งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จริยธรรม และ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จริยธรรม และ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จริยธรรม และ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
อ.วรพจน์ พรหมจักร

2 กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเสียหายต่อ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โลกก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ยุคไซเบอร์ โลกเสมือนจริง ทุรชน การติดต่อสื่อสาร คุณภาพชีวิตของคน ธุรกิจ การศึกษา วัฒนธรรม

3 จริยธรรม (Ethics) คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ" จริยธรรม หมายถึง ความสัมพันธ์ของหลักทางศีลธรรมอันได้แก่ ความดีและความชั่ว ความถูกต้องและความไม่ถูกต้อง หรือหน้าที่และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม (Barger, N Robert, 2008)

4 จริยธรรม (Ethics) จริยธรรม หมายถึง หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของหลักในการปฏิบัติของบุคคล (Laudon, 2007) จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว

5 องค์ประกอบของจริยธรรม
จริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ ส่วนดังนี้ 1. ความรู้ (cognitive) คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องแยกออกจากความไม่ถูกต้องได้ 2. ความสำนึก (affective) คือ ความพึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส ในจริยธรรมมาเป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติ 3. องค์ประกอบด้านการแสดงออก (Moral conduct) คือ การที่บุคคลตัดสินใจประพฤติดีในสถานการณ์ต่าง ๆ

6 กฎหมายและจริยธรรม กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษ ที่ระบุไว้ จริยธรรมเป็น สิ่งที่ควรประพฤติควรทำ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ต้องรับโทษทางกฎหมายบ้านเมือง แต่อาจถูกลงโทษทางสังคม

7 จริยธรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ในลักษณะตัวย่อว่า PAPA 1. ความเป็นส่วนตัว (Privacy) 2. ความถูกต้อง (Accuracy) 3. ความเป็นเจ้าของ (Property) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

8 ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวเช่น การเข้าไปดูข้อความของผู้อื่นที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด การนำหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ขายให้กับบริษัทอื่น

9 ความถูกต้อง (Accuracy)
ประเด็นคือ ความถูกต้องของข้อมูลที่จัด เก็บและเผยแพร่ ทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ ผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้

10 ความเป็นเจ้าของ (Property)
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ที่จับต้องได้ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ความเป็นเจ้าของด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะหมายถึงลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ประเภท Software สิทธิในการใช้งาน software license -ผู้ใช้ต้องซื้อสิทธิ์มา จึงจะมีสิทธิ์ใช้ได้ shareware -ผู้ใช้สามารถทดลองใช้ก่อนที่จะซื้อ freeware -ใช้งานได้ฟรี และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

11 การเข้าถึงข้อมูล (data accessibility)
การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์จึงมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาความลับของข้อมูล และเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

12 บัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น 2. ไม่รบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น 3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น (hack) 4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมยแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น (hack and crack) 5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ เช่น ตัดต่อภาพ เสียง ภาพยนตร์

13 ลักษณะของผู้มีจริยธรรม
บัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ 6. ผู้มีไม่ใช้หรือทำสำเนาหรือ เผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์ 7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่สิทธิ 8. ไม่ละเมิดทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่น 9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคม เช่นไม่สร้างโปรแกรมที่มุ่งร้าย (malware หรือ hacktools) 10. เคารพในสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ไม่ ดูถูก เสียดสี เหยียดหยาม ลินดา เฮอร์นดอน (Linda Herndon) : Computer Ethics, Netiquette, and Other Concerns. 


ดาวน์โหลด ppt จริยธรรม และ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google