การบริหารงบประมาณ
รายงานผลการใช้จ่ายเงิน จัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน จัดทำคำของบประมาณ
เป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2556 รวม ต.1 ต.2 ต.3 ต.4 งบลงทุน =15% ภาพรวม=24% งบลงทุน =80% ภาพรวม=94% งบลงทุน =10% ภาพรวม=20% งบลงทุน =25% ภาพรวม=25% งบลงทุน =30% ภาพรวม=25%
ด้านการเงิน ออก ใบเสร็จรับเงิน 1.มีสำเนาอย่างน้อย 1 ฉบับ 2.มีทะเบียนคุม ใบเสร็จรับเงิน 3.ลงบัญชีเงินสด 4.รายงานการใช้ ใบเสร็จรับเงินต่อกอง คลังทุกสิ้น ปีงบประมาณ 1.รายงานเงินคงเหลือ ประจำวัน 2.กรรมการเก็บรักษา เงิน ตรวจสอบ หลักฐานการรับเงิน กับ เงินสดและการ ลงบัญชีก่อนลงชื่อใน รายงานฯ 3.เสนอผู้บริหารเพื่อ ทราบ 1.ทำใบนำส่งในระบบ KKUFMIS ทุกวันทำการ สุดท้ายของสัปดาห์ หรือ หากมีการรับเงิน 5,000 บาทขึ้นไปให้ส่งภายในวัน นั้นหรืออย่างช้าภายในวัน ทำการถัดไป 1.คุมยอดเบิกจ่าย 2. ส่งเบิกกองคลัง การเก็บรักษาการนำส่งกอง คลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษา นำส่งกองคลัง เบิกจ่าย
ข้อควรพิจารณา 1.กรรมการเก็บรักษาเงิน - แต่งตั้งอย่างน้อย 3 คน ควรตั้งกรรมการสำรอง เผื่อกรณีกรรมการตัวจริงไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จะได้ทำการแทน และ ให้มอบหมายกรรมการ 1 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบการรับเงินการลงบัญชีเงินสด เพื่อ เซนต์ชื่อกำกับที่บัญชีเงินสดด้วย 2.การมอบกุญแจตู้นิรภัย ให้มอบให้กรรมการคนละ 1 ดอก หากกรรมการลาให้ มอบกุญแจให้กรรมการอื่นโดยบันทึกการมอบและรับคืนไว้ในรายงานเงินคงเหลือ ประจำวัน 3.เจ้าหน้าที่การเงินจะเป็นผู้เปิดรหัสตู้นิรภัย ไม่ใช่กรรมการฯ ต้องมีกุญแจชุด สำรอง 1 ชุด มอบให้ผู้บริหารพร้อมรหัสตู้นิรภัย เผื่อกรณีฉุกเฉินจะได้นำกุญแจชุด สำรองมาเปิดตู้นิรภัยได้ 4.ต้องจัดทำรายงานการเงินทุกเดือน และส่งอธิการบดีพร้อมสำเนาส่ง ตรวจสอบภายใน
หมวดรายจ่าย งบประมาณแผ่นดินงบประมาณเงินรายได้ 1.งบบุคลากร 2.งบดำเนินงาน 3.ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ 4.สาธารณูปโภค 5.งบลงทุน ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง 6.งบเงินอุดหนุน 7.งบรายจ่ายอื่น 1.งบบุคลากร 2.งบดำเนินงาน 3.ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ 4.สาธารณูปโภค 5.งบลงทุน ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง 6.งบเงินอุดหนุน 7.งบรายจ่ายอื่น (ทุนสำรอง 5% ของหน่วยงาน **แผนการใช้จ่ายงบลงทุนต้องสอดคล้องกับแผนการจัดซื้อ/จ้าง**
การจ่ายเงินยืมทดรองจ่าย 1.การยืมเงินเพื่อการใดต้องไปจ่ายเพื่อการนั้น 2. ต้องจัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้ในระบบ KKUFMIS 2.1 จ่ายเงินยืม 2.2 รับคืนเงินยืม 3. เมื่อครบกำหนดต้องทวงถาม 4. เกินกำหนดต้องคิดค่าปรับตามประกาศ 7.5% ต่อปี นับจากวันที่เกินกำหนด ชำระคืน 5. อำนาจการขอขยายเวลาครบกำหนด เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับ ผู้มีอำนาจอนุมัติคือ อธิการบดี ขยายได้ 30 วัน เกินจากนั้นเสนอคณะกรรมการเงินรายได้พิจารณา 6. ต้องสรุปรายงานการเงินเรื่องลูกหนี้เงินยืม ทุกเดือนพร้อมจัดทำงบพิสูจน์ ยอดเงินฝากธนาคาร เสนอต่ออธิการบดีและสำเนาส่งตรวจสอบภายใน
การจัดหา มี 10 ขั้นตอน คือ 1.การเตรียมการจัดหาพัสดุ 2.การขอรับความเห็นชอบในการจัดหาพัสดุ 3.การให้ความเห็นชอบในการจัดหาพัสดุและแต่งตั้งคณะกรรมการ 4.การดำเนินการจัดหาพัสดุ 5.การขออนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้าง 6.การอนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้าง 7.การจัดทำสัญญา 8.การดำเนินการตามสัญญา 9.การตรวจรับพัสดุ 10.การดำเนินการเบิกจ่าย
ขั้นตอนการจัดหา 10.การดำเนินการเบิกจ่าย9. การตรวจรับพัสดุ8. การดำเนินการตามสัญญา7. การจัดทำสัญญา6. การอนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้าง5. การขออนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้าง4. การดำเนินการจัดหาพัสดุ 3. การให้ความเห็นชอบในการจัดหาพัสดุและ แต่งตั้งคณะกรรมการ 2. การขอรับความเห็นชอบในการจัดหา พัสดุ 1. การเตรียมการจัดหาพัสดุ
1.ศึกษากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเงิน 2.ตรวจสอบรายการรายจ่ายตามรายการที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือกระทรวงการคลัง อนุญาตให้จ่ายได้ หรือเป็นรายการที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังอนุญาตให้จ่ายได้ และผู้มีอำนาจได้ อนุมัติให้เบิกจ่ายในรายการนั้น ๆ แล้ว กรณีที่จะต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณ จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเสียก่อนตามนัยมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3.ประสานงานและตรวจสอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติการจัดสรรตามรายละเอียดประกอบพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพิ่มเติม 4.ตรวจสอบวงเงินเพื่อที่จะดำเนินการกำหนดวิธีการจัดหาพัสดุซึ่งได้รวมภาษีไว้ทุกประเภทแล้ว 5.ศึกษาราคากลาง ราคามาตรฐานของพัสดุ (ถ้ามี) 6.ศึกษากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการพัสดุ 7.การจัดหาพัสดุ แยกประเภทในการจัดหา ดังนี้ (1) การจัดหาพัสดุใหม่ เป็นการจัดหาพัสดุที่จำเป็นต้องจัดหาให้สำหรับหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่ หรือ หน่วยงานที่ยังไม่เคยได้รับหรือมีพัสดุดังกล่าวไว้ใช้ในการปฏิบัติงาน (2) การจัดหาพัสดุทดแทน เป็นการจัดหาพัสดุเพื่อการทดแทนพัสดุเดิมที่สิ้นเปลืองหมดไป ชำรุด หรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ พัสดุเดิมสูญหายถูกทำลาย (3) การจัดหาพัสดุสำรอง เป็นการจัดหาพัสดุเพื่อสำรองไว้เพื่อการทดแทนพัสดุที่ใช้อยู่ปัจจุบันไม่ให้ ขาดความต่อเนื่องของการใช้งาน
1. การเตรียมการจัดหาพัสดุ 8.ศึกษาและตรวจสอบรายชื่อผู้ทิ้งงานจากบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานที่ได้มีการแจ้งเวียนให้ส่วนราชการทราบ 9.ศึกษาตรวจสอบ วางแผนการจัดหาและแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง 10.ดำเนินการจัดหาพัสดุให้เป็นไปตามแผนการจัดหา แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้มีผลผูกพันกับ ส่วนราชการเมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างจากเงินทดรอง ราชการ 11.สำรวจความต้องการใช้พัสดุตลอดจนรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุของหน่วยงานที่ต้องการใช้พัสดุ นั้นจากการทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ที่กำหนดตามแผนงาน งานโครงการ ของหน่วยงานใช้ช่วง ระยะเวลาของหนึ่งปีงบประมาณ คือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป 12.แจ้งให้หน่วยงานผู้ต้องการใช้พัสดุเพื่อกำหนดความต้องการของรูปแบบรายการ รายละเอียดคุณลักษณะ ของพัสดุที่ต้องการจัดหา หรือการจัดทำขอบเขตรายละเอียดการดำเนินโครงการต่างๆ (TOR) 13.เมื่อได้รับแจ้งจากหน่วยงานที่ต้องการใช้พัสดุ ดำเนินการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับรูปแบบรายการ รายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุที่ต้องการจัดหา หรือการจัดทำขอบเขตรายละเอียดการดำเนินโครงการ ต่างๆ (TOR) หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน 14.จัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดหาพัสดุในแต่ละวิธี 15.จัดทำร่างรายงานขอรับความเห็นชอบในการดำเนินการจัดหาพัสดุ
2. การขอรับความเห็นชอบในการจัดหาพัสดุ 2.1 การจัดทำรายงานเพื่อขอความเห็นชอบ กรณีจัดซื้อจัดจ้างโดยทั่วไป ก่อนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเพื่อขอความเห็นชอบ เสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ โดยผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ตาม รายการดังต่อไปนี้ 1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง - เหตุผล ให้ระบุสาเหตุที่จะจัดซื้อหรือจ้าง เช่น พัสดุ ไม่มีใช้หรือไม่พอใช้หรือต้องบำรุงรักษา -ความจำเป็น ให้ระบุถึงความจำเป็นที่จะจัดซื้อจัดจ้าง เช่น (1) เพื่อให้หน่วยงานมีพัสดุสำหรับไว้ใช้ในราชการ (2) เพื่อการทดแทนพัสดุที่สิ้นเปลืองหมดไป ชำรุด หรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ พัสดุ เดิมสูญหาย ถูกทำลาย (3) เพื่อสำรองไว้เพื่อการทดแทนพัสดุที่ใช้อยู่ปัจจุบันไม่ให้ขาดวามต่อเนื่องของการใช้งาน 2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (1) การจัดซื้อ ให้ระบุรายการและจำนวนวัสดุ ครุภัณฑ์และคุณลักษณะของวัสดุ ครุภัณฑ์ที่ต้องการ จะซื้อ (2) การจัดจ้าง ให้ระบุรายการและจำนวนที่ต้องการจะจัดจ้างหรือรายการที่ต้องการจ้างเหมา เช่น ซ่อมครุภัณฑ์ จ้างเหมาบริการ จ้างก่อสร้างอาคาร เป็นต้น 3) ราคามาตรฐาน หรือราคากลางของทางราชการหรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ (1) การจัดซื้อวัสดุให้ระบุราคากลางของทางราชการหรือราคาที่เคยซื้อวัสดุครั้งหลังสุดภายใน ระยะเวลา 2 ปี (2) การจัดซื้อครุภัณฑ์ให้ระบุราคามาตรฐานของทางราชการหรือราคาที่เคยซื้อครุภัณฑ์ครั้งหลังสุด ภายในระยะเวลา 2 ปี (3) การจ้างก่อสร้างอาคาร ให้ระบุราคากลางที่คณะกรรมการราคากลางได้คิดคำนวณไว้
2. การขอรับความเห็นชอบในการจัดหาพัสดุ 4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างโดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น ทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น 5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ (1) การจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ให้กำหนดวันส่งมอบพัสดุภายใน..วัน เช่น ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันถัดจากวันลงนามในสัญญา เป็นต้น (2) การจัดจ้าง กำหนดวันส่งมอบงาน ภายใน..วัน เช่น ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันถัดจากวันลงนามในสัญญา เป็นต้น 6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่จะต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น 7) ข้อเสนออื่นๆ เช่น - การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง - การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคาและการเผยแพร่ประกาศ กรณีจัดซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอต่อหัวหน้า ส่วนราชการตามรายการดังต่อไปนี้ 1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ 2) รายละเอียดของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องการซื้อรวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ 3) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น 4) ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ 3 ราย 5) วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ที่จะซื้อในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มี วงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น 6) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น 7) ข้อเสนออื่นๆ เช่น - การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่จำเป็นในการซื้อ - การออกประกาศสอบราคา หรือประกาศประกวดราคา 2.2 เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ โดยผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ 2.3 หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุพิจารณาเสนอความเห็น
3. การให้ความเห็นชอบในการจัดหาพัสดุและแต่งตั้ง คณะกรรมการ ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ดังนี้ 3.1 พิจารณารายงานที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุนำเสนอ 3.2 หากไม่เห็นชอบตามรายงาน แจ้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการมาใหม่และส่งเรื่อง คืน 3.3 หากเห็นชอบตามรายงาน (1) ลงนามให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปได้ (2) ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
3. การให้ความเห็นชอบในการจัดหาพัสดุและแต่งตั้ง คณะกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้งพร้อมกับ กำหนดระยะเวลาสำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการด้วย โดยแยกเป็นดังนี้ 1 คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา 2 คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา 3 คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา 4 คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ 5 คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ 6 คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-auction) 7 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ 8 คณะกรรมการตรวจการจ้าง
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง การแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ จำแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้ 1.วิธีตกลงราคา แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างแล้วแต่กรณี แต่ถ้าการซื้อ หรือการจ้างครั้งหนึ่งมีวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งกรรมการเพียงคนเดียวก็ได้ หากวงเงิน 10,000 บาท ขึ้นไปให้แต่งตั้งกรรมการ 3 คน 2.วิธีสอบราคา แต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจ การจ้างแล้วแต่กรณี 3.วิธีประกวดราคา แต่งตั้งคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวด ราคา และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างแล้วแต่กรณี 4.วิธีพิเศษ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษหรือคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษและคณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างแล้วแต่กรณี 5.วิธีกรณีพิเศษ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างแล้วแต่กรณี 6.วิธี e-auction แต่งตั้งคณะกรรมการรางขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา คณะกรรมการ ประกวดราคาตามโครงการ..(ระบุชื่อตามความเหมาะสม)..และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ข้อควรพิจารณา ในการแต่งตั้งกรรมการควรแต่งตั้งกรรมการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างน้อย 1 คน วิธีตกลง ราคา วิธีสอบ ราคา วิธีประกวด ราคา วิธีพิเศษวิธีกรณี พิเศษ วิธี e-auction
องค์ประกอบของคณะกรรมการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดฉบับที่7ให้ องค์คณะประกอบด้วย ประธาน 1 คน กรรมการอย่างน้อย2 -4 คน แต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงาน ราชการพนักงานมหาวิทยาลัยหรือพนักงานของรัฐเว้นแต่คณะกรรมการดำเนินการโดยวิธีการประมูลด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ องค์คณะประกอบด้วย ประธาน 1 คน กรรมการอื่นอย่างน้อย 3-5คนตั้งจาก ข้าราชการหรือพนักงานก็ได้แต่ต้องตั้งผู้มิได้เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ 1 คนด้วย ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่พัสดุเป็นผู้ช่วยเลขานุการ การซื้อหรือการจ้างวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น ข้าราชการระดับ 3 (เดิม) หรือลูกจ้างประจำ แต่จะต้องมิใช่ผู้ซื้อหรือจัดจ้างเพียงคนเดียวทำหน้าที่ตรวจ รับพัสดุหรืองานจ้างนั้นได้โดยไม่ต้องแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ ข้อควรพิจารณา การแต่งตั้งเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ การแต่งตั้งเป็นครั้งๆ และไม่มีรูปแบบ ข้อห้าม ห้ามแต่งตั้งคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ห้ามแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือกรรมการพิจารณาผลประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจ รับพัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุจึงดำเนินการ ตามวิธีการซื้อหรือการจ้างนั้นต่อไปได้
4. การดำเนินการจัดหาพัสดุ การดำเนินการจัดหาพัสดุ เป็นขั้นตอนที่สี่ของการดำเนินการจัดหาพัสดุซึ่งมีขั้นตอนและ วิธีการดำเนินการ ดังนี้ 4.1 หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในหนังสือถึงผู้ขายหรือผู้จ้าง(ถ้ามี) แล้วแต่กรณี 4.2 ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เสนอราคาพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 4.3 เจ้าหน้าที่พัสดุที่ได้รับมอบหมาย พิจารณาดำเนินการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตาม ระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และทำการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตรงตามเงื่อนไข ประกาศของส่วนราชการซึ่งเสนอราคาที่เหมาะสมยอมรับได้ให้จัดทำรายงานเสนอ ความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการโดยผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
5. การขออนุมัติการสั่งซื้อสั่ง จ้าง การขออนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้างเป็นขั้นตอนที่ห้าของการดำเนินการจัดหาพัสดุ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ เจ้าหน้าที่พัสดุได้ดำเนินการตามกระบวนการจัดหาพัสดุตามวิธีการที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ ให้ความเห็นชอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ ดังนี้ 5.1 เจ้าหน้าที่พัสดุที่ได้รับมอบหมายตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ จัดทำรายงานเสนอความเห็นต่อหัวหน้า สวนราชการโดยผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ 5.2 หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุพิจารณาเสนอความเห็น 5.3 นำรายงานผลการดำเนินการจัดหาพัสดุเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
6. การอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง 6.1 ผู้มีอำนาจพิจารณารายงานผลการดำเนินการจัดหาพัสดุ ที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุให้ ความเห็นตามกระบวนการจัดหา หากเห็นชอบตามรายงาน วงเงินอยู่ในอำนาจหัวหน้าส่วนราชการ เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาอนุมัติ หากวงเงินเกินอำนาจหัวหน้าส่วนราชการ ให้นำเสนอปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณา อนุมัติ หากวงเงินเกิดอำนาจปลัดกระทรวงให้นำเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ อำนาจการสั่งซื้อสั่งจ้าง การสั่งซื้อสั่งจ้างครั้งหนึ่งเป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินดังต่อไปนี้ การดำเนินการโดยวิธีหัวหน้าส่วนราชการปลัดกระทรวงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 1.ตกลงราคา/สอบราคา/ ประกวดราคา ไม่เกิน 50 ล้านบาท เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่ เกิน 100 ล้านบาท เกิน 100 ล้านบาท 2. พิเศษไม่เกิน 25 ล้านบาท เกิน 25 ล้านบาท แต่ไม่ เกิน 50 ล้านบาท เกิน 50 ล้านบาท 3. กรณีพิเศษไม่จำกัดวงเงิน E-auctionไม่เกิน 50 ล้านบาท เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่ เกิน 100 ล้านบาท เกิน 100 ล้านบาท 5. จ้างออกแบบและ ควบคุมงาน ไม่เกิน 10 ล้านบาทเกิน 10 ล้านบาท
7. การทำสัญญา ( หัวหน้าส่วนราชการ ) 7.1 การตรวจสอบสัญญา เมื่อส่วนราชการได้ดำเนินการจัดหาพัสดุตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะลงนามในสัญญาเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบจะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ประกอบกับสัญญา ตลอดจนรูปแบบของสัญญาให้ ถูกต้อง ดังนี้ รูปแบบของสัญญาส่วนราชการต้องทำสัญญา ดังนี้ (1) ตามตัวอย่าง กวพ. กำหนด หรือ (2) ตามที่ได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือ (3) ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การทำข้อตกลง ในการจัดหาของส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการอาจใช้ดุลพินิจทำข้อผูกพัน กับผู้ซื้อหรือผู้รับจ้าง โดยทำข้อตกลงเป็นหนังสือก็ได้คือ (1) การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคา (2) การจัดหาที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายใน 5 วันทำการของทางราชการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (3) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ (4) การซื้อโดยวิธีพิเศษ สำหรับ (4.1) การซื้อพัสดุที่ขายทอดตลาด จากส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (4.2) การจัดซื้อพัสดุที่ต้องชื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ (4.3) การจัดซื้อพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ (4.4) การซื้อพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อ ประโยชน์ของส่วนราชการ และจำเป็นต้องซื้อเพิ่มเติม (Repeat Order)
7. การทำสัญญา ( หัวหน้าส่วนราชการ ) (5) การจ้างโดยวิธีพิเศษ สำหรับ (5.1) งานที่ต้องจ้างช่างผู้มีผีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ (5.2) งานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อนจึงจะ ประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น (5.3) งานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ (5.4) งานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของทางราชการ (6) การเช่าที่ต้องจ่ายเฉพาะค่าเช่าและผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า การจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน 10,000 บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ใน กรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน จะไม่ทำ ข้อตกลงเป็นหนังสือก็ได้ 7.2 การลงนามในสัญญาเป็นอำนาจของบุคคลดังต่อไปนี้ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากหัวหน้าส่วนราชการ สัญญาหรือข้อตกลงเมื่อส่วนราชการได้มีการลงนามในสัญญาแล้วจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการมิได้
8. การดำเนินการตามสัญญา 8.1 สัญญาหรือข้อตกลงเมื่อส่งส่วนราชการได้มีการลงนามในสัญญาแล้วจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการมิได้ 8.2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้มีการลงนามแล้ว จะกระทำได้แต่เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ มีความจำเป็น โดยไม่ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ กรณีต้องเพิ่มวงเงิน และทำให้วงเงินสูงเกินกว่าอำนาจสั่งการของหัวหน้าส่วนราชการจะต้อง ได้รับการอนุมัติจากปลัดกระทรวง และต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือขอทำความตกลงใน ส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือแล้วแต่กรณี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงที่ต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่ม หรือลดระยะเวลา การส่งมอบของ หรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงหรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง จะต้องได้รับการ รับรองจากวิศวกร สถาปนิก และวิศวกรผู้ชำนาญการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณ ลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้างหรืองานพิเศษเฉพาะอย่าง 8.3 การงด หรือลดค่าปรับ หรือขยายเวลา สัญญาหรือข้อตกลงเมื่อส่วนราชการได้มีการลงนามในสัญญาแล้วจะงด หรือ ลดค่าปรับ หรือขยายเวลาให้พิจารณาตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ เหตุสุดวิสัย เหตุเกิดจากพฤติกรรมอันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย อำนาจการพิจารณาเป็นของหัวหน้าส่วนราชการ แต่ถ้าเกินวงเงินในการสั่งการต้องเสนอปลัดกระทรวง ต้องระบุเงื่อนไข ให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุตาม ไว้ในสัญญาด้วยว่าต้องแจ้งให้ส่วนราชการ ทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นสิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองด ค่าปรับในภายหลังมิได้ เว้นแต่เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการเอง
8. การดำเนินการตามสัญญา 8.4 การบอกเลิกสัญญา สัญญาหรือข้อตกลงเมื่อส่วนราชการได้มีการลงนามในสัญญาแล้วการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงใด ที่ส่วนราชการลงนามแล้วจะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงนั้นไม่ได้เว้นแต่กรณี ดังนี้ มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป ที่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการโดยตรง คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้และมีการปรับ หากจำนวนค่าปรับเกินร้อย ละสิบของวงเงินค่าพัสดุ หรือค่าจ้าง เว้นแต่คู่สัญญายินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไข หัวหน้า ส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนได้เท่าที่จำเป็น 8.5 ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน 8.6 ติดตามผลการดำเนินงานให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลง 8.7 ติดตามการควบคุมงานจ้างให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ 8.8 กรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบพัสดุได้ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง ให้แจ้ง การเรียกค่าปรับ เมื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุ ให้มีการแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับด้วย 8.9 การคิดคำนวณค่าปรับให้ถือปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง 8.10 การพิจารณางด หรือลดค่าปรับ หรือขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ ระเบียบพัสดุกำหนด 8.11 กรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบสิ่งของหรือทำงานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่ กำหนดได้เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงได้ 8.12 เมื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุเรียบร้อยแล้วให้ติดตามการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง เช่น การประกันความชำรุดข้อบกพร่อง การบริการหลังการขาย เป็นต้น 8.13 ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างต่อเจ้าหน้าที่พัสดุ และเจ้าหน้าที่พัสดุแจ้งให้ผู้ตรวจรับหรือ คณะกรรมการเพื่อดำเนินการต่อไป
9. การตรวจรับพัสดุ 9.1 เจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตรวจรับพัสดุตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ มีหน้าที่ตรวจรับพัสดุให้ ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือข้อตกลง สำหรับกรณีที่มีการทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์จะเชิญผู้ชำนาญการหรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาหรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญหรือ ผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ 9.2 ต้องตรวจรับในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและตรวจพัสดุให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว 9.3 สถานที่ตรวจรับคณะกรรมการจะต้องตรวจรับ ณ สถานที่ ดังนี้ (1) ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ (2) สถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา (3) สถานที่อื่นที่ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ 9.4 ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุ เมื่อตรวจพัสดุแล้วปรากฏว่า (1) ถูกต้องครบถ้วน ให้รับพัสดุไว้ แล้วมอบพัสดุที่ตรวจรับให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ (2) ถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวนหรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้องและให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งได้มอบพัสดุ ถูกต้อง ครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบพัสดุที่ตรวจรับให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ (3) พัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือเป็นหน่วยถ้าปรากฏว่าผู้ขายส่งมอบสิ่งของไม่ครบ โดยขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถใช้สิ่งของนั้นได้โดยสมบูรณ์ถือว่าผู้ขายยังไม่ได้ส่งมอบสิ่งของ และกรรมการต้องรายงานความบกพร่อง ต่อผู้ซื้อ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ (4) พัสดุที่ส่งมอบถูกต้องไม่ครบจำนวนหรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือวัสดุที่ประกอบกันเป็น ชุดหรือเป็นหน่วย ซึ่งผู้ขายส่งมอบสิ่งของไม่ครบ โดยขาดส่วนหนึ่งไป ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถใช้สิ่งของนั้นได้โดยสมบูรณ์ โดย ปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ไม่ตัด สิทธิของส่วนราชการที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
9. การตรวจรับพัสดุ 9.5 ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ ให้ความเห็นแย้งและให้รายงานให้ หัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้จึงทำใบ ตรวจรับและส่งมอบพัสดุให้เจ้าหน้าที่พัสดุ 9.6 จัดทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้ รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการ เบิกจ่ายเงินจากคลัง 9.7 ส่งมอบพัสดุแก่เจ้าหน้าที่พัสดุ 9.8 รายงานให้ส่วนราชการทราบ
9. การตรวจรับพัสดุ การตรวจการจ้างและควบคุมงานก่อสร้าง 1 เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง 2 ถ้ากรรมการบางคนไม่ยอมรับงานให้ทำความเห็นแย้ง 3 ผู้ควบคุมงานต้องทำบันทึกการปฏิบัติของผู้รับจ้างเพื่อรายงานให้คณะกรรมการ ตรวจการจ้าง 4 การตรวจรับงานแต่ละงวด ตามนัยสัญญาเป็นเพียงเพื่อที่จะออกใบตรวจรับงานจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำมาขอเบิกจากทางราชการเท่านั้น มิใช่เป็นการตรวจรับงานจ้างในงวด นั้นไว้ใช้ในราชการ (หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ สร 1001/ว 28 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2525) 5 ต้องรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ หรือสั่งการ
9. การตรวจรับพัสดุ ข้อสังเกต 1.ในการรับมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญา ถ้าปรากฏว่าผู้จ้าง หรือผู้ขายผิดนัด และจะต้อง ถูกปรับตามสัญญา ส่วนราชการคู่สัญญาจะต้องบอกสงวนสิทธิเรียกค่าปรับไว้เป็นลาย ลักษณ์อักษรในขณะรับมอบพัสดุ 2.ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างผิดสัญญา และจะต้องถูกปรับ แต่ยังมีข้อโต้แย้งหรือมีเหตุที่จะ ขอต่ออายุสัญญา หรือขอลดเงินค่าปรับและเรื่องกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ เจ้าหน้าที่ให้ส่วนราชการผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างดำเนินการขอเบิกจ่ายเงินในส่วนที่ไม่มีปัญหา ให้แก่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างไปก่อนได้ เมื่อได้ข้อวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการปรับหรืองดปรับ แล้ว ก็ให้เบิกจ่ายเงินเพิ่มเติมต่อไป
10.การดำเนินการเบิกจ่ายเงิน จากการดำเนินการตรวจรับพัสดุตามสัญญาครบถูกต้องครบถ้วนตามแบบรูปรายการตามเงื่อนไข ที่ส่วนราชการกำหนดมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ ดังนี้ 1.เจ้าหน้าที่พัสดุต้องดำเนินการรวบรวมหลักฐานอันเป็นเอกสารแห่งหนี้ที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการจัดหาพัสดุ 2.ส่งให้แก่กองคลังเพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้สิทธิรับเงินต่อไป
ข้อควรระวัง 1.ต้องจัดทำแผนการจัดซื้อ/จ้าง ให้สอดคล้องแผนใช้เงินและรายงานผลการจัดซื้อ/จ้างราย ไตรมาส ส่งสำนักงานตรวจสอบภายใน 2.การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง 3.การส่งเอกสารประกาศสอบราคา/ประกวดราคาเพื่อเผยแพร่ทางสื่อและ ส.ต.ง. 4.การซื้อ/จ้าง วิธี E-Auction ต้องเผยแพร่ทาง web site เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียให้ ข้อเสนอแนะได้ 5.การตั้งคณะกรรมการตรวจรับ/ตรวจการจ้าง ต้องตั้งผู้มีความรู้ในด้านนั้นๆ อย่างน้อย 1 คน 6.ห้ามตั้งคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวด ราคา 7.ห้ามตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ 8.การตรวจสอบหลักประกันสัญญา กับสถาบันการเงินที่ออกหนังสือค้ำประกัน 9.ถ้ามีค่าปรับต้องมีหนังสือแจ้งคู่ค้าบอกสงวนสิทธ์การเรียกค่าปับเป็นลายลักษณ์อักษร ในขณะรับมอบพัสดุ 10.การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา/ขยายเวลา ต้องมีข้อเสนอจากกรรมการตรวจรับ/ตรวจการ จ้าง/ผู้ควบคุมงาน/วิศวกร 11.การควบคุมพัสดุ-การรายงานพัสดุคงเหลือประจำปีภายใน 30 วัน นับจากสิ้นงบประมาณ ส่ง ส.ต.ง.
ยานพาหนะ 1.ต้องมีบัตรเติมน้ำมันรายคันและต้องจัดทำทะเบียนคุมการเติมน้ำมัน โดยระบุเลขไมล์ที่เติม จำนวนลิตร/เงิน 2.มีแผนการบำรุงรักษาตามคู่มือจดทะเบียนรถ และดำเนินการตามแผนเพื่อความปลอดภัย ของผู้ใช้บริการ 3.การต่อทะเบียนรถตามกำหนดเวลา 4.มอบหมายพนักงานขับรถตรวจสอบรถประจำวันตามระเบียบกำหนดและผู้ควบคุมรถต้องลง นามตรวจสอบ 5.มอบหมายผู้มีอำนาจอนุมัติการใช้รถให้ชัดเจน 6.จัดทำประวัติการซ่อมรายคันโดยลงรายละเอียดให้ครบถ้วน 7.กรณีผู้บริหารเบิกค่ารถเหมาจ่ายรายเดือน จะใช้รถราชการหรือคนขับรถราชการไม่ได้ 8.หากมีรถไม่ใช้ (ชำรุด) ให้แจ้งการไม่ใช้งานต่อกรมการขนส่งเพื่อป้องกันปัญหาในการต่อ ทะเบียนรถและการจำหน่าย