งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 5 ฟังก์ชันกับอาร์เรย์ Function & Array

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 5 ฟังก์ชันกับอาร์เรย์ Function & Array"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 5 ฟังก์ชันกับอาร์เรย์ Function & Array

2 ส่งอาร์เรย์เป็นอากิวเมนต์ของฟังก์ชัน
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ การส่งค่าอาร์เรย์เพียง หนึ่งอีลีเมนต์ ให้กับฟังก์ชัน เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชันแบบ Call-by-value การส่งค่าอาร์เรย์ ทุกอีลีเมนต์ ให้กับฟังก์ชัน เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชันแบบ Call-by-reference

3 การเรียกใช้แบบ Call-by-value
ไม่สามารถแก้ไขค่าของอาร์กิวเมนต์ภายในฟังก์ชันได้ ใช้กับฟังก์ชันที่รับค่าเข้าเป็นตัวแปรธรรมดา (int, float, char,...)

4 การเรียกใช้แบบ Call-by-reference
ใช้วิธีการส่งค่า แอดเดรส (Address)*** ของตัวแปรไปให้ฟังก์ชัน ใช้กับฟังก์ชันที่รับค่าเข้าเป็นอาร์เรย์ สามารถแก้ไขค่าของอาร์กิวเมนต์ภายในฟังก์ชันได้ ***แอดเดรส (Address) คือ ค่าที่ใช้อ้างถึงตัวข้อมูลภายในหน่วยความจำ เหมือนกับหมายเลขบ้านเลขที่***

5 การส่งผ่านค่าอีลีเมนต์อาร์เรย์ให้กับฟังก์ชัน
หากฟังก์ชัน my_func มีต้นแบบของฟังก์ชันดังนี้ void my_func(int x); และใน main ได้มีการประกาศตัวแปรอาร์เรย์ชื่อว่า num int num[10]; การส่งอีลีเมนต์ที่ 0 ของอาร์เรย์ num ไปเป็นอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชัน my_func สามารถเขียนได้ดังนี้ my_func(num[0]); คิดเหมือนการส่งค่าตัวแปร ธรรมดา หนึ่งค่า

6 Ex. การส่งค่าอีลิเมนต์ในอาร์เรย์ให้กับฟังก์ชัน
#include <stdio.h> void check_val(int x); int main() { int a[3] = {2,-1,5}; check_val(a[0]); return 0; } void check_val(int x) if(x >= 0) printf("%d : Positive\n",x); else printf("%d : Negative\n",x) ; ผลการรันโปรแกรม 2 : Positive a[0] x COPY

7 Ex. การส่งค่าอีลิเมนต์ในอาร์เรย์ให้กับฟังก์ชัน
#include <stdio.h> void check_val(int x); int main() { int i,a[3] = {2,-1,5}; for(i=0;i<3;i++) check_val(a[i]); return 0; } void check_val(int x) if(x >= 0) printf("%d : Positive\n",x); else printf("%d : Negative\n",x); ผลการรันโปรแกรม 2 : Positive -1 : Negative 5 : Positive

8 Ex. การส่งค่าอีลิเมนต์ในอาร์เรย์ให้กับฟังก์ชัน
#include <stdio.h> void find_max(int vals); void main() { int nums[5] = {2, 18, 1, 27, 16}; find_max(nums[0]); } void find_max(int vals) /*find the maximum value*/ printf("Values is %d\n", vals); ผลการรันโปรแกรม Value is 2

9 ฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้าเป็นอาร์เรย์
ชนิดข้อมูล ชื่อฟังก์ชัน(ชนิดข้อมูล ชื่อตัวแปร[ขนาดอาร์เรย์]); กรณีฟังก์ชันมีการรับค่าเข้าเป็นอาร์เรย์ 1 มิติ อาจจะไม่ต้องกำหนดขนาดของอาร์เรย์ก็ได้ ตัวอย่างเช่น int sum_arr(int num[10]); void print_arr(int a[5]); float average(int num[]);

10 การส่งอาร์เรย์ทุกอีลีเมนต์ให้กับฟังก์ชัน
การส่งอาร์เรย์ในกรณีนี้ ใช้แค่ชื่อตัวแปรอาร์เรย์เท่านั้น เช่น หากใน main มีการประกาศอาร์เรย์ดังนี้ int num[10]; และฟังก์ชัน print_arr มีต้นแบบฟังก์ชันดังนี้ void print_arr(int a[10]); การส่งอาร์เรย์ num ทุกอีลีเมนต์ไปให้ฟังก์ชัน print_arr สามารถ เขียนได้ดังนี้ print_arr(num);

11 การส่งอาร์เรย์ทุกอีลีเมนต์ให้กับฟังก์ชัน
#include <stdio.h> void print_arr(int a[4]); int main() { int num[4] = {5,2,-1,8}; print_arr(num); return 0; } void print_arr(int a[4]) { int i; for(i =0;i<4;i++) printf("%d ", a[i]); ผลการรันโปรแกรม num[0] num[1] num[2] num[3] a[0] a[1] a[2] a[3]

12 การส่งอาร์เรย์ทุกอีลีเมนต์ให้กับฟังก์ชัน
#include <stdio.h> void find_max(int vals[5]); void main() { int nums[5] = {2, 18, 1, 27, 16}; find_max(nums); } void find_max(int vals[5]) //find the maximum value int i, max = vals[0]; for ( i = 1; i < 5; ++i) if (max < vals[i]) max = vals[i]; printf("The maximum value is %d\n", max); ผลการรันโปรแกรม The maximum value is 27

13 โจทย์ฝึกสมองที่ 1 เขียนโปรแกรมที่รับจำนวนเต็มจากผู้ใช้ 10 ตัว จากนั้นให้นับว่าในจำนวนเต็มทั้ง 10 ตัวนั้นมีตัวประกอบของ 40 อยู่กี่ตัว (เลขที่หาร 40 ลงตัว) กำหนดให้ส่วนที่รับค่าจำนวนเต็มจากผู้ใช้และส่วนที่แสดงผลลัพธ์อยู่ใน main และให้ส่วนที่นับตัวประกอบของ 40 อยู่ในฟังก์ชันชื่อ count_factor โดยให้ส่งอาร์เรย์ที่เก็บจำนวนเต็มทั้ง 10 จาก main มาให้กับฟังก์ชัน count_factor main count_factor อาร์เรย์ของจำนวนเต็ม ผลการนับตัวประกอบ

14 โจทย์ฝึกสมองที่ 2 จงเขียนโปรแกรมสำหรับรับค่าคะแนนของนักศึกษาจำนวน 10 คน และให้พิมพ์ค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้งหมด โดยกำหนดให้ส่วนรับคะแนนจากผู้ใช้และส่วนที่แสดงค่าเฉลี่ยอยู่ใน main สำหรับส่วนที่คำนวณค่าเฉลี่ยให้อยู่ฟังก์ชันชื่อ average โดยให้ส่งอาร์เรย์ที่เก็บคะแนนทั้งของ 10 คนจาก main มาให้ฟังก์ชัน average (คะแนนสามารถเป็นทศนิยมได้) main average อาร์เรย์ของคะแนน ค่าเฉลี่ย

15 การแก้ไขค่าของอาร์เรย์ภายในฟังก์ชัน
ฟังก์ชันที่มีการรับพารามิเตอร์เป็นอาร์เรย์ หากมีการแก้ไขค่าภายในอาร์เรย์ดังกล่าว จะส่งทำให้อาร์เรย์ที่ถูกส่งมาเป็น อาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชันมีการเปลี่ยนแปลงด้วย

16 ฟังก์ชันแก้ไขค่าพารามิเตอร์ที่เป็นอาร์เรย์
#include <stdio.h> void edit_arr(int a[4]); int main() { int i,num[4] = {2,5}; edit_arr(num); for(i=0;i<4;i++) printf("%d ",num[i]); return 0; } void edit_arr(int a[4]) { int i; a[i] = a[i]*a[i]; ผลการรันโปรแกรม num[0] num[1] num[2] num[3] 4 25 2 5

17 ฟังก์ชันที่รับค่าเข้าเป็นอาร์เรย์ 2 มิติ
จากต้นแบบของฟังก์ชัน: void display(int val[3][4]); หมายถึง ฟังก์ชันชื่อ display ไม่มีการส่งค่ากลับ แต่รับค่าเข้าเป็นอาร์เรย์ของ int ขนาด 3 แถว 4 หลัก หรืออาจจะละจำนวนแถวก็ได้ แต่ต้องระบุจำนวนหลักเสมอ เช่น void display(int val[ ][4]);

18 ฟังก์ชันที่รับค่าเข้าเป็นอาร์เรย์ 2 มิติ
#include <stdio.h> void display(int nums[3][4]); void main() { int i, j, val[3][4] = {8,16,9,52,3,15,27,6,14,25,2,10 }; display(val); } void display ( int nums[3][4]) { int row_num, col_num; for(row_num = 0 ; row_num < 3 ; row_num++) { for(col_num = 0; col_num < 4; ++col_num) printf("%4d", nums[row_num][col_num]); printf("\n");


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 5 ฟังก์ชันกับอาร์เรย์ Function & Array

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google