งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 01134491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด Basic Research Methods in Marketing เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ

2 01134491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด Basic Research Methods in Marketing เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ ครั้งที่ 4 : 27-มิ.ย.-54

3 : หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัย RESEARCH METHODOLOGY : หัวข้อและความสำคัญของปัญหา

4 การกำหนดหัวข้อการวิจัย
หลักการกำหนดหัวข้อการวิจัย (Research Topic) การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นการคาดหวังจาก ผลการศึกษาและค้นคว้าข้อเท็จเกี่ยวกับปรากฏการณ์และ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามที่ประเด็นสาระในปัญหาการวิจัย (Research Questions) ซึ่งจะถูกนำมาเป็นแนวทางการ แสวงหาคำตอบ ผลการวิจัยต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ การวิจัยทั้งหมด ลักษณะวัตถุประสงค์การวิจัย : - สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย - ความชัดเจน - ความเฉพาะเจาจง

5 การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย 1. ปัญหาการวิจัยแต่ละปัญหาจะมีตัวแปร (variables) ที่เปลี่ยนแปลงตามบุคคล เวลาและสถานที่ 2. ข้อเท็จจริงของปัญหาการวิจัยเป็นความจริงเชิง สัมพันธ์ (relative truth) ไม่ใช่ความจริงเชิงสมบูรณ์ (absolute truth) 3. ข้อสรุปทั่วไป แนวคิด ทฤษฎีและกฎต่างๆ ต้องการ การยืนยัน (confirm) และตรวจสอบ (verify)

6 หลักเกณฑ์ในการกำหนดประเด็น
ความชัดเจนของประเด็น ความไม่ซ้ำซ้อนของประเด็นที่จะวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น

7 ประโยชน์ของการกำหนดประเด็น
ทำให้ผู้วิจัยเกิดความชัดเจนว่าต้องการศึกษาในเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ ทำให้ผู้วิจัยทราบว่าจะต้องเก็บข้อมูลที่สำคัญในเรื่องอะไรบ้าง ทำให้ผู้อ่านรายงานผลของการวิจัย สามารถติดตามและประเมินผลของการวิจัยได้

8 การกำหนดหัวข้อการวิจัย
กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการระบุให้ชัดเจนว่า ผู้ที่จะ ทำการวิจัย หรือผู้วิจัยมีความประสงค์จะศึกษาเรื่องอะไร ที่มาของหัวข้อสำหรับการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย วรรณกรรมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ผู้นำทางวิชาการ แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย หน่วยที่ผู้วิจัยทำอยู่

9 การกำหนดหัวข้อจากมิติต่างๆ
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของการเก็บข้อมูล ประชากรเป้าหมายหรือสถานที่ การกำหนดประเด็นสาระสำคัญ การผสมผสานหลายประการ

10 หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อ
ความสำคัญของปัญหา ความเป็นไปได้ ความน่าสนใจและการทันต่อเหตุการณ์ ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย ความสามารถที่จะทำให้ลุล่วง

11 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
หลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 1. การเขียนให้สั้น กระชับและใช้ภาษาง่าย (วิชาการ) 2. ประเด็นปัญหาชัดเจน ศึกษาอะไร แง่มุมใดและอยู่ ภายในกรอบหัวข้อเรื่อง 3. วัตถุประสงค์ที่กำหนดต้องสามารถศึกษาหาคำตอบ 4. ประโยคที่ใช้เป็นประโยคบอกเล่า ไม่น่าเกิน 5 ข้อ : 4.1 ข้อเดียวเป็นภาพรวม (Overall Objective) 4.2 หลายข้อแยกรายข้อ (Specific Objectives) 5. การเรียงลำดับตามความสำคัญของปัญหา/ระดับ ปัญหา รวมทั้งไม่ควรนำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ/ ข้อเสนอแนะเป็นวัตถุประสงค์

12 นิยามศัพท์เป็นการสร้างความเข้าใจและสื่อความหมาย
การนิยามศัพท์ การนิยามศัพท์ (Definition of Terms) นิยามศัพท์เป็นการสร้างความเข้าใจและสื่อความหมาย ให้ผู้วิจัยกับผู้อ่านงานวิจัยเกิดความเข้าใจตรงกันและขยาย ความหมายให้สามารถตรวจวัดหรือสังเกตได้ ศัพท์ที่นิยามจะใช้เฉพาะในการศึกษาวิจัยและเจาะจง ในเรื่องนั้นๆ เท่านั้น ไม่ได้มีความหมายทั่วไปอย่างหนังสือ ตำราหรือเอกสารทั่วไป ส่วนใหญ่นิยามตัวแปรและคำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องการวิจัย ประเภทการนิยามศัพท์ 1.ศัพท์ทางวิชาการ ศัพท์หลายความหมาย 3.ศัพท์ความหมายไม่แน่นอน 4.ศัพท์วลีข้อความยาว

13 ประเภทคำศัพท์ที่ต้องนิยาม
ศัพท์ทางวิชาการ ศัพท์ทางวิชาการ (Technical Term) เป็นคำศัพท์ที่รู้/ เข้าใจกันเฉพาะในวงวิชาการนั้นๆ ต่างวงการ/ต่างอาชีพ อาจจะไม่เข้าใจ : วิภาษวิธี ส่วนประสมทางการตลาด ความได้เปรียบเชิงการ แข่งขัน ประสิทธิภาพ หรือการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ศัพท์หลายความหมาย เป็นคำศัพท์ที่เหมือนกันแต่หลายความหมายขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context) หรือสถานการณ์ที่ใช้ คำนั้น จึงต้องนิยามระบุให้ชัดเจน : นิสิตนักศึกษา อาจเป็นนิสิต ม.ก. ม.ธ. จุฬา ม.ร. หรือ ม.ข. นักท่องเที่ยว อาจเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหรือต่างประเทศ

14 ประเภทคำศัพท์ที่ต้องนิยาม
ศัพท์ความหมายไม่แน่นอน เป็นคำศัพท์ที่สามารถสร้างความรู้และความเข้าใจให้ เกิดความแตกต่างกัน โดยขึ้นกับความรู้และความเข้าใจของ แต่ละบุคคล : ค่านิยม ความคิดเห็น ท้ศนคติ ความเชื่อ หรือ ศักยภาพ ศัพท์วลีข้อความยาว เป็นข้อความคำศัพท์ที่เชื่อมต่อด้วยคำหรือขยายความ ทำให้เกิดความหมายเฉพาะเจาะจง โดยเป็นข้อความหรือคำ ที่มีความยาวมาก หากใช้ข้อความนั้นเขียนในรายงานผล การวิจัยจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกันมาก อาจทำให้ผู้อ่าน สบสน :

15 ประเภทคำศัพท์ที่ต้องนิยาม
ศัพท์วลีข้อความยาว - พฤติกรรมการใช้บริการห้างสรรพสินค้าในเขตเมือง - ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่มีต่อการให้บริการร้านจำหน่ายอาหาร - ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนิสิตคณะวิทยาการจัดการ นิยาม - พฤติกรรมการใช้บริการ - ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว - ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน

16 วิธีการนิยามคำศัพท์ การนิยามศัพท์
จะเป็นการให้ความหมายอธิบายว่าคำ หรือข้อความนั้น คืออะไร (Refer To) ไม่ใช่หมายถึงแปลว่าอะไร (Meaning) 1. การนิยามศัพท์เชิงแนวความคิด (Conceptual Definition) เป็นการให้ความหมายแบบสรุปใจความสำคัญ โดยใช้คำหรือข้อความอื่นที่เป็นแนวความคิดมาให้ ความหมายของคำศัพท์ : “การวิจัย” หมายถึง การค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ ระเบียบโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

17 วิธีการนิยามคำศัพท์ การนิยามศัพท์
2. การนิยามศัพท์เชิงทฤษฎี (Constitutive Definition) เป็นการให้ความหมายคำศัพท์ตามทฤษฎี/ พจนานุกรม อธิบายลักษณะอาการที่ทำให้เกิดคำศัพท์นั้นๆ “การวิจัย” หมายถึง การดำเนินการค้นคว้าซ้ำๆ เพื่อหา ข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุผล

18 วิธีการนิยามคำศัพท์ การนิยามศัพท์
3. การนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ (Operational Definition) เป็นการให้ความหมายคำศัพท์ที่ระบุ บอก การ กระทำ พฤติกรรม/อาการคำศัพท์นั้นเพื่อใช้วัด/สังเกตได้ “การวิจัย” หมายถึง การตั้งประเด็นปัญหา สมมติฐาน การเก็บ รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลวิจัย “เรียนดี” หมายถึง นิสิตที่มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมมากกว่า 2.5


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google