งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

1 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กับสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานอาวุโสมูลนิธิสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "1 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กับสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานอาวุโสมูลนิธิสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กับสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานอาวุโสมูลนิธิสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย และราชบัณฑิตแห่งบริเทนใหญ่ charmonman@gmail.com www.charm.SiamTechU.net เอกสารประกอบการประชุมเชิงสัมมนา เรื่อง “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาประเทศ” จัดโดยคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาแห่งแห่งราชบัณฑิตยสถาน และ สภาวิจัยแห่งชาติ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 -16.30 น.

2 พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช อธิการบดี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม นายกสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติ สาขาประเทศไทย นายกสมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม สาขาประเทศไทย นายกสมาคมคอมพิวเตอร์ไอทริปเปิลอี สาขาประเทศไทย pornphisud@gmail.com www.SiamTechU.net 2

3 ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ เจ้าของบริษัท โซเซียลแลป จำกัด อุปนายกสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยฯ อุปนายกสมาคมอินเทอร์เน็ต พิธีกร ผู้สื่อข่าว ผู้เขียน ผู้จัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ด้านไอที chatpacee@yahoo.com www.ceemeagain.com 3

4 สารบัญ 1. บทนำ 2. ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ 3. ไอซีทีในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศ 4. ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร 5. ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข 6. ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา 7. ไอซีทีในการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ 8. สรุป 4

5 1. บทนำ  จากวิกิพีเดีย "ไอที (IT)" หรือ "เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)" คือ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมเพื่อเก็บรักษา เรียกหา ส่งต่อ และประมวลผลข้อมูล ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าไอทีเกี่ยวข้องกับ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อินเทอร์เน็ต โทรคมนาคม ฯลฯ 5

6 บทนำ (ต่อ)  จากวิกิพีเดีย "ไอซีที (ICT)" หรือ "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology)" คือ คำพ้อง (Synonym) ของไอที หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า ไอที คือ คำย่อ ของ "ไอซีที" อนึ่ง "ไอที" และ "ไอซีที" ยังมีคำพ้องอีกคำหนึ่งคือ "อินโฟคอมมิวนิเคชั่นส์ (Infocommunications)" หรือ เรียกสั้นๆ ว่า "อินโฟคอมส์" 6

7 บทนำ (ต่อ)  ตัวอย่างสำคัญที่สุดของไอซีทีคือ "อินเทอร์เน็ต (Internet)" ซึ่งในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเรียกหลักการนี้ว่า "อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่งทุกอย่าง (Internet of Things)" หรือ "ไอโอที (IoT)" ซึ่งคาดกันว่าถึง พ.ศ. 2563 จะมีสิ่งต่างๆ เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตประมาน 26,000 ล้านจุด 7

8 บทนำ (ต่อ)  ถึง พ.ศ. 2557 ไม่มีงานใดที่ไม่มีการใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ และสื่อสังคมออนไลน์ 8

9 9  มีผลสำรวจจาก "วารสารเครื่องมือค้นหา (Search Engine Journal)" ระบุว่าเมื่อพฤษภาคม 2553 นั้น อัตราการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์แบ่งตามกลุ่มอายุ บทนำ (ต่อ)

10 10  กลุ่มที่ 1 อายุ 18-29 ใช้สื่อสังคมออนไลน์ * ร้อยละ 86 กลุ่มที่ 2 อายุ 30-49 ปี ใช้สื่อสังคมออนไลน์ * ร้อยละ 61 กลุ่มที่ 3 อายุ 50-64 ปี ใช้สื่อสังคมออนไลน์ * ร้อยละ 47 และ กลุ่มที่ 4 อายุ 65 ปีขึ้นไป * ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 26 บทนำ (ต่อ)

11  ส่วนจำนวนผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อเดือนนั้น ขอเสนอ 6 อันดับแรก นั่นคือ : - อันดับที่ 1 คือ เฟสบุ๊ค (Facebook) ซึ่งมีผู้ใช้ 1,150 ล้านคน - อันดับที่ 2 คือ กูเกิ้ล (Google) ซึ่งมีผู้ใช้ 359 ล้านคน - อันดับที่ 3 คือ ทวิตเตอร์ (Twetter) ซึ่งมีผู้ใช้ 215 ล้านคน 11

12 12 บทนำ (ต่อ) - อันดับที่ 4 คือ อินสตาแกรม (Instagram) ซึ่งมีผู้ใช้ 150 ล้านคน - อันดับที่ 5 คือ พินเทอเรสต์ (Pinterest) ซึ่งมีผู้ใช้ 20 ล้านคน - อันดับที่ 6 คือ เรดดิต (Reddit) ซึ่งมีผู้ใช้ 2 ล้านคน

13 บทนำ (ต่อ)  สำหรับประเทศไทย ขอเสนอตัวเลขที่น่าสนใจ เมื่อ มกราคม 2557 รวม 4 ประการ - ประการที่ 1 คือ ประชากรมี 67,448120 คน * อยู่ในเมือง ร้อยละ 34 * อยู่ในชนบท ร้อยละ 66 13

14 14 - ประการที่ 2 ทั้งประเทศมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 17,779,139 คน คิดเป็นร้อยละ 26 ของประชากรทั้งประเทศ - ประการที่ 3 มีผู้ใช้เฟสบุ๊ค ประมาณ 24 ล้านบัญชี คิดเป็น ร้อยละ 36 ของประชากรทั้งประเทศ - ประการที่ 4 ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 84,075,036 หมายเลข คิดเป็นร้อยละ 125 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นคือ โดยเฉลี่ยแล้วมีโทรศัพท์มือถือคนละ 1.25 หมายเลข บทนำ (ต่อ)

15 15  ถึง พ.ศ. 2557 ปัญหาส่วนมากไม่สามารถแก้ไขได้ โดยการใช้ความรู้ความสามารถ ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยเฉพาะได้  จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถ ในหลายสาขาวิชาร่วมกัน นั่นคือ จะต้องใช้ "สหวิทยาการ (Interdisciplinarity)" บทนำ (ต่อ)

16 16  แต่ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ทุกด้านจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ต หรือ ไอซีที จึงอาจจะกล่าวได้ว่า  การวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน จะต้องใช้ไอซีทีช่วย บทนำ (ต่อ)

17 17  บทความนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างการใช้ไอซีทีในการพัฒนา สหวิทยาการ : - การใช้ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ - การใช้ไอซีทีในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศ - การใช้ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร - การใช้ไอซีทีในบริการสาธารณสุข - การใช้ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา - การใช้ไอซีทีในการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ บทนำ (ต่อ)

18 2. ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ  จากบทความต่างๆ ใน "กองทัพติดอาวุธด้านไอซีที (Defence Forces Armed with ICT)" มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ไอซีทีในกองทัพมากมาย 18

19 19  ตัวอย่างที่ 1 คือ กองทัพอากาศอินเดียใช้ เครื่องบินเล็กไม่มีนักบิน (Drone) จากอิสราเอลกว่า 100 เครื่อง ในการบินเฝ้าระวังชายแดน  มีนายทหารควบคุมเครื่องบินห่างออกไป เป็นร้อยเป็นพันกิโลเมตร โดยใช้ระบบไอซีทีควบคุมด้วยเมาส์ หรือ คันโยก ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ (ต่อ)

20  ตัวอย่างที่ 2 สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ใช้เครื่องบิน ที่ไม่มีนักบิน หรือ "ยูซีเอวี (UCAV = Unmanned Combat Air Vehicle)“ เป็นจำนวนมาก 20 ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ (ต่อ)

21 21 ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ (ต่อ)  โดยมีรายงานต่อรัฐสภาอเมริกัน ว่าร้อยละ 31 ของเครื่องบินรบในสหรัฐ เป็น ยูซีเอวี * นอกจากนั้นที่ฐานทัพอากาศไรท์ แพตเตอร์สัน (Wright Patterson Air Force Base) ก็มีการพัฒนาเครื่องบินไร้นักบิน ขนาดเท่าแมลงใช้หาข่าวกรอง และยิงจรวดนำวิถีได้

22 22  อีกด้านหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนากองทัพสมัยใหม่ คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านสงครามไซเบอร์โดย - ประเทศจีนมีนักรบไซเบอร์กว่า 200,000 คน - สหรัฐมีนักรบไซเบอร์กว่า 6,000 คน ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ (ต่อ)

23 23 ไอซีทีในการพัฒนากองทัพ (ต่อ)  ประเทศไทยมีสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งมีนายทหารสนใจด้านสงครามไซเบอร์  อาวุธสงครามไซเบอร์ก็คือ ซอฟต์แวร์

24 3. ไอซีทีในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศ 24  ถึง พ.ศ. 2557 ทุกประเทศล้วนต้องใช้ไอซีที ในการพยากรณ์อากาศ ตัวอย่างเช่น : สหรัฐอเมริกา มี "สำนักงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติ (National Weather Service Forecast Office)"

25 25 ไอซีทีในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศ (ต่อ) - สำนักงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติอยู่ใน "องค์กรมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration)" หรือ เรียกย่อว่า "เอ็นโอเอเอ (NOAA)" ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไอซีทีมากมาย

26 26 ไอซีทีในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศ (ต่อ)  ตัวอย่างแรกที่ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ไอซีที ในการพยากรณ์อากาศคือ "ดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศ (Weather Satellite)" ซึ่งใช้ไอซีทีทั้งนั้น

27 27  ตัวอย่างที่สองคือเครื่องจักรอุปกรณ์ไอซีที ในการพยากรณ์อากาศที่เรียกว่า ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) ซึ่งต้องใช้ในสถานีพยากรณ์อากาศ ไอซีทีในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศ (ต่อ)

28 28 ไอซีทีในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศ (ต่อ)  การพยากรณ์อากาศที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถทำได้เลย ถ้าไม่มีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อย่างเครย์ซึ่ง - สามารถรองรับข้อมูลมากมายมหาศาล - มีความเร็วในการประมวลผลสูงมากๆ มีซอฟต์แวร์ต่างๆ

29 29 4. ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร  ในการเป็นวิทยากรบรรยายโครงการเสริมสร้างยุคใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2533 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เขียนอาวุโสได้กล่าวถึงการใช้คอมพิวเตอร์ ในการพัฒนาเกษตรถึง พ.ศ. 2557

30 30 ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)  ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2533 คงจะเก่าไปแล้ว จึงค้นกูเกิลใหม่และขอใช้ข้อมูลใหม่จากวิกีพีเดีย ซึ่งระบุว่าการใช้ไอซีทีในการเกษตร อาจจะเรียกว่า "อีอะกริคัลเจอร์ (eAgriculture)"

31 31 ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)  ตัวอย่างที่ 1 ในอีอะกริคัลเจอร์ คือ "สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของสำนักงานต่างๆ ด้านเกษตร

32 32 ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)  ตัวอย่างที่ 2 คือ "ระบบอัตโนมัติด้านเกษตร (Agricultural Automation System)" อาทิ ระบบ "รีดนมอัตโนมัติ (Automatic Milking)" ซึ่งใช้เครื่องมืออัตโนมัติรีดนมวัวโดยไม่ต้องรีดด้วยมือ

33 33 ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)  ตัวอย่างที่ 3 มาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งใช้หลักการระบุคนหรือวัตถุโดยอัตโนมัติ ด้วยรหัสแท่งผ่านคลื่นวิทยุ "อาร์เอฟไอดี (RFID = Radio Frequency Identification)" ติดตามวัวประมาณ 8 หมื่นตัว ว่าอยู่ที่ใด ใครเป็นเจ้าของ เพศอะไร เคลื่อนย้ายจากที่ใดไปที่ใด เป็นต้น

34 34  การนำเทคโนโลยี 4G มาช่วยพัฒนาด้านเกษตรกรรมของประเทศ เป็นอีกมุมมองหนึ่งซึ่งยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก  ปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาแอพลิเคชั่นที่เป็นประโยชน์ ด้านการเกษตรบนโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ออกมาหลากหลาย แต่จากสถิติพบว่ามีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นกลุ่มเกษตรกรจำนวนน้อยมาก ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)

35 35 ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)  ตัวอย่างแอพลิเคชันด้านการเกษตรของประเทศไทย อาทิ - แอพลิเคชันฝนหลวง - แอพลิเคชันฟาร์เมอร์อินโฟ (Farmer Info) - แอพลิเคชันฟาร์ใบข้าว - แอพลิเคชันฟาร์คลอรีน

36 36 ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)  ส่วนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการใช้แอพลิเคชันด้านการเกษตร เป็นผู้ช่วยในการจัดการฟาร์มเกษตรอย่างแพร่หลาย  สามารถช่วยลดต้นทุนได้อย่างมาก เช่น จากเดิมเกษตรกรต้องลงทุนซื้อเครื่องจีพีเอส (GPS = Global Positioning System) ช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่ฟาร์มเกษตร

37 37  ปัจจุบันเกษตรกรสามารถดาว์นโหลดแอพลิชัน GPS รวมถึงแอพลิชั่นในการบริหารจัดการฟาร์มอื่นๆ เช่น : - การควบคุมน้ำ ปุ๋ย อุณหภูมิ - การสำรวจราคาตลาดสินค้าเกษตร ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร (ต่อ)

38 5. ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข 38  การใช้ไอซีทีในด้านสาธารณสุข อาจจะเรียกว่า "อีเฮลธ์ (eHealth)" ซึ่งมีข้อมูลมากมายในวีกิพีเดีย  ตัวอย่างที่ 1 คือ "การสั่งยาโดย ใช้ไอซีที (ePrescribing)" อาทิ : - สั่งเครื่องพิมพ์ให้พิมพ์ใบสั่งยาให้คนไข้ไปซื้อยาจากร้านขายยา - สั่งยาผ่านอินเทอร์เน็ตไปที่ร้านขายยา โดยตรง เป็นต้น

39 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 39  ถ้าร้านขายยามีประวัติคนไข้ ก็อาจจะใช้ไอซีทีให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ ว่าแพ้ยาอะไร แล้วควรใช้ยาอื่นใดทดแทน คนไข้กำลังรับประทานยาอะไรอยู่ขณะนั้น

40 40 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ)  แล้วยาที่สั่งใหม่จะมีปฏิกิริยาที่ไม่เหมาะสมกับยา ที่รับประทานอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นฐานข้อมูล ว่าการสั่งยาครั้งนี้ควรจะใช้ยาตัวใดแทน

41 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 41  ตัวอย่างที่ 2 คือ "ระบบแพทย์ทางไกล (TeleMedicine)" การตรวจรักษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต คนไข้ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลใหญ่ ที่มีหมอใหญ่ผู้เชียวชาญอยู่ แต่คนไข้สามารถตรวจด้วยตนเองจากบ้าน โดยผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ให้หมอใหญ่ได้เห็น

42 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 42  ตัวอย่างการให้คนไข้ตรวจเอง เช่น คนไข้ใช้นิ้วมือกดตรงไหน แล้วเจ็บหรือไม่อย่างไร

43 43 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ)  คนไข้อาจจะไปยังคลินิกเล็กๆ ใกล้บ้าน แล้วให้หมอทั่วไปที่อยู่ในคลินิกเล็กๆ ช่วยตรวจโดยผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ให้หมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลใหญ่ เป็นผู้สั่งหมอที่คลินิกให้ตรวจแบบไหน อย่างไร และรายงานให้หมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญที่โรงบาลใหญ่ทราบ และวินิจฉัยสั่งยาหรือสั่งให้รักษาต่ออย่างไร

44 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 44  ระบบแพทย์ทางไกลเป็นหนึ่งในการนำเทคโนโลยีของสี่จี มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือในพื้นที่ที่ยากต่อการเดินทางเข้าถึง

45 45 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ)  ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ผู้ป่วยสามารถรับการรักษา จากแพทย์ที่ประจำอยู่ในตัวเมืองใหญ่ได้ทันที ผ่านทางระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมีพยาบาล และแพทย์ประจำท้องถิ่นเป็นผู้ประสานงาน

46 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 46  ขณะที่ในประเทศไทยเริ่มมีการใช้โครงข่ายสามจี ในการทำงานระบบแพทย์ทางไกล โดยมีโครงการสาธิตที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

47 47 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ)  ร่วมกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และบริษัทต่างๆ เป็นต้น ทำให้โครงการนำร่องโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสามจี ในการรักษาทางไกลเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

48 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 48  ในการทำระบบแพทย์ทางไกลในอนาคต คาดว่าการดูแลผู้ป่วยจะมีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น โดยที่คนไข้ไม่จำเป็นต้องรอแพทย์เป็นเวลานานๆ เพียงแค่อาศัยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น หุ่นยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณสีจี ไว้ให้แพทย์สามารถบังคับจากระยะไกลได้จากทุกมุมโลก

49 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 49  ในห้องผู้ป่วยมีเพียงพยาบาลที่คอยดูแล และแจ้งอาการต่างๆ ไปจนถึงรับคำแนะนำจากแพทย์ ผ่านทางหน้าจอมอนิเตอร์ที่ติดตั้งไว้บนหุ่นยนต์ตัวนั้นๆ

50 50 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ)  สามารถส่งข้อมูลอาการป่วยของผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ที่ใหญ่กว่า และมีอุปกรณ์พร้อมกว่า เพื่อขอรับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ ในโรงพยาบาลใหญ่นั้น โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแต่อย่างใด

51 ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข (ต่อ) 51  ตัวอย่างที่ 3 "สาธารณสุขทางมือถือ (mHealth)“ คือ แทนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ ก็ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อสื่อสาร ผ่านอินเทอร์เน็ต

52 6. ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา 52  มีบทความเกี่ยวกับการใช้ไอซีทีเกี่ยวกับการศึกษามากมาย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษา มีความสำคัญอย่างมากสำหรับเด็กและเยาวชน (กลุ่มอายุ 6-24 ปี)

53 ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา (ต่อ) 53  จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กและเยาวชน ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนและหาความรู้มากถึงร้อยละ 87.5 โดยที่เด็กและเยาวชนมีการใช้คอมพิวเตอร์ลดลง แต่หันมาให้ความสนใจกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นมาก

54 ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา (ต่อ) 54  จากผลการสำรวจ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบอีกว่าคนวัยทำงานและวัยสูงอายุ ก็ให้ความสำคัญกับการเรียนและค้นคว้าหาความรู้ เช่นเดียวกับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน

55 55 ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา (ต่อ)  โดยร้อยละ 83.1 ของคนวัยทำงาน มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน และหาความรู้ - ผู้สูงอายุ ก็ให้ความสนใจกับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนและหาความรู้มากถึงร้อยละ 72.7

56 ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา (ต่อ) 56  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผ่านเทคโนโลยีสี่จี ที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาเยาวชน และประชาชนทั่วไป อาทิ : - การเรียนการสอนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งประหยัดค่าเดินทาง และค่ารับประทานอาหารนอกบ้าน

57 ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา (ต่อ) 57 - การเรียนรู้ผ่านวิดีโอคลิป - การเข้าถึงแหล่งความรู้อย่างเท่าเทียม - การเรียนรู้ผ่านศูนย์การเรียนรู้ และเว็บไซต์ต่างๆมากมาย - การเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

58 7. ไอซีทีในการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ 58  ตัวอย่างการทำธุรกรรมออนไลน์ ที่ท่านทั้งหลายคงจะเคยชิน คือ การใช้เครื่องเอทีเอ็ม ในบริการธนาคาร เช่น - การฝากถอนโอนเงินชำระค่าบริการต่างๆ - การซื้อขายและชำระค่าบริการของสินค้า

59 ไอซีทีในการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ (ต่อ) 59  ตัวอย่างธุรกรรมออนไลน์อื่นๆ : - การบริการเลือกภาพยนตร์ รอบเวลาฉายสำรองที่นั่ง - การสั่งขนมและเครื่องดื่ม - การชำระค่าบริการ - การสำรองที่นั่งสำหรับร้านอาหาร - การสั่งรายการอาหาร - การชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือแบบตามเวลาจริง (Real time)

60 8. สรุป 60  ถึง พ.ศ. 2557 สามารถใช้ไอซีทีช่วยได้ในทุกงาน ส่วนปัญหาทั้งหลายก็มักไม่สามารถแก้ได้ โดยใช้ความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น  จึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญในหลายๆ สาขาร่วมกันแบบที่เรียกว่า สหวิทยาการ

61 สรุป (ต่อ) 61  จึงอาจจะกล่าวได้ว่า สามารถใช้ไอซีทีช่วยแก้ปัญหา หรือพัฒนาแบบสหวิทยาการ บทความนี้ได้เสนอตัวอย่างการใช้ไอซีทีในด้าน - การพัฒนากองทัพ - ไอซีทีในการพยากรณ์อากาศ

62 62 - ไอซีทีในการพัฒนาการเกษตร - ไอซีทีในการพัฒนาบริการสาธารณสุข - ไอซีทีในการพัฒนาการศึกษา - ไอซีทีในการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ สรุป (ต่อ)

63 63  ทั้งหลักการด้านไอซีที และการใช้ไอซีที มีการพัฒนาก้าวหน้า ตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง จึงควรค้นหาข้อมูลใหม่ๆ จากกูเกิ้ลมาศึกษาและนำไปใช้ ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง หมู่คณะ และประเทศชาติ

64 64


ดาวน์โหลด ppt 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กับสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานอาวุโสมูลนิธิสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google