งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อินเทอร์เน็ต และการใช้งาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อินเทอร์เน็ต และการใช้งาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อินเทอร์เน็ต และการใช้งาน
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต และการใช้งาน

2 หัวข้อบทเรียนที่ 5 อินเทอร์เน็ตคืออะไร
ระบบอินเทอร์เน็ตในอดีตจนปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร การติดต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต บริการบนอินเทอร์เน็ต การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต โทษของอินเทอร์เน็ต

3 1. อินเตอร์เน็ตคืออะไร Interconnection Network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ตัวอักษร ภาพกราฟิกส์ ภาพเคลื่อนไหวเสียง

4

5 2. อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นได้อย่างไร
อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นในยุคสงครามเย็น (ปี ค.ศ.1969) โดยหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงแรกนั้นรู้จักกันในนามของ "อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายจะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และ สถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายนี้ มีอยู่หลากหลายชนิด และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน

6 2. อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นได้อย่างไร (ต่อ)
เครือข่ายอาร์พาเน็ตมีจุดมุ่งหมายหลักให้คอมพิวเตอร์จากหน่วยหนึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอีกหน่วยหนึ่งโดย ข้อมูลที่ส่งระหว่างกันสามารถที่จะมีเส้นทางออกไปยังปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้นทางโดยใช้สายโทรศัพท์ ซึ่งถ้าหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหาย เครือข่ายยังคงสื่อสารกันได้โดยเส้นทางที่เหลือเส้นทางอื่น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นถึงความสำคัญ จึงได้มีการนำเอาเครือข่ายของตนเองที่มีอยู่มาเชื่อมต่อเข้า กับระบบเครือข่ายอาร์พาเน็ต ทำให้เครือข่ายขยายขนาดมากและถูกขนานนามว่า "อินเทอร์เน็ต (Internet)"

7 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย จนกระทั่งในปี พ.ศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัยอีก 5 แห่ง เรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" พ.ศ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลที่สนใจทั่วไป หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)

8 3. อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร
ระบบอินเตอร์เน็ตสามารถทำงานได้เนื่องจาก การติดต่อสื่อสารใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน หรือ Protocol Transmission Control Protocol / Internet Protocol (TCP/IP) หลักการ เครือข่ายแบบแพคเกตสวิทช์ (Packet-Switching Network) = แพคเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ตามแต่ปลายทางที่กำหนด เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้  หมายเลขไอพี (IP Address) หมายเลขไอพี (IP Address) ชุดหนึ่งใช้ขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน 0-255. 0-255. 0-255. 0-255

9 คำถาม จงตรวจสอบว่าการเขียน IP Address ถูกต้องหรือไม่ IP Address /

10 3. อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร (ต่อ)
ปัญหา คือ หมายเลขไอพีจดจำได้ยาก จึงเกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) DNS ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และตามด้วยโดเมน หน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center) ได้กำหนด รหัสโดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain Name) ให้เป็นมาตรฐานใช้ร่วมกัน ชื่อโดเมนระดับบนสุดจะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือ ชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ดังตาราง

11 รหัสโดเมนแทนประเภทของหน่วยงาน
ใช้สำหรับ ตัวอย่าง .com กลุ่มธุรกิจการค้า (Commercial organization) ibm.com (International Business Machine Corp.) .edu สถาบันการศึกษา (Educational institution) centre.edu (Center College, Danville,KY) .gov หน่วยงานของรัฐบาลที่ไม่ใช่หน่วยงานทางทหาร (Government agency) Nasa.gov .mil หน่วยงานทางทหาร (Department of Defence and other Military sites navy.mil (The United States Navy) .net หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (Networking resource) Mindspring.net (Mindspring, a regional Internet Service Provider) .org หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร (Private organization) Unesco.org

12 โดเมนชั้นบนสุดที่ออกมาล่าสุด
รหัสโดเมน ใช้สำหรับ ตัวอย่าง .info เว็บไซด์ระหว่างประเทศ .biz เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ .name โดเมนที่จดลิขสิทธิแบบส่วนบุคคล

13 โดเมนแทนชื่อประเทศ รหัสโดเมน ประเทศ au at ca dk ออสเตรเลีย ออสเตรีย
แคนนาดา เดนมาร์ค ie jp th uk ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ไทย อังกฤษ

14 โดเมนย่อยในประเทศไทย
รหัสโดเมน ใช้สำหรับ ตัวอย่าง or กลุ่มธุรกิจการค้า Nectec.or.th ac สถาบันการศึกษา Eau.ac.th go หน่วยงานของรัฐบาล Mua.go.th

15 4. การติดต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
4.1 การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial Up Connection) 4.2 การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access

16 4.1 การเชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์ (Dialup Access)
การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป หรือองค์กรขนาดเล็กที่ประสงค์ที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเฉพาะบางเวลาตามที่ต้องการ เป็นการติดต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) เแปลงสัญญาณ สายสื่อสารคือสายโทรศัพท์ การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับ ISP

17 การเชื่อมต่อผ่านโมเด็มสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

18 การเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์โดยใช้โมเด็ม
The analog signal (audible) is sent through telephone lines. MODEM MODEM Digital signal Digital signal โมเด็มจะแปลงสัญญาณ จาก analog เป็น digital โมเด็มจะแปลงสัญญาณ จาก digital เป็น analog

19 4.2 การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)
เชื่อมโยงเครือข่าย หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เนต ทำผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router สายสื่อสารที่ใช้ต้องเป็นสายที่สามารถผ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายเข้ามาใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ข้อดี คือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้โดยตรง นิยมใช้ในมหาวิทยาลัยและในบริษัทต่างๆ

20 การเชื่อมต่อแบบโดยตรงระหว่าง ISP ในประเทศ และ ISP ต่างประเทศ
Router ISP ในประเทศ ISP ต่างประเทศ

21 5. การบริการบนอินเทอร์เน็ต
จดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ ) ระบบลิสต์เซิร์ฟ (listserv: List Server) บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Login, Telnet) บริการโอนย้ายข้อมูล (FTP) บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น (Usenet News) การสนทนาออนไลน์ บริการค้นหาข้อมูลจากระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) เวิลด์ไวด์เวบ (World Wide Web)

22 จดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-mail)
ข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษร เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง แนบไปพร้อมกับจดหมายได้ จดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ ) เป็นบริการที่รับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ของการส่งอีเมล์ประกอบด้วยสองส่วนดังนี้ ชื่อผู้ใช้ (User Name) @ ชื่อโดเมน (Domain name)

23 บริการการรับส่งอีเมล์ผ่านเว็บ หรือเวบเมล์ (Web Mail)

24 โปรแกรมที่ใช้ในการรับส่งจดหมาย เช่น MS Outlook

25 จรรยาบรรณเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์เมล์และไฟล์
ตรวจสอบจดหมายทุกวัน และจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมาย ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการ ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mbox) มีจำนวนน้อยที่สุด ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซี หรือฮาร์ดดิสต์ของตนเอง พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ในการคัดลอกไฟล์จากของตนไปให้ผู้อื่นหรือนำไฟล์จากอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องของตน ควรทำการสแกนไวรัสไฟล์ก่อนทุกครั้ง

26 เมลล์ลิงลิส์ (Mailing List)
เครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่ม การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้ ของเราเป็นสื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆจากกลุ่มที่เราไปสมัคร ซึ่งปกติจะเป็นกลุ่มที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกับเรา ตัวอย่างของผู้ให้บริการ Free Mailing list ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม เช่น groups.yahoo.com, , ใช้เป็นแหล่งฐานข้อมูลซึ่งสมาชิกของ Mailing list สามารถที่จะดาวน์โหลดไปได้ ฟังก์ชันอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ปฏิทิน บริการ Chat สำหรับสมาชิกที่ออนไลน์อยู่ มีบริการอัลบั้มรูปภาพ etc.

27 บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Login, Telnet)
บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ว่าเครื่องนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลก็ตาม โปรแกรม telnet สำหรับโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดว์ เช่น โปรแกรม QvtNet, โปรแกรม HyperTerminal

28 หลักการทำงานของบริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล
ใช้หลักการทำงานระบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client-Server)

29 จรรยาบรรณเกี่ยวกับการใช้ Telnet
ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่มีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตให้ใช้ เครื่องที่ต่อรับ telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง ควรทำความ เข้าใจโดยการศึกษาข้อกำหนด ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย telnet จะต้องรีบปฏิบัติงาน และใช้ด้วยเวลาจำกัด เมื่อเสร็จ ธุระแล้วให้รีบ logout ออกจากระบบ

30 บริการโอนย้ายข้อมูล (FTP)
FTP หรือ File Transfer Protocol เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งอาจจะอยู่ใกล้หรือไกล

31 บริการโอนย้ายข้อมูล (FTP)
ซอฟต์แวร์สำหรับการใช้บริการนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น WS_FTP, CuteFTP เป็นต้น นอกจากนี้มีผู้ใช้จำนวนมากนิยมใช้บริการ ถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser

32 บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น (Usenet News)
กลุ่มหัวข้อใน Usenet News เหล่านี้จะเรียกว่า Newsgroup ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ พร้อมทั้งยังมีกลุ่มหัวข้อย่อยไว้มากมายนับพันๆ กลุ่ม Usenet News มีหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม rn, tin และ rtin และมีใช้บริการในเครือข่าย WWW เพื่อใช้บริการ Usenet News ผ่านทาง Web Browser ได้

33 การใช้ Usenet News ผ่านทางเครือข่าย

34 จรรยาบรรณการใช้ Usenet News
ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ระมัดระวังในการละเมิดสิทธิ์หรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่นๆ ลงชื่อ และลายเซนต์ตอนล่างของข้อความ ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขัน หรือคำเฉพาะ คำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อ และเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น

35 การสนทนาออนไลน์ บริการที่ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ได้ ซึ่งจะมีลักษณะของการสนทนาโต้ตอบกันอย่างทันทีทันใด ลักษณะของการคุยโต้ตอบกันทำได้โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน หรือการใช้เสียงเพื่อสนทนา ในลักษณะนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับผู้อื่นที่กำลังเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกล โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ เช่น Internet Phone, ICQ, MSN Messenger Service, Microsoft NetMeeting

36 โปรแกรมสนทนาออนไลน์ ICQ

37 จรรยาบรรณการใช้ระบบสนทนาแบบออนไลน์
ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก หลังจากเรียกไปชั่วขณะ คู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียก เพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว ควรใช้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่ รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น

38 บริการค้นหาข้อมูลจากระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library)
วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลที่กระจายอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบและทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว บริการที่เกี่ยวข้องได้แก่ ระบบอาร์ชี (Archie) ระบบโกเฟอร์ (Gopher) ระบบเวยส์ (WAIS)

39 ระบบอาร์ชี (Archie) ระบบช่วยค้นหาแฟ้มข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการ FTP สาธารณะ ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถป้อนคำสั่งค้นแฟ้มข้อมูลที่ต้องการให้กับโปรแกรม แล้ว โปรแกรมจะทำการตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงแหล่งที่เก็บแฟ้มข้อมูล จากนั้นผู้ใช้ก็สามารถใช้บริการ FTP เพื่อไป Download แฟ้มข้อมูล

40 Archie ได้ถูกลดบทบาทลงอย่างมาก ใช้การค้นหาบนเครือข่าย WWW แทน แต่ยังมีกลุ่มนักวิจัยบางกลุ่มที่ยังคงใช้บริการ Archie

41 ระบบโกเฟอร์ (Gopher)   ระบบนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่างๆ โดยเปิดให้ผู้ใช้ สามารถสืบค้นหาข้อมูลต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ให้บริการ Gopher จะให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลในลักษณะ "เมนูลำดับชั้น (Hierarchy)" โดยจะมีเมนูให้ผู้ใช้เลือกค้นเข้าไปทีละหัวข้อจนกระทั่งถึงหัวข้อชั้นในสุด ซึ่งจะแสดง ข้อมูลที่ต้องการทีละหน้า

42 ยากต่อการค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการ
ระบบนี้ผู้ใช้ต้องอาศัยการสุ่มไปตามเมนู ต่อมาพัฒนาระบบ Veronica (Very Easy Rodent-Oriented Net-oriented Index to Computerized Archives) ให้ใช้งานร่วมกับระบบ Gopher สำหรับระบบดังกล่าวนี้ใช้การค้นหาด้วย Keyword ได้ในทุกเมนูและทุกเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการ

43 ระบบเวยส์ (WAIS) Wide Area Information Sever
ผู้ใช้บริการสามารถใช้โปรแกรมนี้ค้นหาแหล่งข้อมูล โดยระบุสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแฟ้มข้อมูลที่ต้องการโดยใช้ภาษาปกติทั่วไปไม่ต้องใช้ภาษาเฉพาะเจาะจงหรือภาษาของฐานข้อมูล

44 เวิลด์ไวด์เวบ (World Wide Web)
บริการที่ถือว่าได้รับความนิยมมากที่สุดของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เวบเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวก ด้วยลักษณะของการแสดงผลในรูปแบบของ Hypertext ข้อมูลที่นำเสนอในเวบประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นข้อมูลและส่วนที่เป็นตัวเชื่อมหรือลิงค์ (Link) เวบใช้สถาปัตยกรรมเครือข่ายในรูปแบบของ Client/Server ดังภาพ

45 สถาปัตยกรรมเครือข่ายในรูปแบบของ Client/Server
ใช้โปรแกรมเวบบราวเซอร์ (Web Browser)ได้แก่ Internet Explorer (IE), Netscape Communicator, Mozzila Firefox, Opera เครื่องserver เรียก Web Server ข้อมูลจะจัดเก็บ ในรูปแบบมาตรฐาน HTML (HyperText Markup Language) การติดต่อระหว่างเวบบราวเซอร์และเวบเซิร์ฟเวอร์จะใช้โปรโตคอล HTTP (HyperText Transfer Protocol)

46 โปรแกรมเวบบราวเซอร์ (Web Browser)
โปรแกรมเวบบราวเซอร์จะทำงานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText Markup Language) มาจากเวบเซิร์ฟเวอร์และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูล ที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้ สำหรับข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของ HTML นั้นจะมีการแบ่งเป็นหน้าๆ เหมือนกับหน้าในเอกสารปกติ ซึ่งแต่ละหน้านั้นจะเรียกว่า "เวบเพจ (Web Page)"

47 Web Browser  Internet Explorer
Protocol บริการต่างๆ

48 การระบุชื่อโปรโตคอล http://www.cnn.com/welcome.htm โปรโตคอล
hypertext transfer protocol File Locate  แฟ้ม welcome.htm DNS  ที่อยู่คือเครื่อง www และบริษัทชื่อ cnn Uniform Resource Locator (URL) เป็นรูปแบบการระบุตำแหน่งหรือที่อยู่ของ Resource ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

49 การระบุชื่อโปรโตคอล โปรโตคอล http ที่อยู่คือเครื่อง www ณ netscape.com gopher://gopher.tc.umn.edu โปรโตคอล gopher ที่อยู่คือเครื่อง gopher ณ tc.umn.edu ftp://ftp.nectec.or.th/pub/pc โปรโตคอล ftp ที่อยู่คือเครื่อง ftp ณ nectec.co.th และราก/pub/pc file://C:/WINDOWS/Modem.txt โปรโตคอล File ที่อยู่คือฮาร์ดดิสก์ผู้ใช้ใน C:/WINDOWS แฟ้ม Modem.txt

50 6. การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
ด้านการศึกษา ธุรกิจการค้า การเงินการธนาคาร ความบันเทิง

51 ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว ระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้อินเทอร์เน็ต การเรียนการสอนผ่านเวบ หรือ E-Learning  ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ได้แก่ SchoolNet ซึ่ง NECTEC พัฒนาขึ้น

52

53

54 ธุรกิจการค้า E-Commerce /การซื้อขายสินค้าบริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต การให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต

55 E-commerce http://www.amazon.com

56 E-commerce และการบริการลูกค้า http://www.microsoft.com

57 การเงินการธนาคาร การตรวจสอบยอดบัญชี การโอนเงิน การสั่งชำระค่าสินค้าและบริการ การตรวจสอบยอดค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต การสั่งอายัติเช็ค ธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) หรือ Electronic Banking หรือ E-Banking คือ ธนาคารที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการแบบออนไลน์ ซึ่งองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือ อันได้แก่ธนาคาร เข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการชำระเงินแบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

58

59 ความบันเทิง การอ่านข่าวสารจากวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ จากเว็บไซต์
ตัวอย่างภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง ฟังเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการต่างๆ การสนทนาพูดคุยระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางเวบบอร์ดต่างๆ

60 หนังสือพิมพ์ออนไลน์

61 ตัวอย่างภาพยนตร์

62 ฟังเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต

63 7. โทษของอินเทอร์เน็ต โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)
เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)

64 โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)
ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้ รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

65 เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
ข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆ เรื่องหลอกหลวงต่างๆ การเจาะทำลายระบบเพื่อล้วงความลับหรือข้อมูลต่างๆ

66 แบบฝึกหัด นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง จงบอกชื่อเว็บไซต์หรือโปรแกรมที่เข้าไปใช้บริการในอินเทอร์เน็ตนั้นประกอบ ให้นักศึกษาหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางที่ผิดมา 1 ข่าว


ดาวน์โหลด ppt อินเทอร์เน็ต และการใช้งาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google