งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Liquid Crystal Display (LCD)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Liquid Crystal Display (LCD)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Liquid Crystal Display (LCD)
* องค์ประกอบของจอภาพ * โครงสร้างของจอภาพ * การเลือกใช้ * ข้อแตกต่าง LCD and CRT

2 LCD LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น จอผลึกเหลว LCD (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่ไม่มีหลอดภาพ หรือปืนอิเล็กตรอนสำหรับกวาดหน้าจอ

3 องค์ประกอบของจอภาพ องค์ประกอบของจอภาพ เริ่มจากแหล่งกำเนิดแสง back light บนแผ่นโพลารอยด์ด้านหลังชั้นของ Twisted-Nematic (TN) LCDจะมีการหุ้มด้วยแผ่นแก้วหรือกระจกทั้ง 2 ด้าน ใช้แผ่นโพลารอยด์ด้านหน้าผนวกกับชั้นนอกสุดเป็นแผ่นกันการสะท้อนแสง การทำงานจริงๆนั้นผลึกเหลวที่หยอดเอาไว้ระหว่างช่องกระจกจะถูกกระตุ้นด้วย ไฟฟ้า ทำให้โมเลกุลของลิควิดคริสตัลในส่วนของจุดภาพ พิกเซล (pixel) นั้นหมุนเป็นมุม 90 องศา เพื่อให้เกิดได้ทั้งจุดสว่าง และจุดมืด หากเรากล่าวว่าเทคนิคของLCD คือการบิดตัวโมเลกุล แล้วเอาเงาของมันมาใช้งานก็ถือว่าถูกต้องอย่างที่สุด ขนาดจอLCD มีตั้งแต่10นิ้วไปจนถึง60นิ้วนับว่ามีการใช้งานกว้างขวางมาก

4 โครงสร้างของจอภาพ โครงสร้างของจอภาพแบบ LCD ทั่วๆ จะมีประมาณ 7 ส่วนด้วยกัน ส่วนที่ 1 จะเป็นหลอดฟลูออเรสเซน  เพื่อทำหน้าที่ให้แสงสว่างออกมา (ดังนั้นบางทีจึงเรียกกันว่าเป็นจอแบบ backlit  คือให้แสงจากด้านหลัง ซึ่งต่างจากจอ LCD ที่เราพบในอุปกรณ์ขนาดเล็กทั่วไป ที่มักจะเป็นจอขาว-ดำที่ไม่มีแหล่งกำเนิดแสง  แต่ใช้แสงที่ส่องจากด้านหน้าจอเข้าไปสะท้อนที่ฉากหลังออกมา ซึ่งไม่สว่างมากแต่ก็ประหยัดไฟกว่า  เครื่องคิดเลขเล็ก ๆ นาฬิกา หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กบางรุ่น เช่น palm ก็ยังใช้จอแบนี้) ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของ diffuser หรือกระจกฝ้าที่ทำให้แสงที่กระจายออกมามีความสว่างสม่ำเสมอ

5 โครงสร้างของจอภาพ (ต่อ)
ส่วนที่ 3 จะเป็น polarizer ซึ่งก็คือฟิลเตอร์ชนิดหนึ่งที่ยอมให้คลื่นแสงในแนวใดแนวหนึ่งผ่านได้  แต่จะไม่ยอมให้คลื่นแสงในอีกแนวหนึ่งผ่านไปได้ ซึ่งส่วนมากนิยมจะวางให้คลื่นแสงในแนวนอนผ่านออกมาได้ ส่วนที่ 4 จะเป็นชั้นของแก้วหรือ glass substrate ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับขั้ว  electrode (ขั้วไฟฟ้า) ส่วนที่ 5 จะเป็นชั้นของ liquid crystal หรือชั้นของผลึกเหลว ส่วนที่ 6 จะเป็นแผ่นแก้วปิดเอาไว้เพื่อไม่ให้ผลึกเหลวไหลออกมาได้ ส่วนที่ 7 จะเป็น  polarizer อีกชั้นหนึ่งซึ่งนิยมวางให้ทำมุม 90 องศากับ polarizer ตัวแรก ส่วนถ้าเป็นจอสีก็จะมีฟิลเตอร์สี  (แดง เขียว และน้ำเงิน) คั่นอยู่ก่อนที่จะถึง polarizer ตัวนอกสุด

6 การเลือกใช้ การเลือกใช้จอ LCD Monitor
สำหรับจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้น จากการทำงานของมันแล้วจะรู้ได้ว่าจอแบบ LCD Monitor นั้น สามารถที่จะช่วยในการลดอัตรา เสี่ยงที่สายตาเราจะรับรังสีที่แผ่ ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นในหลักการในการใช้ความร้อนของขดลวดในการทำให้ผลึกเหลวแสดงภาพออกมา จึงทำให้จอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นี้สามารถที่จะถนอมสายตาได้ อีกทั้งแสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอแบบที่ใช้หลอดภาพ เพราะจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นไม่จำเป็นต้องทำการยิงแสง อิเล็กตรอน เหมือนจอแบบหลอดภาพ นั้นก็เป็นข้อดีของจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) และข้อดีอีกอย่าง คือขนาดที่เบาและบางทำให้มีเนื้อที่บนโต๊ะทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า น้อยกว่าทำให้สามารถประหยัดไฟฟ้าไปได้มาก

7 ข้อแตกต่างระหว่างจอแบบ LCD กับ จอแบบ CRT
รูปร่าง และน้ำหนัก: จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีความบาง และแบนกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป้นอย่างมากนั้นเป็นเพราะเทคโนโลยีในการแสดงภาพที่แตกต่างกัน พื้นที่ในการแสดงผล: จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นถึงแม้จะมีขนาดเท่ากับจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) มักจะมีพื้นที่ในการแสดงภาพมากกว่า อย่างเห็นได้ชัด ความคมชัดของภาพ:ถึงแม้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีระยะห่างของจุด (Dot Pitch) มากว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) บางรุ่น แต่ความคมชัด และสีสันนั้น จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีอยู่สูงกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์)

8 The End


ดาวน์โหลด ppt Liquid Crystal Display (LCD)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google