งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวปฎิบัติด้านพิธีการทูต มารยาทสากล และ การจัดงานเลี้ยงรับรอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวปฎิบัติด้านพิธีการทูต มารยาทสากล และ การจัดงานเลี้ยงรับรอง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวปฎิบัติด้านพิธีการทูต มารยาทสากล และ การจัดงานเลี้ยงรับรอง
โดย นายปรีชา แก่นสา กองรับรอง กรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ

2 ประวัติวิทยากร 1 ชื่อ : นายปรีชา แก่นสา 2 ตำแหน่ง : นักการทูตชำนาญการ
3 สังกัด : กองรับรอง กรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ 4 การศึกษา : ปริญญาโท (เศรษฐศาสตร์) 5 ประวัติการทำงาน : ในประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ,กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ,กรมอาเซียน,กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ต่างประเทศ สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส

3 งานพิธีการทูต พิธีการทูต คือระเบียบแบบอย่างหรือขนบธรรมเนียมที่ถือเป็นหลักเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งวางไว้หรือยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นหลักเกณฑ์ด้านพิธีการ ที่รัฐบาล ผู้แทนของรัฐบาลหรือราชการจะต้องปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความมีมารยาทระหว่างประเทศ โดยมีความมุ่งหมายที่จะกำหนดเป็นแนวปฏิบัติให้แต่ละคนที่ทำหน้าที่ทางการทูตของแต่ละประเทศให้ได้รับเกียรติ ได้รับการปฏิบัติอันเหมาะสมและถูกต้องสมกับฐานะของตน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ เป็นแนวทางดำเนินการอย่างมีแบบแผนอันเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ ประมวลความมีมารยาทระหว่างประเทศเพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรี เป็นการวางระเบียบของการสมาคมระหว่างประเทศอย่างผู้เจริญ สะท้อนภาพลักษณ์ของประเทศชาติหรือกลุ่มประเทศ สร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ

4 พิธีการทูต เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนี้
1. การเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีระหว่างประเทศ สิ่งใดที่เกี่ยวกับเกียรติยศและศักดิ์ศรีของประเทศ เช่น ธงชาติ ประมุขรัฐและบุคคลสำคัญของรัฐ จะได้รับความเคารพนับถือและปฏิบัติต่ออย่างถูกต้องตามพิธีการทูต 2. การจัดลำดับความสำคัญ/ลำดับอาวุโส (Orders of Precedence) บุคคลที่เป็นตัวแทนแห่งรัฐ จะต้องได้รับการปฏิบัติต่ออย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน แต่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในเรื่องเดียวกันและขณะเดียวกันพร้อมกันทั้งหมดย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง หรือที่เรียกว่า “การจัดลำดับอาวุโส” โดยมีหลัก ดังนี้ การจัดลำดับอาวุโสแห่งรัฐ นิยมใช้หลักการจัดลำดับอาวุโสตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อประเทศ ธงชาติ เพลงชาติ หรือตัวแทนของชาติ ให้ยึดหลักเกณฑ์ตามหลักการจัดลำดับอาวุโสแห่งชาติ ลำดับอาวุโสสำหรับคณะทูต มีการจัดที่เคร่งครัด โดยให้ยึดเอาวันที่เข้ารับหน้าที่เป็นหลัก 3. การแสดงอัธยาศัยไมตรี การแสดงอัธยาศัยไมตรีถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในทางการทูต เช่น การแสดงความยินดีและแสดงความเสียใจในโอกาสต่าง ๆ การส่งผู้แทนไปร่วมงานพิธีการต่าง ๆ ของรัฐ หรือแม้แต่การส่งผู้แทนระดับต่าง ๆ ไปเยือนซึ่งกันและกัน และการแสดงอัธยาศัยไมตรีทางการทูตย่อมมีหลักเกณฑ์และพิธีการทั้งสิ้น

5 การเยือนประเภทต่าง ๆ ของไทย
การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะ State Visit : การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะ เป็นการเยือนระดับสูงสุด มีพิธีการต้อนรับและส่งเต็มรูปแบบ (ขึ้นแท่นรับความเคารพ/ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศฯ/ยิ่งสลุต 21 นัด/พิธีมอบกุญแจเมือง/งาน state banquet ฯลฯ) Private Guest : การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล Official Visit : การเยือนอย่างเป็นทางการ มีพิธีต้อนรับ-ส่งเต็ม รูปแบบของแขกรัฐบาล (ผู้นายกฯ ไปรับที่สนามบิน/ขึ้นแท่นรับความเคารพและตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ (ที่ทำเนียบ) การหารือ/งานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ ฯลฯ) Working Visit : การเยือนเพื่อการเจรจาทำงาน ปรับลดด้านพิธีการ As Guest of the Government : การเยือนที่รัฐบาลรับเป็นแขก ไม่มีพิธีการต้อนรับ การเยือนในฐานะแขกกระทรวง : ไม่มีพิธีการ แต่มีการต้อนรับและอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ตามสมควร

6 การรับรองพระราชอาคันตุกะ

7 การต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
มีขั้นตอน ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี นาถ จะเสด็จฯ ไปทรงรับพระราชอาคันตุกะ ที่ท่าอากาศยาน ทรงยืนบนแท่นรับการเคารพพร้อมด้วยพระราชอาคันตุกะ กองทหารเกียรติยศผสมฯ ถวายการเคารพ ปืนใหญ่ยิงสลุต 21 นัด แตรวงบรรเลงเพลงชาติพระราชอาคันตุกะและเพลงสรรเสริญ พระบารมี พระราชอาคันตุกะตรวจแถวกองทหารเกียรติยศผสมฯ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ร่วมไปด้วย เสด็จฯ พร้อมด้วยพระราชอาคันตุกะ จากท่าอากาศยานไปยังกรุงเทพมหานคร เพื่อรับการถวาย/มอบกุญแจเมือง ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

8 พิธีการที่ท่าอากาศยาน

9 ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
พิธีมอบกุญแจเมือง ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

10

11 การรับรองอาคันตุกะรัฐบาล

12 การรับรองแขกรัฐบาล มีขั้นตอน ดังนี้ ผู้แทนนรม. ไปรับ-ส่ง ที่สนามบิน
จัดห้องรับรองพิเศษ จัดขบวนรถยนต์รับรอง จัดพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ จัดการหารือข้อราชการ จัดการลงนามความตกลง (หากมี) จัดการแถลงข่าวร่วมกัน (หากมี) จัดงานเลี้ยงรับรองเป็นเกียรติ

13 การต้อนรับ-ส่งที่สนามบิน

14 พิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ที่ทำเนียบรัฐบาล

15 การรับรองแขกระดับกระทรวง

16 การรับรองแขกรัฐบาล มีขั้นตอน ดังนี้
ผู้แทนที่เหมาะสมไปรับ-ส่ง ที่สนามบิน จัดห้องรับรองพิเศษ จัดรถยนต์รับรอง จัดการหารือข้อราชการ จัดการลงนามความตกลง (หากมี) จัดการแถลงข่าวร่วมกัน (หากมี) จัดงานเลี้ยงรับรองเป็นเกียรติ

17 การรับรองแขกที่กระทรวงการต่างประเทศ

18 มารยาทสากลทางการทูต / พิธีการ

19 การจัดที่นั่งและประดับธงชาติในโอกาสต่าง ๆ
การจัดที่นั่งในรถยนต์รับรอง การเข้าเยี่ยมคารวะ การประชุมสองฝ่าย การประชุมนานาชาติ การลงนามความตกลง

20 การจัดที่นั่งในรถรับรอง

21 การจัดที่นั่งในรถยนต์รับรอง
VIP 2 VIP 3 (if any) VIP 1 LO/Security แขกเกียรติยศ/VIP นั่งเบาะหลังตรงกันข้ามคนขับ คนที่สองนั่งเบาะหลังด้านคนขับ ส่วนคนที่สาม (หากมี) นั่งตรงกลาง เบาะหน้าคู่กับคนขับรถให้จนท.ติดตาม/องครักษ์ กรณีรถตู้ ให้ VIP นั่งเบาะหลังแถวแรก

22 การจัดที่นั่งในโอกาสต่าง ๆ

23 1. การเข้าเยี่ยมคารวะ จัดที่นั่งแบบ โซฟา หรือ แบบตัว U โดยให้แขกนั่ง
ด้านขวามือ ของเจ้าภาพ

24 2. การประชุมสองฝ่าย จัดที่นั่แบบตัว I ให้หัวหน้าคณะ แต่ละฝ่ายนั่งตรง
กลางคนละข้าง ส่วนผู้ติดตามให้ แต่ละฝ่ายนั่ง ตามลำดับอาวุโส

25 3. การประชุมนานาชาติ นั่งเรียงตามอักษร โดยจัดที่นั่งรูป
ต่าง ๆ โดยเจ้าภาพ นั่งกลางหรือหัวโต๊ะ ทำหน้าที่ประธาน

26 การเข้าเยี่ยมคารวะ

27 การประดับธงชาติในโอกาสต่าง ๆ

28 การประชุมสองฝ่าย หรือหลายฝ่าย
ธงชาติอยู่ขวาธงอื่น (มองออก) หรืออยู่อันดับแรก เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคี่ให้ธงชาติอยู่กลาง หากเป็นจำนวนคู่ ให้ธงชาติอยู่กลางด้านขวา

29 ประดับในโอกาสอื่น ๆ ประชุมหลายฝ่าย ให้เรียงตามลำดับอักษร (วนตามเข็มนาฬิกา) ธงเล็กไช้บอกที่นั่ง (บอกบุคคล) รถยนต์ ประดับธงชาติอยู่ด้านคนขับ

30 การลงนามความตกลง

31 การลงนามความตกลง การจัดเตรียมสถานที่ โต๊ะลงนาม พร้อมอุปกรณ์
เก้าอี้สำหรับประธานสักขีพยาน และเก้าอี้สำหรับผู้ลงนาม ธงเล็กตั้งโต๊ะสองฝ่าย (ตั้งตามที่นั่งของผู้ลงนาม) ธงชาติสองฝ่าย ตั้งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๙ ปรับปรุงแก้ไขปี 2546 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมความตกลง/บันทึกความเข้าใจ ลำดับพิธีลงนาม พิธีกรเชิญสักขีพยาน พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมพิธี เข้านั่งประจำที่ ณ ห้องลงนาม เจ้าหน้าที่พิธีการเชิญประธานในพิธี/ผู้ลงนามทั้งสองฝ่าย ไปยังห้องลงนามและนั่งในที่นั่ง ณ โต๊ะลงนาม ที่จัดไว้ พิธีกรประกาศเริ่มพิธีลงนาม ผู้ลงนามทั้งสองฝ่ายลงนาม และแลกเปลี่ยนความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจ ประธานสัมผัสมือแสดงความยินดีกับผู้ลงนามทั้งสองฝ่าย ประธานในพิธี/ผู้ลงนาม และสักขีพยานดื่มแสดงความยินดี และถ่ายภาพร่วมกันหมายเหตุ : ก่อนดื่มแสดงความยินดีอาจมีการกล่าวสุนทรพจน์สั้น ๆ (เจ้าภาพเริ่มก่อน) เสร็จพิธี * กรณีประเทศมุสลิมงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

32 การจัดโต๊ะ ลงนามความตกลง

33 สำหรับการปฏิบัติหน้าที่
มารยาทสากลที่จำเป็น สำหรับการปฏิบัติหน้าที่

34 มารยาทสากลทั่วไป 2. มารยาทในการแนะนำบุคคล
แนะนำผู้มีอาวุโสน้อยให้ผู้อาวุโสมากรู้จัก แนะนำบุรุษให้สตรีรู้จัก ให้เอ่ยชื่อผู้อาวุโสก่อน โดยต้องใช้คำเชื่อมให้เหมาะสม คือ หากเป็นทางการใช้ present นอกนั้นให้เลือกใช้ตามความเหมะสม คือ introduce this is แต่ไม่นิยมใช้ to meet หากต้องแนะนำต้วเอง ให้แนะนำชื่อต้นก่อน แล้วเว้นวรรคไปชั่วอึดใจแล้วค่อยบอกชื่อเต็ม เช่น I’m John …. John Smith. เริ่มด้วยคำพูด-สัมผัสมือ (handshaking) หรือสวมกอด (hugging) -จุมพิต (kissing) การสัมผัสมือ ไม่บีบแรง(bone-crushing)-ไม่นุ่มนิ่ม(finger-tip holder)-ไม่สรวมถุงมือ (Glove handshake) 3. มารยาทในการสนทนา มีท่าทีเป็นมิตร เป็นธรรมชาติ และผ่อนคลาย เริ่มต้นด้วยเรื่องทั่วไปแล้วค่อยขยับเข้าไปถึงความสนใจ บางครั้งอาจใช้การสนทนาแบบเรื่องง่าย ๆ (small talk) โดยทักทาย-คำชมเครื่องแต่งตัวสภาพแวดล้อมทั่วไป… หัวข้อสนทนามี 2 ประเภท คือ เรื่องทั่วไป (friendly topics) เช่น จราจร อาหาร ดนตรี หนัง กีฬา หนังสือ แฟชั่น การงาน ฯลฯ เรื่อหนัก (hardcore topics) เช่น ธุรกิจ การเมือง ศาสนา การเงิน ฯลฯ 1. มารยาทในการเรียกชื่อบุคคล ใช้คำนำหน้าเสมอ (Mr. / Mrs. / Miss / Ms. / Dr. / Prof.) อย่าเรียกชื่อต้นหากไม่สนิทสนม อย่าเรียกชื่อย่อ เช่น เจมส์ เป็น จิม รอเบิร์ต เป็น บ็อบ ไมเคิล เป็น ไมค์ วิลเลียม เป็น บิล จิลเลียน เป็น จิล เจนนิเฟอร์ เป็น เจนนี พระราชวงศ์ หรือบุคคลที่มีตำแหน่งสำคัญ ต้องเรียกให้ถูกต้อง ดังนี้ เอกอัครราชทูต : His/Her (Your) Excellency รัฐมนตรี : His/Her (Your) Excellency, The Honourable นายกรัฐมนตรี : His/Her (Your) Excellency, The (Right) Honourable ขุนนางอังกฤษ : Sir/Lady (ใช้กับชั้นอิศวิน/Knight) Lord/Mrs. (ใช้กับชั้น Baron) พระราชวงศ์ : His/Her (Your) Majesty / His/Her (Your) Imperial Highness/ His/Her (Your) Royal Highness / His/Her (Your) Serene Highness / His/Her (Your) Highness

35 การทักทายและการต้อนรับ (greeting)
การแสดงการต้อนรับ การต้อนรับด้วยคำพูด การต้อนรับด้วยการสัมผัสมือ (handshaking) การต้อนรับด้วยการสวมกอด (hugging) การต้อนรับด้วยการจุมพิต (kissing) จุมพิตมือ (hand kissing) จุมพิตแก้ม (cheek kissing) จุมพิตอากาศ (air kissing)

36 หลักการสัมผัสมือ ไม่บีบมือ (bone-crushing)
ไม่จับแบบแตะมือ (fingertips-holding) ถอดถุงมือก่อน ไม่จับมือขณะที่มืออีกข้างอยู่ ในกระเป๋า จับมือสตรีเช่นเดียวกับบุรุษ ลุกขึ้นจับมือ หากมีหลายคนต้องจับทุกคน หากจำเป็นจับด้วยมือซ้ายก็ได้ เตรียมพร้อมเสมอเพื่อการจับมือ

37 การแต่งกาย

38 การแต่งกาย การแต่งกายหมายรวมถึงทุกสิ่งตั้งแต่ หัว จรดเท้า
หัว จรดเท้า การแต่งกายเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึง อุปนิสัย ใจคอ รสนิยม หน้าที่การงาน การศึกษา และ สถานะทางสังคม การแต่งกายที่ดีจึงมีองค์ประกอบ ๓ ประการคือ มีความสะอาดสะอ้าน มีความสุภาพเรียบร้อย เหมาะแก่โอกาสและสถานที่ (กาละและเทศะ) "ดูดี เหมาะสม ลงตัว"

39 การแต่งกายแบบสากล ชุดลำลอง (Casual) : แต่งตัวแบบตามสบายสำหรับงานที่เป็นกันเองในกลุ่มคนสนิทหรือเจ้าภาพต้องการให้งานเป็นแบบกันเอง ชุดสุภาพ (Smart Casual) : งานที่ไม่เป็นทางการนัก ชุดสากล (Suit) ชุดสากกลางวัน (Lounge Suit) : ชุดสากลสีอ่อน ชุดสากลกลางคืน(Dark Suit) : ชุดสากลสีเข้ม ชุดกึ่งพิธีการ (Black Tie) : งานที่เป็นทางการแต่ไม่มีพิธีการมากนัก ชุดพิธีการ พิธีการกลางวัน (Morning Coat) พิธีการกลางคืน (Evening Dress / White Tie) สุภาพสตรี (Short Dress and Long Dress) ให้ดูความสั้นหรือความยาวของกระโปรงเป็นเกณฑ์

40 ชุดลำลอง (Casual)

41 ชุดลำลองสุภาพ (Smart Casual)

42 ชุดสากลสีอ่อน/ Lounge suit
ชุดสากลสีเข้ม / Dark Suit

43 ชุดพิธีการ

44 ตัวอย่างของการแต่งกายในการปฏิบัติงาน

45 งานเลี้ยงรับรองทางการทูตต่าง ๆ

46 งานเลี้ยงทางการทูต งานเลี้ยงถือเป็นกิจกรรมทางสังคมที่สำคัญ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้ผู้ได้รับเชิญมาร่วมงาน ได้มีโอกาสกินอาหารอิ่มอร่อยเท่านั้น หากเป็นการแสดงออกถึงความมีอัธยาศัยไมตรี ที่มุ่งหวังให้ทุกคนที่มาร่วมงานเลี้ยงได้มีความสุขสดชื่น และ รื่นเริงกับบรรยากาศในงานเลี้ยงนั้น ๆ เป็นการสร้างบรรยายกาศแห่งมิตรภาพเพียบพร้อมไปด้วยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ งานเลี้ยงทางการทูตจะต้องจัดอย่างพิถึพิถันและปราณีต นักการทูตที่ดีต้องระมัดระวังในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อ ให้นักการทูตเป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่รักใคร่ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แสดงถึงการยกย่องให้เกียรติ และเป็นส่วนเสริมการทูตแบบส่วนตัว และช่วยลดความตึงเครียด นอกจากนี้ยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เผยความในใจ หรือแม้แต่การหาข่าวทั้งจากพันธมิตรและฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย

47 ประเภทของงานเลี้ยง งานเลี้ยงรับรองทั่วไป (Reception)
เป็น งานเลี้ยงที่เรียกชื่อตามวัตถุประสงค์ของงาน เป็นอย่างเดียวกับงานเลี้ยง Cocktail ซึ่งเรียกตามชื่อเครื่องดื่มที่เสิร์ฟ งานเลี้ยงประเภทนี้ เจ้าภาพสามารถเชิญแขกได้เป็นจำนวนมากและไม่ยุ่งยากนักในเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ต้องจัดเก้าอี้สำหรับแขก อาหารที่เสิร์ฟจะจัดใส่ถาดมาบริการถึงตัว เป็นอาหารที่สามารถหยิบจับได้สะดวก (finger food) เป็นชิ้นขนาดพอดีคำ แขกสามารถยืนคุยไปกินไปได้ ซึ่งถือว่าถูกต้องตามมารยาทของคนไปงานเลี้ยงรับรอง ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นช่วงระหว่างเวลา น. หากเจ้าภาพมีเวลาน้อยและเชิญแขกไม่มากนัก (เชิญเดี่ยว) มักนิยมจัดในช่วงเที่ยงวัน ซึ่งเรียกว่างาน Vin d’honneur

48 (2) งานเลี้ยงอาหารกลางวันและอาหารค่ำ
(Luncheon and Dinner) งานอาหารกลางวัน จะเป็นทางการหรือมีพิธีรีตองมาก กว่างาน reception แต่น้อยกว่างาน dinner แขกผู้ร่วมงานมักจะแต่งกายด้วยชุดสากลสีอ่อน (lounge suit) งานเลี้ยงอาหารค่ำ ถือว่าเป็นงานเลี้ยงที่มีรูปแบบและพิธีการละเอียดอ่อนเคร่งครัดและมีพิธีรีตองมาก จะต้องใส่ใจให้มากในการเชิญแขก การจัดเตรียมอาหาร การจัดโต๊ะอาหาร และด้านพิธีการอื่น ๆ การแต่งกายสำหรับงานนี้ โดยมากจะแต่งกายด้วยชุดสากลสีเข้ม (dark suit) หรือหากเป็นงานที่มีพิธีการมากจะใส่ชุดราตรีสโมสรที่เรียกว่า “Black tie หรือ White tie” แล้วแต่ความสำคัญและลักษณะของงาน

49 ขั้นตอนการเตรียมการงานเลี้ยง
เจ้าภาพงานเลี้ยง กำหนดประเภทงานเลี้ยง / สถานที่จัดงาน รายชื่อแขกที่จะเชิญ บัตรเชิญ / บัตรวางโต๊ะ รายการอาหาร (เมนูอาหาร) ผังที่นั่ง การจัดโต๊ะอาหาร

50 “ ไม่มีผู้ใดไปงานเลี้ยงโดยไม่ได้รับเชิญ”
บัตรเชิญ “ ไม่มีผู้ใดไปงานเลี้ยงโดยไม่ได้รับเชิญ”

51 บัตรเชิญ

52 การจัดโต๊ะอาหาร (Table Setting) การเลือกรูปแบบโต๊ะสำหรับงานเลี้ยง ขึ้นอยู่กับขนาดของสถานที่ จำนวนคน และประเภทของงานเลี้ยง ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งโต๊ะรูปตัว I รูปตัว U รูปตัว T รูปตัว E รูปหวี รูปเกือกม้าและโต๊ะกลม

53 โต๊ะรูปแบบต่าง ๆ โต๊ะยาว โต๊ะรูปตัว I โต๊ะรูปตัว U โต๊ะรูปตัว T
โต๊ะรูปตัว I โต๊ะยาว โต๊ะรูปตัว U โต๊ะรูปตัว T โต๊ะรูปหวี โต๊ะรูปตัว E โต๊ะรูปเกือกม้า โต๊ะกลม

54 ที่ทำเนียบรัฐบาลและที่กระทรวงการต่างประเทศ
การจัดโต๊ะงานเลี้ยง ที่ทำเนียบรัฐบาลและที่กระทรวงการต่างประเทศ การจัดโต๊ะอาหารที่ทำเนียบรัฐบาล

55 การจัดผังที่นั่ง (Seating Plan)
หลักการจัดผังที่นั่งสำหรับงานเลี้ยง การจัดผังที่นั่งสำหรับงานเลี้ยงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติแก่แขก หากจัดที่นั่งไม่ถูกต้องเหมาะสมอาจทำให้แขกรู้สึกขุ่นเคืองใจได้ เพราะถือว่าไม่ได้รับเกียรติสมฐานะ อย่างไรก็ตาม ในการจัดผังที่นั่ง มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ กำหนดที่นั่งของเจ้าภาพและแขกเกียรติยศให้เหมาะสม โดยให้แขกเกียรติยศนั่งในที่นั่งสำคัญ (power seat) จัดลำดับอาวุโสของแขกที่เหลือโดยสลับฝ่าย (ไทย-ต่างประเทศ) จัดสลับเพศหญิง/ชาย หากอาวุโสเท่ากัน ควรให้เกียรติฝ่ายต่างประเทศ (ฝ่ายแขก) หากเห็นเหมาะสมให้ผู้ที่มีภารกิจคล้ายกันนั่งใกล้กัน หลีกเลี่ยงการให้หญิงนั่งปลายโต๊ะ (ปิดโต๊ะ)

56 การจัดแผนผังที่นั่งแบบตัว I สำหรับงานเลี้ยงอาหาร
ณ กระทรวงการต่างประเทศ (เชิญเดี่ยว) 8 7 6 5 4 3 2 เจ้าภาพ แขกเกียรติยศ 1 ฝ่ายแขก ฝ่ายเจ้าภาพ

57 การจัดผังที่นั่งงานเลี้ยงแบบโต๊ะกลม
ประตู เจ้าภาพ 2 3 4 5 6 แขก vip เจ้าภาพ/ไทย แขกตปท.

58 มารยาทในการร่วมงานเลี้ยงรับรอง

59 การเตรียมตัว เข้าใจความหมายและวัตถุประสงค์ของงานเลี้ยง
การตอบรับ – ตอบปฏิเสธบัตรเชิญ ศึกษาขั้นตอนหรือลำดับของงานเลี้ยง ข้อมูลรูปแบบการจัดโต๊ะอาหาร (มีผังที่นั่งหรือไม่มีผัง) บุคคลสำคัญและจำนวนแขกที่เชิญร่วมงาน เตรียมของขวัญ (หากจำเป็น)

60 มารยาทสำคัญในงานเลี้ยง
ไปงานเลี้ยงให้ตรงเวลา ทักทายเจ้าภาพและแขกอื่นและอำลาเจ้าภาพเมื่อ งานเลิก ส่งเสริมบรรยากาศของงานโดยการร่วมสนทนาพูดคุยตามสมควร อย่าอยู่นานเกินไป (Oh, don’t leave. Do stay longer) อย่าลืมของขวัญและการขอบคุณ

61 มารยาทบนโต๊ะอาหาร กินดื่มด้วยความสุภาพเรียบร้อย ให้ถูกต้องตามลักษณะวัฒนธรรม วางตัวให้เหมาะสมในโต๊ะอาหาร โดยร่วมการสนทนาพูดคุยตามสมควร กล่าวสุนทรพจน์ (หากมี) การใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ถูกต้อง มีด/ช้อน (อยู่ด้านขวา) ส้อม (อยู่ด้านซ้าย) แก้วน้ำและแก้วไวน์ วางอยู่ด้านขวามือเหนือ มีดและช้อน ผ้าเช็ดปาก อาจวางอยู่บนจานรองหรือบนโต๊ะข้างส้อม ขนมปัง อยู่ด้านซ้ายมือ M B W B = bread /ขนมปัง M = meal /อาหาร W = water / เครื่องดื่ม

62 จบ! ขอบคุณ จริง ๆ


ดาวน์โหลด ppt แนวปฎิบัติด้านพิธีการทูต มารยาทสากล และ การจัดงานเลี้ยงรับรอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google