โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
ความหมายของผลงานทาง วิชาการ หมายถึง เอกสาร หรือหลักฐาน ที่จัดทำขึ้น จากความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้จัดทำ โดย การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย และได้นำไปใช้ใน การแก้ปัญหา หรือพัฒนางานใน หน้าที่ จนเกิดผลดีต่อการพัฒนา คุณภาพขององค์กร และเป็น ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทาง วิชาการ
ขอบข่ายของผลงานทาง วิชาการ หมายถึง เอกสารหรือ หลักฐาน ที่แสดงถึง ความชำนาญหรือเชี่ยวชาญใน ด้านนั้น ๆ รวมถึงผลงานใน ลักษณะอื่น ซึ่งใช้ประโยชน์ใน การพัฒนางานในหน้าที่ และ พัฒนาคุณภาพขององค์กร โดยมีลักษณะดังนี้
* ตรงกับประเภทตำแหน่ง * เป็นผลงานที่เกี่ยวกับการ พัฒนางานในหน้าที่ และ พัฒนาคุณภาพขององค์กร * เป็นผลงานที่เกิดจากการ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ
ผผลงานทางวิชาการที่ผู้ขอมิได้ จัดทำแต่ผู้เดียว แต่จัดทำร่วมกับผู้อื่น ให้ชี้แจงว่าผู้ขอมีส่วนร่วมทำ ในส่วน ใด ตอนใด หน้าใดบ้าง คิดเป็นร้อยละ เท่าไรของผลงานทั้งเล่ม ให้ผู้ร่วมจัดทำทุกรายรับรอง และ ระบุว่าผู้ร่วมจัดทำ แต่ละรายจัดทำส่วนใดบ้าง
ลักษณะสำคัญของการจัดทำ ผลงานทางวิชาการ ด้านคุณภาพ ด้านประโยชน์
ด้านคุณภาพของผลงานทาง วิชาการ รูปแบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตามรูปแบบของผลงาน ประเภทนั้น ๆ เนื้อหาสาระ ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย มีการค้นคว้า อ้างอิงถูกต้อง เชื่อถือได้ เรียบเรียงเนื้อหาได้ถูกต้องตาม หลักภาษา จัดเรียงหัวข้อเนื้อหาเป็นระบบ เดียวกัน
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต้องมีส่วนที่แสดงให้เห็นถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเนื้อหาสาระและมีรูปแบบใหม่ ไม่คัดลอก หรือลอกเลียนผลงาน ทางวิชาการของ ผู้อื่นโดยมิชอบ ด้านคุณภาพของผลงานทาง วิชาการ
การอ้างอิง ผลงานทางวิชาการที่เกิด จากการศึกษาค้นคว้าจาก เอกสารต่าง ๆ ต้องมีการ อ้างอิง จัดทำเชิงอรรถ บรรณานุกรมได้ถูกต้อง และ เป็นรูปแบบเดียวกัน ด้านคุณภาพของผลงานทาง วิชาการ
การพิมพ์และการจัดทำ รูปเล่ม ผลงานทางวิชาการต้องมีการ จัดพิมพ์ให้สวยงามและถูกต้อง ตามหลักวิชาการ เช่น พิมพ์หัวข้อ การย่อหน้า การพิมพ์ตาราง การ พิมพ์เชิงอรรถ บรรณานุกรม การจัดทำรูปเล่ม มีปกหน้า ปก หลัง ใบรองปกหน้า ปกใน บทนำ สารบัญ บรรณานุกรม ภาคผนวก ด้านคุณภาพของผลงานทาง วิชาการ
ผลงานวิชาการควรแสดงให้เห็น ถึง การนำไปใช้จริง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น ผลจากการนำไปใช้ว่ามี ประโยชน์มากน้อยเพียงใด ด้านผลประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
แนวทางการประเมินผลงานทาง วิชาการ ด้านคุณภาพ ความสมบูรณ์ของเนื้อหา สาระ พิจารณาจาก ความถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วนตามหลักวิชาการ และ ทันสมัย มีการค้นคว้า อ้างอิงถูกต้อง เชื่อถือได้ เรียบเรียงเนื้อหาได้ถูกต้อง ตามหลักภาษา จัดเรียงหัวข้อเนื้อหาเป็น ระบบเดียวกัน
ความถูกต้องตามหลัก วิชาการ พิจารณาจาก รูปแบบ ขั้นตอน ใน การนำเสนอต้องถูกต้อง ตาม หลักวิชาการของผลงาน ประเภท นั้น ๆ
การแสดงความคิดเริ่ม สร้างสรรค์และประสบการณ์ ที่ ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ผลงาน ใหม่ เป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้ว มา ประยุกต์ด้วยเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรม ผลงานนั้นมีประโยชน์ต่อการ พัฒนางานในหน้าที่ และพัฒนา คุณภาพขององค์กร ความคิดเริ่ม สร้างสรรค์ พิจารณาจาก
การพิมพ์และการจัดรูปเล่ม พิจารณาจาก ความสวยงาม ความถูกต้องตามหลักวิชาการ
ภายในเล่มประกอบด้วย บทคัดย่อ ( ไม่เกิน 1 – 2 หน้า A4) บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่ เกี่ยวข้อง เอกสารผลงานทางวิชาการ
บทที่ 3 วิธีการศึกษา บทที่ 4 ผลการศึกษา บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม / เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก เอกสารผลงานทางวิชาการ
ผลงานเป็นประโยชน์ต่อ ความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถเป็นแบบอย่างใช้เป็น แหล่งอ้างอิง หรือเป็น แบบอย่างในการปฏิบัติได้ เป็นอย่างดี ด้าน ประโยชน์
ข้อเสนอแนวคิดเพื่อการ พัฒนางาน ผู้ขอประเมินต้องคำนึงเสมอ ว่า ประสงค์จะขอประเมินลงใน ตำแหน่งใด กลุ่มงานและสังกัด ใด การนำเสนอแนวคิดเพื่อการ พัฒนางานต้องตรงตาม ตำแหน่งกลุ่มงานและสังกัด นั้น ๆ
สวัสดี