งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ (Reversible change)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ (Reversible change)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ (Reversible change)
การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว สามารถย้อนกลับสู่สภาวะเดิมได้ ดังตัวอย่าง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นไอ และไอก็ควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอย่างเดิม การที่น้ำกลายเป็นไอน้ำเมื่อได้รับความร้อน และไอน้ำกลั่นตัวกลับมาเป็นน้ำ เมื่ออุณหภูมิลดลง นี้เป็น การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้

2 ปฏิกิริยาผันกลับได้ (Reversible reaction)
ในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งๆ นั้น เมื่อพิจารณาดูว่าปฏิกิริยาจะเกิดไปได้สิ้นสุดหรือไม่นั้น ให้ถือว่า ถ้าปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อแล้ว ปฏิกิริยาจะเกิดสมบูรณ์ได้สารผลิตภัณฑ์ แต่ในบางปฏิกิริยา เมื่อเกิดสารผลิตภัณฑ์แล้ว สารผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นสารตั้งต้นได้ ปฏิกิริยานี้เรียกว่า ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้

3 ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
เรียกว่า ปฏิกิริยาไปข้างหน้า (Forward reaction) ปฏิกิริยาที่สารผลิตภัณฑ์เปลี่ยนมาเป็นสารตั้งต้น เรียกว่า ปฏิกิริยาย้อนกลับ (Reverse reaction) ปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับนี้เขียนแทน ด้วยลูกศรไปและกลับ ( ) ซึ่งแสดงว่า เป็น ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้

4 เช่น การที่เกลือแกง (NaCl) ซึ่งเป็นของแข็งละลายในน้ำ เกิดการแตกตัวเป็นโซเดียมไอออน (Na+) และคลอไรด์ไอออน (Cl-) และการตกผลึกของโซเดียมไอออนกับคลอไรด์ไอออนกลับมาเป็นโซเดียมคลอไรด์ ดังนี้ NaCl (s)  Na+ (aq) + Cl- (aq) (การแตกตัว) Na+ (aq) + Cl- (aq)  NaCl (s) (การตกผลึก) การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงผันกลับของของแข็งไปเป็นของเหลว และของเหลวเปลี่ยนกลับมาเป็นของแข็ง เขียนแสดงได้ดังนี้ NaCl (s) Na+ (aq) + Cl- (aq)

5 คำถาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบต่อไปนี้ มีการเปลี่ยนแปลงแบบผันกลับได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ก. การเผาผลึกของคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตในหลอดที่ปิดสนิท ข. ปรอทในเทอร์โมมิเตอร์ ค. ถ้วยแก้วใส่น้ำแข็งตั้งทิ้งไว้ในห้อง ง. การเผาโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตในถ้วยกระเบื้อง จ. กระติกใส่น้ำเดือดลงไปแล้วปิดฝาแน่น ฉ. น้ำอัดลมในขวดที่ยังไม่ได้เปิดฝา

6 เฉลย ก. การเผาผลึกของคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตในหลอดที่ปิดสนิท เป็น การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ CuSO4 .5H2O(s) CuSO4(s) H2O(g) สีน้ำเงิน สีขาว(จุนสีสะตุ) เมื่อให้ความร้อนกลับผลึกของคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต ซึ่งมีสีน้ำเงิน น้ำจะถูกดึงออกจากผลึกได้เป็น CuSO4 หรือจุนสีสะตุ ซึ่งมีสีขาว เมื่อหยุดให้ความร้อน น้ำจะรวมตัวกับ CuSO4 กลับมากลายเป็น CuSO4 .5H2O ซึ่งมีสีน้ำเงิน

7 เฉลย ข. ปรอทในเทอร์โมมิเตอร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับ ได้ การกลายเป็นไอของปรอท และการที่ไอปรอทเปลี่ยนกลับมาเป็นของเหลวนั้น คือการเปลี่ยนแปลงสถานะที่ผันกลับได้ ค. ถ้วยแก้วใส่น้ำแข็งตั้งทิ้งไว้ในห้อง เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบผันกลับไม่ได้ น้ำแข็งจะละลายในน้ำ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นของแข็งได้

8 เฉลย ง. การเผาโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตในถ้วยกระเบื้อง เป็นปฏิกิริยาผันกลับไม่ได้ KMnO4(s)  KMnO2(s) + O2(g) O2 จะแพร่ออกไปสู่อากาศ จ. กระติกใส่น้ำเดือดลงไปแล้วปิดฝาแน่น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงระหว่างไอน้ำเป็นน้ำ และจากน้ำเป็นไอน้ำ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะ H2O (g) H2O (l)

9 เฉลย ฉ. ในขวดน้ำอัดลมที่ยังไม่เปิดฝาเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ น้ำนั้นจะรวมอยู่กับก๊าซ CO2 เป็นกรดคาร์บอนิก H2CO3 ซึ่งก๊าซ CO2 นี้บางส่วนจะหนีออกไปในที่ว่างเหนือระดับน้ำอัดลมในขวด และก๊าซ CO2 บางส่วนก็จะละลายกลับลงมาในน้ำอัดลมอีก H2CO3 (aq) H2O (l) + CO2 (g) กรดคาร์บอนิก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


ดาวน์โหลด ppt การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ (Reversible change)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google