระบุว่าอาจทำให้ผู้ไม่หวังดี สะกดรอยตามได้ง่ายจากข้อมูลในนิวส์ฟีด ต่อมาซัคเคอร์เบิร์กจึงพัฒนาบริการ และการประยุกต์ใช้ให้มีการกำหนดข้อจำกัด การเข้าถึงข้อมูลได้ 186

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) 7 พฤศจิกายน 2550 เปิดตัว “เฟซบุคบีคอน (FaceBook Beacon)” ซึ่งเป็นโฆษณาภายในสังคม (Social Ads) โดยให้สมาชิกลงข่าวกิจกรรม หรือสินค้าของตนบนเฟซบุค 187

3.3 ข้อมูลด้านการเงิน มิถุนายน 2547 “ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel)” ผู้ร่วมก่อตั้งเพย์พัลลงทุนในเฟซบุค 500,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 17.5 ล้านบาท พ.ศ. 2548 แอคเซลพาร์ตเนอร์ส (Accel Partners) ลงทุนในเฟซบุค 12.7 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 444 ล้านบาท และเกรย์ล็อคพาร์ตเนอร์ส (Greylock Partners) ลงทุน 27.5 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 960 ล้านบาท 188

ข้อมูลด้านการเงิน (ต่อ) พ.ศ. 2548 เฟซบุคขาดทุน 3.63 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 127 ล้านบาท กันยายน 2549 ยะฮูเจรจาขอซื้อเฟซบุค มูลค่า 280,000 ล้านบาท แต่เฟซบุคปฏิเสธ 189

ข้อมูลด้านการเงิน (ต่อ) กันยายน 2550 ไมโครซอฟต์เสนอซื้อหุ้นเฟซบุค ร้อยละ 5 ในราคา 300 – 500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 10,000 – 17,000 ล้านบาท ทำให้ในเดือนนี้มีหลายบริษัท อาทิ กูเกิลสนใจที่จะลงทุน อย่างไมโครซอฟต์บ้าง เป็นต้น 190

ข้อมูลด้านการเงิน (ต่อ) 24 ตุลาคม 2550 ไมโครซอฟต์ประกาศว่า ได้ซื้อหุ้นเฟซบุคร้อยละ 1.6 ในราคา 240 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 8,400 ล้านบาท พฤศจิกายน 2550 “ลี กาชิง (Li Ka-shing)” เศรษฐีชาวฮ่องกงลงทุนในเฟซบุค 60 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 2,100 ล้านบาท 191

ข้อมูลด้านการเงิน (ต่อ) สิงหาคม 2551 บิซิเนสวีครายงานว่า พนักงานเฟซบุคขายหุ้นและมีบริษัทการลงทุน ร่วมลงทุนในเฟซบุคทำให้มูลค่าเฟซบุคสูงขึ้น เป็น 37,500 - 50,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 131,000 - 175,000 ล้านบาท 192

3.4 การใช้เฟซบุคโดยตำรวจและทหาร 3.4.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติสิงคโปร์กับเฟซบุค 3.4.2 หนุ่มมือบอนถูกจับเพราะเฟซบุค 3.4.3 กระทรวงกลาโหมอเมริกัน ใช้เว็บเครือข่ายสังคมโฆษณาประชาสัมพันธ์ 3.4.4 กองทัพอังกฤษห้ามใช้เว็บเครือข่ายสังคม 193

การใช้เฟซบุคโดยตำรวจและทหาร (ต่อ) มีผู้คนจำนวนมากต่างวิพากษ์วิจารณ์การนำเฟซบุค ไปใช้ในการดำเนินคดีทั้งในแง่บวกและแง่ลบ มีหน่วยงานยุติธรรมหลายแห่งที่นำความก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินคดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานและลดเวลาในการดำเนินงาน 194

การใช้เฟซบุคโดยตำรวจและทหาร (ต่อ) การใช้เฟซบุคยังถือว่า เป็นการปรับกระบวนการทำงานให้เท่าทัน กับอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์อีกด้วย เฟซบุคก็เปรียบเสมือนเป็นสายลับ ให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบเสาะหา ตัวคนร้ายที่อาจจะใช้เฟซบุคในการติดต่อสื่อสาร และเป็นช่องทางก่ออาชญากรรม 195

การใช้เฟซบุคโดยตำรวจและทหาร (ต่อ) ธันวาคม 2551 ศาลสูงของออสเตรเลีย (Supreme Court) ตัดสินให้ใช้เฟซบุคเป็นเครื่องมือ ในการสืบสวนและแจ้งเบาะแสให้กับศาลได้ อาจกล่าวได้ว่าเฟซบุคเป็นเว็บเครือข่ายสังคม เว็บแรกของโลกที่มีการนำไปใช้เป็นหลักฐาน ในการดำเนินคดี 196

การใช้เฟซบุคโดยตำรวจและทหาร (ต่อ) มีนาคม 2552 ศาลสูงนิวซีแลนด์อนุญาต ให้บริษัทเคร็กแอ็กซ์ (Craig Axe) ยื่นเอกสารทางกฎหมายผ่านเฟซบุคได้ ในทางตรงกันข้ามบางกลุ่มก็ระบุว่า อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายมากมายมหาศาล 197

3.4.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติสิงคโปร์กับเฟซบุค 3.4.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติสิงคโปร์กับเฟซบุค มีรายงานข่าวจากเว็บ “ฟิวเจอร์กัฟ (www.futuregove.net)” เมื่อ 20 เมษายน 2552 ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติสิงคโปร์ หรือ “เอสพีเอฟ (SPF = Singapore Police Force)” เป็นสมาชิกเฟซบุคเพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นใกล้ชิดกับตำรวจมากขึ้น 198

สำนักงานตำรวจแห่งชาติสิงคโปร์กับเฟซบุค (ต่อ) มีหน้าเว็บ “เอสพีเอฟเฟซบุค (SPF FaceBook)” เป็นสื่อกลางให้ประชาชน แจ้งเบาะแส แจ้งเหตุฉุกเฉิน แสดงความคิดเห็นต่างๆ 199

สำนักงานตำรวจแห่งชาติสิงคโปร์กับเฟซบุค (ต่อ) มีการประกาศรับสมัครเจ้าหน้าที่และให้คำปรึกษา ในการป้องกันอาชญากรรมและมีวิดีโอเผยแพร่ความรู้ด้านอาชญากรรมแก่ประชาชน ในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มเนื้อหาอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น อาทิ การรณรงค์ด้านการจราจร เป็นต้น 200

3.4.2 หนุ่มมือบอนถูกจับเพราะเฟซบุค 3.4.2 หนุ่มมือบอนถูกจับเพราะเฟซบุค มีรายงานจากเว็บ “ซีบีซีแคนาดา (www.cbc.ca)” เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 ว่า มีหนุ่มมือบอน ถูกจับเพราะเฟซบุค มีผู้ร้องเรียนว่ามีผู้ไปขีดเขียนในสถานที่สาธารณะ รวมถึงป้ายจราจรและตามอาคารสำนักงานต่างๆ โดยประทับตราประจำตัวเป็นรูปคนหัวล้านไว้ทุกแห่ง 201

หนุ่มมือบอนถูกจับเพราะเฟซบุค (ต่อ) มีพลเมืองดีใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพ หนุ่มวัย 18 ปีคนนี้ขึ้นเผยแพร่บนเฟซบุค เพื่อแจ้งเบาะแสให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ จับกุมตัวได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากตอนกระทำความผิดยังเป็นผู้เยาว์ จึงต้องใช้วิธีตักเตือนเท่านั้น 202

3.4.3 กระทรวงกลาโหมอเมริกัน ใช้เว็บเครือข่ายสังคมโฆษณาประชาสัมพันธ์ 3.4.3 กระทรวงกลาโหมอเมริกัน ใช้เว็บเครือข่ายสังคมโฆษณาประชาสัมพันธ์ มีรายงานจากเว็บ “ไชน่าเดลลี่ (www.chinadaily.com)” เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ว่า กระทรวงกลาโหมอเมริกันใช้เว็บเครือข่ายสังคมประชาสัมพันธ์ข่าว กองทัพบกอเมริกัน กองทัพอากาศอเมริกัน และกองทัพเรืออเมริกันใช้เฟซบุค ประกาศรับสมัครบุคลากร เผยแพร่ข้อมูลด้านกองทัพ และการใช้ชีวิตในกองทัพ 203

กลาโหมอเมริกันใช้เว็บเครือข่ายสังคม (ต่อ) ผู้บังคับบัญชากองทัพบกอเมริกันระบุว่า เครือข่ายสังคมเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 18 - 24 ปี ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของกองทัพในอนาคตได้ง่ายขึ้น 204

กลาโหมอเมริกันใช้เว็บเครือข่ายสังคม (ต่อ) หัวหน้ากองกำลังทหารอเมริกันในอิรัก ก็เป็นสมาชิกเฟซบุคด้วย เพื่อใช้เป็นช่องทางในการตอบคำถาม และเผยแพร่ข่าวสาร เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในอิรัก 205

3.4.4 กองทัพอังกฤษห้ามใช้เว็บเครือข่ายสังคม 3.4.4 กองทัพอังกฤษห้ามใช้เว็บเครือข่ายสังคม มีรายงานข่าวจากเว็บ “เทเลกราฟ (www.telegraph.co.uk)” เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า กองทัพอังกฤษห้ามใช้เว็บเครือข่ายสังคม เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ 206

กองทัพอังกฤษห้ามใช้เว็บเครือข่ายสังคม (ต่อ) การให้ข้อมูล อาทิ ผ่านบล็อก ห้องสนทนา และเกมส์ เป็นต้น อาจเป็นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ถ้าหากทหารในกองทัพใช้เว็บเครือข่ายสังคม ก็อาจจะเปิดเผยข้อมูลลับของกองทัพโดยไม่รู้ตัว 207

กองทัพอังกฤษห้ามใช้เว็บเครือข่ายสังคม (ต่อ) จากการประกาศห้ามไม่ให้ทหารในกองทัพ ใช้เว็บเครือข่ายสังคมและบล็อกต่างๆ สร้างความไม่พอใจให้แก่กำลังพลอย่างมาก เพราะต้องใช้เครือข่ายสังคมในการติดต่อสื่อสาร กับครอบครัวและเพื่อนเป็นประจำอยู่แล้ว 208

กองทัพอังกฤษห้ามใช้เว็บเครือข่ายสังคม (ต่อ) โฆษกกระทรวงกลาโหมระบุว่า ทหารทุกนายต้องตระหนักอยู่เสมอ ว่าตนเป็นบุคคลสำคัญและเป็นแนวหน้าของกองทัพ ฉะนั้น การกระทำใดๆ จะต้องไม่เป็นการเปิดช่องว่างให้ข้าศึกโจมตีได้ 209

3.5 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเฟซบุค 3.5.1 เฟซบุครุกตลาดจีนและญี่ปุ่น 3.5.2 เฟซบุคเป็นเหตุให้สามีฆ่าภรรยา 3.5.3 นักเรียนใช้เฟซบุคโจมตีครู 3.5.4 ใช้เฟซบุคในทางที่ผิดทำให้ผลการเรียนตกต่ำ 210

3.5.1 เฟซบุครุกตลาดจีนและญี่ปุ่น 3.5.1 เฟซบุครุกตลาดจีนและญี่ปุ่น มีรายงานข่าวจากเว็บ “เอ็กซ์ทรีมเทค (www.extremetech.com)” เมื่อ 3 พฤษภาคม 2552 ว่าเฟซบุคเริ่มติดตลาดในจีนแผ่นดินใหญ่ เฟซบุคเปิดตัวเฟซบุคฉบับภาษาจีนขึ้นผ่านทาง “แซดเอชซีเอ็นดอตเฟซบุคดอตคอม (Zh-en.facebook.com)” เมื่อเมษายน 2550 ทั้งนี้ ได้ให้บริการในฮ่องกงและไต้หวันด้วย 211

เฟซบุครุกตลาดจีนและญี่ปุ่น (ต่อ) ส่วนเฟซบุคในญี่ปุ่นมีรายงานข่าวจากเว็บ “เว็บโปรนิวส์ (www.webpronews.com)” เมื่อ 28 มีนาคม 2552 ว่า เฟซบุครุกตลาดญี่ปุ่น โดยสร้างเฟซบุคฉบับภาษาญี่ปุ่นขึ้น เว็บเครือข่ายสังคมที่ครองตลาดในญี่ปุ่นอันดับหนึ่งคือ “มิซิดอตเจพี (Mixi.jp)” โดยในเดือนมิถุนายน 2551 มีสมาชิก 12.7 ล้านคน 212

เฟซบุครุกตลาดจีนและญี่ปุ่น (ต่อ) ส่วน “เฟซบุคฉบับภาษาญี่ปุ่น” ในปี พ.ศ. 2551 มีสมาชิก 538,000 คน นอกจากจีนและญี่ปุ่นแล้ว ในปี พ.ศ. 2551 ก็มีการเปิดตัวเฟซบุคฉบับภาษาต่างๆ ขึ้นมากมาย อาทิ ฝรั่งเศส เยอรมัน และสเปน เป็นต้น 213

3.5.2 เฟซบุคเป็นเหตุให้สามีฆ่าภรรยา 3.5.2 เฟซบุคเป็นเหตุให้สามีฆ่าภรรยา มีรายงานข่าวจากเว็บ “เอสเอ็มเอช (www.smh.com.au)” ว่าชาวอังกฤษวัย 41 ปีใช้มีดแทงภรรยาเสียชีวิต จากการสอบสวนพบว่าสามีชื่อ “เอ็ดเวิร์ด ริชาร์ดสัน (Edward Richardson)” และภรรยาชื่อ “ซาร่าห์ ริชาร์ดสัน (Sarah Richardoson)” ซึ่งทั้งคู่แยกกันอยู่ประมาณหนึ่งเดือนแล้ว 214

เฟซบุคเป็นเหตุให้สามีฆ่าภรรยา (ต่อ) ต่อมาฝ่ายชายเข้าไปในเฟซบุค และพบข้อมูลว่าภรรยาวัย 26 ปี ได้เปลี่ยนสถานะในแฟ้มประวัติ โดยระบุว่าตนมีสถานะเป็นโสด จึงเป็นเหตุให้สามีเกิดความหึงหวง 215

เฟซบุคเป็นเหตุให้สามีฆ่าภรรยา (ต่อ) ผู้ต้องหาบุกไปที่บ้านพ่อและแม่ของซาร่าห์ และทำร้ายร่างกายของซาร่าห์จนถึงแก่ชีวิต แล้วพยายามฆ่าตัวตายตามแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดศาลตัดสินจำคุกเอ็ดเวิร์ดเป็นเวลา 18 ปี 216

3.5.3 นักเรียนใช้เฟซบุคโจมตีครู 3.5.3 นักเรียนใช้เฟซบุคโจมตีครู มีรายงานข่าวจากเว็บ “เดลีเมล์ (www.dailymail.co.uk)” เมื่อ 12 มกราคม 2552 ว่ามีนักเรียน 29 คนถูกสั่งพักการเรียน เพราะโจมตีครูผ่านเฟซบุค นักเรียน 29 คนนี้เป็นนักเรียนหญิงที่โรงเรียนสตรี แห่งหนึ่งในกรุงลอนดอนได้รวมกลุ่ม และตั้งชื่อกลุ่มว่า “สังคมแห่งความเกลียดชัง (The Hate Society)” ขึ้น 217

นักเรียนใช้เฟซบุคโจมตีครู (ต่อ) นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้นำข้อความ ที่แสดงการดูถูกเหยียดหยามครูเผยแพร่บนเฟซบุค ในที่สุดนักเรียนกลุ่มนี้ก็ถูกสั่งพักการเรียน ตั้งแต่ 2 - 15 วันก่อนเทศกาลคริสต์มาส เมื่อปี พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตามการลงโทษดังกล่าว ถือเป็นการลงโทษที่รุนแรงมาก 218

3.5.4 ใช้เฟซบุคในทางที่ผิด ทำให้ผลการเรียนตกต่ำ 3.5.4 ใช้เฟซบุคในทางที่ผิด ทำให้ผลการเรียนตกต่ำ มีรายงานข่าวจากเว็บ “เดอะสตาร์ (www.thestar.com)” เมื่อ 13 เมษายน 2552 ว่าการใช้เว็บเครือข่ายสังคมมากเกินไป อาจทำให้ผลการเรียนตกต่ำได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสำรวจนักศึกษา ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท 219 คน โดยศึกษาเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้เฟซบุค 219

ใช้เฟซบุคในทางที่ผิดทำให้การเรียนตกต่ำ (ต่อ) ผลปรากฎว่ามีผู้เป็นสมาชิกเฟซบุค 148 คน และผู้ที่ใช้เวลากับเฟซบุคมาก ทำให้มีเวลาให้กับการเรียนน้อยลง ส่งผลให้การเรียนตกต่ำ หากพิจารณาผลการเรียนพบว่า ผู้ที่ใช้เวลาเข้าใช้เฟซบุคมาก มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.0 - 3.5 และผู้ที่ไม่เข้าใช้เฟซบุคมีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.5 - 4.0 220

ใช้เฟซบุคในทางที่ผิดทำให้การเรียนตกต่ำ (ต่อ) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่เข้าใช้เฟซบุคจะมีเวลาให้กับการอ่านหนังสือ เพียง 1 - 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น ส่วนผู้ที่ไม่เข้าใช้เฟซบุคมีเวลาให้กับการอ่านหนังสือเฉลี่ย 11 - 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 221

ใช้เฟซบุคในทางที่ผิดทำให้การเรียนตกต่ำ (ต่อ) ร้อยละ 79 ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่า การเข้าใช้เฟซบุคไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อผลการเรียนเพราะไม่ได้เข้าใช้เป็นประจำ ร้อยละ 69 ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่า เข้าใช้เฟซบุคทุกวันและวันละหลายครั้ง 222

4. เว็บวินโดวส์ไลว์ (home.live.com) 223

เว็บวินโดวส์ไลว์ (ต่อ) 4.1 ประวัติและวิวัฒนาการของวินโดส์ไลว์ 4.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 4.3 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับวินโดวส์ไลว์ 224

4.1 ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ จากเว็บ “ฮาวสทัฟเวิร์คส์ (communication.howstuffworks.com)” ระบุว่าเมื่อปี พ.ศ. 2544 วิศวกรไมโครซอฟต์ ได้เริ่มพัฒนาวินโดวส์ไลว์ เพราะไมโครซอฟต์ต้องการผลิตภัณฑ์ ที่มีบริการมากกว่าบริษัทอื่น 225

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) ฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2548 บิล เกตส์ กล่าวถึงการพัฒนาวินโดวส์ไลว์ ว่ากำลังจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ใช้บนเว็บอย่างสะดวกสบาย สำหรับใช้ส่วนบุคคลและในองค์กรขนาดเล็ก 226

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) จากวิกิพีเดีย (en.wikipedia.org/wiki/Windows_live) เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2548 ไมโครซอฟต์ได้เปิดตัววินโดวส์ไลว์ โดยนำบริการเดิมๆ ของไมโครซอฟต์ มาตั้งชื่อใหม่ให้อยู่ในชุดวินโดวส์ไลว์ ไมโครซอฟต์กล่าวว่า “วินโดวส์ไลว์ เป็นการขยายประสบการณ์ ให้ผู้ใช้วินโดวส์” 227

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) 12 ธันวาคม 2549 เปลี่ยน “ศูนย์ค้นหาของวินโดวส์ไลว์ (Windows Live Search Center)” เป็น “วินโดวส์เสิร์ช 4 (Windows Search 4)” 228

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) 16 กุมภาพันธ์ 2550 เปลี่ยน “วินโดวส์ไลว์ไวไฟฮอตสปอต (Windows Live WiFi Hotspot)” เป็น “เอ็มเอสเอ็นไวไฟฮอตสปอต (MSN WiFi Hotspot)” 229

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) 20 กุมภาพันธ์ 2550 เปลี่ยน “วินโดวส์ไลว์ชอปปิ้ง (Windows Live Shopping)” เป็น “เอ็มเอสเอ็นชอปปิ้ง (MSN Shopping)” 230

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) 6 พฤษภาคม 2550 ไมโครซอฟต์ ประกาศให้ใช้ วินโดวส์ไลว์ฮอตเมล์ (Windows Live Hotmail) แทน เอ็มเอสเอ็นฮอตเมล์ (MSN Hotmail) โดยวินโดวส์ไลว์ฮอตเมล์ เปิดตัวพร้อมกันใน 36 ภาษา 231

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) 6 มิถุนายน 2551 ยกเลิก “วินโดวส์ไลว์เฮลป์คอมมิวนิตี้ (Windows Live Help Community)” 23 มกราคม 2552 ไมโครซอฟต์ประกาศ นำบริการ “ออฟฟิศไลว์ (Office Live)” ไปไว้ใน “วินโดวส์ไลว์” 232

ประวัติและวิวัฒนาการของวินโวส์ไลว์ (ต่อ) 14 เมษายน 2552 ยกเลิก “วินโดวส์ไลว์ เฟฟวอริตส์ (Windows Live Favorites)” ซึ่งให้ผู้ใช้วินโดวส์ไลว์ไปใช้ “เฟฟวอริตส์” ในคอมพิวเตอร์ได้ 233

4.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 4.2.1 เลือกที่อยู่เว็บ 4.2.2 แก้ไขประวัติ 4.2.3 แบ่งปันรูปภาพ 4.2.4 เพิ่มบล็อก 4.2.5 เชิญมาเป็นเพื่อน 4.2.6 เพิ่มรายการ 234

4.2.1 เลือกที่อยู่เว็บ ใส่ที่อยู่เว็บที่ต้องการ และสามารถตรวจสอบ ว่ามีผู้อื่นใช้ที่อยู่นี้แล้วหรือไม่ เมื่อบันทึกแล้วจะไม่สามารถแก้ไขชื่อที่อยู่เว็บได้อีก 235

4.2.2 แก้ไขประวัติ 1) ชื่อ 2) รูปภาพ 3) ข้อความส่วนตัว 4) เกี่ยวกับบุคคล 5) ข้อมูลการติดต่อ 236

แก้ไขประวัติ (ต่อ) 6) สิ่งที่ชอบ 7) สังคม 8) การศึกษา 9) ข้อมูลการทำงาน 237

1) ชื่อ ชื่อ คือ ชื่อเล่นที่ผู้ใช้แสดงแก่เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว หรือคนอื่นๆ เพื่อที่คนเหล่านั้นระบุตัวของเจ้าของ ผ่านวินโดวส์ ชื่อ จะแสดงให้ทุกคนในอินเทอร์เน็ตเห็น นามสกุล สามารถเลือกว่าจะให้ผู้อื่น เห็นนามสกุลหรือไม่ 238

2) รูปภาพ ใช้รูปภาพนี้เพื่อแสดงตัวตนของผู้ใช้ 239

3) ข้อความส่วนตัว ข้อความส่วนตัวจะปรากฏคู่กับรูปภาพ 240

4) เกี่ยวกับบุคคล กรอกข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้อื่นรู้จักมากขึ้น อาทิ อายุ เพศ ชาย หญิง หรือไม่ต้องการเปิดเผย อาชีพ ที่อยู่ สิ่งที่สนใจ เป็นต้น 241

5) ข้อมูลผู้ติดต่อ อาทิ วัน เดือน ปี เกิด วันครบรอบ วันสำคัญอื่นๆ ประเทศ/อาณาเขต ที่อยู่ เมือง จังหวัด 242

ข้อมูลผู้ติดต่อ (ต่อ) รหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ แฟกซ์ อีเมล์ ข้อความสั้นแบบทันที เป็นต้น 243

6) สิ่งที่ชอบ อาทิ ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เป็นต้น 244

7) สังคม กรอกข้อมูลเพื่อการค้นหาความสนใจสำหรับผู้อื่น อาทิ สถานภาพ - โสด - กำลังคบหา - หมั้น - แต่งงาน - หย่าร้าง - แยกกันอยู่ 245

สังคม (ต่อ) สนใจที่จะ - หาเพื่อน - หาคู่ - หาเพื่อนร่วมกิจกรรม - หาเครือข่ายทางธุรกิจ - แต่งงาน 246

สังคม (ต่อ) อุปนิสัย - เชย/น่าเบื่อ - ฉลาด/หัวไว - เย็นชา/ช่างประชด - เป็นมิตร - สนุกสนาน - ลึกลับ - ไม่มีระเบียบ 247

สังคม (ต่อ) รสนิยมการแต่งกาย - ร่วมสมัย - เสื้อผ้าที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ - เสื้อผ้าเน้นทำกิจกรรมกลางแจ้ง - ตามกระแส - ไม่เหมือนใคร 248

8) การศึกษา กรอกข้อมูลเพื่อการค้นหาสำหรับเพื่อนร่วมชั้น อาทิ ประเทศ/อาณาเขต วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย รุ่น เอก ช่วงปีที่เข้าเรียน 249

การศึกษา (ต่อ) ระดับ - กำลังศึกษา - ปริญญาตรี - ปริญญาโท - ปริญญาเอก ระดับ - กำลังศึกษา - ปริญญาตรี - ปริญญาโท - ปริญญาเอก เป็นต้น 250

9) ข้อมูลการทำงาน ช่วยให้ผู้อื่นทราบข้อมูลการทำงานของผู้ใช้ อาทิ ตำแหน่ง เชี่ยวชาญด้าน บริษัท ประเทศ/อาณาเชต 251

ข้อมูลการทำงาน (ต่อ) ที่อยู่ที่ทำงาน - เมือง - จังหวัด - รหัสไปรษณีย์ - อีเมล์ที่ทำงาน - โทรศัพท์ที่ทำงาน - แฟกซ์ที่ทำงาน เป็นต้น 252

4.2.3 แบ่งปันรูปภาพ อาทิ สร้างอัลบั้มภาพ เพิ่มรูปภาพ เป็นต้น 253

4.2.4 เพิ่มบล็อก อาทิ ตั้งชื่อ ใส่รูปภาพ ใส่วิดีโอ ใส่ลิ้งค์เพื่ออ้างถึงบล็อกของผู้อื่น เป็นต้น 254

4.2.5 เชิญมาเป็นเพื่อน อาทิ เพิ่มชื่อจากอีเมล์ เลือกรายชื่อต่างๆ จาก - เฟซบุค (Fecebook) - มายสเปซ (MySpace) - ลิ้งค์อิน (LinkedIn) - ไฮไฟว์ (Hi5) เป็นต้น 255

4.2.6 เพิ่มรายการ อาทิ ชื่อรายการ คำอธิบาย ประเภทของรายการ - ดนตรี - หนังสือ - ภาพยนตร์ เป็นต้น 256

4.3 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับวินโดวส์ไลว์ 4.3.1 วินโดวส์ไลว์ใช้กับโทรศัพท์มือถือได้ 4.3.2 ใช้เว็บไอเอ็มแทนวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ได้ 4.3.3 ปรับปรุงวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ 257

4.3.1 วินโดวส์ไลว์ใช้กับโทรศัพท์มือถือได้ 17 กุมภาพันธ์ 2552 มีรายงานข่าวจากเว็บ “เดอะเนชั่นมัลติมีเดีย (TheNationmultimedia)” ว่าไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวบริการ “วินโดวน์ไลฟ์และเอ็มเอสเอ็นสำหรับโทรศัพท์มือถือ” 258

วินโดวส์ไลว์ใช้กับโทรศัพท์มือถือได้ (ต่อ) เรียกบริการว่า “ทุกอย่างเดี๋ยวนี้ (Everything is Now)” สื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงความสามารถ ในการใช้บริการวินโดวส์ไลว์และเอ็มเอสเอ็น ผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา 259

4.3.2 ใช้เว็บไอเอ็มแทนวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ได้ 21 เมษายน 2552 มีข่าวใน “ไลว์ไซต์ (www.LiveSite.net)” ว่าผู้ที่ไม่มีวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ (Window Live Messenger) ก็สามารถใช้ข้อความทันทีทันใดได้ ตั้งแต่ มีนาคม 2552 260

ใช้ไอเอ็มแทนวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ (ต่อ) มีนาคม 2552 ไมโครซอฟต์เปิดบริการเว็บไอเอ็ม ใน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก สเปน สหราชอาณาจักร 261

ข่าวที่น่าสนใจกับวินโดวส์ไลว์ (ต่อ) มีรายงานว่าบริการวินโดวส์ไลว์ ได้รับความนิยมอย่างสูงในไทย มีผู้ใช้วินโดวส์ไลว์กว่า 9 ล้านราย มีผู้ใช้วินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์กว่า 5 ล้านราย มีผู้ใช้แชตสูงถึง 2.4 พันล้านนาทีต่อเดือน 262

4.3.3 ปรับปรุงวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ มีข่าวจาก “ซอฟต์พิเดีย (news.softpedia.com)” เมื่อ 30 เมษายน 2552 ว่าไมโครซอฟต์ได้ปรับปรุง วินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ เพียง 1 เดือนหลังจากที่เปิดบริการ 263

ปรับปรุงวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ (ต่อ) การปรับปรุงมี อาทิ เปลี่ยน “ไอเอ็มที่นี่ (IM Here)” เป็น “ลงชื่อเข้าใช้ (Sign In)” ปรับปรุงประสิทธิภาพ (Performance) เป็นต้น 264

ปรับปรุงวินโดวส์ไลว์เมสเซนเจอร์ (ต่อ) มีการบริการวินโดวส์ไลว์ ฮอตเมล์ วินโดวส์ไลว์ เอ็มเอสเอ็น แมสเซนเจอร์ และการบริการในรูปแบบสังคมออนไลน์ คือ โปรแกรมเอ็มเอสเอ็นแมสเซนเจอร์ เวอร์ชั่นที่ 9 ที่ได้ปรับปรุงใหม่ อาทิ ย้ายแถบผู้สนับสนุนมาไว้ที่ด้านล่าง เป็นต้น 265

ใช้เฟซบุคในทางที่ผิดทำให้การเรียนตกต่ำ (ต่อ) อย่างไรก็ตามหากใช้เฟซบุคในด้านการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ก็น่าจะเป็นการช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถ ได้มากขึ้น ซึ่งดีกว่าที่จะใช้เฟซบุคเพียง เพื่อความสุขสนุกสนานเท่านั้น 266

5. เว็บแฮบโบ้ (www.habbo.com) 267

เว็บแฮบโบ้ (ต่อ) 5.1 ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ 5.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 5.3 แฮบโบ้กับการดำเนินคดี 5.4 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับแฮบโบ้ 268

5.1 ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ มีนาคม 2552 แฮบโบ้มีสมาชิก ประมาณ 129 ล้านคน คำขวัญของแฮบโบ้ คือ “จุดรวมของวัยรุ่น (Hangout For Teens)” แฮบโบ้เป็นเว็บของ “บริษัทซูเลค (Sulake Corporation)” 269

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) ผู้บริหาร คือ “จูฮา ไฮนีเนน (Juha Hynynen)” และ “ทิโม ซอยนีเนน (Timo Saoninen)” 270

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) แฮบโบ้เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยนักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ชื่อ “แซมโบ้ คาจาร์ไลเนน (Sambo Karjalainen)” และ “อาโป ไคโรลา (Aapo Kyrola)” 271

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2542 แฮบโบ้พัฒนามาจากบริการ “โมบายล์ดิสโก (Mobile Disco)” ซึ่งเป็นโครงการงานอดิเรก (Hobby Project) โดยเป็นบริการห้องสนทนา ผ่านโทรศัพท์มือถือ 272

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) พ.ศ. 2543 “ชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community)” แห่งแรกบนอินเทอร์เน็ตพัฒนาโดย แซมโบ คาจาร์ไลเนน เอโป ไคโรลา 273

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) บริษัท “ซูเลค (Sulake Corporation)” ของฟินแลนด์เป็นผู้ดูแลแฮบโบ้ โดยเป็นเจ้าของเว็บ (www.sulake.com/habbo) 274

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) สิงหาคม 2543 ที่สหราชอาณาจักร ใช้ซอฟต์แวร์รุ่นแรก “แอลฟา (Alfa)” เปิดชุมชนเสมือนจริงใช้ชื่อ “แฮบโบ้ (Habbo)” และ “โรงแรมเสมือนจริงแฮบโบ้ (Habbo Hotel)” 275

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2544 ปรับปรุงซอฟต์แวร์เป็นรุ่นสอง “เบต้า (Beta)” ให้มีคุณภาพสูง ปี พ.ศ. 2547 แฮบโบ้ขยายตัวไปทั่วโลก ใช้พนักงานกว่า 160 คน 276

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2548 แฮบโบ้มีรายได้ 30 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,050 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2549 สังคมออนไลน์แฮบโบ้ขยายตัวไป 31 ประเทศทั่วโลก และมีสมาชิกกว่า 117 ล้านคน 277

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2550 แฮบโบ้ในจีนปิดลงชั่วคราว แฮบโบ้มีรายได้ 50 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,750 ล้านบาทจากทั่วโลก 278

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2551 แฮบโบ้ที่รัสเซียประกาศปิดลง เพราะมีสมาชิกน้อย มิถุนายน 2551 สมาชิกแฮบโบ้ทั่วโลกมีมากกว่า 118 ล้านคน มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บ ประมาณ 8 ล้านคนต่อเดือน มีรายได้ 60 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 2,100 ล้านบาท 279

ประวัติวิวัฒนาการของแฮบโบ้ (ต่อ) มีนาคม 2552 จำนวนสมาชิกกว่า 129 ล้านคน เฉพาะผู้เข้าเยี่ยมชมประมาณ 11 ล้านคนต่อเดือน โดยเฉลี่ยผู้เยี่ยมชมแฮบโบ้ ใช้เวลา 43 นาทีต่อจำนวนครั้งที่เข้าเว็บ มีสมาชิกอายุ 13 - 19 ปี กว่าร้อยละ 90 280

5.2 บริการและการประยุกต์ใช้ แฮบโบ้เป็นเครือข่ายสังคม ที่สร้างโรงแรมเสมือนจริง ให้เป็นสถานที่พบปะ และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน 281

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) แฮบโบ้ให้สมาชิกสร้างร่างอวตารของตนขึ้นมา ซึ่งคล้ายกับในชีวิตที่สอง (SecondLife.com) เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ และติดต่อสื่อสารกัน ในแฮบโบ้ ตัวอวตารในแฮบโบ้ 282

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) สมาชิกเล่นแฮบโบ้ผ่านร่างอวตารที่จำลองขึ้น แล้วสร้างห้องแฮบโบ้ของตนเอง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยภายในสังคมแฮบโบ้ ความสนุกของแฮบโบ้ คือ สมาชิกสามารถเลือกซื้อสินค้าเสมือนจริงต่างๆ มาใช้ในการดำเนินชีวิตเสมือนจริงที่สร้างขึ้น 283

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) สินค้าเสมือนจริงในแฮบโบ้ อาทิ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งห้อง บัตรเล่นเกมส์ เป็นต้น 284

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) สินค้าเสมือนจริงแฮบโบ้แลกมาด้วยเงินตรา 2 แบบ เงินเสมือนจริงที่ซื้อทางบัตรเครดิตหรือโทรศัพท์ เงิน “พิกเซลส์ (Pixels)” มีจากกิจกรรม อาทิ - เพื่อนให้ - ชนะกีฬา เป็นต้น 285

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) บนหน้าจอแฮบโบ้ มี 2 ส่วนหลัก ส่วนที่ 1 คือ หน้าแรก หรือเรียกว่า “หน้าหลักแฮบโบ้ (Habbo Home)” ส่วนที่ 2 คือ ห้องสนทนา หรือเรียกว่า “โรงแรมแฮบโบ้ (Habbo Hotel)” 286

ส่วนที่ 1 หน้าหลักแฮบโบ้ ประกอบด้วย ด้านบนแสดงจำนวนสมาชิก ออนไลน์อยู่ขณะนั้น ด้านซ้ายมือ “สมัครเป็นสมาชิกฟรี (Join Now It’s Free)” ด้านขวามือ “ลงชื่อเข้าใช้ (Log In)” 287

ส่วนที่ 1 หน้าหลักแฮบโบ้ (ต่อ) 288

ส่วนที่ 1 หน้าหลักแฮบโบ้ (ต่อ) สมัครสมาชิกและออกแบบร่างแฮบโบ้ 289

ส่วนที่ 1 หน้าหลักแฮบโบ้ (ต่อ) เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วสามารถเชื่อมต่อ จากหน้าหลักไปยังหน้าอื่นๆ คือ (1) หน้าเกมส์ (Games) (2) หน้าชุมชน (Community) (3) หน้าเงินตรา (Coins) 290

(1) หน้าเกมส์ (Games) หน้าเกมส์มีทั้งเกมส์ที่ผู้เล่นสร้างขึ้นมาเอง และเกมส์ที่ทางเว็บสร้างไว้ให้ สมาชิกสามารถเล่นเกมส์เหล่านี้ ได้ผ่านทางโรงแรมแฮบโบ้ เกมส์ที่ทางเว็บมีบริการ อาทิ เกมส์สมรภูมิบอล เกมส์พายุหิมะ และเกมส์ดำน้ำ เป็นต้น 291

หน้าเกมส์ (ต่อ) 292

(2) หน้าชุมชน (Community) หน้าชุมชนจะเชื่อมไปยังห้องสนทนา ซึ่งเป็นแหล่งรวมสมาชิกที่มีความชอบ ในเรื่องเดียวกัน อาทิ เรื่องความรัก (Love) เรื่องสัตว์เลี้ยง (Pets) เรื่องอาหาร (Foods) เป็นต้น 293

หน้าชุมชน (ต่อ) 294

(3) หน้าเงินตรา (Coins) สมาชิกซื้อเงินแฮบโบ้ด้วยเงินจริงผ่านทาง อาทิ บัตรเครดิต โทรศัพท์ ธนาณัติ เป็นต้น 295

หน้าเงินตรา (ต่อ) 296

ส่วนที่ 2 ห้องสนทนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท (1) ห้องสนทนาทั่วไป (Public Room) (2) ห้องสนทนาส่วนตัว (Guest Room) 297

(1) ห้องสนทนาทั่วไป (Public Room) มีสถานการณ์จำลองสำหรับสมาชิกทุกคน อาทิ ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ เป็นต้น 298

(2) ห้องสนทนาส่วนตัว (Guest Room) เป็นห้องที่สมาชิกสร้างร่วมกัน สมาชิกอาจจะตั้งรหัสผ่านหรือไม่ก็ได้ การเข้าไปห้องสนทนาสมาชิกต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ “อะโดบีชอคเวฟ (Adobe Shockwave)” ไว้บนคอมพิวเตอร์ สมาชิกซื้อสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงมาเลี้ยงได้ ที่ห้องสนทนาส่วนตัว 299

ห้องสนทนาส่วนตัว (ต่อ) สัตว์เลี้ยงจะไม่มีวันตายแต่จะมีอาการ อาทิ โกรธและน้อยใจ เป็นต้น เมื่อเจ้าของไม่มาดูแล สมาชิกสามารถชวนสมาชิกคนอื่นๆ ผ่านทางห้องสนทนา แล้วพามาเยี่ยมชมห้องแฮบโบ้ที่ตนเองสร้างขึ้น 300

5.3 แฮบโบ้กับการดำเนินคดี จากรายงานของบีบีซีนิวส์เมื่อ พ.ศ. 2550 มีการดำเนินคดีกับเด็กหนุ่มชาวเนเธอร์แลนด์ วัย 17 ปี ในข้อหาขโมยสินค้าเสมือนจริง ที่อยู่บนเว็บแฮบโบ้ ซึ่งมีมูลค่า 4,000 ยูโรหรือประมาณ 164,000 บาท เด็กหนุ่มถูกดำเนินคดีเนื่องจากสินค้าเสมือนจริง ที่ขโมยบนเว็บแฮบโบ้นั้น สามารถนำไปแลกเป็นเงินจริงได้ 301

5.3 แฮบโบ้กับการดำเนินคดี วิธีการที่ขโมยใช้ล่อลวงเหยื่อ คือ สร้างเว็บแฮบโบ้ปลอมขึ้นมา แล้วรอให้เหยื่อที่เป็นสมาชิกเว็บแฮบโบ้ เข้ามาใช้บริการ เมื่อเหยื่อใส่รหัสผ่านแล้ว ทางเว็บปลอมจึงมีรหัสผ่านของเหยื่อด้วยเช่นกัน ด้วยวิธีการนี้จึงทำให้ขโมย ใช้รหัสของผู้ไปขโมยสินค้า 302

5.3 แฮบโบ้กับการดำเนินคดี อีกหนึ่งวิธีที่ขโมยใช้ล่อลวงนำรหัสผ่าน จากสมาชิกแฮบโบ้ คือ การส่งโปรแกรมโทรจัน เข้าไปในคอมพิวเตอร์ของสมาชิก 303

แฮบโบ้กับการดำเนินคดี (ต่อ) เมื่อโทรจันเข้าไปอยู่ในระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ส่งจึงสามารถควบคุม โปรแกรมต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์ได้ และมีรหัสผ่านของสมาชิกแฮบโบ้ เพื่อเข้าไปขโมยสินค้าเสมือนจริงในเว็บ 304

5.4 ข่าวที่น่าสนใจกับแฮบโบ้ 28 มีนาคม 2552 เว็บแฮบโบ้ได้เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์วัยรุ่นกว่า 1 ล้านคน ที่ใช้แฮบโบ้ทั่วโลกให้มีส่วนร่วมปิดไฟพร้อมกัน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในวัน “เอิร์ธเดย์ (Earth Day)” เพื่อรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน 305

ข่าวที่น่าสนใจกับแฮบโบ้ (ต่อ) มกราคม 2552 แฮบโบ้ร่วมกับ “เอ็นบีซี(nbc)” ซึ่งเป็นเว็บบันเทิงผ่านโทรทัศน์และมือถือ ได้เปิดตัว “ฮีโร่ส์ (hereos)” เกมส์รูปแบบใหม่ สำหรับวัยรุ่นที่รักความตื่นเต้นและผจญภัย ติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บ “เอ็นบีซีดอทคอม(www.nbc.com/Heroes/evolution.)” 306

6. เว็บเฟรนด์สเทอร์ (www.friendster.com) 307

เว็บเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) 6.1 ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ 6.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 6.3 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเฟรนด์สเทอร์ 308

6.1 ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ เฟรนด์สเทอร์เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน ชื่อ “โจนาธาน อะบรามส์ (Jonathan Abrams)” มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 309

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) เฟรนด์สเทอร์เป็นเว็บเครือข่ายสังคม ที่เน้นการรักษาสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนเก่า และการได้รู้จักเพื่อนใหม่และประสบการณ์ใหม่ๆ 310

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) มีรายงานจากเว็บ “เว็บอับพอน (www.webupon.com)” เมื่อ 1 เมษายน 2551 ว่า เฟรนด์สเทอร์มีสมาชิกกว่า 50 ล้านคน ถึงต้นปี พ.ศ. 2551 จากเว็บเฟรนด์สเทอร์ระบุว่า มีสมาชิกประมาณ 100 ล้านคน จะเห็นได้ว่าเพียงหนึ่งปี เฟรนด์สเทอร์มีสมาชิก เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 311

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) มีข้อมูลจาก “วิกิพีเดีย (en.wikipedia.org/wiki/Friendster.com)” เฟรนด์สเทอร์เป็นเว็บเครือข่ายสังคมเว็บแรก ที่มีบริการภาษาต่างประเทศ โดยเป็นภาษาในทวีปเอเชีย 312

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) มีนาคม 2546 เฟรนด์สเทอร์เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเพียง 2-3 เดือนแรกมีสมาชิก 3 ล้านคน ปี พ.ศ. 2546 กูเกิลเสนอขอซื้อกิจการ ของเฟรนด์สเทอร์ในราคา 30 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่เฟรนด์สเทอร์ปฏิเสธ 313

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2546 “ไคลเนอร์ เพอร์คินส์ คอฟิลด์ (Kleiner Perkins Caufield)” และบริษัทการลงทุน “ไบเยอร์ส และเบนช์มาร์ก (Byers and Benchmark Capital)” ลงทุนในเฟซบุค 53 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท 314

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2549 ได้จดสิทธิบัตรด้านวิธีคำนวณ และแสดงผลความสัมพันธ์ในเครือข่ายสังคม (Method of Calculating and Displaying Relationships in a Social Network) และได้รับการขนานนามว่าเป็นเว็บแห่งเพื่อน (Web of Friends) 315

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) สิงหาคม 2551 “ริชาร์ด คิมเบอร์ (Richard Kimber)” อดีตผู้จัดการสาขาเอเชียใต้ของกูเกิล รับตำแหน่งเป็นซีอีโอของเฟรนด์สเทอร์ ทำให้เฟรนด์สเทอร์เป็นที่รู้จักและขยายตัว อย่างรวดเร็วในเอเชีย 316

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) สมาชิกของเฟรนด์สเทอร์ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีเฟรนด์สเทอร์ฉบับภาษาต่างประเทศ 11 ภาษา - ภาษาอังกฤษ - ภาษาไทย - ภาษาตากาล็อก - ภาษาสเปน - ภาษาจีนโบราณ - ภาษาจีนสมัยใหม่ - ภาษาเกาหลี - ภาษามาเลย์ - ภาษาเวียตนาม - ภาษาญี่ปุ่น - ภาษาอินโดนีเซีย 317

ประวัติวัฒนาการของเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) สมาชิกสามารถใช้บริการเฟรนด์สเทอร์ ผ่านเว็บ “เฟรนด์สเทอร์(www.friendster.com)” หรือเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ จากเว็บ “เอ็มเฟรนด์สเทอร์(m.friendster.com)” 318

6.2 บริการและการประยุกต์ใช้ ในหน้าแรกมีหัวข้อต่างๆ มุมบนซ้ายมีหัวข้อ หน้าแรก (Home) โปรไฟล์ (Profile) การประยุกต์ใช้ (Apps) การติดต่อ (Connections) ค้นหาตามหัวข้อ (Explore) ค้นหาจากคำสำคัญ (Search) 319

หน้าแรกของเฟรนด์สเทอร์(ต่อ) มุมบนขวามีหัวข้อ เลือกภาษา (Select Language) ข้อความ (Message) การตั้งค่า (Settings) ข้อมูลช่วยเหลือหรือวิธีใช้ (Help) ลงชื่อเข้าใช้ (Log In) โดยอาจไปลงชื่อเข้าใช้ ที่ส่วนกลางของหน้าแรกก็ได้ โฆษณาย่อย (Classifieds) ค้นหาเพื่อน (Find Friends) 320

หน้าแรกของเฟรนด์สเทอร์(ต่อ) ส่วนกลางของหน้าเว็บมีหัวข้อ 1) ลงชื่อเข้าใช้ (Log In) ผู้ลงชื่อเข้าใช้ ต้องสมัครสมาชิกก่อนในหัวข้อ “สมัครสมาชิก (Join Friendster)” 2) “สมัครสมาชิก (Join Friendster)” 3) ค้นหาเพื่อนจากเฟรนด์สเทอร์ (Find Friends on Friendster) 321

ส่วนกลางของหน้าเว็บ (ต่อ) 2 1 3 322

เว็บเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) ก่อนเข้าไปใช้บริการทุกครั้ง อาทิ สร้างแฟ้มประวัติและหาเพื่อนใหม่ เป็นต้น จะต้องลงชื่อเข้าใช้ก่อนทุกครั้ง 323

เว็บเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) ส่วนล่างของหน้าแรกมีหัวข้อรายละเอียดต่างๆ ให้ผู้สนใจได้เข้าไปศึกษาก่อน 1) เกี่ยวกับเรา (About Us) 2) บล็อก (Blog) 3) ติดต่อเรา (Contact Us) 4) ผู้พัฒนาระบบ (Developers) 324

เว็บเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) 5) การแบ่งปันแฟ้มประวัติ (Share Your Profile) 6) วิธีใช้ (Help) 7) เงื่อนไขการให้บริการ (Terms of Service) 8) นโยบายการเก็บรักษาข้อมูล (Privacy Policy) 325

เว็บเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) หากต้องการหาเพื่อนใหม่ก็สามารถใส่คำค้นหา ในช่องว่างที่หัวข้อ “หาเพื่อนในเฟรนด์สเทอร์ (Find Friends on Friendster)” 326

เว็บเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) ตัวอย่างหากต้องการหาเพื่อนในกลุ่มมหาวิทยาลัย ก็ใส่คำสำคัญว่า “มหาวิทยาลัย (University)” จะปรากฏแฟ้มประวัติของสมาชิกเฟรนด์สเทอร์ ในกลุ่มมหาวิทยาลัยให้ได้ทำความรู้จักกัน 327

หาเพื่อนในกลุ่มมหาวิทยาลัย เมื่อใส่คำสำคัญว่า “มหาวิทยาลัย (University)” 328

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) การสร้างแฟ้มประวัติ เมื่อสมาชิกลงชื่อผู้เข้าใช้แล้วก็ไปที่ “แฟ้มข้อมูลของฉัน (My Profile)” แล้วเลือก “บล็อก (Blog)” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้างบล็อก (Create a Blog)” 329

ตัวอย่างแฟ้มประวัติในเฟรนด์สเทอร์ 330

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ปี พ.ศ. 2550 เปิดตัวบริการ “แฟนโปรไฟล์ (Fan Profiles)” และเปิดให้บริการเฟรนด์สเทอร์ ฉบับภาษาต่างๆ 9 ภาษา ปี พ.ศ. 2551 เพิ่มบริการเฟรนด์สเทอร์ ฉบับภาษาต่างๆ เป็น 11 ภาษา และเปิดตัว “เฟรนด์สเทอร์โมบาย (Friendster Mobile)” 331

บริการ “แฟนโปรไฟล์ (Fan Profiles)” 332

บริการแฟนโปรไฟล์ (ต่อ) แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้กว่า 40 กลุ่ม อาทิ กลุ่มศิลปิน (Artiist) กลุ่มไฮโซ (Celebrities) กลุ่มนักดนตรี (Musicians) กลุ่มหน่วยงาน (Organizations) เป็นต้น 333

บริการแฟนโปรไฟล์ (ต่อ) สมาชิกสามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์ตนเอง โดยสร้างบล็อกแฟนโปรไฟล์ขึ้นมา ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มอื่น ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเฟรนด์สเทอร์ได้ด้วย 334

บริการแฟนโปรไฟล์ (ต่อ) ตัวอย่างเช่น อยากเป็นนักร้อง สมาชิกก็สร้างบล็อกในแฟนโปรไฟล์ โดยอาจเขียนประวัติ และนำวิดีโอที่ตนแสดงคอนเสิร์ตสั้นๆ ให้สมาชิกเข้าไปชม ก็อาจจะได้สมาชิกที่ชื่นชอบตนจำนวนมาก 335

บริการแฟนโปรไฟล์ (ต่อ) มีตัวอย่างจากเว็บ “นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ (www.NewsOfTheWorld.com)” ว่ามีหญิงวัย 48 ปี ชื่อ “ซูซาน บอยล์ (Susan Boyle)” สมัครร้องเพลงแต่หน้าตาไม่ให้ จึงถูกประนามหยามเหยียดก่อนเริ่มร้องเพลง เมื่อเริ่มร้องเพลงปรากฏว่าเสียงดีมาก ทำให้คนดูชื่นชมเป็นการใหญ่ 336

ตัวอย่างจากเว็บ “นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ (ต่อ) หลังจากนั้นมีคลิปการร้องเพลงขึ้นเว็บเครือข่ายสังคม ทำให้มีคนชมเป็นร้อยล้านคนทำให้ดังไปทั่วโลก และมีแฟนคลับจำนวนมาก 337

เฟรนด์สเทอร์โมบาย (Friendster Mobile) เป็นบริการให้ใช้ฟรีผ่านโทรศัพท์มือถือผ่านเว็บ “เอ็มเฟรนด์สเทอร์ (mfriendster.com)” โดยจะมีบริการแจ้งการอัพเดตกิจกรรมต่างๆ ของเพื่อน ซึ่งจะส่งข้อความสั้นไปยังเจ้าของเครื่อง มีบริการ 11 ภาษา 338

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) มีรายงานข่าวจากเว็บ “นิวส์มันนีเซนทรัล(news.moneycentral.msn.com)” เมื่อเมษายน 2552 ว่าเฟรนด์สเทอร์เปิดตัวบริการ “เฟรนด์สเทอร์ลูป (Friendster Loop)” 339

เฟรนด์สเทอร์ลูป เป็นบริการบัตรโทรศัพท์แบบจ่ายล่วงหน้าราคาถูก (Pre-paid Calling Card) ครอบคลุมกว่า 220 ประเทศทั่วโลก ใครก็สามารถใช้บริการนี้ได้ ซึ่งไม่ได้จำกัดให้ได้เฉพาะสมาชิกเฟรนด์สเทอร์เท่านั้น สามารถเข้าไปชมรายละเอียดได้ที่เว็บ “เฟรนด์สเทอร์ลูป (www.friendsterloop.com)” 340

“เฟรนด์สเทอร์ลูป (www.friendsterloop.com)” 341

เฟรนด์สเทอร์ลูป (ต่อ) ถึงเดือนเมษายน 2552 มีรายงานว่า ร้อยละ 80 ของสมาชิกเฟรนด์สเทอร์ติดต่อกับเพื่อน และครอบครัวมากกว่าหนึ่งประเทศ กว่าร้อยละ 70 ของสมาชิกเฟรนด์สเทอร์ ใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ กว่าร้อยละ 45 ของสมาชิกเฟรนด์สเทอร์ ใช้บัตรโทรศัพท์ 342

เฟรนด์สเทอร์ลูป (ต่อ) จากการที่สมาชิกเฟรนด์สเทอร์กว่าร้อยละ 45 ใช้บัตรโทรศัพท์ทำให้เฟรนด์สเทอร์ เปิดตัวบริการเฟรนด์สเทอร์ลูปขึ้น คาดว่าในปี พ.ศ. 2553 จะมีรายได้ จากการให้บริการเฟรนด์สเทอร์ลูป มูลค่า 10,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 350,000 ล้านบาท 343

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว “บริการสนับสนุนสังคมเปิด (OpenSocial Support)”ภายใต้โครงการนักพัฒนาเฟรนด์สเทอร์ (Friendster Developer Program) 344

ตัวสนับสนุนสังคมเปิด (ต่อ) เป็นบริการประยุกต์ใช้เพื่อปรับแต่งแฟ้มประวัติ มีผู้ใช้บริการกว่า 10 ล้านคนติดตั้งการประยุกต์ใช้ ตัวสนับสนุนสังคมเปิดซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก มีการปรับแต่งแฟ้มประวัติโดยใช้บริการดังกล่าว ประมาณ 500,000 ครั้งต่อวัน มีนักพัฒนาระบบประมาณ 2,000 คนลงทะเบียน กับเฟรนด์สเทอร์เพื่อร่วมพัฒนาการประยุกต์ใช้ต่างๆ 345

6.3 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเฟรนด์สเทอร์ 6.3.1 ส่งเสริมให้นำตัวละครในภาพยนตร์ ไปใส่ในเฟรนด์สเทอร์ 6.3.2 เฟรนด์สเทอร์ร่วมมือกับเซเวนโหลด 346

6.3.1 ส่งเสริมให้นำตัวละครในภาพยนตร์ ไปใส่ในเฟรนด์สเทอร์ ข่าวจาก “ไวร์ดดอตคอม (www.wired.com)” เมื่อกรกฎาคม 2547 ตั้งแต่เปิดบริการมาถึง พ.ศ. 2552 เฟรนด์สเทอร์ได้ประกาศคัดค้าน การที่สมาชิกสร้างแฟ้มประวัติปลอมขึ้นมา ไม่ว่าจะใช้การ์ตูน หรือภาพนักการเมือง หรือภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือภาพบุคคลที่ไม่มีตัวตน 347

ส่งเสริมให้นำตัวละครไปใส่ในเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) แต่ถึงปี พ.ศ. 2547 เฟรนด์สเทอร์ สนับสนุนให้ใช้ตัวละครจากภาพยนตร์ เรื่อง “แองเคอร์แมน (Anchorman)” 348

ส่งเสริมให้นำตัวละครไปใส่ในเฟรนด์สเทอร์ (ต่อ) จากนั้นเฟรนด์สเทอร์ก็ร่วมมือกับ ผู้ผลิตภาพยนตร์รายอื่น เพื่อขอนำตัวละครไปให้สมาชิกเฟรนด์สเทอร์ ใช้ในแฟ้มประวัติของตนได้ เพราะมีหลายคนเห็นเป็นเรื่องสนุกสนาน ที่สามารถนำตัวละครในภาพยนตร์ต่างๆ ไปใช้ในแฟ้มประวัติของตน 349

6.3.2 เฟรนด์สเทอร์ร่วมมือกับเซเวนโหลด ข่าวจาก “ดีไซน์แท็กซี่ (DesignTaxi.com)” เมื่อเมษายน 2552 ว่า “เซเวนโหลด (www.sevenload.com)” ซึ่งเป็นเว็บเครือข่ายสังคม ในเอเชียได้ลงนามร่วมมือกับเฟรนด์สเทอร์ ทำตลาดในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป 350

เฟรนด์สเทอร์ร่วมมือกับเซเวนโหลด (ต่อ) เซเวนโหลดจะส่งเสริมให้ลูกค้าของตน ใช้เฟรนด์สเทอร์ เฟรนด์สเทอร์จะนำเทคโนโลยีวิดีโอของเซเวนโหลด ไปใช้เพื่อ นำวิดีโอขึ้นเว็บ แบ่งปันวิดีโอกัน วิพากษ์วิจารณ์วิดีโอ 351

เฟรนด์สเทอร์ร่วมมือกับเซเวนโหลด (ต่อ) การร่วมมือกันนี้จะทำให้สมาชิกเฟรนด์สเทอร์ และสมาชิกเซเวนโหลดได้รับประโยชน์ สมาชิกเฟรนด์สเทอร์ประมาณ 100 ล้านคน สมาชิกเซเวนโหลดประมาณ 50 ล้านคนเป็น - นักดนตรี (Musicians) - ศิลปิน (Artists) - ไฮโซ (Celebrities) 352

7. เว็บไฮไฟว์ (www.hi5.com) 353

เว็บไฮไฟว์ (ต่อ) 7.1 ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ 7.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 7.3 ไฮไฟว์กับการดำเนินคดี 7.4 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับไฮไฟว์ 354

7.1 ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ คำขวัญของไฮไฟว์ คือ “เพื่อนของคุณ โลกของคุณ (Your Friends Your World)” 355

ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ (ต่อ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2546 โดย “รามู ยาละมันชัย (Ramu Yalamanchi)” และเพื่อนที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์บานาแชมเปญจน์ (UIUC = University of Illinois at Urbana-Champaign) 356

รามู ยาละมันชัย 357

ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ (ต่อ) พ.ศ. 2547 ก่อตั้ง “สปอนเซอร์เน็ตนิวมีเดีย (SponsorNet New Media)” ธุรกิจตัวแทนโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ยาละมันชัย เห็นว่าระบบโฆษณาผ่านแบนเนอร์แบบเดิมอาจจะไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย 358

ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ (ต่อ) ยาละมันชัยคิดไฮไฟว์ขึ้นมา เพื่อให้สามารถสร้างเครือข่าย ระหว่างผู้คนในการติดต่อสื่อสาร สร้างกลุ่ม แลกเปลี่ยนข้อมูล รูปภาพ และแสดงความคิดเห็นต่างๆ ผ่านช่องทางเว็บ 359

ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ (ต่อ) ผู้บริหารปัจจุบัน คือ บิล กอสแมน (ซีอีโอ) เจ้าของ คือ โซนาเน็ตเวิร์ค (Sona Network) สำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา 360

ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ (ต่อ) มีรายงานจาก “คอมสกอร์ (comScore)” เมื่อเดือนเมษายน 2551 ว่าจากข้อมูลประวัติ ของผู้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกไฮไฟว์ เมื่อจำแนกตามเพศปรากฎว่า สมาชิกที่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53 สมาชิกที่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 47 361

ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ (ต่อ) เมื่อจำแนกตามอายุปรากฏว่า สมาชิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ร้อยละ 43 สมาชิกที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี ร้อยละ 22 สมาชิกที่มีอายุระหว่าง 35-44 ปี ร้อยละ 16 สมาชิกที่มีอายุระหว่าง 45-54 ปี ร้อยละ 12 สมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ร้อยละ 6 362

ประวัติวิวัฒนาการของไฮไฟว์ (ต่อ) ไฮไฟว์ติดอันดับ 1 ใน 20 เว็บยอดนิยมทั่วโลก มีเครือข่ายสมาชิกกว่า 30 ประเทศ ทั้งลาตินอเมริกา ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ให้บริการกว่า 37 ภาษา มีผู้จำนวนสมาชิกทั่วโลก ลงทะเบียนใช้งานกว่า 80 ล้านคน 363

7.2 บริการและการประยุกต์ใช้ ขั้นตอนและวิธีการสมัครใช้บริการไฮไฟว์ ผู้สมัครต้องเข้าเว็บไฮไฟว์แล้วสมัครที่ “ลงทะเบียน (Register)” 364

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ทั้งหมด 3 ส่วน - ส่วนที่หนึ่ง คือ ชื่อ นามสกุล อีเมล์ ตั้งรหัสผ่าน ระบุเพศ และวันเกิด 365

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) - ส่วนที่สอง คือ กรอกข้อมูลส่วนตัว อาทิ ภาษาที่ใช้ เมือง และ ประเทศที่อยู่ เป็นต้น - ส่วนที่สาม คือ เลือกรูปแทนตัวผู้ใช้ 366

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) หลังจากสมัครสมาชิกแล้ว ผู้ใช้ก็สามารถเข้าระบบใช้งานไฮไฟว์ได้ทันที 367

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) รูปแบบของการให้บริการ ประกอบด้วย อาทิ หน้าแรก (Home) โปรไฟล์ของฉัน (My Profile) เพื่อน (Friends) รูปภาพ (Photos) 368

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ข้อความ (Message) เกมส์ (Games) กลุ่ม (Groups) แอปพลิเคชั่นต่างๆ (Applications) เป็นต้น 369

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ตัวอย่าง ลักษณะของ “หน้าแรก” 370

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ในส่วนของ “หน้าแรก” จะเป็นเหมือน หน้าสารบัญหลักที่บอกรายละเอียดคร่าวๆ ให้ผู้ใช้ทราบข้อมูลต่างๆ อาทิ “คำขอ (Request)” - มีเพื่อนในระบบแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผู้ใช้กี่ข้อความ (Comments) - มีผู้ขอเป็นเพื่อนใหม่เท่าใด (Friends request) - รายการแจ้งเตือน (Notifications) 371

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ผู้เยี่ยมชมโปรไฟล์ (Profile Visitors) - แจ้งสถิติจำนวนผู้ที่เข้ามาชมทั้งหมด - ผู้เยี่ยมชมล่าสุด (View Recent Visitors) แจ้งสถานะของผู้ใช้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ (What are you doing now?) อัพเดทข้อมูลเพื่อนในเครือข่าย (Friend Update) 372

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) แนะนำเกมส์ใหม่ล่าสุด (Recommended) แนะนำเพื่อน (Friends Suggest) - ผู้ใช้สามารถเลือกยอมรับและปฎิเสธ ที่จะเป็นเพื่อนได้ 373

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ตัวอย่างรูป ลักษณะการใช้งานของ “หน้าแรก” 374

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ในส่วนของหน้า “โปร์ไฟล์ของฉัน” จะเป็นหน้าหลักที่ผู้ใช้ให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะในหน้านี้มีลูกเล่นต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถทำได้หลากหลาย 375

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ส่วนบนของหน้า “โปร์ไฟล์ของฉัน” ประกอบด้วย โปรไฟล์ (Profile) เพื่อน (Friends) รูปภาพ (Photo) สมุดฝากข้อความ (Scrapbook) 376

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) สมุดบันทึก (Journal) กลุ่ม (Groups) รายการโปรด (Favorites) แอปพลิเคชั่นต่างๆ (Applications) 377

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ส่วนล่างของหน้า “โปร์ไฟล์ของฉัน” ประกอบด้วย เกี่ยวกับฉัน (About Me) ความสนใจเฉพาะ (Interest) อาทิ เพลงโปรด หนังสือเล่มโปรด และคำคมที่ชื่นชอบ เป็นต้น ข้อความแสดงความคิดเห็น (Comments) 378

ตัวอย่างหน้า “โปร์ไฟล์ของฉัน” 379

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) การตกแต่งหน้าเว็บให้สวยงาม โดยสามารถเปลี่ยนพื้นของหน้าเว็บ หรือที่เรียกว่า “สกิน (Skin)” ทั้งนี้ ภายในเว็บก็มีให้เปลี่ยนสกินแบบสำเร็จรูป ให้ผู้ใช้ได้เลือกมากมาย 380

ตัวอย่าง “สกิน” 381

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ในส่วนของ “รูปภาพ” ผู้ใช้สามารถสร้างอัลบั้มรูปภาพเองได้ แบ่งปันรูปภาพให้กับเพื่อนได้ เพื่อนๆ สามารถแสดงข้อคิดเห็นใต้รูปภาพได้ 382

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) นอกจากจะเก็บรูปไว้ในอัลบั้มแล้ว ยังสามารถนำรูปไปตกแต่งทำเป็นสไลด์ หรือจะตกแต่งเฉพาะรูปก็ได้ โดยมีเว็บที่ให้บริการฟรีแต่ต้องสมัครเป็นสมาชิก 383

ตัวอย่าง การใช้งานของส่วน “รูปภาพ” 384

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ตัวอย่าง เว็บ “สไลด์ดอตคอม (Slide.com)” ให้บริการฉายสไลด์จากอัลบั้มรูปภาพ 385

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ฟังก์ชันเสริมอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ เพื่อใช้ในการตกแต่งหน้าข้อมูลของตัวเอง ให้สวยงามและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อาทิ การฝังวิดีโอคลิป ฝังจอเล่นเพลง และ “ใส่ประกาย” หรือ “กลิตเตอร์ (Glitter)” เป็นต้น 386

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ตัวอย่าง “กลิตเตอร์” จากเว็บ “กระปุก (kapook.com)” การ์ตูนขยับหรือภาพเคลื่อนไหว ที่ผู้ใช้สามารถคัดลอกโค้ดไปแปะในหน้าของตัวเองและส่งให้เพื่อนๆ อย่างแพร่หลาย 387

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ส่วนอื่นๆ ที่สำคัญด้านมุมบนขวามือ อาทิ บัญชี (Account) ความเป็นส่วนตัว (Privacy) วิธีใช้ (Help) เป็นต้น ผู้ใช้สามารถศึกษารายละเอียด ตั้งค่าการใช้ วิธีใช้ และเปลี่ยนภาษาได้ในส่วนนี้ 388

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ตัวอย่างการตั้งค่าการใช้งานต่างๆ 389

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ไฮไฟว์มีภาษาให้ผู้ใช้เลือกมากมาย ทำให้การใช้งานง่ายขึ้น โดยคลิกที่รูปโลก 390

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) การค้นหาเพื่อน ค้นหาเพื่อนจากไฮไฟว์ ค้นหาเพื่อนสมัยเรียน ค้นหาเพื่อนจากอีเมล์ ค้นหาเพื่อนจากชื่อ 391

ตัวอย่าง ค้นหาเพื่อน 392

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ค้นหาเพื่อนที่ช่องค้นหาด้านบนสุดของไฮไฟว์ โดยสามารถใส่ “คำสำคัญ (keyword)” เพื่อค้นหา อาทิ ใส่ชื่อเพื่อน เป็นต้น 393

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ค้นหาเพื่อนแบบละเอียด โดยคลิกทีคำว่า “ขั้นสูง (Advanced)” ซึ่งระบบจะกำหนดรายละเอียดให้กรอกและเลือก 394

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ไฮไฟว์ได้รับความนิยมจากผู้มีชื่อเสียง นักการเมืองและดารา อาทิ พระราชินีจอร์แดน ประธานาธิบดีโอบามา นายกอภิสิทธิ์ เป็นต้น เพื่อให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงผู้คนได้ง่าย 395

ตัวอย่าง ไฮไฟว์ ท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 396

บริการและการประยุกต์ใช้ (ต่อ) ไฮไฟว์ท่านนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีสมาชิกที่เป็นเพื่อนทั้งหมด 139,250 คน โดยบรรดาสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ทั้งหญิงและชายที่ให้ความสนใจ ได้เข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นมากมาย ผ่านทางเว็บ 397

7.3 ไฮไฟว์กับการดำเนินคดี 7.3.1 ปัญหาการใช้งานไฮไฟว์ 7.3.2 การใช้ไฮไฟว์ในทางที่ผิด 7.3.3 นักศึกษาขายบริการทางเว็บไฮไฟว์ 398

7.3.1 ปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานไฮไฟว์ ปัญหาที่พบบ่อยของการใช้งานไฮไฟว์ อาทิ การสร้างไฮไฟว์โดยแอบอ้างชื่อบุคคลอื่น แอบอ้างตัวตนผู้อื่นแล้วนำไปโพสต์ ข้อความหมิ่นประมาทให้เกิดความเสียหาย หรือสร้างขึ้นเพื่อโจมตีผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ การขโมยไฮไฟว์ของคนอื่นมาเป็นของตน เป็นต้น 399

7.3.2 การใช้ไฮไฟว์ในทางที่ผิด เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 มีรายงานข่าวจาก “มติชน (www.matichon.co.th)” ว่า การโพสต์ข้อความรูปภาพ โดยแอบอ้างว่าเป็นบุคคลอื่น เท่ากับเป็นการนำข้อมูลที่เป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และทำให้ผู้อื่นเสียหาย 400

การใช้ไฮไฟว์ในทางที่ผิด (ต่อ) มีความผิดตามมาตรา 14 วรรค 1 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 401

การใช้ไฮไฟว์ในทางที่ผิด (ต่อ) มีความผิดตามมาตรา 264 ประมวลกฎหมายอาญา ฐานปลอมเอกสาร มาตรา 18 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึง พ.ร.บ. ชื่อ-สกุล จากการแอบอ้างใช้ชื่อผู้อื่น และหากนำผลงานของผู้อื่นไปใช้ ก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์อีกด้วย 402

การใช้ไฮไฟว์ในทางที่ผิด (ต่อ) ในกรณีที่ถูกขโมยตัวตนผ่านไฮไฟว์หรือบล็อก ให้แจ้งไปยังเจ้าของเว็บไซต์นั้นให้ระงับการใช้งาน แต่ถ้าเจ้าของเว็บเพิกเฉย ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินการจับกุมได้ เพราะถือว่าเจ้าของเว็บรู้เห็น กับการกระทำความผิดดังกล่าว มีความผิดตามมาตรา 15 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ต้องรับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำผิด 403

การใช้ไฮไฟว์ในทางที่ผิด (ต่อ) การบังคับใช้กฎหมายก็ยังมีปัญหาในการตีความ ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดปัญหา ในการบังคับใช้กฎหมายสำหรับประชาชน อาทิเช่น กรณีของการที่มีผู้แอบอ้างตัวตน โดยลงทะเบียนโพสต์รูปและข้อความ ในชื่อของบุคคลอื่น 404

การใช้ไฮไฟว์ในทางที่ผิด (ต่อ) ตาม พ.ร.บ.ความผิดคอมพิวเตอร์ฯ เท่ากับเป็นการนำข้อมูลที่เป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และทำให้ผู้อื่นเสียหาย ตามมาตรา 14 (1) แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ ของกระทรวงไอซีทีตีความว่ายังไม่มีความผิด เพราะไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย    405

7.3.3 นักศึกษาขายบริการทางเว็บไฮไฟว์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552 มีรายงานข่าวจาก เว็บ “หนังสือพิมพ์แนวหน้า (www.naewna.com)” ว่า ศูนย์สวัสดิภาพเด็กสตรีและเยาวชน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศดส.บช.น.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ปลอมตัวไปซื้อบริการ นักศึกษาขายตัวจากทางเว็บไฮไฟว์ โดยได้จับกุมนักศึกษาที่มาตามนัดทั้ง 3 คน 406

นักศึกษาขายบริการทางเว็บไฮไฟว์ (ต่อ) นักศึกษา 3 คนรับสารภาพว่า ได้เข้าไปสมัคร หารายได้พิเศษจากข้อมูลโฆษณาในไฮไฟว์ ของผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่อว่า “นก” ซึ่งตนก็ไม่เคยเห็นหน้ารู้จักแค่ผ่านทางเว็บเท่านั้น โดยนกได้ประกาศไว้ในไฮไฟว์ ว่ารับสมัครหญิงพริตตี้ให้รายได้ดี ตนสนใจจึงไปสมัครเพราะอยากได้เงิน 407

นักศึกษาขายบริการทางเว็บไฮไฟว์ (ต่อ) หลังเสร็จสิ้นการสอบปากคำ เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม ได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 คน มาเปรียบเทียบปรับ ไม่เกิน 1 พันบาท ก่อนปล่อยตัวไป จากนั้นได้เร่งสืบสวนขยายผล ติดตามจับกุมนางนก เอเย่นต์จัดส่งเด็กรายนี้ มาดำเนินคดี 408

7.4 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับไฮไฟว์ 7.4.1 ปี พ.ศ. 2552 คาดว่าไฮไฟว์ จะมีผลกำไร 800 ล้านบาท 7.4.2 ไฮไฟว์มุ่งสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือในลาตินอเมริกา 409

7.4.1 ปี พ.ศ. 2552 คาดว่าไฮไฟว์ จะมีผลกำไร 800 ล้านบาท 7.4.1 ปี พ.ศ. 2552 คาดว่าไฮไฟว์ จะมีผลกำไร 800 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 มีรายงานจาก เว็บ “บิสเจอร์นัล (www.bizjournals.com)” ว่าเว็บเครือข่ายสังคม “ไฮไฟฟ์ (Hi5)” กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในต่างประเทศอย่างรวดเร็ว 410

คาดว่าไฮไฟว์จะกำไร 800 ล้านบาท (ต่อ) เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2551 การบริการเครือข่ายของไฮไฟฟ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 87 โดยแต่ละเดือนมีผู้เข้าใช้บริการถึง 58 ล้านคน 411

คาดว่าไฮไฟว์จะกำไร 800 ล้านบาท (ต่อ) มกราคม 2552 คาดว่าจะมีผู้เข้าใช้บริการถึง 60 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 4 ล้านคน นอกนั้นเป็นผู้ใช้จากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่ใช้ภาษาสเปน 412

คาดว่าไฮไฟว์จะกำไร 800 ล้านบาท (ต่อ) ในปี พ.ศ. 2552 ไฮไฟว์ตั้งเป้าที่จะทำผลกำไรให้ได้ 25 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 800 ล้านบาท 413

7.4.2 ไฮไฟว์ มุ่งสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือในลาตินอเมริกา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2551 มีรายงานข่าว จากเว็บ “ซีเน็ท (www.News.cnet.com)” ว่าขณะนี้เว็บ “ไฮไฟว์ (Hi5)” ได้เริ่มเปิดให้บริการ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือขึ้นอย่างเป็นทางการ ไฮไฟว์จะเน้นในตลาดใหญ่อย่างละตินอเมริกา ซึ่งมีผู้คนนิยมเล่นไฮไฟว์ผ่านโทรศัพท์มือถือกันมาก 414

ไฮไฟว์มุ่งตลาดมือถือในลาตินอเมริกา (ต่อ) เว็บไฮไฟว์ได้ให้บริการผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ใน 26 ภาษา และยังสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ ไอไฟน แบล็คเบอรี่ และโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ อาทิ โนเกียและซัมซุง เป็นต้น 415

ไฮไฟว์มุ่งตลาดมือถือในลาตินอเมริกา (ต่อ) มีสถิติจากบริษัทวิจัย “คอมสกอร์” ระบุว่า เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีผู้เข้าใช้บริการเว็บไฮไฟว์ เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากปีก่อน และไฮไฟว์กำลังเป็นที่นิยม ในหมู่ชาวลาตินอเมริกาอย่างแพร่หลาย พบว่า ผู้คนในลาตินอเมริกา นิยมเล่นไฮไฟว์ผ่านทางโทรศัพท์ มือถือมากกว่าชาวอเมริกัน 416

8. เว็บทวิตเทอร์ (Twitter.com) 417

เว็บทวิตเทอร์ (ต่อ) 8.1 ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ 8.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 8.3 ทวิตเทอร์กับการดำเนินคดี 8.4 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับทวิตเทอร์ 418

8.1 ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ ทวิตเทอร์ (Twitter) เป็นเว็บที่ให้บริการ เขียนบล็อกให้สมาชิกเขียน บอกว่า “ตอนนี้ทำอะไรอยู่” 419

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) บล็อกของทวิตเทอร์ใส่ข้อความได้ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร สามารถที่จะส่งข้อความสั้นไปยังโทรศัพท์มือถือได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดอินเทอร์เน็ต 420

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) ข้อความสั้นที่ใช้ส่งกันในทวิตเทอร์ เรียกว่า “ทวิตส์ (Tweets)” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า “ทวิต (Tweet)” ที่แปลว่า เสียงนกร้อง 421

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) เริ่มแรกทวิตเทอร์เป็นส่วนหนึ่งของเว็บบลอกเกอร์ (Blogger.com) ภายใต้การดูแล ของบริษัท “ไพรา แลปส์ (Pyra Labs)” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2545 กูเกิลได้ขอซื้อกิจการ เพื่อเติมเต็มบริการและขยายกลุ่มผู้ใช้ ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น 422

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) “อีวาน วิลเลี่ยมส์ (Evan Williams)” เป็นผู้สร้างบล็อก หรือ “บล็อกเกอร์” ได้ถอนตัวออกจากกูเกิลออกมาเปิดเว็บล็อกเอง ในปี พ.ศ. 2547 423

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) มีนาคม 2549 อีวานได้ร่วมกับ “เม็ก ฮูริอัน (Meg Hourihan)” พัฒนาทวิตเทอร์ขึ้น ภายใต้การดูแลของบริษัทออบเวียสคอร์ป (Obvious Corp) เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา 424

อีวาน วิลเลี่ยมส์ (ซ้าย) และเม็ก ฮูริอัน (ขวา) 425

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) ทวิตเทอร์ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ในชื่อของ “เอสเอ็มเอสของโลกอินเทอร์เน็ต (SMS of Internet)” เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 มีรายงานจากสำนักวิจัยฟอร์เรสเตอร์ (Forrester Research) เว็บทวิตเทอร์มีจำนวนผู้ใช้ประมาณ 4 - 5 ล้านคน 426

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) กุมภาพันธ์ 2552 มีรายงานจาก “คอมพลีต (Compete.com)” จัดอันดับให้เว็บทวิตเทอร์ เป็นเว็บเครือข่ายสังคมอันดับที่สาม ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด (อันดับหนึ่งคือ เฟซบุค และอันดับที่สองคือ มายสเปซ) โดยการเข้าชมต่อเดือนประมาณ 55 ล้านครั้ง จากผู้เข้าชม 6 ล้านคน 427

ประวัติวิวัฒนาการของทวิตเทอร์ (ต่อ) มีนาคม 2552 มีรายงานจาก “นีลเซ่น (Nielsen.com)” จัดอันดับให้เว็บทวิตเทอร์เป็นเว็บเครือข่ายสังคม ที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด โดยที่เว็บทวิตเทอร์มีอัตราการเจริญเติบโต ประมาณ 14 เท่าต่อปี เทียบกับเฟซบุคที่มีอัตราการเจริญเติบโต 2.28 เท่า 428

8.2 บริการและการประยุกต์ใช้ 8.2.1 รูปแบบการทำงานของทวิตเทอร์ 8.2.2 เว็บเครื่องมือเกี่ยวกับทวิตเทอร์ 429

8.2.1 รูปแบบการทำงานของทวิตเทอร์ 1) วิธีการสมัครทวิตเทอร์ 2) วิธีการชวนเพื่อนคนอื่นมาเล่นทวิตเทอร์ 3) วิธีการเล่นทวิตเทอร์ 4) วิธีการติดตามอ่านทวิตเทอร์ของเพื่อน 430

1) วิธีการสมัครทวิตเทอร์ เข้าไปที่เว็บ “ทวิตเทอร์ (Twitter.com)” กดเลือกที่ “เริ่ม (Get Started-Join)” 431

วิธีการสมัครทวิตเทอร์ (ต่อ) กรอกรายละเอียดให้ครบ อาทิ ชื่อผู้ใช้ (Username) รหัสผ่าน (Password) อีเมล์ (Email Address) เป็นต้น 432

วิธีการสมัครทวิตเทอร์ (ต่อ) เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม “ยอมรับ (I accept Create my account)” 433

วิธีการสมัครทวิตเทอร์ (ต่อ) ในช่อง “ทำอะไรอยู่ (What are you doing?)” ให้พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 140 ตัวอักษร เพื่อบอกกับบริการของทวิตเทอร์ ว่าเข้ามาใช้บริการแล้ว เมื่อเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม “อัพเดต (Update)” 434

หน้า “ทำอะไรอยู่ (What are you doing)” 435

วิธีการสมัครทวิตเทอร์ (ต่อ) หากต้องการออกจากทวิตเทอร์ ให้กดปุ่ม “ลงชื่อออก (Sign Out)” 436

วิธีการสมัครทวิตเทอร์ (ต่อ) หากต้องการเข้าไปอ่านบล็อกทวิตเทอร์ของตนเอง หรือของเพื่อน ให้พิมพ์ “ทวิตเทอร์ดอตคอม แล้วตามด้วยชื่อทวิตเทอร์ (http://twitter.com/ชื่อ twitter)” 437

2) วิธีการชวนเพื่อนคนอื่นมาเล่นทวิตเทอร์ หลังจาก “ลงชื่อเข้าใช้ (Sign In)” ให้คลิกที่ “หาเพื่อน (Find Some Friends)” หรือจะกดเลือกที่เมนู “ค้นหาและติดตาม (Find & Follow)” 438

วิธีการชวนเพื่อนคนอื่นมาเล่นทวิตเทอร์ 439

วิธีการชวนเพื่อนคนอื่นมาเล่นทวิตเทอร์ (ต่อ) เข้าสู่หน้าต่าง “เพื่อนของท่านอยู่ในทวิตเทอร์หรือไม่ (Are your friends on Twitter?)” เพื่อเชิญเพื่อนๆ ได้ 2 วิธี คือ (1) เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย (Invite from Other Networks) (2) ส่งข้อความเชิญไปยังอีเมล์โดยตรง (Invite by eMail) 440

(1) เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย มีขั้นตอน ดังนี้ คลิกที่ “เชิญจากเครือข่ายอื่น (Invite from Other Networks)” 441

เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย (ต่อ) ในช่อง “อีเมล์ของคุณ (Your eMail)” ให้ใส่อีเมล์ ของตนเอง และเลือกบริการอีเมล์ที่ใช้ อาทิ - ฮอตเมล์ (Hotmail) - ยะฮู (Yahoo) - เอ็มเอสเอ็น (MSN) เป็นต้น คลิก “ต่อ (Continue)” 442

เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย 443

เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย (ต่อ) จากนั้นให้รอสักครู่ ระบบทวิตเทอร์กำลังค้นหารายชื่ออีเมล์ของเพื่อน ในรายชื่อผู้ติดต่อ 444

เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย (ต่อ) หากเพื่อนคนใดมีบล็อกทวิตเทอร์อยู่ก่อนแล้ว ก็สามารถคลิกเครื่องหมายถูกหน้าชื่อของเพื่อน เพื่อเชิญให้มาอ่านบล็อกทวิตเทอร์ของตนได้  เมื่อเลือกเสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม “ต่อ (Continue)” 445

เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย 446

เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย (ต่อ) ขั้นตอนต่อมาเป็นการเลือกชื่อเพื่อนคนอื่นๆ ที่ยังไม่มีบล็อกทวิตเทอร์ โดยคลิกปุ่ม “เชิญ (Invite)” ให้มาสมัครเป็นสมาชิก 447

เชิญเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย (ต่อ) ในกรณีที่ไม่มีอีเมล์ของเพื่อนในรายชื่อผู้ติดต่อ ระบบของทวิตเทอร์ก็จะแสดงข้อความแจ้งให้ทราบ 448

(2) ส่งข้อความเชิญไปยังอีเมล์โดยตรง มีขั้นตอน ดังนี้ คลิกที่ “เชิญโดยอีเมล์ (Invite by eMail)” จากนั้นให้ใส่อีเมล์ของเพื่อนที่ต้องการเชิญ แล้วคลิกปุ่ม “ส่ง (Send)” 449

ส่งข้อความเชิญไปยังอีเมล์โดยตรง 450

ส่งข้อความเชิญไปยังอีเมล์โดยตรง (ต่อ) เมื่อส่งข้อความเชิญไปยังปลายทางแล้ว จะแสดงข้อความแจ้งให้ทราบ 451

ส่งข้อความเชิญไปยังอีเมล์โดยตรง (ต่อ) เมื่อผู้รับปลายทางเปิดอีเมล์ก็จะมีลิงค์ให้คลิก เพื่อเข้ามาติดตามอ่านข้อความที่ลงไว้ในทวิตเทอร์ หากผู้รับปลายทางไม่ได้เป็นสมาชิกทวิตเทอร์ ก็จะปรากฏข้อความเชิญให้สมัครสมาชิก 452

ส่งข้อความเชิญไปยังอีเมล์โดยตรง 453

3) วิธีการเล่นทวิตเทอร์ คำที่ใช้ในการเล่นทวิตเทอร์ที่ควรทราบ “ฟอลโลว์อิงส์ (Followings)” หมายถึง จำนวนผู้ที่เจ้าของบล็อก เข้าไปขอติดตามอ่านทวิตเทอร์ “ฟอลโลว์เออส์ (Followers)” หมายถึง จำนวนผู้ที่มาติดตามอ่านการอัพเดต ทวิตเทอร์ของเจ้าของบล็อก 454

วิธีการเล่นทวิตเทอร์ (ต่อ) ผู้เล่นทวิตเทอร์ มี 3 ประเภท ได้แก่ (1) “ผู้พูด (Talker)” คือ ผู้เล่นทวิตเทอร์ ที่มีผู้ติดตามบล็อกของตนแต่เจ้าของบล็อกเอง ไม่ติดตามคนกลุ่มนั้น (2) “ผู้ฟัง (Listener)” คือ ผู้เล่นทวิตเทอร์ ที่ไม่มีผู้ติดตามบล็อกของตน แต่ผู้เล่นทวิตเทอร์เองติดตามคนอื่นๆ 455

ผู้เล่นทวิตเทอร์ (ต่อ) (3) “ฮับ (Hub)” คือ ผู้เล่นทวิตเทอร์ ที่เป็นทั้งผู้ติดตามผู้อื่น (Followers) และผู้ที่ถูกผู้อื่นติดตาม (Follow) 456

ผู้เล่นทวิตเทอร์ 457

วิธีการเล่นทวิตเทอร์ (ต่อ) ช่องทางการแจ้งว่าทำอะไรอยู่ มี 4 ช่องทาง คือ (1) ส่งข้อความสั้น (SMS) (2) ส่งข้อความแบบทันที (IM : Instant Messaging) โดยใช้โปรแกรม กูเกิลทอล์ก (Google Talk) หรือ “จีทอล์ก (GTalk)” ไลฟ์เจอร์นัล (Livejournal) แจบเบอร์ (Jabber)   458

วิธีการเล่นทวิตเทอร์ (ต่อ) (3) ส่งข้อความผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือ โดยผ่านทางระบบจีพีอาร์เอส (GPRS) (4) ส่งข้อความด้วยการเข้าไปเขียนข้อความ ในทวิตเทอร์ของสมาชิกเองในเว็บไซต์ 459

4) วิธีการติดตามอ่านทวิตเทอร์ของเพื่อน (1) ติดตามเพื่อนด้วยการ “ค้นหา (Search)” (2) ติดตามเพื่อนจาก “ที่อยู่เว็บ (URL)” ที่เพื่อนส่งมาให้ 460

(1) ติดตามเพื่อนด้วยการ “ค้นหา (Search)” ลงชื่อเข้าใช้ (Sign In) ที่ช่อง “ค้นหา (Search)” ด้านบน พิมพ์คำสำคัญ ที่ต้องการค้นหา ซึ่งปกติจะเป็นชื่อทวิตเทอร์ของเพื่อนหรือชื่อสถานที่ที่เพื่อนอยู่ แล้วคลิกปุ่ม “ค้นหา (Search)” 461

ติดตามเพื่อนด้วยการ “(ค้นหา Search)” (ต่อ) รายชื่อบล็อกทวิตเทอร์ของเพื่อนก็จะปรากฏ เป็นรายการ ซึ่งก็จะรวมทั้งรายชื่อทวิตเทอร์ของคนอื่น ที่มีชื่อใกล้เคียงกันด้วย ถ้าหาพบแล้วก็ให้คลิก “ติดตาม (Follow)” เพื่อขอติดตามอ่าน 462

ติดตามเพื่อนด้วยการ “(ค้นหา Search)” 463

(2) ติดตามเพื่อนจาก “ที่อยู่เว็บ (URL)” ที่เพื่อนส่งมาให้ ลงชื่อเข้าใช้ (Sign In) คลิกที่ลิงค์ทวิตเทอร์ของเพื่อน (เช่น http://twitter.com/ชื่อTwitter/) ก็จะเข้าสู่บล็อกทวิตเทอร์ของเพื่อนเรา ให้คลิกที่ปุ่ม “ติดตาม (Follow)” 464

ติดตามเพื่อนจาก “ที่อยู่เว็บ (URL)” 465

8.2.2 เว็บเครื่องมือเกี่ยวกับทวิตเทอร์ จีทวิต (Gtwit) ทีวัฟเฟอร์ (Twuffer) ทวิตเทอร์ฟีด (Twitterfeed) ทวีตซิก (Tweetsig) ทวิตเทอร์การ์ด (Twittercard) ทวิตเทอร์วิชัน (Twittervision) 466

เว็บเครื่องมือเกี่ยวกับทวิตเทอร์ (ต่อ) 7) เพรนด์ออร์ฟอลโลว์ (Friendorfollow) 8) ทวีตทูทวีต (Tweet2tweet) 9) ฟีลซาดอตเน็ต (Feelza.net) 10) ทวีตสแทตส์ (Tweetstats) 11) ทวิตเทอร์แพตเทิร์นส์ (Twitterpatterns) 12) ทวิตเทอร์แกลเลอรี (TwitterGallery) 467

เว็บเครื่องมือเกี่ยวกับทวิตเทอร์ (ต่อ) 13) ทวิตเทอร์วิดเกต (Twitter Widget) 14) ทวิตเทอร์เฟรนด์ (TwitterFriend) 15) ทวิตโพลล์ (TwtPoll) 16) ทวิตเทอร์บัตทอนส์ (Twitter Buttons) 17) ทวิตเทอร์ฮอลิค (Twitterholic) 468

จีทวิต (Gtwit) เป็นลูกข่ายทวิตเทอร์คล้ายกับหน้าเว็บ ของ “เอ็มทวิตเทอร์ (m.twitter.com) แต่ข้อดีของจีทวิต คือ ไม่ต้องคอยกด “ทำใหม่ (Refresh)” เพื่อดูข้อความใหม่ เพราะระบบจะดึงข้อมูลเองโดยอัตโนมัติ 469

จีทวิต 470

2) ทีวัฟเฟอร์ (Twuffer) เป็นบริการสำหรับตั้งเวลาทวีตล่วงหน้า 471

3) ทวิตเทอร์ฟีด (Twitterfeed) ใช้ข้อความ (Post) ลงบนทวิตเทอร์แบบอัตโนมัติ  เหมาะสำหรับเจ้าของเว็บหรือเจ้าของบล็อก ที่ต้องการอัพเดตเรื่องใหม่มาลงทวิตเทอร์อัตโนมัติ 472

4) ทวีตซิก (Tweetsig) เหมาะสำหรับใช้เป็น “ลายเซ็น (Signature)” ที่น่าสนใจคือเป็นบริการของคนไทยเอง 473

5) ทวิตเทอร์การ์ด (Twittercard) ลักษณะบริการคล้ายกับทวีตซิก  แต่จะเป็นแบบจาวาสคริป เหมาะสำหรับนำมาติดบล็อกส่วนตัว เพื่ออัพเดตให้ผู้อื่นชม 474

ทวิตเทอร์การ์ด 475

6) ทวิตเทอร์วิชัน (Twittervision) เชื่อมต่อกับ “แผนที่กูเกิล (Google Map)” ว่ามีใครทำอะไรกันบ้าง 476

7) เฟรนด์ออร์ฟอลโลว์ (Friendorfollow) ใช้ตรวจสอบว่า “ตนตามใคร แล้ว ใครไม่ตามตน” หรือ “ใครตามตน แต่ ตนไม่ตามใคร” 477

8) ทวีตทูทวีต (Tweet2tweet) เป็นตัวช่วยให้ดูว่าตนโต้ตอบกับใครว่าอะไร ตามที่ต้องการ เพียงใส่ชื่อผู้ใช้ของทั้งสองฝ่ายที่ต้องการดู 478

9) ฟิลซาดอตเน็ต (Feelza.net) คล้ายกับทวิตเทอร์วิชัน แต่เป็นของคนไทย 479

10) ทวิตเทอร์สแทตส์ (Tweetstats) เป็นบริการเรียกดูสถิติต่างๆ ในทวิตเทอร์ นำเสนอในรูปแบบกราฟ 480

11) ทวิตเทอร์แพตเทิร์นส์ (Twitterpatterns) แหล่งรวมภาพพื้นหลังสำหรับตกแต่งทวิตเทอร์ 481

12) ทวิตเทอร์แกลเลอรี (TwitterGallery) ช่วยติดตั้งธีมสวยๆที่มีแบบให้เลือกอยู่แล้ว ลงบนหน้าทวิตเทอร์ให้ฟรี 482

13) ทวิตเทอร์วิดเกต (Twitter Widget) หากมีบล็อกหรือเว็บส่วนตัวอยู่ แล้วอยากเอาหน้าทวิตเทอร์มาแปะ ลงหน้าบล็อกหรือหน้าเว็บ เพียงแค่กรอกชื่อผู้ใช้ลงไปแล้วกดระบุโค้ด และนำโค้ดนั้นไปแปะที่หน้าบล็อกหรือเว็บ 483

ทวิตเทอร์วิดเกต 484

14) ทวิตเทอร์เฟรนด์ (TwitterFriend) ช่วยตรวจสอบสถิติต่างๆ เกี่ยวกับทวิตเทอร์ โดยจะเน้นในส่วนของการติดต่อ ระหว่างสมาชิกและเพื่อน ที่จะนำเสนอมาในรูปแบบต่างๆ ทั้งกราฟแท่ง และกราฟโยงเชื่อมความสัมพันธ์ 485

ทวิตเทอร์เฟรนด์ 486

15) ทวิตโพลล์ (TwtPoll) เว็บสำหรับให้บริการสร้างการสำรวจ แล้วนำไปให้เพื่อนๆ ในทวิตเทอร์ลงคะแนน สำหรับผู้ลงคะแนนก็เพียงลงชื่อเข้าใช้ ด้วยบัญชีของทวิตเทอร์ 487

16) ทวิตเทอร์บัตทอนส์ (Twitter Buttons) สร้างปุ่มกราฟิคกชิญชวนให้ผู้อื่นมาติดตาม เพียงกรอกบัญชีทวิตเทอร์ แล้วทำสำเนารหัส “เอชทีเอ็มแอล (HTML)” ไปวาง 488

17) ทวิตเทอร์ฮอลิค (Twitterholic) เว็บรวมที่สุดของบัญชีทวิตเทอร์ไว้ ว่าใครทวีตสูงสุด ใครมีเพื่อนมากที่สุด และใครถูกติดตามมากที่สุด 489

8.3 ทวิตเทอร์กับการดำเนินคดี 1) ข่าวหนอนทวิตเทอร์ 2) ข่าวขโมยข้อมูลบัญชีทวิตเทอร์ 490

1) ข่าวหนอนทวิตเทอร์ ข่าวจากเว็บ “บีเอ็นโอนิวส์ (www.bnonews.com.)” ว่า เมื่อ 12 เมษายน 2552 เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ชาวอเมริกัน ชื่อ “มิคกี้ มูนนี่ย์ (Mickey Mooney)” ยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้คิด และสร้างหนอนทวิตเทอร์ขึ้นมา 491

ข่าวหนอนทวิตเทอร์ (ต่อ) หนอนทวิตเทอร์นี้ชื่อว่า “สทอล์กเดลี่ดอตคอม (StalkDaily.com)” โดยอาการของผู้ที่ติดนั้น คือจะมีการปล่อยข้อความโฆษณา เว็บไซต์สทอล์กเดลี่เป็นระยะๆ และบางครั้งอาจเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว ของผู้ใช้อีกด้วย 492

ข่าวหนอนทวิตเทอร์ (ต่อ) มิคกี้สารภาพว่าได้สร้างหนอนทวิตเทอร์ขึ้นมา เพราะความเบื่อหน่ายและต้องการค้นหาช่องโหว่ ของระบบให้นักพัฒนาได้เล็งเห็นถึงปัญหา โดยที่ไม่ต้องการสร้างความเสียหายใดๆ เลย นอกจากนี้ยังเป็นการโฆษณาเว็บของตนด้วย 493

2) ข่าวขโมยข้อมูลบัญชีทวิตเทอร์ ข่าวจากเว็บ “เทคครั้นซ์ (www.techcrunch.com)” ว่า เมื่อ 5 มกราคม 2552 มีการขโมยข้อมูลของบัญชีผู้ใช้เว็บทวิตเทอร์ กว่า 30 ราย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง อาทิ บารัค โอบามา (Barack Obama) และ ริค แซนเซส (Rick Sanchez) เป็นต้น 494

ข่าวขโมยข้อมูลบัญชีทวิตเทอร์ (ต่อ) เมื่อขโมยข้อมูลแล้ว ก็ปลอมแปลงข้อความ และส่งข้อความเกี่ยวกับเรื่องเพศและยาเสพติด ออกสู่สาธารณะ 495

ข่าวขโมยข้อมูลบัญชีทวิตเทอร์ (ต่อ) ภายหลังผู้ดูแลเว็บทวิตเทอร์ออกมารับผิดชอบ โดยบอกว่า การที่บัญชีของผู้ใช้ถูกขโมยข้อมูลนี้ อาจมีสาเหตุมาจากการคาดเดาและการถอดรหัสผ่าน (Dictionary Attack) ซึ่งผู้เสียหายได้ยอมความประนีประนอม 496

8.4 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับทวิตเทอร์ 1) ข่าวสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้ใช้บริการทวิตเทอร์ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 974 2) ข่าวผู้ทดลองใช้ทวิตเทอร์แล้วไม่ใช้ต่อ 3) ข่าวนักบินอวกาศจะส่งทวิตเทอร์ 4) ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 497

1) ข่าวสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้ใช้บริการ ทวิตเทอร์เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 974 ข่าวจากเว็บ “เทเลกราฟ (www.telegraph.co.uk)” เมื่อเดือนมกราคม 2552 สหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้ใช้บริการเว็บทวิตเทอร์ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 974 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2551 498

สหราชอาณาจักรมีผู้ใช้ทวิตเทอร์สูงขึ้น (ต่อ) จากจำนวนผู้เข้าใช้บริการที่เพิ่มขึ้นนับ 10 เท่า ทำให้อันดับขั้นของเว็บทวิตเทอร์ก้าวกระโดด ขึ้นมาจากลำดับที่ 2,953 ในการจัดอันดับเว็บ ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดของสหราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2551 ขึ้นมาเป็นลำดับที่ 291 ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2552 499

สหราชอาณาจักรมีผู้ใช้ทวิตเทอร์สูงขึ้น (ต่อ) นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมว่า เกือบร้อยละ 10 ของผู้เข้าชมใช้เว็บทวิตเทอร์ เป็นสื่อกลางในการรับชม รับฟังข่าวสาร มากกว่าร้อยละ 17.6 ของผู้เข้าชมใช้เว็บทวิตเทอร์ เป็นสื่อกลางในด้านบันเทิง 500

สหราชอาณาจักรมีผู้ใช้ทวิตเทอร์สูงขึ้น (ต่อ) ร้อยละ 14.6 ใช้เว็บทวิทเตอร์เพื่อเป็นสื่อกลาง ในการเข้าถึงเว็บเครือข่ายสังคมอื่นๆ ร้อยละ 6.6 ใช้เว็บทวิตเทอร์เพื่อเป็นสื่อกลาง ในการเข้าถึงเว็บล็อกอื่นๆ ร้อยละ 4.5 ใช้เว็บทวิตเทอร์เพื่อเป็นสื่อกลาง ในการเข้าถึงการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ 501

2) ผู้ทดลองใช้ทวิตเทอร์แล้วไม่ใช้ต่อ ข่าวจากเว็บ “นิวยอร์กไทม์ (www.nytimes.com)” เมื่อ 10 พฤษภาคม 2552 502

ผู้ทดลองใช้ทวิตเทอร์แล้วไม่ใช้ต่อ (ต่อ) นีลเซนออนไลน์ ระบุว่าสาเหตุที่ทำให้มีผู้เข้าทดลอง ใช้ทวิตเทอร์จำนวนมากแล้วไม่ใช้ต่อนั้น เป็นเพราะทวิตเทอร์มีความแปลกใหม่ ให้เข้าไปลองใช้แต่เมื่อเข้าไปลองใช้แล้ว ปรากฏว่าผู้เข้าใช้ไม่ติดใจบริการของทวิตเทอร์ 503

ผู้ทดลองใช้ทวิตเทอร์แล้วไม่ใช้ต่อ (ต่อ) เมื่อปี พ.ศ. 2551 ปรากฏว่ามีสมาชิก ที่กลับไปใช้ทวิตเทอร์อีกน้อยกว่าร้อยละ 30 ต้น พ.ศ. 2552 ปรากฏว่ามีสมาชิก ที่กลับไปใช้ทวิตเทอร์ร้อยละ 40 ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10 เทียบกับเฟซบุคและมายสเปซ ซึ่งมีสมาชิกกลับไปใช้บริการอีกถึงร้อยละ 60 504

3) นักบินอวกาศจะส่งทวิตเทอร์ ข่าวจากเว็บ “ลาฟฟิงสควิด (laughingsquid.com)” เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2552 505

นักบินอวกาศจะส่งทวิตเทอร์ (ต่อ) “มาร์ก โปแลนสกี (Mark Polansky)” ผู้บัญชาการยานอวกาศ ประกาศว่าจะอัพเดตข้อมูล เกี่ยวกับชีวิตในห้วงอวกาศ รวมถึงนำคำถามต่างๆ จากยูทิวบ์ ที่เกี่ยวกับสถานีอวกาศนานาชาติ ไปตอบบนทวิตเทอร์ในเดือนมิถุนายน 2552 506

4) ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา “บารัค โอบามา (Barack Obama)” ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา ถือเป็นประธานาธิบดี ผิวสีคนแรก 507

ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ต่อ) โอบามาใช้อินเทอร์เน็ตช่วยหาเสียง ทำให้เข้าถึงประชาชนได้หลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จึงมีส่วนทำให้ชนะคู่แข่งคือ “จอน แมคเคน (John McCain)” ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการหาเสียงน้อยกว่า 508

ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ต่อ) เมื่อค้นหาคำว่า “บารัค โอบามา (Barack Obama)” จากกูเกิลจะพบ 113,000,000 รายการ 509

ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ต่อ) เมื่อค้นหาคำว่า “จอน แมคเคน (John McCain)” จากกูเกิลจะพบ 982,000 รายการ 510

ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ต่อ) เมื่อค้นหารูปภาพของโอบามาจากกูเกิล จะพบ 17,700,000 รายการ 511

ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ต่อ) เมื่อค้นหารูปภาพของแมคเคนจากกูเกิล จะพบ 931,000 รายการ 512

ทวิตเทอร์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ต่อ) ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 มีผู้ติดตามอ่านทวิตเทอร์ของโอบามา ถึง 1,147,944 ราย เทียบกับแมคเคนมีเพียง 4,911 ราย ซึ่งมีผู้ติดตามโอบามามากกว่าแมคเคนถึง 233 เท่า 513

หน้าทวิตเทอร์ของโอบามา 514

9. ชีวิตที่สอง 9.1 ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง 9.2 ตัวอย่างเด่นในชีวิตที่สอง 9.3 ชุมชน 9.4 การซื้อขายที่ดิน 9.5 การสนับสนุน 515

ชีวิตที่สอง (ต่อ) 9.6 มหาวิทยาลัยในชีวิตที่สอง 9.7 ธุรกิจในชีวิตที่สอง 9.8 ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตที่สอง 516

9.1 ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง ถ้าอยากรู้เรื่องชีวิตที่สอง ก็อาจไปถามกูเกิลว่า “ความหมาย ชีวิตที่สอง (Define: Second Life)” พบข้อมูลใน “วิกิพีเดีย (en.wikipedia.org/wiki/Second_Life)” 517

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) ความหมายของ “ชีวิตที่สอง” จากวิกิพีเดีย “ชีวิตที่สอง คือ โลกเสมือนจริงแบบ 3 มิติ สร้างโดยลินเดนแลบ (Linden Lab)” 518

ชีวิตที่สอง (Second Life) 519

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 23 มิถุนายน 2546 เปิดตัวชีวิตที่สอง ผู้ใช้ติดต่อกับชีวิตที่สองผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี จากเว็บ “เซคเคินด์ไลฟ์ดอตคอม (secondlife.com)” 520

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) สมาชิกสร้างร่างอวตารของตนเองได้ ร่างอวตารสามารถ ท่องเที่ยว พบปะกับร่างอวตารอื่นๆ เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ และ สร้างวัตถุเสมือนจริง 521

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) สามารถทำธุรกิจขายสินค้าและบริการได้ และซื้อขายโดยใช้จ่ายและได้เงินจริง มีสกุลเงิน คือ “ลินเดนดอลลาร์ (Linden Dollar)” ซึ่งใช้สัญลักษณ์ “L$” สามารถใช้ภาษา แอลเอสแอล "(Linden Scripting Language)" เพิ่มความสามารถให้กับวัตถุเสมือนจริงได้ 522

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) ปี พ.ศ. 2542 “ฟิลิป โรสเดล (Philip Rosedale)” ก่อตั้งลินเดนแลบ มีนาคม 2545 เปิดตัวรุ่นแรกชื่อ “ลินเดนเวิลด์ (Linden World)” - สามารถยิงต้นไม้ให้ติดไฟแล้วไหม้ลามไปต้นอื่น - สามารถเข้าควบคุมร่างอวตารของผู้อื่น - ไม่มีการแบ่งพื้นที่ 523

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) เมษายน 2545 เปิดตัวซอฟต์แวร์รุ่นเบตา (Beta) - มีระบบเศรษฐกิจ - เริ่มเก็บเงินค่าใช้ซอฟต์แวร์ 3 - 10 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 100 - 350 บาท 524

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 10 ธันวาคม 2545 มีข่าวจาก “เกมสปาย (GameSpy.com)” ว่า ลินเดนแลบประกาศจะเปิดตัวเกมส์ ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก (Massively Multiplayers) ในฤดูร้อน 2546 525

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) มิถุนายน 2546 เปิดตัวซอฟต์แวร์รุ่น 1.0 (Version 1.0) มีเอกสาร 102 หน้า ต่อมามีซอฟต์แวร์รุ่น 1.1 - 1.9 โดยรุ่น 1.9 เปิดตัวเมื่อ 14 มีนาคม 2549 526

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 22 กันยายน 2546 มีข่าวใน “ฟิวเจอร์ลุกส์ (Futurelooks.com)” เชิญทดลองเล่นเกมส์ชีวิตที่สอง (Second Life) มีร่างอวตารให้เลือกเป็นคน หรือสัตว์ หรือต้นไม้ และไม่มีข้อจำกัดว่าจะเล่นอะไรอย่างไร 527

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 28 ตุลาคม 2546 มีข่าวใน “พีซีแมก (www.Pcmag.com)” ว่า โลกเสมือนจริง (Virtual World) ชื่อ “ชีวิตที่สอง (Second Life)” ให้ใช้ฟรี 5 วัน แล้วหลังจากนั้น จะคิดค่าบริการเดือนละ 14.95 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 525 บาทต่อเดือน 528

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) เมื่อเริ่มเล่นอาจจะเข้าไป ที่เกาะ “โหมโรง (Prelude)” เพื่อเรียนทักษะต่างๆ อาทิ - การแต่งตัว - การเหาะเหินเดินอากาศ - การพูดจา เป็นต้น 529

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 20 มกราคม 2547 พีซีแมก (www.Pcmag.com) ประกาศให้โลกเสมือนจริง (SecondLife.com) เป็นหนึ่งในเกมส์ยอดนิยม - เปลี่ยนแปลงแก้ไขร่างอวตารได้ตามใจชอบ - เปลี่ยนสภาพแวดล้อมได้ตามใจชอบ อาทิ สร้างแบบจำลองสามมิติของหอไอเฟล จำนวนเท่าใดก็ได้ แล้วจะทุบทิ้งก็ได้ เป็นต้น 530

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 29 ธันวาคม 2548 มีข่าวใน “เกมเซ็ตวอท์ช (www.GameSetWatch.com)” ว่า มี "การจัดเดินแบบ (Fashion Show)” ในชีวิตที่สอง โดยร่างอวตารต่างๆ 531

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 24 พฤษภาคม 2549 เปิดตัวซอฟต์แวร์รุ่น 1.10 ยกเลิกข้อกำหนดให้สมาชิกต้องมีบัตรเครดิต ทำให้มีสมาชิกมากขึ้น 532

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 18 ธันวาคม 2549 มีข่าวใน “ซีเนต (news.cnet.com)” ว่า บริษัทไอบีเอ็มซื้อเกาะ 12 เกาะในชีวิตที่สอง เพื่อใช้ในการฝึกอบรม ประชุม และทำธุรกิจ 533

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 11 กรกฎาคม 2550 เปิดตัวซอฟต์แวร์รุ่น 1.18.0 ซึ่งยังใช้ถึง พ.ศ. 2552 534

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 14 ธันวาคม 2550 มีข่าวใน “บีบีซี (news.bbc.co.uk)” ว่า ผู้ร่วมก่อตั้งชื่อ “ฟิลิป โรสเดล (Philip Rosedale)” ประกาศว่าถึงแม้ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี ชื่อ “คอรี ออนเดรจกา (Cory Ondrejka)” จะลาออกไป ชีวิตที่สองก็จะยังคงพัฒนา ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง 535

ร่างอวตารของฟิลิป และฟิลิปตัวจริง 536

การพบปะสังสรรค์ของร่างอวตารในชีวิตที่สอง 537

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) มกราคม 2551 มีสมาชิกใช้เวลาอยู่ในชีวิตที่สอง รวม 28,274,505 ชั่วโมง เฉลี่ยในทุกช่วงเวลา มีผู้เข้าใช้งาน 38,000 คน กันยายน 2551 มีผู้ลงทะเบียนในชีวิตที่สอง 15 ล้านคน 538

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 1 ธันวาคม 2551 มีข่าวจากมหาวิทยาลัยเคนท์ (Kent State University) จัดการแสดงละครในชีวิตที่สอง เรื่อง “เดอะครีเอชั่น (The Creation)” 539

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) พ.ศ. 2551 ชีวิตที่สองได้รับรางวัลการพัฒนาเว็บ ให้ผู้ใช้สร้างเนื้อหาให้กับเว็บเอง ใน “การประกาศรางวัลเอมมีครั้งที่ 59 (59th Annual Technology & Engineering Emmy Awards)” 540

ประวัติวิวัฒนาการชีวิตที่สอง (ต่อ) 8 พฤษภาคม 2552 มีข่าวจาก “อินฟอร์เมชันวีค (www.Informationweek.com)” ว่า กองทัพอเมริกันจะจัดฝึกอบรมในชีวิตที่สอง อาทิ การบิน เป็นต้น 541

9.2 ตัวอย่างเด่นในชีวิตที่สอง 9.2.1 ศิลปวัฒนธรรม (Arts and Culture) 9.2.2 แฟชั่น (Fashion) 9.2.3 สถานที่น่าสนใจ (Hot Spot) 9.2.4 ดนตรี (Music) 542

9.2.1 ศิลปวัฒนธรรม (Arts and Culture) มีแหล่งศิลปวัฒนธรรม (Arts and Culture Venues) อยู่ในชีวิตที่สอง มีพิพิธภัณฑ์และที่แสดงศิลปะมากมาย อาทิ พิพิธภัณฑ์อวกาศ (Space Museum) 543

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) ร้านหนังสือเช็คสเปียร์ (Shakespeare Bookshop) 544

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) พิพิธภัณฑ์นวัตกรรมเทคโนโลยี (Tech Museum of Innovation) 545

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) กรุงโรมเสมือน (Roma) 546

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) ประตูโค้งแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ (St. Louis Arch) 547

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) การผจญภัยในอียิปต์ (Egypt Adventure) 548

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) หาดเวนิสเสมือนจริง (Virtual Venice Beach) 549

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) กรุงบูคาเรสเสมือนจริง (Virtual Bucharest) 550

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) ศูนย์พุทธศาสน์ (Buddah Center) 551

ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) เที่ยวอลิซอินวอนเดอร์แลนด์ (Alice in Wonderland Ride) 552

9.2.2 แฟชั่น (Fashion) มีแหล่งแฟชั่น (Fashion Venues) อยู่ในชีวิตที่สอง มีร้านค้ามากมาย อาทิ “เออโรส ดีไซน์ (Eros Designs)” เป็นร้านขายชุดชั้นใน เพชรพลอย และผ้าไหม สำหรับทำเสื้อผ้าเสมือนจริง 553

แฟชั่น (ต่อ) “เกรนเดลส์ ชิลเดรน (Grendel's Children)” เป็นร้านขายสัตว์เลี้ยง มังกร แมงกะพรุน ที่เปลี่ยนผิวได้ตามความต้องการ 554

แฟชั่น (ต่อ) “คาร์ทูนนิมัลส์ (Cartoonimals)” เป็นร้านขายตัวการ์ตูนต่างๆ 555

แฟชั่น (ต่อ) “ยูนิค นีดส์ (Unique Needs!)” เป็นร้านรองเท้า เครื่องแต่งกาย และเพชรพลอย 556

แฟชั่น (ต่อ) “ซินดีเคด (SINdecade)” เป็นร้านออกแบบพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ 557

แฟชั่น (ต่อ) “แฮปปี้มูด (Happy Mood)” เป็นร้านขายสัตว์จำลองต่างๆ โดยเฉพาะกระต่ายจำลอง 558

แฟชั่น (ต่อ) “เวียร์ดิคูลัส (Weirdiculous)” รับออกแบบเครื่องแต่งกายและของขวัญ 559

แฟชั่น (ต่อ) “แซสซี คิตตี ดีไซน์ (Sassy Kitty Designs)” เป็นศูนย์การค้าและเมืองเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย ขายเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 560

แฟชั่น (ต่อ) “เอ็กซ์แอนด์เอ็มดีไซน์ (X & M Design)” เป็นร้านญี่ปุ่นที่มีเจดีย์และสถานที่อาบน้ำรวม 561

แฟชั่น (ต่อ) “คูริโอออบสคูรา (Curio Obscura)” ร้านขายพาหนะแปลกประหลาด รวมทั้งอุปกรณ์ และของเล่นต่างๆ 562

9.2.3 สถานที่น่าสนใจ (Hot Spot) มีแหล่งที่น่าสนใจ (Hot Spots Venues) อยู่ในชีวิตที่สอง อาทิ “เที่ยวเม็กซิโก (Visit Mexico)” มีโบสถ์โบราณในป่าให้ท่องเที่ยว 563

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวเมืองที่มีรูปปั้นจำนวนมาก ชื่อเมือง “แบล็คสวอน (Black Swan)” 564

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวสวนพฤกษชาติ (Botanical @ Straylight) 565

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวสถานตากอากาศฤดูหนาว (Tahoa Mountain Ski Resort) 566

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวเมืองแคริบเบียนโบราณ (Las Islas Republic) 567

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวชมวัง สระว่ายน้ำ และเกาะ (Club Visiwa Estate) 568

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวโบสถ์บนภูเขาอัลไพน์ (St. George Church) 569

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวเกาะซีเอ็นเอ็น (CNN iReport Island) 570

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เล่นเกมส์ต่อสู้หุ่นยนต์ (MCM Mech Combat System) 571

สถานที่น่าสนใจ (ต่อ) เที่ยวหอไอเฟลและปารีส (Eiffel Tower) 572

9.2.4 ดนตรี (Music) มีแหล่งดนตรี (Music Venues) อยู่ในชีวิตที่สอง อาทิ สถานที่จัดดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตที่สอง “เมนอร์คา (Menorca)” 573

ดนตรี (ต่อ) ชมโอเปร่าจากซูริค (The Zurich City Opera) 574

ดนตรี (ต่อ) ฟังดนตรีริมชายหาดได้ทุกวัน (Sleek Beach Club) 575

ดนตรี (ต่อ) เต้นรำทำเพลงได้ตลอดเวลา (Dance Island) 576

ดนตรี (ต่อ) ชมนักดนตรีกว่า 300 คนในชีวิตที่สอง (Bringiton's Hall of Fame) 577

ดนตรี (ต่อ) ร่วมชมคอนเสิร์ตกับร่างอวตารอื่น (Music Island) 578

ดนตรี (ต่อ) ชมวงดนตรีร็อคแอนด์โรลล์จากออสเตรเลีย (SpaceJunky Island) 579

ดนตรี (ต่อ) ร่วมร้องรำทำเพลงที่คลับที่มีดีเจจากทั่วโลก (Club Eruption) 580

ดนตรี (ต่อ) เที่ยวผับฟังเพลงที่มีดีเจเปิดเพลง และการแสดงสด (The Pig & Whistle Pub) 581

ดนตรี (ต่อ) ฟังดนตรีและชมการแสดงสดแบบละติน (Smithsonian Latino Music) 582

9.3 ชุมชน 9.3.1 การค้นหา (Search) 9.3.2 พื้นที่แสดงความคิดเห็น (Forums) 9.3.3 เหตุการณ์สำคัญ (Events) 9.3.4 อาสาสมัคร (Volunteer) 583

9.3.1 การค้นหา (Search) ในเว็บชีวิตที่สองมีเครื่องมือช่วยค้นหาเรียกว่า “เซคเคินด์ไลฟ์เสิร์ช (Second Life Search)” 584

การค้นหา (ต่อ) สามารถระบุการค้นหาแยกตามประเภท ค้นหาทั้งหมด (All of Second Life) ค้นหาเหตุการณ์ (SL Events) ค้นหากลุ่ม (SL Groups) ค้นหาบุคคล (SL People) ค้นหาสถานที่ (SL Places) 585

สามารถระบุการค้นหาแยกตามประเภท (ต่อ) ค้นหาสารสนเทศในวิกิดอตเซคเคินด์ไลฟ์ ดอตคอม (SL Wiki) ค้นหาสารสนเทศในเซคเคินด์ไลฟ์ดอตคอม (SecondLife.com) 586

9.3.2 พื้นที่แสดงความคิดเห็น (Forums) ในเว็บชีวิตที่สองมีพื้นที่แสดงความคิดเห็น สำหรับสมาชิกและพนักงานของชีวิตที่สอง 587

พื้นที่แสดงความคิดเห็น (ต่อ) มีไว้สำหรับ พูดคุยแสดงความคิดเห็น แบ่งปันความรู้ด้านเทคนิคและข่าวสารใหม่ๆ ประกาศขายสินค้าเสมือนจริง ปรึกษาปัญหาต่างๆ รวมถึงขอความช่วยเหลือ แจ้งปัญหาการใช้ชีวิตที่สอง 588

พื้นที่แสดงความคิดเห็น (ต่อ) ในพื้นที่แสดงความคิดเห็นแบ่งเป็น บล็อก (The Official Blog of Linden Lab) พื้นที่แสดงความคิดเห็นของสมาชิก (Resident Forums) พื้นที่แสดงความคิดเห็นของกลุ่ม (Group Life) บันทึกและประกาศ (Forum Archive) 589

พื้นที่แสดงความคิดเห็น (ต่อ) ในส่วนพื้นที่แสดงความคิดเห็นของสมาชิกนั้น นอกจากภาษาอังกฤษแล้วมีบริการอื่นอีก ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน สเปน อิตาลี 590

9.3.3 เหตุการณ์สำคัญ (Events) สมาชิกและพนักงานชีวิตที่สองสามารถจัดงานต่างๆ ในชีวิตที่สองได้ อาทิ งานสังสรรค์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประกวด เป็นต้น 591

เหตุการณ์สำคัญ (ต่อ) ผู้จัดงานสามารถประกาศเชิญชวนให้สมาชิกอื่นๆ เข้าร่วมงาน โดยคลิกวันที่ในปฏิทิน แล้วคลิก “เพิ่มเหตุการณ์ (Add Event)” 592

เหตุการณ์สำคัญ (ต่อ) ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมงานต่างๆ ในชีวิตที่สอง สามารถตรวจสอบตารางการจัดงานจากปฏิทิน 593

9.3.4 อาสาสมัคร (Volunteer) ในเว็บชีวิตที่สองมีโครงการอาสาสมัคร โดยมีทีมงานอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ และมีความตั้งใจที่จะให้ความช่วยเหลือ แก่สมาชิกรายอื่นๆ และมุ่งหวังที่จะพัฒนาโครงการอาสาสมัคร ในชีวิตที่สองให้ดียิ่งขึ้นร่วมกัน 594

อาสาสมัคร (ต่อ) วิสัยทัศน์ เป็นแบบอย่างให้กับสมาชิกรายอื่นๆ ที่ต้องการเป็นอาสาสมัคร โดยให้ความรู้ ความช่วยเหลือ และคำแนะนำ เชื่อว่าการเป็นอาสาสมัครในโลกเสมือนจริง จะมีศักยภาพเพียงพอที่จะช่วยยกระดับ การปฏิบัติงานของโครงการอาสาสมัครชีวิตที่สองให้เข้าถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ 595

อาสาสมัคร (ต่อ) อาสาสมัครให้ความช่วยเหลือสมาชิกรายอื่นๆ ในหลายพื้นที่ อาทิ เฮลพ์ไอแลนด์ (Help Island) แซนด์บอกซ์ (Sand Boxes) อินโฟฮับส์ (Info Hubs) เป็นต้น 596

อาสาสมัคร (ต่อ) ให้ความช่วยเหลือแบบไม่จำกัดและเปิดกว้าง เพื่อส่งเสริมให้โครงการอาสาสมัครชีวิตที่สอง มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับอาสาสมัคร และสมาชิกอื่นๆ 597

อาสาสมัคร (ต่อ) อาจกล่าวได้ว่าการพัฒนา โครงการอาสาสมัครชีวิตที่สอง เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครกำลังช่วยให้ชีวิตที่สองก้าวหน้า คาดว่าจะมีอาสาสมัคร เข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครชีวิตที่สอง อีกมากมาย 598

9.4 การซื้อขายที่ดิน 9.4.1 การซื้อที่ดิน (Purchasing Land) 9.4.2 การเช่าที่ดิน (Renting Land) 599

9.4.1 การซื้อที่ดิน (Purchasing Land) สมาชิกชีวิตที่สองสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ โดย ซื้อต่อจากสมาชิกอื่น (Buy Land from Residents) ประมูล (Auctions) ซื้อพื้นที่ส่วนตัว (Private Regions or Islands) 600

1) ซื้อต่อจากสมาชิกอื่น (Buy Land from Residents) สมาชิกชีวิตที่สองสามารถขายที่ดินต่อ ให้สมาชิกอื่นที่ต้องการได้ สามารถค้นหาที่ดินที่ประกาศขายได้ โดยค้นหาในแถบขายที่ดิน (Land Sales) ในโปรแกรมชีวิตที่สอง 601

2) ประมูล (Auctions) สมาชิกชีวิตที่สองสามารถประมูลที่ดิน โดยใช้เงินลินเดนดอลลาร์หรือดอลลาร์สหรัฐ ที่ดินแต่ละแปลงมีการกำหนดสกุลเงิน ที่ใช้ในการประมูลชัดเจน ผู้เข้าร่วมการประมูลจะต้องมีเงินสกุลนั้นๆ ในบัญชีของชีวิตที่สอง 602

หน้าการประมูล 603

3) ซื้อพื้นที่ส่วนตัว (Private Regions or Islands) เกาะส่วนตัว (Full Regions) ที่อยู่อาศัย (Homestead Regions) พื้นที่ว่าง (Openspace Regions) 604

(1) เกาะส่วนตัว (Full Regions) รองรับอวตาร รองรับสคริปต์ ใช้ทรัพยากรของชีวิตที่สองได้เต็มที่ มีพื้นที่ 65,536 ตารางเมตร ราคา 1,000 เหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 35,000 บาท ค่าบำรุงรักษา 295 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน 605

(2) ที่อยู่อาศัย (Homestead Regions) ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสำหรับอยู่อาศัย ใช้ทรัพยากรพื้นฐานได้น้อยกว่าเกาะส่วนตัว ผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยส่วนนี้ จะต้องมีเกาะส่วนตัวอยู่แล้วอย่างน้อย 1 เกาะ มีพื้นที่ 65,536 ตารางเมตร ราคา 375 เหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 13,000 บาท ค่าบำรุงรักษา 95 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,300 บาทต่อเดือน 606

(3) พื้นที่ว่าง (Openspace Regions) ออกแบบมาสำหรับจัดทำภูมิทัศน์ อาทิ ป่า ชนบท และมหาสมุทร เป็นต้น ผู้ที่ต้องการเป็นของที่ดินส่วนนี้ จะต้องมีเกาะส่วนตัวอยู่แล้วอย่างน้อย 1 เกาะ มีพื้นที่ 65,536 ตารางเมตร ราคา 250 เหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 9,000 บาท ค่าบำรุงรักษา 75 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,600 บาทต่อเดือน 607

9.4.2 การเช่าที่ดิน (Renting Land) อัตราการเช่าที่ดิน เกาะส่วนตัว (Islands) ราคา 50 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,700 บาทต่อเกาะต่อวัน พื้นที่ขนาดใหญ่ (Mainland Regions) ราคา 4,000 เหรียญลินเดน หรือประมาณ 533 บาทต่อเกาะต่อวัน 608

9.5 การสนับสนุน 9.5.1 การดาวน์โหลด 9.5.2 ระบบพื้นฐานของเครื่อง 9.5.3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชีวิตที่สอง 9.5.4 รายงานเหตุการณ์ 9.5.5 การติดตามผลการทำงานของระบบ และพัฒนาโปรแกรม 9.5.6 รายงานสถานะโครงข่าย 609

9.5.1 การดาวน์โหลด สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมชีวิตที่สองได้จาก เว็บ “เซ็คเคินด์ไลฟ์ดอตคอม (secondlife.com/support/downloads.php)” สามารถเลือกดาวน์โหลดโปรแกรม ซึ่งใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ อาทิ วินโดวส์ แมคอินทอช ลีนุกซ์ เป็นต้น 610

9.5.2 ระบบพื้นฐานของเครื่อง ระบบพื้นฐานของเครื่องจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดจึงจะสามารถใช้งานโปรแกรมชีวิตที่สองได้ ระบบปฏิบัติการณ์ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ความละเอียดในการแสดงผลของหน้าจอ การ์ดแสดงผลกราฟิก 611

9.5.3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชีวิตที่สอง มีข้อมูลความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชีวิตที่สอง แบ่งเป็น ชีวิตที่สองสำหรับผู้เริ่มต้น การจัดการสิ่งของ คำถามเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ คำถามที่ถามบ่อยและวิดีโอ ร่างอวตาร ปัญหาทั่วไป 612

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชีวิตที่สอง (ต่อ) บทบาท กลุ่ม บัญชี เงินเสมือนจริง การสร้างวัตถุ กฎหมาย ที่ดิน 613

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชีวิตที่สอง (ต่อ) รายการคำสั่งและการควบคุม คำแนะนำพื้นฐาน การให้ร้ายและปัญหา ปัญหาซอฟต์แวร์ 614

9.5.4 รายงานเหตุการณ์ มีรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตที่สอง อาทิ - คำเตือน - เรื่องน่าสนใจ - การใช้ภาษาไม่สุภาพ - การข่มขู่ - การรบกวน - สแปม เป็นต้น 615

9.5.5 การติดตามผลการทำงานของระบบ และพัฒนาโปรแกรม มีการติดตามผลการทำงานของระบบ โดยให้ผู้ใช้แจ้งถึงข้อผิดพลาด ปัญหาต่างๆ และร่วมกันแก้ไขต่อไป รวมถึงพัฒนา ความสามารถใหม่ๆ ให้กับชีวิตที่สอง 616

9.5.6 รายงานสถานะโครงข่าย มีตารางแจ้งเวลาการดูแลรักษาระบบ อาทิ จะทำการเริ่มเชื่อมต่อระบบใหม่ แก้ปัญหาระบบทั่วไป ซอฟต์แวร์ การเชื่อมต่อ 617

9.6 มหาวิทยาลัยในชีวิตที่สอง 9.6.1 วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 9.6.2 มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) และมหาวิทยาลัยคิงสตัน (Kinston University) 9.6.3 มหาวิทยาลัยซานตาคลารา (Santa Clara University) 618

9.6.1 วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นสถานศึกษาแห่งแรกของไทยที่มีเกาะส่วนตัว เป็นสถานศึกษาแห่งแรกของโลก ที่เปิดสอนและได้ปริญญานำไปใช้สมัครงาน ในโลกจริงๆ ได้ 619

มุมมองบริเวณด้านหน้าของอาคาร “ศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ” 620

หลักสูตร ปริญญาเอกวิธีวิทยาอิเลิร์นนิ่ง (Ph.D. in eLearning Methodology) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการ (Master of Science in Management) 621

หลักสูตร (ต่อ) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Master of Science in Communication Technology) ประกาศนียบัตรการจัดการธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม 622

(1) ปริญญาเอกวิธีวิทยาอิเลิร์นนิ่ง (Ph.D. in eLearning Methodology) เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในโลก มีผู้สมัครเรียนจาก 30 ประเทศ อาทิ อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น ค่าเล่าเรียนประมาณ 500,000 บาท ตลอดหลักสูตร ใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 2 ปีครึ่ง 623

(2) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการ (Master of Science in Management) มีห้าสาขาวิชา สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาการจัดการเทคโนโลยี สาขาการจัดการตลาดเชิงกลยุทธ์ สาขาการจัดการธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม 624

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (3) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Master of Science in Communication Technology) มีสี่สาขาวิชา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนิเมชั่น สาขาการจัดการเทคโนโลยี 625

(4) หลักสูตรประกาศนียบัตรการ จัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่างสำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กับวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต เปิดสอน18 วิชา ให้เรียนฟรี เมื่อเรียนจบวิชาใดในหลักสูตรประกาศนียบัตรแล้วอยากจะได้ใบประกาศนียบัตร จะต้องสอบทางอินเทอร์เน็ต ตามเวลาที่ประกาศไว้โดยไม่ต้องเสียค่าสอบ 626

9.6.2 มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) และมหาวิทยาลัยคิงสตัน (Kinston University) 627

การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน ใช้ร่างอวตารของผู้ป่วยแล้วจำลองสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสอนให้นักศึกษาได้ศึกษาวิธีการรักษาผู้ป่วย นักศึกษาประเมินอาการและปฐมพยาบาล ผู้ป่วยเสมือนจริง แล้วนำส่งโรงพยาบาลต่อไป 628

การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน (ต่อ) เมื่อส่งผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลแล้ว นักศึกษาแพทย์จะต้องเขียนบันทึกการส่งตัวผู้ป่วย จากนั้นจะได้รับอีเมล์ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานจากอาจารย์ผู้สอน 629

9.6.3 มหาวิทยาลัยซานตาคลารา (Santa Clara University) 630

9.7 ธุรกิจในชีวิตที่สอง ตัวอย่างธุรกิจในชีวิตที่สอง อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเกมส์ออนไลน์ ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งตัวร่างอวตาร ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจยานพาหนะ 631

ธุรกิจในชีวิตที่สอง (ต่อ) ธุรกิจสวนสนุก ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการฝึกอบรม ธุรกิจอีเลิร์นนิ่ง เป็นต้น 632

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในชีวิตที่สองมีการลงทุนซื้อที่ดินเสมือนจริง ไปแบ่งสรรปันส่วนเพื่อขายหรือให้เช่า “ฟอรัมส์ไทยเซคเคินด์ไลฟ์ (forums.thaisecondlife.net)” ระบุว่า “อันซีฉวง (Anshe Chung)” เป็นคนแรกที่ประกาศว่า ตนสามารถทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในชีวิตที่สอง ได้กำไร 1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 35 ล้านบาท 633

“อันซีฉวง (Anshe Chung)” ร่างอวตารของ “ไอลิน แกรฟ (Ailin Graef)” 634

ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัททั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ต่างพากันเข้าไปหารายได้และโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจและสินค้าในชีวิตที่สอง อาทิ ไอบีเอ็ม (IBM) 635

ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค (ต่อ) โตโยต้า (Toyota) 636

ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค (ต่อ) ไมโครซอฟต์ (Microsoft) 637

ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค (ต่อ) เพลย์บอย (Play Boy) 638

ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค (ต่อ) ลอรีอัล ปารีส (L'Oreal Paris) 639

ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งตัวร่างอวตาร สำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านการออกแบบกราฟิก ก็อาจเข้าไปสร้างสิ่งของหรือของตกแต่ง อาทิ เสื้อผ้า แว่นตา หมวก และเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เป็นต้น เพื่อหารายได้เสริม 640

ตัวอย่างการสร้างรายได้ในชีวิตที่สองของคนไทย “นาร์กุส แอสทูเรียส (Nargus Asturias)” เปิดเกาะ ขายร่างอวตารไดโนเสาร์และให้บริการเช่าไดโนเสาร์ “ไฮโดรเจน (Hydrogen)” และ “ไอโกะ (Aiko)” ร่วมกันสร้างเกาะชื่อว่า “เซนส์ (Sense)” สำหรับขายร่างอวตารและเครื่องตกแต่งร่างอวตาร ห้างสรรพสินค้า “เดอะแพชชั่นมอลล์ (The Passion Mall)” ที่อนุญาตให้คนไทยนำสินค้า ไปฝากขายในห้างได้ฟรี 1 เดือน 641

9.8 ข่าวที่น่าสนใจของชีวิตที่สอง 9.8.1 ข่าวจากเว็บ “ไอทีนิวส์ (www.itnews.com.au)” 9.8.2 ข่าวจากเว็บ “อิงลิชดอตเวียดนามเน็ตดอตวีเอ็น (english.vietnamnet.vn)” 9.8.3 ข่าวจากเว็บ “ยะฮู (tech.yahoo.com)” 642

9.8.1 ข่าวจากเว็บ “ไอทีนิวส์ (www.itnews.com.au)” มีคดีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในโลกเสมือนจริงสองคดี คือ คดีที่หนึ่ง เกิดขึ้นที่เนเธอร์แลนด์ เด็กวัยรุ่นสองคนกระทำความผิดในข้อหา ข่มขู่และทำร้ายร่างกายเด็กชายคนหนึ่ง เพราะต้องการเงินและสิ่งของที่มีอยู่ในเกมส์ ศาลตัดสินให้เด็กวัยรุ่นสองคนนี้ ทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 180 ชั่วโมง หรือถ้าไม่ยอมทำงานบริการสังคม ก็ต้องจำคุกเป็นเวลา 80 วัน 643

ข่าวจากไอทีนิวส์ (ต่อ) คดีที่สอง เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น หญิงคนหนึ่งได้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในบัญชี ของคนรักของตน และฆ่าร่างอวตารของคนรักหลังจากที่คนรักยกเลิกการแต่งงาน ในเกมส์ “เมเปิลสทอรี (Maple Story)” หากพิสูจน์ได้ว่าหญิงคนนี้มีความผิดจริง ก็จะถูกจำคุกถึง 5 ปี 644

คดีหญิงฆ่าร่างอวตารของคนรัก (ต่อ) อย่างไรก็ตามยังมีการถกเถียงกันอยู่ ถึงประเด็นด้านกฎหมาย ว่าจะสามารถนำกฎหมายที่มีอยู่ในโลกจริงๆ ไปใช้ในการพิจารณากับคดีที่เกิดขึ้นในโลกเสมือนจริง ได้หรือไม่ 645

9. 8. 2 ข่าวจากเว็บ “อิงลิชดอตเวียตนามเน็ต ดอตวีเอ็น (english 9.8.2 ข่าวจากเว็บ “อิงลิชดอตเวียตนามเน็ต ดอตวีเอ็น (english.vietnamnet.vn)” เวียตนามจัดทำโครงการเพื่อช่วยเหลือ ผู้ติดการเล่นชีวิตที่สอง เปิดหลักสูตรการให้คำปรึกษา แก่ผู้ติดการเล่นชีวิตที่สองครั้งแรก เมื่อพฤศจิกายน 2551 มีผู้เข้ารับบำบัด 60 ราย ใช้ระยะเวลาในการบำบัดประมาณ 8 สัปดาห์ 646

ข่าวจากอิงลิชดอตเวียดนามเน็ตดอตวีเอ็น (ต่อ) หลักสูตรบำบัดรักษาผู้ติดการเล่นชีวิตที่สอง แบ่งเป็นสามส่วน คือ การฝึกอบรมทางด้านอารมณ์ การออกกำลังกาย การทำงานบริการสังคม 647

9.8.3 ข่าวจากเว็บ “ยะฮู (tech.yahoo.com)” ลินเดนแลบ เจ้าของเว็บโลกเสมือนจริงชีวิตที่สอง ประกาศนโยบายให้สมาชิกและผู้ใช้บริการ คัดกรองเนื้อหาได้ตามต้องการ สามารถคัดกรองเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ในขณะสืบค้นข้อมูลได้ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับวิธี “เซฟเสิร์ช (SafeSearch)” ของกูเกิล จะเริ่มให้บริการได้ในเดือนมิถุนายน 2552 648

10. สรุป มีบริการอินเทอร์เน็ตแปลกใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ตัวอย่างบริการที่คนสนใจมากในปี พ.ศ. 2552 คือ เว็บเครือข่ายสังคม ชีวิตที่สอง 649

สรุป (ต่อ) ด้านเว็บเครือข่ายสังคมที่มีคนใช้มาก คือ มายสเปซ (MySpace) มีสมาชิก 253 ล้านคน เฟซบุค (Facebook) มีสมาชิก 200 ล้านคน 650

สรุป (ต่อ) ด้านชีวิตที่สองที่มีร่างอวตารให้ใช้นั้น มีการคาดการณ์ว่า ภายใน 5 ปี จะมีคนมีร่างอวตารประมาณ 800 ล้านคน 651

สรุป (ต่อ) ฉะนั้น อย่างน้อยที่สุดทุกคนควรจะศึกษาหาความรู้ เรื่องเว็บเครือข่ายสังคมและชีวิตที่สอง เพื่อพิจารณานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง หมู่คณะ และประเทศชาติในที่สุด 652

Thank You