งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อัลกอริทึม และการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อัลกอริทึม และการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อัลกอริทึม และการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
สุธิดา ชัยชมชื่น

2 อัลกอริทึม (Alogorithms)
หมายถึง กลุ่มของขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์ (list of steps/ a set of rules) ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหาได้ หมายถึง ขั้นตอนวิธีซึ่งจะอธิบายว่างาน ๆ นั้นทำอย่างไร โดยจะประกอบด้วยชุดลำดับเป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนจบ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการ

3 ตัวอย่างอัลกอริทึม : การล้างรถ
รูปแบบการล้างรถ ฉีดน้ำล้างรถให้ทั่วเพื่อขจัดฝุ่น และเศษดินทรายต่าง ๆ ออก ผสมแชมพูล้างรถ 1 ฝาต่อน้ำครึ่งถึง นำฟองน้ำชุบน้ำที่ผสมแชมพู เช็ดทำความสะอาดให้ทั่ว ฉีดน้ำล้างให้สะอาด ใช้ผ้านุ่ม ๆ หรือผ้าชามัวร์ที่สะอาดเช็ดให้แห้ง

4 ตัวอย่างอัลกอริทึม : การเคลือบสีรถ
รูปแบบการเคลือบสีรถ ล้างรถ (นำอัลกอริทึมรูปแบบการล้างรถมาใช้) นำฟองน้ำจุ่มน้ำยาเคลือบสีรถ ป้ายบนตัวถังรถด้วยการวนเป็นก้นหอยให้ทั่วตัวถังรถ ปล่อยให้แห้งสักพักหนึ่ง เช็ดด้วยผ้านุ่ม ๆ ที่สะอาด

5 ตัวอย่างอัลกอริทึม : แสดงเลขคู่ 1-20
อัลกอริทึมแสดงเลขคู่จากเลขจำนวนเต็ม 1-20 ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดให้ num มีค่าเท่ากับ 1 ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดให้ ans = num MOD 2 ขั้นตอนที่ 3 : ถ้าคำตอบของ ans เท่ากับศูนย์ ให้แสดงค่า num ทางจอภาพ

6 ตัวอย่างอัลกอริทึม : แสดงเลขคู่ 1-20
ขั้นตอนที่ 4 : ตรวจสอบค่า num ถ้าค่า num <> 20 ให้ num = num+1 ไปทำขั้นตอนที่ 2 ถ้าค่า num = 20 จบการทำงาน

7 วิธีการสร้างอัลกอริทึม
การบรรยาย (Narrative Description) เป็นการใช้คำพูดบรรยายออกมาเป็นตัวอักษร การเขียนผังงาน (Flowchart) เป็นการนำเสนอในรูปแผนภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ได้มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน

8 วิธีการสร้างอัลกอริทึม
การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เป็นการใช้ชุดรหัสคำสั่งเพื่อเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างย่อ ๆ

9 ตัวอย่างอัลกอริทึมแบบบรรยาย
ขั้นตอนการลงทะเบียน ในการลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปกติจะสามารถทำการลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกินกว่า 21 หน่วยกิต คอมพิวเตอร์จะต้องทำการสะสมค่าหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน หากมีการลงทะเบียนเรียนเกินกว่านั้นก็จะต้องแสดงข้อความเตือน ส่วนการลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อนก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันแต่จำนวนหน่วยกิตสูงสุดที่สามารถลงทะเบียนได้คือ 9 หน่วยกิต

10 ตัวอย่างอัลกอริทึมแบบผังงาน
แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มค่าธรรมเนียมและค่าบำรุง แฟ้มรายวิชา Enter Data ลงทะเบียนเรียน พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน แฟ้มรายการลงทะเบียนเรียน แฟ้มรายการ ชำระเงิน นำใบลงทะเบียนของนักศึกษามากรอก

11 ตัวอย่างอัลกอริทึมแบบซูโดโค้ด
ALGORITHM PROBLEM 1 Input Test Score1 Input Test Score2 Input Test Score3 Add Test Score1 + Test Score2 + Test Score3 Divide total sum by 3 Print result of division END PROBLEM 1

12 คุณสมบัติของอัลกอริทึม
เป็นกระบวนวิธีการที่สร้างขึ้นจากกฏเกณฑ์ กระบวนวิธีการ คือ กลุ่มของขั้นตอนที่อยู่รวมกันเพื่อใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ กฏเกณฑ์ที่สร้างอัลกอริทึมต้องไม่คลุมเครือ มีระบบ ระเบียบ อ่านแล้วไม่สับสน

13 คุณสมบัติของอัลกอริทึม
การประมวลผลต้องเป็นลำดับขั้นตอน การประมวลผลต้องเป็นลำดับตามขั้นตอนที่แน่นอน กระบวนวิธีการต้องให้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดในปัญหา อัลกอริทึมต้องมีจุดสิ้นสุด เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถประมวลผลแบบไม่สิ้นสุดได้

14 เกณฑ์การพิจารณา ประสิทธิภาพอัลกอริทึม
อัลกอริทึมต้องใช้เวลาในการดำเนินการน้อยที่สุด อัลกอริทึมต้องใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด อัลกอริทึมต้องมีความยืดหยุ่น อัลกอริทึมต้องใช้เวลาในการพัมนาน้อยที่สุด อัลกอริทึมต้องง่ายต่อความเข้าใจ

15 เทคนิคการเขียนผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลำดับหรือขั้นตอนในโปรแกรม สัญลักษณ์ที่นิยมใช้เป็นของหน่วยงาน American National Standard Institute (ANSI) และ International Standard Organization (ISO)

16 สัญลักษณ์ของผังงาน การประมวลผล, การคำนวณ คำนวณค่า A+B แล้วเก็บไว้ที่ C
C = A+B กำหนดค่า SUM=0 SUM = 0

17 แสดงการเริ่มต้น หรือการสิ้นสุดของการเขียนผังงาน
เริ่มผังงาน START จบผังงาน END

18 การรับหรือแสดงข้อมูลโดยไม่ระบุชนิดของอุปกรณ์
รับ/อ่านค่า A โดยไม่ระบุสื่อที่บันทึกค่า READ A

19 การรับหรือแสดงข้อมูลโดยใช้บัตรเจาะรู
รับ/อ่านค่า A ที่บันทึกบนบัตร 1 ใบ READ A

20 การรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์
ป้อนค่า A ทางแป้นพิมพ์ READ A

21 การเปรียบเทียบหรือตัดสินใจ
ให้เปรียบเทียบค่า I กับ 5 ทางแป้นพิมพ์ -ถ้า I<5 ให้ไปทำขั้นตอนที่ 4 -ถ้า I=5 ให้ไปทำขั้นตอนที่ 5 -ถ้า I>5 ให้ไปทำขั้นตอนที่ 6 I : 5 4 5 6 > < =

22 การกำหนดค่าต่าง ๆ ล่วงหน้า ซึ่งเป็นการทำงานภายในช่วงหนึ่ง ๆ ที่ซ้ำกัน
กำหนดให้ I มีค่าเท่ากับ 1 แล้วเพิ่มทีละ 1 จนมีค่าเป็น 10 จึงออกจากการทำงานซ้ำในช่วงนี้ FOR I=1 TO 100

23 การแสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ
SHOW A, B แสดงค่า A, B ทางจอภาพ

24 การแสดงผลทางเครื่องพิมพ์
พิมพ์ค่า A ออกทางเครื่องพิมพ์ WRITE A

25 การรับข้อมูลหรือแสดงข้อมูลโดยใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อ
การรับข้อมูลหรือแสดงข้อมูลโดยใช้จานแม่เหล็กเป็นสื่อ

26 โปรแกรมย่อย หรือคำสั่งกำหนดล่วงหน้า
CALL SUB I เรียกโปรแกรมย่อยชื่อ SUB I

27 เส้นแสดงทิศทางลำดับของการทำงานตามปลายลูกศร
คำอธิบาย

28 แสดงจุดต่อเนื่องที่อยู่ในหน้าเดียวกัน
แสดงจุดต่อเนื่องที่อยู่คนละหน้า

29 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการเขียนผังงาน
1. การกำหนดค่าเริ่มต้น 2. การรับข้อมูล 3. การประมวลผล 4. การแสดงค่าของข้อมูลหรือผลลัพธ์ 5. การทดสอบ

30 1. การกำหนดค่าเริ่มต้น เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรบางตัวซึ่งเราจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการ

31 2. การรับข้อมูล เป็นการรับค่าของตัวแปรที่ระบุไว้ในขั้นตอนการนำข้อมูลเข้าของการวิเคราะห์งาน

32 3. การประมวลผล (Process)
เป็นการแสดงวิธีการประมวลผลหรือการคำนวณ

33 4. การแสดงค่าของข้อมูลหรือผลลัพธ์
เป็นการแสดงผลลัพธ์หรือค่าของตัวแปรที่ระบุไว้ในหัวข้อผลลัพธ์ที่ต้องแสดง

34 5. การทดสอบ เป็นการทดสอบตัวแปรกับค่าใดค่าหนึ่ง

35 การจัดภาพและทิศทางของผังงาน
ทิศทางของผังงานจะเริ่มจากส่วนบนลงมายังส่วนล่างและซ้ายมือไปขวามือ เขียนเครื่องหมายลูกศรกำกับทิศทาง หลีกเลี่ยงการขีดโยงไปมาในทิศทางตัดกัน ควรเขียนผังงานให้จบในหน้าเดียวกัน สัญลักษณ์มีขนาดต่างกันได้ แต่จะต้องมีรูปมาตรฐานตามความหมายที่กำหนด คำอธิบายเขียนเพียงสั้น ๆ และเข้าใจง่าย ควรจะมีชื่อของผังงาน ผู้เขียน วันที่เขียน และเลขหน้าลำดับ

36 ชนิดของผังงาน ผังงานระบบ (System Flowchart)
เป็นผังงานที่แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานหลักในระบบ มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างงานหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในระบบ โดยไม่แสดงรายละเอียดของงาน

37 ตัวอย่างผังงานระบบ แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มค่าธรรมเนียมและค่าบำรุง
แฟ้มรายวิชา Enter Data ลงทะเบียนเรียน พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน แฟ้มรายการลงทะเบียนเรียน แฟ้มรายการ ชำระเงิน นำใบลงทะเบียนของนักศึกษามากรอก

38 ชนิดของผังงาน ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนของกิจกรรมต่าง ๆ โดยละเอียด (Detailed Flowchart)

39 ตัวอย่างผังงานโปรแกรม
เริ่มต้น จบการทำงาน ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปกติ MaxCrd=21 MaxCrd=9 บันทึกการลงทะเบียนเรียนแต่ละรายวิชา TotCrd=TotCrd+Credit TotCrd>MaxCrd บันทึกรายวิชาอื่น ๆ อีกหรือไม่? จำนวนหน่วยกิตสะสมเกินกำหนด Y N

40 ประโยชน์ของผังงาน ตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนการทำงานได้อย่างสะดวก ลดเวลาในการศึกษางาน การบำรุงรักษาโปรแกรมทำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

41 ข้อจำกัดของผังงาน ผังงานเป็นการสื่อความหมายระหว่างบุคคลต่อบุคคลมากกว่าที่จะสื่อความหมายระหว่างบุคคลกับเครื่อง เมื่อพิจารณาจากผังงานจะไม่ทราบได้ว่าการทำงานใดสำคัญกว่ากันเพราะทุก ๆ ขั้นตอนจะใช้รูปภาพในลักษณะเดียวกัน การเขียนผังงานจะเป็นการสิ้นเปลือง เพราะจะต้องใช้กระดาษและอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบการเขียนภาพ

42 ข้อจำกัดของผังงาน การปรับเปลี่ยนผังงานกระทำได้ยาก ถ้าผังงานมีขนาดใหญ่
การปรับเปลี่ยนผังงานกระทำได้ยาก ถ้าผังงานมีขนาดใหญ่ ในผังงานจะบอกถึงงานและลำดับของงานที่ต้องปฏิบัติแต่จะไม่ระบุให้ทราบถึงเหตุผลที่ต้องปฏิบัติงานนั้น ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน ผังงานยังไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้อย่างชัดเจนตรงไปตรงมา

43 ลักษณะการจัดภาพในผังงาน
1. แบบลำดับ (Sequence) 2. แบบทางเลือก (Selection) 3. แบบทำซ้ำ (Iteration)

44 1. แบบลำดับ (Sequence) Func B Func A Func C

45 2. แบบทางเลือก (Selection)
2.1 การเลือกระหว่างรายการ 2 ทางเลือก เรียกว่า IF-THEN-ELSE Func C Func B Cond A

46 2. แบบทางเลือก (Selection)
2.2 การเลือกจากกลุ่มรายการที่มีมากกว่า สองเรียกว่า CASE Func C Func A Cond X Func B

47 3. แบบทำซ้ำ (Iteration) 3.1 การทำงานซ้ำเมื่อเงื่อนไขเกิดขึ้น เรียกว่า DO-WHILE Func R Func B Cond A A=False A=True

48 3. แบบทำซ้ำ (Iteration) 3.2 การทำงานซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขที่ระบุเกิดขึ้น เรียกว่า REPEAT-UNTIL Func B Cond A A=False A=True Func R

49 ตัวอย่าง การคำนวณราคาค่าไฟฟ้าของห้องพักต่าง ๆ ในห้องเช่าแห่งหนึ่ง คิดเป็น 50 หน่วยแรกคิด 50 บาท ส่วนที่เกินจากนี้คิดเป็นหน่วยละ 1.50 บาท จงเขียนผังงานสำหรับอ่านค่ามิเตอร์ ไฟฟ้าของเดือนที่แล้วและเดือนปัจจุบัน แล้วคำนวณหาราคาค่าไฟที่ผู้เช่าห้องต้องจ่าย

50 การเขียนซูโดโคด ส่วนประกอบที่สำคัญ
สเตตเมนต์แรก คือ การประกาศชื่อของอัลกอริทึม สเตตเมนต์สุดท้าย คือ การแสดงจุดสิ้นสุดของอัลกอริทึมนั้น

51 ตัวอย่างการเขียนซูโดโค้ด 1
ALGORITHM PROBLEM 1 Input Test Score1 Input Test Score2 Input Test Score3 Add Test Score1 + Test Score2 + Test Score3 Divide total sum by 3 Print result of division END PROBLEM 1

52 ตัวอย่างการเขียนซูโดโค้ด 2
ALGORITHM PROBLEM 2 VARIABLES: Total, Counter, Sum, Test Score, Average BEGIN Input Total Counter  0 Sum  0 LOOP while Counter is less than Total BEGIN LOOP Input Test Score Sum  Sum + Test Score Counter  Counter + 1 END LOOP Average  Sum/Total Print Average END PROBLEM 2

53 ลักษณะที่ดีของซูโดโคด
ชัดเจน สั้น กระชับและได้ใจความ ข้อมูลอยู่ในรูปของตัวแปร

54 รูปแบบการเขียนซูโดโคด
1. การรับข้อมูลและการแสดงผล 2. การคำนวณ 3. การเปรียบเทียบ 4. การทำงานแบบวนซ้ำ 5. การข้ามไปทำคำสั่งอื่น

55 1. การรับข้อมูลและการแสดงผล
ใช้คำว่า read, input และตามด้วยชื่อตัวแปรที่ต้องการอ่านค่า ถ้าต้องการอ่านค่าตัวแปรหลายตัวใช้เครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างชื่อตัวแปร

56 1. การรับข้อมูลและการแสดงผล
รูปแบบ input var1, var2, var3, ... print var1, var2, var3, ... ตัวอย่าง read id, name print ‘School’, schname

57 2. การคำนวณ ให้ตัวแปรที่ต้องการกำหนดค่าอยู่ทางด้านซ้าย
ตามด้วยสัญลักษณ์  และนิพจน์ หรือค่าคงที่ที่ต้องการ

58 2. การคำนวณ รูปแบบ Name  expression/constant ตัวอย่าง total  pr1+pr2
count  count+1

59 3. การเปรียบเทียบ 3.1 เปรียบเทียบระหว่างค่าสองค่า รูปแบบ
if (condition) then true statement(s) else false statement(s) endif

60 3. การเปรียบเทียบ ตัวอย่าง1 if x>0 then read x else compute sum=x+y
endif ตัวอย่าง2 if (a>5) and (b<>0) then write(‘Excellent’) else a=a-1

61 3. การเปรียบเทียบ 3.2 เปรียบเทียบทางเลือกหลายทาง รูปแบบ
case variable of a : a-statement(s) b : b-statement(s) c : c-statement(s) endcase

62 3. การเปรียบเทียบ ตัวอย่าง case grade of 4 : write ‘A’ 3 : write ‘B’
2 : write ‘C’ 1 : write ‘D’ 0 : write ‘F’ endcase

63 4. การทำงานแบบวนซ้ำ 4.1 เปรียบเทียบเงื่อนไขก่อนที่จะทำ คำสั่งภายใน
4.1 เปรียบเทียบเงื่อนไขก่อนที่จะทำ คำสั่งภายใน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำคำสั่งภายใน แล้วจึงทำการเปรียบเทียบเงื่อนไขอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะไม่ทำคำสั่งภายใน จะข้ามไปทำคำสั่งต่อไป

64 4. การทำงานแบบวนซ้ำ รูปแบบ do (condition) while statement(s) enddo
ตัวอย่าง read data do (data <> 0) while

65 5. การข้ามไปทำคำสั่งอื่น
เป็นการส่งการควบคุมไปยังจุดอื่นที่ไม่ใช่คำสั่งต่อไป ต้องมีการกำหนดตำแหน่งที่จะให้เป็นจุดเปลี่ยนการทำงานก่อน

66 5. การข้ามไปทำคำสั่งอื่น
รูปแบบ label: statement(s) goto label ตัวอย่าง again: read a goto again

67 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
การกำหนดปัญหา การพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การคอมไพล์โปรแกรม การแก้ไขโปรแกรม การจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม

68 1. การกำหนดปัญหา กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ
ค้นหาต้นเหตุของปัญหา และสิ่งที่เกี่ยวข้อง กำหนดข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

69 2. การพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหา
สร้างสูตรทางคณิตศาสตร์ที่ใช้สำหรับแก้ปัญหา

70 3. การออกแบบโปรแกรม ทำการวางแผนการเขียนโปรแกรม
ออกแบบให้ใช้เวลาในการประมวลผลน้อยที่สุด เครื่องมือที่นำมาใช้คือ ผังงาน เพื่อช่วยให้ทราบถึงขั้นตอนการประมวลผล

71 4. การเขียนโปรแกรม การลงมือเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า การโค้ด (Coding) โดยการนำผังงานที่สร้างไว้เป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรม โปรแกรมที่เขียนขึ้นจะเรียกว่า ซอร์สโค้ด (Source Code)

72 5. การคอมไพล์โปรแกรม นำ ซอร์สโค้ด ที่ได้มาแปล (Translated) เป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ตัวแปลภาษามี 2 แบบคือ คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีตเตอร์

73 6. การทดสอบโปรแกรม เมื่อโปรแกรมผ่านการคอมไพล์แล้ว จะต้องได้รับการทดสอบ
เมื่อพบข้อผิดพลาดต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง กระบวนการทดสอบโปรแกรม เรียกว่า การดีบั๊กโปรแกรม (Debugging)

74 7. การจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม
ใช้เพื่ออธิบายจุดประสงค์ของโปรแกรม อธิบายและบอกแนวทางแก้ไข ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ขึ้น รวมถึงสามารถนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในอนาคต

75 ขั้นตอน การแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
กำหนดสิ่งที่โจทย์ต้องการ พิจารณางานที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำและผลลัพธ์ที่ต้องการ กำหนดรูปแบบของผลลัพธ์ ศึกษาถึงลักษณะของผลลัพธ์ที่ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงบนจอภาพหรือพิมพ์ออกมา

76 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์...
กำหนดข้อมูลนำเข้า พิจารณาข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผล กำหนดตัวแปร กำหนดชื่อแทนความหมายของข้อมูลนำเข้า ผลลัพธ์ และค่าต่าง ๆ ที่อยู่ในระหว่างการคำนวณหรือประมวลผล

77 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์...
ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนของการประมวลผลเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ตามรูปแบบที่ต้องการโดยใช้ข้อมูลนำเข้าและตัวแปรต่าง ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ เขียนผังงานหรือรหัสจำลอง

78 ตัวอย่างการวิเคราะห์งาน
บริษัทแห่งหนึ่งต้องการทำบัญชีเงินเดือนของพนักงาน โดยหักภาษีไว้ด้วย และมีเงื่อนไขในการคำนวณภาษีเป็นดังนี้ รายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี รายได้มากกว่า 2,000 บาทขึ้นไปเสียภาษี 4% ของรายได้ จงหาจำนวนเงินที่พนักงานแต่ละคนจะได้รับ และเงินรวมทั้งหมดที่จะต้องจ่ายให้แก่พนักงาน

79 การวิเคราะห์งาน 1 จงทำการวิเคราะห์งาน การรับข้อมูลรหัสสินค้าชุดหนึ่ง แล้วคำนวณหาจำนวนตัวรหัสสินค้าที่รับเข้ามานั้น โดยกำหนดให้ข้อมูลตัวสุดท้ายมีค่าเป็น ‘xxx’ สมมติข้อมูลนำเข้ามีดังนี้ A123 A145 B219 C518 xxx จากตัวอย่าง จะนับจำนวนข้อมูลได้ 4 ตัว


ดาวน์โหลด ppt อัลกอริทึม และการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google