งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษา C#

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษา C#"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษา C#
รายวิชา Computer Programming I ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 บทที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษา C# ผู้สอน : อ.ปัญญาพร ปรางจโรจน์

2 วัตถุประสงค์หลักของภาษา C#
เป็นภาษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่า หรือเหนือกว่า C++ แต่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนเท่า โดยสามารถใช้งานได้ง่ายเหมือนภาษา Visual Basic ทำให้สามารถพัฒนา แอพพลิเคชั่นในระดับสูงได้ดียิ่งกว่าการใช้ภาษา Visual Basic

3 ส่วนประกอบโดยทั่วไปของโปรแกรม
1. ชื่อโปรแกรม (Program name) โดยทั่วไปมักตั้งชื่อโปรแกรมให้สื่อความหมายกับการทำงานหรือผลลัพธ์ของโปรแกรมเพื่อสะดวกในการใช้งาน นิยมใช้คำกริยานำหน้าตามด้วยคำขยาย 2. การกำหนดตัวแปร(Variables) หรือค่าคงที่(Constant)ที่ใช้ในโปรแกรม โดยกำหนดชื่อในภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายกับข้อมูลที่เก็บ 3. การกำหนดจุดเริ่มต้นของโปรแกรม (Beginning of Code) อาจใช้คำว่า BEGIN หรือ เครื่องหมาย { 4. ชุดคำสั่ง (Statement) เป็นคำสั่งในรูปแบบโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน 5. การกำหนดจุดสิ้นสุดของโปรแกรม (End of Code) อาจใช้คำว่า END หรือ เครื่องหมาย }

4 คำอธิบาย (Comment) // comment /* multiline comment */
สำหรับคำอธิบายเพียงบรรทัดเดียว /* multiline comment */ กรณีที่คำอธิบายยาว หลายบรรทัด

5 Separators ตัวแบ่งแยก อาจเป็นสัญลักษณ์หรือตัวอักษร ใช้สำหรับจัดกลุ่มคำหรือแบ่งแยกคำ เช่น ในโปรแกรมภาษา C# ใช้ { } ใช้จัดกลุ่มบล็อก ( ) ต่อท้าย method ใช้สำหรับใส่พารามิเตอร์ [ ] ใช้ระบุอาร์เรย์ ; ใช้ระบุ จบคำสั่ง (end of statement) , ใช้คั่นระหว่างตัวแปร . ใช้แยกชื่อออบเจ็กต์

6 Keywords คีย์เวิร์ด : เป็นคำที่สงวนไว้ใช้เป็นคำสั่งใน C#
ไม่สามารถนำคำเหล่านี้ไปกำหนดเป็นชื่ออย่างอื่นได้

7 Keywords

8 การกำหนดตัวแปรและข้อมูล
ตัวแปร(Variable) หมายถึง สัญลักษณ์ที่เราใช้แทนข้อมูลชนิดต่างๆ โดยข้อมูลที่จะนำมาเก็บในตัวแปรต้องตรงกับที่เราได้กำหนดไว้ และการจะนำข้อมูลไปใช้งานก็ต้องกระทำผ่านตัวแปรนี้ จำเป็นต้องระบุลงไปด้วยว่าตัวแปรนั้นใช้เก็บข้อมูลชนิดใด

9 หลักการตั้งชื่อตัวแปร
ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ห้ามใช้ตัวเลข หรืออักขระเป็นตัวเริ่มต้น รูปแบบตัวอักษรพิมพ์ต่างกัน ถือเป็นคนละตัว (case sensitive) เช่น myvar, myVar, MYVAR ถือเป็นคนละตัว ห้ามตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำสงวน

10 หลักการตั้งชื่อตัวแปร
ตัวอย่างการตั้งชื่อที่ถูกต้อง Num, myNum1, string4, Data ตัวอย่างการตั้งชื่อที่ไม่ถูกต้อง

11 การประกาศตัวแปร (Variable)
วิธี1 [ชนิดของข้อมูล] ชื่อตัวแปร; วิธี2 [ชนิดของข้อมูล] ชื่อตัวแปร = [ค่าเริ่มต้นของตัวแปร]; int x; int y, z; int Y, Z = 3; Double d = 10.99; String s1 = “Visual", s2=“C#” , s3=“.Net”; หมายเหตุ: ไม่สามารถประกาศตัวแปรซ้ำภายในบล็อก {…} เดียวกัน

12 การประกาศค่าคงที่ (Constant)
ค่าคงที่เป็นตัวแปรที่กำหนดค่าตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ const [ชนิดของข้อมูล] ชื่อตัวแปร = ค่าคงที่; const int x = 1; const double pi = 3.14; หมายเหตุ: ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าคงที่ได้

13 ขอบเขตของตัวแปร Global Variable ตัวแปรที่ใช้ได้ทั้งโปรแกรม
Local Variable ตัวแปรที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ มีขอบเขตเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้น

14 มุมมองขอบเขตของตัวแปร
ระดับ Public มีขอบเขตกว้างที่สุด สามารถเรียกใช้ ณ ตำแหน่งใดก็ได้ที่อยู่ในโปรเจ็ค ระดับ Procedure มีขอบเขตขนาดกลาง เป็นระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด มีขอบเขตอยู่ในแต่ละเหตุการณ์ ระดับ Block มีขอบเขตขนาดเล็กที่สุด มักจะใช้เก็บค่าชั่วคราว หรือตัวแปรที่วนลูปเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตัวแปรที่อยู่ในบล็อกของคำสั่งต่างๆ เช่น if…else เป็นต้น

15 Parameter คือตัวแปรที่ใช้ในการส่งค่ามายังฟังก์ชันหรือ เมทธอด สามารถส่งผ่านค่าตัวแปร ไปทำงานในโปรแกรมย่อย ได้ 3 แบบ ได้แก่ Pass By Value Pass By Reference Pass By Constant

16 ประเภทของข้อมูลในภาษา C#
1. Value types 2. References types 3. Pointer types

17 ประเภทของข้อมูลในภาษา C#
Value types ตัวแปรของกลุ่มนี้เป็นประเภทที่ใช้ข้อมูลโดยตรง จะเปลี่ยนแปลงค่าเมื่อมีค่าใหม่ไปเก็บทับค่าเดิม และจะถูกทำลายเมื่ออยู่นอกขอบเขต ชนิดข้อมูลในกลุ่มประเภทนี้ คือ sbyte, byte, short, ushort, int, uint, long, ulong, char, float, double, bool และ decimal

18 ชนิดของข้อมูล Numeric (เลขจำนวนเต็ม และเลขทศนิยม) Char (ตัวอักษร)
String (ข้อความ) Boolean (บูลีน) Object

19 เลขจำนวนเต็ม Data type ขนาด ค่าของข้อมูล sbyte (System.SByte) 1 byte
-128 ถึง 127 short (System.Int16) 2 bytes -32,768 ถึง 32,767 int (System.Int32) 4 bytes -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647 long (System.Int64) 8 bytes -263 ถึง (263 – 1)

20 เลขจำนวนเต็มบวก Data type ขนาด ค่าของข้อมูล byte (System.Byte) 1 byte
0 ถึง 255 ushort (System.UInt16) 2 bytes 0 ถึง 65,535 uint (System.UInt32) 4 bytes 0 ถึง 4,294,967,295 ulong (System.UInt64) 8 bytes 0 ถึง

21 เลขทศนิยม Data type ขนาด ค่าของข้อมูล float (System.Single) 4 bytes
±1.5 x ถึง ±3.4 x 1038 ความแม่นยำของทศนิยมอยู่ที่ 7 ตำแหน่ง double (System.Double) 8 bytes ±5.0 x ถึง ±1.7 x 10308 ความแม่นยำของทศนิยมอยู่ที่ 15 ตำแหน่ง, มีช่วงของข้อมูลกว้างที่สุด decimal (System.Decimal) 16 bytes ±1.0 x ถึง ±7.9 x 1028 ความแม่นยำของทศนิยมอยู่ที่ 28 ตำแหน่ง, ช่วงข้อมูลแคบกว่า double แต่ให้ค่าละเอียดมากในส่วนของทศนิยม เหมาะกับการคำนวณเรื่องเงิน

22 ชนิดข้อมูลอักขระ char c = ‘A’; string s = “Welcome”; Data type ขนาด
ค่าของข้อมูล char (System.Char) 2 bytes ตัวอักษรแบบ Unicode มีเครื่องหมาย ' (single quote) คร่อมตัวอักษร เช่น 'A', '1‘ char c = ‘A’; string (System.String) ไม่แน่นอน ตัวอักษรแบบ Unicode หลายตัวมารวมกัน มีเครื่องหมาย " (double quote) คร่อม เช่น "Hello“ string s = “Welcome”;

23 ข้อมูลชนิดบูลีน bool bfact; bfact = true; หรือ bool bfact = true;
Data type ขนาด ค่าของข้อมูล bool (System.Boolean) 1 bit มีค่าที่เป็นไปได้ 2 ค่า คือ true และ false นำมาใช้กรณีเกี่ยวกับการเลือกโดยพิจารณาเงื่อนไข เช่น bool bfact; bfact = true; หรือ bool bfact = true;

24


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษา C#

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google