งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลอดฟลูออเรสเซนต์ fluorescent

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลอดฟลูออเรสเซนต์ fluorescent"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลอดฟลูออเรสเซนต์ fluorescent

2 หลักการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์
เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอท จะคายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ไอปรอท ซึ่งจะทำให้อะตอม ของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (exited state) เป็นผลให้อะตอมปรอทคายพลังงานออกมา เพื่อลดระดับพลังงานในตัวเองในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งมองไม่เห็น เมื่อรังสีชนิดนี้ไปกระทบกับสารวาวแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวด้านในของหลอดฟลูออเรสเซนต์ สารเหล่านี้จะเปล่งแสงได้ โดยให้แสงสีต่างๆตามชนิดของสารวาวแสงที่ฉาบไว้ภายในหลอดนั้น เช่น แคดเมียมบอเรท (Cadmium borate) ให้ แสงสีชมพู แคดเมียมซิลิเคท (Cadmium silicate) ให้แสงสีชมพูอ่อน แมกนีเซียมทังสเตท (Magnesium tungstate) ให้แสงสีขาวอมฟ้า แคลเซียมทังสเตท (Calcium tungstate) ให้แสงสีน้ำเงิน ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ให้แสงสีเขียว ซิงค์เบริลเลียมซิลิเคท (Zinc Beryllium silicate) ให้แสงสีเหลืองนวล นอกจากนี้ยังอาจผสมสารวาวแสงเหล่านี้ เพื่อให้ได้แสงสีผสมที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย

3 ส่วนประกอบของหลอดฟลูออเรสเซนต์
 1. ตัวหลอด  ภายในสูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทและก๊าซอาร์กอน เล็กน้อย  ผิวด้านในของหลอดเรืองแสงฉาบด้วยสารเรืองแสงชนิดต่างๆ แล้วแต่ความต้องการให้เรืองแสงเป็นสีใด           

4       2. ไส้หลอด ทำด้วยทังสเตนหรือวุลแฟรมอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ไอปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอมากขึ้น แต่ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ายังผ่านไอปรอทไม่สะดวก เพราะปรอทยังเป็นไอน้อยทำให้ความต้านทานของหลอดสูง

5 3. สตาร์ตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจรโดยต่อขนานกับหลอด ทำด้วยหลอดแก้วภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้          

6 4. แบลลัสต์  เป็นขดลวดที่พันอยู่บนแกนเหล็ก   แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากแบลลัสต์นั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เหนี่ยวนำไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้าจากวงจรไฟฟ้าในบ้าน ทำให้กระแส ไฟฟ้าที่จะเข้าสู่วงจรของหลอดเรืองแสงลดลง

7 การใช้งานให้ถูกวิธี 1. ใช้หลอดไฟวัตต์ต่ำ
2. อย่าทาสีผนังเป็นสีเข้ม ควรใช้สีอ่อนๆ เพื่อช่วยให้ความสว่างมากขึ้น 3. หลอดไฟที่ขาด ควรใส่ไว้กับขั้วหลอดจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่ 4. อย่าปล่อยให้หลอดไฟกะพริบ หรือหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ 5. เลิกใช้หลอดไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน

8 วิธีการดูแลรักษา 1. หลอดที่เก็บไว้ไม่กระทบกระทั่งกันจนเกิดการชำรุดเสียหาย เปลี่ยนใช้หลอดผอมแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ 3. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์คู่กับหลอดผอม 5. เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์ เหมาะสมกับการใช้งาน

9 จบการนำเสนอครับ.. สมาชิกกลุ่ม นายอภิสิทธิ์ กิ่งก้าน
นายอภิสิทธิ์ กิ่งก้าน นายเกรียงไกร คำประเสริฐ

10 โจทย์ปัญหา เรื่อง หลอดฟลูออเรสเซนต์ fluorescent
1.เหตุใดหลอดฟลูออเรสเซนต์จึงสามารถเปล่งแสงได้ ก. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับไส้หลอด ข. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับสารวาวแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวด้านในของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ค. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับไอปรอท ง. รังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับก๊าซอาร์กอน

11 2.ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ทำให้เกิดแสงสีอะไร
ก. แสงสีเขียว ข. แสงสีชมพู ค. แสงสีน้ำเงิน ง. จะมีข้อถูกก็หาไม่

12 3.ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของหลอดฟลูออเรสเซนต์
ก. ตัวหลอด ข. ไส้หลอด ค. สตาร์ตเตอร์ ง. เครื่องปั่นไฟ

13 4.ส่วนประกอบข้อใดทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจรโดยต่อขนานกับหลอด
ก. ตัวหลอด ข. ไส้หลอด ค. สตาร์ตเตอร์ ง. แบลลัสต์

14 5.ข้อใดไม่ใช่วิธีการดูแลรักษาหลอดฟลูออเรสเซนต์
ก. หลอดที่เก็บไว้ไม่กระทบกระทั่งกันจนเกิดการชำรุดเสียหาย ข. เปลี่ยนใช้หลอดผอมแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ ค. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ง. เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์สูงๆ


ดาวน์โหลด ppt หลอดฟลูออเรสเซนต์ fluorescent

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google