งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตั้งเรื่องกล่าวหา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตั้งเรื่องกล่าวหา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตั้งเรื่องกล่าวหา
และการกำหนดประเด็น

2 การดำเนินการทางวินัย
การตั้งเรื่องกล่าวหา ( การตั้งคณะกรรมการสอบสวน ) การสอบสวน การพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ การลงโทษ พักราชการ ให้ออกฯ ไว้ก่อน

3 การตั้งเรื่องกล่าวหา
หมายถึง การตั้งเรื่องดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ถูกกล่าวหา โดยการแจ้ง ให้ผู้นั้นทราบว่าตนได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในเรื่องใด 3

4 ความสำคัญ ของการตั้งเรื่องกล่าวหา
เพื่อผู้ถูกกล่าวหา จะได้รู้ตัว และสามารถ ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัย 4

5 องค์ประกอบของคำสั่งฯ
ชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา เรื่องที่กล่าวหา ชื่อและตำแหน่งของคณะกรรมการสอบสวน ทำตามแบบ สว.1

6 เรื่องที่กล่าวหา หมายถึง เรื่องราว หรือการกระทำหรือพฤติการณ์แห่งการกระทำที่กล่าวอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย 6

7 ข้อกล่าวหา หมายถึง รายละเอียดแห่งการกระทำ หรือพฤติการณ์แห่งการกระทำที่กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ซึ่งต้องอยู่ในกรอบของเรื่องที่กล่าวหา โดยอธิบายเรื่องที่กล่าวหาให้ชัดเจนขึ้นว่าผู้ถูกกล่าวหาทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำอย่างไร เพื่ออะไร 7

8 แนวทางการตั้งเรื่องกล่าวหา
1. ควรตั้งให้กว้างไว้ เพียงเพื่อให้รู้ว่าเขาทำ อะไรที่เป็นความผิด 2. ไม่นำฐานความผิด / มาตราความผิด ไประบุเป็นเรื่องกล่าวหา 8

9 การกำหนดประเด็น

10 ประเด็น คือ จุดสำคัญ ที่จะต้องพิสูจน์หรือวินิจฉัย เพราะเป็นจุดที่ ยังโต้เถียงกันอยู่ หรือยังไม่ได้ความกระจ่างชัด 10

11 จุดพิสูจน์ หรือ จุดวินิจฉัย เรียก จุดใดที่สองฝ่ายรับกัน เรียก
จุดพิสูจน์ หรือ จุดวินิจฉัย เรียก ประเด็น จุดใดที่สองฝ่ายรับกัน เรียก ข้อเท็จจริง 11

12 ข้อสังเกต ประเด็นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามคำรับ / คำปฏิเสธ / ตามข้อต่อสู้ / ตามข้อมูลที่เพิ่มขึ้น 12

13 ประเภทของประเด็น ประเด็นการสอบสวน ประเด็นพิสูจน์/วินิจฉัย 13

14 1. ประเด็นการสอบสวน เป็นการวางแนวทางในการสอบสวนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง ทำให้การสอบสวนดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายอย่างมีทิศทางถูกต้อง และรวดเร็ว 14

15 การวางแผนการสอบสวน เป็นการวางแนวทางการสอบสวน เพื่อให้ทราบว่า
การวางแผนการสอบสวน เป็นการวางแนวทางการสอบสวน เพื่อให้ทราบว่า จะสอบสวนเรื่องอะไร จะสอบพยานคนใดบ้าง - จะรวบรวมพยานอย่างไร 15

16 ข้อควรคำนึง. 1. เรื่องนี้เป็นเรื่องอะไร. 2
ข้อควรคำนึง เรื่องนี้เป็นเรื่องอะไร มีองค์ประกอบความผิดอย่างไร ถ้ามีข้อเท็จจริงเบื้องต้นให้ดูว่า ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับ / ปฏิเสธ อย่างไร 16

17 แนวทางการกำหนดประเด็นการสอบสวน
ศึกษาจาก คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน 2. เอกสารหลักฐานและข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่ 3. คำชี้แจงเบื้องต้นของผู้ถูกกล่าวหา 4. บทกฎหมายที่ว่าด้วยวินัยในส่วนที่เกี่ยวกับ ข้อกล่าวหา 17

18 2. ประเด็นพิสูจน์/วินิจฉัย
2. ประเด็นพิสูจน์/วินิจฉัย หลังจากได้ข้อเท็จจริงและพยาน หลักฐานแล้ว ก็จะนำมาสู่การวิเคราะห์ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยตาม ข้อกล่าวหาในกรณีใด อย่างไรหรือไม่ 18

19 จุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์หรือวินิจฉัยในการดำเนินการทางวินัย มี 3 ด้าน
จุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์หรือวินิจฉัยในการดำเนินการทางวินัย มี 3 ด้าน 1. ประเด็นเกี่ยวกับการกระทำในเรื่องที่กล่าวหา จะต้องพิสูจน์ว่าผู้ถูกกล่าวหา - ทำอะไร - ทำที่ไหน - ทำเมื่อไร - ทำอย่างไร - เพราะเหตุใด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยว่าได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ 19

20 2. ประเด็นเกี่ยวกับกรณีความผิด
2. ประเด็นเกี่ยวกับกรณีความผิด จะต้องพิสูจน์ว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดในกรณีใด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยปรับบทลงโทษว่าได้กระทำผิดตามมาตราใด 20

21 3. ประเด็นเกี่ยวกับความร้ายแรงแห่งกรณี
3. ประเด็นเกี่ยวกับความร้ายแรงแห่งกรณี จะต้องพิสูจน์ว่า การกระทำของ ผู้ถูกกล่าวหานั้นมีพฤติการณ์ร้ายแรงเพียงใด หรือเสียหายแก่ทางราชการร้ายแรงเพียงใด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยกำหนดระดับโทษหนัก หรือเบาที่จะลงแก่ผู้ถูกกล่าวหา 21

22 ประโยชน์ของการกำหนดประเด็น
ประโยชน์ของการกำหนดประเด็น เพื่อเป็นเครื่องนำทางหรือช่วยให้การสอบสวนเป็นไปโดย รอบคอบ รัดกุม ได้ความจริง ให้ความเป็นธรรม รวดเร็ว วินิจฉัยฐานความผิดได้ถูกต้อง 22

23 สำนักมาตรฐานวินัย สำนักงาน ก.พ. โทร โทรสาร


ดาวน์โหลด ppt การตั้งเรื่องกล่าวหา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google