งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ง30212 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ง30212 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ง30212 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม
ตัวแปรในภาษาซี ง30212 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม

2 ความหมายของตัวแปร ตัวแปร หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงพื้นที่ในหน่วยความจำหลัก ที่จองไว้เก็บข้อมูล ตัวอย่างเช่น a = 5; s = “rose”; เมื่อเราต้องการใช้ข้อมูล 5 หรือ rose ให้เราเรียกใช้จากตัวแปร a และ s

3 หลักการตั้งชื่อตัวแปรในภาษาซี
กฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อตัวแปรภาษาซีมีดังนี้ ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A – Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _ (underscore) เท่านั้น อักขระตัวต่อไปจะเป็น A – Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _ (underscore) หรือ 0-9 และห้ามมีช่องว่าง ตัวพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กถือว่าเป็นคนละตัวแปรกัน ชื่อของตัวแปรในโปรแกรมเดียวกันจะซ้ำกันไม่ได้ยกเว้นจะอยู่ต่างฟังก์ชัน ชื่อของตัวแปรจะต้องไม่ซ้ำกับคำสงวนในภาษาซี

4 คำสงวน (reserved word) ในภาษาซี
auto break case char const continue default do double else enum extern float for goto if int long register return short signed sizeof static struct switch typedef union unsigned void volatile while

5 ตัวอย่างที่ 4.1 การตั้งชื่อตัวแปรภาษาซี
hanaka ถูกต้อง Hi-tech ไม่ถูกต้องเนื่องจากมีเครื่องหมายลบ _name ถูกต้อง First name ไม่ถูกต้องเนื่องจากมีช่องว่าง const ไม่ถูกต้องเนื่องจากเป็นคำสงวน Const ถูกต้องเนื่องจาก C ตัวใหญ่ไม่เป็นคำสงวน

6 การประกาศค่าคงที่ ค่าคงที่ในภาษาซีเป็นค่าที่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดโปรแกรม มีประโยชน์ในกรณีที่ต้องมีการใช้ค่าคงที่จำนวนมากในโปรแกรม ถ้ามีการแก้ไขจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย รูปแบบการประกาศค่าคงที่คือ const constant_type constant_name = value; โดยที่ const เป็นคำสั่งในการประกาศค่าคงที่ constant_type เป็นชนิดข้อมูลของค่าคงที่ constant_name เป็นชื่อของค่าคงที่ value เป็นค่าที่กำหนด

7 ตัวอย่างการประกาศค่าคงที่
const int a = 100; หมายถึง การกำหนดให้ a มีค่าคงที่แบบจำนวนเต็ม (int) โดยมีค่าเท่ากับ 100 เพราะฉะนั้นตลอดทั้งโปรแกรมถ้าอ้างอิงถึง a จะมีค่าเป็น 100 ตลอด

8 การประกาศค่าคงที่แบบการใช้ preprocessor #define
#define constant_name value โดยที่ #define เป็นคำสั่ง preprocessor constant_name เป็นชื่อของค่าคงที่ value ค่าของข้อมูลที่นำไปเก็บในชื่อของค่าคงที่ ตัวอย่างเช่น #define US 35.17 หมายถึงการกำหนดให้ US มีค่าเป็น โปรแกรมจะทำการแทนที่ US ทั้งหมดที่อยู่ในโปรแกรมเป็น ก่อนที่จะทำการแปลโปรแกรม

9 การประกาศตัวแปร รูปแบบการประกาศตัวแปร คือ variable_type variable_name;
โดยที่ variable_type เป็นประเภทของข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ในตัวแปร variable_name เป็นชื่อของตัวแปรในกรณีที่มีตัวแปรหลายตัวที่เป็นประเภทเดียวกันสามารถใช้เครื่องหมาย, คั่นระหว่างตัวแปรได้

10 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการประกาศตัวแปร
จำนวนเต็ม (integer) ใช้ int ทศนิยม (float) ใช้ float ตัวอักขระ (character) ใช้ char ข้อความ (string) ใช้ char[n]

11 ตัวอย่างการประกาศตัวแปร
1. ประกาศตัวแปรละ 1 บรรทัด เช่น int a; int b; 2. ประกาศหลายตัวแปรในบรรทัดเดียว ตัวอย่างเช่น int a,b; หมายถึง การประกาศให้ a และ b เป็นตัวแปรแบบ int (จำนวนเต็ม) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้เฉพาะแบบจำนวนเต็มเท่านั้น

12 การประกาศตัวแปรและกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร
รูปแบบการประกาศตัวแปรและกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร คือ variable_type variable_name = value; โดยที่ variable_type ประเภทข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ในตัวแปร variable_name ชื่อตัวแปร value ค่าที่กำหนด ค่าที่กำหนดจะต้องตรงกับชนิดของตัวแปรนั้นๆ

13 ตัวอย่างการประกาศพร้อมกำหนดค่า
ตัวอย่างเช่น int x = 5; char a = ‘H’; หมายถึง การประกาศตัวแปร x เป็นตัวแปรแบบ int (จำนวนเต็ม) มีค่าเริ่มต้นเท่ากับ 5 การประกาศตัวแปร a เป็นตัวแปรแบบ char (ตัวอักษร) มีค่าเริ่มต้นเท่ากับ ‘H’

14 การประกาศตัวแปรประเภทข้อความ
มีรูปแบบคือ char variable_name[n]; โดยที่ n จำนวนตัวแปรประเภทอักขระที่จะนำมาสร้างเป็นข้อความ เช่น char[11] หมายถึงตัวแปร n เก็บข้อมูลแบบตัวอักขระทั้งหมด 10 ตัวรวมกับตัว \0 รวมเป็น 11 ตัว (ข้อมูลแบบข้อความจะต้องมีตัว \0 อยู่ท้ายเสมอ) variable_name คือชื่อของตัวแปร

15 ตัวอย่างการประกาศตัวแปรประเภทข้อความ
char v[8]; หมายถึงการประกาศให้ v เป็นตัวแปรแบบแถวอักษรโดยมีขนาดทั้งหมด 8 ตัวอักษร char m[10] = “PROGRAM”; หมายถึงการประกาศให้ m เป็นตัวแปรแบบแถวอักษรโดยมีขนาดทั้งหมด 10 ตัวอักษรโดยมีค่าเริ่มต้นคือ PROGRAM char s[] = “PLUAK”; หมายถึงการประกาศตัวแปร s เป็นตัวแปรแบบข้อความโดยจะขนาดเท่ากับจำนวนอักษรเริ่มต้นในที่นี้คือ 5 บวกกับ \0 รวมเป็น 6 ตัว

16 ตัวอย่างการประกาศตัวแปรประเภทข้อความ
char v[8]; หมายถึงการประกาศให้ v เป็นตัวแปรแบบแถวอักษรโดยมีขนาดทั้งหมด 8 ตัวอักษร char m[10] = “PROGRAM”; หมายถึงการประกาศให้ m เป็นตัวแปรแบบแถวอักษรโดยมีขนาดทั้งหมด 10 ตัวอักษรโดยมีค่าเริ่มต้นคือ PROGRAM char s[] = “PLUAK”; หมายถึงการประกาศตัวแปร s เป็นตัวแปรแบบข้อความโดยจะขนาดเท่ากับจำนวนอักษรเริ่มต้นในที่นี้คือ 5 บวกกับ \0 รวมเป็น 6 ตัว


ดาวน์โหลด ppt ง30212 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google