งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม
แนวคิด (Concepts) ทฤษฎี (Theories) ข้อค้นพบ (Findings)

2 แนวคิด (Concepts) คือการรวบรวมความหมายหรือคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราว เงื่อนไข สถานการณ์และพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรมที่ได้รับการยอมรับสำหรับในการวิจัยนั้น ทฤษฎี (Theories) คือกลุ่มของความเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิด ความหมาย และข้อเสนอ ซึ่งทำให้ก้าวหน้าเพื่ออธิบายและทำนายปรากฏการณ์ด้วยเหตุนี้จึงใช้ทฤษฎีอย่างต่อเนื่องในการอธิบายหรือทำนายสิ่งที่เป็นไปต่างๆ ในงานวิจัย เพื่อให้ผลการวิจัย มีน้ำหนักและเหมาะสมกับสถานการณ์ และเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการอธิบาย และการทำนาย ข้อค้นพบ (Findings) คือสิ่งที่เป็นผลลัพธ์จากการศึกษาวิจัย

3 ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนค่าได้ (ยุวดี ฦาชา, 2537)
ตัวแปร หมายถึง ลักษณะทางประชากรที่นักวิจัยสนใจจะศึกษา ซึ่งสามารถวัดได้ นับได้ และลักษณะนั้นๆ ไม่คงที่สามารถแปรเปลี่ยนไปได้หลายค่า หรือมีมากกว่า 1 ลักษณะ

4 ประเภทของตัวแปรในการวิจัย
1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent variable) 2. ตัวแปรตาม (Dependent variable) 3. ตัวแปรแทรก (Intervening variable) 4. ตัวแปรนำ (Antecedent Variable) 5. ตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable)

5 1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable)
เป็นสิ่งที่ ค่าเปลี่ยนแปลงได้ เป็นตัวแปรที่นักวิจัยกำหนดให้มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลง จะทำให้ตัวแปรอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยเห็นว่า เป็นสาเหตุก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมที่ผู้วิจัยทำการศึกษา การกำหนดตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระจะต้องทำการเปรียบเทียบกับตัวแปรตาม

6 2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable)
ตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่เป็นเป้าหมายของการวิเคราะห์ เป็นผลจากตัวแปรอิสระ จึงมีลักษณะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นทีหลังและเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอิสระ

7 3. ตัวแปรแทรก (Intervening variable)
เป็นตัวแปรที่แทรกอยู่ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม เช่น การศึกษากับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อาจมีความนิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นตัวแปรแทรก

8 4. ตัวแปรนำ (Antecedent Variable)
เป็นตัวแปรที่มีแบบแผนความสัมพันธ์กับตัวแปรแทรกมาก ตัวแปรนำจะเป็นตัวแปรที่อยู่ข้างหน้าหรือมาก่อนตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่มาก่อนการเริ่มต้นวิเคราะห์ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอาจมีอาชีพของบิดาเป็นตัวแปรนำ

9 5. ตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable)
เป็นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ มีจำนวนไม่จำกัด เป็นตัวแปรที่เป็นเป้าหมายของการวิเคราะห์ เป็นผลของตัวแปรอิสระ จึงมีลักษณะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นทีหลังและเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอิสระ บางตัวแปรสามารถดึงมาเป็นตัวแปรอิสระได้ แต่โดยส่วนใหญ่ถูกสันนิษฐานเอา หรือแยกออกไปจากการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ

10 5. ตัวแปรภายนอก/แทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน (Extraneous Variable)
เป็นตัวแปรอิสระที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายรายการที่ต้องการศึกษา แต่เป็นตัวแปรที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลถึงตัวแปรตาม ในการทำวิจัยจะต้องพยายามควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรประเภทนี้ให้หมดไป หรือให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด รศ. เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย P (83)

11 กรอบแนวคิดของการวิจัย
กรอบแนวคิดของการวิจัย หมายถึง แนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้เป็นข้อสมมติฐานในการศึกษาและวิจัยแต่ละครั้ง (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2538)

12 กรอบแนวคิด (Conceptual Framework)
ความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับตัวแปรต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้เป็นข้อสมมติฐานในการศึกษาและวิจัยแต่ละครั้ง ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ

13 ลักษณะกรอบแนวคิด เป็นการอธิบายความคิด โดยในการวิจัยนี้เราจะใช้แนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอะไร หรือใช้เหตุผลอะไรมารองรับงานวิจัยเพื่อให้น่าเชื่อถือ อาจกล่าวถึงทฤษฎีคนอื่น แนวคิดของคนอื่น หรือแนวคิดของเราเองที่จะทำต่องานนี้ เป็น Concept ของการทำวิจัยครั้งนี้ สามารถมองให้เห็น Output ได้

14 ลักษณะที่สำคัญของกรอบแนวคิด
คือ ความมีพื้นฐานเชิงทฤษฎี

15 ที่มาของกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัยมีที่มาอยู่ 3 แหล่งด้วยกัน คือ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ได้ทฤษฎีของผู้อื่น, ได้แนวคิดของผู้อื่น) 2. ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (แนวคิดที่พิสูจน์แล้ว ได้ทฤษฎี (ของผู้อื่น)) 3. แนวความคิดของผู้วิจัยเอง

16 หลักสำคัญในการเลือกกรอบแนวคิด มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ
ความตรงประเด็น ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน ความสอดคล้องกับความสนใจ ความมีประโยชน์เชิงนโยบาย

17 ประโยชน์ของการเลือกกรอบแนวคิดการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัยมีประโยชน์ต่อกระบวนการทำวิจัยในขั้นต่อๆ มามากมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการออกแบบการวิจัย ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นการตีความหมายผลที่ได้จากการวิจัย

18 การเสนอกรอบแนวคิด การแสดงให้เห็นถึงกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยอาจทำได้หลายวิธีคือ 1. แบบพรรณนาความ 2. แบบจำลอง หรือ สมการระบุความสัมพันธ์ 3. แบบแผนภาพ 4. แบบผสมผสาน

19 การเสนอกรอบแนวคิด แบบพรรณนาความ
เป็นการเขียนบรรยายเพื่อให้เห็นว่า ในการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หรือประเด็นในการวิจัย ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์ กับตัวแปรตามอย่างไร และมีเหตุผลหรือทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน แบบจำลอง จะใช้สัญลักษณ์ หรือสมการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม เช่น V= f(A,B,C,D) V= a+b1A+b2B+b3C+b4D

20 การเสนอกรอบแนวคิด (ต่อ)
แบบแผนภาพ ผู้วิจัยใช้แผนภาพเพื่อช่วยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นว่าผู้วิจัยมีแนวคิดอย่างไร ในความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการตลาด ความพึงพอใจ ปัจจัยด้านคุณภาพ

21 หนังสืออ้างอิง ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. ดร. กิติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ ระเบียบวิธีวิจัย. รศ. เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. เอกสารการสอนของ อ. พัชรินทร์ สังวาลย์


ดาวน์โหลด ppt องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google