งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง

2 ปัญหาวิจัย (Research problem)
หมายถึง ประเด็น ข้อสงสัยหรือคำถามที่ผู้วิจัยมีต่อปรากฏการณ์ และต้องการแสวงหาคำตอบให้ถูกต้อง ตรงกับสภาพความเป็นจริงในปรากฏการณ์นั้น ด้วยกระบวนการวิจัย

3 ลักษณะปัญหาวิจัยที่ดี
หาคำตอบได้ด้วยวิธีการเชิงประจักษ์ สามารถแสวงหาข้อมูล หลักฐานต่างๆ เพื่อ ให้ได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบอย่างเชื่อถือได้

4 ปัญหาที่ไม่ดี / ไม่เป็นปัญหาวิจัย
1. ปัญหาที่เป็นข้อเท็จจริงที่ทุกคนยอมรับ 2. ปัญหาส่วนบุคคลเป็นจริงเฉพาะบุคคล 3. ปัญหามีความสำคัญน้อย หรือไม่มีความ สำคัญทางการศึกษาหรือศาสตร์นั้นๆ

5 แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย
1. ทฤษฎี / แนวคิดใหม่ที่ผู้วิจัยสนใจ สภาพปัญหา ประสบการณ์ในการทำงาน การดำรง ชีวิตของบุคคลหรือประสบการณ์ของผู้วิจัย การอ่าน ศึกษาค้นคว้า หนังสือ วารสาร บทคัดย่องานวิจัย ข้อเสนอแนะในรายงานการวิจัยของผู้อื่น การสอบถามผู้รู้ ผู้ชำนาญในสาขาวิชา

6 แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย (ต่อ)
แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย (ต่อ) 5. การวิเคราะห์เหตุการณ์ ประเด็นปัญหาทางสังคม หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ ที่ต้องการคำตอบแนวทางแก้ไขหรือทางออกของปัญหา ความต้องการใช้ผลการวิจัยขององค์การและแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยต่างๆ กำหนดทิศทางการวิจัย (Term of reference) เพื่อเป็นกรอบหัวข้อวิจัย ประเด็นจากที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการ

7 กระบวนการกำหนดปัญหาวิจัย
วิเคราะห์ (Analysis) สภาพปัญหาต่างๆ ในปัจจุบันโดยบรรยายระบุที่มาปัญหาแล้วสังเคราะห์ (Synthesis) เพื่อให้ได้ขอบเขต ประเด็นของปัญหาวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องในปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ

8 ปัญหาวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
สภาพปัญหา ปัญหาวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หัวข้อวิจัย ตัวแปรที่ผู้วิจัยสนใจ

9 แนวคิด ทฤษฎี หลักฐานบ่งชี้
สภาพปัญหา ปัญหาการวิจัย แนวคิด ทฤษฎี หลักฐานบ่งชี้ ตัวแปรสำคัญในการวิจัย เหตุผลความสำคัญ ในการวิจัย และคำถาม การวิจัย

10 เกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของปัญหาวิจัย. 1
เกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของปัญหาวิจัย 1. ความสำคัญของหัวข้อปัญหาการวิจัย โดยคำนึงถึง คาดว่ามีผลกระทบทางบวก เป็นประโยชน์ต่อวิทยาการและวิชาชีพในสาขา รวมทั้งเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม มีแนวคิด ทฤษฎีรองรับ สอดคล้องเหตุการณ์ ความสนใจของบุคคล สังคม และความต้องการของสาขาวิชา สามารถนำข้อค้นพบ / ข้อสรุปไปอ้างอิงโดยนัยทั่วไป (generalization) ในวงกว้าง สอดคล้องกับสภาพการณ์จริง

11 เกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของปัญหาวิจัย (ต่อ)
เกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของปัญหาวิจัย (ต่อ) ใช้วิธีการศึกษาวิจัยที่มีความก้าวหน้า ถูกต้อง เชื่อถือได้มากกว่าการวิจัยในทำนองเดียวกันที่ผ่านมา ไม่ซ้ำซ้อน มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ในการแสวงหาคำตอบ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติโดยคำนึงถึง ความรู้ความสามารถของนักวิจัยด้านเนื้อหา และวิธี การดำเนินการวิจัย ความพร้อมในการดำเนินงานของนักวิจัย ความปลอดภัยต่อการเกิดความเสี่ยง ความสนใจแท้จริงของผู้วิจัย

12 ปัญหา คืออะไร ปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร
ปัญหามีความเกี่ยวข้องกับใครบ้างตามลำดับ ปัญหาจะแก้ด้วยวิธีใด ปัญหาเมื่อได้รับการแก้ไขแล้วมีผลต่อใครบ้างตามลำดับ


ดาวน์โหลด ppt ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google